ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้ามีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1
กษัตริย์มีไฮใน ค.ศ. 1947
พระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมาเนีย
ทรงราชย์ครั้งแรก20 กรกฎาคม 1927 – 8 มิถุนายน 1930
(2 ปี 323 วัน)
ก่อนหน้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1
ถัดไปคาโรลที่ 2
ผู้สำเร็จราชการ





นายกรัฐมนตรี
ทรงราชย์ครั้งสอง6 กันยายน 1940 – 30 ธันวาคม 1947
(7 ปี 115 วัน)
ราชาภิเษก6 กันยายน ค.ศ. 1940
ก่อนหน้าคาโรลที่ 2
ถัดไประบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง
นายกรัฐมนตรี
พระราชสมภพ25 ตุลาคม ค.ศ. 1921(1921-10-25)
ปราสาทเปเลช, ซีนาเอีย, ราชอาณาจักรโรมาเนีย
สวรรคต5 ธันวาคม ค.ศ. 2017(2017-12-05) (96 ปี)
อูบอนน์, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ฝังพระศพ16 ธันวาคม ค.ศ. 2017
วิหารหลวงคูร์ตา เด อาร์เจช ประเทศโรมาเนีย
คู่อภิเษกแอนน์ เดอ บูร์บง-ปาร์มา
พระราชบุตรมกุฎราชกุมารีมาร์กาเรตา
เจ้าหญิงเอเลนา
เจ้าหญิงอีรีนา
เจ้าหญิงโซเฟีย
เจ้าหญิงมารีอา
ราชวงศ์โฮเอ็นโซลเลิร์น-ซิกมาริงเงิน
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าคาโรลที่ 2
พระราชมารดาเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก
ศาสนาออร์ทอดอกซ์โรมาเนีย
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย หรือ สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย (โรมาเนีย: Mihai I al României, Michael I al României; 25 ตุลาคม ค.ศ. 1921 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 2017) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรโรมาเนีย ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1927 ถึง 8 มิถุนายน ค.ศ. 1930 และเป็นกษัตริย์อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1940 จนกระทั่งทรงถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1947

ไม่นานนักหลังจากเสด็จพระราชสมภพ มกุฎราชกุมารคาโรลแห่งโรมาเนีย พระราชชนกของพระองค์ ทรงมีความสัมพันธ์อันน่าอื้อฉาวกับมักดา ลูเปสคู ในปีค.ศ. 1925 มกุฎราชกุมารคาโรลทรงถูกกดดันให้สละสิทธิในราชบัลลังก์และทรงเสด็จลี้ภัยไปยังปารีสร่วมกับลูเปสคู ในปีค.ศ. 1927 เจ้าชายมีไฮได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ หลังจากการสวรรคตของพระอัยกาคือ กษัตริย์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 โดยกษัตริย์มีไฮยังทรงพระเยาว์ จึงมีการตั้งสภาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นมาประกอบด้วย เจ้าชายนีกอลาเอ พระปิตุลาของพระองค์ อัครบิดร มิรอน คริสเตอา และประธานศาลสูงสุด จีออร์เก บุซดูกัน แต่พิสูจน์แล้วว่าสภาผู้สำเร็จราชการไม่มีประสิทธิภาพ และในปีค.ศ. 1930 เจ้าชายคาโรลเสด็จกลับโรมาเนียและครองราชย์เป็นกษัตริย์แทนพระราชโอรส ครองราชย์ในนามว่า กษัตริย์คาโรลที่ 2 เป็นผลให้เจ้าชายมีไฮกลายเป็นรัชทายาทอีกครั้งและทรงได้รับพระอิสริยยศเพิ่มเติมคือ แกรนด์วอยโวดแห่งอัลบา-อูเลีย

กษัตริย์คาโรลที่ 2 ถูกปลดจากราชบัลลังก์ในปีค.ศ. 1940 และมกุฎราชกุมารมีไฮทรงเป็นพระมหากษัตริย์อีกครั้ง ภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหารของเอียน อันโตเนสคู โรมาเนียปรับตัวเข้าร่วมกับนาซีเยอรมนี ในปีค.ศ. 1944 กษัตริย์มีไฮทรงก่อรัฐประหารต่อต้านอันโตเนสคู ทรงแต่งตั้งคอนสแตนติน ซานาเทสคูขึ้นดำรงตำแหน่งแทน และต่อมาได้ประกาศฟื้นสัมพันธ์กับฝ่ายสัมพันธมิตร ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 ด้วยแรงกดดันทางการเมืองบีบบังคับให้กษัตริย์มีไฮทรงแต่งตั้งคณะรัฐบาลนิยมสหภาพโซเวียตที่นำโดย เปตรู กรอซา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1946 กษัตริย์มีไฮทรงดำเนินการ "โจมตีโดยพระราชวงศ์" และไม่ทรงประสบความสำเร็จในการต่อต้านรัฐบาลของกรอซาที่ถูกควบคุมโดยคอมมิวนิสต์ โดยพระองค์ปฏิเสธที่จะลงพระปรมาภิไธยและรับรองพระราชกฤษฎีกาต่างๆ ในเดือนพฤศจิกายน กษัตริย์มีไฮเสด็จร่วมพระราชพิธีอภิเษกสมรสของพระญาติคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ในอนาคตกับเจ้าชายฟิลิปปอสแห่งกรีซและเดนมาร์กที่ลอนดอน ไม่นานหลังจากนั้น ช่วงเช้าของวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1947 นายกรัฐมนตรีกรอซาได้มาเข้าเฝ้ากษัตริย์มีไฮและบีบบังคับให้พระองค์สละราชบัลลังก์ กษัตริย์มีไฮทรงถูกเนรเทศ พระราชทรัพย์ถูกยึด และมีการถอดความเป็นพลเมืองของพระองค์ ในปีค.ศ. 1948 พระองค์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแอนน์แห่งบูร์บง-ปาร์มา (ต่อมาเป็นที่รู้จักในพระนาม สมเด็จพระราชินีอานาแห่งโรมาเนีย) ทรงมีพระราชธิดาร่วมกัน 5 พระองค์ และท้ายที่สุดทั้งสองพระองค์ประทับที่สวิตเซอร์แลนด์

ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ของนีกอลาเอ ชาวูเชสกูถูกโค่นล้มในปีค.ศ. 1989 และในปีถัดมา อดีตกษัตริย์มีไฮทรงพยายามเสด็จกลับโรมาเนีย แต่ก็ทรงถูกจับกุมและบีบบังคับให้เสด็จออกไปเมื่อเพิ่งมาถึง ในปีค.ศ. 1992 อดีตกษัตริย์มีไฮได้รับอนุญาตให้เสด็จโรมาเนียในช่วงอีสเตอร์ ซึ่งมีประชาชนจำนวนมากรอรับเสด็จอย่างเนืองแน่น ทรงมีพระราชดำรัสผ่านหน้าต่างของโรงแรมซึ่งดึงดูดประชาชนประมาณหนึ่งล้านคนในบูคาเรสต์ ด้วยความตื่นตระหนกของความนิยมในอดีตกษัตริย์มีไฮ รัฐบาลหลังสมัยคอมมิวนิสต์ของประธานาธิบดีเอียน อีลีเอสคูปฏิเสธที่จะให้พระองค์เสด็จเยือนอีก ในปีค.ศ. 1997 หลังจากอีลีเอสคูพ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีแก่ เอมิล คอนสแตนติเนสคู ในปีก่อน สถานะความเป็นพลเมืองของอดีตกษัตริย์มีไฮได้รับการฟื้นคืนและทรงได้รับอนุญาตให้เสด็จโรมาเนียอีกครั้ง ทรัพย์สินต่างๆที่ถูกยึด เช่น ปราสาทเปเรสและปราสาทซาวาร์ซิน ได้รับการฟื้นคืนมาสู่พระราชวงศ์ของพระองค์ได้ในที่สุด

ช่วงต้นของพระชนมชีพ

[แก้]
สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย พร้อมกับเจ้าหญิงเฮเลนและกษัตริย์มีไฮที่ 1 ในช่วงปี ค.ศ. 1927 – 1930

เจ้าชายมีไฮเสด็จพระราชสมภพในปีค.ศ. 1921 ณ ปราสาทเปเลส เมืองซีนาเอีย ราชอาณาจักรโรมาเนีย ทรงเป็นพระราชโอรสในมกุฎราชกุมารคาโรลแห่งโรมาเนียกับมกุฎราชกุมารีเฮเลน[1] พระองค์เสด็จพระราชสมภพในรัชกาลของกษัตริย์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 และพระองค์มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ

มกุฎราชกุมารคาโรลมีความสัมพันธ์ที่น่าอื้อฉาวกับมักดา ลูเปสคู พรรคเสรีนิยมแห่งชาติซึ่งเป็นพรรคที่ครอบงำการเมืองโรมาเนียนั้นไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ของมกุฎราชกุมารคาโรลและลูเปสคู เมื่อพรรคทราบว่าองค์มกุฎราชกุมารทรงตั้งตนเป็นศัตรูกับพวกเขา ทางพรรคจึงดำเนินการหาทางกีดกันพระองค์ออกจากราชบัลลังก์[2] การรณรงค์ที่ยืดเยื้อของพรรคเสรีนิยมแห่งชาตินั้นมีความเกี่ยวข้องน้อยมากในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมกุฎราชกุมารคาโรลและมักดา ลูเปสคู แต่จุดมุ่งหมายหลักของพรรคคือ ความพยายามกำจัด "ปืนใหญ่ที่หย่อนยาน" อย่างตัว มกุฎราชกุมารคาโรล เนื่องจากแน่ใจว่าถ้าพระองค์ได้ครองราชบัลลังก์ พระองค์จะต้องกีดกันไม่ให้พรรคเสรีนิยมแห่งชาติมีอำนาจเหนือการเมือง ดังที่พระมหากษัตริย์โฮเอ็นโซลเลิร์นเคยทำมาก่อน[2]

มกุฎราชกุมารต้องสละสิทธิ์ในการสืบราชบัลลังก์ในเดือนธันวาคม ปีค.ศ. 1925 และต้องเสด็จออกจากประเทศไป อย่างไรก็ตามทั้งกษัตริย์เฟอร์ดินานด์และสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย พระอัยกาและพระอัยยิกาก็ไม่ทรงเต็มพระทัยที่จะปล่อยให้ประเทศอยู่ภายใต้พระหัตถ์ของพระนัดดา ซึ่งมีพระชนมายุเพียง 5 พรรษา แม้ว่าจะทรงได้รับการดูแลจากคณะผู้สำเร็จราชการ เนื่องจากทรงกลัวว่าดินแดนที่ได้รับในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจะถูกอ้างสิทธิโดยประเทศเพื่อนบ้านและความผันผวนทางการเมืองอาจจะนำไปสู่ความไม่สงบได้ เจ้าชายไมเคิลทรงสืบราชบัลลังก์ต่อโดยอัตโนมัติหลังจากการสวรรคตของกษัตริย์เฟอร์ดินานด์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1927 ก่อนวันคล้ายเสด็จพระราขสมภพครบ 6 ชันษาของพระองค์[3] หลังจากนั้นทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนพิเศษที่พระราชชนกของพระองค์ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1932[4][5]

