ข้ามไปเนื้อหา

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระบรมฉายาลักษณ์ พ.ศ. 2489
พระมหากษัตริย์ไทย[1]
ครองราชย์2 มีนาคม พ.ศ. 2478 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(11 ปี 99 วัน)
ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถัดไปพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
นายกรัฐมนตรี
พระราชสมภพ20 กันยายน พ.ศ. 2468
ไฮเดิลแบร์ค รัฐบาเดิน สาธารณรัฐไวมาร์
สวรรคต9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (20 พรรษา)
พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ถวายพระเพลิง29 มีนาคม พ.ศ. 2493
พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง
บรรจุพระอัฐิพระวิมานทองกลาง บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
วัดประจำรัชกาล
วัดสุทัศนเทพวราราม (โดยอนุโลม)[2]
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลมหิดล
พระราชบิดาสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระราชมารดาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ศาสนาพุทธ
ลายพระอภิไธย

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีสมเด็จพระเชษฐภคินีคือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระอนุชาคือพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นพระบรมราชปิตุลาธิบดีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี และเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 52 ตามประวัติศาสตร์ไทย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 (นับแบบปัจจุบัน) ขณะที่มีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา และประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ

พระองค์เสด็จนิวัตพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 แต่ก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน พระองค์ก็ได้เสด็จสวรรคตด้วยทรงต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 12 ปี โดยพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์เดียวในราชวงศ์จักรีที่มิได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชประวัติ

ขณะทรงพระเยาว์

รัชกาลที่ 8 (ซ้าย) และรัชกาลที่ 9 (ขวา) เสด็จพระราชดำเนินไปชมรถไฟจำลองที่สวนสราญรมย์ ณ ที่กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2481

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู สัปตศก จ.ศ. 1287 ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดิลแบร์ค สาธารณรัฐไวมาร์ (ปัจจุบันคือประเทศเยอรมนี) ขณะที่สมเด็จพระราชชนกทรงศึกษาการแพทย์ที่ประเทศเยอรมนี โดยได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล [3][4] โดยสมเด็จพระราชชนนีทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า นันท [5] พระองค์มีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร


เมื่อทรงพระเยาว์ได้ตามเสด็จสมเด็จพระราชชนกและสมเด็จพระราชชนนีไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งประเทศฝรั่งเศส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐ ซึ่งสมเด็จพระราชชนกทรงเข้าทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐ ในระหว่างปี พ.ศ. 2469 - 2471 แล้วจึงเสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อพระชนมายุได้ 3 พรรษา ประทับ ณ วังสระปทุม ในระหว่างนั้นสมเด็จพระราชชนกทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ ดังนั้น พระองค์จึงอยู่ในความดูแลของสมเด็จพระราชชนนีเพียงพระองค์เดียว [6]

พระองค์ทรงเริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี และเข้าทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 สมเด็จพระราชชนนีได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการที่จะทรงนำพระโอรสและพระธิดาไปประทับที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยพระองค์ได้เข้าทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนมีเรมองต์ ต่อมาย้ายไปทรงศึกษาที่โรงเรียน "เอกอลนูแวลเดอลาซืออิสโรมองต์" และทรงศึกษาภาษาไทย ณ ที่ประทับ โดยมีพระอาจารย์ตามเสด็จไปจากกรุงเทพ[7]

การขึ้นทรงราชย์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ในฉลองพระองค์เต็มยศ เมื่อเสด็จนิวัตพระนครครั้งที่ 1 พ.ศ. 2481-2482

วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 (นับแบบปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และมิได้ทรงสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท ดังนั้น คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลที่มีพระชันษาเพียง 9 ปี ซึ่งเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ขึ้นทรงราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไปตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478[8] และได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478 ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล[9][10]

ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมพรรษาเพียง 8 พรรษา และยังทรงประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงทำให้ต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) [11]

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์สิ้นพระชนม์ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้แต่งตั้งให้นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[12] และเมื่อเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ถึงแก่อสัญกรรม จึงมีการแต่งตั้งให้ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทน[13] หลังจากนั้น เมื่อเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) ถึงแก่อสัญกรรม รวมทั้ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง นายปรีดี พนมยงค์ จึงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพียงผู้เดียว[14] จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จกลับสู่พระนคร[15]

