ข้ามไปเนื้อหา

ความผิดปกติทางอารมณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาวะเมเนีย)
ความผิดปกติทางอารมณ์
(Mood disorder)
ชื่ออื่นAffective disorder
ชายซึมเศร้ายืนอยู่ใกล้ ๆ สระในชนบทช่วงฝนตกหนัก
สาขาวิชาจิตเวช
ประเภทโรคอารมณ์สองขั้ว, cyclothymia, disruptive mood dysregulation disorder, ภาวะอารมณ์ซึมเศร้า (dysthymia), โรคซึมเศร้า, โรคอารมณ์ละเหี่ยก่อนประจำเดือน (premenstrual dysphoric disorder), ความผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดู (seasonal affective disorder)
ยายาแก้ซึมเศร้า, mood stabilizers
มีความผิดปกติทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อผู้ที่ใช้อำนาจในทุกรูปแบบ ซึ่งกลุ่มอาการโอหัง megalomania hamartia หรือการหลงตัวเองมีความโดดเด่น

ความผิดปกติทางอารมณ์ หรือ โรคอารมณ์แปรปรวน (อังกฤษ: Mood disorder, mood affective disorders) เป็นกลุ่มอาการที่อารมณ์แปรปรวนเป็นอาการหลัก[1] การจำแนกโรคเช่นนี้มีอยู่ในทั้งคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) และบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD) ความผิดปกติจะจัดอยู่ในกลุ่มพื้นฐาน 3 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มอารมณ์ครึกครื้นเช่น อาการฟุ้งพล่าน (mania) หรืออาการเกือบฟุ้งพล่าน (hypomania)
  • กลุ่มอารมณ์ซึมเศร้า เช่นที่รู้จักดีที่สุดและมีงานวิจัยมากที่สุดคือโรคซึมเศร้า (MDD)
  • กลุ่มอารมณ์กลับไปกลับมาระหว่างระยะฟุ้งพล่านกับระยะซึมเศร้าที่รู้จักกันว่าโรคอารมณ์สองขั้ว (BD)

มีกลุ่มย่อย ๆ ของกลุ่มโรคซึมเศร้า (depressive disorders) หรือว่าอาการทางจิตเวชอื่น ๆ ที่มีอาการรุนแรงน้อยกว่า เช่น dysthymia (คล้ายกับโรคซึมเศร้าแต่เบากว่า) และ cyclothymia (คล้ายกับ BD แต่เบากว่า)[2][ต้องการเลขหน้า] ความผิดปกติอาจเกิดจากสารหรือเป็นการตอบสนองต่ออาการของโรคอื่น ๆ

จิตแพทย์ชาวอังกฤษเสนอหมวดโรคที่ครอบคลุมเรียกว่า affective disorder ในปี พ.ศ. 2477[3] ต่อมาจึงแทนด้วยชื่อว่า mood disorder เพราะคำหลังหมายถึงสภาวะทางอารมณ์ที่เป็นเหตุโดยตรง[4] เทียบกับคำแรกซึ่งหมายถึงการแสดงออกภายนอกที่คนอื่นสังเกตเห็นได้[1]

หมวดหมู่

[แก้]

