ข้ามไปเนื้อหา

ไฮโปเมเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อาการเกือบฟุ้งพล่าน)
อาการเกือบฟุ้งพล่าน
(Hypomania)
กราฟทำให้ง่ายที่แสดงอารมณ์ของคนไข้โรคอารมณ์สองขั้วแบบย่อยต่าง ๆ และโรคซึมเศร้า เส้นเขียวแสดงอารมณ์ของคนทั่วไป เส้นน้ำเงินของคนไข้โรคซึมเศร้าขั้วเดียว เส้นม่วงอ่อนของโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 เส้นม่วงกลางของโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 2 และเส้นม่วงเข้มของโรคไซโคลไทเมีย แกนนอนแสดงระยะเวลาที่เกิดอารมณ์ แกนตั้งแสดงอารมณ์ บนสุดสีแดงเข้มเป็นอาการฟุ้งพล่านบริบูรณ์ ต่อจากบนสุดสีแดงอ่อนเป็นอาการเกือบฟุ้งพล่าน ล่างสุดสีเขียวเป็นอาการซึมเศร้า คราวฟุ้งพล่านของโรคประเภทที่ 1 ต้องมีอาการฟุ้งพล่านเต็มตัวอย่างน้อยหนึ่งอาทิตย์ คราวเกือบฟุ้งพล่านของโรคที่ 2 ต้องมีอาการเกือบฟุ้งพล่านโดยไม่ถึงเป็นอาการฟุ้งพล่านเต็มตัวอย่างน้อย 4 วัน
สาขาวิชาจิตเวช

ไฮโปเมเนีย หรือ อาการเกือบฟุ้งพล่าน[1] (อังกฤษ: hypomania แปลตรง ๆ ว่า ใต้อาการฟุ้งพล่าน หรือน้อยกว่าอาการฟุ้งพล่าน) เป็นภาวะทางอารมณ์ที่มีอาการเป็นการไม่ยับยั้งชั่งใจและความครึ้มใจอย่างคงยืน มีพฤติกรรมที่ต่างกับปกติเมื่อไม่ได้มีภาวะซึมเศร้า อาจหงุดหงิด ทั่วไปเป็นภาวะที่รุนแรงน้อยกว่าอาการฟุ้งพล่าน (mania) อย่างเต็มตัว ตามเกณฑ์ของคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตรุ่น 5 (DSM-5) อาการเกือบฟุ้งพล่านต่างกับอาการฟุ้งพล่านเพราะไม่ขัดการดำเนินชีวิตอย่างสำคัญ คืออาการฟุ้งพล่านต้องขัดการดำเนินชีวิตและอาจมีอาการโรคจิต

พฤติกรรมที่เป็นอาการของภาวะนี้ก็คือจำเป็นต้องนอนน้อยลง มีกำลัง มีพฤติกรรมและการกระทำที่ไม่ปกติ คุยเก่งขึ้นและมั่นใจขึ้นอย่างสำคัญซึ่งมักปรากฏเป็นความคิดสร้างสรรค์เป็นชุด ๆ อาการอื่น ๆ ที่อาจสัมพันธ์กับอาการนี้รวมความรู้สึกว่าตนเขื่อง (grandiosity) วอกแวกง่าย และมีเพศสัมพันธ์เกิน[2] แม้พฤติกรรมเกือบฟุ้งพล่านมักจะสร้างความตื่นแต้นและให้ทำงานได้ดี แต่ก็อาจเป็นปัญหาถ้าคนไข้มีพฤติกรรมที่เสี่ยงหรือไม่ควรทำ และ/หรือสร้างปัญหากับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน[3] ถ้าคราวฟุ้งพล่าน (manic episode) สามารถแบ่งเป็นระยะ ๆ ตามความหนักเบาของอาการ อาการเกือบฟุ้งพล่านก็จะเป็นระยะแรกของอาการ ที่อาการหลัก ๆ (ภาวะครึ้มใจหรือหงุดหงิดง่าย การพูดเร็วและทำอะไรเร็ว มีกำลังเพิ่ม จำเป็นต้องนอนน้อยลง มีความคิดเป็นชุด ๆ) จะเห็นได้ชัดที่สุด

อาการ

[แก้]

บุคคลที่มีภาวะเกือบฟุ้งพล่านจำเป็นต้องนอนน้อยลง ชอบเข้าสังคมและชอบแข่งขันมาก และมีกำลังมาก แต่ก็สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ ไม่เหมือนกับคนไข้ที่มีคราวฟุ้งพล่านอย่างเต็มตัว[4]

ตัวบ่งชี้

[แก้]

โดยเฉพาะแล้ว อาการเกือบฟุ้งพล่านต่างกับอาการฟุ้งพล่านเพราะไม่มีอาการโรคจิตและอาการคิดว่าตนเขื่อง (grandiosity) และมีผลน้อยต่อการดำเนินชีวิต[5][6]

อาการนี้เป็นอาการอย่างหนึ่งของโรคอารมณ์สองขั้วประเภทที่ 2 และโรคไซโคลไทเมีย แต่ก็สามารถเกิดในโรค schizoaffective disorder ได้ด้วย[6] มันเป็นอาการอย่างหนึ่งของโรคอารมณ์สองขั้วประเภทที่ 1 ด้วยโดยเกิดเป็นลำดับเมื่อโรคแปรจากมีอารมณ์ปกติเป็นอาการฟุ้งพล่าน คนไข้โรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 บางคนมีทั้งคราวเกือบฟุ้งพล่านและคราวฟุ้งพล่าน อาการเกือบฟุ้งพล่านยังสามารถเกิดเมื่ออารมณ์แปรจากฟุ้งพล่านกลับเป็นอารมณ์ปกติ อาการนี้บางครั้งได้เครดิตว่า เพิ่มความสร้างสรรคถและพลังทำงาน คนไข้โรคอารมณ์สองขั้วจำนวนมากให้เครดิตกับอาการเกือบฟุ้งพล่านว่า ทำให้ตนได้เปรียบในอาชีพของตน[7][8]

คนที่จัดว่ามีไฮเปอร์ไทเมีย (hyperthymia) หรืออาการเกือบฟุ้งพล่านเรื้อรัง (chronic hypomania)[9] ก็จะมีอาการเหมือนอาการเกือบฟุ้งพล่านแต่นานกว่า[10]

โรคที่สัมพันธ์กัน

[แก้]

โรคไซโคลไทเมียซึ่งเป็นภาวะที่อารมณ์แปรปรวนอย่างต่อเนื่อง มีอาการเป็นการสลับเปลี่ยนภาวะเกือบฟุ้งพล่านกับความซึมเศร้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์วินิจฉัยของคราวฟุ้งพล่าน (manic episode) หรือคราวเกือบฟุ้งพล่าน (hypomanic episode) หรือคราวซึมเศร้า (major depressive episode) ระยะเหล่านี้บ่อยครั้งขั้นด้วยระยะที่สามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติ[11]

เมื่อคนไข้มีประวัติคราวเกือบฟุ้งพล่านและคราวซึมเศร้าอย่างน้อยอย่างละหนึ่งครั้ง แต่ละครั้งผ่านเกณฑ์วินิจฉัยของโรค ก็จะวินิจฉัยเป็นโรคอารมณ์สองขั้วประเภทที่ 2 ในบางกรณี คราวซึมเศร้าปกติจะเกิดเป็นปกติในช่วงฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูหนาว และคราวเกือบฟุ้งพล่านในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ในกรณีนี้ แพทย์จะระบุว่าเป็นตามฤดู (seasonal pattern)[12]

ในคนที่อ่อนแอและไม่รักษา อาการเกือบฟุ้งพล่านอาจแย่ลงเป็นอาการฟุ้งพล่านเต็มตัว ซึ่งอาจมีอาการโรคจิต และวินิจฉัยว่าเป็น โรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1[13]

จิตพยาธิวิทยา

[แก้]

อาการฟุ้งพล่านและอาการเกือบฟุ้งพล่านปกติจะศึกษาด้วยกันเป็นองค์ประกอบของโรคอารมณ์สองขั้ว โดยจิตพยาธิสภาพของทั้งสองปกติก็จะสมมุติว่าเหมือนกัน เพราะทั้งยา norepinephrine และยาโดพามีนอาจจุดชนวนภาวะเกือบฟุ้งพล่าน จึงมีทฤษฎีว่าโรคมีมูลฐานจากระบบประสาทมอโนอะมีน (monoamine) ทำงานเกิน ทฤษฎีหนึ่งที่รวมอธิบายทั้งภาวะซึมเศร้าและภาวะฟุ้งพล่านสำหรับคนไข้โรคอารมณ์สองขั้วเสนอว่า การควบคุมระบบประสาทมอโนอะมีนอื่น ๆ ที่ลดลงของระบบประสาทเซโรโทนิน (ซึ่งเป็นมอโนอะมีนอย่างหนึ่ง) อาจเป็นเหตุให้เกิดอาการซึมเศร้าหรืออาการฟุ้งพล่าน อนึ่ง รอยโรคที่ซีกขวาของสมองกลีบหน้าและกลีบขมับยังได้สัมพันธ์กับอาการฟุ้งพล่านด้วย[14]

เหตุ

[แก้]

บ่อยครั้งในคนไข้ที่เกิดคราวเกือบฟุ้งพล่านเป็นคราวแรกและทั่วไปไม่มีอาการโรคจิต ก็จะมีประวัติความซึมเศร้าเป็นเวลานานหรือเร็ว ๆ นี้ หรือประวัติอาการฟุ้งพล่านผสมกับความซึมเศร้า (เป็นภาวะอารมณ์ผสม) ก่อนเกิดอาการฟุ้งพล่าน ซึ่งเริ่มในวัยรุ่นตอนกลางหรือตอนปลายอย่างสามัญ เพราะวัยรุ่นเป็นช่วงที่มีอารมณ์รุนแรงหลากหลาย จึงโทษได้อย่างไม่แปลกว่า เป็นพฤติกรรมทางฮอร์โมนที่เป็นปกติของวัยรุ่น จึงพลาดวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว จนกระทั่งเกิดภาวะฟุ้งพล่านหรือเกือบฟุ้งพล่านที่ชัดเจน[15]

ในกรณีที่เกิดคราวเกือบฟุ้งพล่านเพราะยาสำหรับคนไข้โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว อาการเกือบฟุ้งพล่านสามารถกำจัดได้เกือบแน่นอนโดยลดระดับยา หรือเลิกยา หรือเปลี่ยนไปใช้ยาอื่นถ้าเลิกรักษาไม่ได้[16]

อารมณ์เกือบฟุ้งพล่านอาจสัมพันธ์กับความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (ที่คนไข้หลงตนเอง ต้องการความชื่นชมเกินปกติ และไม่เข้าใจความรู้สึกของคนอื่น)[17]

วินิจฉัย

[แก้]

DSM-IV-TR นิยาม คราวเกือบฟุ้งพล่าน (hypomanic episode) ว่ามีอาการต่าง ๆ ซึ่งเกิดเป็นอย่างน้อย 4 วัน อาการคืออารมณ์ดีบวกกับอาการต่อไปนี้ 3 อย่าง หรือ อารมณ์หงุดหงิดบวกกับอาการต่อไปนี้ 4 อย่าง โดยเป็นพฤติกรรมต่างกับตอนเป็นปกติเมื่อไม่ซึมเศร้า

