ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Poonpun2016/กระบะทราย 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์ไทย–สเปน
Map indicating location of Spain and Thailand

สเปน

ไทย

ความสัมพันธ์ไทย–สเปน เป็นทวิภาคี และความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1870 ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานเอกอัครราชทูตอยู่ที่มาดริด[1] รวมถึง สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ที่บาร์เซโลนา และซานตากรุซเดเตเนริเฟ[2] ขณะที่ ประเทศสเปนมีสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้ง สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ที่จังหวัดภูเก็ต และเชียงใหม่[3]

ประวัติศาสตร์ และความสัมพันธ์ทางการทูต

[แก้]

เมื่อสเปนได้ตั้งฐานทัพ และอาณานิคมไว้ ณ กรุงมะนิลา ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ในช่วงหลายสิบปีก่อนที่สเปนจะเข้ามาติดต่อกับไทยนั้น โปรตุเกสได้เริ่มสร้างสัมพันธภาพทางการทูตและการค้ากับราชอาณาจักรสยามไว้แล้ว แต่ในช่วง ค.ศ.1580–1640 พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน กษัตริย์แห่งสเปนได้ผนวกโปรตุเกสเข้าไว้ในอาณาจักรสเปน ทำให้สเปนพยายามเผยแผ่คริสต์ศาสนา และติดต่อค้าขายกับดินแดนซึ่งชาวโปรตุเกสเคยติดต่อด้วยเป็นประจำ เช่น อาณาจักรอยุธยา เป็นต้น

ในปี ค.ศ. 1598 ฟรันซิสโก เด เตโย เด กุซมัน ข้าหลวงใหญ่แห่งกรุงมะนิลา ได้ส่งนาย ฆวน เตโย เด อากิร์เร มาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความสนพระทัยที่จะค้าขายกับสเปน โดยผลที่เกิดขึ้นคือ การลงนามในสนธิสัญญาที่รับรองสิทธิของชาวสเปนในการอยู่อาศัย เจรจา และปฏิบัติตามศาสนาของตนในอยุธยา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรสยาม นับเป็นสัญญาฉบับที่สองที่ไทยตกลงเซ็นกับประเทศตะวันตก ปรากฎในจดหมายถวายความต่อ พระเจ้าเฟลิเปที่ 3 แห่งสเปน ความว่า

            “ข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระราชสาส์นจากพระเจ้ากรุงสยาม...ในพระราชสาส์นนั้น พระเจ้ากรุงสยามทรงประสงค์การพาณิชย์และการค้ากับหมู่เกาะนี้ (หมู่เกาะฟิลิปปินส์)...โดยที่ได้เห็นว่า พระมหากษัตริย์องค์นี้โปรดเช่นนั้น ปีที่แล้ว (ค.ศ. 1598) ข้าพระพุทธเจ้าได้แต่ง ฆวน เตโย พร้อมคณะทูตไปเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงสยามเป็นการตอบพระราชสาส์น โดยได้กล่าวถึงความนิยมชมชื่นอย่างใหญ่หลวงสำหรับพระราชไมตรีที่ทรงแสดงต่อข้าพระพุทธเจ้า และความนิยมชมชื่นสำหรับพระราชปรารถนาที่จะให้ชาวสเปนค้าขายในราชอาณาจักร...ฆวน เตโย ได้ออกเดินทางไปสยาม และเมื่อปฏิบัติการทูตสมบูรณ์แล้ว เขาได้ทำข้อตกลงด้วยว่า (สยาม) ควรเปิดเมืองท่าเมืองหนึ่งสำหรับการค้าเพื่อให้ชาวสเปนสามารถไปเมืองนั้นได้และตั้งหลักแหล่งได้โดยอิสระ และได้รับการยกเว้นจากภาษีทั้งปวง"[4]

ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1870 ทั้งสองราชอาณาจักรได้สร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ ด้วยการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพ การค้า และการเดินเรือ โดยจุดประสงค์หลักของสนธิสัญญาคือการสร้างสถานกงสุลสเปนในกรุงเทพมหานคร โดยการออกแบบของอาโดลโฟ ปักตอน สถาปนิกซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตที่ส่งมาจากประเทศจีน จึงนับเป็นสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน[5] อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ปรับปรุงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ โดยเกิดการติดต่ออย่างเป็นทางการเพียงเล็กน้อย เท่านั้น[6]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน ในกรุงมาดริด

ในปี ค.ศ. 1883 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตประจำประเทศสเปนคนแรก โดยสำนักงานประจำอยู่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ[7] การติดต่อ และผลประโยชน์ร่วมกันยังคงลดลง แม้จะมีการเสด็จเยือนสเปนครั้งประวัติศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี ค.ศ. 1897 ซึ่งได้พบกับมาเรีย คริสตินาแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน รวมทั้ง การเสด็จร่วมพิธีบรมราชาภิเษก พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1902[8]ก่อนที่จะมีนามในสนธิสัญญามิตรภาพ การค้าและการเดินเรือฉบับใหม่ในปี ค.ศ. 1925 แต่หลังจากสงครามกลางเมืองสเปน และสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ความสัมพันธ์ทางการทูตยุติลง จนกระทั่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ. 1950 โดยเฟร์นันโด บัซเกซ เมนเดส ได้เป็นทูตของสเปนคนแรกที่มีถิ่นพำนักถาวรอยู่ในกรุงเทพมหานคร[9]

ในปี ค.ศ. 1955 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทย ได้เดินทางเยือนแผ่นดินสเปนอย่างเป็นทางการ ก่อนที่ในปี ค.ศ. 1960 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช และพระราชินี จะเสด็จเยือนมาดริด และเซบิยา ปีถัดมา สเปนได้ยกระดับการเป็นตัวแทนในกรุงเทพ เป็นสถานเอกอัครราชทูต ก่อนที่ในปี ค.ศ. 1962 ดอน ซานเตียโก รุยซ์ ตาบาเนรา ได้รับการรับรองเป็นเอกอัครราชทูตสเปนคนแรกในประเทศไทย ปีถัดมา ไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด และแต่งตั้ง มนู อมาตยกุล ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด คนแรก[10]

