เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม พิชเยนทรโยธิน)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม พิชเยนทรโยธิน) | |
---|---|
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 สิงหาคม พ.ศ. 2478 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล |
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) แปลก พิบูลสงคราม |
สมุหราชองครักษ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2456 – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | นายพลโท พระยาสุรเสนา |
ถัดไป | นายพลโท พระยาประสิทธิ์ศุภการ |
ดำรงตำแหน่ง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 – 1 เมษายน พ.ศ. 2475 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | นายพลตรี หม่อมเจ้าอมรทัต |
ถัดไป | นายพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มีนาคม พ.ศ. 2414[1] บ้านถนนพระสุเมรุ บางลำพูบน |
เสียชีวิต | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 (71 ปี)[2] |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงสงัด พิชเยนทรโยธิน[3] |
บุตร | 10 คนรวมอาจและเอนทรี |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย กรมราชองครักษ์ กองเสือป่า กรมพระตำรวจ (กิตติมศักดิ์) |
ประจำการ | พ.ศ. 2433 – พ.ศ. 2475 |
ยศ | พลเอก นายพลเสือป่า พระตำรวจตรีพิเศษ |
บังคับบัญชา | กรมราชองครักษ์ |
พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม พิชเยนทรโยธิน) (7 มีนาคม พ.ศ. 2414[1] – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2485[2]) ชื่อสกุลเดิม อินทรโยธิน เป็นนายทหารชาวไทย รับราชการและดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่ง ที่สุดได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจนอสัญกรรม
ประวัติ
[แก้]อุ่มเกิดที่บ้านถนนพระสุเมรุ บางลำพูบน ในกำแพงพระนคร เป็นบุตรนายเสงี่ยม อินทรโยธิน มีตำแหน่งเป็นมหาดเล็กวิเศษอยู่เวรศักดิ์ และคุณหญิงชม้าย อินทรโยธิน มีพี่น้องรวมท่านด้วยทั้งสิ้น 8 คน เป็นหญิงคนโต นอกนั้นเป็นชายทั้งหมด โดยท่านเป็นคนที่ 3 ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนหลวงในพระบรมมหาราชวัง ในสำนักพระยาอนุกูล (ชม) และได้เข้าศึกษาวิชาทหารในสำนักพระยาวิเศษสัจธาดา ได้ศึกษาวิชาภาษาอังกฤษในสำนักครูลำดัส ได้ถวายตัวเป็นทหารรักษาพระองค์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
ในปี พ.ศ. 2427 ได้บวชเป็นสามเณรอยู่วัดรังสีในสำนักท่านอาจารย์สี เมื่อสึกจากสามเณรแล้วได้ไปศึกษาวิชาภาษาอังกฤษในสำนักหมอแมกฟาร์แลนด์เป็นเวลา 3 ปี แล้วสมัครเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก พระราชวังสราญรมย์เมื่อเรียนจบหลักสูตรแล้วก็เข้ารับราชการในกรมทหารราบที่ 4 เมื่อปี 2433 ได้ย้ายเข้าประจำกองโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้ไปในกองข้าหลวงใหญ่เพื่อปราบโจรผู้ร้ายหัวเมืองฝ่ายตะวันออก เมื่อครั้งที่ พลเอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ผู้บัญชาการทหารบก ได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เป็นข้าหลวงใหญ่ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายนั้น จากนั้นก็ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยโทปลัดกองโรงเรียนนายร้อยทหารบก
ในปี พ.ศ. 2435 ขณะมียศเป็นว่าที่นายร้อยตรีได้เป็นผู้บังคับกองร้อยโท[4]และได้ย้ายไปรับราชการประจำกองร้อยที่ 1 ในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นก็ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยเอกเป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 4 ไปรักษาราชการ ณ มณฑลลาวกาว เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2436[5]
ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2437 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นร้อยเอกในกรมทหารบก มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสรสิทธยานุการ ถือศักดินา 800 [6] เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สวรรคต ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปรับราชการเป็นองครักษ์ประจำองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ พร้อมกับ พลตรีพระยาเสมอใจราช ข้าหลวงผู้เชิญเครื่องราชอิสริยยศไปทูลเกล้าฯ ที่กรุงลอนดอน ในการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ของสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ระหว่างที่รับราชการประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ก็ได้ตามเสด็จพระราชดำเนินไปทุกหนทุกแห่ง และได้ศึกษาวิชาทหารบางวิชาโดยเสด็จ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารด้วย
ในปี พ.ศ. 2443 ได้ตามเสด็จฯ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ไปในงานพระบรมศพพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 แห่งอิตาลี ในเดือน กันยายน 2444 ได้ตามเสด็จฯ ไปในงานพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ในเดือนพฤษภาคม 2445 ได้ตามเสด็จฯ ไปในงานบรมราชาภิเษก พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน ในเดือน มิถุนายน 2445 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พันตรี
เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้เสด็จประพาสไปเยี่ยมเยียนพระราชสำนักและเมืองต่างๆ ในยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น ก็ได้ตามเสด็จฯ ไปด้วย ได้เสด็จฯ นิวัตกลับกรุงเทพฯ ทางอเมริกาถึงกรุงเทพฯ เมื่อปลายเดือน ก.ค. 2445 นับได้ว่า พลเอกเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ได้ทำหน้าที่ราชองครักษ์ประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ตั้งแต่ไปและกลับเป็นเวลานานถึง 8 ปี และเมื่อกลับมาแล้วก็ยังคงรับราชการเป็นราชองครักษ์อยู่ต่อไปจนถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2445 จึงได้พ้นจากตำแหน่งราชองครักษ์ประจำการและได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยในกองโรงเรียนทหารบก[7]
โดยเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธินได้รับพระราชทานยศเป็น พันโท เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 [8] และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุรเดชรณชิต" ถือศักดินา 1000 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446[9]ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองโรงเรียนทหารบกเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2446[10]จากนั้นจึงได้เลื่อนยศเป็น พันเอก เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2449 อันตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [11]และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกมณฑลพายัพเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[12]จากนั้นจึงได้เป็นพระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ ถือศักดินา 1500 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 [13]ในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 8 มณฑลพายัพในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น พลตรี[14]ต่อมาจึงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาดำรงตำแหน่งจเรทหารราบและจเรทหารม้า เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452[15]ในปี 2454 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกองข้าหลวงปักปันเขตแดน มณฑลปัตตานี และนครศรีธรรมราช ต่อกับเขตเมืองไทรบุรีและกลันตัน ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2456 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาเทพอรชุน[16]และดำรงตำแหน่งสมุหราชองครักษ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ปีเดียวกัน [17]
ในปี พ.ศ. 2457 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าเป็นนายทหารพิเศษ ในกรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.ตำแหน่งจเรทหารรักษาวัง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้รับพระราชทานยศ พลโท เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2457[18] โดยได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2457[19] ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากตำแหน่งสมุหราชองครักษ์ไปเป็นจเรทหารบกและการปืนเล็กปืนกล[20]ทั้งยังเป็นประธานตุลาการศาลทหารบกกลางด้วย ต่อมาในเดือน มิ.ย. 2463 ได้รับคำสั่งให้เป็นผู้แทนกระทรวงกลาโหมไปในการรับพระศพ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ณ ประเทศสิงคโปร์ พร้อมด้วยเสนาบดีกระทรวงวังโดยได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศเป็น พลเอก เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2467[21] วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2470 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีตาม พระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ. 2470[22]
ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งสมุหราชองครักษ์[23]และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472[24]ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โดยเสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศอินโดจีน ญวน และเขมร ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ในเดือนเมษายน 2475 ก็เกษียณอายุราชการ
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาด้านการเมืองการปกครองประเทศ จึงขึ้นอยู่กับรัฐบาลผู้บริหารประเทศ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะรัฐบาลในขณะนั้นจึงต้องแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่ง พลเอกเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการด้วย
ในระหว่างที่ พลเอกเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน เป็นผู้สำเร็จราชการนั้น มีเรื่องเล่ากันว่าภายหลังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ถูกจับนั้น มีผู้ไปกราบทูลสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ว่าสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร พระราชธิดาทรงประชวรด้วยโรคพระวักกะพิการ และหมอไม่สามารถถวายการรักษาได้ เพราะไม่เข้าใจสมมติฐานของโรค มีแต่เพียงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรเท่านั้นที่ทรงอธิบายได้ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าจึงทรงเรียก พลเอกเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธินมาเฝ้า และทรงขอให้ไปติดต่อรัฐบาล เพื่ออนุญาตนำตัว สมเด็จฯ กรมพระยาชัยนาท ออกมาชี้แจงสมมติฐานของโรคแก่หมอ แต่รัฐบาลก็ไม่ยินยอม สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าถึงกับมีรับสั่งกับ พลเอกเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ความว่า "เขาจะแกล้งให้ฉันตาย ฉันไม่รู้ว่าฉันจะอยู่ไปทำไม ลูกตายไม่ได้น้อยใจ ช้ำใจเหมือนครั้งนี้เลย เพราะมีเรื่องหักได้ว่าเป็นธรรมดาโลกครั้งนี้ทุกข์ที่สุดที่จะทุกข์แล้ว"
พลเอกเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มาจนถึงปี 2485 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ยังไม่สิ้นสุดก็เริ่มมีอาการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจที่เกิดขึ้นโดยกะทันหัน ด้วยวัย 74ปี 4เดือน
นายปรีดี พนมยงค์เคยกล่าวว่าเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธินได้รับความเคารพนับถือมากในหมู่คณะราษฎร[25]
เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธินตอนที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เจ้าพระยา ทรงศักดินา 10,000 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีราชทินนามเต็มว่า "เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธินหรินทรราชองครักษ์ มหาสวามิภักดิ์มูลิกากร อภิสรอนีกวนุส ยุทธสมัยสมันตวิทูร นเรนสูรศักตเสนานี มนัสวีเมตตาชวาศรัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ มุสิกนาม"
ตำแหน่ง
[แก้]ยศ
[แก้]ยศทหาร
[แก้]- พลเอก
ยศกรมพระตำรวจ
[แก้]- พระตำรวจตรีพิเศษ[28]
ยศกรมเสือป่า
[แก้]- นายพลเสือป่า[29]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม พิชเยนทรโยธิน) ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2484 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[30]
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[31]
- พ.ศ. 2481 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[32]
- พ.ศ. 2482 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[33]
- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[34]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.) (ฝ่ายหน้า)[35]