การเสด็จนิวัตพระนคร

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินตรวจแถวกองทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมกับหลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489

รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนคร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2477 เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่เนื่องจากพระพลานามัยของพระองค์ไม่สมบูรณ์แข็งแรงจึงได้เลื่อนกำหนดออกไปก่อน และได้กราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จฯ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2478 แต่ก็ทรงติดขัดเรื่องพระพลานามัยอีกเช่นกัน หลังจากนั้น รัฐบาลได้ส่งพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์) ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชชนนีที่โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนครอีกครั้งในปี พ.ศ. 2479 อย่างไรก็ตาม ในระหว่างเตรียมการเสด็จนิวัตพระนครนั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ คณะรัฐบาลใหม่จึงขอเลื่อนการรับเสด็จออกไปอย่างไม่มีกำหนด[16]

หลังจากนั้น รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จนิวัตพระนครอีกครั้ง ในครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วย สมเด็จพระราชชนนี, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินจากเมืองโลซานที่ประทับโดยทางรถไฟมายังเมืองมาเชลล์ เพื่อประทับเรือเมโอเนีย ในการเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่ประเทศไทย และเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เรือพระที่นั่งได้เทียบจอดทอดสมอที่เกาะสีชัง รัฐบาลได้จัดเรือหลวงศรีอยุธยาออกไปรับเสด็จมายังจังหวัดสมุทรปราการ ณ ที่นั้น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้เสด็จไปคอยรับพระราชนัดดาและพระสุนิสาด้วย หลังจากนั้น จึงได้เสด็จโดยเรือหลวงศรีอยุธยาเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และทรงประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งนับเป็นการเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลังจากเสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ทรงใช้เวลาอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[16]

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง พระองค์จึงเสด็จนิวัตพระนครอีกครั้ง พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช แต่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา มิได้ตามเสด็จด้วย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งการเสด็จนิวัตประเทศในครั้งนี้ ทางราชการได้จัดพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และเนื่องจากพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้โดยไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอีก[15]

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ร่วมกับเหตุการณ์การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพญี่ปุ่นเข้ารุกรานและเข้ายึดครองประเทศไทย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้เสด็จออกนอกประเทศ และเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และนาย ปรีดี พนมยงค์ เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2485 ไทยที่ถูกยึดครองได้กลายเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของจักรวรรดิญี่ปุ่นและเป็นสมาชิกของฝ่ายอักษะ ภายใต้การนำโดยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ผู้สำเร็จราชการได้ปฏิเสธที่จะลงนามในปฏิญญาฉบับนี้จึงทำให้ตกเป็นโมฆะตามกฎหมาย สมาชิกจำนวนมากของรัฐบาลไทย รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตไทยในญี่ปุ่น ได้ทำหน้าที่เป็นสายลับโดยพฤตินัยในขบวนการใต้ดินเสรีไทยที่เข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร ได้คอยส่งข้อมูลลับไปยังหน่วยข่าวกรองบริติช และสำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ใน พ.ศ. 2487 ได้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าญี่ปุ่นกำลังจะพ่ายแพ้สงคราม กรุงเทพมหานครถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักโดยฝ่ายสัมพันธมิตร บวกเข้ากับความยากลำบากทางเศรษฐกิจทำให้สงครามและรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามไม่เป็นที่นิยมอย่างมาก ในเดือนกรกฎาคม จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกขับไล่โดยรัฐบาลไทยที่ถูกเสรีไทยเข้าแทรกซึม รัฐสภาไทยได้เรียกการประชุมและแต่งตั้งให้ทนายความฝ่ายเสรีนิยม นาย ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ญี่ปุ่นได้ยอมจำนน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และความรับผิดชอบทางทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรสำหรับประเทศไทยได้ตกเป็นของบริติช