  • พูดเร็วอย่างตื่นเต้น (pressured speech)
  • ภูมิใจในตนเองเกิน หรือคิดว่าตนเขื่อง (grandiosity)
  • จำเป็นต้องนอนน้อยลง
  • เกิดไอเดียเร็วเป็นชุด ๆ หรือรู้สึกว่า ความคิดกำลังแล่น
  • วอกแวกง่าย
  • เพิ่มการกระทำที่มีเป้าหมาย (ไม่ว่าจะทางสังคม ในอาชีพ ในการมีเพศสัมพันธ์เกิน) หรือกายใจไม่สงบ (psychomotor agitation)
  • ทำกิจกรรมที่ให้ความสุขแต่มีโอกาสเกิดผลลบทางจิตสังคมหรือทางกายสูง (เช่น ซื้อของไม่อั้น มีเพศสัมพันธ์ไม่เลือก ขับรถอย่างบ้าบิ่น ตบตีหรือทะเลาะกับผู้อื่น ลงทุนไม่เข้าท่า ลาออกจากงานเพื่อจะทำอะไรใหญ่โต)[18]

รากศัพท์

[แก้]

แพทย์กรีกโบราณฮิปพอคราทีสเรียกบุคลิกภาพชนิดหนึ่งว่า 'hypomanic' (กรีก: ὑπομαινόμενοι, hypomainómenoi)[19][20] ในจิตเวชศาสตร์ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อคำว่า mania มีความหมายกว้าง ๆ ว่าบ้า คำว่า hypomania จึงเท่ากับแนวคิดในเรื่อง บ้าเป็นบางส่วน หรือที่เรียกว่า monomania[21][22][23] จิตแพทย์ชาวเยอรมัน Emanuel Mendel เสนอการใช้ที่เฉพาะเจาะจงกว่าในปี 1881 โดยเขียนว่า "ผมแนะนำว่า เมื่อพิจารณาคำที่ใช้โดยฮิปพอคราทีส ให้ตั้งชื่อความบ้า (mania) ที่แสดงอาการหนักน้อยกว่าว่า 'hypomania' "[19][24] ส่วนนิยามเชิงปฏิบัติการ (operational definition) ที่แคบกว่าเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970

ยา

[แก้]

ยาต้านฟุ้งพล่าน (antimanic) ใช้ควบคุมอาการปัจจุบัน และใช้ป้องกันการเกิดคราวเกือบฟุ้งพล่านอีกร่วมกับการบำบัดทางจิตอื่น ๆ[25] แนะนำให้รักษาเป็นระยะ 2–5 ปี ยาแก้ซึมเศร้าอาจจำเป็นสำหรับคนไข้ที่กินยาเพื่อรักษาอยู่ แต่มักหลีกเลี่ยงกับคนไข้ที่มีประวัติเร็ว ๆ นี้ว่ามีอาการเกือบฟุ้งพล่าน[26] ยาแก้ซึมเศร้าคือ sertraline บ่อยครั้งถกเถียงกันว่ามีผลข้างเคียงจุดชนวนอาการเกือบฟุ้งพล่านหรือไม่[27][28]

ยาที่ใช้รักษารวม[29]

ยาที่ไม่ใช่ยารักษาโรคจิต

ยาอื่นที่มีประสิทธิผลน้อยกว่า

  • Gabapentin
  • Lamotrigine
  • Levetiracetam
  • Oxcarbazepine
  • Ritanserin
  • Topiramate
  • Ziprasidone

