โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงิน
ราชรัฐโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงิน Fürstentum Hohenzollern-Sigmaringen | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1576–ค.ศ. 1850 | |||||||||
ธงชาติ | |||||||||
โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงิน ค.ศ. 1848 | |||||||||
สถานะ | ราชรัฐในเครือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ราชรัฐในเครือสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ ราชรัฐในเครือสมาพันธรัฐเยอรมัน | ||||||||
เมืองหลวง | ซีคมาริงเงิน | ||||||||
ภาษาทั่วไป | เยอรมัน | ||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคกลาง | ||||||||
• การแบ่งแยกอาณาจักร เคานต์แห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น | ค.ศ. 1576 ค.ศ. 1576 | ||||||||
• ยกฐานะเป็นราชรัฐ | ค.ศ. 1623 | ||||||||
ค.ศ. 1850 ค.ศ. 1850 | |||||||||
|
ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงิน (เยอรมัน: Fürstentum Hohenzollern-Sigmaringen, อังกฤษ: Hohenzollern-Sigmaringen) ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงินเป็นสาขาอาวุโสของสาขาชวาเบินของราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น ที่ไม่เป็นที่รู้จักกันมากเท่ากับสาขาฟรังโคเนียที่กลายมาเป็นเบอร์กราฟแห่งเนิร์นแบร์กและต่อมาปกครองบรันเดินบวร์ค-ปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงินปกครอง" รัฐเคานต์แห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงิน" (เยอรมัน: Grafschaft Hohenzollern-Sigmaringen) ที่ต่อมาได้รับเลื่อนฐานะขึ้นเป็น "ราชรัฐ" (เยอรมัน: Fürstentum Hohenzollern-Sigmaringen)
ประวัติ
[แก้]รัฐเคานต์แห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงินก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1576 จากการแบ่งแยกรัฐเคานต์แห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์นซึ่งเป็นอาณาจักรบริวารของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อเคานต์คนสุดท้ายคาร์ลที่ 1 เคานต์แห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์นเสียชีวิต ดินแดนก็ถูกแบ่งระหว่างบุตรชายสามคน:
- ไอเทิล ฟรีดริชที่ 4 เคานต์แห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-เฮ็ชชิงเงิน (ค.ศ. 1545–1605)
- คาร์ลที่ 2 เคานต์แห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงิน (ค.ศ. 1547–1606)
- คริสท็อฟแห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ไฮเกอร์ล็อก (ค.ศ. 1552–1592)
เคานต์แห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงินครองราชรัฐขนาดย่อมทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี โฮเอินท์ซ็อลเลิร์นแห่งซีคมาริงเงินและสาขาโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-เฮ็ชชิงเงินซึ่งเป็นสาขาอาวุโสที่สุดของราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น และโฮเอินท์ซ็อลเลิร์นแห่งไฮเกอร์ล็อกยังคงเป็นโรมันคาทอลิก ซึ่งต่างจากตระกูลโฮเอินท์ซ็อลเลิร์นแห่งบรันเดินบวร์คและปรัสเซีย
ราชรัฐกลายมาเป็นรัฐอิสระในปี ค.ศ. 1815 หลังจากสงครามนโปเลียน แต่คาร์ลผู้เป็นประมุขก็มาถูกถอดจากตำแหน่งระหว่างการปฏิวัติของ ค.ศ. 1848 คาร์ล อันโทน พระโอรสหันไปหารัสเซียเพื่อขอความช่วยเหลือ กองทัพปรัสเซียมาถึงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1849 ในสนธิสัญญาที่ลงนามในเดือนธันวาคมโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงินก็ถูกผนวกโดยปรัสเซียในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1850 แต่การผนวกก็มิได้หมายถึงการสิ้นสุดของตระกูลโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงิน
เจ้าชายองค์สุดท้ายคาร์ล อันโทนมีตำแหน่งเป็นประธานรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1858 ถึง ค.ศ. 1861 พระโอรสองค์ที่สองคาร์ล ไอเทิล ฟรีดริช แห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชาย (ค.ศ. 1866-ค.ศ. 1881) และต่อมาพระมหากษัตริย์แห่งโรมาเนีย (ค.ศ. 1881-ค.ศ. 1914) และครองราชย์จนเมื่อราชอาณาจักรโรมาเนีย สลายตัวลงในปี ค.ศ. 1947
เมื่อตระกูลโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-เฮ็ชชิงเงินมาสิ้นสุดลงเมื่อคอนแสตนตินแห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-เฮ็ชชิงเงินเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1869 ประมุขของตระกูลโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงิน คาร์ล อันโทนแห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซีคมาริงเงินก็ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าชาย (Fürst) แห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์นแทนที่จะเป็นเพียงโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-เฮ็ชชิงเงิน
การเป็นปฏิปักษ์โดยฝ่ายฝรั่งเศสเต่อการขึ้นครองราชบัลลังก์สเปนของพระเชษฐาของการอล เจ้าชายเลโอพ็อลท์ เป็นต้นเหตุของสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (ค.ศ. 1870-ค.ศ. 1871) ที่นำไปสู่การก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมนีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1871.