ข้ามไปเนื้อหา

โรคกลัวการเข้าสังคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder: SAD)
ชื่ออื่นโรคกลัวสังคม (Social phobia)
การอยู่ท่ามกลางฝูงชนจำนวนมากเป็นสถานการณ์ที่กระตุ้นอาการกลัวการเข้าสังคมได้
สาขาวิชาความผิดปกติทางจิต, จิตวิทยา
อาการกังวล กลัว และตื่นเต้นผิดปกติเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ทางสังคม
สาเหตุอาจเกิดจากความฝังใจ, โรคซึมเศร้า, อาการพูดติดอ่าง
การเสียชีวิตไม่ทำให้ถึงแก่ชีวิต

โรคกลัวการเข้าสังคม (อังกฤษ: Social anxiety disorder; SAD; social phobia) เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวลมากผิดปกติเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ต้องเข้าสังคม เช่น พบปะผู้คนใหม่ ๆ หรือพูดคุยกับกลุ่มคนที่ไม่คุ้นเคย โรคนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยเผชิญปัญหาในการเข้าสังคม มีปัญหาในการสื่อสารและบางรายอาจทำให้เก็บตัวและนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้[1]: 15  ภายในจิตใจของผู้ป่วยมักไปเองคิดเสมอว่าคนอื่นรอบข้างกำลังคิดลบต่อตน เหยียดหยาม ดูถูก หรือเยาะเย้ยตน ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงไม่ได้มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นก็ตาม

อาการทางกายภาพที่สังเกตได้คือเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ทางสังคม ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออกมากผิดปกติ (hyperhidrosis), หน้าแดง (excessive blushing), ตัวสั่นเกร็ง (palpitation), หัวใจเต้นแรงและเร็ว (tremour), พูดติดอ่าง (stammering) และ วิงเวียนศีรษะ (nausea) ในบางรายที่อาการหนักมากอาจเกิดอาการตระหนก (panic attack) เมื่อสถานการณ์รุนแรงและรู้สึกไม่สบายตัวและใจอย่างหนัก ผู้ป่วยบางรายมักใช้แอลกอฮอล และ ยาจิตเวช เพื่อควบคุมอาการเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ทางสังคม

อ้างอิง

[แก้]
  1. National Institute for Health and Clinical Excellence: Guidance. Social Anxiety Disorder: Recognition, Assessment and Treatment. Leicester (UK): British Psychological Society; 2013. PMID 25577940