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "mania". ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕. (แพทยศาสตร์) อาการฟุ้งพล่าน
  2. "Mania and Hypomania". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2015.
  3. "Understanding Hypomania and Mania". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มีนาคม 2015.
  4. "Bipolar Disorder in Adults" (PDF). NIH Publication No. 12-3679. National Institute of Mental Health. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 พฤษภาคม 2015.
  5. Guy Goodwin (สิงหาคม 2002). "Hypomania: what's in a name?" (PDF). The British Journal of Psychiatry. 181 (2): 94–95. doi:10.1192/bjp.181.2.94. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 กรกฎาคม 2015.
  6. 6.0 6.1 National Collaborating Centre for Mental Health (Great Britain), Clinical Excellence (Great Britain) (2006). Bipolar Disorder: The Management of Bipolar Disorder in Adults, Children and Adolescents, in Primary and Secondary Care. Leicester; London: British Psychological Society; Royal College of Psychiatrists. ISBN 978-1-85433-441-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2015.
  7. Doran, Christopher (2008). The hypomania handbook : the challenge of elevated mood. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 16. ISBN 978-0-7817-7520-5. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2015.
  8. Kaufman, James (2014). Creativity and mental illness. Cambridge: Cambridge University Press. p. 214. ISBN 9781316003626. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2015.
  9. Ghaemi, S Nassir (2003). Mood disorders : a practical guide. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. p. 48. ISBN 978-0-7817-2783-9. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2015.
  10. Bloch, Jon (2006). The everything health guide to adult bipolar disorder : reassuring advice to help you cope. Avon, Mass.: Adams Media. p. 12. ISBN 978-1-59337-585-0. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2024.
  11. "Cyclothymia". BehaveNet Clinical Capsules. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มีนาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2008.
  12. "Bipolar II Disorder". BehaveNet Clinical Capsules. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มีนาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2008.
  13. Post, Robert M (2007). "Kindling and sensitization as models for affective episode recurrence, cyclicity, and tolerance phenomena". Neuroscience & Biobehavioral Reviews. 31 (6): 858–873. doi:10.1016/j.neubiorev.2007.04.003. PMID 17555817.
  14. Hilty, Donald M.; Leamon, Martin H.; Lim, Russell F.; Kelly, Rosemary H.; Hales, Robert E. (8 มกราคม 2017). "A Review of Bipolar Disorder in Adults". Psychiatry (Edgmont). 3 (9): 43–55. ISSN 1550-5952. PMC 2963467. PMID 20975827.
  15. Keshavan, Matcheri S; Kennedy, John S, บ.ก. (1992). Drug-Induced Dysfunction in Psychiatry. Taylor & Francis.
  16. Bipolar Disorder Sub-Committee (เมษายน 1997). Bipolar Disorder: A Summary of Clinical Issues and Treatment Options. Canadian Network for Mood and Anxiety Treatments (CANMAT).
  17. Daniel Fulford; Sheri L. Johnson; Charles S. Carver (ธันวาคม 2008). "Commonalities and differences in characteristics of persons at risk for narcissism and mania". J Res Pers. 42 (6): 1427–1438. doi:10.1016/j.jrp.2008.06.002. PMC 2849176. PMID 20376289.
  18. "Hypomanic Episode". BehaveNet Clinical Capsules. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2008.
  19. 19.0 19.1 Mendel, Emanuel (1881). Die Manie. Vienna and Leipzig: Urban & Schwarzenberg. "Hypomanie", p. 36.(เยอรมัน)
  20. P. Thomas (เมษายน 2004). "The many forms of bipolar disorder: a modern look at an old illness". J. Affect. Disord. 79. Suppl. l, pp. 3-8. doi:10.1016/j.jad.2004.01.001.
  21. Baldwin; และคณะ (1902). Monomania. Dictionary of Philosophy and Psychology. New York, London: Macmillan. p. 101.
  22. James Johnson, M.D., Ed. (1843) "Notices of Some New Works: Dr.H. Johnson on Mental Disorders", The Medical-Chirurgical Review, Vol. 39, p. 460: Hypomania
  23. Johnson, Henry (1843). On the Arrangement and Nomenclature of Mental Disorders. London: Longmans. OCLC 706786581.
  24. Shorter, Edward (2005). A Historical Dictionary of Psychiatry. US: Oxford University Press. p. 132.
  25. "Hypomania and mania". NHS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2019.
  26. "Mania and hypomania". bnf. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2019.
  27. "Sertraline‐induced hypomania: a genuine side‐effect". Acta Psychiatrica Scandinavica. wileyonlinelibrary. 2003-06-13. doi:10.1034/j.1600-0447.2003.00080.x.
  28. Mendhekar, D. N.; Gupta, D.; Girotra, V. (2003-07-01). "Sertraline‐induced hypomania: a genuine side‐effect". Department of Psychiatry. DCBI. 108 (1): 70–4. PMID 12807380.
  29. "Medications used when high (hypomania/mania)". NICE. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก