ยฺเหวียนช่วย
ยฺเหวียนช่วย 元帅 元帥 | |
---|---|
![]() อินทรธนูสำหรับยศ ยฺเหวียนช่วย (จอมพล) ของกองทัพปลดปล่อยประชาชน ได้รับการออกแบบตามของจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต | |
ประเทศ | ![]() |
สังกัต | ![]() |
ยกเลิก | 1965 |
ยศที่สูงกว่า | ต้ายฺเหวียนช่วย ("จอมพลใหญ่") |
ยศที่ต่ำกว่า | ต้าเจียง ("นายพลใหญ่") |
ยฺเหวียนช่วย (จีนตัวย่อ: 元帅; จีนตัวเต็ม: 元帥; พินอิน: Yuánshuài) เป็นยศทหารของจีนที่เทียบเท่ากับจอมพลของประเทศอื่น[1] มอบให้แก่นายพลผู้มีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์และสาธารณรัฐจีน ยศที่สูงกว่าคือ ต้ายฺเหวียนช่วย (จีนตัวย่อ: 大元帅; จีนตัวเต็ม: 大元帥; พินอิน: Dà Yuánshuài; แปลตรงตัว: "จอมพลใหญ่") ซึ่งเทียบเท่ากับกับยศ เจเนราลิสซีโม ได้รับการสถาปนาให้แก่เจียง ไคเชก ของสาธารณรัฐจีน มีการเสนอยศนี้แก่เหมา เจ๋อตง บนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน แต่เขาก็ไม่เคยยอมรับ
ราชวงศ์ซ่ง
[แก้]ราชวงศ์จิน
[แก้]สาธารณรัฐจีน
[แก้]สาธารณรัฐประชาชนจีน
[แก้]ใน ค.ศ. 1955 ยศ จอมพลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตัวเต็ม: 中華人民共和國元帥; จีนตัวย่อ: 中华人民共和国元帅; พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó Yuánshuài) ได้ถูกมอบให้แก่นายพลผ่านศึก 10 คนของกองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน อย่างไรก็ตาม ยศดังกล่าวถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1965 และไม่เคยนำกลับมาใช้อีก[ต้องการอ้างอิง] เกณฑ์สำคัญห้าประการที่จะได้รับยศจอมพลมีดังนี้:
- ต้องมีบทบาทนำในการตั้งพื้นที่ฐานการปฏิวัติหนึ่งแห่งหรือมากกว่า
- เคยดำรงตำแน่งผู้บัญชาการกองทหาร เทียบเท่าหรือสูงกว่าในกองทัพแดงจีน
- เคยดำรงตำแน่งผู้บัญชาการกองพล เทีบเท่าหรือสูงกว่าในกองทัพลู่ที่แปด หรือผู้บัญชาการกองทัพใหม่ที่สี่
- เคยดำรงตำแน่งผู้บัญชาการกองทัพสนาม ผู้บัญชาการกองทัพภาค หรือเทียบเท่าในช่วงการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน
- เคยดำรงตำแน่งรองประธานคณะกรรมาธิการกลาโหม
นอกจากนี้ เมื่อประธานเหมาปฏิเสธยศ ต้ายฺเหวียนช่วย ก็มีคำสั่งว่าผู้ใดไม่ได้รับราชการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนอีกต่อไปจะเสียสิทธิ์ในการรับยศทางทหาร ดังนั้น เติ้ง เสี่ยวผิง หลิว เช่าฉี และโจว เอินไหล จึงปฏิเสธยศเมื่อได้รับการเสนอ ในตอนแรก เฉิน อี้ ก็ปฏิเสธยศดังกล่าวตามคำสั่งของเหมาเนื่องจากปัจจุบันเขาทำงานในรัฐบาลมากกว่ากองทัพ อย่างไรก็ตาม โจว เอินไหล ยืนกรานให้เขาควรรับยศนี้[ต้องการอ้างอิง] โดยอ้างว่าจอมพลทั้งเก้าคนอื่น ๆ ล้วนมาจากกองทัพลู่ที่แปด หากไม่รับยศดังกล่าว ก็จะไม่มีใครในยศที่เป็นตัวแทนมรดกของกองทัพใหม่ที่สี่ ขณะเดียวกันก็อ้างถึงนีโคไล บุลกานิน ผู้ดำรงตำแหน่งจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต ในขณะที่ทำงานในรัฐบาลเป็นหลักเป็นบรรทัดฐาน ดังนั้น เขาจึงได้รับการยกเว้นและได้รับยศ[ต้องการอ้างอิง] ผลปรากฏว่าผู้ได้รับยศมีดังนี้:
-
1. จู เต๋อ
-
2. เผิง เต๋อหวย
-
3. หลิน เปียว
-
5. เฮ่อ หลง
-
6. เฉิน อี้
-
7. หลัว หรงหวน
-
10. เย่ เจี้ยนอิง
ซู่ ยฺวี่ แม้จะไม่ได้รับการคัดเลือก แต่เขากลับกลายเป็นผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในบรรดาสิบต้าเจียง หลายคนแปลกใจกับการตัดสินใจครั้งนี้แต่เขาไม่ตรงตามเกณฑ์ข้อแรกและสอง จอมพล 7 จากทั้งหมด 10 คนมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ก่อกำเริบหนานชางในฐานะต่าง ๆ ร่วมกับโจว เอินไหล ในบรรดาอีกสามคน เผิง เต๋อหวย เป็นผู้นำการลุกฮือผิงเจียง สฺวี เซี่ยงเฉียน พลาดการเหตุการณ์หนานชาง แต่ได้เข้าร่วมในการลุกฮือที่กว่างโจวในเวลาต่อมากับเย่ เจี้ยนอิง อีกคนหนึ่งคือหลัว หรงหวน ผู้ซึ่งช่วยเหมาในการก่อกำเริบฤดูเก็บเกี่ยวแทน หลิน เปียว เป็นผู้อายุน้อยที่สุด และจู เต๋อ เป็นผู้อายุมากที่สุดในบรรดาจอมพลทั้ง 10 คน ซึ่งมีอายุ 48 และ 69 ปี ตามลำดับ ณ เวลาที่ได้รับยศ หลัว หรงหวน เป็นคนแรกที่เสียชีวิตเมื่ออายุ 61 ปีใน ค.ศ. 1963 และเนี่ย หรงเจิน เป็นคนสุดท้ายที่เสียชีวิตเมื่ออายุ 93 ปีในปี ค.ศ. 1992 ประธานเหมาได้เรียกจอมพล 3 จากทั้งหมด 10 คนด้วยคำว่า 老总 (เหล่าจง หรือ "หัวหน้าเก่า") เนื่องด้วยอาวุโสและรับใช้มายาวนาน เหล่านี้คือ จู เต๋อ เผิง เต๋อหวย และเฮ่อ หลง บางครั้งเฉิน อี้ และเนี่ย หรงเจิน ก็ถูกเรียกว่าเหล่าจงเช่นกัน แต่ไม่ได้เรียกโดยตรงโดยประธานเหมา ส่วนหลิน เปียว ถูกเรียกเพียงว่า 总 จง มาจากเกียรติในการสงครามของเขา เขาไม่ได้รับการขนานนามว่าเหล่าจงเพราะมีอายุและอาวุโสน้อยกว่า เขายังเป็นจอมพลเพียงคนเดียวที่ไม่เสียชีวิตในปักกิ่ง
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Stevens, Keith G. (1975). "CHIEF MARSHAL T'IEN, PATRON OF THE STAGE, OF MUSICIANS AND WRESTLERS—EAST AND SOUTH EAST CHINA". Journal of the Hong Kong Branch of the Royal Asiatic Society. 15: 303–311. ISSN 0085-5774.