ข้ามไปเนื้อหา

โชกุนิฮงงิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โชกุนิฮงงิ (ญี่ปุ่น: 続日本紀โรมาจิShoku Nihongi) เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่ได้รับมอบหมายจากจักรพรรดิ ซึ่งเขียนเสร็จใน ค.ศ. 797 หนังสือนี้เป็นเล่มที่สองจากหนังสือประวัติศาสตร์ของชาติทั้งหก โดยเป็นภาคต่อของนิฮงโชกิและภาคก่อนนิฮงโคกิ ฟูจิวาระ โนะ สึงูตากะและซูงาโนะ โนะ มามิจิทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการหลัก และเป็นหนึ่งในข้อมูลปฐมภูมิทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับยุคนาระของญี่ปุ่นที่สำคัญที่สุด

หนังสือนี้กล่าวถึงรายละเอียดตั้งแต่ปีแรกในรัชสมัยจักรพรรดิมมมุใน ค.ศ. 697 จนถึงปีที่ 10 ในรัชสมัยจักรพรรดิคัมมุใน ค.ศ. 791 รวม 9 รัชกาล และสิ้นสุดใน ค.ศ. 797[1]

หนังสือนี้มีความยาว 40 เล่ม ที่เขียนด้วยหลักเขียนแบบคัมบุง (ภาษาญี่ปุ่นในอักษรจีนคลาสสิก) เพราะในเวลานั้นเป็นเรื่องปกติที่ภาษาญี่ปุ่นทางการจะเขียนด้วยวิธีนี้[2] อย่างไรก็ตาม มี "เซ็มเมียว" (宣命) หรือ "พระราชกฤษฎีกา" จำนวนมากในข้อความที่เขียนด้วยอักษรแบบ "เซ็มเมียว-กากิ" ซึ่งเก็บคำบุพบทและกริยาลงท้ายด้วยรูปเสียง[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bender, Ross (March 2009), "Performative Loci of Shoku Nihongi Edicts, 749–770", Journal of Oral Tradition, vol. 24 no. 1, pp. 249–268
  2. Rikkokushi (『六国史』), by Tarō Sakamoto (坂本太郎) (Yoshikawa Kobunkan (吉川弘文館), 1970, republished 1994)
  3. Motosawa, Masafumi (2007-03-28). "Senmyō". Encyclopedia of Shinto. สืบค้นเมื่อ 2012-02-27.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]