ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Panus234/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีประธานสภาคนหนึ่งและรองประธานคนหนึ่งหรือสองคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภาผู้แทนราษฎรตามมติของสภา[1] ในการเลือกประธานสภาและรองประธานสภานั้น สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ โดยการเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน[2] ให้ผู้ถูกเสนอชื่อกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำรงตำแหน่งต่อที่ประชุมภายในระยะเวลาที่ประธานกำหนด โดยไม่มีการอภิปราย[3] ถ้าหากว่ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้าหากมีการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ[4] เมื่อลงมติเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประธานประกาศชื่อผู้ใดรับเลือกต่อที่ประชุม[5] ในขณะที่การเลือกตั้งรองประธานให้ใช้วิธีการเดียวกับการเลือกตั้งประธาน[6] และให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์[7]

มิถุนายน พ.ศ. 2475

[แก้]

การเลือกตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในการประชุมครั้งแรกของสภาผู้แทนราษฎร โดยเป็นการเลือกตาม พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสาบานตน จึงได้จัดให้มีการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร โดย สงวน ตุลารักษ์ เสนอชื่อ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี โดยมี พระยามานวราชเสวี เป็นผู้รับรอง ส่วน พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ เสนอ พระยาพหลพลพยุหเสนา แต่พระยาพหลพลพยุหเสนาปฏิเสธ หลังจากนั้นพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์จึงเสนอ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา แต่พระยามโนปกรณ์นิติธาดาปฏิเสธ สภาผู้แทนราษฎรจึงลงมติเป็นเอกฉันท์ให้เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร[8]

การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เอกฉันท์ 100
คณะราษฎร พระยาพหลพลพยุหเสนา (ถอนตัว)
อิสระ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ถอนตัว)

หลังจากเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ขึ้นบัลลังก์ดำเนินการประชุม และมีการเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎร โดย พระยาศรีวิสารวาจา เสนอ พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี แต่พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดีปฏิเสธ หลังจากนั้นพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์จึงเสนอ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม แต่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมปฏิเสธ และหลวงประดิษฐ์มนูธรรมจึงเสนอ พระยาอินทรวิชิต สภาผู้แทนราษฎรจึงลงมติเป็นเอกฉันท์ให้พระยาอินทรวิชิต เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร[9]

การเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎร 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ พระยาอินทรวิชิต เอกฉันท์ 100
อิสระ พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (ถอนตัว)
คณะราษฎร หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ถอนตัว)

กันยายน พ.ศ. 2475

[แก้]

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เสนาบดีกระทรวงธรรมการ จึงลาออกจากตำแหน่ง และ พระยาอินทรวิชิต รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ไปราชการที่ต่างประเทศ จึงลาออกเช่นเดียวกัน สภาผู้แทนราษฎรจึงประชุมในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2475 เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง โดย พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เสนอ เจ้าพระยาพิชัยญาติ โดยมี พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้รับรอง ในขณะที่ จรูญ สืบแสง เสนอ พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ โดยมี สงวน ตุลารักษ์ และ พระสุธรรมวินิจฉัย เป็นผู้รับรอง สภาผู้แทนราษฎรจึงลงมติด้วยวิธีการลับโดยการเขียนชื่อผู้ที่เห็นสมควรลงบนบัตรเลือกตั้ง[10]

การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่่ว่าง 2 กันยายน พ.ศ. 2475
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ เจ้าพระยาพิชัยญาติ 38 62.29
อิสระ พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ 20 32.79
อื่น ๆ 1 1.64
ผลรวม ุุ61 100
บัตรดี 61 100
บัตรเสีย
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 2 3.28
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 61 87.14
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 70 100
อิสระ รักษาที่นั่ง

หลังจากเจ้าพระยาพิชัยญาติ ขึ้นบัลลังก์ดำเนินการประชุม และมีการเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎร โดย พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เสนอ พระยาศรยุทธเสนี โดยมี พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้รับรอง โดยได้รับการเสนอชื่อแต่เพียงผู้เดียว สภาผู้แทนราษฎรจึงลงมติเป็นเอกฉันท์ให้พระยาศรยุทธเสนี เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร[11]

การเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่่ว่าง 2 กันยายน พ.ศ. 2475
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
อิสระ พระยาศรยุทธเสนี เอกฉันท์ 100
อิสระ รักษาที่นั่ง

ธันวาคม 2476

[แก้]

หลังจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ประกาศใช้ ได้มีการ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476 เป็นครั้งแรก โดยได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงตั้งสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรตามมติของสภาให้เป็นประธานแห่งสภาหนึ่งนาย เป็นรองประธานนายหนึ่งหรือหลายนายก็ได้[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 116
  2. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 6 วรรค 1
  3. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 6 วรรค
  4. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 6 วรรค 3
  5. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 6 วรรค 4
  6. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 7
  7. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 8 วรรค 1
  8. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญ) วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พุทธศักราช 2475
  9. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญ) วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พุทธศักราช 2475
  10. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 22 (สมัยสามัญ) วันอังคารที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2475
  11. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 22 (สมัยสามัญ) วันอังคารที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2475
  12. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม มาตรา 22