เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย
เอลิซาเบธ | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีแห่งชาวเฮเลนส์ | |||||
ดำรงพระยศ | 27 กันยายน ค.ศ. 1922 - 25 มีนาคม ค.ศ. 1924 | ||||
ก่อนหน้า | อัสปาซียา มาโนส | ||||
ถัดไป | ฟรีแดรีกี | ||||
พระราชสมภพ | 12 ตุลาคม ค.ศ. 1894 ปราสาทเปเรส ซินายอา ราชอาณาจักรโรมาเนีย | ||||
สวรรคต | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 คานส์ ประเทศฝรั่งเศส | (62 ปี)||||
ฝังพระศพ | Hadinger Church Sigmaringen รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี | ||||
คู่อภิเษก | สมเด็จพระราชาธิบดีเยออร์ยีโอสที่ 2 แห่งกรีซ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | โฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมาริงเง็น กลึคส์บวร์ค | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย | ||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย |
ธรรมเนียมพระยศของ เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย | |
---|---|
ตราประจำพระอิสริยยศ | |
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | Her Majesty (ใต้ฝ่าละอองพระบาท) |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | Your Majesty (พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ) |
สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธแห่งกรีซ พระนามเดิม เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย (12 ตุลาคม ค.ศ. 1894 - 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 พระนามเต็ม: เอลิซาเบธ ชาร์ล็อต โจเซฟีน อเล็กซานดรา วิกตอเรีย) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งชาวเฮเลนส์ พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีเยออร์ยีโอสที่ 2 แห่งกรีซ พระนางเป็นพระธิดาของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนียกับสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย
พระนางมีพระราชดำรัสสำคัญอยู่ประโยคหนึ่งว่า"ฉันได้กระทำผิดทุกๆอย่างในชีวิตของฉันนอกจากการเป็นฆาตกรและฉันไม่ปรารถนาที่จะตายโดยปราศจากการทำสิ่งเหล่านั้น"
เมื่อทรงพระเยาว์
[แก้]ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1894 เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ พระชายาในมกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์แห่งโรมาเนียมีพระประสูติกาลพระธิดาที่ปราสาทเปเรส เจ้าหญิงมีพระนามว่า เอลิซาเบธหรือเอลิซาเวตา ซึ่งมีพระนามตามพระปิตุจฉาของพระองค์ คือ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย พระมเหสีในพระเจ้าคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงใช้พระชนมชีพในช่วงต้นที่ปราสาทเปเรส เมืองซินายอา ที่ซึ่งมกุฎราชกุมาร ผู้เป็นพระบิดาทรงพำนักอยู่ ในหนังสือ The Story of My Life พระนิพนธ์ในพระราชินีมารี(เจ้าหญิงมารี) ผู้เป็นพระมารดาทรงบันทึกไว้ว่า "เธอมีผิวที่ขาวดุจดังน้ำนมและมีตาโตสีเขียว มักจะตื่นตกใจกลัวง่าย รักที่จะเก็บและวัดดอกไม้ แต่ในตอนแรกเธอเป็นคนเงียบๆแต่ก็บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับดอกลิลลี่และดอกรักเร่ ดอกใหญ่ ริมสระน้ำ ในตอนอยู่ที่ที่จอดรถใกล้ปราสาท รถม้ากำลังออกตัว ฉันรู้สึกประหลาดใจมากเมื่อเธอได้เล่าเรื่องความฝันของเธอและบอกว่าเธอมีเพื่อนเป็นนางฟ้า ทำให้ฉันรู้สึกว่าเด็กคนนี้ของฉันมีความคิดที่ฉันคาดไม่ถึง" เนื่องจากเจ้าหญิงมารีในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา และเจ้าหญิงเอลิซาเบธกับเจ้าชายคาโรลพระเชษฐาของพระองค์ได้รับการศึกษาร่วมกัน พระราชินีเอลิซาเบธทรงปลูกฝังพระองค์ให้รักศิลปะ
