ข้ามไปเนื้อหา

ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปปั้นเติ้ง เสี่ยวผิงในสวนเหลียนฮฺวาชานในเชินเจิ้น
ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง
อักษรจีนตัวย่อ拨乱反正
อักษรจีนตัวเต็ม撥亂反正

ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง (จีนตัวย่อ: 拨乱反正; จีนตัวเต็ม: 撥亂反正; แปลตรงตัว: "ขจัดความวุ่นวายและกลับสู่ปกติ"; แปลว่า จัดการสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้อง) หมายถึงช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปทางสังคมและการเมืองที่สำคัญที่เริ่มตั้งแต่การขึ้นสู่อำนาจของเติ้ง เสี่ยวผิงในฐานะผู้นำสูงสุดของจีนแทนที่ฮฺว่า กั๋วเฟิง ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจของเหมา เจ๋อตงก่อนที่เหมาจะถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1976 ในช่วงเวลานี้ เติ้งและพันธมิตรของเขาได้ดำเนินการปฏิรูปครั้งใหญ่เพื่อ "แก้ไขข้อผิดพลาดของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม" และฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยในประเทศ[1][2] การเริ่มต้นยุค ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง ถือเป็นจุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์จีน โดยการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมได้รับการพิสูจน์ในภายหลังว่าเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับการปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศ[3][4] ดังนั้น จึงมีการนำเอาลักษณะบางประการของระบบทุนนิยมตลาดเข้ามาสู่เศรษฐกิจจีนได้สำเร็จ นำไปสู่การเกิดช่วงเวลาแห่งการเติบโตที่มักถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่น่าประทับใจที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ[5][6][7]

เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้ซึ่งเคยขึ้น ๆ ลง ๆ ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมได้กล่าวถึงแนวคิดของ ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง เป็นครั้งแรกต่อสาธารณชนในเดือนกันยายน ค.ศ. 1977 ประมาณหนึ่งปีหลังการถึงแก่อสัญกรรมของเหมาและการจับกุมแก๊งออฟโฟร์[8][9] ด้วยความช่วยเหลือจากพันธมิตร เช่น หู เย่าปัง ผู้ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค เติ้งจึงสามารถเปิดตัวการปฏิรูปของตนได้หลังการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978 ซึ่งเป็นช่วงที่เขาก้าวขึ้นสู่บทบาทผู้นำสูงสุด[10][11][12] พรรคคอมมิวนิสต์จีน (พคจ.) และรัฐบาลจีนค่อย ๆ ยุตินโยบายต่าง ๆ ของลัทธิเหมาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรม และฟื้นฟูชื่อเสียงให้แก่ผู้คนหลายล้านคนที่ตกเป็นเป้าหมายในช่วงทศวรรษแห่งความวุ่นวายนั้น[13][10] ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง ดำเนินมาจนถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 หลังจากนั้นพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาลจีนได้เปลี่ยนจุดเน้นหลักจาก "การต่อสู้ระหว่างชนชั้น" ไปสู่การมุ่งเน้นการปฏิรูปให้ทันสมัยและ "การสร้างเศรษฐกิจ" อย่างจริงจังมากขึ้น[14][15] ความเร็วของการเปลี่ยนแปลงของจีนในช่วงเวลานี้ จากประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งมาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกนั้นไม่มีประเทศใดเทียบได้ในประวัติศาสตร์[16]: 11  นอกจากนี้ "การอภิปรายเกณฑ์ความจริง ค.ศ. 1978" ในช่วงยุค ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง ถือเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการตรัสรู้ใหม่ซึ่งกินเวลานานถึงทศวรรษในจีนแผ่นดินใหญ่[17][18]

อย่างไรก็ตาม ในยุค ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง ก็มีประเด็นขัดแย้งเกิดขึ้นมากมาย เช่น การจัดการกับมรดกของเหมาและการปฏิวัติทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับความโหดร้ายในช่วงเวลานั้นอย่างเบาบาง รวมทั้งการบรรจุ " หลักสำคัญสี่ประการ" ลงในรัฐธรรมนูญของประเทศ ซึ่งยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบพรรคเดียวในจีน[19][20] พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงไม่เปิดเผยเอกสารจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ทำให้การศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการและการพูดคุยอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวในสังคมจีนเป็นไปได้ยาก เพราะมีความกังวลว่าจะเผชิญกับการกดดันจากรัฐ[21][22] เมื่อไม่นานมานี้ มีความกังวลเกี่ยวกับการกัดกร่อนที่อาจเกิดขึ้นของการปฏิรูปในยุคนั้น และการปกครองแบบเผด็จการที่เข้มงวดขึ้นภายใต้สี จิ้นผิง ผู้ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคใน ค.ศ. 2012[23][24][25][26]

ศัพท์มูลวิทยา

[แก้]

คำว่า ปั่วล่วนฝ่านเจิ้ง (拨乱反正) เป็นสำนวนวรรณคดีจีน (เฉิงยฺหวี่) ที่อ้างถึงบรรทัดหนึ่งในอรรถกถากงหยางในพงศาวดารชุนชิวของจีนโบราณ[27] สำนวนนี้แปลแบบตรงตัวได้ว่า "แก้ไขความวุ่นวายและกลับคืนสู่ปกติ"[1][2][27][28]

เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1977 เติ้ง เสี่ยวผิงได้เสนอแนวคิดของ "ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง" เป็นครั้งแรกในการประชุมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการของจีน โดยขอให้เจ้าหน้าที่แก้ไขข้อผิดพลาดของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในด้านการศึกษา[8]

อุดมการณ์

[แก้]

การอภิปรายเกี่ยวกับเกณฑ์การทดสอบความจริง

[แก้]
ภายในอดีตที่พำนักของหู เย่าปัง

หลังเหมา เจ๋อตงถึงแก่อสัญกรรมในเดือนกันยายน ค.ศ. 1976 ฮฺว่า กั๋วเฟิงได้สืบทอดตำแหน่งประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางต่อจากเหมา ฮฺว่าดำเนินนโยบายตามลัทธิเหมาเป็นส่วนใหญ่และยึดหลักการ "สองสิ่งใดก็ตาม" ("ไม่ว่าประธานเหมาจะพูดอะไร เราจะพูดตาม และไม่ว่าประธานเหมาจะทำอะไร เราจะทำตาม")[29][30]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1977 ด้วยการสนับสนุนจากบรรดาผู้นำระดับสูงที่มีอิทธิพลหลายคน เช่น เย่ เจี้ยนอิง และเฉิน ยฺหวิน เติ้ง เสี่ยวผิงได้รับการฟื้นฟูชื่อเสียงอย่างเป็นทางการและได้รับแต่งตั้งกลับคืนสู่ตำแหน่งรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรองนายกรัฐมนตรีจีน หลังถูกกวาดล้าง (ถึงสองครั้ง) โดยเหมาในระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[31][32] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1978 เติ้งร่วมกับหู เย่าปังและพันธมิตรคนอื่น ๆ ได้ริเริ่มการอภิปรายครั้งใหญ่ภายในสังคมจีน เพื่อหารือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการทดสอบความจริงและวิพากษ์วิจารณ์อุดมการณ์ของ "สองสิ่งใดก็ตาม"[33] เติ้งและพันธมิตรให้การสนับสนุนปรัชญาที่ว่า "การปฏิบัติเป็นเกณฑ์เดียวในการทดสอบความจริง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกในบทความที่ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์กวางหมิงเป้า (Guangming Daily) ในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1978 และได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากประชาชนจีน[33][34][35][36] การอภิปรายครั้งนี้ยังก่อให้เกิด "ขบวนการตรัสรู้ใหม่" ขนาดใหญ่ในจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งดำเนินมายาวนานกว่าทศวรรษ โดยส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย มนุษยนิยม และค่านิยมสากล เช่น สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ[17][18]

วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1978 เติ้งได้กล่าวสุนทรพจน์ในการปิดการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 ซึ่งในโอกาสนี้เขาได้เข้ามาแทนที่ฮฺว่าในฐานะผู้นำสูงสุดคนใหม่ของจีน[37][38] ในสุนทรพจน์ของเขาที่มีชื่อว่า ปลดปล่อยจิตใจ แสวงหาความจริงจากข้อเท็จจริง และร่วมกันมองสู่อนาคต (解放思想,实事求是,团结一致向前看) เติ้งได้กระตุ้นสังคมจีนให้แสวงหาความจริงจากข้อเท็จจริงและชี้ให้เห็นว่าหากพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประเทศ และประชาชนยังคงยึดมั่นในลัทธิเหมาด้วยความดื้อดึงและความเชื่ออันไร้เหตุผล พวกเขาก็จะไม่มีวันก้าวไปข้างหน้าและจะต้องพินาศ[39][40][41][42]

ทำให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมเป็นโมฆะ

[แก้]
เจียง ชิง ภรรยาของเหมา เจ๋อตงและสมาชิกคนสำคัญของแก๊งออฟโฟร์[43]

วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1976 เหมา เจ๋อตงถึงแก่อสัญกรรม ณ กรุงปักกิ่ง และในวันที่ 6 ตุลาคม ปีเดียวกัน ฮฺว่า กั๋วเฟิง ร่วมกับเย่ เจี้ยนอิง วัง ตงซิงและคณะได้จับกุมแก๊งออฟโฟร์ในการก่อรัฐประหารทางการเมืองที่โถงหฺวายเหริน ทำให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมยุติลง[44][45] อย่างไรก็ตาม หลังจากฮฺว่ากลายเป็นผู้นำสูงสุดคนใหม่ของจีนต่อจากเหมา เขาก็ยังคงดำเนินตามนโยบายลัทธิเหมาและยึดมั่นในแนวปฏิบัติ "สองสิ่งใดก็ตาม" โดยไม่ทำให้การปฏิวัติวัฒนธรรมเป็นโมฆะ[29][30]

หลังเติ้งได้รับชัยชนะในการต่อสู้แย่งชิงอำนาจเหนือฮฺว่าและกลายเป็นผู้นำสูงสุดคนใหม่ของจีนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978 เขากับพันธมิตรก็ได้เริ่มดำเนินการตามโครงการปัวล่วนฝ่านเจิ้งอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[37][38]

ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา เติ้งและพันธมิตรได้ค่อย ๆ รื้อแนวทาง "การต่อสู้ระหว่างชนชั้นที่ต่อเนื่อง" ของลัทธิเหมา และเปลี่ยนจุดเน้นของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาลจีนไปที่ "การสร้างเศรษฐกิจ" เช่นเดียวกับ "การปฏิรูปให้ทันสมัย"[14][46][15] ใน ค.ศ. 1980–81 ท้ายที่สุด ฮฺว่าลาออกจากตำแหน่งประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง และนายกรัฐมนตรี[47] เติ้งขึ้นดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางคนใหม่ ขณะเดียวกันพันธมิตรคนสนิทอีกสองคนของเขาก็เข้ารับอีกสองตำแหน่ง คือ หู เย่าปัง ขึ้นเป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนใหม่ และจ้าว จื่อหยาง ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่[48][49]

ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980 ถึง 25 มกราคม ค.ศ. 1981 ศาลพิเศษภายใต้ศาลประชาชนสูงสุดได้ดำเนินการพิจารณาคดีแก๊งออฟโฟร์และบุคคลอื่น ๆ อีก 6 คน ซึ่งท้ายที่สุดได้มีการตัดสินให้ประหารชีวิตโดยรอลงอาญา 2 ปีสำหรับเจียง ชิงและจาง ชุนเฉียว และจำคุกในระยะเวลาต่างกันจนถึงตลอดชีวิตสำหรับสมาชิกคนอื่น ๆ[50][51]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2524 ในการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 เหล่าผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ใน "มติเกี่ยวกับบางประเด็นในประวัติศาสตร์พรรคของเรานับแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน"[52][53] มติดังกล่าวถูกร่างขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของเติ้งและทำให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมเป็นโมฆะอย่างเป็นทางการโดยเรียกว่าเป็น "ความหายนะภายในประเทศที่ผู้นำ (เหมา เจ๋อตง) ก่อขึ้นโดยไม่ตั้งใจ และถูกกลุ่มต่อต้านปฏิวัติ (หลิน เปียวและแก๊งออฟโฟร์) ฉวยโอกาส" และว่า "การปฏิวัติทางวัฒนธรรมเป็นสาเหตุของการถดถอยอย่างรุนแรงและความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดที่พรรค ประเทศ และประชาชนต้องเผชิญนับแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน[28][52][53][54]

การเมืองและกฎหมาย

[แก้]

การฟื้นฟูชื่อเสียงเหยื่อ

[แก้]
หู เย่าปัง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้น ได้ช่วยเติ้ง เสี่ยวผิงเปิดตัวโครงการปัวล่วนฝ่านเจิ้ง และได้รับการสนับสนุนจากเติ้งในการดูแลการฟื้นฟูชื่อเสียงเหยื่อนับล้านคนที่ถูกข่มเหงในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[55]

ในช่วงปัวล่วนฝ่านเจิ้ง หู เย่าปัง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้น ได้รับการสนับสนุนจากเติ้งและผู้นำคนอื่น ๆ ให้รับผิดชอบการฟื้นฟูชื่อเสียงและคืนความเป็นธรรมให้แก่ผู้ตกเป็นเหยื่อในสิ่งที่เรียกว่า "คดีที่ไม่ยุติธรรม เป็นเท็จ และผิดพลาด" (冤假错案) นับตั้งแต่การรณรงค์ต่อต้านฝ่ายขวาใน ค.ศ. 1957[55][56][57][58] ภายในเวลาไม่กี่ปีหลัง ค.ศ. 1978 ผู้ตกเป็นเหยื่อจากกรณีดังกล่าวจำนวนกว่า 3 ล้านคนได้รับการฟื้นฟู[59] อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วยังคงมี "พวกขวาจัด" ประมาณ 100 คนที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะจาง ปั๋วจฺวิน, หลัว หลงจี, ฉู่ อันผิง และคนอื่น ๆ[60]

นอกเหนือจาก "พวกขวาจัด" ซึ่งเป็นหนึ่งใน "ห้าจำพวกดำ" แล้ว คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตัดสินใจให้ยกเลิกจำพวกทางสังคมที่ถูกเลือกปฏิบัติอีกสี่จำพวกในเดือนมกราคม ค.ศ. 1979[61] ตามสถิติอย่างเป็นทางการ ภายใน ค.ศ. 1984 มีผู้ที่ถูกจัดว่าเป็น "เจ้าของที่ดิน" และ "ชาวนาที่ร่ำรวย" ประมาณ 4.4 ล้านคนได้รับการฟื้นฟู และมีประชาชนทั้งหมดกว่า 20 ล้านคนที่ถูกตราหน้าว่าเป็นสมาชิกของ "สี่จำพวกดำ" หรือครอบครัวของพวกเขาได้รับการแก้ไขสถานะทางสังคม[61]