การปกครอง

[แก้]

การครองราชย์ครั้งที่หนึ่ง

[แก้]
พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮทื่ 1 พระรูปและภาพคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากซ้าย: พระอัครบิดรมิรอน คริสเตอา, เจ้าชายนีกอลาเอ พระปิตุลา และคอนสแตนติน ซาราตีอานู นักการเมือง ราวปีค.ศ. 1930

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประกอบด้วยเจ้าชายนีกอลาเอ พระปิตุลาของพระองค์ อัครบิดร มิรอน คริสเตอา และประธานศาลสูงสุด จีออร์เก บุซดูกัน (และเดือนตุลาคม ในปี 1929 บุซดูกันถึงแก่อสัญกรรม คอนสแตนติน ซาราตีอานู จึงดำรงตำแหน่งแทน) คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิบัติหน้าที่ในพระนามของพระมหากษัตริย์วัย 5 พรรษา อย่างกษัตริย์มีไฮที่ 1 ซึ่งสืบราชบัลลังก์หลังจากกษัตริย์เฟอร์ดินานด์สวรรคตในปีค.ศ. 1927[6] เจ้าชายนีกอลาเอทรงเป็นเหมือนผู้สำเร็จราชการคนที่หนึ่งอย่างไม่เป็นทางการ พระองค์ไม่พอพระทัยที่ต้องละทิ้งหน้าที่ทางทหารในราชนาวีอังกฤษ และไม่ทรงสนพระทัยในการเมือง พระองค์จึงพยายามดำเนินการตามแนวทางของพระราชชนก คือการร่วมมือกับพรรคเสรีนิยมแห่งชาติ และต่อต้านพรรคเกษตรกรแห่งชาติ โดยเสนอว่าทางคณะผู้สำเร็จราชการจะแต่งตั้งรัฐบาลแห่งชาติภายใต้อียอน อี. เช. บราเตียนู นายกรัฐมนตรีหลายสมัยของโรมาเนีย แต่บราเตียนูปฏิเสธแนวคิดของผู้สำเร็จราชการ พรรคเสรีนิยมแห่งชาตินั้นส่วนใหญ่ได้รับพลังขับเคลื่อนจากตระกูลบราเตียนูที่ทรงพลังในการใช้อำนาจในพรรค แต่บราเตียนูถึงแก่อสัญกรรมในปีค.ศ. 1927 ตระกูลบราเตียนูไม่สามารถตกลงกันเรื่องผู้สืบทอดได้ อันนำมาซึ่งอำนาจของพรรคเสรีนิยมที่เริ่มเข้าสู่จุดเสื่อม[7] ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในปีค.ศ. 1928 พรรคเกษตรกรแห่งชาติ ภายใต้อียูลิว มานิว ได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียง 78%[7] เจ้าชายนีกอลาเอ ซึ่งเป็นประธานสภาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นั้นทรงเป็นมิตรไมตรีกับพรรคเสรีนิยมแห่งชาติ นายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างมานิวจึงมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะก่อรัฐประหาร ยุบสภาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทูลเชิญเจ้าชายคาโรลให้เสด็จกลับมาครองราชย์หลังจากเขาทำการติดต่อกับเจ้าคาโรลมาในระยะเวลาหนึ่ง[7]

หลังจากบุซดูกัน หนึ่งในผู้สำเร็จราชการถึงแก่อสัญกรรมในปีค.ศ. 1929 ความนิยมในสมเด็จพระราชินีมารี พระอัยยิกาของกษัตริย์มีไฮ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในช่วงนี้และหลังจากที่ทรงปฏิเสธที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสภาผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในปี ค.ศ. 1929 พระนางทรงถูกกล่าวหาโดยสื่อและแม้กระทั่งเจ้าหญิงเฮเลนว่าทรงวางแผนก่อรัฐประหารทั้งๆที่ไม่ประสงค์ที่จะยุ่งเกี่ยวการเมืองแล้ว[8] เมื่อสมเด็จพระราชินีมารีทรงปฏิเสธ คอนสแตนติน ซาราตีอานูจึงดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สำเร็จราชการที่ไม่มีความทะเยอทะยานทางการเมืองใดๆเลย รวมถึงไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารกิจการของประเทศ ตามบันทึกของนีกอลาเอ ออร์กาอ้างว่า พระอัครบิดร มิรอน คริสเตอาได้พูดว่า

"คณะผู้สำเร็จราชการทำงานไม่ได้เพราะไม่มีผู้นำ เจ้าชายทรงพระโอสถมวน ซาราตีอานูมัวแต่อ่านหนังสือ และข้าพเจ้าเป็นพระ ทำได้เพียงแค่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยเท่านั้น"

ทศวรรษที่ 1930 และรัชสมัยกษัตริย์คาโรล

[แก้]
กษัตริย์คาโรลที่ 2 และมกุฎราชกุมารมีไฮ ในช่วงทศวรรษที่ 1930

วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1930 เจ้าชายคาโรลเสด็จกลับประเทศหลังจากคำกราบทูลเชิญของเหล่านักการเมืองที่นำโดยนายกรัฐมนตรี อียูลิว มานิวจากพรรคเกษตรกรแห่งชาติ เหล่านักการเมืองไม่พอใจคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่ไม่มีความสามารถและยิ่งเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ การมีประมุขที่เข้มแข็งย่อมจำเป็น เจ้าชายคาโรลทรงได้รับการยอมรับจากรัฐสภาในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งโรมาเนียในวันถัดมา เจ้าชายมีไฮถูกถอดออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่ได้ดำรงตำแหน่งรัชทายาท พระยศ มกุฎราชกุมาร และทรงได้รับพระอิสริยยศเพิ่มเติมคือ แกรนด์วอยโวดแห่งอัลบา-อูเลีย[9]

ในทศวรรษต่อมากษัตริย์คาโรลที่ 2 จะทรงพยายามเข้าไปมีบทบาททางสังคมการเมืองโรมาเนีย โดยครั้งแรกทรงใช้พระราชอำนาจจัดการความเป็นศัตรูกันระหว่างพรรคเกษตรกรและพรรคเสรีนิยมและฝ่ายต่อต้านชาวยิว ต่อมา (มกราคม ค.ศ. 1938) ทรงใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ กษัตริย์คาโรลที่ 2 ทรงพยายามจัดตั้งลัทธิบูชาบุคคลของพระองค์เองเพื่อต่อต้านอิทธิพลที่กำลังเติบโตขึ้นของพวกผู้พิทักษ์เหล็ก (Iron Guard) เช่นการจัดตั้งกองกำลังกึ่งทหารยุวชน ที่เรียกว่า สตราจาเตรี (Straja Țării) ในปีค.ศ. 1935 สแตนลีย์ จี. เพนย์ นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน บรรยายถึงกษัตริย์คาโรลที่ 2 ว่าเป็น "กษัตริย์ที่น่าเหยียดหยาม เลวทรามและกระหายอำนาจที่สุด มากกว่าราชบัลลังก์แห่งอื่นใดในยุโรปศตวรรษที่ 20"[10] กษัตริย์คาโรลทรงปกครองผ่านกลไกอำนาจที่ไม่เป็นทางการคือ คามาริลลา ซึ่งประกอบด้วยเหล่าข้าราชบริพาร นักการทูตอาวุโส เจ้าหน้าที่ทางทหาร นักการเมืองและนักอุตสาหกรรม ซึ่งต้องพึ่งพาความโปรดปรานจากกษัตริย์ในการส่งเสริมอาชีพการงานของพวกเขา[11] สมาชิกคนสำคัญของกลุ่มคามาริลลา คือ มาดามลูเปสคู พระสนมของพระองค์เอง ซึ่งเป็นผู้ถวายคำแนะนำทางการเมืองของกษัตริย์คาโรลที่สำคัญมาก[11] นายกรัฐมนตรีมานิวเชิญกษัตริย์คาโรลสู่บัลลังก์เพียงเพราะความกลัวคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของยุวกษัตริย์มีไฮที่ 1 ถูกครอบงำโดยพรรคเสรีนิยมแห่งชาติซึ่งแน่ใจว่าพรรคเสรีนิยมจะชนะการเลือกตั้งเสมอ[11] มาดามลูเปสคูนั้นไม่เป็นที่ชื่นชอบของประชาชนชาวโรมาเนียเลย และนายกรัฐมนตรีมานิวทูลขอให้กษัตริย์คาโรลทรงคืนดีกับเจ้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซเพื่อเป็นราคาสำหรับที่เขาทวงคืนราชบัลลังก์ให้พระองค์ สมเด็จพระราชินีมารี พระราชชนนีของพระองค์ก็ทรงทูลขอให้นำเจ้าหญิงเฮเลนกลับมา แต่กษัตริย์คาโรลทรงผิดคำสัญญาและพระองค์ทรงเริ่มประทับอยู่กับมาดามลูเปสคูอีกครั้ง นายกรัฐมนตรีมานิวจึงลาออกจากตำแหน่งเพื่อเป็นการประท้วงในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1930 และเขาจึงกลายเป็นศัตรูคนสำคัญของกษัตริย์คาโรล[11] กษัตริย์คาโรลที่ 2 ทรงถอดถอนพระนางมารี พระราชชนนีออกจากบทบาททางการเมืองและทรงพยายามทำลายความนิยมในตัวพระชนนี เป็นผลให้พระนางมารีต้องเสด็จออกจากบูคาเรสต์และทรงใช้พระชนมชีพที่เหลือในชนบท หรือไม่ก็พระตำหนักของพระองค์ที่ทะเลดำ ในปี ค.ศ. 1937 พระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรคตับแข็งและสิ้นพระชนม์ในปีถัดมา ต่อมาในที่สุดนายกรัฐมนตรีมานิวก็พ่ายแพ้กลอุบายทางการเมืองของกษัตริย์คาโรลที่ 2 โดยทรงปลดคณะรัฐบาลและเข้าควบคุมการเมืองเองโดยใช้กลไกของกลุ่มคามาริลลา และทรงพยายามกำจัดกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กของคอร์เนลิว เซลีอา คอดรีอานูที่ตั้งตัวเป็นศัตรูกับพระองค์