การติดต่อกันอย่างเป็นทางการ ได้กลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งพร้อมกับการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในสเปน โดยเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในปี ค.ศ. 1987 และ 2006 นับจากนั้นเป็นต้นมา สเปน และไทยได้รักษาความสัมพันธ์อันดีบนพื้นฐานของมิตรภาพอันลึกซึ้งระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ของทั้งสองประเทศ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1992 กองทัพเรือไทย ได้ว่าจ้างรัฐบาลสเปนในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เป็นเงิน 7,100 ล้านบาท คือเรือหลวงจักรีนฤเบศร[11]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนสเปนอย่างเป็นทางการ ซึ่งเหตุการณ์ที่สำคัญของการไปเยือนในครั้งนี้คือ การลงนามแผนปฏิบัติการร่วมไทย (ค.ศ 2010–2015) และความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราผู้ถือหนังสือเดินทางทูตไทย–สเปน[12][9]

ในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 2021 คณะรัฐมนตรีไทยได้มีมติเห็นชอบให้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สเปนแห่งแรก ที่จังหวัดเชียงใหม่ ให้แต่งตั้งการ์โลส โฆเซ ฆาลอน โอลิเบรัส ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ฯ คนแรก[13]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2021 สเปนได้จัดส่งวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 614,500 โดส ให้กระทรวงสาธารณสุขไทย ในโอกาสวันชาติสเปน โดยรัฐบาลไทยไม่ประสงค์รับบริจาค สเปนจึงขายให้ในราคาถูก ประมาณ 2.9 ยูโรต่อโดส[14][15]

นอกจากนี้ ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 2021 คณะรัฐมนตรีไทยยังได้มีมติเห็นชอบให้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สเปนแห่งที่ 2 ที่จังหวัดภูเก็ต ให้แต่งตั้งกริสโตบัล โรดริเกซ โลเปซ ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ฯ คนแรก[16] ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สเปน 2 แห่ง และสถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อาคารเลครัชดา เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตรับผิดชอบครอบคลุมไปถีงประเทศกัมพูชา เมียนมาร์ และลาว[17] ส่วนสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสเปน อยู่ที่ถนนกาเยฆัวกินโกสตา ในเมืองมาดริด[18] และมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยในสเปน 2 แห่งที่บาร์เซโลนา และซานตากรุซเดเตเนริเฟ

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

[แก้]
สถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงมาดริด

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างไทยกับสเปน เป็นไปตามความสัมพันธ์ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของการไม่มีข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปกับไทย นับตั้งแต่เริ่มต้นปี จนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022 สเปน นำเข้าสินค้าจากไทยคิดเป็นร้อยละ 0.29 จากสินค้าที่สเปนนำเข้าทั้งหมด โดยไทยเป็นประเทศที่สเปนนำเข้าสินค้ามากเป็นอันดับที่ 35 และมากเป็นอันดับที่ 2 ในอาเซียนรองจากสิงค์โปร์ โดยเป็นจำนวนเงิน 542 ล้านยูโร ขณะที่ สเปนส่งออกสินค้าให้กับไทย มากเป็นอันดับที่ 35 คิดเป็นร้อยละ 0.32 จากสินค้าที่สเปนส่งออกทั้งหมด โดยเป็นจำนวนเงิน 1,302 ล้านยูโร ดุลการค้าที่เกินดุลของไทย เป็นผลดีต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก และยังมีแนวโน้มเกินดุลเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยสเปน มีสัดส่วนการส่งออกเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักรกล มากที่สุดเป็นจำนวนเงิน 51.06 ล้านยูโร ตามด้วย ผลิตภัณฑ์ยา และผลิตภัณฑ์เคมี ขณะที่สเปน มีสัดส่วนการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักรกล มากที่สุด เป็นจำนวนเงิน 272.44 ล้านยูโร ตามด้วย ยาง และส่วนประกอบยานยนต์[19]

ในด้านการท่องเที่ยว ในปี ค.ศ. 2022 มีชาวสเปนเดินทางมาประเทศไทย 87,400 คน ขณะที่ ชาวไทยที่เดินทางไปประเทศสเปนอยู่ที่ 59,617 คน[17]

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

[แก้]

ความร่วมมือระหว่างสเปนและไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ในด้านการศึกษา วัตถุประสงค์หลักของสเปนในประเทศไทยคือเพื่อส่งเสริมการสอนภาษาสเปนในทุกระดับ โดยมีอาจารย์จากหน่วยงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศสเปน (AECID) มาสอนในระดับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และล่าสุดในปี ค.ศ. 2023 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[20] สำหรับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษานั้น ภาษาสเปนได้รับการส่งเสริมมากขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ และการฝึกอบรมสายอาชีพของสเปน เพื่อการเผยแพร่สื่อการสอน และการฝึกอบรมออนไลน์ของครู และอื่น ๆ

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 มีการลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือทางเทคโนโลยีในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสิ่งมีชีวิต ระหว่างศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสเปน กับศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพของไทย เพื่อส่งเสริม และให้ทุนสนับสนุนโครงการความร่วมมือทางเทคโนโลยี และนวัตกรรมในด้านสุขภาพ และยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานไทย โดยศูนย์วิจัยพลังงาน สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสเปน (CIEMAT) ในด้านพลังงานทดแทน รวมทั้ง ร่วมกับสถาบันสุขภาพการ์โลสที่สาม เพื่อวิจัยโรคเขตร้อนที่ได้รับการส่งเสริมโดยองค์การอนามัยโลก โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และธนาคารโลก นอกจากนี้ การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสภาอธิการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สเปน (CSIC) และศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความโดดเด่นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมในการเพาะปลูกข้าว ซึ่งมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกหลักของโลก ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ได้มีการเปิดตัวโครงการความร่วมมือระหว่างเมืองเชียงใหม่ และกรานาดา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และแนวปฏิบัติที่ดีในเมืองอัจฉริยะ โดยเฉพาะเศรษฐกิจหมุนเวียน และการจัดการขยะ ภายใต้โครงการความร่วมมือระดับเมืองและระดับภูมิภาคระหว่างประเทศ (IURC)[21]