เมื่อมีพระชนมายุ 5 ชันษาทรงศึกษาเปียโนและไวโอลินกับจอร์จ อีเนสคู นักดนตรีในพระราชินีเอลิซาเบธ พระองค์ทรงมีความสามารถในการวาดภาพ ในเวลาเพียง 1 ปีพระองค์ทรงเรียรู้ไวในการเป็นศิลปิน แต่เป็นที่รับรู้ต่อสาธารณะน้อยนัก ทรงชื่นชอบที่จะฟังหีบเพลงในห้องที่มีกระจกแบบมูราโน ทรงเต้นรำแบบวอล์ซ ในตอนกลางคืนทรงชอบเล่นเพลงของเฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง,โซนาตาของลุดวิจ ฟาน เบโทเฟิน หรือของโดเมนิโก สการ์เล็ตติ ในฤดูหนาวจัดของซินายอาที่มีภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะล้อมรอบยังตรึงอยู่ในความทรงจำของเจ้าหญิงเอลิซาเบธเสมอ
เจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระธิดาจากพระโอรส-ธิดาทั้งหมด 6 พระองค์ของสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 กับพระราชินีมารี ทั้งที่ทรงยังไม่เคยเข้าศึกษาในสถานศึกษาใดๆ แต่ทรงพูดได้ถึง 4 ภาษาและทรงได้รับการศึกษาศิลปกรรม,การเต้นรำและประวัติดนตรีและวรรณคดี ทรงชื่นชอบดนตรีและนักดนตรีต่างๆ ว่ากันว่าทรงเก็บผลงานของนักดนตรีต่างๆ รวมถึงแผ่นเสียงไว้ในหีบแผ่นเสียง แต่หีบได้ถูกทำลายในระหว่างที่ครอบครัวถูกคุ้มครองสงครามโลกครั้งที่ 1.[1]
สิ้นปี ค.ศ. 19014 การเสด็จสวรรคตของพระอัยกา และพระบิดาของพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติในพระนาม สมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย ทำให้พระราชวงศ์ต้องย้ายจากซินายอาไปยังบูคาเรสต์ ที่พระราชวังโคโทรเซนิ ทำให้เจ้าหญิงต้องเสด็จออกตามที่สาธารณะพร้อมพระบิดาและพระมารดา ทรงต้องทำกิจกรรมต่างๆเพื่อการกุศล เจ้าหญิงทรงชื่นชอบครั้งที่อยู่ที่บูคาเรสต์มาก เนื่องจากสภาพอากาศของบูคาเรสต์เหมาะกับผู้ชื่นชอบศิลปะ พระองค์มีพระสหายเพิ่มมากขึ้นแต่การพำนักที่นี่ต้องทำตามกฎระเบียบเคร่งครัด
ในฤดูร้อน ค.ศ. 1916 เมื่อโรมาเนียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้พระราชวงศ์และคณะรัฐบาล ถูกบังคับให้ลี้ภัยไปยังเมือง อาซิ เมื่อเยอรมนียึดครองโรมาเนีย ต่อมา 2 ปี พระองค์ต้องลี้ภัยไปยังประเทศมอลโดวา ที่นั่นพระองค์ต้องพำนักที่บ้านในบิคาซ โดยพระราชินีมารี พระมารดาพร้อมกับพระขนิษฐาทั้ง 2 ของพระองค์คือ เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนียและเจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย ได้ประกอบพระกรณียกิจด้านการพยาบาล
ความสัมพันธ์กับพระราชวงศ์พระองค์อื่นๆ