มกุฎราชกุมารมีไฮ ขณะเสด็จเยือนโปแลนด์พร้อมพระราชชนกในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1937

กษัตริย์คาโรลที่ 2 ทรงแต่งตั้งพระอัครบิดรมิรอน คริสเตอา หรืออัครบิดรมิรอนแห่งโรมาเนียวัย 69 ปี ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาเป็นประมุขแห่งนิกายคริสต์ออร์ทอดอกซ์โรมาเนียและอดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลกษัตริย์มีไฮที่ 1 เขาเป็นบุรุษผู้ที่กษัตริย์คาโรลทรงทราบว่าเป็นบุคคลที่เป็นที่เคารพของประชาชนโรมาเนียทั่วประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเมืองนับถืออร์ทอดอกซ์ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 กษัตริย์คาโรลทรงร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีความคล้ายคลึงกับฉบับก่อนหน้า แต่แท้จริงแล้วมันเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นเผด็จการและเป็นการปกครองแบบหมู่คณะที่รุนแรง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยอมรับพระราชอำนาจฉุกเฉินที่กษัตริย์คาโรลเข้ายึดอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อเปลี่ยนให้รัฐบาลกลายเป็นเผด็จการโดยพฤตินัย มันเป็นการสร้างพระราชอำนาจในพระหัตถ์ของพระองค์อย่างเข้มข้น ซึ่งเกือบจะถึงจุดที่เรียกว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้รับการเห็นชอบผ่านการทำประชามติด้วยเงื่อนไขที่ห่างไกลจากความลับ กล่าวคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องมารายงานตัวต่อหน้าสำนักงานการเลือกตั้งและแถลงด้วยวาจาว่าพวกเขาจะเห็นชอบในรัฐธรรมนูญ การที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเงียบจะถือว่าลงคะแนน "เห็นชอบ" ภายใต้เงื่อนไขนี้ มีการรายงานอย่างไม่น่าเชื่อว่า มีประชาชนเห็นชอบกับรัฐธรรมนูญใหม่ถึงร้อยละ 99.87[12][13] และหลังจากนี้ทรงเริ่มที่จะนำเยอรมนีไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง และมีการเปลี่ยนรัฐบาลหลายครั้งหลังจากพระอัครบิดรมรณภาพในต้นปีค.ศ. 1939

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 มกุฎราชกุมารมีไฮทรงได้เข้าร่วมเป็นวุฒิสมาชิกในวุฒิสภาโรมาเนีย ด้วยรัฐธรรมนูญโรมาเนีย ค.ศ. 1938 ซึ่งสนับสนุนอำนาจ "เผด็จการโดยราชวงศ์" ของกษัตริย์คาโรลที่ 2 อนุญาตให้มกุฎราชกุมารมีไฮมีที่นั่งในวุฒิสภาเมื่อทรงมีพระชนมายุครบ 18 พรรษา[14]

แต่หลังจากเหตุการณ์รางวัลเวียนนาครั้งที่สอง ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1940 โรมาเนียสูญเสียดินแดนพิพาทให้แก่ทั้งสหภาพโซเวียต ฮังการีและบัลแกเรีย จากแรงกดดันของนาซีเยอรมนี การยอมรับในรางวัลเวียนนาครั้งที่สองทำให้ประชาชนหมดศรัทธาในกษัตริย์คาโรลอย่างสิ้นเชิง และในช่วงต้นเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 มีการเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่ในโรมาเนียเพื่อกดดันให้พระมหากษัตริย์สละราชบัลลังก์ ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1940 ฮอเรีย ซีมา กลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กที่เข้ามามีบทบาทหลังคอดรีอานู ผู้นำถูกระบอบของกษัตริย์คาโรลสังหารได้ลาออกจากคณะรัฐบาลได้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อให้กษัตริย์คาโรลสละราชสมบัติ และกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กจะรวมตัวกันชุมนุมประท้วงทั่วโรมาเนียเพื่อกดดันให้พระองค์สละราชบัลลังก์[15] ในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1940 นายพลเอียน อันโตเนสคูได้เป็นนายกรัฐมนตรี และกษัตริย์คาโรลทรงถ่ายโอนอำนาจเผด็จการส่วนใหญ่ไปให้แก่เขา[16][17] ในฐานะนายกรัฐมนตรี อันโตเนสคูได้รับการยอมรับจากทั้งฝ่ายผู้พิทักษ์เหล็กและกลุ่มชนชั้นสูง[18] นายพลอันโตเนสคูเองเป็นพวกต่อต้านบอลเชวิกและเป็นผู้นิยมเยอรมัน เขาได้ก่อการรัฐประหารต่อกษัตริย์คาโรลที่ 2 ซึ่งเขามองว่ากษัตริย์ทรงเป็นพวก "ต่อต้านเยอรมัน" พระองค์จึงสละราชบัลลังก์ให้มกุฎราชกุมารมีไฮ พระราชโอรสซึ่งพระองค์จะได้ครองราชย์เป็นครั้งที่สอง ส่วนกษัตริย์คาโรลเสด็จลี้ภัย

ระบอบอันโตเนสคู

[แก้]
สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮท่ามกลางนักการเมืองผู้พิทักษ์เหล็กในวาระการให้สัตยาบันกติกาสัญญาไตรภาคี ในปี 1940 จากซ้าย:วิลเฮล์ม ฟาบริเชียส ทูตเยอรมัน, ฮอเรีย ซีมา, นายพลเอียน อันโตเนสคู และสมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮ (ตรงกลาง)

หลังจากนายกรัฐมนตรีจอมพลเอียน อันโตเนสคูทำการปลดกษัตริย์คาโรลที่ 2 ออกจากราชบัลลังก์แล้ว เขาก็ทำการระงับรัฐธรรมนูญ ยุบสภา และให้มกุฎราชกุมารมีไฮ ซึ่งมีพระชนมายุ 18 พรรษาครองราชบัลลังก์เป็นครั้งที่สอง กษัตริย์มีไฮทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1940 (แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะได้รับการฟื้นฟูในปีค.ศ. 1944 และรัฐสภาโรมาเนียได้รับการฟื้นคืนในปีค.ศ. 1946 แต่กษัตริย์มีไฮก็ไม่ได้ทรงประกอบพิธีสาบานตนอย่างเป็นทางการและไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา) กษัตริย์มีไฮทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก[19]และทรงประกอบพิธีเจิมเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโรมาเนีย โดยพระอัครบิดรแห่งโรมาเนีย นิกายอีสเติร์นออร์ทอดอกซ์ พระอัครบิดรนิโคดิมแห่งโรมาเนีย ประกอบพิธีที่มหาวิหารอัครบิดรโรมาเนียแห่งบูคาเรสต์[20] แม้ว่ากษัตริย์มีไฮจะทรงเป็นจอมทัพสูงสุดของกองทัพโรมาเนีย แต่นายกรัฐมนตรีจอมพลเอียน อันโตเนสคู สถาปนาตนเองเป็น คอนดูคาเตอ (Conducător; "ผู้นำแห่งประชาชน") ซึ่งเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงอำนาจเต็มของนายกรัฐมนตรี และในความเป็นจริงกษัตริย์มีไฮทรงถูกบังคับให้เป็นพระประมุขหุ่นเชิดจนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944[21] กษัตริย์มีไฮทรงเคยร่วมเสวยพระกระยาหารเที่ยงกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์สองครั้ง ครั้งแรกคือ เสวยพร้อมกับพระราชชนกและฮิตเลอร์ในบาวาเรีย ค.ศ. 1937 และอีกครั้งหนึ่งคือเสวยพร้อมกับพระราชชนนีที่เบอร์ลิน ในปีค.ศ. 1941[22] และทรงเคยพบปะกับเบนิโต มุสโสลินีในอิตาลี ปีค.ศ. 1941[23]

ดวงตราไปรษณียากรโรมาเนีย ปี 1942 เพื่อรำลึกปีแรกของการยึดคืนเบสซาราเบียจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮทรงฉายกับเอียน อันโตเนสคู มีข้อความเขียนว่า "หนึ่งปีนับตั้งแต่การปลดปล่อย" ("Un an de la desrobire") และเบื้องบนเป็นพระสาทิสลักษณ์ของ เจ้าชายสตีเฟนมหาราช และภาพป้อมปราการเมืองเบ็นเดอร์ อยู่เบื้องหลัง

เอียน อันโตเนสคูนั้นก้าวขึ้นมาสู่อำนาจอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปีค.ศ. 1940 เขาจัดตั้งโรมาเนียให้เป็นรัฐกองทัพแห่งชาติ และมีความเป็นพันธมิตรที่ไม่น่าพึงพอใจนักกับกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กของฮอเรีย ซีมาที่เคยมีบทบาทในการต่อต้านกษัตริย์คาโรลที่ 2 ซีมาได้กลับมาจากถูกเนรเทศและได้ขึ้นเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่ และยังคงกลับมาทำกิจกรรมในฐานะผู้นำของกองกำลังผู้พิทักษ์เหล็ก ซีมาได้ดำเนินการแบ่งเขตการปกครองของโรมาเนียให้เป็นเขตการปกครองของทหารแต่ละเขต[24] หลังจากมีการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกให้กษัตริย์มีไฮที่ 1 ไปในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1940 โรมาเนียก็เริ่มตกอยู่ในภาวะความน่าสะพรึงกลัวทางการเมือง ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1940 เมื่อกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กซึ่งเข้ามามีอำนาจในรัฐบาลของอันโตเนสคูพยายามรื้อฟื้นการตายอย่างเป็นปริศนาของอดีตผู้นำ คือ คอดรีอานู พวกขบวนการฟาสซิสต์จึงพยายามกวาดล้างนักการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมคอดรีอานูซึ่งดำเนินการโดยอดีตกษัตริย์คาโรลที่ 2 จนกลายเป็นการสังหารหมู่จีลาวา กลางดึกของวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 และเกิดการลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์นีกอลาเอ ออร์กา ซึ่งเป็นคนของอดีตกษัตริย์คาโรลที่ 2 ที่มีส่วนในการกำจัดคอดรีอานู และนักการเมืองฝ่ายซ้ายที่ต่อต้านฟาสซิสต์คือ เวอร์จิล มัดกีอานู จากนั้นกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กก็ก่อความรุนแรงวุ่นวายหลายครั้งและทำการฆ่าล้างชาวยิวตามแนวคิดของกลุ่มที่เกลียดชังชาวยิวอย่างรุนแรง[16][25] นายกรัฐมนตรีจอมพลเอียน อันโตเนสคูนั้นไม่พอใจที่กลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กมักจะดำเนินการโดยพลการ อันส่งผลถึงความนิยมของเขา จึงพยายามตอบโต้การดื้อรั้นของซีมาด้วยการสั่งกองทัพออกมาระงับการไล่ฆ่าของผู้พิทักษ์เหล็กตามท้องถนน[26] นายกรัฐมนตรีล้มเหลวในการกดดันให้ซีมานำตัวฆาตกรมามอบตัวกับตำรวจ เขาจึงใช้อำนาจขับไล่นายตำรวจที่เป็นกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กออกจากตำแหน่ง และมีคำสั่งให้คณะรัฐมนตรีให้สัตย์สาบานว่าต้องจงรักภักดีต่อ "คอนดูคาเตอ"[27] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงรอยร้าวที่ฝังลึกระหว่างนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี

หลังจากโรมาเนียเป็นพันธมิตรกับนาซีเยอรมนีและฝ่ายอักษะ และอันโตเนสคูได้รับความไว้วางใจจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ นายกรัฐมนตรีอันโตเนสคูจึงดำเนินการกวาดล้างพันธมิตรของตนอย่างกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กในเหตุการณ์กบฏกองทหาร ในปีค.ศ. 1941 เหล่าข้าราชการเยอรมันมีส่วนช่วยอันโตเนสคูในการกวาดล้างกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กที่มองว่าเริ่มมีอำนาจมากไปจนควบคุมไม่ได้ แต่หลังจากกวาดล้างกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็ก ฮิตเลอร์เปิดทางให้ฮอเรีย ซีมาและฝ่ายผู้พิทักษ์เหล็กหลายคนลี้ภัยในเยอรมนี ทั้งที่ศาลของอันโตเนสคูตัดสินให้ประหารชีวิต[28] หลังจากนั้นอันโตเนสคูจึงเข้าเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในเวลาเดียวกัน โรมาเนียเป็นแหล่งน้ำมันชั้นดีของนาซีเยอรมนี ฮิตเลอร์จึงต้องการเอาใจโรมาเนียเป็นพิเศษและให้การสนับสนุนระบอบอันโตเนสคูทุกทาง แต่การที่โรมาเนียเป็นแหล่งน้ำมันที่สำคัญต่อเยอรมนี[29] ส่งผลให้ประเทศเป็นแหล่งเป้าหมายในการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรหลายครั้ง เขานำโรมาเนียเข้าร่วมปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาในแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี เพื่อยึดดินแดนเบสซาราเบียและบูโกวินาเหนือคืนมา และทำการสังหารหมู่ชาวยิวในโรมาเนียตามนโยบายของนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะชาวยิวเบสซาราเบีย ชาวยิวบูโกวินาและชาวยิวยูเครน รวมถึงชาวโรมานีหรือยิปซีถูกไล่ล่าสังหารอย่างโหดร้ายทารุณ การโฆษณาชวนเชื่อของอันโตเนสคูเป็นการใส่ความชาวยิวว่าเป็น "สายลับคอมมิวนิสต์" เพื่อกระตุ้นให้กองทัพโรมาเนียทำการจับกุมและสังหาร

การหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี

[แก้]
สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮและจอมพลเอียน อันโตเนสคู นายกรัฐมนตรี บริเวณฝั่งแม่น้ำปรุต

ในปีค.ศ. 1944 สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มส่งผลที่ย่ำแย่แก่ฝ่ายอักษะ แต่นายกรัฐมนตรีเอียน อันโตเนสคูยังคงปกครองอย่างเผด็จการในโรมาเนีย ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 การรุกรานจากสหภาพโซเวียตจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และคาดว่าจะบุกเข้ามาอีกไม่กี่เดือน[30] ในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1944 กษัตริย์มีไฮทรงวางแผนร่วมกับนักการเมืองที่นิยมฝ่ายสัมพันธมิตร เหล่านายทหารและกลุ่มพลเรือนติดอาวุธที่มีผู้นำคือคอมมิวนิสต์[31] ดำเนินการก่อรัฐประหารต่ออำนาจของนายกรัฐมนตรีอันโตเนสคู กษัตริย์มีไฮทรงมีรับสั่งให้ทหารรักษาพระองค์จับกุมเขา ในคืนเดียวกันกษัตริย์มีไฮทรงแต่งตั้งพลโทคอนสแตนติน ซานาเทสคู เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และให้สิทธิในการควบคุมอันโตเนสคูแก่พวกคอมมิวนิสต์ (ทั้งๆที่กษัตริย์ไม่ประสงค์ที่จะทำเช่นนี้แต่คำสั่งของพระองค์ถูกปฏิบัติในทางตรงข้าม) และหลังจากนั้นพวกคอมมิวนิสต์ส่งตัวอันโตเนสคูไปยังสหภาพโซเวียตในวันที่ 1 กันยายน[32] ในรายการวิทยุกระจายเสียงไปทั่วโรมาเนียและกองทัพ กษัตริย์มีไฮทรงมีรับสั่งให้หยุดยิงซึ่งตอนนั้นกองทัพแดงกำลังบุกเข้ามายังแนวหน้ามอลดาเวีย[31] ทรงประกาศว่าโรมาเนียจงรักภักดีกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทรงประกาศยอมรับการสงบศึกกับสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต และประกาศสงครามต่อเยอรมนี[33] แต่สิ่งนี้ไม่ได้ช่วยขัดขวางการรุกรานที่รวดเร็วของสหภาพโซเวียต มีการจับเชลยทหารโรมาเนียกว่า 130,000 นาย ถูกส่งไปยังสหภาพโซเวียต หลายคนเสียชีวิตในค่ายกักกัน[31]

แม้ว่าประเทศจะยุติการเป็นพันธมิตรกับนาซี แต่การรัฐประหารเร่งให้กองทัพแดงบุกเข้าสู่โรมาเนีย[31] การสงบศึกได้ลงนามอีกสามสัปดาห์ต่อมาในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1944 ตามเงื่อนไขของสหภาพโซเวียต[31] ภายใต้การเงื่อนไขของการสงบศึก โรมาเนียจะต้องยอมรับการยอมจำนนต่อสหภาพโซเวียต และอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยโซเวียตจะเป้นผู้แทนในการควบคุมสื่อ การสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข และการบริหารกิจการภาครัฐอยู่เบื้องหลัง การรัฐประหารจึงกลายเป็น "การจำนนยอม"[34][35] ต่อ "การยอมแพ้"[30][31] "อย่างไม่มีเงื่อนไข"[36] มีการแนะนำว่าการรัฐประหารสามารถทำให้สงครามโลกครั้งที่สองลดสั้นลงอีก 6 เดือน และสามารถช่วยชีวิตผู้คนนับแสนได้[37]

ในช่วงสิ้นสุดสงคราม กษัตริย์มีไฮทรงได้รับลีเจียนออฟเมอริต ชั้นหัวหน้าผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดจากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน[38] พระองค์ยังทรงได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัยของโซเวียตจากโจเซฟ สตาลิน "สำหรับการกระทำอันกล้าหาญที่เปลี่ยนแปลงการเมืองของโรมาเนียอย่างรุนแรง ในการแตกหักกับเยอรมนีของฮิตเลอร์ และมุ่งหน้าการเป็นพันธมิตรกับสหประชาชาติ แม้ว่าในช่วงนั้นยังไม่มีสัญญาณว่าเยอรมนีกำลังจะพ่ายแพ้" เป็นคำอธิบายอย่างเป็นทางการถึงเหตุสำหรับการรับเครื่องอิสริยาภรณ์ หลังจากมรณกรรมของมีเคา รอลา-ชือมีแยร์สกี ใน ค.ศ. 1989 กษัตริย์มีไฮกลายเป็นบุคคลที่ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นี้เพียงคนเดียวที่ยังทรงพระชนม์อยู่[39]

ราชบัลลังก์ภายใต้ลัทธิคอมมิวนิสต์

[แก้]
กีออร์เก กีออร์กีอู-เดจ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ปราศรัยต่อหน้ากรรมกรที่จตุรัสกรุงบูคาเรสต์หลังการเลือกตั้งในปี 1946 พร้อมกับผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองคอมมิวนิสต์คือ เปตรู กรอซา, เปเตร คอนสแตนติเนสคู-ยาซ และนายพลคอนสแตนติน วาซิลิว-ราสคานู โดยมีพระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮ และภาพของเปตรู กรอซาเบื้องหลัง

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 สถานการณ์ทางการเมืองได้กดดันให้กษัตริย์มีไฮต้องทรงแต่งตั้งรัฐบาลนิยมโซเวียตนำโดย เปตรู กรอซา มาแทนรัฐบาลต่อต้านคอมมิวนิสต์ของนายพลนีกอลาเอ ราเดสคู ราเดสคูพยายามหยุดยั้งไม่ให้พรรคคอมมิวนิสต์เข้ามามีอำนาจแต่ก็ทำไม่สำเร็จเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนียได้ระดมกำลังพลผู้สนับสนุนเดินขบวนประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ราเดสคูลาออก กษัตริย์มีไฮจึงต้องแต่งตั้งกรอซาแทน และราเดสคูลาออกจากตำแหน่ง ด้วยสถานการณ์บีบบังคับ โดยในสองปีต่อมานี้ กษัตริย์มีไฮก็ทรงทำได้ดีกว่าเป็นเพียงหุ่นเชิดเพียงเล็กน้อย ในช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ถึง มกราคม ค.ศ. 1946 เกิดเหตุการณ์การประท้วงของราชวงศ์โรมาเนีย ซึ่งเป็นเหตุการณ์วิกฤตรัฐธรรมนูญในรัฐบาลของกรอซา กล่าวคือ กษัตริย์มีไฮทรงปฏิเสธที่จะลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติที่เสนอโดยนายกรัฐมนตรีกรอซา หรือทรงปฏิเสธที่รับการเข้าเฝ้าฯจากเหล่าคณะรัฐมนตรี การประท้วงของกษัตริย์ถือเป็นการขัดขืนอย่างหนึ่ง แต่ถึงกระนั้นพระราชวงศ์ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อกรอซาปฏิเสธที่จะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำขอของกษัตริย์ ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองโรมาเนีย พระองค์ทรงกระทำตามคำแนะนำของพรรคเสรีนิยมแห่งชาติและพรรคเกษตรกรแห่งชาติ และคาดว่าทรงได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรตะวันตกอย่างลับๆ การประท้วงของราชวงศ์สิ้นสุดในเดือนมกราคม ค.ศ. 1946 เมื่อนายกรัฐมนตรีกรอซาตัดสินใจยอมรับให้มีรัฐมนตรีที่มาจากตัวแทนของสองพรรคศัตรู เพื่อให้รัฐบาลของเข้าได้รับการยอมรับจากสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[40] แต่ถึงกระนั้นพวกคอมมิวนิสต์ก็มีอำนาจมากอยู่ดี จากกระแสตอบรับทางฝั่งโซเวียต อังกฤษและสหรัฐอเมริกา กษัตริย์มีไฮทรงถูกกดดันให้ยุติการดื้อแพ่งต่อต้านในการบังคับให้กรอซาลาออกจากตำแหน่ง