การประชุมดูความดิ้นรนของจอมพล เผิง เต๋อหวย ผู้ซึ่งถูกข่มเหงจนเสียชีวิตในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ต่อมาเขาได้รับการฟื้นฟูหลังเสียชีวิตในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978[62]

บุคคลสำคัญบางส่วนที่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเป็นทางการในช่วงปัวล่วนฝ่านเจิ้ง มีรายชื่ออยู่ด้านล่าง การฟื้นฟูของบุคคลสำคัญเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนและกำกับดูแลโดยเติ้ง เสี่ยวผิง, เฉิน ยฺหวิน, หู เย่าปัง และผู้นำระดับสูงคนอื่น ๆ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[55][58][63]

รัฐธรรมนูญของจีน

[แก้]
ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม หนังสือเล่มเล็กแดง ซึ่งรวบรวมคติพจน์ของประธานเหมา เจ๋อตง ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้ลัทธิบูชาบุคคลของเหมาถึงจุดสูงสุด ในช่วงเวลานั้น รัฐธรรมนูญและนิติธรรมของจีนถูกละเลยอย่างมาก[64]

รัฐธรรมนูญฉบับแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน รู้จักกันทั่วไปว่า "รัฐธรรมนูญ 1954" มีผลบังคับใช้ใน ค.ศ. 1954 อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1958 เหมา เจ๋อตงได้สนับสนุน "การปกครองของคน" มากกว่า "นิติธรรม" อย่างเปิดเผย[65] โดยกล่าวว่า:[66][67]

เราไม่สามารถปกครองประชาชนส่วนใหญ่ได้โดยอาศัยกฎหมายเพียงอย่างเดียว ประชาชนส่วนใหญ่ [สามารถปกครองได้] โดยอาศัยการปลูกฝัง [คุณธรรม] เท่านั้น การพึ่งนิติธรรมในการปกครองกองทัพนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ สิ่งที่ได้ผลจริง ๆ คือการประชุม 1,400 คน ใครจะจำข้อกฎหมายแพ่งหรืออาญาได้มากโขขนาดนั้น? แม้แต่ตัวข้าพเจ้าเองที่มีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญ ยังไม่สามารถจำ [รัฐธรรมนูญ] ได้เลย

ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม รัฐธรรมนูญของจีนได้ถูกแก้ไขใน ค.ศ. 1975 และรัฐธรรมนูญฉบับที่สองซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "รัฐธรรมนูญ 1975" ได้นำเอาลัทธิเหมาและศัพท์ เช่น "การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างเบ็ดเสร็จ" มาบรรจุไว้ในเนื้อหาหลัก[68][69] รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังรวมคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับองค์กรพรรคคอมมิวนิสต์จีนและยกเลิกตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงรวมถึงประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน[68][69]

หลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรมสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1976 ไม่นาน โดยยึดตามแนวทาง "สองสิ่งใดก็ตาม" ของฮฺว่า กั๋วเฟิง จึงได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่สาม (หรือที่รู้จักในชื่อ รัฐธรรมนูญ 1978) ใน ค.ศ. 1978[70] แม้ว่าถ้อยคำบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรมจะถูกตัดออกจากรัฐธรรมนูญ 1978 แต่เนื้อหาส่วนใหญ่จากรัฐธรรมนูญ 1975 ยังคงอยู่ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ รวมถึงการยอมรับ "ความสำเร็จ" ของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมและถ้อยคำที่ชัดเจนเช่น "การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน" ในประเทศจีน[71]

อย่างไรก็ตาม ในช่วง ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง เติ้ง เสี่ยวผิงได้กล่าวสุนทรพจน์สำคัญเรื่อง "การปฏิรูประบบผู้นำพรรคและรัฐ" (党和国家领导制度改革) ในวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1980 ต่อสภาประชาชนแห่งชาติว่าจีนจำเป็นปฏิรูปการเมืองและแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเป็นระบบ[72][73] เติ้งชี้ให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องสามารถคุ้มครองสิทธิพลเมืองของชาวจีนและต้องแสดงให้เห็นถึงหลักการแยกใช้อำนาจ เขายังกล่าวถึงแนวคิด "การนำร่วม" โดยสนับสนุนให้มีการ "หนึ่งคน หนึ่งเสียง" ในหมู่ผู้นำระดับสูงเพื่อหลีกเลี่ยงการผูกขาดอำนาจโดยเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน[72][73] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982 สภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 5 ได้มีมติผ่านรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนฉบับที่ 4 (หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ "รัฐธรรมนูญ 1982") ซึ่งสะท้อนถึงรัฐธรรมนูญนิยมแบบจีน และเนื้อหาส่วนใหญ่ยังคงมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบัน[74][75] หากเทียบกับฉบับก่อนหน้า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญบางประการในรัฐธรรมนูญ 1982 มีดังนี้

  • ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เช่น "การปฏิวัติอย่างต่อเนื่องภายใต้ระบอบเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ" ถูกตัดออก
  • คำอธิบายเกี่ยวกับองค์กรของพรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกลบออก
  • ข้อความที่ระบุว่า "ประเทศอยู่ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน" ถูกตัดออก แต่ต่อมาถูกนำกลับมาใช้โดยสี จิ้นผิงใน ค.ศ. 2018[76]
  • มีการเพิ่มข้อความที่ระบุว่า "หน่วยงานของรัฐ กองทัพ พรรค องค์กรสาธารณะ รวมถึงรัฐวิสาหกิจและกิจการทั้งหมดต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย"[77]
  • ตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ โดยมีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง 2 สมัย สมัยละ 5 ปีติดต่อกัน แม้ว่าภายหลังสี จิ้นผิง จะยกเลิกข้อจำกัดเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งใน ค.ศ. 2018[78][79]

วิชาการและการศึกษา

[แก้]

นักวิทยาศาสตร์และปัญญาชน

[แก้]
เหยา ถงปิน นักวิทยาศาสตร์ด้านขีปนาวุธชาวจีนผู้มีชื่อเสียง ซึ่งถูกทำร้ายจนเสียชีวิตในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ได้รับการยอมรับให้เป็น "มรณสักขี" ในยุคปัวล่วนฝ่านเจิ้ง[80]

ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม บุคคลในแวดวงวิชาการและปัญญาชนถูกตราหน้าว่าเป็น "ค่านิยมเก่าทั้งเก้าที่เน่าเฟะ" และถูกกดขี่ข่มเหงอย่างกว้างขวาง[81] บุคคลสำคัญในแวดวงวิชาการ วิทยาศาสตร์ และการศึกษาที่เสียชีวิตเนื่องจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ได้แก่ สฺยง ชิ่งไหล, เจี่ยน ปั๋วจ้าน, เหล่า เช่อ, เถียน ฮั่น, ฟู่ เหลย์, อู๋ หัน, เหรา ยฺวี่ไท่, อู๋ ติ้งเหลียง, เหยา ถงปิน และจ้าว จิ่วจาง[82] ณ ค.ศ. 1968 ในบรรดาคณาจารย์อาวุโส 171 คนประจำสำนักงานใหญ่สถาบันวิทยาศาสตร์จีน กรุงปักกิ่ง มีผู้ถูกข่มเหงถึง 131 คน และเมื่อพิจารณาในภาพรวมทั่วประเทศพบว่ามีสมาชิกสถาบันฯ เสียชีวิตจากการถูกข่มเหงถึง 229 คน[83] ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 1971 พนักงานกว่า 4,000 คนในศูนย์นิวเคลียร์ของจีนในมณฑลชิงไห่ถูกข่มเหง ในจำนวนนี้ฆ่าตัวตาย 40 คน ถูกประหารชีวิต 5 คน และพิการถาวร 310 คน[84]

