ข้ามไปเนื้อหา

ปัญญาชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปวาดของ Ludwik Rydygier กับผู้ช่วยโดย Leon Wyczółkowski

ปัญญาชน (ละติน: intellegentia, อังกฤษ: intellectuals, โปแลนด์: inteligencja, รัสเซีย: интеллигенция, สัทอักษรสากล: [ɪntʲɪlʲɪˈɡʲentsɨjə]) คือ ชนชั้นทางสังคมของคนซึ่งใช้ปัญญาชั้นสูงมุ้งไปที่การนำหรือวิจารณ์ ไม่ก็เล่นบทบาทผู้นำในการสร้างรูปแบบของวัฒนธรรมและการเมืองของสังคม[1] ดังนั้นปัญญาชนจึงใช้ได้กับใครก็ได้ไม่ว่าจะเป็นศิลปินหรือครูในโรงเรียน รวมไปถึง นักวิชาการ นักเขียน นักข่าว ปัญญาชนเป็นประเด็นที่ถูกนำมาถกเถียงอยู่เสมอทางด้านบทบาทในการพัฒนาของสังคมสมัยใหม่ซึ่งในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการก้าวหน้าทว่าไม่ได้มีแต่ในด้านบวกเท่านั้น บางครั้งก็มีผลในการย้อนหลังเช่นกัน[2]

ในมุมมองทางสังคม ชนชั้นของปัญญาชนนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในโปแลนด์ซึ่งถูกคุมโดยชาวรัสเซียในยุกต์ของการแบ่งแยก ชื่อถูกยืมมาจากจอร์จ วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลประมาณช่วงปีค.ศ. 1840 ถึง 1850 เพื่อใช้เรียกชนชั้นกระฎุมพีซึ่งมีการศึกษาและมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในชนชั้น และสามารถเป็นผู้นำทางจิตใจให้กับประเทศที่ถูกปกครองโดยผู้มีอิทธิพลในแบบเผด็จการ [2]

ในประเทศรัสเซียก่อนการปฏิวัติ คำนี้ถูกใช้เพื่อกล่าวถึงผู้คนซึ่งมีส่วนในการริเริ่มทางการเมืองหรือทางวัฒนธรรม[3] คำนี้ยังถูกใช้โดยคนกลุ่มที่ถูกกล่าวถึงเพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มระยะห่างระหว่างตัวเองกับคนหมู่มาก ต่อมาคำว่าปัญญาชนได้เป็นที่นิยมมากขึ้นและใช้กล่าวถึงผลของการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อประชาชน

ประวัติศาสตร์ของความคิด

[แก้]
Karol Libelt
Pyotr Boborykin

การเกิดขึ้นของปัญญาชนตามมาด้วยคำว่า 'ปัญญาชน'[4] โดย โดยได้ถูกเชื่อมโยงกับการพัฒนาเมือง การกระจายอย่างกว้างขวางของการพิมพ์และโรงเรือน (tenement houses) สำหรับเช่าในใจกลางเมือง[4]    

พฤติกรรมซึ่งบ่งบอกถึงปัญญาชนจาก หนังสือ 'วัฒนธรรมและปัญญาชน' โดย Dr. Vitaly Tepikin มีดังนี้[5]

  • มีการมีความคิดทางศีลธรรมที่ก้าวไกล มีความเข้าใจต่อสิ่งมีชีวิต และเข้าร่วมการชุมนุมอย่างสม่ำเสมอ 
  • ศึกษาด้วยตัวเองอยู่ตลอด 
  • มีความรักชาติ ซึ่งอยู่บนฐานของความเชื่อในคนของตนเองและรักแผ่นดินบ้านเกิดอย่างเต็มหัวใจ
  • มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งในวิธีการใช้ชีวิตของปัญญาชน  
  • มีความเป็นอิสระ ความทะเยอทะยานสู่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและหาตัวเองในนั้น 

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Intelligentsia" in Merriam-Webster Online
  2. 2.0 2.1 Tomasz Kizwalter (Oct 2009). transl. by Agnieszka Kreczmar. "The history of the Polish intelligentsia" (PDF file, direct download). Reviews. Acta Poloniae Historica: 241 242. สืบค้นเมื่อ 16 December 2013. Jerzy Jedlicki (ed.), Dzieje inteligencji polskiej do roku 1918 [The History of the Polish Intelligentsia until 1918]; and: Maciej Janowski, Narodziny inteligencji, 1750-1831 [The Rise of the Intelligentsia, 1750-1831].
  3. Oxford English Dictionary, [intelligentsia]
  4. 4.0 4.1 Malgorzata Szpakowska. "Dzieje inteligencji polskiej do roku 1918 [History of Intelligentsia before 1918 in Poland]". Zeszyty Literackie (Literary Letters): 1 / 6. สืบค้นเมื่อ 16 December 2013. Dzieje inteligencji polskiej do roku 1918 ed. by Jerzy Jedlicki. Vol. I: Maciej Janowski, Narodziny inteligencji 1750-1831; Vol. II: Jerzy Jedlicki, Błędne koło 1832-1864; Vol. III: Magdalena Micińska, Inteligencja na rozdrożach 1864-1918. Warsaw, Polish Academy of Sciences Institute of History – Neriton, 2008, s. 260, 322, 232. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. Tepikin, V. (2006).