โรคซึมเศร้า

[แก้]
  • โรคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นโรคที่บุคคลมีคราวซึมเศร้า (major depressive episode) หนึ่งครั้งหรือมากกว่านั้น ดังนั้น หลังจากมีคราวซึมเศร้าครั้งเดียว ก็จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า (คราวเดียว) และหลังจากคราวแรก ก็จะวินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้า (ซ้ำ) โรคซึมเศร้าที่ไร้ระยะฟุ้งพล่าน (mania) บางครั้งเรียกว่าโรคซึมเศร้าขั้วเดียว (unipolar depression) เพราะอารมณ์ติดอยู่ที่ขั้วอารมณ์ซึมเศร้า โดยไม่ย้ายไปที่ขั้วอารมณ์ฟุ้งพล่านเหมือนกับที่พบในโรคอารมณ์สองขั้ว (BD)[5]
    บุคคลที่มีคราวซึมเศร้าหรือเป็นโรคซึมเศร้ามีโอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้น การหาความช่วยเหลือและการรักษาจากแพทย์พยาบาลช่วยลดโอกาสเสี่ยงอย่างสำคัญ และงานวิจัยก็แสดงว่า การถามคนซึมเศร้าหรือสมาชิกในครอบครัวว่าคิดฆ่าตัวตายหรือไม่ เป็นวิธีที่มีประสิทธิผลในการระบุบุคคลที่เสี่ยง และไม่เป็นการชี้ทางหรือเพิ่มโอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายโดยประการทั้งปวง[6]
    งานศึกษาทางวิทยาการระบาดในยุโรปแสดงว่า ในปัจจุบัน ประชากรประมาณ 8.5% ของโลกมีโรคซึมเศร้า ไม่มีวัยใดที่ยกเว้น งานศึกษาได้แสดงว่า โรคปรากฏในทารกตั้งแต่ 6 เดือนเพราะถูกพรากจากมารด[7]
  • กลุ่มโรคซึมเศร้า (depressive disorders) เป็นสิ่งที่พบบ่อยในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิหรือในการรักษาพยาบาลทั่วไปแม้บ่อยครั้งก็ตรวจจับไม่ได้เหมือนกัน โรคที่ไม่ได้วินิจฉัยอาจจะทำให้คนไข้ฟื้นสภาพได้ไม่ดีหรือทำพยากรณ์โรคอื่นทางกายให้แย่ลง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญว่า แพทย์ทุกคนควรสามารถวินิจฉัยโรค รักษากรณีที่ไม่รุนแรง และระบุคนไข้ที่จำเป็นต้องรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางได้[8]
    ผู้วินิจฉัยสามารถจำแนกแบบต่าง ๆ ของโรค โดยเป็นแบบย่อยหรือโดยวิถีการดำเนินของโรค คือ
    • Atypical depression (AD แปลได้ว่าโรคซึมเศร้านอกแบบ) กำหนดโดยการมีปฏิกิริยาเป็นอารมณ์ดีต่อเหตุการณ์ที่ดีหรือเหตุการณ์ที่น่ายินดี (mood reactivity) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญหรือความอยากอาหารเพิ่มขึ้น (โดยรับประทานเพื่อให้สบายใจ) การนอนมากเกินไปหรือรู้สึกง่วงนอนมาก (hypersomnia) แขนขาหนัก และความพิการทางสังคมในระดับสำคัญเนื่องจากความอ่อนไหวต่อการไม่ยอมรับทางสังคม[9] ปัญหาการระบุแบบย่อยนี้ทำให้น่าสงสัยว่า สมเหตุผลหรือไม่ และมีความชุกแค่ไหน[10]
    • Melancholic depression (โรคซึมเศร้ารุนแรง) กำหนดโดยการสูญเสียความสุขในกิจกรรมเกือบทั้งหมดหรือทั้งหมด (anhedonia) คือไม่มีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าที่น่าชอบใจ เป็นความซึมเศร้าที่รุนแรงกว่าความเศร้าโศกหรือการสูญเสียทั่ว ๆ ไป โดยมีอาการแย่ลงในช่วงเช้า ๆ, ตื่นเช้า, เคลื่อนไหวเชื่องช้าลง, น้ำหนักลดอย่างผิดปกติ (โดยไม่ควรสับสนกับโรคเบื่ออาหารสาเหตุทางจิตใจ [anorexia nervosa]) และรู้สึกผิดอย่างไม่สมเหตุผล[11]
    • Psychotic major depression (PMD แปลได้ว่าโรคซึมเศร้าที่มีอาการโรคจิต) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า psychotic depression เป็นคำเรียกคราวซึมเศร้าโดยเฉพาะแบบรุนแรง (melancholic) ที่คนไข้มีอาการโรคจิต (psychotic) เช่น อาการหลงผิด (delusion) และประสาทหลอน (hallucination) ที่เกิดน้อยกว่า และมักจะเป็นไปตามอารมณ์ คือเป็นไปตามเรื่องที่ทำให้เศร้า[12]
    • Catatonic depression (โรคซึมเศร้าที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว) เป็นรูปแบบโรคซึมเศร้าที่น้อยแต่รุนแรงที่คนไข้มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวและอาการอื่น ๆ คนไข้จะไม่พูดและมีอาการกึ่งโคม่า (stuporose) และจะไม่เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวแบบไม่มีจุดหมายหรือแปลก ๆ แต่อาการเช่นนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยในโรคจิตเภท หรือในระยะฟุ้งพล่านของโรคอารมณ์สองขั้ว หรืออาจเกิดเพราะกลุ่มอาการร้ายจากยารักษาโรคจิต (neuroleptic malignant syndrome)[13]
    • ความซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression ตัวย่อ PPD) ถือเป็นวิถีดำเนินของโรค (course specifier) ใน DSM-IV-TR โดยหมายถึงความซึมเศร้าที่รุนแรง คงยืน และบางครั้งก่อความพิการ ที่ประสบโดยหญิงหลังคลอดบุตร โดยคุณแม่มีอัตราที่ 10-15% ปกติเริ่มภายใน 3 เดือนหลังคลอด และอาจคงยืนถึง 3 เดือน[14] แม้เป็นเรื่องสามัญที่คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยและเศร้าใน 2-3 อาทิตย์แรกหลังจากคลอด แต่ความซึมเศร้าหลังคลอดจะต่างกันเพราะเป็นเหตุให้เป็นทุกข์และให้ใช้ชีวิตเป็นปกติไม่ได้ไม่ว่าจะที่บ้าน ที่ทำงาน ในสถานศึกษา และอาจจะมีปัญหาความสัมพันธ์กับสมาชิกครอบครัว กับคู่ชีวิต กับเพื่อน หรือแม้แต่ปัญหาสร้างความผูกพันกับทารกที่เกิดใหม่[15] ในการรักษาความซึมเศร้าหลังคลอดและความซึมเศร้าขั้วเดียวอื่น ๆ สำหรับหญิงที่กำลังให้นม โดยทั่วไปแล้วพิจารณาว่าควรเลือกยา nortriptyline, paroxetine และ sertraline[16] หญิงที่มีประวัติส่วนตัวหรือประวัติสมาชิกครอบครัวว่ามีความผิดปกติทางอารมณ์ จะมีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะต่อความซึมเศร้าหลังคลอด[17]
    • โรคอารมณ์ละเหี่ยก่อนประจำเดือน (premenstrual dysphoric disorder, PMDD) เป็นกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome) แบบรุนแรงและทำให้พิการโดยมีผลต่อหญิงวัยมีประจำเดือน 3-8%[18] ความผิดปกติประกอบด้วย "กลุ่มอาการทางอารมณ์ พฤติกรรม และทางกาย" ซึ่งเกิดซ้ำ ๆ ทุกเดือนในระยะ luteal ของรอบประจำเดือน[A][18] PMDD ได้เพิ่มในรายการโรคซึมเศร้าของ DSM ในปี พ.ศ. 2556 พยาธิกำเนิดของโรคนี้ยังไม่ชัดเจนและเป็นประเด็นงานวิจัยที่ยังทำอย่างแอ๊กถีฟ โรครักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าที่ปรับระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินโดยยับยั้งการดูดซึมเซโรโทนินเข้าไปใช้อีก และด้วยการคุมกำเนิดที่ระงับการตกไข่[18][19]
    • ความผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดู (Seasonal affective disorder หรือ SAD) ถือเป็นวิถีการดำเนินของโรค สำหรับบางคนเป็นรูปแบบความซึมเศร้าที่แสดงออกในช่วงฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูหนาว และหายไปในฤดูใบไม้ผลิ จะใช้วินิจฉัยนี้ถ้ามีคราวแสดงออกของโรคอย่างน้อย 2 คราวในฤดูหนาวและไม่มีคราวที่เป็นในฤดูอื่น ๆ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี[20] มีสมมติฐานที่สามัญว่า คนที่อยู่ในประเทศที่มีละติจูดสูงกว่ามักจะได้รับแสงอาทิตย์น้อยกว่าในช่วงฤดูหนาว และดังนั้นจึงประสบ SAD ในอัตราที่สูงกว่า แต่หลักฐานทางวิทยาการระบาดสำหรับสมมติฐานนี้ไม่หนักแน่น (และละติจูดก็ไม่ใช่ตัวกำหนดตัวเดียวของการได้รับแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาว) อนึ่ง SAD ยังมีความชุกสูงกว่าในคนอายุน้อยและหญิงมักจะเป็นมากกว่าชาย[21] นักวิชาการบางพวกเชื่อว่า โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยแสง (light therapy)[22]
    • Dysthymia (ภาวะอารมณ์ซึมเศร้า) เป็นโรคที่สัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าขั้วเดียว โดยมีปัญหาทางกายและทางประชานที่คล้ายกัน แต่รุนแรงน้อยกว่าและมักจะเป็นนานกว่า (ปกติอย่างน้อย 2 ปี)[23] การรักษาโดยมากเหมือนกับโรคซึมเศร้า รวมทั้งให้ยาแก้ซึมเศร้าและจิตบำบัด[24]
    • Double depression กำหนดว่าเป็นภาวะอารมณ์ซึมเศร้า (dysthymia) ที่คงยืนอย่างน้อย 2 ปี แต่ขัดจังหวะด้วยการผ่านเกณฑ์โรคซึมเศร้าในระหว่าง ๆ[23]
    • Depressive Disorder Not Otherwise Specified (DD-NOS) กำหนดโดย DSM-IV ว่ามีรหัส 311 สำหรับโรคซึมเศร้าที่ทำให้พิการแต่ไม่เข้ากับเกณฑ์วินิจฉัยอื่น ๆ ตาม DSM-IV โรคแบบ DD-NOS จะรวม "โรคซึมเศร้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์โดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง" ซึ่งรวมการวินิจฉัยที่ยังต้องวิจัย คือ recurrent brief depression (โรคซึมเศร้าสั้นซ้ำ ๆ) และ minor depressive disorder ดังจะกล่าวต่อไป
    • Depressive personality disorder (DPD แปลได้ว่า ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบซึมเศร้า) เป็นเกณฑ์วินิจฉัยที่สร้างความขัดแย้งที่หมายเอาความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่มีอาการซึมเศร้า ซึ่งดั้งเดิมรวมอยู่ใน DSM-II แต่ได้เอาออกจาก DSM-III และ DSM-III-R[25] แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ หมวดนี้ได้รับพิจารณาเพื่อใช้เป็นเกณฑ์วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง ภาคผนวก B ใน DSM-IV-TR กำหนด Depressive personality disorder ว่าเป็นอาการที่ควรจะศึกษาต่อไป
    • Recurrent brief depression (RBD) ต่างกับโรคซึมเศร้าโดยระยะเวลาที่อาการคงยืน คนไข้ RBD มีคราวซึมเศร้าเดือนละครั้งโดยประมาณ แต่ละครั้งมีระยะน้อยกว่า 2 อาทิตย์ และปกติน้อยกว่า 2-3 วัน การวินิจฉัยว่ามี RBD บังคับว่า ต้องมีคราวซึมเศร้าเกิดขึ้นเป็นช่วงเวลา 1 ปี และในหญิง ต้องเกิดเป็นอิสระจากรอบประจำเดือน[26] คนไข้โรคซึมเศร้าสามารถเกิดโรค RBD และนัยตรงข้ามก็จริงด้วย และโรคทั้งสองก็มีความเสี่ยงคล้าย ๆ กัน[27][โปรดขยายความ]
    • Minor depressive disorder หรือเรียกสั้น ๆ ว่า minor depression หมายถึงความซึมเศร้าที่ไม่ถึงเกณฑ์โรคซึมเศร้า (MDD) แต่มีอาการอย่างน้อย 2 อย่างเป็นเวลา 2 สัปดาห์[28]

โรคอารมณ์สองขั้ว

[แก้]

โรคอารมณ์สองขั้ว (BD, manic depression, manic-depressive disorder) เป็นสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่เสถียรเป็นวงจรประกอบด้วยอารมณ์ครึกครื้น คืออาการฟุ้งพล่าน (mania) ที่คงยืนและผิดปกติ สลับกับอารมณ์ซึมเศร้า[29] ซึ่งเคยรู้จักในชื่อว่า "manic depression" และในบางราย จะมีวงจรที่สลับขั้วอย่างรวดเร็ว หรือมีอารมณ์ผสมผเสกัน หรือมีอาการโรคจิต (psychosis)[30] โรคแบ่งเป็นหมวดย่อย ๆ รวมทั้ง