การปรากฏทางวัฒนธรรมของสเปนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และสเปนกำลังสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับตัวแทนทางวัฒนธรรมไทยที่หลากหลาย เช่น หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) บางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ มูลนิธิเพื่อนศิลปะ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และอื่น ๆ[9] นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2021 หอภาพยนตร์ และสถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย ได้มีการจัดฉายภาพยนตร์สเปน ในงานเทศกาลภาพยนตร์สเปน ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครเป็นประจำทุกปี[22]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. [1] Royal Thai Embassy in Madrid
  2. [2]List of foreign consulates in Spain.
  3. Ficha de Tailandia Office of Diplomatic Information. Ministry of Foreign Affairs and Cooperation. Section: Data of the Spanish representation.
  4. อยุธยาในบันทึกสเปน ท้องถิ่นอยุธยาในหลักฐานสเปน museumthailand.com สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566
  5. Treaty of Friendship, Commerce and Navigation between the Kingdom of Siam and the Kingdom of Spain สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566
  6. Embajada: funciones e historia เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศสเปน) สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2023
  7. รายพระนามและรายนามอัครราชทูตและเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสเปน เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมาดริด สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566
  8. กรมศิลปากร, "The Spanish Coronation" by King Vajiravudh, พ.ศ. 2550
  9. 9.0 9.1 9.2 OFICINA DE INFORMACIÓN DIPLOMÁTICA FICHA PAÍS Reino de Tailandia กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศสเปน) สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566
  10. ราชอาณาจักรสเปน เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย) เขียนเมื่อ 12 เม.ย. ค.ศ. 2011 ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. ค.ศ. 2022 สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2023
  11. ประวัติ ร.ล.จักรีนฤเบศร เว็บไซต์เรือหลวงจักรีนฤเบศร เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2023
  12. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนราชอาณาจักรสเปน ระหว่างวันที่ 6 - 9 ตุลาคม 2553 เว็บไซต์อาร์วายทีไนน์ สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2023
  13. มติคณะรัฐมนตรี 19 มกราคม พ.ศ. 2564 สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2023
  14. สเปนฉลองวันชาติด้วยการช่วยจัดหาวัคซีนให้ไทยสื่ออย่าชักใบให้เรือเสีย naewna.com เขียนโดยสุทิน วรรณบวร เมื่อ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2023
  15. "Spain's mighty effort to help Thais". Bangkok Post.
  16. มติคณะรัฐมนตรี 8 มีนาคม พ.ศ. 2565 สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2023
  17. 17.0 17.1 สเปน (Spain) เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย) เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2023 สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2023
  18. ประวัติอาคารที่ทำการของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสเปน สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม ค.ศ. 2023
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ FICHA PAÍS
  20. เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม เอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทยได้เดินทางไปมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์บนเฟซบุ๊ก Embajada de España en Tailandia - สถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย 20 ตุลาคม ค.ศ. 2022 สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2023
  21. Chiang Mai and Granada eye on smart technologies: Two ancient cities look to the future เว็บไซต์โครงการความร่วมมือระดับเมืองและระดับภูมิภาคระหว่างประเทศ สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2023
  22. Spanish Film Festival 2021 เว็บไซต์หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2023

ฝ่ายบริหาร

[แก้]

รัฐบาล และคณะรัฐมนตรี

[แก้]
มุมมองทางอากาศของพระราชวังมอนโกลอา ที่พำนักของนายกรัฐมนตรีสเปน

ในระดับประเทศ อำนาจบริหารในสเปนเป็นของรัฐบาลเพียงประการเดียว แม้พระมหากษัตริย์จะเป็นประมุขแห่งรัฐ แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้พระองค์มีส่วนกับฝ่ายบริหาร โดยรัฐบาล ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เรียกกันในนาม "ประธานแห่งรัฐบาล" (สเปน: presidente del gobierno) รองนายกรัฐมนตรีหนึ่งคน หรือมากกว่านั้น เรียกกันในนาม "รองประธานแห่งรัฐบาล" (สเปน: vicepresidentes del gobierno) และรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ทั้งหมดเรียกกันว่าคณะรัฐมนตรี รัฐบาลมีหน้าที่รับผิดชอบนโยบายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ตลอดจนนโยบายด้านกลาโหม และเศรษฐกิจ[1] ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน ได้แก่ เปโดร ซันเชซ

รัฐธรรมนูญ[2] กำหนดว่าภายหลังการเลือกตั้ง พระมหากษัตริย์ จะทรงหารือกับกลุ่มการเมืองทั้งหมดที่เป็นตัวแทนในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จะทรงเสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีผ่านทางประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ได้รับการเสนอชื่อจะนำเสนอนโยบายของรัฐบาลของเขา เพื่อขอความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหากได้รับการไว้วางใจด้วยเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสภา พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเป็น "ประธานแห่งรัฐบาล" อย่างเป็นทางการ แต่หากผู้ได้รับการเสนอชื่อไม่ได้รับการไว้วางใจ สภาผู้แทนราษฎรจะต้องลงมติใหม่อีกครั้งภายใน 48 ชั่วโมง ในกรณีนี้ ต้องได้รับการไว้วางใจด้วยเสียงที่เห็นชอบมากกว่า ไม่เห็นชอบ และงดออกเสียง โดยไม่จำเป็นต้องถึงกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าผู้ได้รับการเสนอชื่อไม่ได้รับความไว้วางใจอีกครั้ง พระมหากษัตริย์ จะทรงเสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ต่อไปจนกว่าจะได้รับความไว้วางใจ แต่หากหลังจากพ้น 2 เดือนไปแล้วยังไม่มีผู้ใดได้ได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์จะยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยความยินยอมของประธานสภาผู้แทนราษฎร[2] ในทางปฏิบัติ นับตั้งแต่การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1978 นายกรัฐมนตรีจะมาจากผู้ได้รับการเสนอชื่อของพรรคที่ได้รับที่นั่งจำนวนมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร แม้ว่าพรรคนั้นจะมีจำนวนที่นั่งไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้ พรรคในรัฐบาลจะต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากพรรคอิ่น ๆ เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจ และอนุมัติงบประมาณของรัฐ อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 2020 การจัดตั้งรัฐบาลครั้งที่สองของเปโดร ซันเชซ ซึ่งจัดตั้งโดยพรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน และพรรคอูนิดัสโปเดโมส กลายเป็นรัฐบาลผสมครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สาธารณรัฐสเปนที่ 2