ในช่วงปั่วล่วนฝ่านเจิ้ง เติ้ง เสี่ยวผิงเป็นผู้นำการฟื้นฟูชื่อเสียงให้แก่เหล่านักวิทยาศาสตร์และปัญญาชนที่ถูกกดขี่ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[85] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1978 เติ้งได้เน้นย้ำในการประชุมวิทยาศาสตร์แห่งชาติว่าปัญญาชนเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นแรงงาน และหัวใจสำคัญของการปฏิรูปประเทศคือการปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[86][87] ต่อมา เขายังได้เน้นย้ำด้วยว่าผู้มีความรู้และความสามารถนั้นสมควรได้รับการเคารพยกย่อง ในขณะเดียวกันความคิดที่ผิด เช่น การไม่เคารพปัญญาชน ก็ต้องถูกต่อต้าน[87] หนึ่งในคำกล่าวอันโดดเด่นของเติ้งคือ "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคือกำลังการผลิตหลัก"[88][89]

นับตั้งแต่ยุคปัวล่วนฝ่านเจิ้ง เป็นต้นมา วรรณกรรมใหม่หลายแนวได้เกิดขึ้น เช่น วรรณกรรมแผลในใจ วรรณกรรมเชิงไตร่ตรอง (反思文学) และวรรณกรรมการปฏิรูป (改革文学)[28][90]

ระบบการศึกษา

[แก้]

ระบบการศึกษาของจีนแทบจะหยุดชะงักไปในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ในช่วงแรกของการปฏิวัติ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างถูกปิดทำการ โรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาบางส่วนได้เปิดทำการอีกครั้งในภายหลัง แต่โรงเรียนอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยทั้งหมดถูกปิดทำการจนถึง ค.ศ. 1970 และส่วนใหญ่ยังคงปิดทำการจนถึง ค.ศ. 1972[91] หลัง ค.ศ. 1966 การสอบเข้ามหาวิทยาลัยถูกยกเลิกและแทนที่ด้วยระบบใหม่ที่ให้นักเรียนได้รับการคัดเลือกโดยโรงงาน หมู่บ้าน และหน่วยงานทหาร[92] ค่านิยมต่าง ๆ ที่สอนกันในระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมถูกละทิ้ง ใน ค.ศ 1968 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ริเริ่มขบวนการลงสู่ชนบท ซึ่งส่ง "เยาวชนที่มีการศึกษา" จากเขตเมืองไปยังชนบทเพื่อให้ชาวนาช่วยอบรมสั่งสอนและเพื่อให้เยาวชนเหล่านี้เข้าใจบทบาทของแรงงานเกษตรในสังคมจีนอย่างถ่องแท้

ใน ค.ศ. 1977 ตามข้อเสนอแนะของจา เฉวียนซิ่ง และเวิน ยฺเหวียนไข่ เติ้ง เสี่ยวผิงได้ฟื้นฟูการสอบเข้ามหาวิทยาลัยระดับชาติ (เกาเข่า) ขึ้นมาใหม่หลังจากที่หยุดชะงักไปสิบปีในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ส่งผลให้ระบบการศึกษาขั้นสูงของจีนกลับมาฟื้นฟูอีกครั้งและเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนนับล้าน[93][94][95] เติ้งมองว่าวิทยาศาสตร์และการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของการปฏิรูปสี่ประการของจีน[94][96] มีการเสนอระบบการศึกษาภาคบังคับในช่วงปัวล่วนฝ่านเจิ้ง และด้วยการสนับสนุนของเติ้งและคณะ การศึกษาภาคบังคับจึงถูกบรรจุลงใน "รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1982" และในที่สุดประเทศจีนก็ได้บัญญัติกฎหมายการศึกษาภาคบังคับ 9 ปีใน ค.ศ. 1986 (กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี)[93][97] ใน ค.ศ. 1985 ตามคำแนะนำของจ้าว จื่อหยาง นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สภาประชาชนแห่งชาติได้กำหนดให้ "วันที่ 10 กันยายน" ของทุกปีเป็นวันครูแห่งชาติ[98]

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เฉิน เฉิ่งเชิน นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายจีนชื่อดัง เคยเสนอแนะต่อเติ้งให้เพิ่มเงินเดือนขั้นพื้นฐานของอาจารย์ในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยให้เพิ่มเงินเดือนเดือนละ 100 หยวน และข้อเสนอนี้ได้รับการอนุมัติจากเติ้งในไม่ช้า[99]

ข้อโต้แย้ง

[แก้]

มุมมองเกี่ยวกับเหมา เจ๋อตง

[แก้]
การคงภาพของเหมา เจ๋อตงไว้ที่เทียนอันเหมินเป็นหนึ่งในประเด็นขัดแย้งหลักหลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม

มีการโต้แย้งว่าโครงการ ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง ที่เติ้ง เสี่ยวผิงริเริ่มนั้นมีทั้งข้อจำกัดและข้อขัดแย้ง โดยเฉพาะการบรรจุ "หลักสำคัญสี่ประการ" ลงในรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1982 ซึ่งห้ามพลเมืองจีนท้าทายเส้นทางสังคมนิยมของจีน ลัทธิเหมา ลัทธิมากซ์–เลนิน รวมถึงการนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[100][101]

การสร้างสุสานของเหมา เจ๋อตงบนจัตุรัสเทียนอันเหมินและการคงภาพของเหมาไว้บนเทียนอันเหมินก็เป็นประเด็นที่ถกเถียงเช่นกัน[102][103] ยิ่งไปกว่านั้น นักวิชาการบางคนได้ชี้ให้เห็นว่า เติ้ง เสี่ยวผิงเองก็ได้เปิดเผยถึงข้อจำกัดในความเข้าใจของเขาเกี่ยวกับเหมาและระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งสามารถเห็นได้จากตัวอย่างเช่น เมื่อเติ้งยืนยันว่าในบรรดาสิ่งที่เหมาได้กระทำต่อชาวจีนทั้งหมดนั้น "70% เป็นสิ่งดี และ 30% เป็นสิ่งไม่ดี" ในขณะที่ปฏิเสธความรับผิดชอบต่อภัยพิบัติมากมายในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมโดยกล่าวโทษหลิน เปียวและแก๊งออฟโฟร์[19][102][104]

หลังถึงแก่อสัญกรรม เหมาถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งไปทั่วโลก ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 นักเคลื่อนไหวทางการเมืองในจีน เช่น เว่ย์ จิงเชิง ได้ริเริ่ม "ขบวนการกำแพงประชาธิปไตย" ในกรุงปักกิ่ง โดยวิพากษ์วิจารณ์เหมา ลัทธิเหมา และระบอบพรรคเดียวในจีน พร้อมเรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพ[105][106] กระนั้น ท้านที่สุดความคิดริเริ่มของเว่ย์ก็ถูกเติ้งปราบปราม[107]

การปลดปล่อยที่จำกัดและการปกครองแบบพรรคเดียว

[แก้]