  • Bipolar I จำแนกโดยการมีประวัติหรือมีคราวอารมณ์ฟุ้งพล่านหรือคราวอารมณ์ผสมผเส และมีหรือไม่มีคราวซึมเศร้าด้วย การมีคราวซึมเศร้าไม่จำเป็นเพื่อเกณฑ์วินิจฉัยนี้ แต่ก็มักจะเป็นส่วนของการดำเนินโรค
  • Bipolar II ประกอบด้วยภาวะเกือบฟุ้งพล่าน (hypomania) สลับกับคราวซึมเศร้าหรือคราวอารมณ์ผสมผเสที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ
  • Cyclothymia เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคอารมณ์สองขั้ว ประกอบด้วยคราวอารมณ์เกือบฟุ้งพล่าน (hypomania) สลับกับอารมณ์เกือบซึมเศร้า (dysthymia) แต่ไม่มีทั้งคราวฟุ้งพล่านหรือคราวซึมเศร้าสมบูรณ์แบบ
  • Bipolar Disorder Not Otherwise Specified (BD-NOS) หรือบางครั้งเรียกว่าโรคอารมณ์สองขั้วแบบเกือบถึงเกณฑ์ (sub-threshold) ซึ่งแสดงว่า คนไข้ต้องมีอาการแบบเดียวกับที่พบในโรค (คือ อารมณ์ฟุ้งพล่านและ/หรืออารมณ์ซึมเศร้า) แต่ไม่ผ่านเกณฑ์การวินิจฉัย DSM-IV อื่น ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว

ประเมินว่า ประมาณ 1% ของประชากรผู้ใหญ่มีโรค bipolar I, อีก 1% มีโรค bipolar II หรือ cyclothymia และอีกประมาณ 2-5% มีโรคแบบเกือบถึงเกณฑ์ (sub-threshold) นอกจากนั้นแล้ว โอกาสมีโรคเมื่อพ่อหรือแม่คนหนึ่งมี อยู่ที่ระหว่าง 15-30% และถ้าทั้งพ่อแม่มี โอกาสอยู่ที่ 50-75% ในระหว่างพี่น้อง โอกาสเสี่ยงอยู่ที่ 15-25% แต่ถ้าเป็นแฝดเหมือน โอกาสอยู่ที่ 70%[31]

คนไข้ส่วนน้อยจะมีพรสวรรค์ เช่น ความคิดสร้างสรรค์สูง อารมณ์ศิลป์ หรือความสามารถอื่น ๆ ในช่วงที่อาการไม่รุนแรง ลักษณะของอาการฟุ้งพล่านต่าง ๆ รวมทั้งพละกำลัง ความทะเยอทะยาน ความกระตือรือร้น และความรู้สึกเก่งบ่อยครั้งจะช่วยให้คนไข้ได้สร้างผลงานชิ้นเอกของชีวิต[29] มีหลักฐานบ้างว่า คนที่ทำอาชีพในเรื่องสร้างสรรค์มีโรคอารมณ์สองขั้วในอัตราสูงกว่าในอาชีพอื่น ๆ[32]

โรคที่เกิดจากสาร

[แก้]

ความผิดปกติทางอารมณ์สามารถจัดเป็นแบบที่เกิดจากสาร (substance-induced) ถ้าสมุฏฐานของโรคสามารถสืบไปยังผลทางสรีรภาพโดยตรงของยาที่มีฤทธิ์ทางจิต (psychoactive drug) หรือสารเคมีอื่น ๆ หรือว่า โรคเกิดพร้อมกับสารเป็นพิษ (substance intoxification) หรือการขาดสาร นอกจากนั้นแล้ว บุคคลอาจจะมีความผิดปกติทางอารมณ์พร้อมกับการติดสารเสพติด (substance abuse) บางอย่าง ความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดจากสารอาจมีคราวฟุ้งพล่าน เกือบฟุ้งพล่าน อารมณ์ผสมผเส หรือคราวซึมเศร้า สารโดยมากสามารถก่อความผิดปกติทางอารมณ์หลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น สารกระตุ้นเช่นแอมเฟตามีน, methamphetamine, และโคเคน สามารถก่อทั้งคราวฟุ้งพล่าน เกือบฟุ้งพล่าน อารมณ์ผสมผเส และคราวซึมเศร้า[33]

เกิดจากเหล้า

[แก้]

มีอัตราโรคซึมเศร้าสูงในบุคคลที่ดื่มเหล้าหนักหรือที่ติดเหล้า เคยมีประเด็นขัดแย้งเกี่ยวกับว่าคนที่ใช้เหล้าในทางผิดแล้วเกิดความซึมเศร้า ความจริงแล้วกำลังให้ยาตัวเองสำหรับอาการซึมเศร้าที่มีมาก่อน ๆ แต่งานศึกษาเมื่อไม่นานนี้สรุปว่า แม้นี่อาจจะจริงในบางราย การใช้เหล้าอย่างผิด ๆ เป็นเหตุโดยตรงของการเกิดโรคซึมเศร้าในผู้ดื่มเหล้าหนักเป็นจำนวนมาก ผู้ร่วมการทดลองในงานศึกษานี้ได้ประเมินในช่วงที่มีเหตุการณ์เครียดในชีวิตด้วยแบบวัดความรู้สึกที่ไม่ดี (Feeling Bad Scale) และโดยนัยเดียวกัน มีการประเมินความสัมพันธ์กับการมีเพื่อนที่ผิดปกติ (deviant) ความว่างงาน และการเสพยาเสพติดหรือพฤติกรรมอาชญากรรมของคู่ชีวิต[34][35][36] อัตราการฆ่าตัวตายก็สูงด้วยในบุคคลที่มีปัญหาเรื่องเหล้า[37]

ปกติจะสามารถจำแนกความซึมเศร้าที่เกี่ยวกับเหล้าและที่ไม่เกี่ยวโดยสืบประวัติคนไข้อย่างละเอียด[36][38][39] ความซึมเศร้าและปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับการกินเหล้าอาจจะมาจากความเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมอง และมักจะดีขึ้นเองหลังจากอดเหล้าสักพักหนึ่ง[40]

เกิดจากยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน

[แก้]

ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน เช่น alprazolam, คโลนะเซแพม, lorazepam และ diazepam สามารถเป็นเหตุของทั้งอารมณ์ซึมเศร้าและอารมณ์ฟุ้งพล่าน[41]

ยากลุ่มนี้ใช้อย่างสามัญเพื่อรักษาโรควิตกกังวล โรคตื่นตระหนก การนอนไม่หลับ และใช้เป็นยาเสพติด บุคคลที่มีโรคเหล่านี้มักจะมีอารมณ์และความคิดเชิงลบ อารมณ์ซึมเศร้า ความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย และบ่อยครั้งจะมีโรคซึมเศร้าเป็นไปร่วม แม้ฤทธิ์คลายกังวล (anxiolytic) และฤทธิ์ให้นอนหลับ (hypnotic) ของยาจะหายไปเมื่อคนไข้ชินยา แต่ความซึมเศร้าและความหุนหันพลันแล่นพร้อมกับโอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงก็กลับคงยืนโดยสามัญ[42] โชคไม่ดีว่า อาการเหล่านี้ "มักตีความว่า เป็นความแย่ลงหรือเป็นวิถีดำเนินตามธรรมชาติของโรคที่มีอยู่แล้วและ [ดังนั้น] จึงมองข้ามเหตุคือการใช้ยาเพื่อระงับประสาทเป็นประจำไป"[42] ยากลุ่มนี้ไม่ช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า สามารถทำโรคที่มีอยู่ให้แย่ลง สามารถเป็นเหตุแห่งความซึมเศร้าในบุคคลที่โดยประวัติไม่เคยมีโรค และอาจทำให้พยายามฆ่าตัวตาย[42][43][44][45][46] ปัจจัยเสี่ยงสำหรับการพยายามหรือการฆ่าตัวตายสำเร็จเมื่อใช้ยารวมทั้ง กินยาขนาดสูง (แม้เมื่อไม่ได้กินยาอย่างไม่สมควร) ยาเป็นพิษ และโรคซึมเศร้าที่เป็นมูลฐาน[41][47][48]

การใช้ยาในระยะยาวอาจมีผลต่อสมองคล้ายกับเหล้า และเป็นเหตุของโรคซึมเศร้าด้วยเหมือนกัน[49] และเหมือนกับเหล้า ผลของยาต่อระบบเคมีประสาท รวมทั้งการทำงานที่ลดลงของระบบเซโรโทนินและนอร์เอพิเนฟริน เชื่อว่าเป็นเหตุของความซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้น[50][51][52][53][54][55]

