ธงชาติญี่ปุ่น
นิชโชกิ[1] หรือ ฮิโนมารุ[2] | |
การใช้ | ธงพลเรือน ธงเรือพลเรือน ธงราชการ และ ธงเรือรัฐบาล |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3[1] |
ประกาศใช้ | 27 กุมภาพันธ์ 1868[a] (ธงเรือของราษฎร์) 13 สิงหาคม 1999[b] (ธงชาติ) |
ลักษณะ | ธงพื้นสีขาว รูปวงกลมสีแดงในธงอยู่กลางธงพอดี |
ธงชาติญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本の国旗; โรมาจิ: Nipponnokokki) เป็นธงประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีขาว กึ่งกลางธงเป็นรูปวงกลมสีแดง มีชื่อตามกฎหมายว่า นิชโชกิ (ญี่ปุ่น: 日章旗; โรมาจิ: Nisshōki; ธงพระอาทิตย์) แต่ในญี่ปุ่นนิยมเรียกธงนี้ว่า ฮิโนมารุ (ญี่ปุ่น: 日の丸; โรมาจิ: Hinomaru; วงกลมดวงอาทิตย์) จึงมีการเรียกประเทศนี้อย่างลำลองว่า ดินแดนแห่งพระอาทิตย์อุทัย ตามความหมายของชื่อธง
ธงรูปดวงอาทิตย์เป็นธงชาติของญี่ปุ่นโดยพฤตินัยก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1999 ก่อนหน้านั้นไม่มีบัญญัติใดที่กำหนดลักษณะของธงชาติขึ้นเฉพาะ ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1870 ไดโจกัง สภาปกครองญี่ปุ่นในช่วงต้นของยุคเมจิได้ออกพระบรมราชโองการกำหนดลักษณะของธงชาติสองฉบับ โดยธงรูปดวงอาทิตย์ได้รับการประกาศใช้เป็นธงเรือของราษฎรตามพระบรมราชโองการที่ 57 แห่งรัชศกเมจิที่ 3 (เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1870)[3] และธงชาติที่ใช้ในเรือหลวงตามพระบรมราชโองการที่ 651 แห่งรัชศกเมจิที่ 3 (เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1870)[4] การใช้ธงฮิโนมารุมีข้อจำกัดอย่างมากในช่วงต้นของการยึดครองญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ต่อมาได้ปรับลดข้อจำกัดลงจนยกเลิกไปในที่สุด
ดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญในตำนานและศาสนาแห่งญี่ปุ่นที่กล่าวว่าจักรพรรดิญี่ปุ่นทรงสืบเชื้อสายโดยตรงจากสุริยเทพีอามาเตราซุของชินโต และมีความชอบธรรมของราชวงศ์ญี่ปุ่นจากการทรงเลือกสรรของเทพี เช่นเดียวกับชื่อของประเทศ ตำราประวัติศาสตร์โบราณโชกุนิฮงงิที่กล่าวถึงการใช้ธงรูปดวงอาทิตย์ครั้งแรกในญี่ปุ่น ระบุว่าจักรพรรดิมมมุโปรดให้ใช้ธงที่แสดงรูปดวงอาทิตย์นี้ในเขตพระราชฐานเมื่อ ค.ศ. 701[5][6] ส่วนธงผืนที่เก่าที่สุดที่ยังคงอยู่ได้รับการรักษาไว้ในวัดอุมโปจิ นครโคชู จังหวัดยามานาชิ สามารถนับย้อนอายุได้ไกลกว่าศตวรรษที่ 16 และมีตำนานกล่าวว่าธงผืนดังกล่าวจักรพรรดิโกะ-เรเซพระราชทานแก่วัดไว้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11[7][8][9] ในช่วงการฟื้นฟูเมจิ ธงรูปดวงอาทิตย์และธงอาทิตย์อุทัยของกองทัพเรือและกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการอุบัติของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยสื่อชวนเชื่อทั้งใบปิด หนังสือ และภาพยนตร์ปรากฏภาพธงในฐานะที่มาของความภาคภูมิใจและชาตินิยม ในบ้านของชาวญี่ปุ่น พลเมืองต้องประดับธงในวันสำคัญของชาติ พิธีการ และในโอกาสที่รัฐบาลกำหนด บรรดาเครื่องหมายแห่งการอุทิศต่อชาติและจักรพรรดิที่มีลวดลายฮิโนมารุได้รับความนิยมอย่างสูงในห้วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองและการยุทธ์อื่น เครื่องหมายดังกล่าวมีตั้งแต่ธงที่เขียนถ้อยคำต่าง ๆ ไปจนถึงเครื่องแต่งกายและภาชนะที่มีลักษณะคล้ายธง
ความรู้สึกของสาธารณชนต่อธงชาติญี่ปุ่นมีความหลากหลาย แหล่งข้อมูลทั้งทางตะวันตกและญี่ปุ่นเองกล่าวว่าในอดีตธงชาติญี่ปุ่นนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงพลังและยั่งยืนของชาวญี่ปุ่น นับแต่การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง (สงครามแปซิฟิก) การใช้ธงชาติและเพลงชาติคิมิงาโยะในโรงเรียนรัฐญี่ปุ่นเป็นประเด็นถกเถียงที่นำไปสู่การประท้วงและการฟ้องร้อง ธงที่ใช้ในทางทหารของญี่ปุ่นหลายผืนออกแบบโดยมีพื้นฐานมาจากฮิโนมารุ รวมทั้งธงนาวีรูปดวงอาทิตย์เปล่งรัศมี รวมทั้งมีการนำฮิโนมารุเป็นต้นแบบของธงอื่นในญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชน
ประวัติ
[แก้]ยุคโบราณถึงยุคกลาง
[แก้]แม้ว่ายังไม่ทราบว่าธงญี่ปุ่นกำเนิดขึ้นเมื่อใดอย่างชัดแจ้ง[10] แต่ "อาทิตย์อุทัย" มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยประเทศญี่ปุ่นมักได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย"[11] ด้วยกลุ่มเกาะญี่ปุ่นอยู่ทางตะวันออกของผืนทวีปเอเชียและถือได้ว่าเป็นจุดที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้า เมื่อ ค.ศ. 607 มีหนังสือทางการฉบับหนึ่งมีใจความในตอนต้นว่า "จากจักรพรรดิแห่งพระอาทิตย์อุทัย" ส่งมายังจักรพรรดิสุยหยาง[12]
ดวงอาทิตย์มีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับราชวงศ์ญี่ปุ่นตามตำนานที่กล่าวว่าผู้ครองราชบังลังก์เป็นผู้สืบทายาทจากสุริยเทพีอามาเตราซุ[13][14] ศาสนาโคะ-ชินโต โบราณในฐานะศาสนาประจำชาติของชาวญี่ปุ่นที่ได้ผนวกรวมการบูชาธรรมชาติและวิญญาณ ความเชื่อนี้ยังมีการบูชาดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะในด้านเกษตรกรรมและการประมง จากยุคยาโยอิ (300 ปีก่อนคริสตกาล) จนถึงยุคโคฟุง (ค.ศ. 250; ยุคยามาโตะ ) มีการใช้ไนโก คามงเกียว (ญี่ปุ่น: 内行花文鏡; โรมาจิ: Naikō Kamonkyō) (กระจกทองแดงขนาดใหญ่ที่มีลายกลีบดอกไม้ที่ผลิตขึ้นในญี่ปุ่น) ในการเฉลิมฉลองการก่อร่างแห่งอาทิตย์อุทัย นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีว่ากระจกดังกล่าวคล้ายกับยาตะโนะคางามิ หนึ่งในไตรราชกกุธภัณฑ์ของญี่ปุ่น[15]
ในช่วงการขยายอาณาจักรสู่ทิศตะวันออกของจักรพรรดิจิมมุ (ญี่ปุ่น: 神武東征; โรมาจิ: Jinmu tōsei; ทับศัพท์: จิมมุ โทเซ) อิตสึเซะ โนะ มิโกโตะ พระเชษฐา (พี่ชาย) ในจักรพรรดิจิมมุถูกลอบปลงพระชนม์ในสมรภูมิกับนางาซูเนฮิโกะ ("ชายผู้ขายาว") หัวหน้าชนเผ่าท้องถิ่นในนานิวะ (โอซากะในปัจจุบัน) จักรพรรดิจิมมุจึงทรงตระหนักถึงพระราชฐานะผู้สืบเชื้อสายจากดวงอาทิตย์ มิควรทำการรบต่อดวงอาทิตย์ (ไปในทางทิศตะวันออก) แต่ควรพุ่งรบจากดวงอาทิตย์ (ไปทางทิศตะวันตก) กองรบของพระองค์จึงเคลื่อนจากทิศตะวันออกมุ่งสู่คาบสมุทรคิอิเพื่อพุ่งรบไปทางทิศตะวันตก เมื่อถึงคูมาโนะ [หรืออิเซะ (จังหวัดมิเอะ) ] แล้วเดินทางต่อไปยังยามาโตะ ทำให้กองทัพของพระองค์ได้รับชัยชนะในการต่อสู้กับนางาซูเนฮิโกะและพิชิตภูมิภาคคิงกิ[16][17]
มีการสันนิษฐานว่ามีการใช้ธงรูปดวงอาทิตย์ตั้งแต่การสถาปนาการปกครองแบบรวมศูนย์ต่อจักรพรรดิ (ญี่ปุ่น: 親政) ภายหลังอุบัติการณ์อิชชิ ใน ค.ศ. 645 ซึ่งตรงกับปีแรกในรัชศกไทกะ[18]
โชกุนิฮงงิ หนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นซึ่งเขียนแล้วเสร็จใน ค.ศ. 797 เป็นหลักฐานแรกที่บันทึกการใช้ธงรูปดวงอาทิตย์ในพระราชพิธีฉลองปีใหม่ (ญี่ปุ่น: 朝賀; โรมาจิ: Chōga; ทับศัพท์: โชงะ) ของจักรพรรดิมมมุใน ค.ศ. 701 (ปีแรกในรัชศกไทโฮ)[5][6] มีการประดับนิชโชะ (ญี่ปุ่น: 日像; โรมาจิ: Nissho; ธงดวงอาทิตย์สีทอง) ในบริเวณพิธี[5][6]
ทฤษฎีหนึ่งที่มีความโดดเด่นเกี่ยวกับธงนี้ คือ ผลแห่งสงครามเก็มเป (ค.ศ. 1180–1185) เดิมธงนิชชิกิ (ญี่ปุ่น: 錦の御旗; โรมาจิ: Nishiki no mihata) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งราชสำนัก มีรูปดวงอาทิตย์เป็นวงกลมสีทองและรูปดวงจันทร์เป็นวงกลมสีเงินบนพื้นสีแดง กระทั่งช่วงท้ายยุคเฮอัง ตระกูลไทระประกาศตนเป็นทหารของรัฐบาลและใช้ธงแดงมีวงกลมสีทอง (ญี่ปุ่น: 赤地金丸) เช่นเดียวกับราชสำนัก[19] เก็นจิ (ตระกูลมินาโมโตะ) ที่อยู่ในฐานะฝ่ายตรงข้ามจึงใช้ธงขาวมีวงกลมสีแดง (ญี่ปุ่น: 白地赤丸) ในสงครามเก็มเป[19] เมื่อตระกูลไทระพ่ายแพ้ไป เก็นจิจึงจัดตั้งรัฐบาลโชกุน (ญี่ปุ่น: 幕府; โรมาจิ: bakufu) บรรดาขุนศึกในยุคหลังอย่างโอดะ โนบูนางะ หรือโทกูงาวะ อิเอยาซุ ระลึกได้ว่าตนเองเป็นผู้สืบทอดเก็นจิ จึงชักธงฮิโนมารุในสงคราม[19]
ตำนานเฮเกะ จากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ระบุว่าซามูไรแต่ละคนครองพัดที่มีรูปวาดดวงอาทิตย์[20] ส่วนอีกตำนานหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับธงชาติกล่าวถึงพระนิจิเร็งซึ่งมอบธงดวงอาทิตย์แก่โชกุนเพื่อนำไปในสงครามต่อต้านการรุกรานญี่ปุ่นของมองโกเลีย[21]
ในยุทธการที่นากาชิโนะ (28 มิถุนายน ค.ศ. 1575) กองกำลังร่วมของโอดะ โนบูนากะ และโทกูงาวะ อิเอยาซุ ต่อสู้กับทาเกดะ คัตสึโยริ[19] นอกจากโนบูนากะและอิเอยาซุมีธงประจำตระกูลของตนเองแล้ว ทั้งสองได้ชักธงฮิโนมารุด้วย[19] ส่วนตระกูลทาเกดะที่อยู่อีกฝ่ายหนึ่งก็ได้ชักธงฮิโนมารุเช่นกัน[19] ทำให้ฮิโนมารุถือเป็นสัญลักษณ์ของชาติ[19]