หลังจากผู้ได้รับการเสนอชื่อได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร เขาจะได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในพิธีปฏิญาณตนเพื่อเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งจัดขึ้นที่พระราชวังซาร์ซูเอลา ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ต่อหน้าผู้รับรองเอกสารสำคัญแห่งราชอาณาจักร และกล่าวคำสาบานเข้ารับตำแหน่ง เหนือสำเนารัฐธรรมนูญที่เปิดอยู่ถัดจากคัมภีร์ไบเบิล คำสาบานที่ใช้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าขอปฏิญาณ/สัญญาว่าจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานของรัฐบาลด้วยความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ปฏิบัติตาม และบังคับใช้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายพื้นฐานของรัฐ ตลอดจนรักษาการพิจารณาอย่างลับของคณะรัฐมนตรี"

นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้เสนอชื่อรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ๆ ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยจำนวน และขอบเขตอำนาจของแต่ละกระทรวงจะกำหนดโดยนายกรัฐมนตรี ซึ่งแต่ละกระทรวงมักจะจัดตั้งขึ้นอย่างคลอบคลุมภาคส่วน หรือหลายภาคส่วนที่คล้ายกันในการบริหารของรัฐบาล รัฐบาลจะประชุมกันในฐานะ "คณะรัฐมนตรี" โดยปกติทุกวันศุกร์ที่พระราชวังมอนโกลอา ในกรุงมาดริด ซึ่งเป็นบ้านพักอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีที่เป็นประธานในการประชุม แต่สามารถจัดการประชุมในสถานที่อื่น ๆ ได้ ยกเว้นเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานการประชุมตามคำขอของนายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งราชการของรัฐบาลให้ทราบ

ฝ่ายตุลาการ

[แก้]

ฝ่ายตุลาการในสเปน ประกอบด้วย ข้าราชการฝ่ายตุลาการ และผู้พิพากษา ซึ่งทำหน้าที่ดำเนินงานด้านความยุติธรรมภายใต้ลายพระอภิไธยของพระมหากษัตริย์[3] ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลที่มีระดับแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคำสั่งของเขตอำนาจศาล และสิ่งที่ต้องได้รับการตัดสิน ศาลระดับสูงสุดของสเปนคือ ศาลฎีกา (สเปน: Tribunal Supremo) ซึ่งมีเขตอำนาจศาลในสเปนทั้งหมด เหนือกว่าในทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องรัฐธรรมนูญ นำโดยประธานศาลฎีกา ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ผ่านการเสนอชื่อของสภาตุลาการทั่วไป (CGPJ) และมีสมาชิกอีก 20 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ในจำนวนนี้มีสมาชิก 12 คนที่เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ และผู้พิพากษา สมาชิกอีก 4 คนได้รับการเสนอชื่อโดยสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกอีก 4 คนได้รับการเสนอชื่อโดยวุฒิสภา ซึ่งผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากทั้งสองสภาจะต้องผ่านการคัดเลือกจากการประชุมของทนายความ และนักกฎหมายที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ทางวิชาชีพมากกว่า 15 ปี โดยต้องได้รับความเห็นชอบด้วยจำนวนเสียงเกินกว่าสามในห้า

ศาลรัฐธรรมนูญ (สเปน: Tribunal Constitucional) มีเขตอำนาจศาลในสเปนทั้งหมด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับกฎหมาย และกฎระเบียบที่มีผลบังคับตามกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตลอดจน การร้องขอความคุ้มครองส่วนบุคคล (recursos de amparo) เพื่อปกป้องการละเมิดสิทธิ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ[4] ศาลประกอบด้วยสมาชิก 12 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ในจำนวนนี้ผ่านการเสนอชื่อโดยสภาผู้แทนราษฎร 4 คน และวุฒิสภา 4 คน โดยการพิจารณาในทั้งสองสภาต้องได้รับความเห็นชอบเกินกว่าสามในห้าของสมาชิกทั้งหมด ส่วนอีก 2 คน ผ่านการเสนอชื่อโดยฝ่ายบริหาร และอีก 2 องค์เสนอโดยสภาตุลาการทั่วไป (CGPJ) ซึ่ง พวกเขาจะต้องเป็นผู้พิพากษา อัยการ อาจารย์มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง มีความรู้ความสามารถ หรือตำแหน่งที่ได้รับการยอมรับ และมีประสบการณ์ทางวิชาชีพมากกว่า 15 ปี


การเมืองสเปน

Política de España (ภาษาสเปน)
Política d'Espanya (ภาษากาตาลัน)
Espainiako politika (ภาษาบาสก์)
Política de España (ภาษากาลิเซียน)
ประเภทรัฐรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน
ฝ่ายนิติบัญญัติ
ชื่อรัฐสภาสเปน
ประเภทระบบสองสภา
สถานที่ประชุมปาลาซิโอเดลเซนาโด
ปาลาซิโอเดลัสกอร์เตส (มาดริด)
สภาสูง
ชื่อวุฒิสภา
ประธานเปโดร โรยัน
ประธานวุฒิสภา
สภาล่าง
ชื่อสภาผู้แทนราษฎร
ประธานฟรันซินา อาร์เมนโกล
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายบริหาร
ประมุขแห่งรัฐ
คำเรียกพระมหากษัตริย์
ปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6
ผู้แต่งตั้งการสืบราชสันตติวงศ์
หัวหน้ารัฐบาล
คำเรียกนายกรัฐมนตรี
ปัจจุบันเปโดร ซันเชซ
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์
คณะรัฐมนตรี
คำเรียกคณะรัฐมนตรี
ชุดปัจจุบันรัฐบาลชุดที่ 2 ของเปโดร ซันเชซ
หัวหน้านายกรัฐมนตรี
รองหัวหน้ารองนายกรัฐมนตรีสเปนคนแรก
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์
สำนักงานใหญ่พระราชวังมอนโกลอา
ฝ่ายตุลาการ
ชื่อระบบศาลยุติธรรมสเปน
ศาลศาลยุติธรรมสูง
ศาลฎีกา
ประธานศาลการ์โลส เลสเมส
ที่ตั้งศาลคอนแวนต์แห่งซาเลซัสเรอาเลส
ศาลแห่งชาติ
ประธานศาลโฆเซ รามอน นาบาร์โร


การเมืองสเปน เกิดขึ้นอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน ค.ศ. 1978 สเปนได้รับการสถาปนาเป็นรัฐเอกราชที่มีสังคม และประชาธิปไตย[5] ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของปวงชนผ่านการแสดงอำนาจของรัฐ[5]

รูปแบบการปกครองในสเปน เป็นระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภา ที่มีพระมหากษัตริย์[5] กล่าวคือ เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขแห่งรัฐที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในขณะที่ นายกรัฐมนตรี ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการคือ "ประธานแห่งรัฐบาล" เป็นหัวหน้ารัฐบาล อำนาจบริหาร อยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ๆ รวมกันจัดตั้งคณะรัฐมนตรี อำนาจนิติบัญญัติ เป็นอำนาจของรัฐสภากอร์เตสเฆเนราเลส ซึ่งเป็นระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา อำนาจตุลาการ เป็นอำนาจอิสระจากฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ อยู่ภายในนามของพระมหากษัตริย์ ใช้อำนาจผ่านข้าราชการฝ่ายตุลาการ และผู้พิพากษา โดยมีีศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดของประเทศ มีเขตอำนาจศาลในทุกแคว้นของสเปนเหนือกว่าทุกสิ่งในทุกเรื่อง เว้นแต่เรื่องรัฐธรรมนูญ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลที่แยกจากกันคือ ศาลรัฐธรรมนูญ

ระบบการเมืองของสเปน เป็นระบบหลายพรรคการเมือง แต่นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1990 มีเพียงสองพรรคการเมืองที่โดดเด่นขึ้นมา ได้แก่ พรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน (PSOE) และพรรคประชาชน (PP) นอกจากนี้ยังมีพรรคภูมิภาคนิยมที่สำคัญ ได้แก่ พรรคชาตินิยมบาสก์ (EAJ-PNV) จากแคว้นประเทศบาสก์ พรรคหลอมหลวมและสหภาพ (CiU) และ พรรคสาธารณรัฐฝ่ายซ้ายแห่งกาตาลุญญา (ERC) จากแคว้นกาตาลุญญา ได้ มีบทบาทสำคัญในการเมืองสเปน โดยสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรได้รับการเลือกผ่านการเลือกตั้งระบบสัดส่วน ซึ่งรัฐบาลจัดตั้งโดยพรรคเดียว หรืออาจรวมกันหลายพรรค โดยได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา แต่เดิมนับตั้งแต่เปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิไปตยเป็นธรรมเนียมปฎิบิัติมาว่า พรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดจะได้จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว ถึงแม้ว่าบางครั้งพรรคนั้นจะไม่มีเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของรัฐสภา และกลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย แต่ก็ยังมีอำนาจบริหารต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 2020 การจัดตั้งรัฐบาลที่สองของเปโดร ซันเชซ ซึ่งจัดตั้งโดยพรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน และพรรคอูนิดัสโปเดโมส เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่การจัดตั้งรัฐบาลผสม เกิดขึ้นในสเปน นับตั้งแต่สาธารณรัฐสเปนที่ 2

รัฐบาลระดับภูมิภาคทำหน้าที่ภายใต้ระบบที่เรียกว่า รัฐปกครองตนเอง ซึ่งเป็นระบบการบริหารแบบกระจายอำนาจสูง (เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากเยอรมนี ในดัชนีอำนาจส่วนภูมิภาค มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998)[6] เดิมทีถูกวางกรอบว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของ "สหพันธรัฐที่ไม่สมมาตร" ด้วยลักษณะของภูมิภาคที่มี "เชื้อชาติทางประวัติศาสตร์" สิ่งนี้ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วกลายเป็นการสร้างภูมิภาคต่าง ๆ ไปทั่วสเปน และกระจายอำนาจให้แก่ทุกคน รู้จักกันอย่างกว้างขวางในนาม "กาแฟสำหรับทุกคน"[7] เป็นการใช้สิทธิการปกครองตนเองตามที่ได้รับจากรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งออกเป็น 17 แคว้นปกครองตนเอง และ 2 นครปกครองตนเอง รูปแบบของรัฐบาลในแต่ละแคว้นปกครองตนเอง และนครปกครองตนเองตั้งอยู่ในระบบรัฐสภา โดยอำนาจบริหารเป็นของ “ประธาน” และคณะรัฐมนตรี

ในปี ค.ศ. 2022 หน่วยข่าวกรองของนักเศรษฐศาสตร์ ได้ลดระดับสเปนจาก ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ สู่ "ประชาธิปไตยบกพร่อง" เนื่องจาก ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นอิสระของตุลาการ หลังจากฝ่ายการเมืองมีอำนาจในการแต่งตั้งผู้พิพากษาคนใหม่ให้กับสภาตุลาการทั่วไป (CGPJ)[8]

พระมหากษัตริย์

[แก้]

พระราชสถานะ

[แก้]
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6

พระมหากษัตริย์สเปนองค์ปัจจุบัน ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 เป็นประมุขของรัฐ เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี และความยั่งยืน เป็นผู้ตัดสิน และกลั่นกรองการทำงานอย่างเที่ยงตรงของภาครัฐ และถือว่าเป็นตัวแทนสูงสุดของประเทศในการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และใช้หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่กำหนดให้[9] ตำแหน่งองค์พระมหากษัตริย์จะได้รับการประกาศโดยรัฐสภา พระองค์ต้องปฏิญาณว่าจะปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่าพระองค์จะปฏิบัติตาม และ เคารพสิทธิของพลเมือง ตลอดจน สิทธิของแคว้นปกครองตนเอง[10]

