ข้ามไปเนื้อหา

ยูเอสเอส พิวโบล (AGER-2)

พิกัด: 39°02′25″N 125°44′23″E / 39.04028°N 125.73972°E / 39.04028; 125.73972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเอสเอส พิวโบล (AGER-2)
พิวโบล ในประเทศเกาหลีเหนือ ปี ค.ศ. 2012
ประวัติ
สหรัฐ
ชื่อพิวโบล
ตั้งชื่อตามพิวโบล รัฐโคโลราโด และพิวโบลเคาน์ตี รัฐโคโลราโด
อู่เรือคีโวนีชิปบิลดิงแอนด์เอนจิเนียริง
ปล่อยเรือค.ศ. 1944
เดินเรือแรก16 เมษายน ค.ศ. 1944
เข้าประจำการ7 เมษายน ค.ศ. 1945
บริการค.ศ. 1945
เปลี่ยนระดับ18 มิถุนายน ค.ศ. 1966 AKL-44 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1967 AGER-2
เกียรติยศ
  • เหรียญกลาโหมแห่งชาติ
  • เหรียญกลาโหมเกาหลี
  • แพรแถบปฏิบัติการรบ (มีผลย้อนหลัง)
ถูกยึด23 มกราคม ค.ศ. 1968
ความเป็นไปถูกเข้ายึดโดยเกาหลีเหนือ
สถานะในประจำการ, ขึ้นระวาง (เพื่อขัดขวางการจับกุม, ปัจจุบันยึดครองโดยเกาหลีเหนือในฐานะเรือพิพิธภัณฑ์)
สัญลักษณ์
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น:
ประเภท: (ตามที่สร้างขึ้น) เรือขนส่งสินค้าเบา; (แปลงเป็น) เรือรวบรวมข่าวกรอง
ขนาด (ตัน): 345 ตัน เดดเวตตัน
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 550 ตันเปล่า, 895 ตันเต็ม
ความยาว: 177 ft (54 m)
ความกว้าง: 32 ft (9.8 m)
กินน้ำลึก: 9 ft (2.7 m)
ระบบขับเคลื่อน: สองเครื่องยนต์ดีเซล 500 แรงม้า จีเอ็ม คลีฟแลนด์ดิวิชัน 6-278เอ 6 สูบ วี6
ความเร็ว: 12.7 นอต (23.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 14.6 ไมล์ต่อชั่วโมง)
อัตราเต็มที่: ทหารชั้นสัญญาบัตร 6 นาย, พลทหาร 70 นาย
ยุทโธปกรณ์: ปืนกลขนาดลำกล้อง 0.50 นิ้ว เอ็ม 2 บราวนิง จำนวน 2 กระบอก

ยูเอสเอส พิวโบล (AGER-2) (อังกฤษ: USS Pueblo (AGER-2)) เป็นเรือวิจัยสิ่งแวดล้อมชั้นแบนเนอร์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยสืบราชการลับของกองทัพเรือในฐานะเรือสายลับ ซึ่งถูกโจมตีและถูกเข้ายึดโดยกองกำลังเกาหลีเหนือเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1968 ในสิ่งที่รู้จักกันในปัจจุบันในชื่อ "เหตุการณ์พิวโบล"[1] หรืออีกชื่อหนึ่งในฐานะ "วิกฤตพิวโบล"

การยึดเรือของกองทัพเรือสหรัฐและลูกเรือ 83 นายของเรือ หนึ่งในนั้นถูกฆ่าตายในการโจมตี โดยเกิดขึ้นน้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์หลังจากการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภาของลินดอน บี. จอห์นสัน ที่ปราศรัยต่อรัฐสภาสหรัฐ, หนึ่งสัปดาห์ก่อนการเริ่มต้นการรุกตรุษญวนในประเทศเวียดนามใต้ในช่วงสงครามเวียดนาม และสามวันหลังจากหน่วย 124 กองทัพประชาชนเกาหลีของประเทศเกาหลีเหนือ 31 นายได้ข้ามเขตปลอดทหารเกาหลี (DMZ) และสังหารชาวเกาหลีใต้ 26 คนในความพยายามโจมตีทำเนียบน้ำเงินของเกาหลีใต้ (คฤหาสน์ผู้บริหาร) ที่กรุงโซลซึ่งเป็นเมืองหลวง การยึดพิวโบล และการถูกทารุณกรรม รวมถึงการทรมานลูกเรือของมันในช่วง 11 เดือนต่อมากลายเป็นเหตุการณ์สงครามเย็นครั้งใหญ่ ซึ่งเพิ่มความตึงเครียดระหว่างอำนาจตะวันตกและตะวันออก