หนึ่งในธงชาติญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ที่วัดอุมโปจิในโคชู (จังหวัดยามานาชิ)[19] ตำนานระบุว่าเป็นธงที่จักรพรรดิโกะ-เรเซพระราชทานแก่มินาโมโตะ โนะ โยชิมิตสึ และได้รับการดูแลรักษาในฐานะสมบัติของตระกูลทาเกดะมานานกว่า 1,000 ปี[19][22] และมีอายุเก่าแก่กว่าคริสต์ศตวรรษที่ 16
ในช่วงการรวมชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ไดเมียวแต่ละคนมีธงหลักที่ชักในสงคราม โดยมากธงเป็นผืนยาวที่มีมง (ตราประจำตระกูล) ของขุนนางไดเมียว สมาชิกในครอบครัวเดียวกันมีธงประจำตัวที่แตกต่างกันใช้ชักในสงคราม ธงใช้เป็นสิ่งแสดงตนและประดับไว้บนหลังทหารและม้า ส่วนนายพลมีธงประจำตัวที่ส่วนมากมีลักษณะต่างจากธงของทหารทั่วไป คือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส[23][ต้องการเลขหน้า]
ใน ค.ศ. 1854 ช่วงรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ มีการสั่งให้เรือญี่ปุ่นต้องชักธงฮิโนมารุเพื่อจำแนกเรือตนให้ต่างไปจากเรือต่างชาติ[20] ก่อนหน้านั้น มีการใช้ธงฮิโนมารุหลากประเภทบนเรือค้าขายกับสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย[10] มีพระบรมราชโองการประกาศให้ฮิโนมารุเป็นธงเรือราษฎร์ของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1870 ถือเป็นธงชาติตามกฎหมายระหว่าง ค.ศ. 1870–1885 ฮิโนมารุจึงเป็นธงชาติแบบแรกที่ญี่ปุ่นประกาศใช้[24][25]
ขณะที่แนวคิดของสัญลักษณ์แห่งชาติยังเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับชาวญี่ปุ่น รัฐบาลเมจิจำเป็นให้มีสัญลักษณ์เหล่านั้นเพื่อสื่อสารกับโลกภายนอก ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งภายหลังจากพลเรือจัตวา แมทธิว เพร์รี นำกองเรือมายังอ่าวโยโกฮามะ[26] นอกจากนี้ รัฐบาลเมจิยังได้ประกาศใช้สัญลักษณ์แห่งชาติอีกหลายอย่าง รวมทั้งเพลงชาติ คิมิงาโยะ และตราแผ่นดิน[27] ใน ค.ศ. 1885 มีการยกเลิกบรรดากฎหมายที่ไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ญี่ปุ่น: 官報; โรมาจิ: Kanpō; ทับศัพท์: คัมโป ) ทำให้ธงฮิโนมารุเป็นธงชาติโดยพฤตินัยเนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับภายหลังการฟื้นฟูเมจิ[28]
ความขัดแย้งช่วงต้นและสงครามแปซิฟิก
[แก้]การใช้ธงชาติญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังสร้างและขยายจักรวรรดิ อีกทั้งยังมีการใช้ฮิโนมารุในการเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและสงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น ตลอดจนความพยายามสู้รบทั่วทั้งประเทศ[29] มีภาพยนตร์โฆษณาชวนชื่อญี่ปุ่นเรื่องหนึ่งใน ค.ศ. 1934 แสดงให้เห็นการออกแบบธงชาติญี่ปุ่นนั้นสมบูรณ์แบบในทุกทาง ผิดกับธงชาติอื่นที่มีข้อบกพร่องในการออกแบบ[30] ใน ค.ศ. 1937 กลุ่มเด็กหญิงจากจังหวัดฮิโรชิมะแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับเหล่าทหารญี่ปุ่นที่สู้รบกับจีนในสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองโดยรับประทาน เบ็นโตฮิโนมารุ (แปลว่า ข้าวกล่องรูปธงชาติญี่ปุ่น) ที่มีอูเมโบชิอยู่กึ่งกลางข้าว เบ็นโตฮิโนมารุได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการระดมพลและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับทหารของญี่ปุ่นจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1940[31]
ชัยชนะของญี่ปุ่นในสงครามจีน–ญี่ปุ่นตอนต้นส่งผลให้มีการใช้ฮิโนมารุในการเฉลิมฉลองอีกครั้ง ที่สามารถพบเจอในมือของชาวญี่ปุ่นทุกคนในขบวนเฉลิมฉลอง[29]
หนังสือเรียนในช่วงเวลานั้นมีการพิมพ์รูปฮิโนมารุพร้อมกับคำขวัญต่าง ๆ ที่แสดงความจงรักภักดีต่อจักรพรรดิและญี่ปุ่น ทั้งมีการปลูกฝังความรักชาติในฐานะศีลธรรมอันดีแก่เด็กชาวญี่ปุ่น การแสดงออกถึงความรักชาติ เช่น การประดับธงชาติหรือการบูชาจักรพรรดิทุกวัน เป็นส่วนหนึ่งของการเป็น "ชาวญี่ปุ่นที่ดี"[32]
ธงชาติเป็นเครื่องมือหนึ่งของจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นในการยึดครองพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองโดยการบังคับให้ใช้ธง[33]และการให้นักเรียนร้องเพลง คิมิงาโยะ ในการเคารพธงชาติตอนเช้า[34] ส่วนธงพื้นถิ่นได้รับอนุญาตให้ใช้ในบางพื้นที่ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น แมนจู[35][36][37] ส่วนเกาหลีที่เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิญี่ปุ่น ฮิโนมารุและสัญลักษณ์อื่นได้รับการประกาศว่าชาวเกาหลีเป็นพลเมืองของจักรวรรดิ[38]
ในสงครามแปซิฟิก ชาวอเมริกันได้บัญญัติศัพท์ "มีตบอล" (อังกฤษ: meatball; แปลว่า ลูกชิ้น) เพื่อใช้เรียกฮิโนมารุและเครื่องหมายอากาศยานทางการทหารญี่ปุ่นในเชิงดูถูกเหยียดหยาม[39] ฮิโนมารุสำหรับชาวญี่ปุ่นเปรียบดั่ง "ธงอาทิตย์อุทัยที่ฉายแสงสู่ความมืดมิดทั่วโลก"[40] ส่วนชาวตะวันตกมองว่าเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่ทรงพลังที่สุดของทหารญี่ปุ่น[41]
ญี่ปุ่นในการยึดครองโดยสหรัฐอเมริกา
[แก้]ฮิโนมารุเป็นธงชาติญี่ปุ่นโดยพฤตินัยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและช่วงที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร[28] โดยการประดับฮิโนมารุในช่วงการยึดครองญี่ปุ่นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองต้องได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร[42][43] แหล่งข้อมูลระบุถึงระดับของการจำกัดการใช้ฮิโนมารุแตกต่างกันไป บางแหล่งถึงกับใช้คำว่า "ห้าม"[44][45] ถึงกระนั้น แม้ว่าข้อจำกัดเดิมจะกำหนดไว้เข้มงวดมาก แต่ก็ไม่ถึงกับห้ามโดยสิ้นเชิง[28]
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีการใช้ธงแสดงสัญชาติบนเรือพลเรือนญี่ปุ่นของหน่วยงานควบคุมการขนส่งทางเรือสหรัฐอเมริกาสำหรับกองเรือพาณิชย์ญี่ปุ่น[46] โดยกำหนดให้ใช้ธงที่ดัดแปลงจากธงอักขระ "E" ของธงประมวลสากลตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1945 กระทั่งสหรัฐอเมริกายุติการยึดครองญี่ปุ่น[47] ส่วนเรือสหรัฐอเมริกาที่เดินในน่านน้ำญี่ปุ่นให้ในธงที่ดัดแปลงจากธงอักขระ "O"[48]
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 ดักลาส แมกอาเธอร์ ยกเลิกข้อจำกัดการประดับฮิโนมารุบนพื้นที่อาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พระราชวังหลวง ทำเนียบนายกรัฐมนตรี และอาคารศาลสูงสุด พร้อมกับการตรารัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นฉบับใหม่[49][50] บรรดาข้อจำกัดเหล่านั้นได้รับการผ่อนปรนลงใน ค.ศ. 1948 โดยอนุญาตให้บุคคลสามารถประดับธงชาติในวันสำคัญของชาติได้ กระทั่งได้ยกเลิกข้อจำกัดทั้งหมดในเดือนมกราคม ค.ศ. 1949 ทุกคนมีสิทธิ์ประดับฮิโนมารุได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องขออนุญาตอีกต่อไป จึงทำให้มีการส่งเสริมให้โรงเรียนและบ้านเรือนประดับฮิโนมารุจึงถึงช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1950[42]
ภายหลังสงครามจนถึง ค.ศ. 1999
[แก้]ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ธงชาติญี่ปุ่นเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากความเกี่ยวเนื่องกับแสนยนิยม (ความนิยมในการทหาร) ของประเทศในอดีต เช่นเดียวกับคิมิงาโยะ เพลงชาติญี่ปุ่นปัจจุบัน[22] ความรู้สึกที่มีต่อฮิโนมารุและคิมิงาโยะแสดงถึงการเปลี่ยนผ่านของสาธารณชนจากความรู้สึกรักชาติ ไดนิปปง (ญี่ปุ่นอันยิ่งใหญ่) ไปสู่ นิฮง ที่รักสันติและต่อต้านความคลั่งทหาร ด้วยการเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์นี้ ทำให้การใช้ธงดังกล่าวในญี่ปุ่นลดลงทันทีหลังสงครามสิ้นสุดลง แม้ว่าผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยกเลิกข้อจำกัดลงใน ค.ศ. 1949 แล้วก็ตาม[43][51]
ในช่วงการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตของญี่ปุ่น มีการใช้ฮิโนมารุเป็นอาวุธทางการเมืองในต่างประเทศ เมื่อครั้งที่จักรพรรดิโชวะและจักรพรรดินีโคจุงเสด็จพระราชดำเนินเยือนเนเธอร์แลนด์ มีการเผาฮิโนมารุโดยพลเมืองดัตช์ที่ต้องการให้พระองค์ทรงถูกเนรเทศกลับญี่ปุ่นหรือทรงถูกพิจารณาคดีในข้อหาฆาตกรรมต่อเชลยศึกชาวดัตช์ในสงครามโลกครั้งที่สอง[52] ส่วนในประเทศญี่ปุ่นไม่มีการใช้ธงชาติเพื่อการดังกล่าว รวมทั้งการประท้วงการเจรจาข้อตกลงสถานะกองกำลังระหว่างสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น สหภาพแรงงานและกลุ่มผู้ประท้วงอื่นนิยมใช้ธงแดงแห่งการปฏิวัติแทน[53]