[แก้]เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงไม่ค่อยร่วมพบปะกับพระราชวงศ์อื่นๆ และทรงไม่เล่นกับพระอนุชาและพระขนิษฐา พระองค์มักจะพอใจเมื่อทรงอยู่คนเดียวกับสุนัขทรงเลี้ยงและอ่านหนังสือ พระองค์มักจะปฏิเสธในการร่วมเสวยอาหารกับพระราชวงศ์ โดยจะทรงหาข้ออ้างต่างๆนานาเพื่อหลีกเลี่ยงการพบปะกับพระราชวงศ์ น่าเศร้าที่การที่ทรงแยกตัวอยู่ลำพังทำให้พระองค์ทรงเติบโตมาอย่างไม่ดี สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย พระมารดาทรงพยายามชักชวนให้พระองค์รู้จักเข้าสังคมส่วนรวมและอยู่ร่วมกันบ้าง ทำกิจกรรมต่างๆในครอบครัวบ้าง แต่พระองค์ไม่ยอมและทรงไม่แยแสต่อพระมารดา ทำให้พระมารดาทรงผิดหวังเป็นอันมาก พระนางมักว่าถึงการขาดการให้ความรัก ความอบอุ่นแก่เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระราชินีมารีทรงบันทึกไว้ในบันทึกประจำวันของพระนางว่า "...ความลับอยู่ในความเห็นแก่ตัวทั้งหมด และแน่นอนมันไม่สามารถช่วยอะไรได้แก่ผู้ที่ไม่ให้ความรักความสนใจในชีวิตของเธอเท่านั้นแต่เธอได้พยายามเก็บกดได้ดีและเก็บความเจ็บปวดซ่อนไว้ในความรู้สึก การที่เธอมีสิ่งที่ต้องการทำให้เธอป่วยและไม่มีที่ไหนเลยที่เธอเป็น... คุณยินดีที่จะเป็น สิ่งที่คุณทำนั้นไม่มีร่องรอยในความสุขแห่งชีวิตของเธอ เธอรักเรา แต่ในความรักนี้ก็ไม่ทำให้เกิดความสุขเลยแม้แต่น้อย เพราะมันคือสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น "[2]
ด้วยความงดงามของเจ้าหญิง ทำให้ต้องมีคู่ครองซึ่งทำให้เจ้าหญิงทรงขัดแย้งกับพระราชินีมารี เนื่องจากพระนางประสงค์ให้พระธิดาของพระนางสมรสกับเจ้าชายรัชทายาทองค์ใดองค์หนึ่งในประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่าน ในปี ค.ศ. 1923 การแบ็ฟติสท์พระโอรสองค์แรกของพระขนิษฐาของพระองค์ที่เบลเกรด ได้มีข่าวลือว่าสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย ผู้เป็นพระสวามีในพระขนิษฐา ได้เกี้ยวพาราสีเจ้าหญิงเอลิซาเบธ เมื่อพระราชินีมารีทรงทราบ พระนางได้ให้เจ้าหญิงเอลิซาเบธเสด็จกลับบูคาเรสต์ในทันที นับเป็นเรื่องอื้อฉาวเรื่องแรกของพระองค์[3]
เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงไม่สนิทกับพระเชษฐาของพระองค์ผู้ซึ่งชอบใช้อารมณ์ พระมารดาของพระองค์ทรงบันทึกไว้ว่า "ภายใต้ใบหน้าอันงดงามของเธอได้แฝงไปด้วยความขุ่นเคือง,ความไม่พอใจและความริษยาในความอับโชคของเธอ ในครั้งหนึ่งเธอได้แสดงทัศนคติต่อซิทตา(เจ้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์กผู้เป็นพระชายาในเจ้าชายคาโรล พระเชษฐาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ)หรือหนึ่งในพี่น้องของเธอ เธอได้กล่าวถ้อยคำที่รุนแรง พูดในสิ่งที่เธอไม่พอใจซึ่งเป็นจุดอ่อนของทุกคน คาโรลและน้องคนอื่นๆของเธอต่างเกรงกลัวเธอและมักจะทะเลาะกับคาโรลเสมอ ฉันเลยต้องเป็นฝ่ายประนีประนอม"[4]
เจ้าหญิงอีเลียนาแห่งโรมาเนีย พระขนิษฐาของเธอซึ่งเป็นพระธิดาลับของพระราชินีมารี ผู้อื้อฉาวกับบาร์บู สเตอบีย์ เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงไม่สงสารพระขนิษฐาซึ่งประสูติท่ามกลางความอื้อฉาวของพระมารดาแต่กลับล้อเลียนเจ้าหญิงอีเลียนาเสมอ คอนสแตนติน อากโทรเอียนนูได้เรียบเรียงเหตุการณ์จากความทรงจำว่า เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงกล่าวกับเจ้าหญิงอีเลียนาว่า "อีเลียนามาที่หน้าต่างเร็วเข้า มาดูพ่อของเธอ" ซึ่งบาร์บู สเตอบีย์ได้ออกจากรถพอดี[5]
การอภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ
[แก้]ในปี ค.ศ. 1911 ในวันพระราชสมภพของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระองค์ทรงได้พบปะกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ พระโอรสองค์โตในเจ้าชายคอนสแตนติน มกุฎราชกุมารแห่งกรีซ ราชวงศ์กรีซตอบรับคำเชิญของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ให้เสด็จเยือนโรมาเนียที่กรุงบูคาเรสต์ การพบปะกับเจ้าชายชาวกรีซครั้งแรก เจ้าหญิงทรงปฏิเสธข้อเสนอในการสมรส ซึ่งทำให้ทุกพระราชวงศ์ต่างประหลาดใจ เพราะเจ้าหญิงยังทรงศึกษาอยู่ ก่อนปี ค.ศ. 1914 เจ้าชายจอร์จทรงขอเจ้าหญิงเอลิซาเบธสมรสอีกครั้ง แต่ก็ได้รับการตอบปฏิเสธจากพระองค์เช่นเดิม ซึ่งตอนนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 20 พรรษา ทรงปฏิเสธจากคำแนะนำของพระอัยยิกา พระนางคาร์เมน ซิลเวีย(อดีตพระราชินีเอลิซาเบธ) ที่ไม่ประสงค์ให้เจ้าหญิงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ เนื่องจากทรงเชื่อว่า เจ้าหญิงเอลิซาเบธจะสามารถพบพระสวามีที่ดีสำหรับเธอได้ด้วยพระองค์เอง[6]
สงครามโลกครั้งที่ 1 ประทุขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 ทำให้การอภิเษกสมรสในกาลข้างหน้าของเจ้าหญิงยุ่งยากขึ้น จุดจบของการนองเลือดในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 พระราชวงศ์ได้เสด็จกลับบูคาเรสต์ซึ่งสงบจากสงครามแล้ว พระราชินีมารีทรงตระเตรียมในการหาพระสวามีให้เจ้าหญิงเอลิซาเบธและพระชายาให้เจ้าชายคาโรล ในปี ค.ศ. 1920 พระราชินีมารีและพระธิดาได้เสด็จไปพักผ่อนที่ลูกาโน เพื่อไปเสด็จเยี่ยมพระมารดาและพระขนิษฐา
พระราชินีมารีออกเดินทางไปพร้อมกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ทรงวางแผนที่จะให้เจ้าหญิงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอิตาลี[7] ผู้ซึ่งทางพระราชวงศ์ได้ตระเตรียมการสมรสแล้ว แต่การพบปะก็ล้มเหลว เจ้าหญิงเสด็จกลับไปที่สวิตเซอร์แลนด์ ในตอนนั้นเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซตกอยู่ในภาวะลำบาก เนื่องจากพระราชวงศ์ถูกเนรเทศจากกรีซในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และพระราชวงศ์อยู่ระหว่างการลี้ภัย เพราะหลังจากสงครามมีหลายประเทศที่ประกาศล้มล้างระบอบกษัตริย์ พวกต่อต้านราชวงศ์มีกำลังกล้าแข็งขึ้น ดังนั้นการสมรสของพระธิดากับพระราชวงศ์ที่ยังเหลืออยู่ในยุโรปเป็นที่ยากยิ่งสำหรับพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย เจ้าหญิงเอลิซาเบธตอบตกลงในการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซในขณะที่มีการจัดเตรียมพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์กกับเจ้าชายคาโรลพระเชษฐา ในการตอบตกลงครั้งนี้เจ้าหญิงเอลิซาเบธยังทรงลังเลพระทัย เจ้าหญิงทรงเขียนบัทึกลับว่า "ตอนนี้ฉันอายุ 26 ปีและฉันรู้สึกหนักใจ เบื่อในความหวังและความคิดที่ผิดที่ยังคงมาไม่ถึง!" ด้วยแรงกดดันจากพระราชวงศ์เจ้าหญิงเอลิซาเบธต้องอภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ ในวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1920 สมเด็จพระราชินีมารีทรงบันทึกไว้ว่า "วันนี้ช่างเป็นวันที่เสียอารมณ์จริงๆ กว่าเอลิซาเบธจะยอมรับการหมั้นอย่างเป็นทางการ... เธอมีความคิดแปลกคือไม่ได้ประทับใจในเจ้าชายจอร์จ เธอไม่ได้มีความรู้สึกที่ดีต่อเจ้าชายจอร์จและเธอคิดว่าการแต่งงานนี้จะทำให้ไม่มีความสุข แต่เธอบอกว่าไม่มีวันที่จะยกเลิกงานหมั้น เนื่องจากเธอมีมุมมองที่ต่างจากนั้นและเธอรู้ว่าอายุเท่านี้เธอควรจะแต่งงานได้แล้ว หลังอาหารกลางวันเธอรู้สึกเศร้ามากทั้งๆที่วันนั้นเป็นวันดี แต่แหมฉันจะได้เห็นการเรียนรู้ต่อไปในชีวิตเธอด้วยเธอเอง!"[8]
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 ที่โบสถ์เมโทรโปลิแทน บนยอดเขาในบูคาเรสต์ ได้มีพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซและเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ใช้เวลา 2 วันร่วมกันที่สครอวิสเทีย และในวันที่ 7 มีนาคม ได้เสด็จออกจากประเทศโรมาเนียไปยังกรีซ ในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1921 มีการจัดพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายคาโรลกับเจ้าหญิงเฮเลนที่เอเธนส์
จากมกุฎราชกุมารีสู่สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ
[แก้]ในฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 1921 เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงเหยียบผืนแผ่นดินกรีซครั้งแรกในฐานะ พระชายาในมกุฎราชกุมารแห่งกรีซ สถานะของพระราชวงศ์กรีกในตอนนั้นเริ่มดีขึ้น สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 ทรงได้กลับคืนสู่พระราชบัลลังก์ หลังจากต้องลี้ภัยในต่างประเทศถึงหลายปี ในตอนนั้นชาวกรีกแบ่งแยกเป็น 2 ฝ่าย คือ พวกนิยมปฏิวัติกับพวกนิยมกษัตริย์และพระราชวงศ์ ความขัดแย้งของสองพวกนับว่าตึงเครีนดมาก
เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงปรับตัวไม่ได้กับประเทศใหม่ ทรงมีความสัมพันธ์กับเชื้อพระวงศ์กรีกอย่างเย็นชาตามอุปนิสัยของพระองค์ พระองค์ทรงขาดความรู้ในการเป็นชาวกรีกและเชื้อพระวงศ์กรีก และเชื่อว่าชาวกรีกจะไม่ยอมรับพระองค์ในฐานะมกุฎราชกุมารีหากทรงไม่มีพระประสูติกาล
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1922 เจ้าหญิงเอลิซาเบธพร้อมพระสวามีได้เสด็จกลับโรมาเนียครั้งแรกหลังจากอภิเษกสมรส ในฤดูใบไม้ผลิ พระองค์ทรงพระประชวรอย่างหนักด้วยไข้ไทฟอยด์ พระราชินีมารีต้องเสด็จไปยังกรีซเพื่อดูแลอาการประชวรของเจ้าหญิง การประชวรครั้งนี้สร้างความทรมานอย่างยาวนานแก่เจ้าหญิง ในฤดูร้อน พระอาการประชวรของเจ้าหญิงได้ทุเลาลงมาก พระองค์ได้เสด็จกลับโรมาเนีย เข้าร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกอย่างเป็นทางการของพระบิดาและพระมารดา ระหว่างทรงประทับอยู่ที่โรมาเนีย ได้เกิดเหตุการณ์ใหญ่ในกรีซคือ สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 ทรงถูกยึดอำนาจในเดือนกันยายน ค.ศ. 1922 และต้องเสด็จออกจากประเทศอีกครั้ง พระองค์ได้สละราชบัลลังก์ เจ้าชายจอร์จ พระโอรสได้ครองราชย์ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ
ในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1922 เจ้าหญิงเอลิซาเบธได้เสด็จกลับกรีซในฐานะ "สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ" ทรงตระหนักถึงความไม่พร้อมที่จะเผชิญสถานการณ์ทางการเมืองในกรีซ พระองค์เริ่มจะปฏิเสธงานเลี้ยง,งานรับรองหรืองานทูตอย่างเป็นทางการ พระองค์ทรงพอพระทัยที่จะประทับที่ภาคใต้ของกรีซอย่างสงบ พระราชินีเอลิซาเบธทรงเพาะปลูกพรรณไม้ ขยายพันธุ์พืชแปลกๆ และทรงใช้เวลาในการอ่านหนังสือภาษากรีก และทั้งในฉบับภาษาเยอรมัน ทรงวาดภาพและเล่นเปียโน รวมทั้งเสด็จประพาส เวียนนา,ฟลอเรนซ์,ปารีสและลอนดอน
