ข้ามไปเนื้อหา

ความสัมพันธ์ไทย–ภูฏาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์ไทย–ภูฏาน
Map indicating location of Bhutan and Thailand

ภูฏาน

ไทย

ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรภูฏานได้รับการสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2532 โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 53 ประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับประเทศภูฏาน[1]

ประวัติ

[แก้]
อดีตนายกรัฐมนตรี คินซัง ดอร์จิ แห่งประเทศภูฏาน (ซ้าย) กับอดีตนายกรัฐมนตรี สุรยุทธ์ จุลานนท์ แห่งประเทศไทย ในการประชุมที่กรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรีภูฏานสวมชุดแบบดั้งเดิม

ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างภูฏานและไทยก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2532 และแน่นแฟ้นขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยทั้งสองประเทศมีคุณลักษณะหลายประการที่เหมือนกัน ประเทศไทยตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งสองประเทศมีระบอบกษัตริย์ ทั้งภูฏานและไทยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ มีมรดกและวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาที่เป็นปึกแผ่น ประเทศภูฏานมีสถานเอกอัครราชทูตอยู่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในทางกลับกัน ประเทศไทยไม่มีภารกิจทางการทูตภายในประเทศภูฏาน แต่ดำเนินความสัมพันธ์ผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา ประเทศบังกลาเทศ ซึ่งได้รับการรับรองในเทือกเขาหิมาลัย

ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม

[แก้]

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศมีการเติบโตอย่างมาก ประเทศภูฏานและประเทศไทยยังส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษา[2] มหาวิทยาลัยในประเทศไทยหลายแห่ง รวมทั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีนักศึกษาชาวภูฏาน[2][3] ซึ่งมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจัดโครงการมอบทุนการศึกษาเพื่อดึงดูดนักศึกษาชาวภูฏาน[3]

สวนมิตรภาพ

[แก้]

ใน พ.ศ. 2549 เจ้าชายจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน เสด็จทอดพระเนตรมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในภาคเหนือของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อฉลองทรงสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งรัฐบาลภูฏานได้พัฒนาสวนดังกล่าวด้วยค่าใช้จ่าย 10 ล้านบาท[4]

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงธากา ได้เปิด "สวนมิตรภาพภูฏาน-ไทย" โดยความร่วมมือกับองค์การเมืองทิมพู เมืองหลวงของประเทศภูฏาน[5] สวนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูต และวันครบรอบพิธีราชาภิเษกชองสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภูฏานองค์ที่ห้า[5] ซึ่งสวนแห่งนี้บริหารโดยนิติบุคคลเมืองทิมพู[5] รวมถึงพิธีเปิดงานดังกล่าวยังเป็นการฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพปีที่ 54 ของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภูฏานองค์ที่สี่ และวันคล้ายวันพระราชสมภพ 82 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทย[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Bilateral relations". Ministry of Foreign Affairs, Bhutan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-01. สืบค้นเมื่อ 2015-01-12.
  2. 2.0 2.1 Kinley Wangchuk (2010-05-10). "Why Bhutanese trade with Thais". Bhutan Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-18. สืบค้นเมื่อ 2010-09-27.
  3. 3.0 3.1 "PSU supports human resources development, offering graduate scholarships to Bhutanese students". Prince of Songkla University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-22. สืบค้นเมื่อ 2010-09-27.
  4. Mai, Chiang (November 25, 2006). "Bhutan prince charms fans at floral expo". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-08. สืบค้นเมื่อ 7 October 2010.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Bhutan-Thailand Friendship Park". Royal Thai Embassy in Dhaka, Bangladesh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2010-09-27.
  6. "Combined Thai-Bhutan celebrations". Kuensel Newspaper. 2009-11-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-10. สืบค้นเมื่อ 2010-09-27.