ความสัมพันธ์ไต้หวัน–ไทย
![]() | |
![]() ไต้หวัน |
![]() ไทย |
ความสัมพันธ์ไต้หวัน (สาธารณรัฐจีน) –ไทย ไทยประกาศความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐจีนขึ้นครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2489 หลังจากสงครามกลางเมืองจีนสิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2492 รัฐบาลสาธารณรัฐจีนย้ายไปไต้หวัน ไทยกับสาธารณรัฐจีนยังคงมีความสัมพันธ์ทางการทูตแบบเป็นทางการจนถึง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ไทยประกาศยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐจีน
ช่วงปี 2455 ถึง 2514 สาธารณรัฐจีนเป็นตัวแทนจีนเพียงหนึ่งเดียวในเวทีโลก หลังจากข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 2758 วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2514 รับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็น "ผู้แทนชอบด้วยกฎหมายเพียงหนึ่งเดียวของจีนในสหประชาชาติ" สาธารณรัฐจีนแทนชื่อในเวทีโลกด้วยไต้หวัน หรือจีนไทเป
ปัจจุบันไทยยอมรับว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นจีนเพียงหนึ่งเดียว แต่มีความสัมพันธ์ทางการทูตแบบไม่เป็นทางการกับสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) ผ่านสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ประจำ ณ กรุงไทเป
ปัจจุบันไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 3 ของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) รองจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น[1]
ประวัติ
[แก้]ก่อนการปฏิวัติซินไฮ่
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
[แก้]23 มกราคม 2489 สยามและสาธารณรัฐจีนประกาศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในการลงนาม "สนธิสัญญามิตรภาพสยามและสาธารณรัฐจีน" โดยมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในเวลานั้นเป็นผู้ลงนาม มีการสร้างสถานเอกอัครราชทูตขึ้นในกรุงเทพมหานครและกรุงนานกิง
ปี 2492 สงครามกลางเมืองจีนสิ้นสุดลง พรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดครองจีนแผ่นดินใหญ่ รัฐบาลสาธารณรัฐจีนย้ายฐานไปไต้หวัน ไทยกับสาธารณรัฐจีนยังคงมีการสานสัมพันธ์ทางการทูตอยู่
5 ถึง 8 มิถุนายน 2506 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเยือนไต้หวัน สาธารณรัฐจีน ระยะเวลา 4 วัน ทั้งนี้เจียงไคเช็ค ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน และซ่ง เหม่ย์หลิง ภริยาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ ท่าอากาศยานซงวานในกรุงไทเปพร้อมกองทหารเกียรติยศรับเสด็จฯ[2][3][4] ตลอดระยะเวลาที่เสด็จฯ สาธารณรัฐจีนได้เสด็จไปทอดพระเนตรเทคโนโลยีการเกษตร ณ นครไถจงและนครเถา-ยฺเหวียน[5]
27 มีนาคม 2510 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเยือนสาธารณรัฐจีนอย่างเป็นทางการ เข้าพบคารวะเจียงไคเช็ค ประธานาธิบดี ปีเดียวกัน 4 กรกฎาคมนายเว้ยต้าวหมิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐจีน เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
1 เมษายน 2511 นายเหยียนเจียกั้น รองประธานาธิบดีเยือนประเทศไทย[6]: 748
14 พฤษภาคม 2512 เจียง จิ่งกั๊วะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้นเป็นผู้แทนประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีนเดินทางเยือนประเทศไทย ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[7]: 490
25 ตุลาคม 2514 ไทยงดออกเสียงในข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 2758 ที่รับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็น "ผู้แทนชอบด้วยกฎหมายเพียงหนึ่งเดียวของจีนในสหประชาชาติ" แทนที่สาธารณรัฐจีน
1 พฤศจิกายน 2518 ไทยประกาศยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐจีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "中央通訊社:泰雙十酒會 免雙重課稅惠台商". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2013.
- ↑ 泰國蒲美蓬國王及詩麗吉王后1963年6月5日至8日訪問中華民國珍貴歷史照片紀錄. 駐泰國臺北經濟文化辦事處. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016.
- ↑ 泰國國王蒲美蓬陛下設宴答謝總統伉儷. 國家文化資料庫, 中華民國文化部. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 เมษายน 2013.
- ↑ 泰國國王暨王后訪問中華民國. 數位典藏與數位學習國家型科技計畫 [Taiwan e-Learning & Digital Archives Program]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 สิงหาคม 2017.
- ↑ 泰王蒲美蓬曾說與中華民國感情無法撕開. 中央通訊社. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2016.
- ↑ 朱文原; 周美華; 葉惠芬; 高素蘭; 陳曼華; 歐素瑛 (2012). 呂芳上 (บ.ก.). 《中華民國建國百年大事記》. 國史館. 台北. ISBN 978-986-03-3586-6.
- ↑ 王成斌; และคณะ, บ.ก. (1998). 《民國高級將領列傳》. 解放軍出版社. Vol. 4. 北京.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์สาธารณรัฐจีน –ไทย