นอกจากนั้นแล้ว ยายังสามารถทำให้อารมณ์แย่ลงโดยอ้อมเพราะนอนได้แย่ลง (benzodiazepine-induced sleep disorder) คือเหมือนกับเหล้า ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนแม้สามารถช่วยให้นอนหลับ แต่ก็กวนรูปแบบของการนอนด้วย คือ ลดระยะเวลานอน ผัดผ่อนช่วงการนอนแบบ REM sleep และลดเวลาของช่วงที่หลับลึกที่สุด (slow-wave sleep) ซึ่งเป็นช่วงที่ช่วยฟื้นสภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจมากที่สุด[56][57][58]

เหมือนกับที่ยาแก้ซึมเศร้าบางอย่างสามารถเป็นเหตุหรือทำความวิตกกังวลในคนไข้บางคนให้แย่ลงเพราะมีฤทธิ์กระตุ้น เบ็นโซไดอาเซพีนสามารถเป็นเหตุหรือทำความซึมเศร้าให้แย่ลงเพราะเป็นยาระงับระบบประสาทกลาง และทำให้การคิด สมาธิ และการแก้ไขปัญหาแย่ลง (ซึ่งเป็นอาการของ benzodiazepine-induced neurocognitive disorder)[41] แต่ที่ไม่เหมือนกันก็คือ ผลกระตุ้นของยาแก้ซึมเศร้าปกติจะดีขึ้นเมื่อการรักษาดำเนินต่อไป เทียบกับผลให้เกิดความซึมเศร้าของยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ที่โอกาสดีขึ้นนั้นมีน้อยจนกว่าจะหยุดยา

ในงานศึกษาระยะยาวที่ติดตามคนไข้ที่ติดยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน พบว่า คนไข้ 10 คน (20%) ได้ตั้งใจทานยาเกินเมื่อใช้ยาในระยะยาวแม้จะมีคนไข้เพียง 2 คนที่มีอาการซึมเศร้ามาก่อน แต่หลังจากการค่อย ๆ หยุดยาในช่วงปีหนึ่ง ก็ไม่มีคนไข้อื่นที่ทานยาเกินอีก[59]

เหมือนกับอาการยาเป็นพิษหรือเมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน การขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีนก็สามารถเป็นเหตุของโรคซึมเศร้าได้ด้วย[60][61][62] แม้ความซึมเศร้าเนื่องจากยา (benzodiazepine-induced depressive disorder) จะแย่ลงทันทีที่เลิกใช้ยา แต่หลักฐานก็แสดงว่า อารมณ์จะดีขึ้นหลังจากผ่านช่วงขาดยา โดยดีกว่าในช่วงใช้ยาอย่างสำคัญ[42] โรคซึมเศร้าที่เกิดจากการขาดยาปกติจะหายภายใน 2-3 เดือนแต่ในบางกรณีอาจจะคงยืนนานถึง 6-12 เดือน[63][64]

เนื่องจากความเจ็บป่วยอื่น ๆ

[แก้]

การวินิจฉัย Mood disorder due to a general medical condition ใช้ใน DSM-IV เพื่อระบุคราวฟุ้งพล่านหรือคราวซึมเศร้าซึ่งเกิดเป็นส่วนของอาการทางการแพทย์อย่างอื่น ๆ[65] ซึ่งมีหลายอย่างที่สามารถจุดชนวนคราวซึมเศร้า รวมทั้ง[65]

Not otherwise specified

[แก้]

Mood disorder not otherwise specified (MD-NOS) เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่ทำให้พิการแต่ไม่เข้ากับเกณฑ์วินิจฉัยอื่น ๆ DSM-IV กล่าวถึง MD-NOS ว่าเป็น "ความผิดปกติทางอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ผ่านเกณฑ์ความผิดปกติเฉพาะอย่างหนึ่ง"[66] เป็นป้ายทะเบียนที่ไม่ได้ใช้ในการรักษาแต่ใช้เพื่อเก็บสถิติ[67]

กรณีโดยมากของ MD-NOS เป็นลูกผสมระหว่างความผิดปกติทางอารมณ์และความวิตกกังวล เช่น mixed anxiety-depressive disorder (โรควิตกกังวล-ซึมเศร้าแบบผสม) หรือ atypical depression (โรคซึมเศร้านอกแบบ)[67] ตัวอย่างหนึ่งของ MD-NOS ก็คือ การมีความซึมเศร้าแบบอ่อน ๆ (minor) บ่อย ๆ ในช่วงเวลาต่าง ๆ เช่น ครั้งหนึ่งต่อเดือนหรือครั้งหนึ่งทุกสามวัน[66] มีความเสี่ยงว่า แพทย์จะไม่สังเกตเห็น MD-NOS และดังนั้นโรคก็จะไม่ได้รักษา[68]

เหตุ

[แก้]

งานวิเคราะห์อภิมานได้แสดงว่า การได้คะแนนบุคลิกภาพเป็นคนวิตกจริต (neuroticism) สูงเป็นตัวพยากรณ์ที่มีกำลังในการเกิดความผิดปกติทางอารมณ์[69] นักวิชาการจำนวนหนึ่งได้เสนอว่า ความผิดปกติทางอารมณ์เป็นการปรับตัวทางวิวัฒนาการ[70] คือ อารมณ์ซึมเศร้าอาจเพิ่มสมรรถภาพในการรับมือกับสถานการณ์ที่ความพยายามทำให้ถึงเป้าหมายสำคัญอาจมีผลเป็นอันตราย การสูญเสีย หรือเสียแรงเปล่า[71] ในสถานการณ์เช่นนี้ ความไม่กระตือรือร้นอาจเป็นข้อดีเพราะช่วยระงับไม่ให้ทำอะไรบางอย่าง ทฤษฎีนี้ช่วยอธิบายว่า ทำไมเหตุการณ์ร้ายในชีวิตจึงมาก่อนโรคซึมเศร้าในกรณีราว ๆ 80%[72][73] และทำไมจึงเกิดกับคนในช่วงชีวิตที่กำลังเจริญพันธุ์มากที่สุด ลักษณะเหล่านี้อธิบายได้ยากถ้าความซึมเศร้าเป็นการทำงานผิดปกติ[71]

อารมณ์ซึมเศร้าเป็นการตอบสนองที่พยากรณ์ได้ต่อเหตุการณ์ในชีวิตบางอย่าง เช่นการสูญเสียสถานะ การหย่าร้าง หรือการเสียชีวิตของลูกหรือคู่ชีวิต ซึ่งล้วนเป็นการสูญเสียสมรรถภาพหรือโอกาสทางการสืบพันธุ์ หรือว่าเคยเป็นของบรรพบุรุษมนุษย์ อารมณ์ซึมเศร้าจึงอาจมองว่าเป็นการตอบสนองที่เป็นการปรับตัว เพราะช่วยให้บุคคลหันหลังให้กับพฤติกรรมซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จทางการสืบพันธุ์ที่เคยมีแต่ก่อน

อารมณ์ซึมเศร้ายังเป็นเรื่องสามัญเมื่อป่วย เช่น เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น จึงอ้างว่านี่เป็นกลไกทางวิวัฒนาการที่ช่วยบุคคลให้ฟื้นสภาพโดยจำกัดกิจกรรมทางกาย[74]

การเกิดความซึมเศร้าในระดับต่ำในช่วงฤดูหนาว หรือที่พบในโรคซึมเศร้าตามฤดู (seasonal affective disorder) อาจเป็นการปรับตัวที่ดีในอดีต คือช่วยจำกัดกิจกรรมทางกายในช่วงที่อาหารมีน้อย[74] จึงอ้างว่า มนุษย์ยังเหลือสัญชาตญาณที่จะมีอารมณ์ซึมเศร้าในฤดูหนาว แม้ภูมิอากาศจะไม่ได้กำหนดการได้อาหารอีกต่อไป[74]

ความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับอิทธิพลของพันธุกรรมต่อโรคซึมเศร้าอาศัยงานวิจัยที่ทำกับแฝดเหมือน เพราะมีรหัสพันธุกรรมที่เหมือนกันอย่างสมบูรณ์ งานวิจัยพบว่า เมื่อแฝดคนหนึ่งเกิดโรคซึมเศร้า อีกคนหนึ่งก็จะเกิดโรคเหมือนกันในอัตรา 76% และเมื่อแฝดเหมือนเติบโตขึ้นในคนละบ้าน ทั้งสองจะเป็นโรคทั้งคู่ในอัตรา 67% เนื่องจากแฝดทั้งคู่เกิดโรคในอัตราที่สูงเช่นนี้ นี่หมายความว่า อิทธิพลทางพันธุกรรมต่อโรคสูงมาก และถ้าสมมุติว่า เมื่อแฝดคนหนึ่งเกิดโรค อีกคนหนึ่งก็จะเกิดโรคอย่างแน่นอน นี่ก็น่าจะหมายความว่าความซึมเศร้าเกิดจากพันธุกรรมร้อยเปอร์เซ็นต์[75]