ในยุคปัวล่วนฝ่านเจิ้งและช่วงเริ่มต้นของการปฏิรูปและเปิดประเทศ เติ้ง เสี่ยวผิงได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการ "การปลดปล่อยจิตใจ" ไปพร้อม ๆ กับการเตือนซ้ำ ๆ ถึงอันตรายของสิ่งที่เรียกว่า "การเปิดเสรีชนชั้นกระฎุมพี"[108] นอกจากนี้ บุคคลที่มีชื่อเสียงอย่างจาง ปั๋วจฺวิน และหลัว หลงจี ผู้ซึ่งถูกข่มเหงในระหว่างการรณรงค์ต่อต้านฝ่ายขวา เป็นหนึ่งในกลุ่มคนจำนวนน้อยที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูชื่อเสียง และเติ้งมีส่วนสำคัญในการดำเนินการรณรงค์ดังกล่าวในคริสต์ทศวรรษ 1950[109]

ในปี ค.ศ. 1983 มีการเปิดตัวการรณรงค์ต่อต้านมลพิษทางจิตวิญญาณ ตามมาด้วยการรณรงค์ต่อต้านการเปิดเสรีชนชั้นกระฎุมพีซึ่งเปิดตัวในช่วงปลาย ค.ศ. 1985[110][111][112] การรณรงค์ทั้งสองครั้งนั้นริเริ่มขึ้นโดยนักการเมืองอนุรักษ์นิยมฝ่ายซ้ายและได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากเติ้ง แต่ท้ายที่สุดก็ถูกยกเลิกไปได้ด้วยการเกลี้ยกล่อมและการแทรกแซงของหู เย่าปังและจ้าว จื่อหยาง นักปฏิรูปชั้นนำนอกเหนือจากเติ้งภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน[110][112][113][114]

หลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่สามารถกวาดล้าง "องค์ประกอบ" ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติออกจากสังคมจีนได้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันก็ห้ามไม่ให้มีการสะท้อนคิดและทบทวนอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับช่วงเวลานี้ในประวัติศาสตร์จีนภายในประเทศ[115][116][104][117] เหตุผลหลักที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนทำเช่นนี้ ตามที่นักวิจัยและผู้สังเกตการณ์จำนวนมากเห็นพ้องกันก็คือ การตรวจสอบการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในจีนอย่างครอบคลุมจะเป็นการคุกคามรากฐานของความชอบธรรมในการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในฐานะพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวของประเทศอย่างร้ายแรง[118][22] ในขณะเดียวกัน คนอื่น ๆ ก็ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้เติ้งและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนอื่น ๆ จะยอมรับว่าพรรคได้กระทำผิดพลาดมาหลายครั้งในอดีต แต่พวกเขาก็ยังคงพยายามรักษาอำนาจการปกครองแบบพรรคเดียวของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในประเทศจีนอยู่[101][119]

ข้อโต้แย้งทางกฎหมาย

[แก้]
รูปปั้นของเหมา เจ๋อตงจำนวนหนึ่งที่สร้างขึ้นในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมยังคงพบเห็นได้ในหลายพื้นที่ของจีนแผ่นดินใหญ่จนถึงทุกวันนี้ ภาพนี้แสดงให้เห็นรูปปั้นดังกล่าวในมณฑลยูนนาน ซึ่งมีผู้คนเสียชีวิตนับหมื่นคนเนื่องจากการสังหารหมู่ในช่วงปฏิวัติทางวัฒนธรรม

การสังหารหมู่เกิดขึ้นทั่วจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[120] อย่างไรก็ตาม ในช่วงปัวล่วนฝ่านเจิ้งที่ตามมา ผู้นำและผู้กระทำผิดในเหตุการณ์สังหารหมู่เหล่านั้นหลายคนได้รับโทษเพียงเล็กน้อย (เช่น ถูกขับออกจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน) หรือไม่ได้รับโทษใด ๆ เลย ซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากจากประชาชน)[121] ประชาชนนับหมื่นคนเดินทางไปยังปักกิ่งเพื่อยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศด้วยตนเอง[122][123]

  • ในการสังหารหมู่ที่กวางซี มีผู้เสียชีวิตระหว่าง 100,000 ถึง 150,000 คน ตามการสืบสวนอย่างเป็นทางการในคริสต์ทศวรรษ 1980 และมีการกินเนื้อคนกันอย่างแพร่หลายแม้ว่าจะไม่มีการขาดแคลนอาหาร[124] ผู้กระทำความผิดส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมในการสังหารหมู่และ/หรือการกินเนื้อคนไม่ได้รับการลงโทษเลย หรือได้รับโทษเพียงเล็กน้อยหลังเกิดเหตุ – ในอำเภออู๋เซียน ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 38 รายจากการถูกกิน[124] มีผู้ต้องหาถูกนำตัวขึ้นศาล 15 คน โดยได้รับโทษจำคุกสูงสุด 14 ปี[121][125][126]
  • ในอุบัติการณ์มองโกเลียใน มีผู้เสียชีวิตระหว่าง 20,000 ถึง 100,000 คน ตามบันทึกและการประมาณการต่าง ๆ แต่เถิง ไห่ชิง ผู้นำที่รับผิดชอบการปราบปรามครั้งใหญ่นี้กลับไม่ได้รับการพิจารณาคดีหรือลงโทษทางกฎหมาย เนื่องจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนมองว่าเขาเคยสร้างผลงานในสงครามครั้งก่อน ๆ
  • ในการสังหารหมู่ที่เต้าเซี่ยน มณฑลหูหนาน มีบันทึกว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 9,093 คน อย่างไรก็ตาม มีเพียงกลุ่มผู้กระทำผิดจำนวนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการลงโทษ และไม่มีใครถูกตัดสินประหารชีวิต[127] ผู้นำหลายคนที่เกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่นี้ ถูกขับออกจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนหรือถูกพิพากษาจำคุกในระยะเวลาแตกต่างกัน ในอำเภอเต้า ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเหตุการณ์ มีเพียง 11 คนเท่านั้นที่ถูกดำเนินคดี และได้รับโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี[127]

พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติทางวัฒนธรรม

[แก้]

ในคริสต์ทศวรรษ 1980 นักวิชาการชาวจีนชื่อดัง เช่น ปา จิน ได้เรียกร้องให้สังคมจีนจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติทางวัฒนธรรม" เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์การปฏิวัติทางวัฒนธรรมขึ้นอีก[128][129][130][131] ข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนชาวจีนจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ไม่มีการตอบรับอย่างเป็นทางการจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในทางกลับกัน ปา จินถูกวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างหนักในช่วงการรณรงค์ต่อต้านมลพิษทางจิตวิญญาณรวมถึงการรณรงค์ต่อต้านการเปิดเสรีชนชั้นกระฎุมพีซึ่งเกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980[132]