ประเด็นเกี่ยวกับฮิโนมารุและเพลงชาติได้รับความสนใจขึ้นอีกครั้งเมื่อโตเกียวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 โดยก่อนการแข่งขันดังกล่าวมีกำหนดขนาดของรูปดวงอาทิตย์บนธงชาติ เนื่องจากธงเดิมเมื่อประดับร่วมกับธงชาติอื่นแล้วรูปดวงอาทิตย์บนธงไม่มีความโดดเด่นเพียงพอ[43] ทาดามาซะ ฟูกิอูระ ผู้เชี่ยวชาญด้านสี ตัดสินใจกำหนดให้รูปดวงอาทิตย์บนธงมีขนาดสองในสามตามความยาวธง ฟูกิอูระยังกำหนดเฉดสีของธงที่ใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ และการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 1998 ที่นากาโนะด้วย[54]
ใน ค.ศ. 1989 การสวรรคตของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะได้จุดประเด็นทางสังคมเกี่ยวกับธงชาติขึ้น ฝ่ายอนุรักษนิยมเล็งเห็นว่าพวกเขาอาจมีโอกาสที่จะเสนอฮิโนมารุเป็นธงชาติโดยไม่ถูกคัดค้านเกี่ยวกับความหมายของธง หากสามารถใช้ธงนี้ในพระราชพิธีได้โดยไม่กระตุ้นภาพลบในอดีต[55] ในช่วงไว้ทุกข์อย่างเป็นทางการหกวัน มีการประดับธงโดยลดธงครึ่งเสาหรือติดแถบสีดำทั่วทั้งญี่ปุ่น[56] แม้ว่าจะมีรายงานเกี่ยวกับผู้ประท้วงที่ทำลายฮิโนมารุในวันพระราชพิธีพระบรมศพ[57] การประดับธงชาติญี่ปุ่นครึ่งเสาของสถานศึกษาโดยพร้อมเพรียงนำมาซึ่งความสำเร็จของฝ่ายอนุรักษนิยม[55]
ตั้งแต่ ค.ศ. 1999
[แก้]ใน ค.ศ. 1999 มีการตราพระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติเพื่อกำหนดให้ฮิโนมารุและคิมิงาโยะเป็นสัญลักษณ์แห่งชาติ โดยการตรากฎหมายดังกล่าวเริ่มต้นจากอัตวินิบาตกรรมของโทชิฮิโระ อิชิกาวะ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมเซระ ในเซระ จังหวัดฮิโรชิมะ เนื่องจากไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคณะกรรมการโรงเรียนกับคณะครูเกี่ยวกับการใช้ฮิโนมารุและคิมิงาโยะ[58][59] กฎหมายดังกล่าวเป็นหนึ่งในกฎหมายที่มีการโต้แย้งมากที่สุดกฎหมายหนึ่งที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านกฎหมายนับแต่ ค.ศ. 1992 ที่มีการผ่าน "พระราชบัญญัติว่าด้วยความร่วมมือสำหรับปฏิบัติการรักษาความสงบของสหประชาชาติและปฏิบัติการอื่น" หรือที่อาจรู้จักในชื่อ "กฎหมายความร่วมมือสันติภาพระหว่างประเทศ"[60]
เคโซ โอบูจิ นายกรัฐมนตรีจากพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ตัดสินใจที่จะร่างกฎหมายเพื่อกำหนดให้ฮิโนมารุและคิมิงาโยะเป็นสัญลักษณ์ของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการภายใน ค.ศ. 2000 ส่วนฮิโรมุ โนนากะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ต้องการให้กฎหมายดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ภายในวันครบรอบ 10 ปีพระราชพิธีขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิอากิฮิโตะ[61] โดยใน ค.ศ. 1974 มีความพยายามในการตรากฎหมายเพื่อกำหนดธงชาติและเพลงชาติ ภายหลังที่โอกินาวะกลับเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1972 และวิกฤตการณ์น้ำมัน ค.ศ. 1973 คากูเอ ทานากะ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเป็นนัยว่าจะตรากฎหมายเพื่อกำหนดให้สัญลักษณ์ทั้งสองอยู่ในกฎหมายญี่ปุ่น[62] นอกจากการสั่งการให้โรงเรียนสอนและเล่นเพลงคิมิงาโยะแล้ว ทานากะยังต้องการให้นักเรียนชักธงฮิโนมารุในพิธีการทุกเช้า และนำหลักสูตรจริยธรรมที่มีส่วนจากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศึกษา ซึ่งจักรพรรดิเมจิทรงตราขึ้นใน ค.ศ. 1890 ด้วย[63] ถึงกระนั้นทานากะไม่ประสบความสำเร็จในการผ่านร่างกฎหมายเข้าสู่สภานิติบัญญัติได้ในปีดังกล่าว[64]
กฎหมายดังกล่าวได้รับการสนับสนุจากพรรคแอลดีพีและพรรคโคเม (ซีจีพี) ในทางกลับกัน พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมญี่ปุ่น (เอสดีพีจี) และพรรคคอมมิวนิสต์ (เจซีพี) ต่อต้านกฎหมายดังกล่าว โดยกล่าวถึงความหมายแฝงของสัญลักษณ์ทั้งสองที่มีต่อช่วงสงคราม พรรคเจซีพียังได้ต่อต้านเพิ่มเติมในประเด็นที่ไม่จัดให้มีการหยั่งเสียงจากสาธารณชน ส่วนพรรคประชาธิปไตย (ดีพีเจ) ไม่มีความเห็นพ้องในประเด็นนี้ นาโอโตะ คัง หัวหน้าพรรคดีพีเจและนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมากล่าวว่าพรรคดีพีเจต้องสนับสนุนร่างกฎหมายนี้เพราะพรรคได้รับรองสัญลักษณ์ทั้งสองในฐานะสัญลักษณ์แห่งญี่ปุ่นแล้ว[65] ยูกิโอะ ฮาโตยามะ รองเลขาธิการพรรคและนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมามีความเห็นว่าร่างกฎหมายนี้จะทำให้เกิดความแตกแยกในสังคมและโรงเรียนของรัฐมากยิ่งขึ้น ถึงกระนั้นก็ตามฮาโตยะมาลงมติเห็นชอบต่อกฎหมายดังกล่าว แต่คังกลับลงมติไม่เห็นชอบ[61]
ก่อนการลงมติ มีการเรียกร้องให้แยกร่างกฎหมายนี้ในสภานิติบัญญัติ โนริฮิโระ คาโตะ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยวาเซดะกล่าวว่าคิมิงาโยะมีประเด็นเฉพาะตัวที่ซับซ้อนกว่าธงฮิโนมารุ[66] ความพยายามที่จะตราให้ฮิโนมารุเป็นธงชาติเพียงอย่างเดียวของพรรคดีพีเจและพรรคอื่นระหว่างการลงมติต่อร่างกฎหมายดังกล่าวถูกสภานิติบัญญัติปัดตกไป[67] สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 ด้วยคะแนนเสียง 403 ต่อ 86[68] ต่อมาร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมและมีมติให้ผ่านเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม มีการประกาศบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม[69]
ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2009 ปรากฏภาพถ่ายภาพหนึ่งที่ถ่ายในขบวนหาเสียงของพรรคดีพีเจในการเลือกตั้งทั่วไปในญี่ปุ่น ค.ศ. 2009 แสดงรูปธงที่แขวนบนเพดาน ธงดังกล่าวทำขึ้นจากการตัดและเย็บธงฮิโนมารุสองผืนเข้าด้วยกันจนเป็นรูปตราสัญลักษณ์ของพรรคดีพีเจ ภาพดังกล่าวทำให้พรรคแอลดีพีและทาโร อาโซ นายกรัฐมนตรี โกรธเคืองอย่างมาก โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าการกระทำดังกล่าวนั้นไม่น่าให้อภัย ยูกิโอ ฮาโตยามะ หัวหน้าพรรคดีพีเจ (ซึ่งเคยลงมติร่างกฎหมายว่าด้วยธงชาติและเพลงชาติ)[61] กล่าวตอบว่าธงดังกล่าวไม่ใช่ฮิโนมารุและไม่ควรมองเป็นเช่นนั้น[70]
ลักษณะธง
[แก้]ตามพระบรมราชโองการหมายเลข 57 ที่ประกาศใช้เมื่อ ค.ศ. 1870 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับธงชาติ 2 บท บทแรกระบุถึงบุคคลและวิธีการประดับธง ส่วนบทที่สองระบุถึงวิธีการทำธง[10] ธงมีอัตราส่วน 7:10 คือความกว้างเจ็ดส่วน ความยาวสิบส่วน รูปวงกลมสีแดงที่แสดงถึงดวงอาทิตย์มีขนาดสามในห้าของความกว้างจากฝั่งคันธง พระบรมราชโองการกำหนดให้รูปวงกลมนั้นอยู่กึ่งกลาง แต่มักจะเลื่อนรูปวงกลมค่อนไปทางคันธงหนึ่งในหนึ่งร้อย (1100) ส่วน[71][72] (ด้วยการกำหนดดังกล่าว ทำให้รูปวงกลมปรากฏอยู่กึ่งกลางของธงเมื่อโบกสะบัด) นอกจากนี้มีการใช้เทคนิควิธีดังกล่าวกับธงอื่น เช่น ธงชาติบังกลาเทศ ธงชาติปาเลา ในวันที่ 3 ตุลาคมของปีเดียวกัน มีการผ่านระเบียบว่าด้วยลักษณะธงเรือราษฎร์และธงเรืออื่น[73] โดยกำหนดให้ธงเรือราษฎร์มีอัตราส่วน 2:3 คือความกว้างสองส่วนและความยาวสามส่วน ส่วนขนาดรูปวงกลมเท่าเดิม แต่วางรูปวงกลมนั้นค่อนไปทางคันธงหนึ่งในยี่สิบ (120) ส่วน[74]
เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติ มีการปรับขนาดของธงเล็กน้อย[1] อัตราส่วนของธงโดยรวมเปลี่ยนเป็นความกว้างสองส่วนต่อความยาวสามส่วน (2:3) และรูปวงกลมสีแดงเลื่อนสู่กึ่งกลางพอดี แต่ยังคงขนาดของรูปวงกลม[2] พื้นของธงเป็นสีขาวและกึ่งกลางเป็นวงกลมสีแดง (ญี่ปุ่น: 紅色; โรมาจิ: beni iro; ทับศัพท์: เบนิ อิโระ) แต่กฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดเฉดสีแดงที่แน่ชัด[1] มีเพียงการระบุว่าใช้สีแดงเข้ม[75]
กรมกลาโหม (ปัจจุบันคือกระทรวงกลาโหม) ได้ข้อกำหนดเกี่ยวกับธงชาติใน ค.ศ. 1973 โดยกำหนดให้สีแดงมีค่า 5R 4/12 และสีขาวมีค่า N9 ตามแผนภูมิระบบสีมันเซลล์[76] ต่อมาในวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2008 ได้ปรับแบบธงให้ตรงกับกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบันและปรับปรุงค่าสีใหม่ มาตรฐานใหม่นี้ระบุให้ใช้ใยอะคริลิก และไนลอนผลิตธงที่ใช้ในกองทัพ ค่าสีของธงที่ปรับปรุงใหม่ได้กำหนดให้ธงอะคริลิกมีค่าสีแดงที่ 5.7R 3.7/15.5 และค่าสีขาวที่ N9.4 ส่วนธงไนลอนมีค่าสีแดงที่ 6.2R 4/15.2 และค่าสีขาวที่ N9.2[76] ในเอกสารที่ออกโดยสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ญี่ปุ่น) (โอดีเอ) ระบุให้สีแดงบนฮิโนมารุและตราสัญลักษณ์ของโอดีเอมีค่าดีไอซี 156 และซีเอ็มวายเค 0-100-90-0[77] ในระหว่างการพิจารณาพระราชบัญญัติว่าด้วยธงชาติและเพลงชาติ มีข้อแนะนำว่าควรใช้เฉดสีแดงสด (ญี่ปุ่น: 赤色; โรมาจิ: aka iro; ทับศัพท์: อากะ อิโระ) หรือใช้สีจากกลุ่มสีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมญี่ปุ่น[78]