เกณฑ์วินิจฉัย

[แก้]

DSM-5

[แก้]

DSM-5 ที่เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 ได้แยกบทเรื่องความผิดปกติทางอารมณ์ที่พบใน DSM-IV-TR ออกเป็น 2 ภาค คือ Depressive and Related Disorders และ Bipolar and Related Disorders โดยโรคอารมณ์สองขั้วตกอยู่ระหว่างความผิดปกติแบบซึมเศร้า และ Schizophrenia Spectrum and Related Disorders (โรคที่เกี่ยวกับโรคจิตเภท) “เพื่อยอมรับบทบาทของโรคว่าเป็นสะพานเชื่อมเกณฑ์วินิจฉัยสองหมวดโดยอาการ ประวัติครอบครัว และพันธุกรรม[76] รายะละเอียดของโรคอารมณ์สองขั้วใน DSM-5 เปลี่ยนไปหลายอย่าง ที่เด่นที่สุดก็คือการเพิ่มอาการที่เฉพาะเจาะขึ้นเกี่ยวกับสภาวะเกือบฟุ้งพล่าน (hypomanic) และสภาวะอารมณ์ผสมผเส (mixed manic states)

ส่วนกลุ่มโรคซึมเศร้าเปลี่ยนไปมากกว่าอีก โดยเพิ่มโรค 3 อย่าง คือ disruptive mood dysregulation disorder (DMDD), persistent depressive disorder (ก่อนนั้นเรียกว่า dysthymia) และ premenstrual dysphoric disorder (ก่อนหน้านั้นอยู่ในภาคผนวก B ซึ่งกล่าวถึงความผิดปกติที่จำเป็นต้องวิจัยเพิ่มขึ้น) DMDD หมายเป็นวินิจฉัยสำหรับเด็กและวัยรุ่นที่ปกติอาจจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว เพื่อจำกัดการวินิจฉัยโรคอารมณ์สองขั้วในบุคคลวัยนี้ โรคซึมเศร้า (MDD) ก็เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดด้วย คือ ได้ตัดข้อยกเว้นเกี่ยวกับความเศร้าโศกที่คนรักเสียชีวิต (bereavement) ออกไป ซึ่งก่อนหน้านั้นยกเว้นบุคคลเช่นนี้จากวินิจฉัยว่าเป็น MDD แต่ตอนนี้จัดว่าเป็นโรคนี้ได้[77]

การรักษา

[แก้]

ความผิดปกติทางอารมณ์รักษาได้หลายวิธี เช่น การบำบัดและการให้ยา พฤติกรรมบำบัด (behaviour therapy) การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และ interpersonal psychotherapy ล้วนอาจมีประโยชน์ในโรคซึมเศร้า[78][79] ยาสำหรับโรคซึมเศร้ารวมทั้งยาแก้ซึมเศร้า ส่วนโรคอารมณ์สองขั้วอาจรวมยาระงับอาการทางจิต ยาที่ทำอารมณ์ให้เสถียร (mood stabilizers) ยากันชัก[80] และ/หรือยาลิเทียม (lithium)

ลิเทียมโดยเฉพาะได้พิสูจน์แล้วว่าลดการฆ่าตัวตายและอัตราการตายเหตุทั้งหมดในคนไข้ที่มีโรคเช่นนี้[81] ถ้าการทำงานผิดปกติของไมโทคอนเดรีย หรือกลุ่มโรคไมโทคอนเดรีย (mitochondrial diseases) เป็นเหตุของความผิดปกติทางอารมณ์เหมือนกับโรคอารมณ์สองขั้ว[82] ก็มีสมมติฐานว่า ยาต่าง ๆ รวมทั้ง N-acetyl-cysteine (NAC), acetyl-L-carnitine (ALCAR), S-adenosylmethionine (SAMe), coenzyme Q10 (CoQ10), alpha-lipoic acid (ALA), creatine monohydrate (CM) และ melatonin อาจเป็นทางเลือกในการรักษา[83]

เพื่อกำหนดวิธีการรักษา มีมาตราความซึมเศร้า (depression scale) หลายแบบที่ใช้ อย่างหนึ่งให้คนไข้รายงานเองซึ่งเรียกว่า Beck Depression Inventory (BDI) อีกอย่างคือ Hamilton Depression Rating Scale (HAMD) โดยเป็นมาตราวัดในคลินิกที่แพทย์พยาบาลสังเกตคนไข้แล้วลงคะแนน[84]

ส่วนมาตรา Center for Epidemiologic Studies Depression Scale (CES-D) ใช้สำหรับอาการซึมเศร้าของประชากรทั่วไป โดยปกติใช้เพื่องานวิจัย และไม่ได้ให้บุคคลรายงานเอง ส่วน PHQ-9 (Patient-Health Questionnaire-9) ก็เป็นแบบคำถามที่คนไข้รายงานเองเช่นกัน และแบบคำถาม Mood Disorder Questionnaire (MDQ) ใช้สำหรับประเมินโรคอารมณ์สองขั้ว[85]

วิทยาการระบาด

[แก้]

ตามงานศึกษาทางวิทยาการระบาดจำนวนมาก หญิงมีโอกาสเกิดความผิดปกติทางอารมณ์บางชนิดมากกว่าชายถึง 2 เท่า รวมทั้งโรคซึมเศร้า (MDD) และแม้จำนวนหญิงชายที่วินิจฉัยว่าเป็นโรค bipolar II จะเท่ากัน แต่หญิงก็ยังเกิดโรคในอัตราสูงกว่าเล็กน้อย[86]

ในปี พ.ศ. 2554 ความผิดปกติทางอารมณ์เป็นเหตุผลสามัญที่สุดที่เด็กอายุ 1-17 ปีเข้าโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา โดยเข้าอยู่ที่ รพ. 112,000 ครั้ง[87] ในบรรดาผู้ที่ใช้บริการระบบสุขภาพ Medicaid ในสหรัฐอเมริกามากที่สุดในปี พ.ศ. 2555 ความผิดปกติทางอารมณ์เป็นโรคที่วินิจฉัยมากที่สุดอย่างหนึ่ง[88] นอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาในรัฐ 18 รัฐพบว่า ความผิดปกติทางอารมณ์เป็นเหตุกลับเข้าโรงพยาบาลอีกในคนไข้ที่ใช้ระบบ Medicaid และที่ไม่มีประกัน โดยมีคนไข้ Medicaid 41,600 คน และคนไข้ไม่มีประกัน 12,200 คนที่รับเข้า รพ. อีกภายใน 30 วันหลังจากออกจาก รพ. ในเบื้องต้น ซึ่งเป็นอัตราการรับเข้าโรงพยาบาลอีกที่ 19.8% ของจำนวนคนไข้ที่รับเข้าโรงพยาบาล และ 12.7% ตามลำดับ[89] ในปี พ.ศ. 2555 ความผิดปกติทางอารมณ์และทางพฤติกรรมอื่น ๆ เป็นวินิจฉัยที่สามัญที่สุดสำหรับคนไข้ Medicaid และคนไข้ไม่มีประกันที่อยู่ในโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา (คือ 6.1% ของคนไข้ Medicaid และ 5.2% ของคนไข้ไม่มีประกัน)[90]

งานศึกษาที่ทำระหว่างปี พ.ศ. 2531-2537 ในผู้ใหญ่ชาวอเมริกันวัยต้นโดยเลือกลักษณะทางประชากรศาสตร์และทางสุขภาพบางอย่าง มีตัวอย่างประชากรทั้งหญิงชายจำนวน 8,602 คนอายุระหว่าง 17-39 ปีเข้าร่วมการทดลอง ได้ประเมินความชุกชั่วชีวิต 6 อย่าง คือ[91]

  1. คราวซึมเศร้า (major depressive episode ตัวย่อ MDE) 8.6%
  2. โรคซึมเศร้าที่รุนแรง (major depressive disorder ตัวย่อ MDE-s) 7.7%
  3. dysthymia 6.2%,
  4. MDE-s พร้อมกับ dysthymia 3.4%
  5. โรคอารมณ์สองขั้วทุกแบบ 1.6%
  6. ความผิดปกติทางอารมณ์ทุกรูปแบบ 11.5%

งานวิจัย

[แก้]