กษัตริย์มีไฮไม่ทรงพระราชทานอภัยโทษให้อดีตนายกรัฐมนตรี จอมพลอันโตเนสคู ซึ่งเขาถูกตัดสินประหารชีวิตสำหรับ "การทรยศชาวโรมาเนีย และทำเพื่อผลประโยชน์ของนาซีเยอรมนี ในการจัดการให้ระบอบเศรษฐกิจและการเมืองของโรมาเนียให้กลายเป็นของเยอรมนี รวมถึงกระทำการร่วมมือกับกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็ก ในการวางแผนสังหารนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม การสังหารหมู่พลเรือนและก่ออาชญากรรมต่อสันติภาพ" และกษัตริย์มีไฮเองก็ไม่สามารถช่วยผู้นำฝ่ายค้านได้ อย่างอียูลิว มานิว อดีตนายกรัฐมนตรีและพวกตระกูลบราเตียนู[41] ซึ่งตกเป็นเหยือการพิจารณาคดีของพวกคอมมิวนิสต์ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ห้ามพระองค์เข้ามาแทรกแซงได้ โดยปราศจากการลงนามของรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมที่เป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ คือ ลูเครตีอู ปาทราสคานู (ซึ่งในภายหลังเขาถูกกำจัดฐานที่เป็นปรปักษ์ต่อระบอบคอมมิวนิสต์ของกีออร์เก กีออร์กีอู-เดจ) จากพระอนุทินส่วนพระองค์ของเจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย พระปิตุจฉาของกษัตริย์มีไฮ[42] ทรงอ้างถึงคำพูดของเอมิล บ็อดนาราส ซึ่งเป็นบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนรักของพระองค์[43] เขาเป็นรัฐมนตรีกลาโหมของโรมาเนียฝ่ายคอมมิวนิสต์ และเป็นสายลับโซเวียต[44] เขาพูดว่า "ถ้ากษัตริย์ไม่ทรงลงนามในเอกสารการประหารชีวิต ผมสัญญาว่าเราจะสนับสนุนการตัดสินใจของพระองค์" เจ้าหญิงอีเลียนานั้นไม่ทรงเชื่อใจ ทรงตรัสว่า "ดูคุณรู้ดีจังเลยนะ (...) ว่ากษัตริย์จะไม่มีอิสระในการลงนามในเอกสารที่ไม่ตรงตามรัฐธรรมนูญเหล่านั้น ถ้าพระองค์ทรงยอมลงนาม เอกสารเหล่านั้นก็จะไปขึ้นอยู่กับพวกคุณ และก่อนหน้านั้นทั้งประเทศและรัฐบาลของพวกคุณจะต้องถูกประณาม แน่นอนว่าพวกคุณจะไม่อยากเสียเปรียบเพิ่มในช่วงเวลานี้หรอกนะ!"

สมเด็จอา หรือ พระปิตุจฉาของพระองค์นั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคอมมิวนิสต์ ได้แก่ เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย อดีตพระราชินีแห่งกรีซ และเจ้าหญิงอีเลียนา ในปีค.ศ. 1944 อดีตพระราชินีแห่งกรีซทรงสร้างสายสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย และทรงเริ่มโจมตีกษัตริย์มีไฮ ผู้เป็นพระราชนัดดา ซึ่งกษัตริย์มีไฮเองทรงมองสมเด็จอาพระองค์นี้ว่าเป็นจารชนคอมมิวนิสต์[45][46] ในต้นปีค.ศ. 1947 อดีตพระราชินีเอลิซาเบธแห่งกรีซเพิ่งได้รับถวายที่ดินบานล็อปจากยอซีป บรอซ ตีโต ผู้ซึ่งปลดพระนัดดาองค์หนึ่งของพระองค์ออกจากบัลลังก์คือ สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย[47] และจากคำบอกเล่าของอเล็กซานดรู สคานาวี ระบุว่า เจ้าหญิงทรงให้เงินทุนแก่กองกำลังติดอาวุธเพื่อต่อสู้กับระบอบกษัตริย์ในกรีซของพระอนุชาในอดีตพระสวามีของพระนาง คือ สมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ ส่วนสมเด็จอาอีกพระองค์คือ เจ้าหญิงอีเลียนาอาจจะทรงต่อต้านพระราชนัดดาน้อยกว่าอดีตพระราชินีแห่งกรีซ ผู้เป็นพระเชษฐภคินี แต่พระองค์ก็ทรงหวังว่าพรรคคอมมิวนิสต์จะให้อาร์กดยุกสเตฟานแห่งออสเตรีย พระโอรสของพระองค์ขึ้นครองบัลลังก์โรมาเนียแทนกษัตริย์มีไฮที่ 1 ด้วยเหตุนี้เจ้าหญิงทั้งสองจึงได้ฉายาว่า "สมเด็จอาฝ่ายแดง" ของกษัตริย์มีไฮ[48]

การบังคับสละราชสมบัติ

[แก้]
พระบรมราชโองการสละราชบัลลังก์ ค.ศ. 1947

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 กษัตริย์มีไฮเสด็จเยือนลอนดอนในคราวพระราชพิธีอภิเษกสมรสของพระญาติคือ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ (ต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร)กับเจ้าชายฟิลิปปอสแห่งกรีซและเดนมาร์ก ในคราวนี้ทรงพบปะกับเจ้าหญิงอานน์แห่งบรูบง-ปาร์มา (พระญาติชั้นสองของพระองค์) ซึ่งต่อมาจะเป็นพระมเหสีของพระองค์ จากบันทึกส่วนพระองค์[49] กษัตริย์มีไฮทรงปฏิเสธข้อเสนอสิทธิในการลี้ภัย และตัดสินพระทัยเสด็จกลับโรมาเนีย ทรงปฏิเสธคำแนะนำอย่างแข็งขันของเอกอัครทูตอังกฤษประจำโรมาเนีย

ในตอนเช้าของวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1947 กษัตริย์มีไฮทรงเตรียมการงานเลี้ยงวันปีใหม่ ณ ปราสาทเปเรส เมืองซินาเอีย แต่นายกรัฐมนตรีกรอซากราบทูลให้พระองค์เสด็จกลับมาบูคาเรสต์ กษัตริย์มีไฮเสด็จถึงพระราชวังเอลิซาเบตาในบูคาเรสต์ และทรงพบว่าพระราชวังถูกปิดล้อมโดยกองพันทูดอร์ วลาดิมีเรสคู ซึ่งเป็นกองทัพที่จงรักภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์ กรอซาและกีออร์เก กีออร์กีอู-เดจ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ กำลังรอเข้าเฝ้าพระองค์อยู่ และพวกเขาเรียกร้องให้พระองค์ลงพระปรมาภิไธยลงในตราสารการสละราชบัลลังก์ที่ถูกพิมพ์ไว้แล้ว พระองค์ไม่สามารถโทรศัพท์ถึงกองกำลังที่จงรักภักดีได้ เนื่องจากมีการตัดสายโทรศัพท์ และทั้งกรอซากับกีออร์กีอู-เดจก็ถือปืนชี้มาที่พระองค์ (ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูลอ้างอิง) กษัตริย์มีไฮจึงต้องทรงยอมลงพระปรมาภิไธย[50][51][52][53] หลังจากนั้นในวันเดียวกัน รัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ประกาศยุบเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ "อย่างถาวร" และแทนที่ด้วยสาธารณรัฐประชาชน โดยมีการประกาศพระราชโองการสละราชสมบัติของกษัตริย์ทางวิทยุซึ่งมีการบันทึกเตรียมไว้ล่วงหน้า[54] ในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1948 กษัตริย์มีไฮทรงถูกบีบบังคับให้เสด็จออกจากประเทศ ตามมาด้วย[55]สัปดาห์ถัดมา เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อดีตพระราชินีแห่งกรีซและเจ้าหญิงอีเลียนา ผู้ทรงมีความใกล้ชิดกับพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ถูกขนานนามว่า "สมเด็จอาฝ่ายแดง" ก็ถูกบีบบังคับให้ออกจากประเทศเช่นกัน[56] พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายภายในม่านเหล็กที่ต้องสูญเสียราชบัลลังก์

ตามคำกล่าวของอดีตกษัตริย์มีไฮ ทรงอ้างว่า กรอซาข่มขู่พระองค์ด้วยปืน[57][58][59][60] และกราบทูลเตือนว่ารัฐบาบจะยิงเป้านักศึกษากว่า 1,000 คนที่ถูกจับกุมหากพระองค์ไม่ยอมสละราชบัลลังก์[61] พระองค์ประทานสัมภาษณ์แก่เดอะนิวยอร์กไทมส์ในปีค.ศ. 2007 กษัตริย์มีไฮทรงตรัสถึงเหตุการณ์วันนั้นว่า "มันเป็นการแบล็คเมล์ข่มขู่ พวกเขาพูดว่า 'ถ้าพระองค์ไม่ยอมลงนามเดี๋ยวนี้ พวกกระหม่อมก็ต้องบังคับพระองค์' - ข้าพเจ้าไม่รู้ ทำไมต้องบีบบังคับ 'ก็จะฆ่านักศึกษา 1,000 กว่าคนที่อยู่ในคุกไงล่ะ'"[62] ตามนิตยสารไทม์ระบุว่า กรอซาข่มขู่จะจับกุมประชาชนหลายพันคน และสั่งให้มีการนองเลือกถ้าหากกษัตริย์มีไฮไม่สละราชบัลลังก์[52]

อย่างไรก็ตามมีอัตชีวประวัติของอดีตหัวหน้าหน่วยข่าวกรองของโซเวียตประจำหน่วยงานพลาธิการกิจการภายในของประชาชน พลตรี ปาเวล ซูโดพลาตอฟ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหภาพโซเวียต อันเดรย์ วืยชินสกี ซึ่งเดินทางมาเจรจากับกษัตริย์มีไฮเป็นการส่วนตัว โดยรับประกันต่อพระองค์ว่าจะจ่ายเงินบำนาญส่วนหนึ่งแก่กษัตริย์มีไฮที่จะต้องลี้ภัยไปเม็กซิโก[63] ตามบทความในหนังสือพิมพ์ ยูร์นาลูล เนชันนาล[64][65] ระบุว่า การสละราชบัลลังก์ของกษัตริย์มีไฮนั้นมีการเจรจากับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ โดยให้พระองค์เสด็จออกจากประเทศพร้อมทรัพย์สินบางส่วน พระองค์ทรงตอบรับพร้อมติดตามด้วยข้าราชบริพารผู้จงรักภักดี

