ข้ามไปเนื้อหา

ผู้วินิจฉัย 9

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้วินิจฉัย 9
หน้าของหนังสือผู้วินิจฉัยในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือผู้วินิจฉัย
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู2
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม (สัตตบรรณ)
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์7

ผู้วินิจฉัย 9 (อังกฤษ: Judges 9) เป็นบทที่ 9 ของหนังสือผู้วินิจฉัยในพันธสัญญาเดิมหรือคัมภีร์ฮีบรู[1] ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเขียนโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอล[2][3] แต่นักวิชาการสมัยใหม่มองว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สายเฉลยธรรมบัญญัติซึ่งครอบคลุมเรื่องราวตั้งแต่หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติถึงหนังสือพงศ์กษัตริย์ฉบับที่ 2 เชื่อว่าเขียนโดย เขียนโดยผู้เขียนศาสนายาห์เวห์ผู้รักชาติและศรัทธาในสมัยของโยสิยาห์กษัตริย์ยูดาห์นักปฏิรูปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 9 ของหนังสือผู้วินิจฉัยบันทึกถึงกิจกรรมของอาบีเมเลคบุตรชายของผู้วินิจฉัยกิเดโอน[5] อยู่ในส่วนที่ประกอบด้วยผู้วินิจฉัย 6 ถึง 9 และในส่วนที่ใหญ่กว่าคือตั้งแต่วินิจฉัย 6:1 ถึง 16:31[6]

ต้นฉบับ

[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 57 วรรค

พยานต้นฉบับ

[แก้]

บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895), ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 1Q6 (1QJudg; < 68 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 1–3, 5–6, 28–31, 40–43, 48–49[8][9][10][11]

สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[12][a]

วิเคราะห์

[แก้]

การศึกษาด้านภาษาศาสตร์โดยชิสโฮล์มเผยให้เห็นว่าเนื้อหาส่วนกลางของหนังสือผู้วินิจฉัย (ผู้วินิจฉัย 3:7–16:31) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงตาม 6 คำสร้อยที่กล่าวว่าชาวอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์:[14]

ช่วงที่ 1

A 3:7 ויעשו בני ישראל את הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์[15]
B 3:12 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
และคนอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก
B 4:1 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรของพระยาห์เวห์อีก

ช่วงที่ 2

A 6:1 ויעשו בני ישראל הרע בעיני יהוה
แล้วคนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรของพระยาห์เวห์
B 10:6 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก
B 13:1 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลได้ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก

นอกจากนี้จากหลักฐานทางภาษา คำกริยาที่ใช้อธิบายการที่พระเจ้าทรงตอบสนองต่อบาปของชาวอิสราเอลก็มีรูปแบบซ้ำ ๆ และสามารถจัดกลุ่มให้เข้ากับการแบ่งส่วนข้างต้น:[16]

ช่วงที่ 1

3:8 וימכרם, "ทรงขายพวกเขา," จากรากศัพท์ מָכַר, makar
3:12 ויחזק, "ทรงเสริมกำลัง" จากรากศัพท์ חָזַק, khazaq
4:2 וימכרם, "ทรงขายพวกเขา" จากรากศัพท์ מָכַר, makar

ช่วงที่ 2

6:1 ויתנם, "ทรงมอบพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ נָתַן, nathan
10:7 וימכרם, "ทรงขายพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ מָכַר, makar
13:1 ויתנם, "ทรงมอบพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ נָתַן, nathan

เรื่องราวของอาบีเมเลคแท้จริงแล้วเป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่องกับเรื่องราวของกิเดโอน ช่วยแก้ไขความซับซ้อนจำนวนหนึ่งในเรื่องราวของกิเดโอน[17]

ในเรื่องราวนี้เป็นเรื่องราวที่การทูลร้องทุกข์ของชาวอิสราเอลต่อพระยาห์เวห์ได้พบกับการทรงตำหนิิอย่างรุนแรงมากกว่าจะช่วยให้รอดในทันที ทั้งวงจรกล่าวถึงประเด็นเรื่องความไม่ซื่อสัตย์และความเสื่อมถอยทางศาสนา[17]

เรื่องราวของกิเดโอน (6:1–8:32) ประกอบด้วย 5 ส่วนตามเส้นร่วมศูนย์กลาง — มีความคล้ายคลึงระหว่างส่วนแรก (A) และส่วนที่ 5 (A') เช่นเดียวกับระหว่างส่วนที่ 2 (B) และส่วน 4 (B') ในขณะส่วนที่ 3 (C) อยู่โดด ๆ — สร้างรูปแบบสมมาตรดังนี้:[18]

