ข้ามไปเนื้อหา

พระราชวังหลวงโตเกียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวังหลวง
皇居
พระราชวังหลวงโตเกียว
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถานะถูกรื้อถอน
ประเภทพระราชวัง
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น
เมืองเขตชิโยดะ กรุงโตเกียว
ประเทศญี่ปุ่น
ปรับปรุงค.ศ. 1964
รื้อถอนค.ศ. 1868
ผู้สร้างโทกูงาวะ โยชิโนบุ

พระราชวังหลวง (ญี่ปุ่น: 皇居โรมาจิKōkyoทับศัพท์: โคเกียว) เป็นที่ประทับหลักของจักรพรรดิญี่ปุ่น เป็นพื้นที่คล้ายสวนขนาดใหญ่อยู่ในเขตชิโยดะ กรุงโตเกียว ใกล้กับสถานีรถไฟโตเกียว ประกอบด้วยพระราชมนเทียร พระตำหนักของพระราชวงศ์ พิพิธภัณฑ์ของสะสมในพระองค์ สำนักพระราชวังหลวง และอุทยานต่าง ๆ

พระราชวังนี้สร้างขึ้นบนพื้นที่เดิมของปราสาทเอโดะซึ่งเป็นที่อยู่ของโชกุนจากตระกูลโทกูงาวะ พระราชวังเดิมถูกระเบิดทำลายลงไปมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และได้รับการบูรณะใน ค.ศ. 1964 พื้นที่โดยรวมมีขนาด 1.15 ตารางกิโลเมตร[1] ในช่วงสูงสุดของภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1980 มีผู้ประเมินราคาพื้นที่พระราชวังไว้ว่า สูงยิ่งกว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดในแคลิฟอร์เนีย[2][3]

ประวัติ

[แก้]
ภาพถ่ายทางอากาศ ในปี ค.ศ. 2019

ปราสาทเอโดะ

[แก้]

ภายหลังการล่มสลายรัฐบาลเอโดะจากการปฏิรูปเมจิ ส่งผลให้อดีตโชกุนโทกูงาวะ โยชิโนบุ ต้องย้ายออกจากปราสาทเอโดะ เพื่อเปิดทางให้จักรพรรดิเมจิและราชสำนัก ย้ายจากพระราชวังหลวงเกียวโตมายังปราสาทเอโดะ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1868 จักรพรรดิเมจิมีพระบัญชาเปลี่ยนนามปราสาทเป็น "ปราสาทโทเก" (東京城 Tōkei-jō) ตอนนั้น กรุงโตเกียวก็เรียกว่าโทเกด้วยเช่นกัน และในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1869 ปราสาทก็เปลี่ยนชื่อเป็น "ปราสาทโค" (皇城 Kōjō)[4]

พระราชวังเดิม

[แก้]

ในยุคเมจิ โครงสร้างแบบแปลนส่วนใหญ่ของปราสาทเอโดะนั้นหายไป ซึ่งบางอาคารก็ถูกรื้อถอนเพื่อเปิดทางให้สามารถก่อสร้างตำหนักหรือราชมนเทียรอื่น ๆ ในขณะที่บางตำหนักก็เสียหายจากแผ่นดินไหวและไฟไหม้ ซึ่งเหล่าพระราชมนเทียรที่สร้างขึ้นในสมัยเมจินั้น แทบจะทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาจากไม้ ซึ่งภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ในขณะที่ภายในมีการประยุกต์สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นเข้ากับยุโรป ซึ่งเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 19

ในปลายรัชสมัยจักรพรรดิไทโชช่วงต้นรัชสมัยจักรพรรดิโชวะ เริ่มมีอาคารบางส่วนที่สร้างด้วยคอนกรีต เช่น สำนักงานของกระทรวงพระราชวังและคณะองคมนตรี ซึ่งโครงสร้างประกอบกับองค์ประกอบแบบญี่ปุ่นเหล่านี้ช่วยให้พระราชวังดูทันสมัยมากขึ้น โดยที่ยังสามารถรักษาให้ทุกส่วนของพระราชวังสื่อถึงความเป็นญี่ปุ่นได้

ระเบียงภาพ

[แก้]

วังเดิม

[แก้]

วังปัจจุบัน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "皇居へ行ってみよう". Kunai-chō. สืบค้นเมื่อ 2018-01-02.
  2. Ian Cowie (7 August 2004). "Oriental risks and rewards for optimistic occidentals". The Daily Telegraph. Telegraph.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2013-05-07.
  3. Edward Jay Epstein (17 February 2009). "What Was Lost (and Found) in Japan's Lost Decade". Vanity Fair. VF Daily. สืบค้นเมื่อ 2011-09-02.
  4. http://www.wdic.org/w/CUL/%E7%9A%87%E5%B1%85

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]