ตามบันทึกของแอนแวร์ ฮอจา ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แอบเบเนียที่มีการพูดคุยกับผู้นำคอมมิวนิสต์โรมาเนียเกี่ยวกับเรื่องการสละราชบัลลังก์ของกษัตริย์ ระบุว่า เป็นกีออร์กีอู-เดจที่ถือปืนขู่กษัตริย์ ไม่ใช่กรอซา พระองค์ได้รับอนุญาตให้เสด็จออกนอกประเทศพร้อมผู้ติดตามบางส่วน และจากการยืนยันของนีกีตา ครุชชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียต เกี่ยวกับคำสารภาพของกีออร์กีอู-เดจ[66] ว่าเขาต้องการทรัพย์สิน ทองคำและทับทิม[67] ฮอจาระบุว่ากองกำลังที่นิยมคอมมิวนิสต์ปิดล้อมพระราชวัง เพื่อต่อต้านกองทัพที่สนับสนุนกษัตริย์

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1948 กษัตริย์มีไฮทรงประณามว่าการสละราชบัลลังก์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทรงยืนยันว่าพระองค์ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์โรมาเนียโดยชอบธรรม ตามนิตยสารไทม์ระบุว่า[68] พระองค์คงจะรีบดำเนินการเร็วกว่านี้ แต่ช่วงต้นปีค.ศ. 1948 พระองค์ยังทรงเจรจากับพรรคคอมมิวนิสต์เกี่ยวกับทรัพย์สินของพระองค์ที่ถูกทิ้งไว้ในโรมาเนีย

มีรายงานว่า[69][70][71][72][73] ทางการคอมมิวนิสต์โรมาเนียอนุญาตให้กษัตริย์มีไฮถ่ายโอนทรัพย์สินออกไป พร้อมภาพวาดของราชวงศ์ที่มีค่าจำนวน 42 ภาพในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 เพื่อให้พระองค์เสด็จออกจากโรมาเนียได้เร็วขึ้น[71] ภาพวาดบางภาพ[74]ถูกรายงานว่ามีการขายให้ตัวแทนจำหน่ายงานศิลปะชื่อดังอย่างดาเนียล วิลเดนสไตน์ หนึ่งในภาพวาดที่เป็นทรัพย์สินของราชวงศ์โรมาเนียคาดว่าถูกนำออกนอกประเทศโดยกษัตริย์มีไฮในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 และได้กลับมาโรมาเนียในปีค.ศ. 2004 โดยการบริจาค[69][75][76] โดยจอห์น ครูเกอร์ อดีตพระสวามีในเจ้าหญิงอีรีนาแห่งโรมาเนีย พระธิดาในกษัตริย์มีไฮ

ในปีค.ศ. 2005 คาลิน โปเปสคู-ตารีซีอานู นายกรัฐมนตรีโรมาเนีย[77] ปฏิเสธข้อกล่าวหาอดีตกษัตริย์มีไฮในเรื่องภาพวาด โดยระบุว่ารัฐบาลโรมาเนียไม่มีข้อพิสูจน์ในการกระทำดังกล่าวของกษัตริย์มีไฮ และก่อนปีค.ศ. 1949 รัฐบาลไม่มีการบันทึกอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับงานศิลปะใดๆ ที่ถูกนำออกมาจากอดีตที่ประทับของราชวงศ์ แต่นักประวัติศาสตร์บางคนมีบันทึกอยู่ในช่วงต้นเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ซึ่งถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948[78]

ตามอัตชีวประวัติที่ได้รับอนุญาตให้เขียนของอีโว พ็อตเตอร์[79] เรื่อง Michael of Romania: The King and The Country (2005) ซึ่งระบุพระดำรัสของสมเด็จพระราชชนนีเอเลนาว่า ราชวงศ์โรมาเนียได้นำภาพวาดของราชวงศ์ไปยังพิธิอภิเษกสมรสในกรุงลอนดอน เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ซึ่งเป็นงานอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ (ต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร) ภาพเหล่านี้ลงนามโดยเอลเกรโก ซึ่งถูกขายในปีค.ศ. 1976

ตามเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศและเครือจักรภพที่ไม่มีการจัดประเภทซึ่งมีหัวข้อรายงานข่าวในปีค.ศ. 2005 ว่า เมื่อกษัตริย์มีไฮเสด็จออกจากโรมาเนีย พระองค์ทรงมีทรัพย์สินจำนวน 500,000 ฟรังก์สวิส[80] เมื่อเร็วๆ นี้มีสำเนาการสนทนาที่ไม่ได้รับการจัดประเภทระหว่างโจเซฟ สตาลินกับนายกรัฐมนตรีโรมาเนีย เปตรู กรอซา[81][82] ไม่นานก่อนพระองค์จะสละราชบัลลังก์ ว่า กษัตริย์มีไฮทรงได้รับทรัพย์สินจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์จำนวน 500,000 ฟรังก์สวิส แต่กษัตริย์มีไฮทรงปฏิเสธ[83][84][85] โดยทรงแจ้งว่า รัฐบาลคอมมิวนิสต์อนุญาตให้พระองค์นำทรัพย์สินติดตัวเพียงรถยนต์ส่วนบุคคล 4 คันบรรทุกไว้บนรถไฟ 2 คัน

อภิเษกสมรส

[แก้]

การหมั้น

[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 กษัตริย์มีไฮทรงพบกับเจ้าหญิงอานน์แห่งบูร์บง-ปาร์มา พระญาติห่างๆ ซึ่งทรงเสด็จเยือนลอนดอนเพื่อร่วมพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าหญิงเอลิซาเบธและฟิลิป เมานต์แบ็ทแตน[86] ที่จริงแล้วปีก่อนหน้า สมเด็จพระราชชนนีเอเลนาได้เชิญเจ้าหญิงอานน์ พร้อมพระมารดาและพระเชษฐาพระอนุชาของพระนางมายังบูคาเรสต์ แต่แผนของพระนางก็ไม่สำเร็จ[87] ในขณะที่กษัตริย์มีไฮทรงทอดพระเนตรเจ้าหญิงอานน์ในภาพยนตร์ข่าวและทรงขอรูปถ่ายของพระนางจากภาพยนตร์นี้[87]

เจ้าหญิงอานน์ไม่ประสงค์ที่จะเสด็จติดตามพระบิดาและพระมารดาไปยังลอนดอนเพื่อร่วมงานเสกสมรส เนื่องจากเจ้าหญิงทรงต้องการหลีกเลี่ยงไม่พบปะกับกษัตริย์มีไฮในสภาพแวดล้อมที่ดูเป็นทางการ แต่พระนางทรงตั้งพระทัยที่จะอยู่เบื้องหลัง โดยเสด็จไปยังสถานีรถไฟปารีสเพียงลำพัง และทรงแสร้งทำเป็นประชาชนที่สัญจรด้วยรถไฟ เพื่อที่พระนางจะได้สังเกตองค์กษัตริย์เป็นการส่วนพระองค์ ในฐานะเป็นผู้ติดตามของคณะกษัตริย์มีไฮในการเสด็จด้วยนรถไฟที่มุ่งไปสู่ลอนดอน[87] อย่างไรก็ตามในนาทีสุดท้าย เจ้าหญิงทรงถูกเกลี้ยกล่อมโดยฌ็อง แกรนด์ดยุกรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก พระญาติของพระนางที่ทรงเชิญเจ้าหญิงมายังลอนดอน โดยที่พระองค์เป็นผู้จัดงานเลี้ยง เมื่อเจ้าหญิงอานน์มาถึงลอนดอน เจ้าหญิงได้เสด็จแวะที่โรงแรมคลาริดจ์เพื่อพบพระบิดาและพระมารดา แต่พระนางก็พบว่าทรงต้องแนะนำพระองค์เองแก่กษัตริย์มีไฮอย่างไม่คาดคิดมาก่อน ด้วยความที่ทรงเขินอายจนสับสน เจ้าหญิงทรงทำท่ากระแทกส้นเท้าเข้ากันแบบทหาร แทนที่จะทรงถอนสายบัว และทรงวิ่งหนีออกไปด้วยความอับอาย ด้วยเสน่ห์นี้ กษัตริย์มีไฮทรงพบปะเจ้าหญิงอานน์อีกครั้งในคืนพิธีเสกสมรส ณ งานเลี้ยงสังสรรค์ของสถานทูตลักเซมเบิร์ก พระองค์ทรงเล่าให้เจ้าหญิงฟังถึงความกังวลที่พรรคคอมมิวนิสต์จะเข้ายึดครองโรมาเนีย และทรงเป็นห่วงความปลอดภัยของพระราชชนนี และพระองค์ทรงเรียกพระนามลำลองของเจ้าหญิงว่า "แนน" (Nan)[87] ทั้งสองพระองคพบปะกันหลายครั้งในลอนดอนแต่ก็มีพระมารดาและพระอนุชาของเจ้าหญิงเสด็จตามมาสมาคมด้วย

ไม่กี่วันถัดมา เจ้าหญิงอานน์ทรงตอบรับคำเชิญของกษัตริย์มีไฮให้เสด็จไปพร้อมกับพระองค์และพระราชชนนี โดยกษัตริย์ทรงขับเครื่องบินบีชคราฟท์ เพื่อทรงพาเจ้าหญิงไอรีน ดัชเชสแห่งโอสตา สมเด็จน้าของกษัตริย์เสด็จกลับที่ประทับที่โลซาน[87] สิบหกวันหลังจากพบกัน กษัตริย์มีไฮทรงขอเจ้าหญิงอานน์หมั้นในขณะที่ทั้งสองทรงขับรถอยู่ในโลซาน ในตอนแรกเจ้าหญิงทรงปฏิเสธ แต่ต่อมาก็ทรงตอบตกลงภายหลังขณะที่ทรงพระดำเนินและขับรถไปกับพระองค์[88] แม้ว่ากษัตริย์มีไฮจะทรงมอบแหวนหมั้นแก่เจ้าหญิงในอีกสองสามวันต่อมา แต่พระองค์รู้สึกว่าต้องละเว้นการประกาศให้สาธารณชนรู้จนกว่าพระองค์จะทรงแจ้งต่อรัฐบาลของพระองค์ แต่สื่อมวลชนก็รุมล้อมพระองค์ตามความคาดหมาย[87]