แผนภาพสี
[แก้]สีอย่างเป็นทางการ (ขาว) | สีอย่างเป็นทางการ (แดง) | ระบบสี | ที่มา | ค.ศ. |
---|---|---|---|---|
N9[79] | 5R 4/12[79] | มันเซลล์ (อังกฤษ: Munsell) | DSP Z 8701C[76] | 1973 |
N/A | 156[80] | ดีไอซี | แนวทางการใช้ตราสัญลักษณ์ของโอดีเอ[77] | 1995 |
การใช้ธงและธรรมเนียม
[แก้]ในช่วงเวลาที่มีการประกาศใช้ฮิโนมารุครั้งแรก นั้นชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อธงชาติน้อยมากและมีการประท้วง ส่งผลให้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการสร้างการยอมรับของผู้คน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลกำหนดให้ประชาชนต้องถวายการต้อนรับจักรพรรดิด้วยธงชาติเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนิน[27]
ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ทุกบ้านต้องประดับฮิโนมารุในวันสำคัญ[28] นับแต่สงครามสิ้นสุดลง ธงชาติส่วนใหญ่มักประดับอยู่บนอาคารสถานที่ของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น เช่น ศาลาว่าการเมือง ส่วนการประดับธงชาติบนบ้านเรือนหรืออาคารพาณิชย์มีน้อยมาก[28] มีบุคคลและบริษัทบางส่วนส่งเสริมให้ประดับธงชาติในวันสำคัญ รวมทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นที่ขอความร่วมมือให้ประชาชนประดับฮิโนมารุในวันสำคัญ แต่มิได้กำหนดเป็นข้อบังคับตามกฎหมาย[81][82] นับแต่วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิครบ 80 พรรษาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2002 บริษัทรถไฟคีวชูได้ประดับฮิโนมารุในสถานีรถไฟทั้ง 330 สถานี[83]
ตั้งแต่ ค.ศ. 1995 โอดีเอใช้ลายฮิโนมารุในตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวมิได้ออกแบบโดยรัฐบาล (ตราสัญลักษณ์นี้ได้รับเลือกจากบรรดาตราสัญลักษณ์ 5,000 แบบที่ส่งมาจากสาธารณชน) แต่รัฐบาลได้พยายามเพิ่มการรับรู้ของฮิโนมารุผ่านบรรจุภัณฑ์ความช่วยเหลือและโครงการการพัฒนาจากรัฐบาล จากข้อมูลของโอดีเอ การใช้ธงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่แสดงถึงความช่วยเหลือจากประชาชนชาวญี่ปุ่น[84]
ธงโชคดี
[แก้]ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นประเพณีปฏิบัติที่เพื่อน เพื่อนร่วมชั้น และญาติของทหารที่จะออกประจำการจะร่วมกันเขียนบนฮิโนมารุและมอบให้ทหารนั้น ธงยังใช้เป็นเครื่องรางนำโชคและอำนวยพรให้ทหารเดินทางกลับจากการรบโดยปลอดภัยอีกด้วย เครื่องรางชนิดนี้เรียกว่า ฮิโนมารุโยเซงากิ (ญี่ปุ่น: 日の丸寄せ書き; ธงโชคดี )[85] โดยมีธรรมเนียมว่าจะไม่เขียนสิ่งใดบนรูปวงกลมดวงอาทิตย์[86] หลังสงครามสิ้นสุด มีการยึดหรือพบธงเหล่านี้อยู่กับศพทหารญี่ปุ่น ธงบางผืนกลายเป็นของที่ระลึก[86] และบางผืนได้ส่งกลับประเทศญี่ปุ่นและมอบแก่ทายาทของผู้เสียชีวิตเหล่านั้น[87]
ในยุคสมัยใหม่ ยังคงมีการใช้ฮิโนมารุโยเซงากิอยู่ ธรรมเนียมการเขียนบนฮิโนมารุเพื่อใช้เป็นเครื่องรางนำโชคยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าจะมีอยู่ในรูปแบบที่จำกัดก็ตาม มีการใช้ฮิโนมารุโยเซงากิเพื่อสนับสนุนทีมชาติญี่ปุ่นในการแข่งขันกีฬา[88] มีการใช้โยเซงากิ (ญี่ปุ่น: 寄せ書き; "ธงสนับสนุนกลุ่ม") สำหรับสนับสนุนทหาร[89] นักกีฬา ผู้เกษียณอายุ นักเรียนโอนย้ายในชุมชน หรือเพื่อนฝูง โดยใช้กระดาษสีและธงที่เขียนข้อความไว้ ในญี่ปุ่นสมัยใหม่ มีการมอบของดังกล่าวให้กับบุคคลในงานเลี้ยงส่งนักกีฬา งานเลี้ยงอำลาสำหรับเพื่อนร่วมงานหรือนักเรียนโอนย้ายสำหรับการจบการศึกษาและการเกษียณอายุ หลังเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ ค.ศ. 2011 ผู้คนเขียนข้อความบนฮิโนมารุโยเซงากิเพื่อส่งกำลังใจ
ฮาจิมากิ
[แก้]ฮาจิมากิ (ญี่ปุ่น: 鉢巻; "ผ้าโพกศีรษะ") เป็นผ้ารัดรอบศีรษะ สีขาวที่มีรูปดวงอาทิตย์สีแดงอยู่กึ่งกลาง อาจมีข้อความเขียนอยู่บนผ้านั้น โดยสวมเป็นสัญลักษณ์แห่งความเพียรพยายามหรือความกล้าหาญของผู้สวม มีการสวมในหลายโอกาส เช่น ผู้ชมกีฬา หญิงใกล้คลอด นักเรียนจูกุ (โรงเรียนกวดวิชา) พนักงานสำนักงาน[90] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการเขียนวลี ฮิชโช (ญี่ปุ่น: 必勝; โรมาจิ: Hisshō; "ชัยชนะอันแน่นอน" หรือ "เจ็ดชีวิต") บนฮาจิมากิที่นักบินคามิกาเซะ แสดงให้เห็นว่านักบินยินดีที่จะสละชีพเพื่อชาติของเขา[91]
เบ็นโต
[แก้]เบ็นโตเป็นประเภทข้าวกล่องแบบญี่ปุ่น เมนูเบ็นโตะที่สื่อความหมายถึงดวงอาทิตย์และธงชาติ เรียกว่า ฮิโนมารุโกฮัง (ญี่ปุ่น: 日の丸ご飯; โรมาจิ: Hinomaru gohan; ทับศัพท์: ฮิโนมารุโกฮัง) ประกอบด้วยข้าวขาวหุงสุก (โกฮัง) กับอูเมโบชิแดง (พลัมแห้ง) อยู่กึ่งกลาง โดยอูเมโบชิเค็มที่ผ่านการแช่น้ำเกลือทำหน้าที่เป็นสารกันบูดสำหรับข้าว อาจมีอาหารอื่นอยู่ในกล่องเดียวกัน หากมีเพียงข้าวขาวและอูเมโบชิแดงในกล่อง เรียกว่า ฮิโนมารุเบ็นโต (ญี่ปุ่น: 日の丸弁当; โรมาจิ: Hinomaru bentō; ข้าวกล่องฮิโนมารุ) นอกจากนี้ยังมีเมนูข้าวฮิโนมารุแบบอื่นที่อาจพบเจอได้น้อย[92]
วัฒนธรรมและการรับรู้
[แก้]ข้อมูลจากผลการสำรวจของสื่อกระแสหลักพบว่าประชาชนขาวญี่ปุ่นจำนวนมากรับรู้ว่าธงญี่ปุ่นว่าเป็นธงชาติอยู่ก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติธงชาติและเพลงชาติใน ค.ศ. 1999[93] ถึงกระนั้นก็ยังมีข้อถกเถียงต่อการใช้ธงในพิธีการของโรงเรียนและบนสื่อต่อไป เช่น หนังสือพิมพ์ฝ่ายเสรีนิยมอย่างอาซาฮิชิมบุง หรือไมนิชิชิมบุง มักนำเสนอบทความวิพากษ์วิจารณ์ธงชาติญี่ปุ่น ที่สะท้อนถึงมุมมองทางการเมืองของผู้อ่าน[94] ชาวญี่ปุ่นบางส่วนเห็นว่าธงนี้เป็นตัวแทนช่วงเวลาที่ประชาธิปไตยถูกลดทอนในสมัยจักรวรรดิญี่ปุ่น[95]
การแสดงธงชาติที่บ้านเรือนและห้างร้านยังคงเป็นที่ถกเถียงในสังคมญี่ปุ่นเช่นกัน เนื่องจากความเกี่ยวพันกับกลุ่มนักกิจกรรมอูโยกุ ดันไต (ญี่ปุ่น: 右翼団体; โรมาจิ: Uyoku dantai; "กลุ่มปีกขวา") พวกฝ่ายขวาจัด หรือฮูลิแกนิซึม อาคารบ้านเรือนและพาณิชย์ส่วนมากจึงไม่ประดับธง[28] แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดให้ประดับธงในวันสำคัญของชาติหรือในเหตุการณ์พิเศษ แต่ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 นครคานาซาวะในจังหวัดอิชิกาวะได้เสนอแผนขอใช้งบประมาณเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนประดับธงชาติในวันสำคัญของชาติด้วยการแจกคูปองแก่บ้านที่ซื้อธงชาติ[96]
ผู้คนในอดีตอาณานิคมของญี่ปุ่นและญี่ปุ่นบางส่วน เช่น โอกินาวะ ยังคงมีความรู้สึกในเชิงลบต่อธงชาติญี่ปุ่น เหตุการณ์ที่สะท้อนถึงมุมมองดังกล่าว ได้แก่เหตุที่เจ้าของห้างสรรพสินค้าชาวโอกินาวะเผาธงก่อนเทศกาลกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่น เริ่มต้น เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1987[97] โดยโชอิจิ ชิบานะ ผู้เผาธง ได้เผาฮิโนมารุไม่ใช่เพียงแค่แสดงการต่อต้านความโหดร้ายของทหารญี่ปุ่นและการประจำการของกองกำลังสหรัฐอเมริกาที่ยังคงอยู่เท่านั้น แต่ยังป้องกันไม่ให้แสดงธงนั้นในที่สาธารณะอีกด้วย[98] อีกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโอกินาวะ มีการทำลายธงระหว่างพิธีการของโรงเรียนและกลุ่มนักเรียนปฏิเสธที่จะแสดงความเคารพธงชาติที่กำลังชักขึ้นขณะบรรเลงคิมิงาโยะ[29] ในนาฮะ เมืองหลวงของโอกินาวะ มีการชักธงชาติขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 2001 นับแต่ที่โอกินาวะกลับเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปีของเมือง[99]
ในสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งต่างเคยถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองมีมุมมองต่อการประกาศใช้ฮิโนมารุใน ค.ศ. 1998 ว่าเป็นหลักฐานในการเปลี่ยนมุมมองทางการเมืองไปทางขวาของญี่ปุ่นและอาจนำไปสู่การสร้างกองทัพอีกครั้งด้วย การผ่านกฎหมายใน ค.ศ. 1999 นั้นเกิดขึ้นในที่ช่วงเวลาที่มีการถกเถียงถึงสถานะของศาลเจ้ายาซูกูนิ ความร่วมมือทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น และการสร้างโครงการการป้องกันทางขีปนาวุธ นอกจากนี้ในบรรดาประเทศที่ญี่ปุ่นเคยยึดครองมีความรู้สึกที่หลากหลาย รวมทั้งมองข้ามการผ่านกฎหมายใน ค.ศ. 1999 ในสิงคโปร์ คนรุ่นเก่ายังคงมีความรู้สึกไม่ดีต่อธงชาติญี่ปุ่น ในขณะที่คนรุ่นใหม่กว่ากลับไม่มีความรู้สึกในทางเดียวกัน ส่วนรัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่เพียงเชื่อว่าญี่ปุ่นจะไม่กลับไปคืนสู่ความเป็นแสนยนิยมเท่านั้น แต่เชื่อว่าเป้าหมายของกฎหมายดังกล่าวนั้นเพื่อกำหนดสัญลักษณ์ทั้งสอง (ธงชาติและเพลงชาติ) อย่างเป็นทางการในกฎหมายและทุกรัฐมีสิทธิ์ที่จะสร้างสัญลักษณ์ประจำชาติได้[100]