มีนักวิชาการ เช่นศาสตราจารย์สาขาจิตเวชที่มหาวิทยาลัยการแพทย์จอนส์ฮอปกินส์ (Kay Redfield Jamison) ที่ได้ตรวจสอบความสัมพันธ์ที่อาจมีระหว่างความผิดปกติทางอารมณ์โดยเฉพาะโรคอารมณ์สองขั้ว กับการสร้างสรรค์ แล้วเสนอว่า "บุคลิกภาพแบบครุ่นคิดอาจมีบทบาทต่อทั้งความผิดปกติทางอารมณ์และศิลปะ"[92]

นักเขียนท่านหนึ่งให้ข้อสังเกตกับงานศึกษาที่มหาวิทยาลัยออริกอนสเตตว่า

[ผู้เขียน]ได้ตรวจดูอาชีพของคนไข้ทั่วไปกลุ่มใหญ่แล้วพบว่า ‘ผู้ที่มีโรคอารมณ์สองขั้วดูจะอยู่ในหมวดอาชีพสร้างสรรค์มากที่สุดโดยเกินสัดส่วน’ และยังพบว่า โอกาส ‘ทำสิ่งสร้างสรรค์เมื่อทำงาน’ อยู่ในระดับสูงกว่าสำหรับคนไข้อารมณ์สองขั้วมากกว่าผู้ทำงานคนอื่น ๆ[93]

ในบทความ "โรคอารมณ์สองขั้วและความคิดสร้างสรรค์"[94] ผู้ประพันธ์ได้เขียนไว้ว่า

ความจำและความสร้างสรรค์สัมพันธ์กับอาการฟุ้งพล่าน (mania) งานศึกษาทางคลินิกแสดงว่า คนที่อยู่ในภาวะฟุ้งพล่านจะใช้เสียงสัมผัส หาคำไวพจน์ และใช้การสัมผัสอักษร มากกว่ากลุ่มควบคุม ความว่องไวของจิตใจอาจมีส่วนต่อการสร้างสรรค์ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นแล้ว สภาวะฟุ้งพล่านยังเพิ่มทั้งผลิตผลและพลัง ผู้ที่มีภาวะฟุ้งพล่านไวอารมณ์มากกว่า และยับยั้งทัศนคติต่าง ๆ น้อยกว่า ซึ่งอาจทำให้แสดงออกได้มากกว่า งานศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ตรวจดูความคิดต้นฉบับที่ใช้แก้ปัญหาสร้างสรรค์ บุคคลที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้ว เมื่อโรคยังไม่ถึงระดับรุนแรง มักจะมีความสร้างสรรค์สูงกว่า

ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างโรคซึมเศร้ากับความสร้างสรรค์ดูจะแรงเป็นพิเศษในบรรดานักกวี[95][96]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ระยะ luteal เป็นระยะหลังของรอบประจำเดือนในมนุษย์และสัตว์บางอย่างอื่น ๆ หรือระยะแรกของ estrous cycle ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรกอื่น ๆ ระยะนี้เริ่มด้วยการเกิด corpus luteum และยุติด้วยการตั้งครรภ์หรือ luteolysis (การเสื่อมทั้งโดยโครงสร้างและการทำงานของ corpus luteum) ฮอร์โมนหลักที่สัมพันธ์กันก็คือ progesterone ซึ่งสูงกว่าในระยะนี้อย่างสำคัญ ระยะตรงข้ามกับระยะนี้ คือที่เกิดในสองอาทิตย์ที่เหลือ เรียกว่า follicular phase