หลังสงคราม

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลงทำให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนคร นี่จึงเป็นการเสด็จนิวัตพระนครครั้งที่สองในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 พร้อมกับปริญญาด้านนิติศาสตร์ แม้ว่าพระองค์จะยังทรงพระเยาว์และไร้ประสบการณ์ แต่กลับเอาชนะใจของปวงชนชาวไทยอย่างรวดเร็ว ซึ่งยังคงให้ความเคารพเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดช่วงยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2473 และ พ.ศ. 2483 ชาวไทยรู้สึกยินดีปรีดาที่มีพระเจ้าอยู่หัวมาอยู่ท่ามกลางพวกเขาอีกครั้ง พระราชกรณียกิจซึ่งเป็นที่จดจำได้เป็นอย่างดีของพระองค์คือ การเสด็จเยือนย่านสำเพ็ง(ซอยสำเพ็ง) ไชนาทาวน์ในกรุงเทพ ซึ่งพระองค์ได้รับการต้อนรับเสด็จอย่างล้นหลาม โดยมีพระราชประสงค์เพื่อคลี่คลายความตึงเครียดหลังสงครามที่ดูอ้อยอิ่งระหว่างชาวไทยและชาวจีนในกรุงเทพ

เหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ชาวไทยตระหนักถึงเกียรติภูมิของชาติว่าจำเป็นต้องรักษา คือ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเทน แห่งกองทัพอังกฤษ ผู้บัญชาการทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้ามาในพระนครและมีการตรวจพลสวนสนามกองฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489 พระบามสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ได้เสด็จออกทรงรับการตรวจพลสวนสนามในฐานะองค์พระประมุขของประเทศพร้อมกับ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเทน เป็นการเสด็จออกอย่างสง่างามสมพระเกียรติ ในฉลองพระองค์จอมทัพไทย ส่งผลให้ความขัดข้องในจิตใจคนไทยว่าเมืองไทยจะอยู่ในฐานะถูกยึดครองนั้นหมดไปทันที และมีกำลังใจในการต่อสู้กับความทุกข์ยากอันเกิดจากผลของสงครามมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์ต่างประเทศ เชื่อกันว่าอานันทมหิดลทรงไม่ต้องการที่จะเป็นพระเจ้าอยู่หัวและมีพระราชฤทัยว่าการครองราชย์ของพระองค์คงจะอยู่ได้ไม่นาน หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า ผู้บัญชาการกองทัพบริติชในเอเชียตะวันออกได้เยือนสู่กรุงเทพในเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 และได้พรรณาถึงพระเจ้าอยู่หัวว่า "ทรงเป็นเด็กผู้ชายที่มีสายตาสั้นที่ดูขวัญอ่อน ไหล่ที่ลาดเอียงและหน้าอกบอบบางซึ่งประดับด้วยเครื่องประดับเพชรที่สวยงาม รูปร่างที่น่าสงสารและอ้างว้าง" ในงานสาธารณะ เมานต์แบ็ตเทนได้เขียนว่า 'ด้วยความวิตกกังวลของเขาได้เพิ่มมากขึ้นจนน่าตกใจ เมื่อข้าพเจ้าได้เข้าใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนเขาในกรณีที่พระองค์เกิดหมดพระสติ"

สวรรคต

พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ ท้องสนามหลวง

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงตั้งพระทัยจะทรงศึกษาปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์จนเรียบร้อยแล้วจึงจะเสด็จนิวัตพระนครเป็นการถาวรและจะทรงรับการบรมราชาภิเษกในภายหลัง แต่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อนด้วยพระแสงปืนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9 นาฬิกา ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน คณะแพทย์ผู้ชันสูตรกว่าสามในสี่ลงความเห็นว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์[17] และเป็นสมมุติฐานที่ได้รับการยอมรับในคำพิพากษาศาลฎีกา[18]

หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต ได้อัญเชิญพระบรมศพมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง และจัดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในระหว่างวันที่ 28 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง วันรุ่งขึ้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเก็บพระบรมอัฐิ และอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิประดิษฐานที่บุษบกเหนือพระแท่นแว่นฟ้าทองภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มุขตะวันตก และจัดให้มีการพระราชกุศลพระบรมอัฐิขึ้น หลังจากนั้น ได้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมานทองกลาง ชั้นบนสุดของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท[19]

วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ไปยังวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารบรรจุลงในหีบ พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคารเข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร[20]