แม้ญี่ปุ่นไม่มีกฎหมายเอาผิดต่อการเผาฮิโนมารุ แต่การเผาธงชาติอื่นในญี่ปุ่นผิดกฎหมาย[101][102]
แบบพิธี
[แก้]ตามแบบพิธี ให้ชักธงชาติตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นกระทั่งดวงอาทิตย์ตก ส่วนห้างร้านและสถานศึกษาสามารถชักธงได้ตั้งแต่เวลาเปิดทำการจนปิดทำการ[103] เมื่อประดับธงชาติญี่ปุ่นร่วมกันธงของประเทศอื่นในเวลาเดียวกันในญี่ปุ่น ธงชาติญี่ปุ่นจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่มีเกียรติ ส่วนธงประเทศอื่นให้ประดับด้านขวาของธงชาติ โดยธงชาติและธงของประเทศอื่นจะต้องอยู่ในระดับเดียวกันและมีขนาดเท่ากัน เมื่อประดับร่วมกับธงของประเทศอื่นมากกว่าหนึ่งชาติ ให้เรียงธงตามลำดับชื่อประเทศที่กำหนดโดยสหประชาชาติ[104] เมื่อธงไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการใช้งาน ตามธรรมเนียมแล้วจะเผาธงดังกล่าวในที่ลับตา[103] แม้พระราชบัญญัติว่าด้วยธงชาติและเพลงชาติจะไม่ได้กำหนดแบบแผนการใช้ธง แต่จังหวัดอาจมีระเบียบของตนว่าด้วยการใช้ฮิโนมารุและธงประจำจังหวัด[105][106]
การไว้ทุกข์
[แก้]การใช้ธงฮิโนมารุเพื่อไว้ทุกข์มีสองรูปแบบ รูปแบบแรกคือการลดธงครึ่งเสา (ญี่ปุ่น: 半旗; โรมาจิ: Han-ki; ทับศัพท์: ฮังกิ) เช่นเดียวกับชาติอื่น โดยสำนักงานกระทรวงการต่างประเทศจะลดธงครึ่งเสาเมื่อมีพิธีศพของประมุขของรัฐต่างประเทศ[107]
อีกรูปแบบหนึ่งของการไว้ทุกข์คือการหุ้มเครื่องประดับยอด ทรงกลมเสาธงด้วยผ้าดำและประดับแถบผ้าสีดำ (ญี่ปุ่น: 弔旗; โรมาจิ: Chō-ki; ทับศัพท์: โชกิ ; "ธงไว้ทุกข์") เหนือธงชาติ โดยพบรูปแบบการไว้ทุกข์แบบนี้ในการสวรรคตของจักรพรรดิเมจิเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1912 และคณะรัฐมนตรีประกาศบัญญัติให้ชักธงชาติในลักษณะไว้ทุกข์เมื่อจักรพรรดิเสด็จสวรรคต[108] ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจในการประกาศให้ลดธงชาติครึ่งเสา[109]
สถานศึกษาของรัฐ
[แก้]นับแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง กระทรวงศึกษาธิการออกประกาศและระเบียบเพื่อส่งเสริมการใช้ฮิโนมารุและคิมิงาโยะ (เพลงชาติ) ในโรงเรียนภายใต้ความดูแล มีการออกประกาศฉบับแรกใน ค.ศ. 1950 โดยขอความร่วมมือให้นำสัญลักษณ์ทั้งสองมาใช้งาน แต่มิได้เป็นการบังคับ ต่อมาได้ขยายการขอความร่วมมือดังกล่าวร่วมทั้งการใช้สัญลักษณ์ทั้งสองในวันสำคัญของชาติและในพิธีการเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทราบถึงวันสำคัญและส่งเสริมการศึกษาการป้องกันประเทศ[43] ในเอกสารแนวทางเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ค.ศ. 1989 รัฐบาลพรรคแอลดีพีได้กำหนดให้ต้องใช้ธงในพิธีการของโรงเรียนและแสดงความเคารพด้วยอากัปกิริยาที่เหมาะสมต่อธงและคิมิงาโยะขึ้นเป็นครั้งแรก[110] ทั้งยังมีบทกำหนดโทษสำหรับเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ด้วย[43]
แนวทางหลักสูตรการศึกษาฉบับ ค.ศ. 1999 ที่ออกโดยกระทรวงศึกษาธิการหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยธงชาติและเพลงชาติกำหนดให้ "ที่ทางเข้าและในพิธีสำเร็จการศึกษา สถานศึกษาต้องประดับธงชาติญี่ปุ่นและสั่งให้นักเรียนนักศึกษาร้องเพลงคิมิงาโยะเพื่อให้ความสำคัญต่อธงและเพลง"[111] นอกจากนี้ คำอธิบายประกอบแนวทางหลักสูตร ค.ศ. 1999 ของกระทรวงสำหรับสถานศึกษาระดับประถมศึกษาระบุว่า "เพื่อให้ความก้าวหน้าของความเป็นสากลควบคู่กับการส่งเสริมความรักชาติและการตระหนักถึงความเป็นชาวญี่ปุ่น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปลูกฝังทัศนคติของนักเรียนในสถานศึกษาให้มีความเคารพต่อธงชาติญี่ปุ่นและคิมิงาโยะ เพื่อให้พวกเขาเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองญี่ปุ่นที่ได้รับความเคารพในสังคมที่มีความเป็นนานาชาติ"[112] กระทรวงยังระบุอีกว่าหากนักเรียนญี่ปุ่นไม่สามารถเคารพสัญลักษณ์ของตนได้ พวกเขาก็ไม่สามารถเคารพสัญลักษณ์ของชาติอื่นได้[113]
สถานศึกษามักเป็นศูนย์กลางของการถกเถียงในประเด็นเกี่ยวกับเพลงชาติและธงชาติอยู่เสมอ[44] คณะกรรมการการศึกษาแห่งโตเกียวกำหนดให้ใช้เพลงชาติและธงชาติในพิธีการในสถานศึกษา คำสั่งยังกำหนดให้ครูต้องเคารพสัญลักษณ์ทั้งสอง มิฉะนั้นจะเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง[114] มีการประท้วงว่ากฎดังกล่าวนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น แต่คณะกรรมการโต้แย้งว่าสถานศึกษาเป็นหน่วยงานของรัฐ บุคลากรของโรงเรียนจึงมีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเป็นพลเมืองญี่ปุ่นที่ดี[22] สถานศึกษาบางแห่งปฏิเสธที่จะประดับฮิโนมารุในพิธีสำเร็จการศึกษาของสถานศึกษาและผู้ปกครองบางคนรื้อธงลงเพื่อประท้วง[44] เหล่าครูจำนวนหนึ่งพยายามเอาผิดทางกฎหมายต่อชินตาโระ อิชิฮาระ ผู้ว่าราชการมหานครโตเกียว และเจ้าหน้าที่อาวุโสที่สั่งให้ครูต้องเคารพฮิโนมารุและคิมิงาโยะ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ[115] ภายหลังการประท้วงก่อนหน้า สหภาพครูแห่งญี่ปุ่น ยอมรับการใช้ทั้งธงชาติและเพลงชาติ ถึงกระนั้น องค์กรที่เล็กกว่าอย่างสหภาพแรงงานครูและบุคลากรทางศึกษาทั่วทั้งญี่ปุ่น (All Japan Teachers and Staffs Union) ยังคงต่อต้านสัญลักษณ์ทั้งสองและการใช้สัญลักษณ์ดังกล่าวภายในสถานศึกษา[116]
ธงที่เกี่ยวข้อง
[แก้]ธงทหาร
[แก้]กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (เจเอสดีเอฟ) และกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่นให้ธงอาทิตย์อุทัยที่มีรัศมีสีแดงแปดเส้นกระจายออก เรียกว่าฮาจิโจ-เคียวกูจิตสึกิ (ญี่ปุ่น: 八条旭日旗; โรมาจิ: Hachijō-Kyokujitsuki) มีขอบสีทองรอบขอบผืนธง[117]
รูปแบบธงอาทิตย์อุทัยที่เป็นที่รู้จักเป็นธงรูปดวงอาทิตย์มีเส้นรัศมีสีแดง 16 เส้นในรูปแบบดาวซีเมนส์ ในอดีตกองทัพญี่ปุ่นใช้เป็นธงประจำกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยเฉพาะกองทัพบกและกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยประกาศให้ธงดังกล่าว (ญี่ปุ่น: 十六条旭日旗; โรมาจิ: Jyūrokujō-Kyokujitsuki; ทับศัพท์: จีวโรกูโจ-เคียวกูจิตสึกิ) เป็นธงกองทัพครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1870 และใช้จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเมื่อ ค.ศ. 1945 ต่อมาได้นำกลับมาใช้อีกครั้งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1954 ปัจจุบันใช้ในฐานะธงกองทัพและธงเรือของกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น (เจจีเอสดีเอฟ) และกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น (เจเอ็มเอสดีเอฟ)[117] คัตสึโตชิ คาวาโนะ ผู้บัญชาการเสนาธิการเจเอสดีเอฟกล่าวว่าธงอาทิตย์อุทัยเป็น "ความภาคภูมิใจ" ของเหล่าทหารกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล[118] เนื่องจากการคงการใช้งานธงนี้ที่เคยใช้โดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในจีนและเกาหลีธงนี้จึงมีความหมายเชิงลบเช่นเดียวกับธงนาซี[119] เจเอ็มเอสดีเอฟยังมีการใช้ธงชายยอดเสาเรือ โดยประกาศใช้ครั้งแรกใน ค.ศ. 1914 และประกาศใช้อีกครั้งใน ค.ศ. 1965 ธงชายยอดเสาเรือประกอบด้วยรูปธงนาวีรูปแบบอย่างง่ายบนผืนธงด้านคันธงและส่วนปลายธงเป็นพื้นสีขาว อัตราส่วนของธงชายอยู่ระหว่าง 1:40 และ 1:90[120]
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น (เจเอเอสดีเอฟ) ที่จัดตั้งขึ้นเป็นเอกเทศใน ค.ศ. 1952 มีเพียงรูปดวงอาทิตย์เปล่าเป็นสัญลักษณ์เท่านั้น[121] เป็นเพียงกองทัพเดียวที่ตราสัญลักษณ์ไม่มีรังสีล้อมรอบแบบธงของจักรวรรดิ อย่างไรก็ตาม กองทัพมีธงประจำกองทัพประดับที่ฐานทัพและใช้ในพิธีการสวนสนาม ธงประจำกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นประกาศใช้ครั้งแรกใน ค.ศ. 1955 ภายหลังการการจัดตั้งเจเอเอสดีเอฟใน ค.ศ. 1954 ธงมีพื้นที่สีน้ำเงินโคบอลต์ มีรูปนกอินทรีสีทองกางปีกเหนือดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ฮิโนมารุ และเมฆ[122][123] โดยธงของเจเอเอสดีเอฟรูปแบบล่าสุดได้รับการประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2001[124]
ธงแซด มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ทัพเรือญี่ปุ่นแม้ว่าจะมิได้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1905 พลเรือเอก โทโง เฮฮาจิโร แห่งเรือประจัญบานมิกาซะกำลังเตรียมความพร้อมก่อนเข้าปะทะทัพเรือบอลติก โดยก่อนยุทธนาวีที่ช่องแคบสึชิมะเริ่ม โทโงแปรธงแซดบนเรือมิกาซะและเข้าปะทะทัพเรือรัสเซีย นำมาซึ่งชัยชนะของฝ่ายญี่ปุ่น การแปรธงครั้งนี้ยังได้กล่าวต่อลูกเรืออีกว่า "ชะตากรรมของจักรวรรดิญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับการรบครั้งนี้ ทุกคนจะต้องทุ่มกำลังทั้งหมดของตนและปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุด" ยังมีการแปรธงแซดอีกครั้งบนเรือบรรทุกเครื่องบินญี่ปุ่นอากางิในวันที่ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ รัฐฮาวายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941[125]
-
ธงประจำกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ตั้งแต่ ค.ศ. 1954) (ญี่ปุ่น: 十六条旭日旗)
-
ธงประจำกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น (เจเอเอสดีเอฟ) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
-
เราน์เดิล (เครื่องหมายอากาศยานทางการทหาร) อากาศยานทางการทหารของทหารบกและทหารเรือก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
-
เราน์เดิลของเจเอเอสดีเอฟหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ธงพระอิสริยยศ
[แก้]มีการกำหนดธงสำหรับจักรพรรดิญี่ปุ่น (จักรพรรดิเมจิในเวลานั้น) จักรพรรดินี และพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1870[126] ในช่วงแรก มีการประดับธงพระอิสริยยศของจักรพรรดิอย่างวิจิตร โดยมีรูปดวงอาทิตย์อยู่กึ่งกลางลวดลายศิลปะ พระองค์ทรงมีธงพระอิสริยยศเมื่อเสด็จพระราชดำเนินทางบก ทางเรือ และเมื่อพระองค์ประทับรถม้า นอกจากนี้ยังมีธงพระอิสริยยศสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์เมื่อเสด็จทางเรือและทางบก (แบบหนึ่งเมื่อทรงพระดำเนินด้วยพระบาท และอีกแบบหนึ่งเมื่อประทับรถม้า) ธงพระอิสริยยศสำหรับใช้บนรถม้าเป็นรูปดอกเบญจมาศ 16 กลีบสีเดียว วางอยู่กึ่งกลางพื้นธงสีเดียว[73] ธงดังกล่าวเลิกใช้เมื่อ ค.ศ. 1889 เมื่อจักรพรรดิมีพระราชดำริให้ธงพระอิสริยยศพระองค์เป็นรูปดอกเบญจมาศบนพื้นสีแดง นับแต่นั้นเป็นต้นมา ธงพระอิสริยยศของพระราชวงศ์ยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงเฉดสีและอัตราส่วนธงเล็กน้อย[127][128]
ธงพระอิสริยยศแห่งจักรพรรดิแบบปัจจุบันเป็นรูปดอกเบญจมาศ (ญี่ปุ่น: 菊花紋; โรมาจิ: Kikkamon; ทับศัพท์: คิกกามง) 16 กลีบสีทอง อยู่กึ่งกลางธงสีแดง ผืนธงมีอัตราส่วน 2:3 ธงพระอิสริยยศแห่งจักรพรรดินีมีลักษณะเช่นเดียวกัน เว้นแต่ตอนปลายตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ธงพระอิสริยยศแห่งสมเด็จพระยุพราชและพระชายามีลักษณะเช่นเดียวกัน ยกเว้นรูปดอกเบญจมาศมีขนาดเล็กกว่าและมีขอบสีขาวอยู่กึ่งกลางผืนธง[129] ดอกเบญจมาศมีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งจักรพรรดิแต่งตั้งรัชสมัยจักรพรรดิโกะ-โทบะในคริสต์ศตวรรษที่ 12 แต่ยังมิได้เป็นพระราชลัญจกรเฉพาะจักรพรรดิกระทั่ง ค.ศ. 1868
ธงจังหวัดและเทศบาล
[แก้]ธงประจำจังหวัดของญี่ปุ่นทั้ง 47 จังหวัดมีลักษณะใกล้เคียงกับธงชาติ ประกอบด้วยสัญลักษณ์ มง (ญี่ปุ่น: 紋; โรมาจิ: mon) วางบนธงพื้นสีเดียว (ยกเว้นจังหวัดเอฮิเมะที่พื้นธงมีสองสี)[130] ธงของหลายจังหวัดใช้รูปแบบเดียวกับธงชาติ (อัตราส่วนผืนธง 2:3 และมงวางบนกึ่งกลางมีขนาด 3⁄5 ของความยาวของธง)[131] มงของจังหวัดอาจเป็นอักษรญี่ปุ่นของชื่อจังหวัด จุดเด่นของที่ตั้ง หรือลักษณะพิเศษของจังหวัด เช่น ธงประจำจังหวัดนางาโนะ ที่ตัวอักษรคาตากานะ ナ (นะ) สีส้มอยู่กลางวงกลมสีขาว โดยมงนี้มีการตีความว่า อักษร นะ หมายถึงภูเขา วงกลมสีขาวหมายถึงทะเลสาบ สีส้มหมายถึงดวงอาทิตย์ และสีขาวหมายถึงหิมะของภูมิภาค[132]
เทศบาลอาจประกาศแบบธงของตนเองก็ได้ ธงประจำเทศบาลมีลักษณะคล้ายกับธงประจำจังหวัด คือ มงบนพื้นธงสีเดียว เช่น ธงประจำนครอามากูซะ ในจังหวัดคูมาโมโตะ ตราสัญลักษณ์ของนครประกอบด้วยอักษรคาตากะนะ ア (อะ) ล้อมรอบด้วยคลื่น ธงเป็นผืนธงสีขาวขนาดอัตราส่วน 2:3 วางตราสัญลักษณ์กึ่งกลางผืนธง มีการประกาศใช้ตราสัญลักษณ์และธงประจำนครใน ค.ศ. 2006[133]
ธงที่ดัดแปลงลักษณะมาจากธงชาติญี่ปุ่น
[แก้]นอกจากธงในราชการทหาร มีธงอื่นที่ออกแบบโดยใช้ธงชาติญี่ปุ่นเป็นฐาน ธงไปรษณีย์ญี่ปุ่นในอดีตประกอบด้วยฮิโนมารุและแถบแนวนอนสีแดงอยู่กึ่งกลางผืนธง มีวงแหวนสีขาวล้อมรอบดวงอาทิตย์สีแดง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นธงที่ประกอบด้วยเครื่องหมายไปรษณีย์ญี่ปุ่น (〒) สีแดงบนพื้นสีขาว[134]
ธงชาติอื่นที่มีลักษณะคล้ายกับธงชาติญี่ปุ่น ได้แก่ ธงชาติบังกลาเทศที่ออกแบบขึ้นภายหลังที่ประเทศบังกลาเทศได้รับเอกราชจากปากีสถานเมื่อ ค.ศ. 1971 เป็นธงพื้นสีเขียว มีรูปวงกลมสีแดงใกล้กับกึ่งกลางของธง กึ่งกลางวงกลมมีรูปแผนที่ประเทศบังกลาเทศสีทอง ขณะที่ธงแบบปัจจุบันประกาศใช้ใน ค.ศ. 1972 ได้นำรูปแผนที่ออกจากธงแต่ยังคงองค์ประกอบอื่นไว้[135] สีแดงหมายถึงเลือดที่หลั่งเพื่อสร้างประเทศของเขา[136] ส่วนประเทศปาเลามีธงที่มีลักษณะการออกแบบคล้ายกันแต่ใช้สีที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ปาเลาเคยถูกญี่ปุ่นยึดครองในช่วง ค.ศ. 1914–1944 แต่รัฐบาลปาเลาไม่เคยระบุว่าธงชาติของพวกเขาได้รับอิทธิพลมาจากธงชาติญี่ปุ่น[137] ธงชาติปาเลาเป็นรูปดวงจันทร์สีเหลืองเต็มดวงวางเหลื่อมกึ่งกลางผืนธงสีฟ้า[138] โดยดวงจันทร์หมายถึงความสงบสุขและพลเมืองวัยเยาว์ ส่วนพื้นสีฟ้าแสดงถึงการเปลี่ยนผ่านอำนาจการปกครองประเทศสู่การปกครองตนเองระหว่าง ค.ศ. 1981–1984 อันเป็นปีที่ได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์[139]
นอกจากนี้ ธงนาวีญี่ปุ่นยังมีอิทธิพลในการออกแบบธงอื่น เช่นธงของอาซาฮีชิมบุง เป็นรูปดวงอาทิตย์หนึ่งในสี่อยู่มุมขวาล่างของผืนธงเปล่งรัศมีสีขาวสลับสีแดง 13 เส้น บนรูปดวงอาทิตย์มีอักษรคันจิ 朝 สีขาวขนาดเกือบเท่ารูปดวงอาทิตย์[140][141] ธงดังกล่าวพบเห็นได้บ่อยในการแข่งขันเบสบอลระดับมัธยมศึกษาญี่ปุ่น เนื่องจากอาซาฮีชิมบุงเป็นผู้สนับสนุนหลักของการแข่งขันดังกล่าว[142] ธงหมายยศและธงประจำเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ได้รับอิทธิพลการออกแบบจากธงนาวีเช่นเดียวกัน[143]
คลังภาพ
[แก้]-
ธงชาติญี่ปุ่นที่อนุสรณ์สถานเมจิ
-
กองเกียรติยศกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นแสดงธงชาติระหว่างการตรวจกองเกียรติยศของไมก์ เพนซ์
-
ธงชาติญี่ปุ่นและชาติอื่นในกลุ่มเจ็ด โบกสะบัดที่โทรอนโต
-
หมู่ธงชาติญี่ปุ่นที่ทางเข้าโรงเรียน
-
ธงเมืองโยโกฮามะและฮิโนมารุโบกสะบัดที่อ่าวโยโกฮามะ
-
นักผจญเพลิงในโตเกียวถือธงชาติญี่ปุ่นในพิธี
-
หมู่ธงชาติญี่ปุ่นขนาดใหญ่ที่สนามกีฬาแห่งชาติระหว่างการแข่งขัดนัดสุดท้ายในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียตะวันออก (14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010)
-
ไก่โทเต็งโกะกับฮิโนมารุและหญิงสาว วาดเมื่อ ค.ศ. 1909
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 国旗及び国歌に関する法律
- ↑ 2.0 2.1 Consulate-General of Japan in San Francisco. Basic / General Information on Japan; 1 January 2008.
- ↑ Wikisource. (ภาษาญี่ปุ่น). Government of Japan – โดยทาง
- ↑ 法令全書, 27 October 1870 (in Japanese)
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "「国旗」の真実をどれだけ知っていますか". 23 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2016.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Shoku Nihongi". University of California, Berkeley (see original Japanese text). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021.
- ↑ Yamanashi Tourism Organization. 日の丸の御旗 [archived 2019-03-29; cited 2024-12-02].(ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ Unpoji. 宝物殿の案内 [archived 2011-11-04; cited 2024-12-02].(ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ Little-Known Wars of Great and Lasting Impact: The Turning Points in Our History We Should Know More About. Fair Winds; 2009. ISBN 1-59233-375-3. p. 54.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Web Japan. Japanese Ministry of Foreign Affairs. National Flag and Anthem [PDF]; 2000.
- ↑ Edgington 2003, pp. 123–124
- ↑ Dyer 1909, p. 24
- ↑ Ashkenazi 2003, pp. 112–113
- ↑ Hall 1996, p. 110
- ↑ 森浩一著「日本神話の考古学」(朝日新聞出版 1993年7月)
- ↑ 「日本古典文学大系 2 風土記」(岩波書店 1958年4月)の伊勢国風土記逸文に、神武天皇が伊勢国造の祖の天日別命に命じて伊勢国に攻め込ませ、国津神の伊勢津彦を追い出して伊勢を平定したとある。
- ↑ 熊野からでは北に向かって戦う事になる。このため鈴木眞年のように、伊勢まで行って西から大和盆地に侵攻したとする説もある。
- ↑ 泉欣七郎、千田健共編『日本なんでもはじめ』ナンバーワン、1985年、149頁、ISBN 4931016065
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 19.6 19.7 19.8 "国旗「日の丸」のルーツは「種子島家の船贈」" (PDF). Nishinomote City. 28 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 July 2021.
- ↑ 20.0 20.1 Itoh 2003, p. 205
- ↑ Feldman 2004, pp. 151–155
- ↑ 22.0 22.1 22.2 Hongo, Jun. Hinomaru, 'Kimigayo' express conflicts both past and future. The Japan Times. 17 July 2007.
- ↑ Turnbull 2001
- ↑ Goodman, Neary 1996, pp. 77–78
- ↑ National Diet Library. レファレンス事例詳細 [Reference Case Details]; 2 July 2009. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ Feiler 2004, p. 214
- ↑ 27.0 27.1 Ohnuki-Tierney 2002, pp. 68–69
- ↑ 28.0 28.1 28.2 28.3 28.4 28.5 Befu 1992, pp. 32–33
- ↑ 29.0 29.1 29.2 Befu 2001, pp. 92–95
- ↑ Nornes 2003, p. 81
- ↑ Cwiertka 2007, pp. 117–119
- ↑ Partner 2004, pp. 55–56
- ↑ Tipton 2002, p. 137
- ↑ Newell 1982, p. 28
- ↑ The Camera Overseas: The Japanese People Voted Against Frontier Friction. Life. 21 June 1937:75.
- ↑ National Historical Institute. The Controversial Philippine National Flag [PDF]; 2008.
- ↑ Taylor 2004, p. 321
- ↑ Goodman, Neary 1996, p. 102
- ↑ Morita, D. (19 April 2007) "A Story of Treason", San Francisco: Nichi Bei Times.
- ↑ Ebrey 2004, p. 443
- ↑ Hauser, Ernest. Son of Heaven. Life. 10 June 1940:79.
- ↑ 42.0 42.1 Ministry of Education. 国旗,国歌の由来等 [Origin of the National Flag and Anthem]; 1 September 1999 [archived 2008-01-10; cited 2024-12-02]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ 43.0 43.1 43.2 43.3 43.4 Goodman, Neary 1996, pp. 81–83
- ↑ 44.0 44.1 44.2 Weisman, Steven R. For Japanese, Flag and Anthem Sometimes Divide. The New York Times. 29 April 1990.
- ↑ Hardarce, Helen; Adam L. Kern. New Directions in the Study of Meiji Japan. Brill; 1997. ISBN 90-04-10735-5. p. 653.
- ↑ 吉田 藤人. 邦人船員消滅 [Kunihito crew extinguished]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ University of Leicester. The Journal of Transport History. Manchester, United Kingdom: University of Leicester; 1987. p. 41.
- ↑ Carr, Hulme 1956, p. 200
- ↑ Yoshida, Shigeru. National Diet Library. Letter from Shigeru Yoshida to General MacArthur dated May 2, 1947; 2 May 1947. (ในภาษาญี่ปุ่น), English.
- ↑ MacArthur, Douglas. National Archives of Japan. Letter from Douglas MacArthur to Prime Minister dated May 2, 1947; 2 May 1947.
- ↑ Meyer 2009, p. 266
- ↑ Large 1992, p. 184
- ↑ Yamazumi 1988, p. 76
- ↑ Fukiura, Tadamasa (2009). ブラックマヨネーズ (TV). Japan: New Star Creation.
- ↑ 55.0 55.1 Borneman 2003, p. 112
- ↑ Chira, Susan. Hirohito, 124th Emperor of Japan, Is Dead at 87. The New York Times. 7 January 1989.
- ↑ Kataoka 1991, p. 149
- ↑ Aspinall 2001, p. 126
- ↑ Vote in Japan Backs Flag and Ode as Symbols. The New York Times. 23 July 1999.
- ↑ Williams 2006, p. 91
- ↑ 61.0 61.1 61.2 Itoh 2003, pp. 209–210
- ↑ Goodman, Neary 1996, pp. 82–83
- ↑ Education: Tanaka v. the Teachers. Time. 17 June 1974 [archived 2013-07-08; cited 2024-12-02].
- ↑ Okano 1999, p. 237
- ↑ Democratic Party of Japan. 国旗国歌法制化についての民主党の考え方 [The DPJ Asks For A Talk About the Flag and Anthem Law]; 21 July 1999. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ Contemporary Japanese Thought. Columbia University Press; 2005. ISBN 978-0-231-13620-4. p. 211.
- ↑ Democratic Party of Japan. 国旗・国歌法案、衆院で可決 民主党は自主投票 [Flag and Anthem Law Passed by the House, DPJ Free Vote]; 22 July 1999. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ National Diet Library. 第145回国会 本会議 第47号; 22 July 1999. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ House of Representatives. 議案審議経過情報: 国旗及び国歌に関する法律案; 13 August 1999 [archived 2011-03-23; cited 2024-12-02]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ 【日本の議論】日の丸裁断による民主党旗問題 国旗の侮辱行為への罰則は是か非か [(Japan) Discussion of penalties of acts of contempt against the Hinomaru by the DPJ]. Sankei Shimbun. 30 August 2009 [archived 2009-09-02; cited 2024-12-02]. (ในภาษาญี่ปุ่น). Sankei Digital.
- ↑ 明治3年太政官布告第57号
- ↑ Takenaka 2003, pp. 68–69
- ↑ 73.0 73.1 明治3年太政官布告第651号
- ↑ Takenaka 2003, p. 66
- ↑ Cabinet Office, Government of Japan. National Flag & National Anthem; 2006.
- ↑ 76.0 76.1 76.2 Ministry of Defense. Defense Specification Z 8701C (DSPZ8701C) [PDF]; 27 November 1973. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ 77.0 77.1 Office of Developmental Assistance. 日章旗のマーク、ODAシンボルマーク [National flag mark, ODA Symbol] [PDF]; 1 September 1995 [archived 2011-09-28; cited 2018-06-06]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ National Diet Library. 第145回国会 国旗及び国歌に関する特別委員会 第4号 [145th Meeting of the Diet, Discussion about the bill Law Regarding the National Flag and National Anthem]; 2 August 1999. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ 79.0 79.1 Hexadecimal obtained by placing the colors in Feelimage Analyzer เก็บถาวร 25 มกราคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ DIC Corporation. DICカラーガイド情報検索 (ver 1.4) [DIC Color Guide Information Retrieval (version 1.4)]. (ในภาษาญี่ปุ่น).[ลิงก์เสีย]
- ↑ Web Japan. Ministry of Foreign Affairs. 国旗と国歌 [National Flag and Anthem] [PDF]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ Yoshida, Shigeru. House of Councillors. 答弁書第九号; 27 April 1954. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ 47news. JR九州、日の丸を掲揚へ 有人330駅、祝日に [JR Kyushu 330 manned stations to hoist the national flag]; 26 November 2002. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ "Ministry of Foreign Affairs of Japan". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2013. สืบค้นเมื่อ 27 December 2012.
- ↑ City of Himeji, Hyogo Prefecture. 開催中の平和資料館収蔵品展から「日の丸寄せ書き」について [Museum collections from the exhibition "Group flag efforts" being held for peace]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ 86.0 86.1 Smith 1975, p. 171
- ↑ McBain, Roger. Going back home. Courier & Press. 9 July 2005.
- ↑ Takenaka 2003, p. 101
- ↑ "西宮市立郷土資料館の企画展示". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2008. สืบค้นเมื่อ 24 October 2019.
- ↑ "Hachimaki – Japanese Headbands – DuncanSensei Japanese". DuncanSensei Japanese (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 24 March 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2016. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016.
- ↑ Cutler 2001, p. 271
- ↑ Spacey, John (24 January 2014). "Japan's Patriotic Bento Box (Hinomaru)". Japan Talk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2017. สืบค้นเมื่อ 24 October 2019.
- ↑ Asahi Research. TV Asahi. 国旗・国歌法制化について [About the Law of the Flag and Anthem]; 18 July 1999 [archived 2008-05-23; cited 2024-12-02]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ Hoso Bunka Foundation. テレビニュースの多様化により、異なる番組の固定視聴者間に生じる意見の差 [Diversity of television news, viewers differences of opinion arise between different programs] [PDF]; 2002. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ Khan 1998, p. 190
- ↑ "Town eyes subsidy for residents to buy flag". The Japan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2012. สืบค้นเมื่อ 27 December 2012.
- ↑ Wundunn, Sheryl. Yomitan Journal: A Pacifist Landlord Makes War on Okinawa Bases. The New York Times. 11 November 1995.
- ↑ Smits, Gregory. Penn State University. Okinawa in Postwar Japanese Politics and the Economy; 2000 [archived 2013-05-30; cited 2024-12-02].
- ↑ "Hinomaru flies at Naha for first time in 29 years". The Japan Times. [ลิงก์เสีย]
- ↑ Japan's Neo-Nationalism: The Role of the Hinomaru and Kimigayo Legislation. JPRI working paper. 2001–2007 [archived 2018-10-02; cited 2024-12-02];79:16.
- ↑ Lauterpacht 2002, p. 599
- ↑ Inoguchi, Jain 2000, p. 228
- ↑ 103.0 103.1 Sargo Flag Company. Flag Protocol. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ Ministry of Foreign Affairs. プロトコール [Protocol] [PDF]; 2009–2002. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ 国旗及び国歌の取扱いについて
- ↑ 国旗及び県旗の取扱いについて
- ↑ Ministry of Foreign Affairs. Page 1 「グローカル通信」平成21年5月号 プロトコール講座 [Protocol Question and Answer (May 2009)] [PDF]; 2009–2005. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ 大正元年閣令第一号
- ↑ Office of the Cabinet. National Diet Library. 全国戦没者追悼式の実施に関する件; 14 May 1963 [archived 2005-03-10; cited 2024-12-02]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ Trevor 2001, p. 78
- ↑ Hiroshima Prefectural Board of Education Secretariat. 学習指導要領における国旗及び国歌の取扱い [Handling of the flag and anthem in the National Curriculum]; 11 September 2001. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ Ministry of Education. 小学校学習指導要領解説社会編,音楽編,特別活動編 [National Curriculum Guide: Elementary social notes, Chapter music Chapter Special Activities]; 1999. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ Aspinall 2001, p. 125
- ↑ McCurry, Justin. A touchy subject. Guardian Unlimited. 5 June 2006. The Guardian.
- ↑ The Japan Times. Ishihara's Hinomaru order called legit; 5 January 2006.
- ↑ Heenan 1998, p. 206
- ↑ 117.0 117.1 自衛隊法施行令
- ↑ "Japan to skip S. Korea fleet event over 'rising sun' flag". The Asahi Shimbun (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 6 October 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2018. สืบค้นเมื่อ 7 October 2018.
- ↑ 国际, 在线. 赵薇欲代言抗日网游洗刷"军旗装事件"之辱(图) [Zhao Wei wishes to endorse the anti-Japanese gaming scrubbing]. Xinhua. 11 August 2006. Chinese.
