ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลเมืองปากช่อง

พิกัด: 14°42′29″N 101°24′58″E / 14.70802°N 101.41614°E / 14.70802; 101.41614
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองปากช่อง
อาคารสถานีรถไฟปากช่องหลังเก่า
อาคารสถานีรถไฟปากช่องหลังเก่า
ทม.ปากช่องตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
ทม.ปากช่อง
ทม.ปากช่อง
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองปากช่อง
พิกัด: 14°42′29″N 101°24′58″E / 14.70802°N 101.41614°E / 14.70802; 101.41614
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอปากช่อง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีคมกฤษณ์ ลิ้มปัญญาเลิศ
พื้นที่
 • ทั้งหมด15.25 ตร.กม. (5.89 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด34,947 คน
 • ความหนาแน่น2,291.61 คน/ตร.กม. (5,935.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04302101
ที่อยู่
สำนักงาน
73 ถนนมิตรภาพ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130
โทรศัพท์0 4431 2037-8 ต่อ 210,211
โทรสาร0 4431 3040
เว็บไซต์www.pakchongcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปากช่อง เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งจากเทศบาลเมืองทั้งหมด 4 แห่งในจังหวัดนครราชสีมา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปากช่อง และบางส่วนของตำบลหนองสาหร่าย ในอำเภอปากช่อง มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 34,947 คน[1] ทำให้เป็นเทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 2 ของจังหวัดนครราชสีมา รองจากเทศบาลนครนครราชสีมา

ประวัติ

[แก้]

เทศบาลเมืองปากช่อง เดิมมีรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบสุขาภิบาล มีชื่อเรียกว่า "สุขาภิบาลปากช่อง" จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2499[2] แต่เดิมนั้นเขตการปกครองขึ้นตรงกับ กิ่งอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2501 มีพระราชกฤษฎียกฐานะ กิ่งอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว เป็นอำเภอปากช่อง

สุขาภิบาลปากช่องได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลขึ้น 2 ครั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2504 และ ปี พ.ศ. 2510 จากนั้น สุขาภิบาลปากช่อง ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "เทศบาลตำบลปากช่อง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2524[3]

ต่อมา เทศบาลตำบลปากช่อง ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "เทศบาลเมืองปากช่อง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2548[4]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

เทศบาลเมืองปากช่อง มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 15.25 ตารางกิโลเมตร ชุมชนภายในเขตเทศบาลจำนวน 23 ชุมชน ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกพืชได้แทบทุกชนิด สภาพพื้นดินเป็นที่ราบเชิงเขา อากาศดี ฝนตกตามฤดูกาล[5]

เทศบาลเมืองปากช่องมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่บ้านหนองตาแก้ว อำเภอปากช่อง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับลำตะคอง และหมู่บ้านประดู่มาก
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตป่าสงวนแห่งชาติ หมู่บ้านน้ำตกหลังเหว อำเภอปากช่อง
ภาพมุมกว้างตัวเมืองปากช่องตามถนนมิตรภาพ

ประชากร

[แก้]

เทศบาลเมืองปากช่อง ณ ธันวาคม 2560 มีประชากรทั้งหมด 34,947 คน เป็นชาย 16,612 คน เป็นหญิง 18,335 คน จำนวนบ้าน 18,156 หลัง[1] ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ คือ ค้าขาย และอุตสาหกรรมในครัวเรือนเป็นหลัก รองลงมาเป็นอาชีพรับจ้าง ปศุสัตว์และเกษตรกรรม

การขนส่ง

[แก้]

เมืองปากช่องมีถนนสายหลัก คือ ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) และถนนภายในเขตเทศบาลจำนวน 254 สาย มีลำตะคองเป็นลำน้ำสายหลักที่ใช้ในการบริโภคและการขนส่ง นอกจากนี้ยังมีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่านตัวเมือง มีขบวนรถขึ้น-ล่องหยุดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟปากช่องให้บริการทุกวัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองปากช่อง ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสุขาภิบาลปากช่อง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา, ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๗๓ ตอนที่ ๖๐ หน้าที่ ๓๖, ๒๔๙๙
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลตำบลปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา, ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๙๘ ตอนที่ ๑๐๑ หน้าที่ ๑๓, ๒๕๒๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลปากช่อง เป็นเทศบาลเมืองปากช่อง, ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๔๐ง หน้าที่ ๙, ๒๕๔๘
  5. "ข้อมูลพื้นฐานตำบลปากช่อง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-10-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]