A. อารัมภบทถึงกิเดโอน (6:1–10)
B. แผนช่วยให้รอดของพระเจ้าผ่านการทรงเรียกกิเดโอน—เรื่องราวของสองแท่นบูชา (6:11–32)
B1. แท่นบูชาแรก—การทรงเรียกและมอบหมายแก่กิเดโอน (6:11–24)
B2. แท่นบูชาที่สอง—การบุกเพื่อชำระบ้าน (6:25–32)
C. การฝ่าฟันเพื่อความเชื่อของตัวกิเดโอน (6:33–7:18)
a. กิเดโอนที่ได้รับการทรงสถิตของพระวิญญาณระดมพล 4 เผ่าเพื่อเตรียมรบกับชาวมีเดียนแม้ยังไม่มั่นใจในพระสัญญาของพระเจ้า (6:33–35)
b. กิเดโอนขอหมายสำคัญจากพระเจ้าด้วยขนแกะสองกลุ่มเพื่อยืนยันพระสัญญาที่ว่าพระยาห์เวห์จะทรงมอบชาวมีเดียนไว้ในมือของกิเดโอน (6:36-40)
c. เมื่อให้ชาวอิสราเอลที่หวาดกลัวกลับไป พระเจ้าทรงบัญชาให้กิเดโอนลงไปที่น้ำเพื่อลดกำลังพลของเขาลงไปอีก (7:1–8)
c'. ด้วยเหตุที่ตัวกิเดโอนยังรู้สึกกลัว พระเจ้าจึงทรงบัญชาให้กิเดโอนลงไปที่ค่ายศัตรูเพื่อฟังคำศัตรู (7:9–11)
b'. พระเจ้าประทานหมายสำคัญแก่กิเดโอนด้วยความฝันของชาวมีเดียน และการตีความความฝันเพื่อยืนยันพระสัญญาที่พระยาห์เวห์จะทรงมอบชาวมีเดียนไว้ในมือของกิเดโอน (7:12–14)
a'. กิเดโอนผู้มนัสการพระยาห์เวห์ได้ระดมพล 300 คนเข้าโจมตีชาวมีเดียนอย่างฉับพลันด้วยความมั่นใจเต็มเปี่ยมในพระสัญญาของพระเจ้า (7:15–18)
B'. การทรงช่วยให้รอดของพระเจ้าจากชาวมีเดียน—เรื่องราวของสองยุทธการ (7:19–8:21)
B1'. ยุทธการแรก (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน) (7:19–8:3)
B2'. ยุทธการที่สอง (ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน) (8:4–21)
A'. ปัจฉิมบทถึงกิเดโอน (8:22–32)

เรื่องเล่าของอาบีเมเลค (ผู้วินิจฉัย 8:33–9:5) ในฐานะบทต่อ (และเป็นบทสรุป) ของเรื่องเล่าของกิเดโอน (6:1–8:32) ประกอบด้วยอารัมภบท (8:33–35) ตามด้วยเนื้อเรื่อง 2 ส่วน:[19]

  1. ส่วนที่ 1: การผงาดขึ้นของอาบีเมเลค (9:1–24)
  2. ส่วนที่ 2: ความพินาศของอาบีเมเลค (9.25–57).

แต่ละส่วนประกอบด้วยส่วนย่อย 3 ส่วนพร้อมส่วนเชื่อมระหว่างส่วนย่อย จึงแสดงได้ดังโครงสร้างต่อไปนี้:[19]

อารัมบท (8:33–35)
ส่วนที่ 1: การผงาดขึ้นของอาบีเมเลค (9:1–24)
A. การทรยศของอาบีเมเลคต่อตระกูลเยรุบบาอัล (9:1–6)
B. อุปมาเรื่องต้นไม้ 4 ต้นของโยธามและคำแช่งมีเงื่อนไข (9:7–21)
a. อุปมา (9:7–15)
b. คำแช่ง (9:16–21)
C. ข้อยืนยันแรกของผู้เล่าเรื่อง (9:22–24)
ส่วนที่ 2: ความพินาศของอาบีเมเลค (9:25–57)
A. การทรยศ 2 องก์ของเชเคมต่ออาบีเมเลค (9:25–41)
B. การบรรลุผลของอุปมา: การปราบปรามสามองก์ของอาบีเมเลค (9:42–55)
a. การปราบปรามองก์แรก (9:42–45)
b. การปราบปรามองก์ที่สอง (9:46–49)
c. การปราบปรามองก์ที่สาม (9:50–55)
C ข้อยืนยันที่สองของผู้เล่าเรื่อง (9:56–57)

การผงาดขึ้นของอาบีเมเลค (9:1–24)

[แก้]

ความพินาศของอาบีเมเลค (9:25–57)

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: ผู้วินิจฉัย 6, ผู้วินิจฉัย 7, ผู้วินิจฉัย 8, 2 ซามูเอล 11
  • หมายเหตุ

    [แก้]
    1. หนังสือผู้วินิจฉัยทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[13]

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. Halley 1965, p. 172.
    2. Talmud, Baba Bathra 14b-15a)
    3. 3.0 3.1 Gilad, Elon. Who Really Wrote the Biblical Books of Kings and the Prophets? Haaretz, June 25, 2015. Summary: The paean to King Josiah and exalted descriptions of the ancient Israelite empires beg the thought that he and his scribes lie behind the Deuteronomistic History.
    4. Niditch 2007, p. 177.
    5. Niditch 2007, p. 183.
    6. Chisholm 2009, pp. 251–252.
    7. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    8. Ulrich 2010, pp. 256–257.
    9. Dead sea scrolls - Judges
    10. Fitzmyer 2008, p. 19.
    11. 1Q6 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
    12. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    13. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    14. Chisholm 2009, p. 251.
    15. Judges 3:7 Hebrew Text Analysis. Biblehub
    16. Chisholm 2009, p. 252.
    17. 17.0 17.1 Younger 2002, p. 167.
    18. Younger 2002, p. 167–168.
    19. 19.0 19.1 Younger 2002, p. 217.

    บรรณานุกรม

    [แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้]