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[36]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[37]
- พ.ศ. 2444 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[38]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[39]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 4 (จ.ป.ร.4)[40]
- พ.ศ. 2459 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[41]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[42]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)[43]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[44]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- อิตาลี :
- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 4[45]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 4[45]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอล ชั้นที่ 4[45]
- รัสเซีย :
- โปรตุเกส :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์แห่งพระคริสต์ ชั้นที่ 3[46]
- ออสเตรีย-ฮังการี :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ฟรันทซ์ โยเซ็ฟ ชั้นที่ 3[46]
- ปรัสเซีย :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎปรัสเซีย ชั้นที่ 3[46]
- เมคเลินบวร์ค :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไกร์เฟิน ชั้นที่ 3[46]
- บาเดิน :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แบร์ธ็อลท์ที่ 1 ชั้นที่ 4[46]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 5[46]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2447 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 3[48]
- พ.ศ. 2474 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[49]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ที่ระลึกไนการพระราชทานเพลิงสพพนะท่าน นายพลเอก อุ่ม พิชเยนทรโยธิน ผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์ นะสุสานหลวงวัดเทพสิรินทราวาส 16 ธันวาคม 2485. พระนคร: กรมราชองครักส์. 2485. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-09. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ 2.0 2.1 ที่ระลึกไนการพระราชทานเพลิงสพพนะท่าน นายพลเอก อุ่ม พิชเยนทรโยธิน ผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์ นะสุสานหลวงวัดเทพสิรินทราวาส 16 ธันวาคม 2485. พระนคร: กรมราชองครักส์. 2485. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-09. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ ข่าวตาย
- ↑ "ตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตร กรมยุทธนาธิการ ในรัตนโกสินทร์ศก 111 (หน้า 257)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-04.
- ↑ ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
- ↑ ทรงตั้งองคมนตรี และพระราชทานสัญญาบัตรเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-11.
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-27.
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ ส่งสัญญาบัตรขุนนางไปพระราชทาน
- ↑ ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ให้นายพลโทพระยาเทพอรชุนเป็นสมุหราชองครักษ์
- ↑ ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร
- ↑ ประกาศพระบรมราชโองการ ตั้งจเรทัพบกและการปืนเล็กปืนกล และสมุหราชองครักษ์
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศ
- ↑ พระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติองคมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสมุหราชองครักษ์ (นายพลเอก พระยาเทพอรชุน)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้าและเจ้าพระยา (หน้า 192)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.
- ↑ สายเลือดพระเจ้าตาก-สายกรมขุนอินทรพิทักษ์-อินทรโยธิน[ลิงก์เสีย] www.oknation.net
- ↑ ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ให้นายพลโท พระยาเทพอรชุณเปนสมุหราชองครักษ์ (หน้า ๔๘๔-๘๕)
- ↑ ประกาศกระทรวงวัง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงวัง เรื่อง พระราชทานยศตำรวจพิเศษ เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๔๔, ๕ สิงหาคม ๒๔๖๐
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๔๒, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวัราภรณ์, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๑, ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๐๒, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๐๐, ๒๕ กันยายน ๒๔๘๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๑๒, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๓๑, ๒๐ กันยายน ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๗, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญจักรมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๔๔๐, ๒๙ กันยายน ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๗, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๑๐๔๑, ๖ ธันวาคม ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๕๙, ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๕๙, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิก้าไหล่ทอง, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๒๔, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
- ↑ 45.0 45.1 45.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๖๘๘, ๑ ธันวาคม ๑๒๐
- ↑ 46.0 46.1 46.2 46.3 46.4 46.5 46.6 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๒๕ หน้า ๕๐๑, ๒๑ กันยายน ๑๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๕๐, ๑๓ มิถุนายน ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๘ หน้า ๑๐๗, ๒๒ พฤษภาคม ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๕๙, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๗๔
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม พิชเยนทรโยธิน) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) | ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (21 สิงหาคม พ.ศ. 2478 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2485) |
ปรีดี พนมยงค์ |