การเฉลิมพระปรมาภิไธย

นายกรัฐมนตรีไทยในรัชกาล (พ.ศ. 2477-2489)
ปี นายกรัฐมนตรี (พรรค)
2476 พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) (คณะราษฎร)
2481 แปลก พิบูลสงคราม (คณะราษฎร)
2487 ควง อภัยวงศ์ (คณะราษฎร)
2488 (ส.ค.) ทวี บุณยเกตุ (คณะราษฎร)
2488 (ก.ย.) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (อิสระ)
2489 (ม.ค.) ควง อภัยวงศ์ (คณะราษฎร)
2489 (มี.ค.) ปรีดี พนมยงค์ (คณะราษฎร)

แม้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจะมิได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรกางกั้นพระโกศพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เพื่อถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามโบราณราชประเพณี ดังนั้น เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นใหม่เป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย[1]

ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร [21]

นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยมว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และอย่างสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 8

ในปี พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ให้สำนักพระราชวังจัดสร้างพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลขึ้น ซึ่งเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) สมุหพระราชวัง ได้ปรับปรุงพระราชลัญจกรรูปพระโพธิสัตว์สวนดุสิต ที่เคยใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาใช้เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ โดยการสร้างพระราชลัญจกรนั้น ใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "อานันทมหิดล" ซึ่งหมายถึง เป็นที่ยินดีแก่แผ่นดิน ดังนั้น จึงได้ใช้รูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีหมายความเดียวกันว่า เป็นความยินดีและเป็นเดชยิ่งในพื้นพิภพ มาเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 8 นั้น เป็นตรางา ลักษณะกลมศูนย์กลางกว้าง 7 เซนติเมตร มีรูปพระโพธิสัตว์ประทับอยู่เหนือบัลลังก์ดอกบัว พระบาทขวาห้อยอยู่เหนือบัวบาน ซึ่งหมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้วอยู่ด้านหลังแถบรัศมี ซึ่งมีข้อแตกต่างจากพระราชลัญจกรที่ใช้ในรัชกาลที่ 5 คือ มีการเพิ่มรูปฉัตรตั้งไว้ข้างแท่นที่ประทับของพระโพธิสัตว์ [22]

พระราชกรณียกิจ

การปกครอง

พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ และทรงเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนจนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง เมื่อพระองค์ทรงทราบเรื่อง มีพระราชดำริว่า หากปล่อยความขุ่นข้องบาดหมางไว้เช่นนี้ จะเป็นผลร้ายตลอดไป จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง และพระองค์ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทเป็นระยะประมาณ 3 กิโลเมตร การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็งในครั้งนี้จึงเป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นให้หมดไป

การศาสนา

ในการเสด็จนิวัตพระนครครั้งแรกนั้น พระองค์ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูปในพระอารามที่สำคัญ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารนั้น พระองค์เคยมีพระราชดำรัสกล่าวว่า "ที่นี่สงบเงียบน่าอยู่จริง" ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต จึงได้นำพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้[16]

พระองค์ยังทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะผนวชในพระพุทธศาสนา โดยได้มีพระราชหัตเลขาถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2489 ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ในการศึกษาตำราทางพระพุทธศาสนาเพื่อใช้ในการเตรียมพระองค์ในการที่จะอุปสมบท แต่ก็มิได้ผนวชตามที่ตั้งพระราชหฤทัยไว้[16] นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงวัดวาอาราม กับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นตามสมควร[23]

การศึกษา

พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 ในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในการเสด็จนิวัตพระนครในครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้ประกอบพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ โดยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจการของหอสมุดแห่งชาติ รวมทั้ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ทรงศึกษาขณะทรงพระเยาว์ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกของพระองค์ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489[24] และอีกครั้งที่ หอประชุมราชแพทยาลัย ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ มีพระราชปรารภให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน โรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 จึงได้ถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งในปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[6]

หลังจากนั้น ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงหว่านข้าว ณ แปลงสาธิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งถือเป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสด็จสวรรคต[25]

ชีวิตส่วนพระองค์

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เขียนว่า พระองค์ทรงคบกับหญิงชาวสวิส ชื่อ แมรีลีน เฟอร์รารี เป็นคนรัก แต่ทรงถูกพระราชชนนีตักเตือน[26]

พระบรมราชานุสาวรีย์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลได้ทรงปฏิบัติพระราชกิจสำคัญน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เช่น

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์
สะพานพระราม 8
พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศนเทพวรารามถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ ดังนั้น จึงมีการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น ณ บริเวณลานประทักษิณ ชั้นล่างมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พระวิหารหลวง พระบรมรูปหล่อด้วยสำริด ขนาดเท่าพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ชุดจอมทัพ ประทับยืน ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนยกพื้นสูง มีแผ่นทองเหลืองจารึกเกี่ยวกับกำหนดการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ เบื้องหลังเป็นแผ่นหินอ่อนวงโค้ง ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ "อปร" ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ[27]

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2475 เลขประจำพระองค์ 2329 หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี พระองค์เจ้าอานันทมหิดลก็ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงมีความผูกพันกับโรงเรียนเทพศิรินทร์มาโดยตลอด มีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ตลอดจนมวลหมู่ลูกแม่รำเพยทุกคน ซึ่ง พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ มีขนาดเท่าพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์ชุดจอมทัพ ประทับยืน เช่นเดียวกับ พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ด้วยพระองค์เอง

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย

โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งแสนบาท สร้างอาคารเรียน 2 ชั้น 1 หลัง หอประชุม 1 หลังพร้อมบ้านพักครูอีก 20 หลัง และในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์เสด็จมาเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงพยาบาลอานันทมหิดล

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างโรงพยาบาลในจังหวัดลพบุรี และพระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า โรงพยาบาลอานันทมหิดล[28] หลังจากการสร้างแล้วเสร็จ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงพยาบาลแห่งนี้เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2481 ดังนั้น คณะกรรมการโรงพยาบาลจึงได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ หน้าตึกอำนวยการของโรงพยาบาล

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลมีพระราชปรารภต่อรัฐบาลในสมัยนั้น เรื่องการผลิตแพทย์เพิ่มให้เพียงพอต่อประชาชน อันเป็นจุดกำเนิดโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 ของประเทศ ซึ่งปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ คณะกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงได้ติดต่อให้ คุณไข่มุกด์ ชูโต เป็นผู้ออกแบบปั้นพระบรมราชานุสาวรีย์ โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พระบรมรูปหล่อด้วยส่วนผสมของทองเหลืองและทองแดง มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ประทับนั่งเหนือพระเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาเล็กน้อย ประดิษฐาน ณ ลานหน้าอาคาร อานันทมหิดล ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[29]

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนหลวงพระราม 8

สวนหลวงพระราม 8 เป็นสวนสาธารณะเนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระราม 8 เขตบางพลัด ฝั่งธนบุรี ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชว่า "สวนหลวงพระราม 8" ณ สวนแห่งนี้ มีพระบรมราชานุสาวรีย์ที่ทางกรุงเทพมหานคร สร้างร่วมกับกรมศิลปากร ความสูงขนาด 3 เท่าของพระองค์จริง คือ ประมาณ 5.4 เมตร พระอิริยาบถทรงยืน ประดิษฐานบนแท่นที่ความสูงระดับเดียวกันกับราวสะพานพระราม 8 เพื่อเป็นสิริมงคลแก่สวนแห่งนี้ด้วย นอกจากนั้น บริเวณอาคารเฉลิมพระเกียรติข้างใต้พระบรมราชานุสาวรีย์ยังจัดให้มีห้องรวบรวมพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจขององค์รัชกาลที่ 8 เพื่อให้ประชาชนที่สนใจพระราชประวัติเข้าไปทรงศึกษาค้นคว้าเรื่องราว[30] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และสวนหลวงพระราม 8 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555[31]

พระบรมราชานุสรณ์

มูลนิธิอานันทมหิดล

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทุนอานันทมหิดลขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2498 เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระองค์มีพระราชดำริที่จะพระราชทานทุนให้นักทรงศึกษาผู้มีความสามารถยอดเยี่ยม ไปทรงศึกษาต่อให้ถึงระดับความรู้ชั้นสูงสุดยังประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาประเทศชาติและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ หลังจากนั้น ได้จัดตั้งขึ้นเป็น มูลนิธิอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2502 เดิมทุนนี้จะพระราชทานให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ แต่เมื่อความต้องการผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่น ๆ มีเพิ่มมากขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนในสาขาอื่น ๆ ปัจจุบัน การพระราชทานทุนนั้นสามารถแบ่งออกเป็นแผนกต่าง ๆ ได้ ดังนี้ แผนกแพทยศาสตร์ แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกวิศวกรรมศาสตร์ แผนกเกษตรศาสตร์ แผนกธรรมศาสตร์ แผนกอักษรศาสตร์ แผนกทันตแพทยศาสตร์ และแผนกสัตวแพทยศาสตร์ [6]

มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นประจำ จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อเป็นทุนสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์วัด และส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์และสามเณรคณะกรรมการจึงได้จัดตั้งเป็น มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2518 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร[16][32]

อาคาร "อปร" และอาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สืบเนื่องจากความไม่เพียงพอของแพทย์ รัฐบาลจึงมีนโยบายให้คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่งผลิตแพทย์เพิ่ม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างตึกใหม่ เพื่อรองรับจำนวนนิสิตแพทย์ที่เพิ่มขึ้นอีกกว่า 90 คนต่อปี โดยได้รับอนุมัติงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2536 และในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญอักษรพระปรมาภิไธย "อปร" มาเป็นชื่ออาคาร เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งได้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2539 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธย "อปร" เป็นชื่ออาคาร เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเมื่อวันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2546 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของรัชกาลที่ 8 อาคารดังกล่าวเป็นย่อมุม 8 มุม สูง 19 ชั้น บนยอดอาคารประดับอักษรพระปรมาภิไธย "อปร" ตั้งอยู่ริมถนนราชดำริ[33] นอกจากนี้ ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยังมีอาคารอานันทมหิดลอีกด้วย

วันอานันทมหิดล

ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำริจัดงานเป็นประจำทุกปี ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านซึ่งได้สร้างคุณูปการด่อวงการแพทย์และการศึกษา

ในวันอานันทมหิดล มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย พิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์, พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ อาคารวชิรญาณวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, การจัดทำเข็มกลัดที่ระลึก, การจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชิงโล่พระราชทาน, การจัดงานเสวนาเนื่องสัปดาห์วันอานันทมหิดล และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

นอกจากนี้ในวันอานันทมหิดลยังได้ถือเป็นวันสำคัญของโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งมีกิจกรรมได้แก่ พิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์และพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์เช่นเดียวกัน

พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระราชลัญจกร
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้าขอรับ/เพคะ

พระบรมราชอิสริยยศ

  • หม่อมเจ้าอานันทมหิดล (20 กันยายน พ.ศ. 2468 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2478)
  • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล (2 มีนาคม พ.ศ. 2478 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2478)
  • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (25 มีนาคม พ.ศ. 2478 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489)

ภายหลังการสวรรคต

  • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย (11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539)
  • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระองค์ทรงเป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และ/หรือ ได้รับพระราชทานก่อนเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ดังนี้

พระยศทหาร

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
กองทัพเรือไทย
กองทัพอากาศไทย
ประจำการ
  • พ.ศ. 2488–2489
  • พ.ศ. 2488–2489
  • พ.ศ. 2488–2489
ชั้นยศ
  • จอมพล
  • จอมพลเรือ
  • จอมพลอากาศ
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488: จอมพลอากาศ
  • 7 ธันวาคม พ.ศ. 2488: จอมพล

พงศาวลี

แผนผัง

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch (1)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
 
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(2)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(3)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
Monarch(4)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าปิ๋ว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าโสมนัส
 
Monarch(5)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
 
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์
 
Monarch(6)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
 
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
 
Monarch(7)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(8)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
 
Monarch(9)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(10)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล, เล่ม 63, ตอน 54ก, 13 สิงหาคม พ.ศ. 2489, หน้า 439
  2. ไม่มีวัดประจำรัชกาลตามประกาศพระบรมราชโองการ แต่ถือกันว่าวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นวัดประจำรัชกาลโดยอนุโลม เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร[ต้องการอ้างอิง]
  3. วุฒิชัย มูลศิลป์ และคณะ, พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์, อัลฟ่า มิเล็นเนียม, ISBN 974-91048-5-4
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า, เล่ม 44, ตอน 0ก, 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470, หน้า253
  5. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา, เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์, ซิลค์เวอร์ม บุคส์, พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549, 450 หน้า, ISBN 974-7047-55-1
  6. 6.0 6.1 6.2 |publisher=Kanchanapisek.or.th |date= |accessdate=2017-04-20}} {{cite web|url=http://kanchanapisek.or.th/kp11/intro/index.th.html เก็บถาวร 2007-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |title=มูลนิธิอานันทมหิดล : ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ |language=(ไทย)
  7. อ. วิโรจน์ ไตรเพียร, 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี, สำนักพิมพ์ คลังศึกษา,2543,หน้า 108-116
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ สภาผู้แทนราษฎรรับทราบในการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติและลงมติเห็นชอบในการอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นทรงราชย์, เล่ม 51, ตอน 0ก, 7 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1330
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง เฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, เล่ม 51, ตอน 0ก, 25 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1407
  10. คำว่า "พระบาท" นั้น ใช้นำหน้า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ที่ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว จาก วันฉัตรมงคล เว็บไซต์ Thaimail เก็บถาวร 2007-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพิเศษ เรื่อง ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 51, ตอน 0ก, 7 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1332
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ตั้งซ่อมคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และตั้งประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใหม่ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 52, ตอน 0ก, 21 สิงหาคม พ.ศ. 2478, หน้า 1260
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งซ่อมคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 58, ตอน 0ก, 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484, หน้า 1821
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่องตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 61, ตอน 45ก, 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487, หน้า 730
  15. 15.0 15.1 ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, เล่ม 62, ตอน 52ก, 20 กันยายน พ.ศ. 2488, หน้า 559
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 ศิลปากร,กรม, พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล, กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์ บริษัท ส.ศิลป์ (2521) จำกัด, 2529 ISBN 974-7925-81-8
  17. คณะกรรมการดำเนินงานฉลอง 100 ปีชาตกาลปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส. บันทึกการสอบสวรกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘. หน้า 208 และ 226
  18. ศาลฎีกา. (2498). "คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2497 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2497". ใน พินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต), พระ (ผู้รวบรวม), คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา พร้อมด้วยคำแถลงของพนักงานอัยยการ โจทก์ ความอาญา คดีประทุษฐร้ายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 (น. 622–672). พระนคร: สำนักพิมพ์ชัยฤทธิ์. (บรรณาการในงานทำบุญอายุครบ 5 รอบหม่อมราชวงศ์บุญรับ พินิจชนคดี 10 มกราคม 2498).
  19. สารานุกรมคำศัพท์เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก, หน้า 448
  20. ราชกิจจานุเบกษา, กำหนดการ ที่ 4/2493 ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสยามินทราธิราช ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง พ.ศ. 2493, เล่ม 67, ตอน 16ง, 21 มีนาคม พ.ศ. 2493, หน้า 1261
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล, เล่ม 113, ตอน 11ข, 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539, หน้า 1
  22. พระราชลัญจกร รัชกาลที่ 8 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ Debsirin History Networks
  23. ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์,ในหลวงอานันท์กับคดีลอบปลงพระชนม์, สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น,2520
  24. "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05.
  25. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เว็บไซต์รากฐานไทย ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศ
  26. "Desperately seeking Marylene". New Mandala (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2 January 2012. สืบค้นเมื่อ 14 April 2021.
  27. พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เว็บไซต์วัดสุทัศนเทพวราราม
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินสร้างโรงพยาบาลที่จังหวัดลพบุรี, เล่ม 54, ตอน 0ง, 19 เมษายน พ.ศ. 2480, หน้า 149
  29. พระรูป ร.8 เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ สมาคมศิษย์เก่าแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์
  30. ทอดน่อง รับลม ชมวิวที่ "สวนหลวงพระราม 8"[ลิงก์เสีย] จากเว็บไซต์ เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์
  31. เตรียมพร้อมสวนหลวงพระราม 8 รับเสด็จ"ในหลวง"จากเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
  32. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้อำนาจจัดตั้ง "มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์" เป็นนิติบุคคล, เล่ม 92, ตอน 241ง, 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518, หน้า 2997
  33. "อาคาร "อปร" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-26. สืบค้นเมื่อ 2008-02-02.
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. สารานุกรมคำศัพท์เนื่องในพระราชพิธีพระบรมศพและพระศพ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2561. 616 หน้า. ISBN 978-616-283-379-3
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. ISBN 978-974-417-594-6

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมหากษัตริย์ไทย
(2 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร