ความผิดปกติของการรับประทาน
ความผิดปกติของการรับประทาน | |
---|---|
![]() | |
สาขาวิชา | จิตเวชศาสตร์ |
อาการ | มีนิสัยการกินผิดปกติที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายหรือจิต |
ภาวะแทรกซ้อน | โรควิตกกังวล ซึมเศร้า การใช้สารเสพติด[1] |
ประเภท | ความผิดปกติของการรับประทานแบบตะกละ โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ อาการหิวไม่หาย อาการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร ความผิดปกติแบบสำรอก ความผิดปกติการเลี่ยง/จำกัดการกินอาหาร[2] |
สาเหตุ | ไม่ชัดเจน[3] |
ปัจจัยเสี่ยง | โรคกระเพาะอาหารและลำไส้ ประวัติการถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นนักเต้นรำ[4][5][6] |
การรักษา | การให้คำปรึกษา อาหารเหมาะสม และการออกกำลังกายปริมาณปกติ[1] |
ความผิดปกติของการรับประทาน (อังกฤษ: eating disorder) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งนิยามจากนิสัยการกินที่มีผลกระทบทางลบต่อสุขภาพทางกายหรือจิตของบุคคล[2] ได้แก่ ความผิดปกติของการรับประทานแบบตะกละ (binge eating disorder) ซึ่งบุคคลกินปริมาณมากในเวลาอันสั้น โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจซึ่งบุคคลกินน้อยมากและมีน้ำหนักตัวต่ำ โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา ซึ่งบุคคลกินมากและพยายามล้วงเอาอาหารออกเอง อาการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร (pica) ความผิดปกติแบบสำรอก (rumination) ความผิดปกติเลี่ยง/จำกัดการกินอาหาร (avoidant/restrictive food intake disorder) ซึ่งบุคคลไม่อยากอาหาร และกลุ่มความผิดปกติของการให้อาหารหรือการรับประทานที่จำแนกไว้อื่น มักพบโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้าและการใช้สารเสพติด (substance abuse) ในผู้ที่มีความผิดปกติของการรับประทาน โรคอ้วนไม่นับว่าเป็นโรคกลุ่มนี้[2]
สาเหตุของความผิดปกติของการรับประทานยังไม่ชัดเจน[3] ดูเหมือนทั้งปัจจัยทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมมีผลทั้งคู่ เชื่อว่าวัฒนธรรมยกยอความผอมก็มีส่วนเช่นกัน ความผิดปกติของการรับประทานพบในร้อยละ 12 ของนักเต้นรำ[4] ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศมีโอกาสเกิดความผิดปกติของการรับประทานมากขึ้น[6] ความผิดปกติบางชนิด เช่น อาการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารและความผิดปกติแบบสำรอกเกิดในผู้มีสติปัญญาบกพร่องมากกว่า ทั้งนี้ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งจะสามารถวินิจฉัยความผิดปกติของการรับประทานได้อย่างเดียวเท่านั้น[2]
การรักษาได้ผลสำหรับความผิดปกติของการรับประทานหลายชนิด ตรงแบบมักใช้การให้คำปรึกษา อาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายปริมาณปกติ และการลดความพยายามล้วงอาหารออก[1] บางกรณีอาจจำเป็นต้องรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล[1] อาจใช้ยาสำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีอาการร่วม ในเวลาห้าปี ผู้ป่วยโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจร้อยละ 70 และอาการหิวไม่หายร้อยละ 50 กลับเป็นปกติ การฟื้นจากความผิดปกติของการรับประทานแบบตะกละมีความชัดเจนน้อยกว่าและประมาณไว้ระหว่างร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 60 ทั้งโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจและอาการหิวไม่หายเพิ่มโอกาสเสียชีวิต[7]
ในปีหนึ่ง ประเทศพัฒนาแล้วพบความผิดปกติของการรับประทานแบบตะกละในหญิงประมาณร้อยละ 1.6 และชายร้อยละ 0.8 โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจพบในประชากรประมาณร้อยละ 0.4 และอาการหิวไม่หายในหญิงอายุน้อยประมาณร้อยละ 1.3[2] หญิงมากถึงร้อยละ 4 มีโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ ร้อยละ 2 มีอาการหิวไม่หาย และร้อยละ 2 มีความผิดปกติของการรับประทานแบบตะกละในช่วงใดช่วงหนึ่ง[7] โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจและอาการหิวไม่หายเกิดในหญิงมากกว่าชายเกือบ 10 เท่า[2] ตรงแบบเริ่มในปลายวัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[1] อัตราของความผิดปกติของการรับประทานแบบอื่นไม่ชัดเจน อัตราของความผิดปกติของการรับประทานดูพบน้อยกว่าในประเทศที่ด้อยพัฒนากว่า[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "What are Eating Disorders?". NIMH. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2015. สืบค้นเมื่อ 24 May 2015.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 American Psychiatry Association (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (5th ed.). Arlington: American Psychiatric Publishing. pp. 329–354. ISBN 0-89042-555-8.
- ↑ 3.0 3.1 Rikani, AA; Choudhry, Z; Choudhry, AM; Ikram, H; Asghar, MW; Kajal, D; Waheed, A; Mobassarah, NJ (October 2013). "A critique of the literature on etiology of eating disorders". Annals of Neurosciences. 20 (4): 157–61. doi:10.5214/ans.0972.7531.200409. PMC 4117136. PMID 25206042.
- ↑ 4.0 4.1 Arcelus, J; Witcomb, GL; Mitchell, A (March 2014). "Prevalence of eating disorders amongst dancers: a systemic review and meta-analysis". European Eating Disorders Review. 22 (2): 92–101. doi:10.1002/erv.2271. PMID 24277724.
- ↑ Satherley R, Howard R, Higgs S (Jan 2015). "Disordered eating practices in gastrointestinal disorders". Appetite (Review). 84: 240–50. doi:10.1016/j.appet.2014.10.006. PMID 25312748.
- ↑ 6.0 6.1 Chen, L; Murad, MH; Paras, ML; Colbenson, KM; Sattler, AL; Goranson, EN; Elamin, MB; Seime, RJ; Shinozaki, G; Prokop, LJ; Zirakzadeh, A (July 2010). "Sexual Abuse and Lifetime Diagnosis of Psychiatric Disorders: Systematic Review and Meta-analysis". Mayo Clinic Proceedings. 85 (7): 618–629. doi:10.4065/mcp.2009.0583. PMC 2894717. PMID 20458101.
- ↑ 7.0 7.1 Smink, FR; van Hoeken, D; Hoek, HW (November 2013). "Epidemiology, course, and outcome of eating disorders". Current Opinion in Psychiatry. 26 (6): 543–8. doi:10.1097/yco.0b013e328365a24f. PMID 24060914.
- ↑ Pike, KM; Hoek, HW; Dunne, PE (November 2014). "Cultural trends and eating disorders". Current Opinion in Psychiatry. 27 (6): 436–42. doi:10.1097/yco.0000000000000100. PMID 25211499.