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Sadock 2002, p. 534
  2. Carlson 2007
  3. Lewis, AJ (1934). "Melancholia: A Historical Review". Journal of Mental Science. 80 (328): 1–42. doi:10.1192/bjp.80.328.1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2008.
  4. Berrios, GE (1985). "The Psychopathology of Affectivity: Conceptual and Historical Aspects". Psychological Medicine. 15 (4): 745–758. doi:10.1017/S0033291700004980. PMID 3909185. S2CID 26603488.
  5. Parker 1996, p. 173
  6. The ICD-10 Classification of Mental and Behavioural Disorders. World Health Organisation. 1993.
  7. Ayuso-Mateos J.L.; และคณะ (2001). "Depressive Disorders in Europe: Prevalence figures from the ODIN study". British Journal of Psychiatry. 179 (4): 308–316. doi:10.1192/bjp.179.4.308. PMID 11581110.
  8. Gelder; Mayou, Geddes (2005). Psychiatry. New York, NY: Oxford University Press Inc. p. 170.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. American Psychiatric Association 2000, pp. 421–22
  10. Sadock 2002, p. 548
  11. American Psychiatric Association 2000, pp. 419–20
  12. American Psychiatric Association 2000, p. 412
  13. American Psychiatric Association 2000, pp. 417–18
  14. Nonacs, Ruta M (2007-12-04). "Postpartum depression". eMedicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-13. สืบค้นเมื่อ 2008-10-30.
  15. O'Hara, Michael W (1995). Postpartum Depression: Causes and consequences. New York: Springer-Verlag. ISBN 978-1-4613-8418-2.
  16. Weissman, AM; Levy, BT; Hartz, AJ; Bentler, S; Donohue, M; Ellingrod, VL; Wisner, KL (2004). "Pooled analysis of antidepressant levels in lactating mothers, breast milk, and nursing infants". Am J Psychiatry. 161 (6): 1066–78. doi:10.1176/appi.ajp.161.6.1066. PMID 15169695.
  17. Parry, Barbara L (January 1996). "Premenstrual and Postpartum Mood Disorders". Current Opinion in Psychiatry. 9 (1): 11–16.
  18. 18.0 18.1 18.2 Rapkin, AJ; Lewis, EI (November 2013). "Treatment of premenstrual dysphoric disorder". Womens Health (Lond Engl). 9 (6): 537–56. doi:10.2217/whe.13.62. PMID 24161307.
  19. American Psychiatric Association (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders : DSM-5 (5th ed.). Washington, D.C.: American Psychiatric Association. pp. 171–175. ISBN 978-0-89042-554-1.
  20. American Psychiatric Association 2000, p. 425
  21. Lam, Raymond W; Levitan, Robert D. (2000). "Pathophysiology of seasonal affective disorder: a review". Journal of Psychiatry and Neuroscience. 25 (5): 469–480. PMC 1408021. PMID 11109298.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. Rosenthal, N.E (1984). "A Description of the syndrome and preliminary findings with Light Therapy". Archives of General Psychiatry. 41 (1): 72–80. doi:10.1001/archpsyc.1984.01790120076010. PMC 2686645. PMID 6581756.
  23. 23.0 23.1 Schacter, Gilbert & Wegner 2011, pp. 564–565.
  24. The ICD-10 Classification of Mental and Behavioural Disorders World Health Organisation 1993
  25. Millon, T (2006). "Personality subtypes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-23.
  26. American Psychiatric Association 2000, p. 778
  27. Carta, Mauro Giovanni; Altamura, Alberto Carlo; Hardoy, Maria Carolina; และคณะ (2003). "Is recurrent brief depression an expression of mood spectrum disorders in young people?". European Archives of Psychiatry and Clinical Neuroscience. 253 (3): 149–53. doi:10.1007/s00406-003-0418-5. hdl:2434/521599. PMID 12904979. S2CID 26860606.
  28. Rapaport MH, Judd LL, Schettler PJ, Yonkers KA, Thase ME, Kupfer DJ, Frank E, Plewes JM, Tollefson GD, Rush AJ (2002). "A descriptive analysis of minor depression". American Journal of Psychiatry. 159 (4): 637–43. doi:10.1176/appi.ajp.159.4.637. PMID 11925303.
  29. 29.0 29.1 Schacter, D; Gilbert, D; Wegner, D (2011). Psychology (2nd ed.). Worth Publishers. p. 570.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  30. Melissa Conrad Stöppler. "Bipolar Disorder (cont.)". MedicineNet, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2013. สืบค้นเมื่อ 27 October 2013.
  31. Abell, S.; Ey, J. L. (2009-06-04). "Bipolar Disorder". Clinical Pediatrics. 48 (6): 693–694. doi:10.1177/0009922808316663. PMID 19498214.
  32. Collingwood, Jane. "The Link Between Bipolar Disorder and Creativity". Psychcentral. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-26. สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  33. "Methods for Diagnosing Mood Disorders". faqs.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-11-26.
  34. Fergusson DM, Boden JM, Horwood LJ (March 2009). "Tests of causal links between alcohol abuse or dependence and major depression". Arch. Gen. Psychiatry. 66 (3): 260–6. doi:10.1001/archgenpsychiatry.2008.543. PMID 19255375.
  35. Falk DE, Yi HY, Hilton ME (April 2008). "Age of Onset and Temporal Sequencing of Lifetime DSM-IV Alcohol Use Disorders Relative to Comorbid Mood and Anxiety Disorders". Drug Alcohol Depend. 94 (1–3): 234–45. doi:10.1016/j.drugalcdep.2007.11.022. PMC 2386955. PMID 18215474.
  36. 36.0 36.1 Schuckit MA, Smith TL, Danko GP, และคณะ (November 2007). "A comparison of factors associated with substance-induced versus independent depressions". J Stud Alcohol Drugs. 68 (6): 805–12. doi:10.15288/jsad.2007.68.805. PMID 17960298. S2CID 17528609.
  37. Chignon JM, Cortes MJ, Martin P, Chabannes JP (1998). "[Attempted suicide and alcohol dependence: results of an epidemiologic survey]". Encephale (ภาษาฝรั่งเศส). 24 (4): 347–54. PMID 9809240.
  38. Schuckit MA, Tipp JE, Bergman M, Reich W, Hesselbrock VM, Smith TL (July 1997). "Comparison of induced and independent major depressive disorders in 2,945 alcoholics". Am J Psychiatry. 154 (7): 948–57. CiteSeerX 10.1.1.461.7953. doi:10.1176/ajp.154.7.948. PMID 9210745.
  39. Schuckit MA, Tipp JE, Bucholz KK, และคณะ (October 1997). "The life-time rates of three major mood disorders and four major anxiety disorders in alcoholics and controls". Addiction. 92 (10): 1289–304. doi:10.1111/j.1360-0443.1997.tb02848.x. PMID 9489046.
  40. Wetterling T, Junghanns K (December 2000). "Psychopathology of alcoholics during withdrawal and early abstinence". Eur Psychiatry. 15 (8): 483–8. doi:10.1016/S0924-9338(00)00519-8. PMID 11175926. S2CID 24094651.
  41. 41.0 41.1 41.2 American Psychiatric Association (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders, fifth edition. Arlington, VA: American Psychiatric Association.
  42. 42.0 42.1 42.2 42.3 Michelini, S.; Cassano, G. B.; Frare, F.; Perugi, G. (1996-07-01). "Long-term use of benzodiazepines: tolerance, dependence and clinical problems in anxiety and mood disorders". Pharmacopsychiatry. 29 (4): 127–134. doi:10.1055/s-2007-979558. ISSN 0176-3679. PMID 8858711.
  43. Lydiard, R. B.; Brawman-Mintzer, O.; Ballenger, J. C. (1996-08-01). "Recent developments in the psychopharmacology of anxiety disorders". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 64 (4): 660–668. doi:10.1037/0022-006x.64.4.660. ISSN 0022-006X. PMID 8803355.
  44. Baldwin, David S.; Anderson, Ian M.; Nutt, David J.; Bandelow, Borwin; Bond, A.; Davidson, Jonathan R. T.; den Boer, J. A.; Fineberg, Naomi A.; Knapp, Martin (2005-11-01). "Evidence-based guidelines for the pharmacological treatment of anxiety disorders: recommendations from the British Association for Psychopharmacology". Journal of Psychopharmacology (Oxford, England). 19 (6): 567–596. doi:10.1177/0269881105059253. ISSN 0269-8811. PMID 16272179. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-30. สืบค้นเมื่อ 2019-11-18.
  45. Ashton, H. (1987-06-01). "Benzodiazepine withdrawal: outcome in 50 patients". British Journal of Addiction. 82 (6): 665–671. doi:10.1111/j.1360-0443.1987.tb01529.x. ISSN 0952-0481. PMID 2886145.
  46. Gelpin, E.; Bonne, O.; Peri, T.; Brandes, D.; Shalev, A. Y. (1996-09-01). "Treatment of recent trauma survivors with benzodiazepines: a prospective study". The Journal of Clinical Psychiatry. 57 (9): 390–394. ISSN 0160-6689. PMID 9746445.
  47. Hawkins, Eric J.; Malte, Carol A.; Imel, Zac E.; Saxon, Andrew J.; Kivlahan, Daniel R. (2012-07-01). "Prevalence and trends of benzodiazepine use among Veterans Affairs patients with posttraumatic stress disorder, 2003-2010". Drug and Alcohol Dependence. 124 (1–2): 154–161. doi:10.1016/j.drugalcdep.2012.01.003. ISSN 1879-0046. PMID 22305658.
  48. Pfeiffer, Paul N.; Ganoczy, Dara; Ilgen, Mark; Zivin, Kara; Valenstein, Marcia (2009-01-01). "Comorbid Anxiety as a Suicide Risk Factor Among Depressed Veterans". Depression and Anxiety. 26 (8): 752–757. doi:10.1002/da.20583. ISSN 1091-4269. PMC 2935592. PMID 19544314.
  49. Semple, David; Smyth, Roger; Burns, Jonathan; Darjee, Rajan; McIntosh, Andrew (2007) [2005]. "13". Oxford Handbook of Psychiatry. United Kingdom: Oxford University Press. p. 540. ISBN 9780198527831.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  50. Collier & Longmore 2003, p. 366.
  51. Professor Heather Ashton (2002). "Benzodiazepines: How They Work and How to Withdraw".
  52. Lydiard RB, Laraia MT, Ballenger JC, Howell EF (May 1987). "Emergence of depressive symptoms in patients receiving alprazolam for panic disorder". Am J Psychiatry. 144 (5): 664–665. doi:10.1176/ajp.144.5.664. PMID 3578580.
  53. Nathan RG, Robinson D, Cherek DR, Davison S, Sebastian S, Hack M (January 1985). "Long-term benzodiazepine use and depression". Am J Psychiatry. 142 (1): 144–145. doi:10.1176/ajp.142.1.144-b. PMID 2857068. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 2016-10-17.
  54. Longo, L. P.; Johnson, B. (April 2000). "Addiction: Part I. Benzodiazepines—side effects, abuse risk and alternatives". American Family Physician. 61 (7): 2121–2128. ISSN 0002-838X. PMID 10779253.
  55. Tasman A, Kay J, Lieberman JA, บ.ก. (2008). Psychiatry, third edition. Chichester, England: John Wiley & Sons. pp. 2603–2615.