- ↑ 海上自衛隊旗章規則
- ↑ 〇海上自衛隊の使用する航空機の分類等及び塗粧標準等に 関する達
- ↑ 自衛隊の旗に関する訓令
- ↑ 桜星の数はかつての陸上自衛隊と同様、階級ではなく部隊規模を示していた。
- ↑ "Air Self Defense Force (Japan)". CRW Flags. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2016. สืบค้นเมื่อ 26 October 2019.
- ↑ Carpenter 2004, p. 124
- ↑ Fujitani 1996, pp. 48–49
- ↑ Matoba 1901, pp. 180–181
- ↑ Takahashi 1903, pp. 180–181
- ↑ 皇室儀制令 [Imperial System]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ Government of Ehime Prefecture. 愛媛県のシンボル [Symbols of Ehime Prefecture]; 2009 [archived 2018-12-25; cited 2024-12-02]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ 広島県県章および県旗の制定 เช่น ฮิโรชิมะ
- ↑ Government of Nagano Prefecture. 長野県の県章 – 県旗 [Flag and Emblem of Nagano Prefecture]; 2006. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ 天草市旗
- ↑ Communications Museum "Tei Park". 郵便のマーク [archived 2013-01-02; cited 2024-12-02]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- ↑ Prime Minister's Office, People's Republic of Bangladesh. People's Republic of Bangladesh Flag Rules (1972) [PDF]; 2005–2007 [archived 2009-03-06; cited 2024-12-02].
- ↑ Embassy of Bangladesh in the Netherlands. Facts and Figures.
- ↑ Van Fossen, Anthony B.; Centre for the Study of Australia-Asia Relations, Faculty of Asian and International Studies, Griffith University. The International Political Economy of Pacific Islands Flags of Convenience. Australia-Asia. 66(69):53.
- ↑ Republic of Palau National Government. Palau Flag; 18 July 2008 [archived 2009-11-13; cited 2024-12-02].
- ↑ Smith 2001, p. 73
- ↑ Saito 1987, p. 53
- ↑ Tazagi 2004, p. 11
- ↑ Mangan 2000, p. 213
- ↑ Gordon 1915, pp. 217–218
บรรณานุกรม
[แก้]- Ashkenazi, Michael. Handbook of Japanese Mythology. ABC-CLIO; 2003. ISBN 1-57607-467-6.
- Aspinall, Robert W. Teachers' Unions and the Politics of Education in Japan. State University of New York Press; 2001. ISBN 0-7914-5050-3.
- Befu, Harumi. Symbols of nationalism and Nihonjinron. In: Goodman, Roger and Kirsten Refsing. Ideology and Practice in Modern Japan. Routledge; 1992. ISBN 0-415-06102-4.
- Befu, Harumi. Hegemony of Homogeneity: An Anthropological Analysis of Nihonjinron. Trans Pacific Press; 2001. ISBN 978-1-876843-05-2.
- Borneman, John. Death of the Father: An Anthropology of the End in Political Authority. Berghahn Books; 2003–2011. ISBN 1-57181-111-7.
- Carpenter, Ronald H. Rhetoric In Martial Deliberations And Decision Making: Cases And Consequences. University of South Carolina Press; 2004. ISBN 978-1-57003-555-5.
- Carr, Harold Gresham; Frederick Edward Hulme. Flags of the world. London; New York: Warne; 1956.
- Cutler, Thomas. The Battle of Leyte Gulf: 23–26 October 1944. Naval Institute Press; 2001. ISBN 1-55750-243-9.
- Cwiertka, Katarzyna Joanna. Modern Japanese Cuisine: Food, Power and National Identity. Reaktion Books; 2007. ISBN 1-86189-298-5.
- Dyer, Henry. Japan in World Politics: A Study in International Dynamics. Blackie & Son Limited; 1909.
- Edgington, David William. Japan at the Millennium: Joining Past and Future. UCB Press; 2003. ISBN 0-7748-0899-3.
- Ebrey, Patricia Buckley; Anne Walthall; James Palais. East Asia: A Cultural, Social, and Political History. Houghton Mifflin Harcourt Publishing; 2004. ISBN 0-547-00534-2.
- Feiler, Bruce. Learning to Bow: Inside the Heart of Japan. Harper Perennial; 2004. ISBN 0-06-057720-7.
- Feldman, David. Do Elephants Jump?. HarperCollins; 2004. ISBN 0-06-053913-5.
- Fujitani, Takashi. Splendid Monarchy: Power and Pageantry in Modern Japan. University of California Press; 1996. ISBN 978-0-520-21371-5.
- Goodman, Roger; Ian Neary. Case Studies on Human Rights in Japan. Routledge; 1996. ISBN 978-1-873410-35-6.
- Gordon, William. Flags of the World, Past and Present. Frederick Warne & Co.; 1915.
- Hall, James. Illustrated Dictionary of Symbols in Eastern and Western Art. Westview Press; 1996. ISBN 0-06-430982-7.[ลิงก์เสีย]
- Heenan, Patrick. The Japan Handbook. Routledge; 1998. ISBN 1-57958-055-6.
- Inoguchi, Takashi; Purnendra Jain. Japanese Foreign Policy Today. Palgrave Macmillan Ltd; 2000. ISBN 0-312-22707-8.
- Itoh, Mayumi. The Hatoyama Dynasty: Japanese Political Leadership Through the Generations. Palgrave Macmillan; 2003. ISBN 1-4039-6331-2.
- Kataoka, Tetsuya. Creating Single-Party Democracy: Japan's Postwar Political System. Hoover Institution Press; 1991. ISBN 0-8179-9111-5.
- Khan, Yoshimitsu. Japanese Moral Education: Past and Present. Fairleigh Dickinson University Press; 1998. ISBN 0-8386-3693-4.
- Large, Stephen. Emperor Hirohito and Showa Japan: A Political Biography. Routledge; 1992. ISBN 0-415-03203-2.
- Lauterpacht, Elihu. In: C. J. Greenwood and A. G. Oppenheimer. International Law Reports. Cambridge University Press; 2002. ISBN 978-0-521-80775-3.
- Mangan, J.A.; Finn, Gerry; Giulianotti, Richard and Majumdar, Boria. Football Culture Local Conflicts, Global Visions. Routledge; 2000. ISBN 978-0-7146-5041-8.
- Matoba, Seinosuke. 陸軍と海軍 [Army and Navy]. 1901. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- Meyer, Milton. Japan: A Concise History. Rowman & Littlefield Publishing Group; 2009. ISBN 0-7425-4117-7.
- Newell, William. Japan in Asia: 1942–1945. Singapore University Press; 1982. ISBN 9971-69-014-4.
- Nornes, Abe Mark. Japanese Documentary Film The Meiji Era through Hiroshima. University of Minnesota Press; 2003. ISBN 0-8166-4046-7.
- Ohnuki-Tierney, Emiko. Kamikaze, Cherry Blossoms, and Nationalisms. University of Chicago Press; 2002. ISBN 978-0-226-62091-6.
- Okano, Kaori; Motonori Tsuchiya (1999), Education in Contemporary Japan, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-62686-6, สืบค้นเมื่อ 17 October 2020
- Partner, Simon. Toshié A Story of Village Life in Twentieth-Century Japan. University of California Press; 2004. ISBN 978-0-520-24097-1.
- Röhl, Wilhelm. History of law in Japan since 1868, Part 5, Volume 12. Brill; 2005. ISBN 978-90-04-13164-4.
- Saito, Shinya. 記者四十年 [Fourteen Years As A Reporter]. Asahi Shimbun Publishing; 1987. (ในภาษาญี่ปุ่น). ISBN 978-4-02-260421-7.
- Smith, Whitney. Flags Through the Ages and Across the World. McGraw-Hill; 1975. ISBN 0-07-059093-1.
- Smith, Whitney. Flag Lore Of All Nations. Millbrook Press; 2001. ISBN 0-7613-1753-8.
- Takahashi, Yuuichi. 海軍問答 [Navy Dialogue]. 1903. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- Takenaka, Yoshiharu. 知っておきたい国旗・旗の基礎知識 [Flag basics you should know]. Gifu Shimbun; 2003. (ในภาษาญี่ปุ่น). ISBN 4-87797-054-1.
- Taylor, Jean Gelman. Indonesia: Peoples and Histories. Yale University Press; 2004. ISBN 0-300-10518-5.
- Tazagi, Shirou. 梶山静六: 死に顔に笑みをたたえて [Seiroku Kajiyama: Praising the smile in the dying face]. Kodansha; 2004. (ในภาษาญี่ปุ่น). ISBN 4-06-212592-7.
- Tipton, Elise. Modern Japan A Social and Political History. Routledge; 2002. ISBN 978-0-415-18538-7.
- Trevor, Malcolm. Japan – Restless Competitor The Pursuit of Economic Nationalism. Routledge; 2001. ISBN 978-1-903350-02-7.
- Turnbull, Stephen; Howard Gerrard. Ashigaru 1467–1649. Osprey Publishing; 2001. ISBN 1-84176-149-4.
- Williams, David; Rikki Kersten (2006), The Left in the Shaping of Japanese Democracy, Routledge, ISBN 978-0-415-33435-8, สืบค้นเมื่อ 17 October 2020
- Yamazumi, Masami. 日の丸・君が代問題とは何か. Otsuki Shoten; 1988. (ในภาษาญี่ปุ่น). ISBN 4-272-41032-6.
สื่อนิติบัญญัติ
[แก้]- Government of Japan. 明治3年太政官布告第57号 [Prime Minister's Proclamation No. 57]; 27 February 1870. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- National Diet Library. 明治3年太政官布告第651号 [Prime Minister's Proclamation No. 651] [PDF]; 3 October 1870. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- Government of Japan. 大正元年閣令第一号 (大喪中ノ国旗掲揚方) [Regulation 1 from 1912 (Raising Mourning Flag For the Emperor)]; 30 July 1912 [archived 2010-08-18; cited 2024-12-02]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- Government of Japan. 自衛隊法施行令 [Self-Defense Forces Law Enforcement Order]; 30 June 1954. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- Ministry of Defense. 〇海上自衛隊の使用する航空機の分類等及び塗粧標準等に 関する達 [Standard Sizes, Markings and Paint Used On Aircraft] [PDF]; 24 December 1962. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- Government of Hiroshima Prefecture. 広島県県章および県旗の制定 [Law About the Flag and Emblem of Hiroshima Prefecture]; 16 July 1968. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- Government of Japan. 国旗及び国歌に関する法律 (法律第百二十七号) [Law Regarding the National Flag and National Anthem, Act No. 127]; 13 August 1999. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- Police of the Hokkaido Prefecture. 国旗及び国歌の取扱いについて [Law Regarding Use of the National Flag and Anthem]; 18 November 1999. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- Police of Kanagawa Prefecture. 国旗及び県旗の取扱いについて [Law Regarding the Use of the National and Prefectural Flag] [PDF]; 29 March 2003 [archived 2011-10-04; cited 2024-12-02]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- Government of Amakusa City. 天草市章 [Emblem of Amakusa]; 27 March 2003 [archived 2013-09-30; cited 2024-12-02]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- Government of Amakusa City. 天草市旗 [Flag of Amakusa]; 27 March 2003 [archived 2013-09-28; cited 2024-12-02]. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- Ministry of Defense. 自衛隊の旗に関する訓令 [Flag Rules of the JASDF] [PDF]; 25 March 2008. (ในภาษาญี่ปุ่น).
- Ministry of Defense. 海上自衛隊旗章規則 [JMSDF Flag and Emblem Rules] [PDF]; 25 March 2008. (ในภาษาญี่ปุ่น).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Japan ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
- ประวัติธงชาติญี่ปุ่น
- แบบแผนการใช้ธง (ในภาษาญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์ธงพระอิสริยยศแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น (ในภาษาญี่ปุ่น)
- ฮิโนมารุ: ความหมายเบื้องหลังธงชาติญี่ปุ่น (ในภาษาอังกฤษ)