ความสัมพันธ์ไทย–เยอรมนี
เยอรมนี |
ไทย |
ความสัมพันธ์ไทย–เยอรมนี เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเยอรมนี ที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเยือนยุโรปใน พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 รวมทั้งโอรสหลายพระองค์ต่างทรงรับการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี ดังเช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการในสมัยนั้น ที่ทรงอภิเษกสมรสกับสตรีชาวเยอรมัน[2]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง ที่มีชาวต่างชาติรวมถึงชาวเยอรมันที่เดินทางมายังประเทศสยามเพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ทั้งทางรถไฟ การไปรษณีย์โทรเลขต่างได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน รวมถึงพระเจนดุริยางค์ หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ เป็นบุตรของชาวเยอรมันที่อพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทย[2]
ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้ยังคงมีมาโดยตลอด โครงการที่รัฐบาลเยอรมันให้ความสำคัญ คือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ดังเช่น การวิจัยการสืบพันธุ์ของช้างเอเชีย โดยมีการขอยืมช้างไทยไปวิจัยศึกษาที่สวนสัตว์ในโคโลญ อันเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ระหว่างสองประเทศ[3]
การเปรียบเทียบ
[แก้]สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี | ราชอาณาจักรไทย | |
---|---|---|
ตราแผ่นดิน | ||
ธงชาติ | ||
ประชากร | 83,019,200 คน | 68,863,514 คน |
พื้นที่ | 357,578 ตร.กม. (138,062 ตร.ไมล์) | 513,120 ตร.กม. (198,120 ตร.ไมล์) |
ความหนาแน่น | 232 คน/ตร.กม. (600.9 คน/ตร.ไมล์) | 132.1 คน/ตร.กม. (342.1 คน/ตร.ไมล์) |
เมืองหลวง | เบอร์ลิน | กรุงเทพมหานคร |
เมืองที่ใหญ่ที่สุด | เบอร์ลิน – 3,748,148 คน (เขตปริมณฑล 6,004,857 คน) | กรุงเทพมหานคร – 8,305,218 คน (เขตปริมณฑล 10,624,700 คน) |
การปกครอง | สหพันธรัฐ ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา | ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข |
ประมุขแห่งรัฐ | ประธานาธิบดี: ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ | พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
หัวหน้ารัฐบาล | นายกรัฐมนตรี: โอลัฟ ช็อลทซ์ | นายกรัฐมนตรี: เศรษฐา ทวีสิน |
ภาษาราชการ | ภาษาเยอรมัน | ภาษาไทย |
ศาสนาหลัก |
|
|
กลุ่มชาติพันธุ์ | ||
จีดีพี (ราคาตลาด) | 4.117 ล้านล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 49,692 ดอลลาร์) | 516 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 7,607 ดอลลาร์) |
ค่าใช้จ่ายทางทหาร | 43.9 พันล้านดอลลาร์ | 5.69 พันล้านดอลลาร์ |
ความสัมพันธ์ทางการทูต
[แก้]ในสมัยที่เยอรมนียังคงแยกเป็นรัฐเสรีหลายรัฐ ได้มีรัฐสำคัญอย่างปรัสเซียที่จัดตั้งจัดตั้งคณะทูตสันถวไมตรีแห่งปรัสเซียมายังสยาม โดยมีหัวหน้าคณะทูตคือ เคานท์ ซู ออยเลนบวร์ก พร้อมคณะ ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์กับชาวเยอรมันผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ โดยเดินทางมาถึงสยาม ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2405 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การเจรจาการค้าพระราชไมตรี ด้านการค้าและการเดินเรือระหว่างสองประเทศเริ่มขึ้นในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2406 โดยมีเจ้าฟ้ากรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย ซึ่งทางปรัสเซียไม่มีนโยบายล่าอาณานิคมในแถบเอเชียอาคเนย์ การเจรจาเสร็จสิ้นและลงนามสัญญา ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2406 โดยสัญญาระบุถึงการปฏิบัติไมตรีต่อกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2422 ได้มีการตั้งสถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน และ พ.ศ. 2431 ได้มีการเลื่อนระดับสถานกงสุลเยอรมนีขึ้นเป็นสถานอัครราชทูตเยอรมนี ณ กรุงเทพมหานคร[1]ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ได้มีพิธีเปิด สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "เอกสารแนบ - Ministry of Foreign Affairs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-06-17.
- ↑ 2.0 2.1 150 ปีความสัมพันธ์เยอรมัน-ไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ ความสัมพันธ์ไทย-เยอรมัน Thai relationship
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- คัททิยากร ศศิธรามาศ. “ความสัมพันธ์ไทย-เยอรมันจากจุดเริ่มต้นถึงสงครามโลกครั้งที่ 2: ข้อสรุปจากหลักฐานชั้นต้น.” ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (บก.), 70 ปีแห่งการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2: ไทยจากเอกสารจดหมายเหตุต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี ญี่ปุ่น ตุรกี และจีน. ม.ป.ท., 2558.
- คัททิยากร ศศิธรามาศ. “ชาวเยอรมันในสยามในสมัยรัชกาลที่ 5.” ใน ประวัติศาสตร์ใน “Twentieth Century Impressions of Siam: Its History, People, Commerce, Industries, and Resources”. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2562.
- คัททิยากร ศศิธรามาศ. “บทบาทของ ดร.รูดอล์ฟ อาสมีส ทูตเยอรมันประจำกรุงเทพมหานครกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสยามและเยอรมนี พ.ศ. 2468-2475.” วารสารศิลปศาสตร์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 13, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2556), น. 50-61.
- ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. “ปริทรรศน์เอกสารเกี่ยวกับสยามจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเยอรมนี: ข้อค้นพบและการตีความเอกสารแนวใหม่.” ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (บก.), 70 ปีแห่งการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2: ไทยจากเอกสารจดหมายเหตุต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี ญี่ปุ่น ตุรกี และจีน. ม.ป.ท., 2558.
- ภาวรรณ เรืองศิลป์. “รายงานผลการค้นคว้าเอกสารทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติเยอรมนี: เอกสารเยอรมันว่าด้วยค่าครองชีพในประเทศไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2.” ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (บก.), 70 ปีแห่งการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2: ไทยจากเอกสารจดหมายเหตุต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี ญี่ปุ่น ตุรกี และจีน. ม.ป.ท., 2558.
- ราตรี วานิชลักษ์. “ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเยอรมนีตั้งแต่ พ.ศ. 2405-2460.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519.
- Catthiyakorn Sasitharamas. Die deutsch-thailändischen Beziehungen in der Zeit der Weimarer Republik bis zum Ende des Zweiten Weltkriegs (ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมันกับไทยในยุคสาธารณรัฐไวมาร์จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง). Hamburg: Verlag Dr. Kovač, 2012.
- Catthiyakorn Sasitharamas. People in Adolf Bastian’s “Journey in Siam in 1863” (ผู้คนใน “การเดินทางสู่สยาม” ของอดอล์ฟ บาสเตียน). in Proceedings of 131st IASTEM International Conference (pp.27-31). 9th-10th August 2018.
- Stoffers, Andreas. Im Lande des weißen Elefanten: die Beziehungen zwischen Deutschland und Thailand von den Anfängen bis 1962 (ในดินแดนของช้างเผือก: ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีกับประเทศไทยตั้งแต่ต้นจนถึงปี 1962). Bonn: Deutsch-Thailändische Gesellschaft, 1995.
- Manich Jumsai, M.L. Documentary Thai history and Thai-Deutsche freundschaftliche Verhaettnisse (สารคดีประวัติศาสตร์ไทยและความสัมพันธ์ฉันมิตรไทย-เยอรมนี). Bangkok: Chalermnit, 1976.
- Rathje, Stefanie. Unternehmenskultur als Interkultur: Entwicklung und Gestaltung interkultureller Unternehmenskultur am Beispiel deutscher Unternehmen in Thailand (วัฒนธรรมองค์กรในฐานะวัฒนธรรมร่วม: การพัฒนาและออกแบบวัฒนธรรมองค์กรโดยใช้ตัวอย่างของบริษัทเยอรมันในประเทศไทย). Sternenfels: Wissenschaft und Praxis, 2004.