ตามรัฐธรรมนูญแห่งสเปน พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการอนุมัติ และประกาศใช้กฎหมาย เรียกประชุม หรือยุบรัฐสภา จัดให้มีการเลือกตั้ง และการทำประชามติ ตามโอกาสที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ แต่งตั้ง ถอดถอน และเสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตลอดจนรัฐมนตรีอื่น ๆ ตามเงื่อนไชที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่ออกพระราชกฤษฎีกาตามความยินยอมของคณะรัฐมนตรี เพื่อมอบหมายงานด้านพลเรือน และทหาร และพระราชทานยศศักดิ์ และเกียรติคุณตามกฎหมาย และเป็นประธานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควรเพื่อทราบราชการของรัฐ มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุดแก่กองทัพสเปน รวมทั้ง มีสิทธิในการพระราชทานอภัยโทษตามกฎหมาย พระองค์ได้รับการรับรองเอกเอกอัครราชทูต ผู้แทนทางการทูตทุกคน และตัวแทนต่างประเทศในสเปนทุกคนได้ให้การรับรองแก่พระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงแสดงความยินยอมของรัฐในการเข้าสู่ข้อผูกพันระหว่างประเทศผ่านสนธิสัญญา และประกาศสงคราม หรือสร้างสันติภาพ โดยได้รับความยินยอมจากรัฐสภา[11]

ในแง่การปฏิบัติ หน้าที่ของพระองค์โดยส่วนใหญ่เป็นพิธีการ และบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้เป็นแนวทางชัดเจนว่าต้องพระองค์ต้องเป็นกลางอย่างเข้มงวด และไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง[12][1] ในความเป็นจริง บิดาแห่งรัฐธรรมนูญ (สเปน: Padres de la Constitución) ได้ใช้ถ้อยคำที่ว่า "เป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์" อย่างระมัดระวัง โดยจงใจละเว้นถ้อยคำอื่น เช่น "อำนาจ" หรือ "ความสามารถ" จึงเป็นการลบล้างพระราชอำนาจพิเศษของพระมหากษัตริย์ที่มีภายในระบอบพระมหากษัตริย์แบบรัฐสภา[13] ในแนวปฏิบัตินี้ พระมหากษัตริย์จะไม่มีเสรีภาพสูงสุดในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะถูกวางกรอบว่าจะต้องปฏิบัติให้ "สอดคล้องรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย" หรือตามคำร้องขอของฝ่ายบริหาร หรือได้รับอนุญาติจากรัฐสภา[13]

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารของกองทัพสเปน แต่ทรงมีอำนาจเหนือกองทัพสเปนในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ไม่ใช่ตามความเป็นจริง[1] อย่างไรก็ตาม สถานะของพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด และสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของชาติได้ถูกนำมาใช้อย่างเห็นได้ชัดที่สุดใน ความพยายามรัฐประหารในประเทศสเปน พ.ศ. 2524 ซึ่งสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 ทรงมีกระแสพระราชดำรัสในเครื่องแบบทหารทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ประณามการรัฐประหาร และเรียกร้องให้มีการรักษากฎหมาย และความคงไว้ซึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย จึงทำให้การรัฐประหารล้มเหลวลง[1]

การสืบราชสันตติวงศ์

[แก้]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน ซึ่งประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1978 ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า ฆวน การ์โลส ที่ 1เป็น ทายาทโดยชอบธรรมทางประวัติศาสตร์ของราชวงศ์[14] คำกล่าวนี้มีจุดประสงค์สองประการ ประการแรก การกำหนดว่าตำแหน่งของพระมหากษัตริย์มาจากรัฐธรรมนูญ เพื่อระบุว่าการดำรงอยู่ของพระองค์ชอบด้วยกฎหมายตามระบอบประชาธิปไตย ประการที่สอง เป็นการยืนยันอีกครั้งว่าความชอบธรรมทางการสืบราชสัตติวงศ์ของฆวน การ์โลสที่ 1, not so much to end old historical dynastic struggles – namely those historically embraced by the Carlist movement – but as a consequence of the renunciation to all rights of succession that his father, Juan de Borbón y Battenberg, made in 1977.[15] Juan Carlos I was constitutional king of Spain from 1978 to 2014. He abdicated in favor of his son Felipe VI.

The constitution also establishes that the monarchy is hereditary following a "regular order of primogeniture and representation: earlier line shall precede older; within the same line, closer degree shall precede more distant; within the same degree, male shall precede female; and within the same sex, older shall precede the younger".[14] What this means in practice, is that the Crown is passed to the firstborn, who would have preference over his siblings and cousins; women can only accede to the throne provided they do not have any older or younger brothers; and finally "regular order of representation" means that grandchildren have preference over the deceased King's parents, uncles or siblings.[15] Finally, if all possible rightful orders of primogeniture and representation have been exhausted, then the General Courts will select a successor in the way that best suits the interest of Spain. The heir presumptive or heir apparent holds the title of Prince or Princess of Asturias. The current heir presumptive is princess Leonor de Borbón

ฝ่ายบริหาร

[แก้]

รัฐบาล และคณะรัฐมนตรี

[แก้]
มุมมองทางอากาศของพระราชวังมอนโกลอา ที่พำนักของนายกรัฐมนตรีสเปน

ในระดับประเทศ อำนาจบริหารในสเปนเป็นของรัฐบาลเพียงประการเดียว แม้พระมหากษัตริย์จะเป็นประมุขแห่งรัฐ แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้พระองค์มีส่วนกับฝ่ายบริหาร โดยรัฐบาล ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เรียกกันในนาม "ประธานแห่งรัฐบาล" (สเปน: presidente del gobierno) รองนายกรัฐมนตรีหนึ่งคน หรือมากกว่านั้น เรียกกันในนาม "รองประธานแห่งรัฐบาล" (สเปน: vicepresidentes del gobierno) และรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ทั้งหมดเรียกกันว่าคณะรัฐมนตรี รัฐบาลมีหน้าที่รับผิดชอบนโยบายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ตลอดจนนโยบายด้านกลาโหม และเศรษฐกิจ[1] ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน ได้แก่ เปโดร ซันเชซ