จากการที่สถานการณ์ภายในประเทศไม่ดีขึ้น ชนชั้นกลางได้โกรธแค้นและก่อการปฏิวัติกรีซขึ้นในปี ค.ศ. 1924 หลังจากพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 เพียง 15 เดือน พระองค์ทรงถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์(ซึ่งทรงครองราชย์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1935) พระราชินีเอลิซาเบธทรงถูกถอดพระอิศริยยศ ซึ่งทำให้พระองค์โล่งพระทัย
หลังจากทรงลี้ภัยที่บูคาเรสต์ แล้วในลอนดอน ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 พระองค์เริ่มเลวร้ายลง ทั้ง 2 พระองค์ทรงแยกกันประทับ และทรงหย่าอย่างเป็นทางการจนกระทั่ง ค.ศ. 1935 อดีตพระราชินีเอลิซาเบธทรงกลับคืนสู่พระยศ "เจ้าหญิง" และเสด็จกลับโรมาเนียหลังจากทรงหย่า พระราชินีมารีทรงเล่าถึงความผิดหวังในพระธิดาว่า "ก่อนหย่า จอร์จได้พยายามหลายโอกาสที่จะคืนดีแต่พูดคุยกันผ่านผนังห้อง! เอลิซาเบธตอบโดยอ้างคนนั้นคนนี้ ดูเหมือนภรรยาของเขาซึ่งเป็นลูกฉันพยายามทำบางอย่างที่ไม่มีใครเข้าใจ จะมีใครเข้าใจเธออีกไหม?"[9]
เสด็จกลับสู่โรมาเนีย
[แก้]หลังจากเสด็จกลับโรมาเนีย พระองค์ทรงหลีกเลี่ยงการได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงเป็นเจ้าหญิงแห่งโรมาเนีย คอนสแตนติน อาร์กเทียนูได้จดจำได้ถึงข่าวลือที่เล่าต่อๆกันไปในเวลานั้นเกี่ยวกับพระองค์ว่า "พวกเขากล่าวว่า พระองค์เสด็จในเขตต่างๆ ฉลองพระองค์ด้วยเสื้อคลุมยาว และมักครวญเพลงของสครูเบิร์ต ลีเดอร์ ทรงสร้างความประหลาดใจมากภายในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร ทรงประทับใจในห้องที่มืดและประดับด้วยผ้าม่านสีซีด ทรงตื่นบรรทมในตอนกลางคืนและทรงเล่นเปียโนเพื่อขับร้องเพลงจนถึงย่ำรุ่ง ในบทเพลงของโมสาร์ท ทรงวาดภาพบ่อยๆ แต่ทรงเริ่มประพันธ์บทกลอน พระองค์ทรงเดินทางด้วยเงินบำเหน็จรายปีไปที่เวนิสและนีซ ไม่มีใครเห็นพระองค์อยู่กับคนใดเลย!"[10]
ไม่กี่ปีหลังจากขึ้นครองราชบัลลังก์โรมาเนีย ในปีค.ศ. 1930 สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนียผู้เป็นพระเชษฐาของพระองค์ ทรงกระทำการอันน่าแปลกใจ คือทรงสร้างพระราชวังขนาดเล็กและสวยงามแก่เจ้าหญิงเอลิซาเบธบนฝั่งทะเลสาบเฮราสทรู รู้จักกันในนาม พระราชวังเอลิซาเบตาและต่อมาจะเป็นที่ที่พระนัดดาของเจ้าหญิงคือ สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย ทรงถูกยึดอำนาจโดย เปทรู กรอซาและจอร์เก จอร์จิอู-เด็จ ทรงถูกบังคับให้ลงพระนามสละราชบัลลังก์ และปัจจุบันที่นี้คือที่ประทับของพระราชวงศ์โรมาเนีย ตอนแรกเจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงประทับที่นี่แต่เสด็จออกไปประทับเพียงลำพัง โดยทรงไปเล่นกอล์ฟเมื่อยามว่าง
จากการเข้ามาในราชวงศ์ของแม็กดา ลูเพสคู พระชายาองค์ใหม่ของพระเชษฐา พระองค์ทรงไม่อยากขัดพระทัยพระเชษฐาในเรื่องรายได้ ทรงประหยัดทรัพย์สินและทรงซื้ออดีตคฤหาสน์กอร์ฟ บานาท ในเขตเมืองบันล็อก ที่แห่งนี้แม่บ้าน 2 คนที่เคยรับใช้พระองค์พยายามรักษาปราสาทแห่งนี้จนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต และวาดภาพปราสาทนี้ไว้ด้วยสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ ซึ่งภาพนี้ได้ตีพิมพ์ลงในพระนิพนธ์ของพระมารดาของพระองค์คือเรื่อง The Country That I Love ( "Land that I love " ) ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1947 เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงทราบข่าวจากโทรเลขว่า สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 อดีตพระสวามีเสด็จสวรรคต ในสมุดบันทึกของทรงจำของเจ้าชายนิโคลัสแห่งโรมาเนีย พระอนุชาของพระองค์ทรงบันทึกไว้ว่า ทรงถามพระเชษฐภคินีว่า รู้สึกอย่างไรกับข่าวที่เศร้าเช่นนี้ เจ้าหญิงทรงตอบว่า "ถ้าฉันตอบว่าฉันรักเขาล่ะ" เจ้าชายนิโคลัสทรงร้องอุทานว่า "ยากที่จะเข้าใจพี่เอลิซาเบธของพวกเราอีกครั้งแล้ว!"[11]
