ข้ามไปเนื้อหา

ฟองจันทร์ ศิริวัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟองจันทร์ ศิริวัติ
(จากซ้ายไปขวา) ภุมรีภิรมย์ เชลล์, ฟองจันทร์ ศิริวัติ และจันทรจรัสศรี ไพบูลย์เลิศ
เกิดเจ้าฟองจันทร์ อินทขัติย์
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2456
เสียชีวิต15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (84 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ (หย่า)
ทวน ศิริวัติ
บุตรจันทรจรัสศรี ไพบูลย์เลิศ
ภุมรีภิรมย์ เชลล์
เพียงจันทร์ ภูมมะภูติ
บิดามารดาเจ้าน้อยอินทร์ถา อินทขัติย์
เจ้าบัวจิ๋น อินทขัติย์

ฟองจันทร์ ศิริวัติ มีชื่อเดิมว่า เจ้าฟองจันทร์ อินทขัติย์ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 — 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540) เป็นลูกหลานในตระกูลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ มีชื่อเสียงจากการเป็นนางสาวเชียงใหม่ประจำปี พ.ศ. 2477[1][2] และเป็นหม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ก่อนหย่ากัน

ประวัติ

[แก้]

ฟองจันทร์เป็นธิดาคนสุดท้องในจำนวน 11 คน ของเจ้าน้อยอินทร์ถา อินทขัติย์ และเจ้าแม่บัวจิ๋น อินทขัติย์ เชื้อสายราชสกุล ณ เชียงใหม่ เมื่อเกิดใช้คำนำหน้านามว่า "เจ้า" ตามบิดามารดา

เมื่ออายุ 10 ปี เจ้าฟองจันทร์ได้ย้ายเข้าไปอยู่ในตำหนักเจ้าดารารัศมี พระราชชายา และเป็นนางฟ้อนในคณะละครคุ้มหลวง รุ่นราวคราวเดียวกับ เจ้าจำรัส ณ เชียงใหม่ เจ้าพันพิสิธ ณ เชียงใหม่ และแสงหล้า โอชเจริญ จนกระทั่งเจ้าดารารัศมี พระราชชายา สิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2476 จึงย้ายมาอยู่บ้านตนเอง ปีนั้น มีงานฤดูหนาวประจำจังหวัดเชียงใหม่ และงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ เจ้าฟองจันทร์ได้รับการทาบทามให้เป็นนางงามประจำร้านเกษตร และเข้าร่วมประกวดนางสาวเชียงใหม่ในปีถัดมา ชื่องานคือ "การประกวดความงามสตรีในงานต้อนรับและฉลองรัฐธรรมนูญเชียงใหม่ พ.ศ. 2477" และได้รางวัลที่หนึ่งด้วย

เจ้าฟองจันทร์ได้พบกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระสหายต่างวัยของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 ที่คุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ และเสกสมรสตามแบบล้านนา ก่อนย้ายตามสวามีไปอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และเปลี่ยนฐานันดรศักดิ์เป็น หม่อมฟองจันทร์ ยุคล ณ อยุธยา

หม่อมฟองจันทร์มีพระธิดาด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ สองพระองค์ คือ [3]

ต่อมา หม่อมฟองจันทร์หย่ากับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ และสมรสใหม่กับทวน ศิริวัติ มีบุตรสาวด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ เพียงจันทร์ ภูมมะภูติ

ฟองจันทร์ ศิริวัติถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

อ้างอิง

[แก้]
  1. Thailand Pageant.com - ฟองจันทร์ อินทขัติย์ นางสาวเชียงใหม่ ๒๔๗๗[ลิงก์เสีย]
  2. "นางสาวเชียงใหม่ - ฟองจันทร์ อินทขัติย์ นางสาวเชียงใหม่ ปี ๒๔๗๗". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-06. สืบค้นเมื่อ 2011-10-30.
  3. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  • วิศเวศ วัฒนสุข. 2549. 8 ทศวรรษดอกเอื้องเวียงพิงค์สายสัมพันธ์แห่งอารยธรรม.กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน