นางรูธ 1
นางรูธ 1 | |
---|---|
นางรูธ 2 → | |
ม้วนหนังสือเขียนด้วยมือของหนังสือนางรูธโดยอาลักษณ์ Elihu Shannon แห่ง Kibbutz Saad, อิสราเอล (ราว ค.ศ. 2005) | |
หนังสือ | หนังสือนางรูธ |
ภาคในคัมภีร์ฮีบรู | Five Megillot |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู | 2 |
หมวดหมู่ | เคทูวีม |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 8 |
นางรูธ 1 (อังกฤษ: Ruth 1) เป็นบทแรกของหนังสือนางรูธในคัมภีร์ฮีบรูของพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเคทูวีม (ข้อเขียน)[3][4] บทที่ 1 ของหนังสือนางรูธประกอบด้วยเรื่องราวที่เอลีเมเลคพ่อบิดาของรูธหนีการกันดารอาหารมาอาศัยที่โมอับและเสียชีวิตที่นั่น (นางรูธ 1:1-5), นาโอมีกลับไปบ้านและรูธได้ติดตามไปด้วย (นางรูธ 1:6-18) แล้วพวกเธอก็มาถึงเบธเลเฮม (นางรูธ 1:19-22)[5]
ต้นฉบับ
[แก้]บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 22 วรรค
รูปแบบของต้นฉบับ
[แก้]บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูเป็น Masoretic Text ได้แก่ Aleppo Codex (ศตวรรษที่ 10) และ Codex Leningradensis (ค.ศ. 1008)[6] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4Q104 (4QRutha; ราว 50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 1–12[7][8][9] และ 4Q105 (4QRuthb; 30 ปีก่อนคริสตกาล- ค.ศ. 68) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 1‑6, 12‑15,[7][10][11] โดยมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยจาก Masoretic Text[12]
ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของเซปทัวจินต์ ได้แก่ There is also a translation into Koine Greek known as the Septuagint, made in the last few centuries BC. Extant ancient manuscripts of the Septuagint version include Codex Vaticanus (B; B; ศตวรรษที่ 4) และ Codex Alexandrinus (A; A; ศตวรรษที่ 5)[13][a]
ชุดสามเรื่องของเบธเลเฮม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรค 1
[แก้]- ในสมัยที่พวกผู้วินิจฉัยครอบครองอยู่นั้น เกิดกันดารอาหารขึ้นในแผ่นดิน มีชายคนหนึ่งเป็นชาวเมืองเบธเลเฮมในยูดาห์ ไปอาศัยอยู่ในดินแดนโมอับพร้อมกับภรรยาและบุตรชายสองคน[15]
- "ในสมัยที่พวกผู้วินิจฉัยครอบครองอยู่นั้น": แปลตรงตัวว่า "เมื่อผู้วินิจฉัยทำการวินิจฉัย"[16][17] เรื่องเล่าในหนังสือนางรูธเกิดขึ้นในช่วงต้นของยุคผู้วินิจฉัย แม้ว่าไม่สามารถระบุวันเวลาที่แน่ชัดได้[5]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรค 2
[แก้]- ชายคนนั้นชื่อเอลีเมเลค ภรรยาชื่อนาโอมี บุตรสองคนชื่อมาห์โลนและคิลิโอน เป็นชาวเอฟราธาห์จากเมืองเบธเลเฮมในยูดาห์ พวกเขาเดินทางเข้าไปในดินแดนโมอับและอาศัยอยู่ที่นั่น[18]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรค 3
[แก้]- แต่เอลีเมเลค สามีของนางนาโอมีตาย ทิ้งนางไว้กับบุตรชายทั้งสอง[19]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรค 4
[แก้]- บุตรชายสองคนนี้ แต่งงานกับหญิงชาวโมอับ คนหนึ่งชื่อว่าโอรปาห์ และอีกคนหนึ่งชื่อรูธ เขาทั้งหลายอยู่ที่นั่นประมาณสิบปี[20]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรค 5
[แก้]- แล้วมาห์โลนและคิลิโอนก็ตาย เหลือแต่นาโอมีที่ต้องอยู่อย่างไม่มีสามีและบุตรชายทั้งสอง[21]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรค 6
[แก้]- แล้วนางพร้อมกับบุตรสะใภ้ทั้งสอง ก็ลุกขึ้นเดินทางกลับจากดินแดนโมอับ เพราะว่าเมื่ออยู่ที่โมอับนั้น นางได้ยินว่า พระยาห์เวห์ได้ทรงเยี่ยมเยียนชนชาติของพระองค์ และประทานอาหารแก่เขาทั้งหลาย[22]
- "บุตรสะใภ้": จากภาษาฮีบรู כַּלּתֶיהָ - แปลตรงตัวว่า "เจ้าสาวของเธอ" มีความหมายว่า "เจ้าสาวของบุตรชายของเธอ"[16]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรค 16
[แก้]- แต่รูธตอบว่า "ขอแม่อย่าวิงวอนให้ลูกจากแม่หรือเลิกตามแม่กลับไปเลย เพราะแม่จะไปไหนลูกจะไปด้วย และแม่จะอาศัยอยู่ที่ไหนลูกก็จะอยู่ที่นั่นด้วย ชนชาติของแม่จะเป็นชนชาติของลูก และพระเจ้าของแม่ก็จะเป็นพระเจ้าของลูก"[23]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรค 20
[แก้]- นาโอมีตอบเขาว่า "ขออย่าเรียกฉันว่านาโอมีเลย ขอเรียกฉันว่า มาราเถอะ เพราะว่าองค์ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ได้ทรงทำให้ชีวิตฉันขมขื่นยิ่งนัก"[24]
- "มารา": มีความหมายว่า "ขม" (ตรงข้ามกับชื่อ "นาโอมี" ที่มีความหมายว่า "หวาน" หรือ "ยินดี") ซึ่งสะท้อนถึงความทุกข์ยากในปัจจุบันของนาโอมี[16]
- "องค์ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์" - שׁדי shadday (ดูปฐมกาล 17:1 ) พระนามนี้แทบจะเป็นลักษณะเฉพาะในเบญจบรรณและหนังสือโยบ นอกจากยังปรากฏอีกเพียง 2 ครั้งในหนังสือเพลงสดุดีและ 4 ครั้งในหนังสือของผู้เผยพระวจนะ[25]
วรรค 21
[แก้]- "เมื่อฉันจากเมืองนี้ไป ฉันมีทุกอย่างครบบริบูรณ์ พระยาห์เวห์ทรงพาฉันกลับมาตัวเปล่า จะเรียกฉันว่านาโอมีทำไมเล่า? ในเมื่อพระยาห์เวห์ทรงให้ฉันทุกข์ใจ และองค์ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ทรงให้ฉันต้องประสบเหตุร้ายเช่นนี้"[26]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรค 22
[แก้]- ดังนั้นนาโอมีพร้อมกับรูธบุตรสะใภ้ชาวโมอับก็กลับมาจากดินแดนโมอับ และเขาทั้งสองมายังเมืองเบธเลเฮมในต้นฤดูเกี่ยวข้าวบาร์เลย์[27]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ หนังสือนางรูธทั้งเล่มขาดหายไปจาก Codex Sinaiticus ที่หลงเหลืออยู่[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Collins 2014.
- ↑ Hayes 2015.
- ↑ Metzger, Bruce M., et al. The Oxford Companion to the Bible. New York: Oxford University Press, 1993.
- ↑ Bruce C. Birch, Thomas B. Dozeman, Nancy Kaczmarczyk . 1998. The New Interpreter's Bible: Volume:II. Nashville: Abingdon.
- ↑ 5.0 5.1 Robert Jamieson, Andrew Robert Fausset; David Brown. Jamieson, Fausset, and Brown's Commentary On the Whole Bible. 1871. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Würthwein 1995, pp. 36–37.
- ↑ 7.0 7.1 Dead sea scrolls - Ruth
- ↑ Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill. pp. 735. ISBN 9789004181830. สืบค้นเมื่อ May 15, 2017.
- ↑ Fitzmyer, Joseph A. (2008). A Guide to the Dead Sea Scrolls and Related Literature. Grand Rapids, MI: William B. Eerdmans Publishing Company. p. 42. ISBN 9780802862419. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019.
- ↑ Fitzmyer 2008, p. 42.
- ↑ Ulrich 2010, p. 736.
- ↑ Emmerson 2007, p. 192.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ Shepherd, Michael (2018). A Commentary on the Book of the Twelve: The Minor Prophets. Kregel Exegetical Library. Kregel Academic. p. 13. ISBN 978-0825444593.
- ↑ นางรูธ 1:1 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน (THSV11)
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Joseph S. Exell; Henry Donald Maurice Spence-Jones (Editors). The Pulpit Commentary. 23 volumes. First publication: 1890. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Note [a] on Ruth 1:1 in NKJV.
- ↑ นางรูธ 1:2 THSV11
- ↑ นางรูธ 1:3 THSV11
- ↑ นางรูธ 1:4 THSV11
- ↑ นางรูธ 1:5 THSV11
- ↑ นางรูธ 1:6 THSV11
- ↑ นางรูธ 1:16 THSV11
- ↑ นางรูธ 1:20 THSV11
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbarnes
- ↑ นางรูธ 1:21 THSV11
- ↑ นางรูธ 1:22 THSV11
บรรณานุกรม
[แก้]- Collins, John J. (2014). Introduction to the Hebrew Scriptures. Fortress Press. ISBN 9781451469233.
- Emmerson, Grace I. (2007). "11. Ruth". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 192–195. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Hayes, Christine (2015). Introduction to the Bible. Yale University Press. ISBN 978-0300188271.
- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คำแปลในศาสนายูดาห์:
- คำแปลในศาสนาคริสต์: