ผู้วินิจฉัย 7
ผู้วินิจฉัย 7 | |
---|---|
หน้าของหนังสือผู้วินิจฉัยในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008) | |
หนังสือ | หนังสือผู้วินิจฉัย |
ภาคในคัมภีร์ฮีบรู | เนวีอีม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู | 2 |
หมวดหมู่ | ผู้เผยพระวจนะยุคต้น |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม (สัตตบรรณ) |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 7 |
ผู้วินิจฉัย 7 (อังกฤษ: Judges 7) เป็นบทที่ 7 ของหนังสือผู้วินิจฉัยในพันธสัญญาเดิมหรือคัมภีร์ฮีบรู[1] ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเขียนโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอล[2][3] แต่นักวิชาการสมัยใหม่มองว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สายเฉลยธรรมบัญญัติซึ่งครอบคลุมเรื่องราวตั้งแต่หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติถึงหนังสือพงศ์กษัตริย์ฉบับที่ 2 เชื่อว่าเขียนโดย เขียนโดยผู้เขียนศาสนายาห์เวห์ผู้รักชาติและศรัทธาในสมัยของโยสิยาห์กษัตริย์ยูดาห์นักปฏิรูปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 7 ของหนังสือผู้วินิจฉัยบันทึกถึงกิจกรรมของผู้วินิจฉัยกิเดโอน[5] อยู่ในส่วนที่ประกอบด้วยผู้วินิจฉัย 6 ถึง 9 และในส่วนที่ใหญ่กว่าคือตั้งแต่วินิจฉัย 6:1 ถึง 16:31[6]
ต้นฉบับ
[แก้]บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 25 วรรค
พยานต้นฉบับ
[แก้]บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895), ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7]
สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[8][a]
วิเคราะห์
[แก้]การศึกษาด้านภาษาศาสตร์โดยชิสโฮล์มเผยให้เห็นว่าเนื้อหาส่วนกลางของหนังสือผู้วินิจฉัย (ผู้วินิจฉัย 3:7–16:31) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงตาม 6 คำสร้อยที่กล่าวว่าชาวอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์:[10]
ช่วงที่ 1
- A 3:7 ויעשו בני ישראל את הרע בעיני יהוה
- คนอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์[11]
- B 3:12 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
- และคนอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก
- B 4:1 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
- คนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรของพระยาห์เวห์อีก
ช่วงที่ 2
- A 6:1 ויעשו בני ישראל הרע בעיני יהוה
- แล้วคนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรของพระยาห์เวห์
- B 10:6 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
- คนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก
- B 13:1 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
- คนอิสราเอลได้ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก
นอกจากนี้จากหลักฐานทางภาษา คำกริยาที่ใช้อธิบายการที่พระเจ้าทรงตอบสนองต่อบาปของชาวอิสราเอลก็มีรูปแบบซ้ำ ๆ และสามารถจัดกลุ่มให้เข้ากับการแบ่งส่วนข้างต้น:[12]
ช่วงที่ 1
- 3:8 וימכרם, "ทรงขายพวกเขา," จากรากศัพท์ מָכַר, makar
- 3:12 ויחזק, "ทรงเสริมกำลัง" จากรากศัพท์ חָזַק, khazaq
- 4:2 וימכרם, "ทรงขายพวกเขา" จากรากศัพท์ מָכַר, makar
ช่วงที่ 2
- 6:1 ויתנם, "ทรงมอบพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ נָתַן, nathan
- 10:7 וימכרם, "ทรงขายพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ מָכַר, makar
- 13:1 ויתנם, "ทรงมอบพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ נָתַן, nathan
เรื่องราวของอาบีเมเลคแท้จริงแล้วเป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่องกับเรื่องราวของกิเดโอน ช่วยแก้ไขความซับซ้อนจำนวนหนึ่งในเรื่องราวของกิเดโอน[13]
ในเรื่องราวนี้เป็นเรื่องราวที่การทูลร้องทุกข์ของชาวอิสราเอลต่อพระยาห์เวห์ได้พบกับการทรงตำหนิิอย่างรุนแรงมากกว่าจะช่วยให้รอดในทันที ทั้งวงจรกล่าวถึงประเด็นเรื่องความไม่ซื่อสัตย์และความเสื่อมถอยทางศาสนา[13]
เรื่องราวของกิเดโอน (6:1–8:32) ประกอบด้วย 5 ส่วนตามเส้นร่วมศูนย์กลาง — มีความคล้ายคลึงระหว่างส่วนแรก (A) และส่วนที่ 5 (A') เช่นเดียวกับระหว่างส่วนที่ 2 (B) และส่วน 4 (B') ในขณะส่วนที่ 3 (C) อยู่โดด ๆ — สร้างรูปแบบสมมาตรดังนี้:[14]
- A. อารัมภบทถึงกิเดโอน (6:1–10)
- B. แผนช่วยให้รอดของพระเจ้าผ่านการทรงเรียกกิเดโอน—เรื่องราวของสองแท่นบูชา (6:11–32)
- B1. แท่นบูชาแรก—การทรงเรียกและมอบหมายแก่กิเดโอน (6:11–24)
- B2. แท่นบูชาที่สอง—การบุกเพื่อชำระบ้าน (6:25–32)
- C. การฝ่าฟันเพื่อความเชื่อของตัวกิเดโอน (6:33–7:18)
- a. กิเดโอนที่ได้รับการทรงสถิตของพระวิญญาณระดมพล 4 เผ่าเพื่อเตรียมรบกับชาวมีเดียนแม้ยังไม่มั่นใจในพระสัญญาของพระเจ้า (6:33–35)
- b. กิเดโอนขอหมายสำคัญจากพระเจ้าด้วยขนแกะสองกลุ่มเพื่อยืนยันพระสัญญาที่ว่าพระยาห์เวห์จะทรงมอบชาวมีเดียนไว้ในมือของกิเดโอน (6:36-40)
- c. เมื่อให้ชาวอิสราเอลที่หวาดกลัวกลับไป พระเจ้าทรงบัญชาให้กิเดโอนลงไปที่น้ำเพื่อลดกำลังพลของเขาลงไปอีก (7:1–8)
- c'. ด้วยเหตุที่ตัวกิเดโอนยังรู้สึกกลัว พระเจ้าจึงทรงบัญชาให้กิเดโอนลงไปที่ค่ายศัตรูเพื่อฟังคำศัตรู (7:9–11)
- b'. พระเจ้าประทานหมายสำคัญแก่กิเดโอนด้วยความฝันของชาวมีเดียน และการตีความความฝันเพื่อยืนยันพระสัญญาที่พระยาห์เวห์จะทรงมอบชาวมีเดียนไว้ในมือของกิเดโอน (7:12–14)
- b. กิเดโอนขอหมายสำคัญจากพระเจ้าด้วยขนแกะสองกลุ่มเพื่อยืนยันพระสัญญาที่ว่าพระยาห์เวห์จะทรงมอบชาวมีเดียนไว้ในมือของกิเดโอน (6:36-40)
- a'. กิเดโอนผู้มนัสการพระยาห์เวห์ได้ระดมพล 300 คนเข้าโจมตีชาวมีเดียนอย่างฉับพลันด้วยความมั่นใจเต็มเปี่ยมในพระสัญญาของพระเจ้า (7:15–18)
- a. กิเดโอนที่ได้รับการทรงสถิตของพระวิญญาณระดมพล 4 เผ่าเพื่อเตรียมรบกับชาวมีเดียนแม้ยังไม่มั่นใจในพระสัญญาของพระเจ้า (6:33–35)
- B'. การทรงช่วยให้รอดของพระเจ้าจากชาวมีเดียน—เรื่องราวของสองยุทธการ (7:19–8:21)
- B1'. ยุทธการแรก (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน) (7:19–8:3)
- B2'. ยุทธการที่สอง (ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน) (8:4–21)
- B. แผนช่วยให้รอดของพระเจ้าผ่านการทรงเรียกกิเดโอน—เรื่องราวของสองแท่นบูชา (6:11–32)
- A'. ปัจฉิมบทถึงกิเดโอน (8:22–32)
ทัพสามร้อยคนของกิเดโอน (7:1–18)
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กิเดโอนชนะชาวมีเดียน (7:19–25)
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Halley 1965, p. 172.
- ↑ Talmud, Baba Bathra 14b-15a)
- ↑ 3.0 3.1 Gilad, Elon. Who Really Wrote the Biblical Books of Kings and the Prophets? Haaretz, June 25, 2015. Summary: The paean to King Josiah and exalted descriptions of the ancient Israelite empires beg the thought that he and his scribes lie behind the Deuteronomistic History.
- ↑ Niditch 2007, p. 177.
- ↑ Niditch 2007, p. 179.
- ↑ Chisholm 2009, pp. 251–252.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 35–37.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
- ↑ Chisholm 2009, p. 251.
- ↑ Judges 3:7 Hebrew Text Analysis. Biblehub
- ↑ Chisholm 2009, p. 252.
- ↑ 13.0 13.1 Younger 2002, p. 167.
- ↑ Younger 2002, p. 167–168.
บรรณานุกรม
[แก้]- Chisholm, Robert B. Jr. (2009). "The Chronology of the Book of Judges: A Linguistic Clue to Solving a Pesky Problem" (PDF). Journal of the Evangelical Theological Society. 52 (2): 247–55. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-08. สืบค้นเมื่อ 2024-01-30.
- Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-528881-0.
- Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
- Hayes, Christine (2015). Introduction to the Bible. Yale University Press. ISBN 978-0-300-18827-1.
- Niditch, Susan (2007). "10. Judges". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 176–191. ISBN 978-0-19-927718-6. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Webb, Barry G. (2012). The Book of Judges. New International Commentary on the Old Testament. Eerdmans Publishing Company. ISBN 978-0-8028-2628-2.
- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
- Younger, K. Lawson (2002). Judges and Ruth. The NIV Application Commentary. Zondervan. ISBN 978-0-310-20636-1.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คำแปลในศาสนายูดาห์:
- Shoftim - Judges - Chapter 7 (Judaica Press). Hebrew text and English translation [with Rashi's commentary] at Chabad.org
- คำแปลในศาสนาคริสต์:
- Online Bible at GospelHall.org (ESV, KJV, Darby, American Standard Version, Bible in Basic English)
- Judges chapter 7. Bible Gateway
- ผู้วินิจฉัย 7. YouVersion