  56. Ashton, Heather (May 2005). "The diagnosis and management of benzodiazepine dependence". Current Opinion in Psychiatry. 18 (3): 249–255. doi:10.1097/01.yco.0000165594.60434.84. ISSN 0951-7367. PMID 16639148. S2CID 1709063.
  57. Morin, Charles M.; Bélanger, Lynda; Bastien, Célyne; Vallières, Annie (January 2005). "Long-term outcome after discontinuation of benzodiazepines for insomnia: a survival analysis of relapse". Behaviour Research and Therapy. 43 (1): 1–14. doi:10.1016/j.brat.2003.12.002. ISSN 0005-7967. PMID 15531349.
  58. Poyares, Dalva; Guilleminault, Christian; Ohayon, Maurice M.; Tufik, Sergio (June 2004). "Chronic benzodiazepine usage and withdrawal in insomnia patients". Journal of Psychiatric Research. 38 (3): 327–334. doi:10.1016/j.jpsychires.2003.10.003. ISSN 0022-3956. PMID 15003439.
  59. Ashton, C. H. (June 1987). "Benzodiazepine withdrawal: outcome in 50 patients". British Journal of Addiction. 82 (6): 665–671. doi:10.1111/j.1360-0443.1987.tb01529.x. ISSN 0952-0481. PMID 2886145.
  60. Fyer AJ, Liebowitz MR, Gorman JM, Campeas R, Levin A, Davies SO, Goetz D, Klein DF (March 1987). "Discontinuation of Alprazolam Treatment in Panic Patients". Am J Psychiatry. 144 (3): 303–8. doi:10.1176/ajp.144.3.303. PMID 3826428. สืบค้นเมื่อ 10 December 2008.
  61. Modell JG (March–April 1997). "Protracted benzodiazepine withdrawal syndrome mimicking psychotic depression" (PDF). Psychosomatics. 38 (2): 160–1. doi:10.1016/S0033-3182(97)71493-2. PMID 9063050. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 June 2008. สืบค้นเมื่อ 21 March 2009.
  62. Lader M (1994). "Anxiety or depression during withdrawal of hypnotic treatments". J Psychosom Res. 38 (Suppl 1): 113–23, discussion 118–23. doi:10.1016/0022-3999(94)90142-2. PMID 7799243.
  63. Ashton CH (March 1995). "Protracted Withdrawal From Benzodiazepines: The Post-Withdrawal Syndrome". Psychiatric Annals. 25 (3): 174–179. doi:10.3928/0048-5713-19950301-11.
  64. Professor Heather Ashton (2004). "Protracted Withdrawal Symptoms From Benzodiazepines". Comprehensive Handbook of Drug & Alcohol Addiction.
  65. 65.0 65.1 Hales, E; Yudofsky, JA, บ.ก. (2003). The American Psychiatric Press Textbook of Psychiatry. Washington, DC: American Psychiatric Publishing, Inc.
  66. 66.0 66.1 Force., American Psychiatric Association. American Psychiatric Association. DSM-5 Task (2017). Diagnostic and statistical manual of mental disorders : DSM-5. American Psychiatric Association. ISBN 978-0-89042-554-1. OCLC 1042815534.
  67. 67.0 67.1 Akiskal, Hagop S. (2 November 2004). "Mood Disorders: Clinical Features" (PDF). Kaplan & Sadock’s Comprehensive Textbook of Psychiatry. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2015. สืบค้นเมื่อ 21 March 2013.
  68. Williams Daniel T.; Hirsch Scott; Coffey Barbara (2007). "Mood and Anxiety Symptoms in An Adolescent with Pervasive Developmental Disorder Not Otherwise Specified and Moderate Mental Retardation". Journal of Child and Adolescent Psychopharmacology. 17 (5): 721–726. doi:10.1089/cap.2007.17503. PMID 17979592.
  69. Jeronimus; และคณะ (2016). "Neuroticism's prospective association with mental disorders: A meta-analysis on 59 longitudinal/prospective studies with 443 313 participants". Psychological Medicine. 46 (14): 2883–2906. doi:10.1017/S0033291716001653. PMID 27523506.
  70. Allen, N.; Badcock, P. (2006). "Darwinian models of depression: A review of evolutionary accounts of mood and mood disorders". Progress in Neuro-Psychopharmacology and Biological Psychiatry. 30 (5): 815–826. doi:10.1016/j.pnpbp.2006.01.007. PMID 16647176.
  71. 71.0 71.1 Nesse, R (2000). "Is Depression an Adaptation?" (PDF). Arch. Gen. Psychiatry. 57 (1): 14–20. CiteSeerX 10.1.1.318.2659. doi:10.1001/archpsyc.57.1.14. PMID 10632228. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-25.
  72. Kessler, R (1997). "The Effects of Stressful Life Events on Depression". Annual Review of Psychology. 48: 191–214. doi:10.1146/annurev.psych.48.1.191. PMID 9046559.
  73. Nolen-Hoeksema, S (2013). Abnormal Psychology (6th ed.). McGraw-Hill Higher Education. p. 188. ISBN 9780077499693. สืบค้นเมื่อ 2014-12-05.
  74. 74.0 74.1 74.2 Nesse, Randolphe M; Williams, George C (1994). Why We Get Sick: The New Science of Darwinian Medicine. Vintage Books. ISBN 0-8129-2224-7.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  75. "What are the main causes of depresssion or despressive disorders (psychology)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-10. สืบค้นเมื่อ 2015-06-10.
  76. American Psychiatric Association (2013). Diagnostic and Statistical Manual (5th ed.). Arlington, VA: American Psychiatric Association. Ref.1, p 123. in recognition of their place as a bridge between the two diagnostic classes in terms of symptomatology, family history and genetics
  77. Parker, George (2014). "DSM-5 and Psychotic and Mood Disorders". Journal of the American Academy of Psychiatry and the Law. 42: 182–190.
  78. Nolen-Hoeksema, S (2013). Abnormal Psychology (6th ed.). McGraw-Hill Higher Education. p. 203. ISBN 9780077499693. สืบค้นเมื่อ 2014-12-05.
  79. Weston, Drew; Morrison, Kate (2001). "A multidimensional meta-analysis of treatments for depression, panic, and generalized anxiety disorder: An empirical examination of the status of empirically supported therapies". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 69 (6): 875–899. CiteSeerX 10.1.1.200.7241. doi:10.1037/0022-006X.69.6.875.
  80. Keck Jr., Paul E.; McElroy, Susan L.; Strakowski, Stephen M. (1998). "Anticonvulsants and antipsychotics in the treatment of bipolar disorder". The Journal of Clinical Psychiatry. 59 (Suppl 6): 74–82. PMID 9674940.
  81. Cipriani, A (2013). "Lithium in the prevention of suicide in mood disorders: updated systematic review and meta-analysis". DARE: 1.
  82. Pieczenik, Steve R; Neustadt, John (2007). "Mitochondrial dysfunction and molecular pathways of disease". Experimental and Molecular Pathology. 83 (1): 84–92. doi:10.1016/j.yexmp.2006.09.008. PMID 17239370.
  83. Nierenberg, undefined; Andrew, A; Kansky, undefined; Christine, undefined; Brennan, undefined; Brian, P; Shelton, undefined; Richard, C; Perlis, undefined; Roy, undefined; Iosifescu, undefined; Dan, V (2012). "Mitochondrial modulators for bipolar disorder: A pathophysiologically informed paradigm for new drug development". Australian & New Zealand Journal of Psychiatry. 47 (1): 26–42. doi:10.1177/0004867412449303. PMID 22711881.
  84. Kim, Eun Young; Hwang, Samuel Suk-Hyun; Lee, Nam Young; Kim, Se Hyun; Lee, Hyun Jeong; Kim, Yong Sik; Ahn, Yong Min (June 2013). "Intelligence, temperament, and personality are related to over- or under-reporting of affective symptoms by patients with euthymic mood disorder". Journal of Affective Disorders. 148 (2–3): 235–242. doi:10.1016/j.jad.2012.11.065. ISSN 0165-0327. PMID 23270973.
  85. Choi, Seung W.; Schalet, Benjamin; Cook, Karon F.; Cella, David (2014). "Establishing a common metric for depressive symptoms: Linking the BDI-II, CES-D, and PHQ-9 to PROMIS Depression". Psychological Assessment. 26 (2): 513–527. doi:10.1037/a0035768. ISSN 1939-134X. PMC 5515387. PMID 24548149.
  86. Bauer, M; Pfenning, A (2005). "Epidemiology of Bipolar Disorders". Epilepsia. 46 (s4): 8–13.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  87. Pfuntner, A; Wier, LM; Stocks, C (September 2013). "Most Frequent Conditions in U.S. Hospitals, 2011 (HCUP Statistical Brief #162)". Rockville, MD: Agency for Healthcare Research and Quality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  88. Jiang, HJ; Barrett, ML; Sheng, M (November 2014). "Characteristics of Hospital Stays for Nonelderly Medicaid Super-Utilizers, 2012". HCUP Statistical Brief #184. Rockville, MD: Agency for Healthcare Research and Quality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-11.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  89. Hines, AL; Barrett, ML; Jiang, HJ; Steiner, CA (April 2014). "Conditions With the Largest Number of Adult Hospital Readmissions by Payer, 2011". HCUP Statistical Brief #172. Rockville, MD: Agency for Healthcare Research and Quality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  90. Lopez-Gonzalez, L; Pickens, GT; Washington, R; Weiss, AJ (October 2014). "Characteristics of Medicaid and Uninsured Hospitalizations, 2012". HCUP Statistical Brief #183. Rockville, MD: Agency for Healthcare Research and Quality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  91. Jonas, BS; Brody, D; Roper, M; Narrow, WE (2003). "Prevalence of mood disorders in a national sample of young American adults" (PDF). Social Psychiatry and Psychiatric Epidemiology. 38 (11): 618–624. doi:10.1007/s00127-003-0682-8. PMID 14614549.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  92. "Experts ponder link between creativity, mood disorders - CNN.com". CNN. 2009-04-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-27. สืบค้นเมื่อ 2010-05-13.
  93. Collingwood, Jane (2011-11-19). "The Link Between Bipolar Disorder and Creativity". Psych Central - Trusted Mental Health, Depression, Bipolar, ADHD and Psychology Information. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-22.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  94. Paterek, Liz (2006). "Bipolar Disorder and the Creative Mind". Serendip.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  95. Kaufman, JC (2001). "The Sylvia Plath effect: Mental illness in eminent creative writers" (PDF). Journal of Creative Behavior. 35 (1): 37–50. doi:10.1002/j.2162-6057.2001.tb01220.x. ISSN 0022-0175. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-02.
  96. Bailey, DS (2003). "Considering Creativity: The 'Sylvia Plath' effect". Monitor on Psychology. APA. 34 (10): 42. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-20.
หนังสือที่อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค