ข้ามไปเนื้อหา

ไทกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไทกะ (ญี่ปุ่น: 大化, อักษรโรมัน: Taika) เป็นศักราชของญี่ปุ่นในรัชสมัยจักรพรรดิโคโตกุ[1] ซึ่งมาก่อนศักราชฮากูจิ และกินเวลาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 645 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 650[2]

ประวัติ

[แก้]

ใน ค.ศ. 645 (นับเป็นปีไทกะที่ 1) มีการตั้งศักราชไทกะขึ้นเป็นศักราชใหม่เพื่อใช้เป็นหมุดหมายแห่งการเริ่มรัชกาลจักรพรรดิโคโตกุ หลังจากจักรพรรดินีโคเงียวกุ พระมหากษัตริย์รัชกาลก่อนหน้า เสวยราชย์มาได้ 4 ปี[1]

ในญี่ปุ่น ศักราชไทกะถือเป็นศักราชแรกของญี่ปุ่นที่รับธรรมเนียมมาจากระบบศักราชจีน[2] แต่นักวิชาการบางคนตั้งข้อสงสัยว่า "ไทกะ" กับ "ฮากูจิ" เป็นชื่อศักราชจริงในประวัติศาสตร์หรือไม่[3]

เหตุการณ์ในศักราชไทกะ

[แก้]
  • ค.ศ. 645 (ปีไทกะที่ 1): จักรพรรดินีโคเงียวกุสละราชสมบัติ พระอนุชาได้รับราชสมบัติต่อ หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรรดิโคโตกุขึ้นครองราชสมบัติอย่างเป็นทางการ[4]
  • ค.ศ. 645 (ปีไทกะที่ 1): จักรพรรรดิโคโตกุริเริ่มการปฏิรูปปีไทกะ แนวคิดและจุดมุ่งหมายของการปฏิรูปอย่างเป็นระบบนี้มีบันทึกไว้ในชุดข้อเขียนซึ่งจักรพรรดิทรงอนุญาตให้เผยแพร่ ในการปฏิรูป พระองค์ทรงแบ่งประเทศออกเป็นมณฑล 8 แห่ง และยังมุ่งจัดระเบียบยศขุนนาง โดยให้แบ่งแยกด้วยหมวก 19 ประเภทที่มีรูปร่างและสีแตกต่างกันตามลำดับชั้นอันกำหนดไว้เคร่งครัด[5]
  • ค.ศ. 645 (ปีไทกะที่ 1): จักรพรรดิโคโตกุตัดสินพระทัยละทิ้ง อาซูกะ เมืองหลวงในตอนนั้น พระองค์ย้ายเมืองหลวงไปที่ นานิวะ ซึ่งอยู่ในบริเวณ อ่าวโอซากะ แทน ในสถานที่ใหม่นี้ จักรพรรดิโคโตกุพระองค์รวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางโดยไม่ชักช้า จักรพรรดิโคโตกุพระองค์ประทับอยู่ในพระราชวังซึ่งเพิ่งสร้างใหม่บนแหลม พระราชวังแห่งนี้มีชื่อว่า โทโยซากิ โนะ มิยะ พระราชวังอยู่ที่ นางาระ ในพื้นที่ของ นานิวะ แคว้นเซ็ตสึ[6]
  • ค.ศ. 646 (ปีไทกะที่ 2 วันที่ 1 เดือน 1): จักรพรรดิโคโตกุได้จัดทำปฏิทินประจำราชสำนัก

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Tisingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 47-49., p. 47, ที่กูเกิล หนังสือ
  2. 2.0 2.1 Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Taika" in Japan Encyclopedia, p. 924, p. 9247, ที่กูเกิล หนังสือ; n.b., Louis-Frédéric is pseudonym of Louis-Frédéric Nussbaum, see Deutsche Nationalbibliothek Authority File.
  3. Bialock, David T. (2007). Eccentric Spaces, Hidden Histories: Narrative, Ritual, and Royal Authority from the Chronicles of Japan to the Tale of the Heike, pp. 56-57, p. 56, ที่กูเกิล หนังสือ; excerpt at p. 57, "Whether the era name of Taika and Hakuchi are viewed as evidence of an actual precedent set by Kōtoku or as the work of chroniclers belonging to a later reign around the time of Nihon Shoki 's editing, the practice of assigning era names inaugurated a new phase in the consolidation of the court's expanding political power."
  4. Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, p. 44.
  5. Titsingh, p. 48.
  6. Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, p. 266; Osaka City website: เก็บถาวร 2009-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Osaka, history เก็บถาวร 2007-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน