ข้ามไปเนื้อหา

วันทยหัตถ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันทยหัตถ์ คือการกระทำตามคำสั่งในการฝึกแบบสากล ที่นิยมใช้ในการฝึกของเหล่าทหารและลูกเสือ โดยใช้เป็นสัญลักษณ์ในการทำความเคารพด้วยบุคคลท่ามือเปล่า

วันทยหัตถ์

ประวัติ

[แก้]

สมัยโบราณ อัศวินจะใส่ชุดเกราะเหล็ก จะมีหมวกเหล็กที่มีตะแกรงด้านหน้าเอาไว้ป้องกันตา เนื่องจากผู้ที่เป็นอัศวินล้วนเป็นผู้ที่มีชาติตระกูล ก่อนที่จะประลอง จะมีการเปิดตะแกรงด้านหน้าออกมาเพื่อให้ได้เห็นหน้าตาของคู่ต่อสู้ ถือว่าเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน คล้าย ๆ กับชาวจีนที่การต่อสู้แบบตัวต่อตัวนั้น จะต้องบอกชื่อของตัวเองให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ วิธีการเปิดตะแกรงด้านหน้าออก ทำโดยการใช้มือดันตะแกรงด้านหน้าขึ้นไป หลังจากนั้นต่อมา การแสดงความเคารพแบบนี้ก็ได้แพร่หลายในหมู่นักรบทั่วไป กลายเป็นการแสดงความเคารพในแบบปกติของชาวบ้านด้วย เนื่องจากยุโรปเป็นเมืองหนาว บุคคลทั่วไปจะสวมหมวก เวลาที่ทักทายกันโดยเฉพาะระหว่างทักทายกุลสตรี วิธีการคือใช้ปลายนิ้วมือจับปลายหมวกด้านหน้า ถอดแล้วเหวี่ยงไปถึงแขนตรงกันข้ามในลักษณะนี้มีพร้อมกับการก้มหัวเล็กน้อย แต่ต่อเมื่อที่วันๆ หนึ่งจะมีบุคคลต้องเคารพมากมายหรือเพียงแค่เร่งรีบ ชาวบ้านจึงใช้ปลายนิ้วมือจับปลายหมวกด้านหน้ายกขื้นและยกลงโดยที่ไม่ถอดหมวก จนในที่สุดการทหารก็ได้นำการทำความเคารพชนิดนี้มาใช้เป็นนโยบายหลักในการเคารพนายทหาร

ในทางการปฏิบัติเมื่อ 2000 ปีมาแล้ว กองทหารโรมันที่เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีความเป็นระเบียบ ทหารจะสวมชุดเกราะที่เป็นโลหะ เวลามีการสวนสนามบรรดานายทหารที่ใส่ชุดเกราะนั่งอยู่บนอัฒจันทร์ กลางวันแดดจ้ามากสะท้อนแสง ดังนั้นเวลาหมู่ทหารที่เดินสวนสนามอยู่ข้างล่างต้องมองไปที่เหล่านายทหาร แสงแดดสะท้อนกับชุดเกราะ แสบตา เป็นเหตุให้ทหารทำหน้าตาน่ารังเกียจ เหล่านายทหารจึงได้อนุญาตให้ยกมือขึ้นป้องหน้าเพื่อให้มองนายทหารได้ชัดเจน นายทหารที่อยู่บนนั้นเห็นว่ามันเป็นระเบียบดีขึ้นและคล้ายกับเป็นท่าที่ทำความเคารพวิธีหนึ่ง จึงกำหนดให้ท่าป้องหน้า (ตะเบ๊ะ) เป็นวิธีทำความเคารพผู้บังคับบัญชา

ทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าการทำวันทยหัตถ์มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าทหารยุคนั้นยกมือขึ้นเพื่อทักทายกันอย่างเป็นทางการ และ อีกทฤษฎีเชื่อว่าการทำวันทยหัตถ์มีมาตั้งแต่สมัยยุคกลางของยุโรป เหล่าอัศวินใช้มือยกดาบขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขามาอย่างเป็นมิตร ทว่าคำอธิบายนี้ก็ยังคงน่าเคลือบแคลง

วันทยหัตถ์ในแต่ละประเทศ

[แก้]

กลุ่มประเทศเครือจักรภพแห่งประชาชาติกับอดีตสมาชิกกลุ่มประเทศเครือจักรภพแห่งประชาชาติ

[แก้]

ต่อมากองทัพสหราชอาณาจักรเริ่มธรรมเนียมปฏิบัติที่พลทหารและทหารที่ไม่ใช่ชั้นสัญญาบัตรจะต้องถอดหมวกออกเพื่อแสดงการทักทาย ทหารชั้นผู้น้อยต้องถอดหมวกเพื่อทักทายทหารที่มียศสูงกว่าด้วย แต่ธรรมเนียมนี้ถูกยกเลิกไปในศตวรรษที่ 18 เพราะการใส่หมวกหรือเครื่องประดับศีรษะกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก หลังจากนั้น กองทัพอังกฤษจึงริเริ่มหันมาทำวันทยหัตถ์โดยหันฝ่ามือออกด้านหน้าและลดฝ่ามือลงด้วยการสับมือไปทางหน้าลำตัว อย่างที่ทหารในกองทัพอากาศ เหล่านาวิกโยธิน รวมถึงลูกเสือบกและลูกเสืออากาศ ทำกัน อย่างไรก็ดี กองทัพเรืออังกฤษเองได้ปรับรูปแบบโดยเปลี่ยนจากหันฝ่ามือออกด้านนอกตามทหารบกและทหารอากาศอังกฤษให้ฝ่ามือคว่ำลงในระดับ 90 องศา และลดฝ่ามือลงโดยไม่สับมือไปทางหน้าลำตัว เชื่อว่าที่ทำเช่นนี้ ก็เพราะทหารเรือต้องทำงานบนเรือ จะให้หันฝ่ามือออกที่มีคราบสกปรกจากคราบจาระบีที่เลอะเทอะฝ่ามือทักทายกันก็คงไม่น่าชื่นชมนัก ในปัจจุบันวิธีวันทยาหัตถ์ของกองทัพเรืออังกฤษท่าคว่ำฝ่ามือเป็นแม่แบบสากลในการวันทยหัตถ์ของกองทัพทุกเหล่าทัพเกือบทุกประเทศในโลก แต่อาจจะจะมีการปรับลักษณะท่วงท่าในการวันทยหัตถ์แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศแต่ยังคงลักษณะการคว่ำฝ่ามือไว้คงเดิม มีเพียงบางประเทศเท่านั้นที่ทหารเรือยังคงใช้วิธีวันทยหัตถ์แบบหันฝ่ามือออกด้านหน้า เช่น ฝรั่งเศส มอลตา เช่นเดียวกันกับตำรวจในกลุ่มประเทศเครือจักรภพแห่งประชาชาติกับอดีตสมาชิกกลุ่มประเทศเครือจักรภพแห่งประชาชาติ ต่างใช้การวันทยหัตถ์แบบหันฝ่ามือออกด้านหน้าเหมือนกับกองทัพบก และ กองทัพอากาศในสหราชอาณาจักร กันอย่างแพร่หลาย แต่ตำรวจสกอตแลนด์ยาร์ดมีวิธีวันทยหัตถ์ที่แตกต่างไปกับกองทัพและตำรวจในสหราชอาณาจักร คือ หันหลังมือออกด้านหน้า

กองทัพบริเตน และ กองทัพของกลุ่มประเทศเครือจักรภพแห่งประชาชาติ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ปากีสถาน อิรัก สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กานา แทนซาเนีย บางเหล่าทัพและตำรวจในประเทศหรือในดินแดนนั้น เช่น แคนาดา ลักเซมเบิร์ก (แอฟริกาใต้ มาเลเซีย (ตำรวจ)) หรือประเทศที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในจักรวรรดิบริติช แต่ได้รับอิทธิพลทางทหารมาจากประเทศสหราชอาณาจักร เช่น ซาอุดิอาระเบีย จะมีความหมายในการเคารพนายทหารว่าเป็นการเคารพพระราชินีผ่านนายทหาร ถือว่านายทหารคือตัวแทนของพระราชินี ไม่ได้มีความหมายว่าเคารพตัวนายทหาร ในยุคปัจจุบันถึงแม้ว่าประเทศที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ วิธีการเคารพจะไม่มีความหมายว่าเป็นการเคารพพระราชินีแล้วก็ตาม แต่วัฒนธรรมการใช้วันทยหัตถ์จะยังมีอยู่และโดดเด่นที่การหันฝ่ามือด้านหน้าออกไปด้านนอกมองแล้วเหมือนจะเป็นการแสดงฝ่ามือ ซื่งในโบราณกาล การแสดงฝ่ามือถือเป็นการแสดงความเป็นมิตร เพราะผู้ที่กำลังเข้าพบอยู่สามารถมองเห็นว่าไม่ได้ถืออาวุธ นั่นคือที่มาที่ไปของการจับมือระหว่างบุคคลสำคัญเช่นกัน เพราะฉะนั้นในการทหารที่ต้องแสดงความจริงใจพร้อมกับทำความเคารพ จึงได้ใช้ท่าวันทยหัตถ์ด้วยการหันฝ่ามือออกไปด้านนอก อย่างไรก็ดีประเทศที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษก็ไม่ได้คงรูปแบบวิธีวันทยหัตถ์หันฝ่ามือออกด้านหน้าทุกประเทศ แต่อาจใช้วิธีคว่ำฝ่ามือลงทุกเหล่าทัพก็มีเช่นเดียวกัน เช่น มาเลเซีย สิงค์โปร์ พม่า ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิหร่าน อัฟกานิสถาน อียิปต์ บรูไน เป็นต้น

การวันทยหัตถ์ในกลุ่มประเทศเครือจักรภพแห่งประชาชาติกับอดีตสมาชิกกลุ่มประเทศเครือจักรภพแห่งประชาชาติ

กลุ่มประเทศเครือจักรภพรัฐเอกราช

[แก้]

สหรัฐอเมริกา

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]