ห้าจำพวกดำ
"ห้าจำพวกดำ" (จีน: 黑五类; พินอิน: Hēiwǔlèi) เป็นการจัดแบ่งอัตลักษณ์ทางการเมืองและสถานะทางสังคมในสาธารณรัฐประชาชนจีนสมัยเหมา เจ๋อตง (1949–1976) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยการปฏิวัติทางวัฒนธรรม (1966–1976) ห้าจำพวกนี้ประกอบด้วยเจ้าของที่ดิน, เกษตรกรที่ร่ำรวย, พวกต่อต้านการปฏิวัติ, ผู้นำอิทธิพลที่ไม่ดี และ พวกฝ่ายขวา[1][2][3] บุคคลใดที่ถูกตราหน้าว่าเป็นหนึ่งในห้าจำพวกนี้จะถูกตัดสินโดยสังคมและถือเป็นปรปักษ์ต่อการปฏิวัติวัฒนธรรม ต้องตกเป็นเหยื่อของการลงโทษอย่างต่อเนื่อง และบางครั้งอาจถูกจับรวมตัวไปสังหารหมู่[1][2][3] สมาชิกส่วนใหญ่ของห้าจำพวกดำได้รับการยอมรับกลับสู่สังคม (political rehabilitation) อีกครั้งในโครงการ ปัวล่วนฝ่างเจิ้ง ในสมัยของเติ้ง เสี่ยวผิง[4][5]
นับตั้งแต่ "เดือนสิงหาสีแดง" ในปี 1966 ในปักกิ่ง สมาชิกของห้าจำพวกดำถูกแยกออกมาจากสังคม และถูกประณามในที่สาธารณะ, ทำให้อับอาย, ปรับทัศนคติในค่ายแรงงาน, ทุบตี และถูกสังหาร[2][6][7] หลายคนถูกฆาตกรรมโดยยุวชนแดง[3][6][8]
การเลือกปฏิบัติต่อคนห้าจำพวกดำนี้กระทำไปอย่างเป็นระบบ เนื่องจากการถูกจัดจำพวกดำส่งผลต่อโอกาสในอาชีพการงานไปจนถึงการแต่งงาน และอาจส่งต่อไปถึงลูกหลานได้ เมื่อเวลาผ่านไป คนจำพวกดำกลายมาเป็นกลุ่มชนชั้นล่างสุดที่ตกเป็นเหยื่อและได้รับการปฏิบัติราวกับว่ากลุ่มยังประกอบด้วยคนที่มีอำนาจมีอิทธิพลอยู่[2][3][6][7][9]
นิยาม
[แก้]"ห้าจำพวกดำ" ประกอบด้วย:[1][2][3]
- เจ้าของที่ดิน หรือ ตี้จู่ (地主; dìzhǔ)
- เกษตรกรที่ร่ำรวย หรือ ฟู่หนง (富农; fùnóng)
- พวกต่อต้านการปฏิวัติ หรือ ฝ่างเก๋อมิ่ง (反革命; fǎngémìng)
- ผู้นำอิทธิพลที่ไม่ดี หรือ ฮ่วยเฟิ่นสื่อ (坏分子; huàifènzǐ)
- พวกฝ่ายขวา หรือ โย่วป้าย (右派; yòupài)
โดย "พวกฝ่ายขวา" ถูกนำมารวมใน "จำพวกดำ" นับตั้งแต่ขบวนการต่อต้านฝ่ายขวาในปี 1957[10] ส่วนในสมัยการปฏิวัติทางวัฒนธรรม มีการเพิ่มจำนวนเป็นเก้าจำพวกดำ โดยสี่จำพวกที่เพิ่มเข้ามาคือ คนทรยศ, สายลับ, พวกฝักใฝ่ทุนนิยม และ ปัญญาชน เก้าจำพวกนี้เรียกรวมกันใหม่ในชื่อ "ค่านิยมเก่าทั้งเก้าที่เน่าเฟะ"[11]
ในมุมกลับกัน เหมายังจัดคนห้าจำพวก เช่น สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน, เกษตรกรยากไร้ และแรงงานระดับล่าง ให้เป็นห้าจำพวกแดง[1][2]
การยอมรับกลับสู่สังคม
[แก้]สมาชิกห้าจำพวกดำส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับกลับสู่สังคม (political rehabilitation) ในโครงการปัวล่วนฝ่างเจิ้ง หลังสิ้นสุดการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[4][5] "พวกฝ่ายขวา" ส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับกลับคืน ยกเว้นเพียง 100 คน ซึ่งรวมทั้ง จาง ปัวจุน, ลัว ลงจี, ชู อันพิง เป็นต้น[12] ในสถิติทางการของรัฐเมื่อปี 1984 ระบุว่าเจ้าของที่ดินและเกษตรกรร่ำรวยรวมกว่า 4.4 ล้านคนได้รับการยอมรับกลับสู่สังคม และมากกว่า 20 ล้านคนที่ถูกตราหน้าเป็นสมาชิกของสี่จำพวกดำหรือครอบครัวได้รับการฟื้นคืนสถานะทางสังคม[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Sorace, Christian; Franceschini, Ivan; Loubere, Nicholas (2019-05-21). Afterlives of Chinese Communism (ภาษาอังกฤษ). Verso Books. ISBN 978-1-78873-476-9.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Jian, Guo; Song, Yongyi; Zhou, Yuan (2006-07-17). Historical Dictionary of the Chinese Cultural Revolution (ภาษาอังกฤษ). Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-6491-7.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Song, Yongyi (2011-08-25). "Chronology of Mass Killings during the Chinese Cultural Revolution (1966-1976)". Sciences Po (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-30.
- ↑ 4.0 4.1 Yang, Long (2023), Shuman, Amanda; Leese, Daniel (บ.ก.), "Villagers, Cadres, and the Politics of Rehabilitation in Post-Mao China, 1979–1982", Justice After Mao: The Politics of Historical Truth in the People's Republic of China, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 122–144, ISBN 978-1-009-26129-6, สืบค้นเมื่อ 2024-10-18
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Ye, Fanzi (2021-03-24). "十一届三中全会后的拨乱反正" [Boluan Fanzheng after the 3rd plenary session of the 11th Central Committee of the Chinese Communist Party]. China Youth Daily (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-07. สืบค้นเมื่อ 2024-10-18.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Wang, Youqin (2001). "Student Attacks Against Teachers: The Revolution of 1966" (PDF). The University of Chicago. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-17.
- ↑ 7.0 7.1 Gaskell, Ivan; Carter, Sarah Anne (2020-03-12). The Oxford Handbook of History and Material Culture (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-934176-4.
- ↑ "A Massacre in Daxing County During the Cultural Revolution". Chinese Law & Government (ภาษาอังกฤษ). 14 (3): 70–71. 2014-12-07. doi:10.2753/CLG0009-4609140370.
- ↑ Margolin, Jean-Louis. "Mao’s China: The Worst Non-Genocidal Regime?." In The historiography of genocide, pp. 438-467. Palgrave Macmillan, London, 2008, p.448
- ↑ "四类人·七类分子·九种人·二十一种人". Sina (ภาษาจีน). Southern Metropolis Daily. 2007-08-09. สืบค้นเมื่อ 2024-10-18.
- ↑ Wang, Laili (2003). "毛泽东的知识分子政策" [Mao Zedong's policy on intellectuals]. Modern China Studies (3). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-21.
- ↑ Vidal, Christine (2016). "The 1957-1958 Anti-Rightist Campaign in China: History and Memory (1978-2014)". Hal-SHS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-28. สืบค้นเมื่อ 2019-11-28.