ความสัมพันธ์ไทย–อิตาลี
อิตาลี |
ไทย |
ความสัมพันธ์ไทย–อิตาลี เริ่มต้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1868 อิตาลีเปิดสถานเอกอัครราชทูตในกรุงเทพมหานคร พร้อมกับสถานกงสุลในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดภูเก็ต[1][2] ทางด้านประเทศไทย เปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงโรม นอกจากนี้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม มีหน้าที่ดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับ อัลบาเนีย ไซปรัส ซานมารีโน และคณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตา[3]
วัฒนธรรมอิตาลีมีอิทธิพลอย่างมากต่อประเทศไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสถาปัตยกรรม
ประวัติศาสตร์
[แก้]ต้นกำเนิด
[แก้]นีโกโล เด กอนติ พ่อค้าชาวเวนิสได้เดินทางมาถึงตะนาวศรี ในปี ค.ศ. 1430 ทำให้เขาเป็นชาวตะวันตกคนแรกและชาวอิตาลีคนแรกที่เดินทางมายังดินแดนแถบนี้ในช่วงเวลานั้น โดยตะนาวศรีในสมัยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา[5]
กรุงเทพฯ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 มักถูกขนานนามว่า 'เวนิสตะวันออก' เนื่องจากมีคลองขุดจำนวนมากที่ตัดผ่านเมือง ทำให้เกิดภาพลักษณ์คล้ายคลึงกับเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี[6]
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1868 ผู้แทนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งสยาม และพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 2 แห่งอิตาลี ลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์[7] นับตั้งแต่นั้นมา ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์แบบทวิภาคีต่อกันมาโดยตลอด[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Embassy of Italy in Bangkok, Thailand". Embassy Pages. สืบค้นเมื่อ 11 April 2024.
- ↑ "La rete consolare". Ambasciata d'Italia Bangkok. สืบค้นเมื่อ 24 January 2017.
- ↑ "Honorary Consulates". www.thaiembassy.it. สืบค้นเมื่อ 2024-04-11.
- ↑ "A World's Fair in Turin 1911". สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ "The Italian Connection". MICHELIN Guide (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-11.
- ↑ "Government House Bangkok – the Palace of Gold". Tour Bangkok Legacies. สืบค้นเมื่อ 2024-04-11.
- ↑ Raktabutr, H. E. Chirdchu (2019-06-14). "Thailand and Italy: Old Friends, New Possibilities". Torino World Affairs Institute (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Connor, Mitch (2024-01-29). "Italian scientist receives Thai honour, boosting Thailand-Italy relations". Thaiger (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-11.