เสด็จลี้ภัยและสิ้นพระชนม์
[แก้]เหล่าคอมมิวนิสต์มีอำนาตเต็มหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาได้พยายามต่อต้านประเทศที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์และสาธารณรัฐและพยายามเปลี่ยนแปลงให้เป็นคอมมิวนิสต์ และปัญหานี้ยังคงยืดเยื้อในโรมาเนีย สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนียทรงถูกบังคับให้ลงนามสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1947 พระราชวงศ์ทุกพระองค์ต้องเสด็จออกจากแผ่นดินโรมาเนีย ในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1948 รถไฟพระที่นั่งที่ซึ่งมีพระราชาธิบดีไมเคิล,สมเด็จพระราชชนนีเฮเลนและเจ้าหญิงอีเลียนา มุ่งหน้าสู่บันล็อก บนชานชลาไม้ของบันล็อก มีสตรี 3 คนรออยู่ซึ่งก็คือ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อดีตพระราชินีแห่งกรีซ พร้อมทั้งนางสนองโอษฐ์อีก 2 คน ทั้ง 3 ยืนรอด้วยความหนาวเย็นพร้อมสัมภาระส่วนพระองค์ แต่หลังจากทรงขึ้นรถไฟได้ไม่นาน พระองค์ทรงระลึกถึงความทรงจำที่ตรึงในจิตใจอยู่เบื้องหลัง ประเทศนี้เป็นที่ที่พระองค์ทรงเจริญพระชันษา ที่ที่ประทับอยู่ทั้งสุขและทุกข์ พระองค์ทรงรู้สึกว่าจะต้องแยกจากที่แห่งนี้อีกตลอดกาลโดยทรงทราบว่าพระชนม์ชีพจะอยู่ไม่ถึง 10 ปี [12]
หลังจากใช้เวลาอันสั้นประทับร่วมกับพระราชวงศ์ในเยอรมนี ที่ซิกมารินเกน เจ้าหญิงเสด็จไปประทับที่เมืองคานส์ ซึ่งทรงเช่าอพาร์ทเมนต์ ทรงใช้พระชนม์ชีพบั้นปลายด้วยการเล่นเปียโน เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อดีตพระราชินีแห่งกรีซเสด็จสวรรคตในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 สิริพระชนมายุ 62 พรรษา พระศพถูกฝังที่เฟรนซ์ รีเวียรา
การอ้างสิทธิในพระราชทรัพย์ของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ
[แก้]ก่อนปี ค.ศ. 2006 ทรัพย์สินและที่ดินของพระองค์แถบบันล็อก ซึ่งปัจจุบันทรุดโทรมลงมาก ได้ถูกอ้างสิทธิและทำการซ่อมแซมโดยพอล-ฟิลิปเป โฮเฮนโซลเลิร์น พระนัดดาในเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ซึ่งเป็นทายาทอย่างไม่เป็นทางการของพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 การบูรณะต้องหยุดชะงักเพราะตามกฎพระราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์น ไม่ยอมรับ"เลือดสีฟ้า"ของพอล-ฟิลิปเป ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์ของพระราชวงศ์[13] พอล-ฟิลิปเป โฮเฮนโซลเลิร์นยังอ้างสิทธิในเงิน,เหรียญตรา,เครื่องประดับ,วัตถุทอง,แพลททินัมและโลหะมีค่าต่างๆของพระราชวงศ์ ที่ถูกยึดโดยคอมมิวนิสต์และทรัพย์สินที่เป็นของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ,พระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 และเจ้าชายนิโคลัส ซึ่งในปี ค.ศ. 1948 คอมมิวนิสต์ได้เข้ายึดวังบันล็อกได้ยึดเครื่องประดับ,เหรียญที่ระลึกและ เหรียญทอง 708 เหรียญ ปัจจุบันทางเมืองได้ซื้อวังนี้ในวาระ 49 ปีก่อตั้งมณฑลบานาท[14]
คำอ้างอิง