ใน ค.ศ. 1996 รัฐบาลท้องถิ่นของซัวเถา ในมณฑลกวางตุ้ง ตัดสินใจจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การปฏิวัติทางวัฒนธรรมแห่งแรกในแผ่นดินใหญ่ของจีน นั่นคือ พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติทางวัฒนธรรมซัวเถา ซึ่งเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ในที่สุดใน ค.ศ. 2005[130][133] อย่างไรก็ตาม พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกบังคับให้ปิดตัวใน ค.ศ. 2016 โดยรัฐบาลของสี จิ้นผิง[134]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Vogel, Ezra F. (26 September 2011). "Glossary" (PDF). Deng Xiaoping and the Transformation of China. Harvard University Press. ISBN 9780674055445. LCCN 2011006925. OCLC 756365975. OL 24827222M.
  2. 2.0 2.1 Wang, Xiaoxuan (2020). Maoism and Grassroots Religion: The Communist Revolution and the Reinvention of Religious Life in China (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-006938-4.
  3. Tong, Qinglin (2008). 回首1978——历史在这里转折 [Looking back at 1978—a turning point in history] (ภาษาจีน). Beijing: People's Press. ISBN 9787010068954. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-11.
  4. Lǐ, Èrqìng, บ.ก. (7 October 2008). "1980年:拨乱反正全面展开改革开放正式起步" [1980: Comprehensively carrying out "Boluan Fanzheng" meanwhile formally launching "Reform and Opening"]. China Economic Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2008. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29 – โดยทาง China Central Television.
  5. Ray, Alok (2002). "The Chinese Economic Miracle: Lessons to Be Learnt". Economic and Political Weekly. 37 (37): 3835–3848. ISSN 0012-9976. JSTOR 4412606.
  6. "40 years ago, Deng Xiaoping changed China — and the world". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-12-07. ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2024-03-14.
  7. Hamrin, Carol Lee; Zhao, Suisheng (1995-01-15). Decision-making in Deng's China: Perspectives from Insiders (ภาษาอังกฤษ). M.E. Sharpe. ISBN 978-0-7656-3694-2.
  8. 8.0 8.1 Shen, Baoxiang. "《亲历拨乱反正》:拨乱反正的日日夜夜". www.hybsl.cn (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  9. Lóng, Píngpíng. "Dèng Xiǎopíng shì zhēnlǐ biāozhǔn wèntí dà tǎolùn de fǎdòngzhě yú lǐngdǎozhě" 邓小平是真理标准问题大讨论的发动者与领导者. Rénmín Rìbào (ภาษาจีน). Central Committee of the Chinese Communist Party. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  10. 10.0 10.1 Huang, Cary (14 April 2019). "Hu Yaobang: an icon of China's reform – and of how little has changed". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). ISSN 1563-9371. OCLC 648902513. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  11. Chung, Yen-Lin (2019). "The Ousting of General Secretary Hu Yaobang: The Roles Played by Peng Zhen and Other Party Elders". China Review. 19 (1): 89–122. ISSN 1680-2012. JSTOR 26603251.
  12. Schiavenza, Matt (16 April 2014). "China's Forgotten Liberal Hero". The Atlantic (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 2151-9463. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2014. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  13. Gao, Jia; Su, Yuanyuan (2019). Social Mobilisation in Post-Industrial China: The Case of Rural Urbanisation (ภาษาอังกฤษ). Edward Elgar Publishing. ISBN 978-1-78643-259-9.
  14. 14.0 14.1 "50 flashbacks signal reform (I)". China Internet Information Center. 2014-10-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-15. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  15. 15.0 15.1 Yu, Guangren. "Dèng Xiǎopíng de qiúshí yù fǎnsī jīngshén" 邓小平的求实与反思精神. Yanhuang Chunqiu (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  16. Liu, Zongyuan Zoe (2023). Sovereign Funds: How the Communist Party of China Finances its Global Ambitions. The Belknap Press of Harvard University Press. doi:10.2307/jj.2915805. ISBN 9780674271913. JSTOR jj.2915805.
  17. 17.0 17.1 Xu, Jilin (December 2000). "The fate of an enlightenment: twenty years in the Chinese intellectual sphere (1978-98)" (PDF). East Asian History (ภาษาอังกฤษ). Australian National University (20): 169–186. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-30. สืบค้นเมื่อ 2024-12-31.
  18. 18.0 18.1 Wu, Wei (2014-02-24). "70年代末中国的思想启蒙运动" [The Enlightenment movement in the late 1970s in China]. The New York Times (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2024-10-04.
  19. 19.0 19.1 Mao, Yushi. "Dèng Xiǎopíng de gòngxiàn hé júxiàn xìng" 邓小平的贡献和局限性. Unirule Institute of Economics. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-29. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  20. Jin, Ping. "八二宪法"的宪政因素——几部宪草宪法的比较研究. Chinese University of Hong Kong (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  21. ""Wéngé" shíqī dàngàn jiěmì" "文革"时期档案解密 ["Cultural revolution" era records declassified]. Rénmín Rìbào (ภาษาจีน). Central Committee of the Chinese Communist Party. 15 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2009. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  22. 22.0 22.1 Zhang, Wei (2016-05-16). "点评中国:中国人需要认真反思文革". BBC News (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":32" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  23. "Beijing Revises 'Correct' Version of Party History Ahead of Centenary". Radio Free Asia (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-04. สืบค้นเมื่อ 2021-05-20.
  24. Cole, J. Michael (2021-04-22). "The Chinese Communist Party is playing dangerous games with history". iPolitics (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-20. สืบค้นเมื่อ 2021-05-20.
  25. Yu, Kung (23 August 2018). "Xi Jinping's brand new Cultural Revolution". Taipei Times (ภาษาอังกฤษ). The Liberty Times Group. ISSN 1563-9525. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-15. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  26. Denyer, Simon (26 February 2018). "With a dash of Putin and an echo of Mao, China's Xi sets himself up to rule for life". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0190-8286. OCLC 2269358. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2018. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  27. 27.0 27.1 "拨乱反正". www.chinakongzi.org (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  28. 28.0 28.1 28.2 "History for the Masses". www.tsquare.tv. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  29. 29.0 29.1 Gittings, John (2008-08-20). "Obituary: Hua Guofeng". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  30. 30.0 30.1 Li-Ogawa, Hao (2022-02-14). "Hua Guofeng and China's transformation in the early years of the post-Mao era". Journal of Contemporary East Asia Studies. 11 (1): 124–142.
  31. "Deng Xiaoping". China Daily. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-24. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
  32. "陈云1977年发言:强调实事求是 呼吁邓小平复出". Xinhuanet (ภาษาจีน). 2015-03-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
  33. 33.0 33.1 "NOTES". People's Net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  34. Schoenhals, Michael (1991). "The 1978 Truth Criterion Controversy". The China Quarterly. 126 (126): 243–268. doi:10.1017/S0305741000005191. ISSN 0305-7410. JSTOR 654516. S2CID 143503026.
  35. Zhang, Ming'ai (2008-01-19). "An article influences Chinese history". China Internet Information Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  36. "Practice Is the Sole Criterion of Truth". Chinese Studies in Philosophy (ภาษาอังกฤษ). 25 (2): 31–42. 18 December 2014. doi:10.2753/CSP1097-1467250231.
  37. 37.0 37.1 Lahiri, Dan Kopf, Tripti (18 December 2018). "The charts that show how Deng Xiaoping unleashed China's pent-up capitalist energy in 1978". Quartz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  38. 38.0 38.1 Denmark, Abraham. "Analysis | 40 years ago, Deng Xiaoping changed China — and the world". The Washington Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  39. "Emancipate the mind, seek truth from facts and unite as one in looking to the future". China Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-20. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  40. Deng, Xiaoping. "解放思想,实事求是,团结一致向前看". Phoenix New Media (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  41. "解放思想,实事求是,团结一致向前看". People's Net (ภาษาจีน). 2018-05-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  42. Yu, Keping (2010-05-20). Democracy and the Rule of Law in China (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-04-19031-3.
  43. Inouye, Karin Mei Li (2020). "Performing Jiang Qing (1914-1991) : gender, performance, and power in Modern China". Stanford Digital Repository (ภาษาอังกฤษ).
  44. "Huíshǒu 1978—Lìshǐ zài zhèlǐ zhuǎnzhé" 回首1978——历史在这里转折. Rénmín Rìbào 人民日报 [People's Daily] (ภาษาจีน). Central Committee of the Chinese Communist Party. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  45. Onate, Andres D. (1978). "Hua Kuo-feng and the Arrest of the "Gang of Four"". The China Quarterly. 75 (75): 540–565. doi:10.1017/S0305741000042557. ISSN 0305-7410. JSTOR 652983. S2CID 155001038.
  46. Hán, Gāng (29 September 2014). "Zuì gēnběn de bōluànfǎnzhèng: Fǒudìng "yǐ jiējídǒuzhēng wéi gāng"" 最根本的拨乱反正:否定"以阶级斗争为纲". Xuéxí Shíbào 学习时报 [Study Times] (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2014. สืบค้นเมื่อ 2020-12-26.
  47. "China lays to rest Mao's chosen successor Hua Guofeng". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2008-08-31. สืบค้นเมื่อ 2020-05-27.
  48. Kristof, Nicholas D. (April 16, 1989). "Hu Yaobang, Ex-Party Chief in China, Dies at 73". The New York Times.
  49. "Zhao Ziyang: A reformer China's Communist Party wants to forget". BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-01-17. สืบค้นเมื่อ 2024-10-19.
  50. "Gang of Four Trial". UNIVERSITY OF MISSOURI-KANSAS CITY. สืบค้นเมื่อ 2020-05-27.
  51. Jiang, Hua (1981-03-03). "最高人民法院特别法庭关于审判林彪、江青反革命集团案主犯的情况报告". National People's Congress. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-05-27.
  52. 52.0 52.1 "Guānyú jiànguó yǐlái dǎng de ruògān lìshǐ wèntí de juéyì" 关于建国以来党的若干历史问题的决议. The Central People's Government of the People's Republic of China (ภาษาจีน). 23 June 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2014. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23.
  53. 53.0 53.1 "Resolution on Certain Questions in the History of Our Party since the Founding of the People's Republic of China" (PDF). Wilson Center. 1981-06-27.
  54. "邓小平在中共十一届六中全会上讲话". People's Net (ภาษาจีน). 2016-07-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30.
  55. 55.0 55.1 55.2 Liu, Jintian (2015-01-05). "邓小平推动冤假错案的平反" [Deng Xiaoping facilitated the rehabilitation of [the victims of] the "unjust, false, erroneous cases"]. People's Net (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  56. Yang, Long (2023), Shuman, Amanda; Leese, Daniel (บ.ก.), "Villagers, Cadres, and the Politics of Rehabilitation in Post-Mao China, 1979–1982", Justice After Mao: The Politics of Historical Truth in the People's Republic of China, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 122–144, ISBN 978-1-009-26129-6, สืบค้นเมื่อ 2024-10-18
  57. Brown, Kerry (2015-05-01). Berkshire Dictionary of Chinese Biography Volume 4 (ภาษาอังกฤษ). Berkshire Publishing Group. ISBN 978-1-61472-900-6.
  58. 58.0 58.1 Yang, Zhongmei (2016-07-08). Hu Yao-Bang: A Chinese Biography: A Chinese Biography (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-315-49339-8.
  59. "1989年6月1日 吴林泉、彭飞:胡耀邦同志领导平反"六十一人案"追记". www.hybsl.cn (ภาษาจีน). People's Daily. 1989-06-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  60. Vidal, Christine (2016). "The 1957-1958 Anti-Rightist Campaign in China: History and Memory (1978-2014)". Hal-SHS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-28. สืบค้นเมื่อ 2019-11-28.
  61. 61.0 61.1 Ye, Fanzi (2021-03-24). "十一届三中全会后的拨乱反正" [Boluan Fanzheng after the 3rd plenary session of the 11th Central Committee of the Chinese Communist Party]. China Youth Daily (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-07. สืบค้นเมื่อ 2024-10-18.
  62. 62.0 62.1 "Peng Dehuai Archive". Marxists Internet Archive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-20. สืบค้นเมื่อ 2024-10-18.
  63. Chen, Xuewei (2013-09-05). "陈云与拨乱反正" [Chen Yun and Boluan Fanzheng]. Institute of Party History and Literature (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-09-08. สืบค้นเมื่อ 2024-10-19.
  64. Lo, Carlos W. H. (1992). "Deng Xiaoping's Ideas on Law: China on the Threshold of a Legal Order". Asian Survey. 32 (7): 649–665. doi:10.2307/2644947. ISSN 0004-4687. JSTOR 2644947.
  65. LENG, SHAO-CHUAN (1977). "The Role of Law in the People's Republic of China as Reflecting Mao Tse-Tung's Influence". Journal of Criminal Law and Criminology. 68 (3): 356–373. doi:10.2307/1142585. JSTOR 1142585.
  66. Potter, Pitman (2013-10-14). China's Legal System (ภาษาอังกฤษ). Polity. ISBN 978-0-7456-6268-8.
  67. Fairbank, John King (1978). The Cambridge History of China (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-21447-6.
  68. 68.0 68.1 "共和国辞典42期:七五宪法". Tencent (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  69. 69.0 69.1 Jin, Ping. ""八二宪法"的宪政因素——几部宪草宪法的比较研究". Chinese University of Hong Kong. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-23. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  70. de Heer, Ph (1978). "The 1978 Constitution of the People's Republic of China". Review of Socialist Law. 4: 309–322. doi:10.1163/157303578X00218. hdl:11299/164762. S2CID 144038895.
  71. Zhu, Guobin; Lin, Laifan; Xu, Mengzhou (2007-07-01). 新編中國法 (ภาษาจีน). City University of Hong Kong Press. ISBN 978-962-937-092-3.
  72. 72.0 72.1 Deng, Xiaoping (1980-08-18). "ON THE REFORM OF THE SYSTEM OF PARTY AND STATE LEADERSHIP". People's Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-15. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  73. 73.0 73.1 "1. Rereading Deng Xiaoping's "On the Reform of the System of Party and State Leadership"". Chinese Law & Government. 20 (1): 15–20. 1987-04-01. doi:10.2753/CLG0009-4609200115. ISSN 0009-4609.
  74. Finch, George (2007). "Modern Chinese Constitutionalism: Reflections of Economic Change". Willamette Journal of International Law and Dispute Resolution. 15 (1): 75–110. ISSN 1521-0235. JSTOR 26211714.
  75. Shigong, Jiang (2014). "Chinese-Style Constitutionalism: On Backer's Chinese Party-State Constitutionalism". Modern China. 40 (2): 133–167. doi:10.1177/0097700413511313. ISSN 0097-7004. JSTOR 24575589. S2CID 144236160.
  76. Huang, Jin (2018-05-07). "把"中国共产党领导是中国特色社会主义最本质的特征"写入宪法的重大意义". People's Net (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  77. "Constitution Of The People's Republic Of China, 1982 | US-China Institute". University of Southern California (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  78. Bader, Jeffrey A. (2018-02-27). "7 things you need to know about lifting term limits for Xi Jinping". Brookings (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  79. Doubek, James (11 March 2018). "China Removes Presidential Term Limits, Enabling Xi Jinping To Rule Indefinitely". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  80. Peng, Jieqing (2012-07-05). ""两弹一星"元勋姚桐斌的一生【4】". People's Net (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  81. Jihui, Yu (July 2019). The Stinking Old Ninth: A Tale of The Coal Capital (ภาษาอังกฤษ). Independently Published. ISBN 978-1-0721-7605-3.
  82. James T. Myers; Jürgen Domes; Erik von Groeling, บ.ก. (1995). Chinese Politics: Fall of Hua Kuo-Feng (1980) to the Twelfth Party Congress (1982). University of South Carolina Press. ISBN 978-1570030635. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 28, 2016. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015.
  83. Cao, Pu. "文革中的中科院:131位科学家被打倒,229人遭迫害致死". Chinese University of Hong Kong (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-02-23.
  84. Wang, Jingheng. "青海核武基地的劫难". Yanhuang Chunqiu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-14. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
  85. Wu, Yuenong. "邓小平与科技界的拨乱反正". People's Net (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  86. Deng, Xiaoping. "1978年3月18日邓小平在全国科学大会开幕式上的讲话". People's Net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  87. 87.0 87.1 Shen, Qianfang (2019-01-30). "邓小平: 尊重知识,尊重人才". People's Net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  88. ""Science and technology are primary productive forces" in 1988". China Daily. 2008-10-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-01. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  89. "Science and Technology Constitute a Primary Productive Force". China Internet Information Center. 1988. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-06. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  90. Link, Perry; Link, Chancellorial Chair for Teaching Across Disciplines Perry (2000-03-05). The Uses of Literature: Life in the Socialist Chinese Literary System (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. ISBN 978-0-691-00198-2.
  91. Joel Andreas (2009). Rise of the Red Engineers: The Cultural Revolution and the Origins of China's New Class. Stanford University Press. p. 164. ISBN 978-0804760782. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2016. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015.
  92. Xing Lu (2004). Rhetoric of the Chinese Cultural Revolution: The Impact on Chinese Thought, Culture, and Communication. University of South Carolina Press. p. 195. ISBN 978-1570035432. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 19, 2016. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015.
  93. 93.0 93.1 Tao, Liqing; Berci, Margaret; He, Wayne. "Historical Background: Expansion of Public Education". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  94. 94.0 94.1 Chi, Luke Shen-Tien (2018-08-24). "China's education reforms and strive for innovation". China Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-20. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  95. "China - EDUCATION POLICY". countrystudies.us. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  96. "不抓科学、教育,四个现代化就没有希望". People's Net. 2017-07-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-08. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  97. "中华人民共和国义务教育法(主席令第五十二号)". The Central Government of the People's Republic of China (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  98. Zhao, Ziyang. "国务院关于提请审议建立"教师节"的议案". National People's Congress (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-06-24.
  99. "陈省身回忆邓小平". Sina (ภาษาจีน). Tonight News Paper (今晚报). 2004-11-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  100. "" UPHOLD THE FOUR BASIC PRINCIPLES " (SPEECH, MARCH 30, 1979)" (PDF). Columbia University.
  101. 101.0 101.1 Xia, Ming. "The Communist Party of China and the "Party-State"". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-21. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  102. 102.0 102.1 Song, Yongyi (26 April 2020). Wénhuàdàgémìng: Lìshǐ de Zhēn Xiànghé Jítǐ Jìyì: Wéngé 40 Zhōunián Lùnwénjí 文化大革命:历史的真相和集体记忆: ——文革40周年论文集 (ภาษาจีน). 典籍出版社. p. 450.
  103. Hutton, Mercedes (24 August 2018). "If Chairman Mao's wish was to be cremated, why was he embalmed instead?". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). ISSN 1563-9371. OCLC 648902513. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  104. 104.0 104.1 "中南海更应反思"文革"和毛泽东的罪恶". Deutsche Welle (ภาษาจีน). 2012-04-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  105. "Visions of China: Democracy Wall". CNN. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  106. "Walling up democracy". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  107. "Democracy Wall". www.tsquare.tv. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  108. Deng, Xiaoping (1985). "Bourgeois liberalization means taking the capitalist road". China Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  109. Chen, Zeming (2007-12-15). "The "Active Rightists" of 1957 and Their Legacy: "Right-wing Intellectuals," Revisionists, and Rights Defenders". China Perspectives (ภาษาฝรั่งเศส). 2007 (2007/4). doi:10.4000/chinaperspectives.2553. ISSN 2070-3449.
  110. 110.0 110.1 Wren, Christopher S.; Times, Special To the New York (1984-01-24). "China Is Said to End a Campaign to Stop 'Spiritual Pollution'". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  111. Deng, Xiaoping (1986-12-30). "Take a clear-cut stand against bourgeois liberalization". China Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  112. 112.0 112.1 Fewsmith, Joseph. "What Zhao Ziyang Tells Us about Elite Politics in the 1980s" (PDF). Hoover Institute.
  113. "Communist Party Says Anti-Liberalism Campaign Applies to Writers, Consumers". AP NEWS. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  114. China (Taiwan), Ministry of Foreign Affairs, Republic of (1987-05-01). "Bourgeois Liberalization". Taiwan Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  115. Han, Xiao (2014-01-26). "Opinion | Confessions of the Cultural Revolution". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  116. Beach, Sophie (25 February 2016). "Reflecting on the Cultural Revolution, 50 Years Later". China Digital Times. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  117. Qian, Gang (2012-09-24). ""文革":彻底否定与刻意遗忘". The New York Times (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  118. Hong, Zhenkuai (2016-08-16). ""新文革"使中国人不安". The New York Times (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  119. Hu, Ping (2010-08-20). "从邓小平的一句惊人之语谈起(胡平)". Radio Free Asia (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  120. Song, Yongyi (2011). "Chronology of Mass Killings during the Chinese Cultural Revolution (1966–1976)". Online Encyclopedia of Mass Violence. ISSN 1961-9898. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 25, 2019. สืบค้นเมื่อ April 25, 2019.
  121. 121.0 121.1 Sutton, Donald S. (1995). "Consuming Counterrevolution: The Ritual and Culture of Cannibalism in Wuxuan, Guangxi, China, May to July 1968". Comparative Studies in Society and History. 37 (1): 136–172. doi:10.1017/S0010417500019575. ISSN 0010-4175. JSTOR 179381. S2CID 145660553.
  122. "广西机密档案续编揭露文革反人类罪行" [Classified Guangxi documents reveal crimes against humanity during the Cultural Revolution]. Radio France Internationale (ภาษาจีน). 2017-08-06.
  123. Song, Yongyi (2017-04-03). "广西文革绝密档案中的大屠杀和性暴力" [Massacres and sexual violence recorded in the classified documents of Cultural Revolution in Guangxi]. China News Digest (ภาษาจีน).
  124. 124.0 124.1 Yue, Lebin. "我参与处理广西文革遗留问题". Yanhuang Chunqiu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-24. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  125. Kristof, Nicholas D. (1993-01-06). "A Tale of Red Guards and Cannibals". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  126. RUDOLPH, BARBARA (2001-06-24). "Unspeakable Crimes". Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0040-781X. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  127. 127.0 127.1 Song, Yongyi (2009-03-25). "The Dao County Massacre of 1967". Sciences Po (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  128. Schwarcz, Vera (March 1996). "The Burden of Memory: The Cultural Revolution and the Holocaust". China Information (ภาษาอังกฤษ). 11 (1): 1–13. doi:10.1177/0920203X9601100101. ISSN 0920-203X. S2CID 145054422.
  129. "Ba Jin: A Museum of the "Cultural Revolution"". www.cnd.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  130. 130.0 130.1 "China's first Cultural Revolution museum exposes Mao's war on". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2006-02-21. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  131. Gittings, John (2005-10-18). "Obituary: Ba Jin". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  132. Wang, David Der-wei (2017-05-22). A New Literary History of Modern China (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. ISBN 978-0-674-96791-5.
  133. Quartz (16 May 2016). "Two museums in China about the Cultural Revolution show very different versions of history". Quartz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  134. Tatlow, Didi Kirsten (2016-10-02). "Fate Catches Up to a Cultural Revolution Museum in China". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.