รัฐธรรมนูญ[2] กำหนดว่าภายหลังการเลือกตั้ง พระมหากษัตริย์ จะทรงหารือกับกลุ่มการเมืองทั้งหมดที่เป็นตัวแทนในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จะทรงเสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีผ่านทางประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ได้รับการเสนอชื่อจะนำเสนอนโยบายของรัฐบาลของเขา เพื่อขอความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหากได้รับการไว้วางใจด้วยเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสภา พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเป็น "ประธานแห่งรัฐบาล" อย่างเป็นทางการ แต่หากผู้ได้รับการเสนอชื่อไม่ได้รับการไว้วางใจ สภาผู้แทนราษฎรจะต้องลงมติใหม่อีกครั้งภายใน 48 ชั่วโมง ในกรณีนี้ ต้องได้รับการไว้วางใจด้วยเสียงที่เห็นชอบมากกว่า ไม่เห็นชอบ และงดออกเสียง โดยไม่จำเป็นต้องถึงกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าผู้ได้รับการเสนอชื่อไม่ได้รับความไว้วางใจอีกครั้ง พระมหากษัตริย์ จะทรงเสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ต่อไปจนกว่าจะได้รับความไว้วางใจ แต่หากหลังจากพ้น 2 เดือนไปแลเวยังไม่มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนใดไได้รับความไว้วางใจ พระมหากษัตริย์จะยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยความยินยอมของประธานรัฐสภา[2] ในทางปฏิบัติ นับตั้งแต่การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1978 นายกรัฐมนตรีจะมาจากผู้ได้รับการเสนอชื่อของพรรคที่ได้รับที่นั่งจำนวนมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร แม้ว่าพรรคนั้นจะมีจำนวนที่นั่งไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้ พรรคในรัฐบาลจะต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากพรรคอิ่น ๆ เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจ และอนุมัติงบประมาณของรัฐ

หลังจากผู้ได้รับการเสนอชื่อได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร เขาจะได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในพิธีปฏิญาณตนเพื่อเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งจัดขึ้นที่พระราชวังซาร์ซูเอลา ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ต่อหน้าผู้รับรองเอกสารสำคัญแห่งราชอาณาจักร และกล่าวคำสาบานเข้ารับตำแหน่ง เหนือสำเนารัฐธรรมนูญที่เปิดอยู่ถัดจากคัมภีร์ไบเบิล คำสาบานที่ใช้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าขอปฏิญาณ/สัญญาว่าจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานของรัฐบาลด้วยความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ปฏิบัติตาม และบังคับใช้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายพื้นฐานของรัฐ ตลอดจนรักษาการพิจารณาอย่างลับของคณะรัฐมนตรี"

นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้เสนอชื่อรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ๆ ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยจำนวน และขอบเขตอำนาจของแต่ละรัฐมนตรีจะกำหนดโดยนายกรัฐมนตรี ซึ่งแต่ละกระทรวงมักจะจัดตั้งขึ้นอย่างคลอบคลุมภาคส่วน หรือหลายภาคส่วนที่คล้ายกันในการทำงานของรัฐบาล รัฐบาลจะประชุมกันในฐานะ "คณะรัฐมนตรี" โดยปกติทุกวันศุกร์ที่พระราชวังมอนโกลอา ในกรุงมาดริด ซึ่งเป็นบ้านพักอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีที่เป็นประธานในการประชุม แต่สามารถจัดการประชุมในสถานที่อื่น ๆ ได้ ยกเว้นเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานการประชุมตามคำขอของนายกรัฐมนตรี ซึ่งในกรณีนี้สภาจะแจ้งราชการของรัฐบาลให้ทราบ

Currently, the government consists of these members:

Portfolio Name Party Took office
Prime Minister Pedro Sánchez PSOE 8 January 2020
First Deputy Prime Minister

Minister of Economic Affairs and Digital Transformation

Nadia Calviño PSOE 13 January 2020

(First Deputy Prime Minister since 12 July 2021)

Second Deputy Prime Minister

Minister of Labour and Social Economy

Yolanda Díaz PCE 13 January 2020

(Second Deputy Prime Minister since 12 July 2021)

Third Deputy Prime Minister
Minister for the Ecological Transition and the Demographic Challenge
Teresa Ribera PSOE 13 January 2020

(Third Deputy Prime Minister since 12 July 2021)

Minister of Foreign Affairs, European Union and Cooperation José Manuel Albares PSOE 12 July 2021
Minister of Justice Pilar Llop PSOE 12 July 2021
Minister of Defence Margarita Robles Independent[a] 13 January 2020
Minister of Finance and Civil Service María Jesús Montero PSOE 13 January 2020

(Civil Service since 12 July 2021)

Minister of the Interior Fernando Grande-Marlaska Independent[b] 13 January 2020
Minister of Transport, Mobility and Urban Agenda Raquel Sánchez PSC–PSOE 12 July 2021
Minister of Education and Vocational Training Pilar Alegría PSOE 12 July 2021
Minister of Industry, Trade and Tourism Reyes Maroto PSOE 13 January 2020
Minister of Agriculture, Fisheries and Food Luis Planas PSOE 13 January 2020
Minister of the Presidency, Relations with the Cortes and Democratic Memory Félix Bolaños PSOE 12 July 2021
Minister of Territorial Policy

Spokesperson of the Government

Isabel Rodríguez PSOE 12 July 2021
Minister of Culture and Sports Miquel Iceta PSC–PSOE 12 July 2021
Minister of Health Carolina Darias PSOE 13 January 2020
Minister of Science and Innovation Diana Morant PSOE 12 July 2021
Minister of Equality Irene Montero Podemos 13 January 2020
Minister of Social Rights and 2030 Agenda Ione Belarra Podemos 31 March 2021
Minister of Consumer Affairs Alberto Garzón IU (PCE) 13 January 2020
Minister of Inclusion, Social Security and Migration José Luis Escrivá Independent[c] 13 January 2020
Minister of Universities Joan Subirats CatComú[d] 20 December 2021

ฝ่ายตุลาการ

[แก้]

ฝ่ายตุลาการในสเปน ประกอบด้วย ข้าราชการฝ่ายตุลาการ และผู้พิพากษา ซึ่งทำหน้าที่ดำเนินงานด้านความยุติธรรมในนามของพระมหากษัตริย์[3] ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลที่มีระดับแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคำสั่งของเขตอำนาจศาล และสิ่งที่ต้องได้รับการตัดสิน ศาลระดับสูงสุดของสเปนคือ ศาลฎีกา (สเปน: Tribunal Supremo) ซึ่งมีเขตอำนาจศาลในสเปนทั้งหมด เหนือกว่าในทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องรัฐธรรมนูญ นำโดยประธานศาลฎีกา ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ผ่านการเสนอชื่อของสภาตุลาการทั่วไป (CGPJ) และมีสมาชิกอีก 20 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ในจำนวนนี้มีสมาชิก 12 คนที่เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ และผู้พิพากษา สมาชิกอีก 4 คนได้รับการเสนอชื่อโดยสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกอีก 4 คนได้รับการเสนอชื่อโดยวุฒิสภา ซึ่งผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากทั้งสองสภาจะต้องผ่านการคัดเลือกจากการประชุมของทนายความ และนักกฎหมายที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ทางวิชาชีพมากกว่า 15 ปี โดยต้องได้รับความเห็นชอบด้วยจำนวนเสียงเกินกว่าสามในห้า

ศาลรัฐธรรมนูญ (สเปน: Tribunal Constitucional) มีเขตอำนาจศาลในสเปนทั้งหมด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับกฎหมาย และกฎระเบียบที่มีผลบังคับตามกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตลอดจน การร้องขอความคุ้มครองส่วนบุคคล (recursos de amparo) เพื่อปกป้องการละเมิดสิทธิ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ[4] ศาลประกอบด้วยสมาชิก 12 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ในจำนวนนี้ผ่านการเสนอชื่อโดยสภาผู้แทนราษฎร 4 คน และวุฒิสภา 4 คน โดยการพิจิจารณาในทั้งสองาภาต้องได้รับความเห็นชอบเกินกว่าสามในห้าของสมาชิกทั้งหมด ส่วนอีก 2 คน ผ่านการเสนอชื่อโดยฝ่ายบริหาร และอีก 2 องค์เสนอโดยสภาตุลาการทั่วไป (CGPJ) พวกเขาจะต้องเป็นผู้พิพากษา อัยการ อาจารย์มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง มีความรู้ความสามารถ หรือตำแหน่งที่ได้รับการยอมรับ และมีประสบการณ์ทางวิชาชีพมากกว่า 15 ปี

In March 2011, Rodríguez Zapatero made his decision not to lead the Socialist Party in the coming elections, which he called ahead of schedule for 20 November 2011. The People's Party, which presented Mariano Rajoy for the third time as candidate, won a decisive victory,[16] obtaining an absolute majority in the Congress of Deputies. Alfredo Pérez Rubalcaba, first deputy prime minister during Rodríguez Zapatero's government and candidate for the Socialist Party in 2011, was elected secretary general of his party in 2012, and became the leader of the opposition in Parliament.

Pedro Sánchez Pérez-Castejón, prime minister of Spain since 2018

The elections of 20 December 2015 were inconclusive, with the People's Party remaining the largest party in Congress, but unable to form a majority government. The PSOE remained the second largest party, but the Podemos and Ciudadanos parties also obtained substantial representation; coalition negotiations were prolonged[17] but failed to install a new government. This led to a further general election on 26 June 2016, in which the PP increased its number of seats in parliament, while still falling short of an overall majority.[18] Eventually on 29 October, Rajoy was re-appointed as prime minister after the majority of the PSOE members abstained in the parliamentary vote rather than oppose him.[19]

In June 2018, Pedro Sánchez, leader of Spanish Socialist Workers' Party (PSOE), was sworn in as the country's new prime minister after conservative Mariano Rajoy was defeated in a no-confidence vote in parliament.[20] In November 2019 elections, the governing PSOE won the most seats, but fell short of a majority. The conservative Popular Party (PP) came in second and far-right party Vox doubled its seats to become the country's third most-powerful party.[21] In January 2020, Prime Minister Pedro Sánchez formed a new government with radical left-wing Unidas Podemos. It was Spain's first coalition government since democracy was restored in 1978.[22]

อ้างอิง

[แก้]
บันทึกข้อมูล
  1. Nominated by PSOE
  2. Nominated by PSOE
  3. Nominated by PSOE
  4. Nominated by Unidas Podemos.
อ้างอิง
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Encyclopædia Britannica.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Spanish Constitution 1978, Article 99.
  3. 3.0 3.1 Spanish Constitution 1978, Article 117.
  4. 4.0 4.1 Spanish Constitution 1978, Article 159.
  5. 5.0 5.1 5.2 Spanish Constitution 1978, Article 1.
  6. Muro & Lago 2020, p. 7.
  7. Fishman 2020, p. 27.
  8. Catalan News: Spain downgraded to a ‘flawed democracy’ by The Economist index
  9. Spanish Constitution 1978, Article 56.
  10. Spanish Constitution 1978, Article 61.
  11. Spanish Constitution 1978, Article 62,63.
  12. Solsten, Eric; Meditz, Sandra W. (1998). "King, Prime Minister, and Council of Ministers". Spain, a country Study. Washington GPO for the Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 18 February 2012.
  13. 13.0 13.1 Merino Merchán, José Fernando (December 2003). "Sinópsis artículo 62 de la Constitución Española". Cortes Generales. สืบค้นเมื่อ 18 February 2012.
  14. 14.0 14.1 Spanish Constitution 1978, Article 57.
  15. 15.0 15.1 Abellán Matesanz, Isabel María. "Sinópsis arículo 57 de la Constitución Española (2003, updated 2011)". Cortes Generales. สืบค้นเมื่อ 18 February 2012.
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nytimes
  17. Stephen Burgen, "'Worrying and pathetic': anger in Spain over parties' failure to form government", The Guardian, 17 February 2016
  18. Jones, Sam (27 June 2016). "Spanish elections: Mariano Rajoy struggles to build coalition". The Guardian.
  19. Jones, Sam (31 October 2016). "Mariano Rajoy sworn in as Spain's PM after deadlock broken". The Guardian.
  20. "Pedro Sánchez is sworn in as Spain's new prime minister". BBC News. 2 June 2018.
  21. "Spanish elections: Socialists win amid far-right surge". BBC News. 11 November 2019.
  22. "Spain's Sánchez narrowly wins vote to govern in coalition". BBC News. 7 January 2020.
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:การเมืองสเปน แม่แบบ:Spain topics


คำเตือน: หลักเรียงลำดับปริยาย "Politics of Spain" ได้ลบล้างหลักเรียงลำดับปริยาย "Spain-Thailand" ที่มีอยู่ก่อนหน้า