[แก้]- "ฉันรักเธอมากเท่าไหน เปเรส สวรรค์วัยเด็กของฉันที่จะหายไป!คุณจะรู้ไหมเกี่ยวกับแสงและเงา,เสียงและกลิ่นไอ เป็นที่แห่งความเหงา! เมื่อเราหายใจในปัจจุบันจะทำให้เราคิดกลับสู่อดีต ที่ซึ่งเป็นที่พักในความฝันและมายา สงสัยดังเช่นบทกวี <หิมะอยู่ที่ไหนในปีกลาย?>"- ที่มาจากไดอารี่ของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ระหว่างทรงลี้ภัยในฝรั่งเศส
- "พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงเป็นกษัตริย์ด้วยการตัดสินพระทัยด้วยพระองค์เองและไม่แสวงหาผลประโยชน์ พระราชินีมารีได้ขึ้นเป็นพระราชินีด้วยความรัก ความทุ่มเทในโรมาเนีย และทรงมีความเฉลียวฉลาด แต่ก็ไม่มีใครสามารถเป็นครูที่ดีแก่ลูกๆได้ ... เกี่ยวกับคาโรล ทายาทที่ไม่มีใครอยากพูดถึง! ลูกคนที่สอง เอลิซาเบธ ไม่สามารถทำหน้าที่พระราชินีแห่งกรีซรวมทั้งเจ้าหญิงแห่งโรมาเนียได้เต็มที่ เธอมักจบวันนั้นในโรงแรมซึ่งทรงเป็นนักผจญภัยที่เดินทางไปทุกที่ มิกนอล ลูกสาวอีกคนกลับได้รับการยอมรับในฐานะพระราชินีแห่งเซอร์เบีย เพราะมือเหล็กของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งเซอร์เบียและสิ่งแวดล้อมที่เคร่งครัดในเซอร์เบีย แต่มิกนอลได้ลืมเลือนว่าตนเป็นชาวโรมาเนีย มีเพียง 2 คนก่อนเมอร์เชียเท่านั้นคือ นิโคลัสและอีเลียนานับเป็นชาวโรมาเนียที่แท้จริง.."-ที่มาจากเลขาส่วนตัวของเจ้าชายนิโคลัส
พระราชตระกูล
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1.^ a b c d e .[[Articol despre Principesa Elisabeta în Formula AS, scris de Marius Petrescu]
- ↑ Regina Maria, Însemnari zilnice vol II, Editura Historia 2006, pag. 276.
- ↑ Regina Maria, Însemnari zilnice vol IV, Editura Historia 2006, pag. 289.
- ↑ Regina Maria, Însemnari zilnice vol V, Editura Historia 2006.
- ↑ Argetoianu, Constantin, Memorii. Pentru cei de mâine. Amintiri din vremea celor de ieri, editura Humanitas.]
- ↑ Regina Maria, Însemnari zilnice vol III, Editura Historia 2006, pag 61.]
- ↑ Regina Maria, Însemnari zilnice vol III, Editura Historia 2006, pag. 62]
- ↑ Regina Maria, Însemnari zilnice vol II, Editura Historia 2006, pag. 278]
- ↑ Regina Maria, Însemnari zilnice vol II, Editura Historia 2006, pag. 278]
- ↑ Argetoianu, Constantin, Memorii. Pentru cei de mâine. Amintiri din vremea celor de ieri, editura Humanitas]
- ↑ Articol despre Principesa Elisabeta în Formula AS, scris de Marius Petrescu]
- ↑ Princess Elizabeth article in Formula ASWritten by Marius Petrescu]
- ↑ According to newspaper article Renaissance Banat entitled About the process of restitution of the castle at Banloc]
- ↑ According to newspaper article Renaissance Banat entitled Heirs of Banat dated 01/11/2009]
- Royal House of Romania เก็บถาวร 2007-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Royal House of Greece เก็บถาวร 2006-09-07 ที่ archive.today
ก่อนหน้า | เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย | สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ (ราชวงศ์กลึคส์บวร์ค) (22 กันยายน ค.ศ. 1922 – 25 มีนาคม ค.ศ. 1924) |
เจ้าหญิงเฟรเดอริกาแห่งฮาโนเวอร์ |