มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
ชื่อย่อ | มจร. (นม) |
---|---|
ประเภท | วิทยาเขต |
สถาปนา | 28 มีนาคม พ.ศ. 2529 (สถาปนาวิทยาลัยสงฆ์นครราชสีมา) 30 ตุลาคม พ.ศ. 2529 (เปลี่ยนสถานะเป็นวิทยาเขตนครราชสีมา) |
รองอธิการบดี | พระเทพสีมาภรณ์ (วันชัย กนฺตจารี) |
ที่ตั้ง | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 |
สี | ██ สีชมพู |
เว็บไซต์ | www.nkr.mcu.ac.th |
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา เป็นวิทยาเขตในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2530 ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ประวัติวิทยาเขต
[แก้]สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณกเถร) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เจ้าอาวาสวัดจักวรรดิราชาวาส ได้ปรารภว่า
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น จังหวัดนครราชสีมามีความเหมาะสมต่อการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์มากที่สุด เพราะเป็นเมืองเอก เป็นศูนย์กลางทางการศึกษามาแต่เดิม
จากคำปรารภและแนวความคิดของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ดังกล่าวข้างต้น พระเถรานุเถระในจังหวัดนครราชสีมา และในกรุงเทพมหานคร ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ได้ตั้งคณะกรรมการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครราชสีมา โดยมี พระศรีกิตติโสภณ (เกียรติ สุกิตฺติ) เป็นประธาน ได้ประชุมปรึกษาหารือและเตรียมงานด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา และที่ประชุมมีมติให้คณะสงฆ์ภาค 11 เป็นผู้ดำเนินงาน
ต่อมาปี 28 มีนาคม พ.ศ. 2529 พระเถระผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมทั้งพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมาและคณะสงฆ์ภาค 11 ได้ประชุมและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดตั้ง วิทยาลัยสงฆ์นครราชสีมา ขึ้น
วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2529 พระพรหมคุณาภรณ์ (พุ่ม กิตฺติสารเถร) ประธานสภาวิทยาลัยสงฆ์นครราชสีมา และเจ้าคณะภาค 11 จึงได้ทำหนังสือ ไปยังสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อขอให้อนุมัติรับวิทยาลัยสงฆ์นคราชสีมา เป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2529 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีมติเป็นเอกฉันท์ และอนุมัติให้วิทยาลัยสงฆ์นครราชสีมา เป็น วิทยาเขตนครราชสีมา
วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ได้เปิดดำเนินการศึกษาเป็นครั้งแรก พร้อมกับทำพิธีเปิดป้ายมหาวิทยาลัย โดยเปิดสอนในคณะพุทธศาสตร์ เป็นคณะแรก
ปี พ.ศ. 2533 จัดตั้งและเปิดสอนคณะมนุษยศาสตร์
ปี พ.ศ. 2534 จัดตั้งและเปิดสอนคณะครุศาสตร์
ปี พ.ศ. 2537 จัดตั้งและเปิดสอนคณะสังคมศาสตร์
ปี พ.ศ.2540 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู(ป.ว.ค.)
ปี พ.ศ.2547 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์
ปี พ.ศ. 2549 เปิดสอนระดับปริญญาโท(พุทธศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา[1]
คณะและหน่วยงาน
[แก้]- คณะพุทธศาสตร์
- คณะมนุษยศาสตร์
- คณะครุศาสตร์
- คณะสังคมศาสตร์
- บัณฑิตศึกษา
- วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
หลักสูตร
[แก้]หลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา | ||||
---|---|---|---|---|
คณะ/วิทยาลัย | ระดับประกาศนียบัตร | ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
หลักสูตรประกาศนียบัตร
|
||||
คณะพุทธศาสตร์ |
หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.)
|
หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
|
หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
| |
คณะครุศาสตร์ |
หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.)
|
|||
คณะสังคมศาสตร์ |
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)
หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.)
|
|||
คณะมนุษยศาสตร์ |
หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.)
|
|||
วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ |
หลักสูตรประกาศนียบัตร
|
หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.)
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)
|
หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.ม.)
|
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เก็บถาวร 2020-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว๊บไซต์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://nkr.mcu.ac.th/main/?page_id=58 ประวัติการเป็นมา