กษัตริย์มีไฮเสด็จกลับโรมาเนีย พระองค์ทรงแจ้งแก่นายกรัฐมนตรีในเรื่องประกาศงานอภิเษกสมรส แต่นายกรัฐมนตรีกราบทูลว่า ยังไม่ "เหมาะสมแก่โอกาส" ทว่าภายในไม่กี่วัน กรณีนี้ทำให้รัฐบาลใช้โอกาสอธิบายต่อสาธารณชนเกี่ยวกับ "การสละราชบัลลังก์อย่างกะทันหัน" ของกษัตริย์มีไฮ แต่ในความเป็นจริงแล้วรัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ขับไล่พระองค์ออกจากบัลลังก์ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคมแล้ว[87] เจ้าหญิงอานน์ไม่ทรงสามารถทราบข่าวจากกษัตริย์มีไฮได้จนกระทั่งพระองค์ได้เสด็จออกจากประเทศ ในที่สุดทั้งสองพระองค์ได้มาพบกันที่เมืองดาโวส วันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1948[87]

เสกสมรส

[แก้]

พระชนมชีพหลังสละราชบัลลังก์

[แก้]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1948 พระองค์ทรงได้รับพระอิศริยยศเป็น "เจ้าชายแห่งโฮเฮนโซลเลิร์น แทนพระอิศริยยศ "กษัตริย์แห่งโรมาเนีย" หลังจากการสละราชสมบัติ และหลังจากการล่มสลายของคอมมิวนิสต์พระองค์จึงทรงได้กลับคืนสู่พระอิศริยยศเดิม

ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1948 ที่กรุงเอเธนส์, กรีซ พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแอนน์แห่งบูร์บง-ปาร์มา ทั้งคู่ใช้ชีวิตร่วมกันครั้งแรกที่อังกฤษและจากนั้นที่สวิตเซอร์แลนด์ พรรคคอมมิวนิสต์ได้ถอดถอนพระองค์จากการเป็นชาวโรมาเนีย พระองค์และเจ้าหญิงมีพระธิดาทั้งหมด 5 พระองค์

ในปี ค.ศ. 1992 พรรคคอมมิวนิสต์ถูกปฏิวัติล้มล้างในโรมาเนีย รัฐบาลได้เชิญให้พระองค์เสด็จกลับประเทศเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลอีสเตอร์ ในบูคาเรสต์ชาวโรมาเนียกว่าล้านคนออกมารับเสด็จพระองค์ ทำให้พระองค์ถูกเตือนโดยประธานาธิบดีเอียน อีลีเอสคู ดังนั้นพระองค์จึงไม่ได้รับการอนุญาตให้เสด็จมาโรมาเนียเป็นเวลา 5 ปี ในปี ค.ศ. 1997 หลังจากอีลีเอสคูถูกรัฐประหารโดยอีมิล คอนสแตนติเนสคู รัฐบาลได้คืนให้พระองค์ดำรงเป็นชาวโรมาเนีย พระองค์ทรงประทับที่สวิตเซอร์แลนด์ บ้างก็โรมาเนียที่ปราสาทซาวาร์ซิน ในอารัดหรือในพระราชวังอลิซาเบตาที่บูคาเรสต์

พระองค์มีพระราชธิดา 5 พระองค์ คือ

เจ้าหญิงอีลีนาและเจ้าหญิงไอรีนาต่างมีพระโอรสและพระธิดาทั้งคู่ เจ้าหญิงโซเฟียมีพระธิดา การสืบราชบัลลังก์ในโรมาเนียภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1997 กล่าวไว้ว่า ถ้าสมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮเสด็จสวรรคตโดยปราศจากพระโอรส พระราชสมบัติจะถูกถ่ายโอนไปยังเชื้อพระวงศ์ในสาย ราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมารินเกน

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีของการสละราชสมบัติของพระเจ้ามีไฮ พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งพระธิดาองค์โตคือ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตตาแห่งโรมาเนียขึ้นเป็นมกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย และพระอิสริยยศ "ผู้ดูแลราชสมบัติแห่งโรมาเนีย" และเป็นโอกาสนี้ที่พระองค์เสนอให้รัฐบาลพิจารณาในการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ ในปี ค.ศ. 2007 มีประชากร 14% เห็นด้วยในการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ และนอกจากนั้นปี ค.ศ. 2008 มีประชากร 16% เป็นผู้นิยมระบอบกษัตริย์

พระพลานามัย

[แก้]

โฆษกประจำสำนักพระราชวังของโรมาเนียได้แถลงการณ์เรื่อง สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 ประทับรักษาพระอาการประชวร พระพลานมัยย่ำแย่ลงอย่างมาก กำลังพระวรกายลดลง คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาได้ถวายการรักษาได้ติดตามพระอาการอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ เจ้าหญิงมาร์กาเรต้า มกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย เจ้าชายราดู พระสวามี ไปทรงเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักเมืองโอบอนน์ เขตเมืองมอร์ช สมาพันธรัฐสวิส สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮ (พระชนมพรรษา 96 พรรษา) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลสุดท้ายของโรมาเนีย ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองยกเลิกระบอบพระมหากษัตริย์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยทรงเป็นพระประมุขเพียงพระองค์เดียวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยังทรงพระชนม์ชีพในขณะนั้น

สวรรคต

[แก้]

สำนักพระราชวังแห่งโรมาเนียได้แถลงการณ์เรื่อง สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย เสด็จสวรรคตแล้วด้วยพระอาการสงบ เมื่อวันอังคารที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2017 เวลา 12.00 น. ณ พระตำหนักเมืองมอร์ช สมาพันธรัฐสวิส สิริพระชนมพรรษา 96 พรรษา

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. ชาร์ลส์ แอนโทนีแห่งโฮเฮนโซเลน
 
 
 
 
 
 
 
8. ลีโอโปลด์แห่งโฮเฮนโซเลน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงโยเซฟินแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
4. เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. เฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงแอนโตเนียแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. มาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
2. คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี
 
 
 
 
 
 
 
10. เจ้าฟ้าชายอัลเฟรด ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
11. แกรนด์ดัชเชสมาเรีย อเล็กซานดรอฟนาแห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงมารีแห่งเฮสส์และไรน์
 
 
 
 
 
 
 
1. สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮแห่งโรมาเนีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. คริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
12. จอร์จที่ 1 แห่งกรีซ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. หลุยส์แห่งเฮสส์ - คาสเซิล
 
 
 
 
 
 
 
6. คอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. แกรนด์ดยุคคอนสแตนติน นิโคเลวิชแห่งรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
13. โอลกา คอนสแตนตินอฟนาแห่งกรีซ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งแซ็กซ์ - เอลเทเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
3. เฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี
 
 
 
 
 
 
 
14. ฟริดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เอากุสทาแห่งซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซอนัค
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
 
 
 
 
 
 