เกาหลีเหนือระบุว่าพิวโบล จงใจเข้าไปในน่านน้ำ 7.6 ไมล์ทะเล (14 กม.) จากเกาะเรียว และสมุดปูมเรือแสดงให้เห็นว่าพวกเขาบุกรุกหลายครั้ง[2] อย่างไรก็ตาม สหรัฐยืนยันว่าเรือดังกล่าวอยู่ในน่านน้ำสากลในเวลาที่เกิดเหตุการณ์ และหลักฐานที่อ้างว่ามีให้โดยเกาหลีเหนือเพื่อสนับสนุนคำแถลงการณ์ก็เป็นการสร้างเรื่องราวที่ไม่เป็นความจริง[3] พิวโบล ยังถูกยึดครองโดยเกาหลีเหนือในปัจจุบัน ทั้งเป็นเรือขึ้นระวางอย่างเป็นทางการของกองทัพเรือสหรัฐ[4] ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2003 เรือได้ถูกผูกจอดขนานไปกับแม่น้ำโพทงในเปียงยาง และใช้เป็นเรือพิพิธภัณฑ์ที่พิพิธภัณฑ์สงครามปลดปล่อยแผ่นดินปิตุภูมิ[5] พิวโบล เป็นเรือลำเดียวของกองทัพเรือสหรัฐที่ยังคงอยู่ในบัญชีรายชื่อขึ้นระวางในปัจจุบันที่ถูกจับเป็นเชลย[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

ความขัดแย้งอื่น:

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Reactions to Pueblo Incident (1968)". Texas Archive of the Moving Image. สืบค้นเมื่อ November 5, 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Pueblo Incident". "Naenara" News from South Korea. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2015.
  3. Schindler, John R. "A Dangerous Business: The U.S. Navy and National Reconnaissance During the Cold War" (PDF). p. 9. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2017. สืบค้นเมื่อ 24 June 2013.
  4. "USS Pueblo – AGER-2". Naval Vessel Register. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-24. สืบค้นเมื่อ 11 June 2009.
  5. MacClintock, R. "USS Pueblo Today". USS Pueblo Veteran's Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2013. สืบค้นเมื่อ 25 January 2013.
  6. "List of active ships". Naval Vessel Register. NAVSEA Shipbuilding Support Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2013.

แหล่งที่มา

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Armbrister, Trevor. A Matter of Accountability: The True Story of the Pueblo Affair. Guilford, Conn: Lyon's Press, 2004. ISBN 1592285791
  • Brandt, Ed. The Last Voyage of USS Pueblo. New York: Norton, 1969. ISBN 0393053903
  • Bucher, Lloyd M., and Mark Rascovich. Pueblo and Bucher. London: M. Joseph, 1971. ISBN 0718109066 OCLC 3777130
  • Cheevers, Jack. Act of War: Lyndon Johnson, North Korea, and the Capture of the Spy Ship Pueblo. New York : NAL Caliber, 2013. ISBN 9780451466198
  • Crawford, Don. Pueblo Intrigue; A Journey of Faith. Wheaton, Ill: Tyndale House Publishers, 1969. OCLC 111712
  • Frampton, Viktor & Morison, Samuel Loring (1991). "Question 41/89". Warship International. International Naval Research Organization. XXVIII (1): 83–84. ISSN 0043-0374.
  • Gallery, Daniel V. The Pueblo Incident. Garden City, N.Y.: Doubleday, 1970. OCLC 49823
  • Harris, Stephen R., and James C. Hefley. My Anchor Held. Old Tappan, N.J.: F.H. Revell Co, 1970. ISBN 0800704029 OCLC 101776
  • Hyland, John L., and John T. Mason. Reminiscences of Admiral John L. Hyland, USN (Ret.). Annapolis, MD: U.S. Naval Institute, 1989. OCLC 46940419
  • Lerner, Mitchell B. The Pueblo Incident: A Spy Ship and the Failure of American Foreign Policy. Lawrence, Kan: University Press of Kansas, 2002. ISBN 0700611711 OCLC 48516171
  • Liston, Robert A. The Pueblo Surrender: A Covert Action by the National Security Agency. New York: M. Evans, 1988. ISBN 0871315548 OCLC 18683738
  • Michishita, Narushige. North Korea's Military-Diplomatic Campaigns, 1966–2008. London: Routledge, 2010. ISBN 9780203870587
  • Mobley, Richard A. Flash Point North Korea: The Pueblo and EC-121 Crises. Annapolis, Md: Naval Institute Press, 2003. ISBN 1557504032
  • Murphy, Edward R., and Curt Gentry. Second in Command; The Uncensored Account of the Capture of the Spy Ship Pueblo. New York: Holt, Rinehart and Winston, 1971. ISBN 0030850754
  • Newton, Robert E. The Capture of the USS Pueblo and Its Effect on SIGINT Operations. [Fort George G. Meade, Md.]: Center for Cryptologic History, National Security Agency, 1992. OCLC 822026554
  • Spiva, Dave (December 2018). "11 Months of Hell". VFW Magazine. Vol. 106 no. 3. Kansas City, Mo.: Veterans of Foreign Wars of the United States. p. 40. ISSN 0161-8598. Dec. 23 marks 50 years since the release of USS Pueblo crew members from North Korea's custody. One died heroically and the rest were tortured daily for nearly a year. The ship, to this day, remains in North Korean custody.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

39°02′25″N 125°44′23″E / 39.04028°N 125.73972°E / 39.04028; 125.73972