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. "MS Regele Mihai I". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08. สืบค้นเมื่อ 22 December 2016.
  2. 2.0 2.1 Bucur, Marie "Carol II" pages 87-118 from Balkan Strongmen: Dictators and Authoritarian Rulers of South Eastern Europe edited by Bernd Jürgen Fischer, West Lafayette: Purdue University Press, 2007 pages 96-97.
  3. Bucur, Marie "Carol II" pages 87-118 from Balkan Strongmen: Dictators and Authoritarian Rulers of South Eastern Europe edited by Bernd Jürgen Fischer, West Lafayette: Purdue University Press, 2007 page 97.
  4. "Regele Mihai la ṣcoală. Cum îşi amintea profesorul său despre el: N-a fost premiantul clasei, dar..." Realitatea .Net. สืบค้นเมื่อ 5 December 2017.
  5. "O şcoală pentru un singur copil". สืบค้นเมื่อ 5 December 2017.
  6. "Rulers of Romania". Rulers. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
  7. 7.0 7.1 7.2 Bucur, Marie "Carol II" pages 87-118 from Balkan Strongmen: Dictators and Authoritarian Rulers of South Eastern Europe edited by Bernd Jürgen Fischer, West Lafayette: Purdue University Press, 2007 page 98.
  8. Gelardi, Julia (2005). Born to Rule. London: St. Martin's Griffin. ISBN 978-0-312-32423-0. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help), p.332
  9. "FOTODOCUMENT. Mihai, Mare Voievod de Alba Iulia - Romania Libera". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-08. สืบค้นเมื่อ 22 December 2016.
  10. Payne, Stanley A History of Fascism, 1914-1945 Madison: University of Wisconsin, 1996 page 278.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Haynes, Rebecca "Reluctant Allies? Iuliu Maniu and Corneliu Zelea Codreanu against King Carol II of Romania" pages 105-134 from The Slavonic and East European Review, Volume 85, Issue # 1, January 2007 page 108.
  12. Rumänien, 24. Februar 1938 : Verfassung Direct Democracy
  13. Payne, Stanley G. (1996). A History of Fascism, 1914-1945. Routledge. ISBN 0203501322.
  14. "Ce citeau românii acum 68 de ani?", Ziua, 29 November 2007.
  15. Haynes, Rebbecca " Germany and the Establishment of the Romanian National Legionary State, September 1940" pages 700-725 from The Slavonic and East European Review, Volume 77, Issue # 4. October 1999 page 710.
  16. 16.0 16.1 Delia Radu,"Serialul 'Ion Antonescu și asumarea istoriei' (1)", BBC Romanian edition, August 1, 2008 (โรมาเนีย)
  17. Final Report, p.320; Morgan, p.85; Ornea, p.326
  18. Haynes, Rebbecca " Germany and the Establishment of the Romanian National Legionary State, September 1940" pages 700-725 from The Slavonic and East European Review, Volume 77, Issue # 4. October 1999 page 713.
  19. Fundamental Rules of the Royal Family of Romania, The Romanian Royal Family website as. Retrieved 8 January 2008
  20. "The Joys of Suffering," Volume 2, "Dialogue with a few intellectuals", by Rev. Fr. Dimitrie Bejan – "Orthodox Advices" website as of 9 June 2007 (โรมาเนีย)
  21. Ioan Scurtu, Theodora Stănescu-Stanciu, Georgiana Margareta Scurtu, The History of the Romanians between 1918–1940 ("Istoria românilor între anii 1918–1940") เก็บถาวร 2 ตุลาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, page 280. (โรมาเนีย)
  22. Thorpe, Nick (25 October 2011). "Romania's ex-King Michael I defends his wartime record". BBC. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
  23. "Comí con Hitler, era estirado y frío. Mussolini parecía más humano" (สเปน)
  24. Clark, Roland (2015-06-05). Holy Legionary Youth. Ithaca, NY: Cornell University Press. pp. 222. doi:10.7591/9780801456343. ISBN 9780801456343.
  25. Final Report, pp. 46, 110–111; Deletant, pp. 60–61, 297–298, 302; Ornea, pp. 335–341, 347; Veiga, pp. 291–294, 311–312
  26. Final Report, pp. 110–111; Veiga, pp. 293–295
  27. Z. Ornea, Anii treizeci. Extrema dreaptă românească, Editura Fundației Culturale Române, Bucharest, 1995. , p. 341
  28. Final Report, pp. 63, 382; Harvey, p. 498; Browning, pp. 211–212
  29. The Biggest Mistakes In World War 2:Ploesti - the most important target, สืบค้นเมื่อ 2007-12-08
  30. 30.0 30.1 "Bulgaria". Encyclopædia Britannica.
  31. 31.0 31.1 31.2 31.3 31.4 31.5 "Romania – Armistice Negotiations and Soviet Occupation". countrystudies.us.
  32. "23 August – radiografia unei lovituri de Palat", paragraph "Predaţi comuniştilor", Dosare Ultrasecrete, Ziua, 19 August 2006
  33. Dictatura a luat sfarsit si cu ea inceteaza toate asupririle เก็บถาวร 2 ธันวาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ("The Dictatorship Has Ended and along with It All Oppression") – From The Proclamation to The Nation of King Michael I on The Night of 23 August 1944, Curierul Naţional, 7 August 2004
  34. "Secret CIA report - RUMANIA, 10/5/1949" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 5 December 2017.
  35. "Hitler Resorts To 'Puppets' In Romania" เก็บถาวร 2013-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Washington Post, 25 August 1944.
  36. "King Proclaims Nation's Surrender and Wish to Help Allies", The New York Times, 24 August 1944
  37. Constantiniu, Florin, "O istorie sinceră a poporului român" ("An Honest History of the Romanian People"), Ed. Univers Enciclopedic, Bucureşti, 1997, ISBN 973-9243-07-X (โรมาเนีย)
  38. "Cuvintele lui Harry S. Truman", Romanian, Prince Radu's blog, includes scan of citation, 23 June 2011 (โรมาเนีย)
  39. Armata Română în Al Doilea Război Mondial. Romanian Army in World War II. Bucharest: "Meridiane" publishing house, 1995, p. 196 (โรมาเนีย)
  40. "What was done in Romania between 1945 and 1947 it has also been done since 1989", Ziua, 24 August 2000 (โรมาเนีย)
  41. Brief history of Sighet prison, BBC, 18 April 2007 (โรมาเนีย)
  42. ""I Live Again" by Ileana, Princess of Romania, Chapter 21". Tkinter.smig.net. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
  43. "History as a Soap Opera – The Gossips of a Secret Report (III)" เก็บถาวร 2007-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jurnalul Naţional, 18 June 2006 (โรมาเนีย)
  44. ""Development of the Romanian Armed Forces after World War II", Library of Congress Country Studies". Lcweb2.loc.gov. 20 August 1968. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
  45. John Wimbles, Elisabeta of the Hellenes: Passionate Woman, Reluctant Queen - Part. 4: Treachery and Death , Royalty Digest, vol. 13#1, no 145, July 2003, pp. 14–15.
  46. Ivor Porter, Michael of Romania: The King and the Country, Sutton Publishing Ltd, 2005, p. 152 and 155.
  47. Porter 2005, pp. 169–170.
  48. Jean-Paul Besse, Ileana: l'archiduchesse voilée, Versailles, Via Romana, 2010, pp. 117–118.
  49. Speech By His Majesty Michael I, King of Romania to the Royal United Services Institute for Defence Studies, London, 26 March 1997
  50. (ในภาษาโรมาเนีย) "King Michael between the ascension to the throne and abdication – VII", Ziarul financiar, 24 June 2001
  51. "The Republic was installed by way of the gun" (ภาษาโรมาเนีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2009. สืบค้นเมื่อ 13 April 2006.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), undated interview with H.M. King Michael in Ziua, as of 15 October 2008
  52. 52.0 52.1 "Compression" เก็บถาวร 2013-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Time, 12 January 1948
  53. (ในภาษาโรมาเนีย) Mircea Ionnitiu : "30 December 1947", site dedicated to HM King Mihai I of Romania and to the Romanian Monarchy as of 15 October 2008
  54. Friends & Enemies, Presidents & Kings by Tammy Lee McClure, Accendo Publishing, page 99. Another account comes from the Romanian anti-Communist dissident Paul Goma's (ในภาษาโรมาเนีย) "Skipped Diary" ("Jurnal pe sarite"), page 57.
  55. "2 Princesses Exiled By Romanian Regime", The New York Times, 13 January 1948
  56. W. H. Lawrence,"Aunts of Michael May Be Exiled Too", The New York Times, 7 January 1948
  57. "The Rescue of the Bulgarian Jews" เก็บถาวร 7 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, as. Retrieved 21 January 2008
  58. "The Republic was installed with a pistol" (ภาษาโรมาเนีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2009. สืบค้นเมื่อ 13 April 2006.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), Ziua, May 1996
  59. (ในภาษาโรมาเนีย) Timeline, semi-official site dedicated to HM King Michael I, as. Retrieved 21 January 2008
  60. (ในภาษาโรมาเนีย)"Princess Margareta, designated dynastic successor" เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Antena 3, 30 December 2007
  61. "A king and his coup" เก็บถาวร 2007-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Daily Telegraph, 12 June 2005
  62. Craig S. Smith (27 January 2007). "Romania's King Without a Throne Outlives Foes and Setbacks". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 December 2014.
  63. Pavel Sudoplatov, Anatoli Sudoplatov, Jerrold L. Schecter, Leona P. Schecter, Special Tasks: The Memoirs of an Unwanted Witness—A Soviet Spymaster. Little, Brown and Company, Boston, 1994, page 232. ISBN 0-316-77352-2 : "Vyshinsky personally conducted negotiations with King Michael of Romania for his abdication, guaranteeing part of his pension in Mexico."
  64. (ในภาษาโรมาเนีย)"The return from London and the abdication," เก็บถาวร 16 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Jurnalul Național, 17 November 2005
  65. (ในภาษาโรมาเนีย) "Communism – King Michael I's Abdication" เก็บถาวร 16 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jurnalul Naţional, 11 December 2006
  66. Nikita Sergeevich Khrushchev, Sergeĭ Khrushchev.Memoirs of Nikita Khrushchev: Statesman, 1953–1964, Pennsylvania State University Press, 2007, page 701, ISBN 0-271-02935-8 : "As Dej reminisced, 'We told him he could take everything with him that he considered necessary, but he had to leave his kingdom.'"
  67. Enver Hoxha.The Titoites. The "Naim Frasheri" publishing house, Tirana, 1982, pages 519–522, 572
  68. "Anne & I" เก็บถาวร 2007-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Time, 15 March 1948
  69. 69.0 69.1 Miscellaneous, Evenimentul Zilei, 24 March 2005
  70. Miscellaneous, Evenimentul Zilei, 14 March 2005
  71. 71.0 71.1 The Lia Roberts hope, Evenimentul Zilei, 19 January 2004
  72. George Radulescu (29 December 2007) Monarchy, the only bastion against the communists, Adevărul
  73. (ในภาษาโรมาเนีย) Mihai Pelin has died เก็บถาวร 21 กุมภาพันธ์ 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Romania libera, 17 December 2007
  74. Michel van Rijn, "Hot Art, Cold Cash" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2007. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), pages 177, 184, Little Brown & Co., October 1994. For more on the credentials of the UK police expert in art smuggling Michel van Rijn, see 1 เก็บถาวร 10 ธันวาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and 2.
  75. (ในภาษาโรมาเนีย) "Raibolini's Madonna at the National Museum of Art of Romania", Ziua, 20 November 2004
  76. (ในภาษาโรมาเนีย) "A Prestigious Donation: Madonna with the Infant by Francesco Raibolini, named "Il Francia"", Online Gallery site as of 8 December 2006
  77. (ในภาษาโรมาเนีย) "There Are No Proofs That King Michael Took Paintings out of Romania", Adevărul, 19 April 2005
  78. Radu Bogdan (October 1998) "Testimonials of contemporary history – Peles, January–April 1948. The inventorying of the former royal art works (III)", Magazin istoric
  79. (ในภาษาโรมาเนีย) "The King and The Country", "Revista 22", 8 March 2006.
  80. "Exiled king 'should become pilot'", BBC News, 2 January 2005
  81. (ในภาษาโรมาเนีย) "King Michael in exile – from poultry grower to test pilot and broker", ROMPRES, 13 April 2005
  82. (ในภาษาโรมาเนีย) "King Michael in exile – from poultry grower to test pilot and broker", Jurnalul de Botosani si Dorohoi, 13 April 2005
  83. (ในภาษาโรมาเนีย) "Romania under King Michael I", the Royal Family website, as of 12 April 2008
  84. "Translation of King Michael's interview to Ziua daily, undated". 27 October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2009. สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.
  85. (ในภาษาโรมาเนีย) ""NATO was more important militarily, but Europe is politically more than we realize now", states H.M. King Michael", Adevărul, 3 May 2005
  86. Walter Curley (1973). Monarchs-in-Waiting. Cornwall, NY: Dodd, Mead & Co. p. 77. ISBN 0-396-06840-5.
  87. 87.0 87.1 87.2 87.3 87.4 87.5 87.6 87.7 Eilers-Koenig, Marlene (2008). "The Marriage of King Michael and Queen Anne of Romania". European Royal History Journal. Arturo E. Beeche. 11.3 (LXIII): 3–10.
  88. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0

เวฺบไซต์อ้างอิง

[แก้]
ก่อนหน้า พระเจ้ามีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย ถัดไป
เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโรมาเนีย
(ครั้งที่ 1)
(ราชวงศ์โฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน)

(พ.ศ. 2470 – 2473)
คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย
คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย
สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโรมาเนีย
(ครั้งที่ 2)
(ราชวงศ์โฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน)

(พ.ศ. 2483 – 2490)
ไม่มี
(สิ้นสุดระบอบกษัตริย์)
เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย
ผู้นำประเทศโรมาเนีย
(ครั้งที่ 1)

(พ.ศ. 2470 – 2473)
คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย
คาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนีย
ผู้นำประเทศโรมาเนีย
(ครั้งที่ 2)

(พ.ศ. 2483 – 2490)
คอนสแตรติน เอียน ปาร์ฮอน
(คอมมิวนิสต์โรมาเนีย)
คอมมิวนิสต์
ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์โรมาเนีย
(ภายใต้กฎหมาย)
(ราชวงศ์โฮเฮนโซเลน-ซิกมารินเกน)

(พ.ศ. 2490 – 2560)
เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตตา มกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย