จักรวรรดิพาร์เธีย
จักรวรรดิพาร์เธีย | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
247 BC–224 AD | |||||||||||
จักรวรรดิพาร์เธียในยุคที่รุ่งเรืองที่สุด | |||||||||||
เมืองหลวง | |||||||||||
ภาษาทั่วไป |
| ||||||||||
ศาสนา | |||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย[7] | ||||||||||
ชาฮันชาห์ | |||||||||||
• 247–211 BC | อาร์ซาซีสที่ 1 (แรก) | ||||||||||
• 208–224 AD | อาร์ตาบานัสที่ 4 (สุดท้าย) | ||||||||||
สภานิติบัญญัติ | Megisthanes | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยคลาสสิก | ||||||||||
• ก่อตั้ง | 247 BC | ||||||||||
• สิ้นสุด | 224 AD | ||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
1 AD[8][9] | 2,800,000 ตารางกิโลเมตร (1,100,000 ตารางไมล์) | ||||||||||
สกุลเงิน | Drachma | ||||||||||
|
จักรวรรดิพาร์เธีย (อังกฤษ: Parthian Empire) หรือ จักรวรรดิอาร์ซาซิยะห์ (Arsacid Empire) เป็นจักรวรรดิที่ดำรงอยู่ระหว่าง 247 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 224 ตั้งอยู่ในดินแดนของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน มีเมืองหลวงได้แก่ เทซีฟอน เอกแบตานา และซูซา จักรวรรดินี้สถาปนาโดยอาร์ซาซีสที่ 1 หลังพระองค์พิชิตภูมิภาคพาร์เธียได้ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล[10] ก่อนจะเริ่มแผ่ขยายอำนาจในรัชสมัยมิทริเดทีสที่ 1 เมื่อพระองค์ยึดมีเดียและเมโสโปเตเมียจากจักรวรรดิซิลูซิด จักรวรรดิพาร์เธียในยุครุ่งเรืองถึงขีดสุดครอบครองพื้นที่ตั้งแต่ตะวันออกเฉียงใต้ของอานาโตเลีย เมโสโปเตเมีย บางส่วนของคาบสมุทรอาหรับ ที่ราบสูงอิหร่าน ไปจนจรดแม่น้ำสินธุ และเป็นศูนย์กลางทางการค้าและวัฒนธรรมเนื่องจากอยู่ในเส้นทางสายไหมที่เชื่อมระหว่างจักรวรรดิโรมันกับราชวงศ์ฮั่นของจีน
247 ปีก่อนคริสตกาล อาร์ซาซีสที่ 1 ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งชาวปาร์ไน ซึ่งเป็นชนชาวอิหร่านตะวันออกที่อาศัยอยู่แถบทะเลแคสเปียน[11] ในปี 238 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์รบชนะแอนดราโกรัส หนึ่งในเซแทร็ปของจักรวรรดิซิลูซิดและครอบครองพาร์เธีย แต่ต่อมาพาร์เธียถูกพระเจ้าแอนทิโอคัสมหาราชยึดคืน สงครามระหว่างซิลูซิดและพาร์เธียจบลงช่วงสั้น ๆ เมื่ออาร์ซาซีสที่ 2 ยอมสงบศึกและอยู่ใต้อำนาจพระเจ้าแอนทิโอคัส[12] ต่อมาในปี 148–147 ปีก่อนคริสตกาล มิทริเดทีสที่ 1 แห่งพาร์เธียโจมตีภูมิภาคมีเดีย บาบิโลเนีย และเมโสโปเตเมียของซิลูซิดที่กำลังสั่นคลอนเพราะเกิดกบฏ[13] ในช่วงเวลานี้จักรวรรดิพาร์เธียผูกมิตรกับราชวงศ์ฮั่น อาณาจักรอินโด-พาร์เธีย และจักรวรรดิกุษาณะเพื่อรักษาเขตแดนด้านตะวันออก ในขณะที่เขตแดนด้านตะวันตกเผชิญกับการเข้ามาของสาธารณรัฐโรมันที่กำลังทำสงครามกับพอนตัส ในสงครามมิทริเดทีสครั้งที่สาม ฟาร์อาเตสที่ 3 ช่วยเหลือปอมปีย์ กงสุลโรมันด้วยการบุกอาร์มีเนียของสมเด็จพระเจ้าไทกราเนสมหาราช[14] แต่หลังจากนั้นเกิดความขัดแย้งระหว่างโอรสสองพระองค์ของฟาร์อาเตสคือ โอโรดีสที่ 2 กับมิทริเดทีสที่ 4 เมื่อมิทริเดทีสถูกสังหาร โรมันผู้เป็นพันธมิตรของมิทริเดทีสจึงยกทัพมาสู้กับโอโรดีสในยุทธการที่คาร์เรในปี 53 ปีก่อนคริสตกาล ยุทธการครั้งนี้เป็นการสู้รบครั้งแรก ๆ ในสงครามโรมัน–พาร์เธียที่กินเวลายาวนานเกือบ 200 ปี การสู้รบจบลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับของฝ่ายโรมันและแม่ทัพมาร์กุส ลิกินิอุส กรัสซุสถูกสังหาร เนื่องจากกรัสซุสเป็นหนึ่งในคณะสามผู้นำที่หนึ่ง หรือพันธมิตรระหว่างผู้มีอำนาจสูงสุดในโรม 3 คน การเสียชีวิตของเขาจึงส่งผลให้คณะสามผู้นำที่เหลือคือ ปอมปีย์กับจูเลียส ซีซาร์หันมาต่อสู้กันเอง นำไปสู่สงครามกลางเมืองซีซาร์ที่เกิดขึ้นระหว่าง 49–45 ปีก่อนคริสตกาล[15]
ราว 20 ปีก่อนคริสตกาล พาร์เธียและโรมันตกลงที่จะสงบศึก[16] แต่หลังจากเกิดความขัดแย้งในการปกครองราชอาณาจักรอาร์มีเนียซึ่งเปรียบเสมือนเป็นรัฐกันชนระหว่างสองจักรวรรดิ พาร์เธียและโรมันก็ทำสงครามกันอีกหลายครั้ง[17] การสงครามกับโรมันที่ยาวนาน บวกกับความขัดแย้งภายในและการอุบัติของจักรวรรดิแซสซานิด ทำให้จักรวรรดิพาร์เธียอ่อนแอลง ในปี ค.ศ. 224 จักรวรรดิพาร์เธียล่มสลายหลังอาร์ดาชีร์ที่ 1 นำทัพแซสซานิดรบชนะและสังหารอาร์ตาบานัสที่ 4 แห่งพาร์เธียในยุทธการฮอร์มอซด์กัน และขับไล่โวโลกาซีสที่ 6 กษัตริย์พาร์เธียอีกพระองค์ออกจากเมโสโปเตเมียได้สำเร็จ[18][19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Fattah, Hala Mundhir (2009). A Brief History of Iraq. Infobase Publishing. p. 46. ISBN 978-0-8160-5767-2.
One characteristic of the Parthians that the kings themselves maintained was their nomadic urge. The kings built or occupied numerous cities as their capitals, the most important being Ctesiphon on the Tigris River, which they built from the ancient town of Opis.
- ↑ 2.0 2.1 Green 1992, p. 45
- ↑ Skjaervo, Prods Oktor. "IRAN vi. IRANIAN LANGUAGES AND SCRIPTS (2) Doc – Encyclopaedia Iranica". www.iranicaonline.org (ภาษาอังกฤษ). Encyclopedia Iranica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2017.
Parthian. This was the local language of the area east of the Caspian Sea and official language of the Parthian state (see ARSACIDS) and is known from inscriptions on stone and metal, including coins and seals, and from large archives of potsherd labels on wine jars from the Parthian capital of Nisa, as well as from the Manichean texts.
- ↑ Chyet, Michael L. (1997). Afsaruddin, Asma; Krotkoff, Georg; Zahniser, A. H. Mathias (บ.ก.). Humanism, Culture, and Language in the Near East: Studies in Honor of Georg Krotkoff. Eisenbrauns. p. 284. ISBN 978-1-57506-020-0.
In the Middle Persian period (Parthian and Sassanid Empires), Aramaic was the medium of everyday writing, and it provided scripts for writing Middle Persian, Parthian, Sogdian, and Khwarezmian.
- ↑ Brosius, Maria (2006). The Persians. Routledge. p. 125. ISBN 978-0-203-06815-1.
The Parthians and the peoples of the Parthian empire were polytheistic. Each ethnic group, each city, and each land or kingdom was able to adhere to its own gods, their respective cults and religious rituals. In Babylon the city-god Marduk continued to be the main deity alongside the goddesses Ishtar and Nanai, while Hatra's main god, the sun-god Shamash, was revered alongside a multiplicity of other gods.
- ↑ Koshelenko & Pilipko 1996, p. 149-150, "Buddhism was practiced in the easternmost reaches of the Parthian Empire."
- ↑ Sheldon 2010, p. 231
- ↑ Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D (ธันวาคม 2006). "East-West Orientation of Historical Empires". Journal of World-systems Research. 12 (2): 223. ISSN 1076-156X. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2016.
- ↑ Taagepera, Rein (1979). "Size and Duration of Empires: Growth-Decline Curves, 600 B.C. to 600 A.D.". Social Science History. 3 (3/4): 121. doi:10.2307/1170959. JSTOR 1170959.
- ↑ "roughly western Khurasan" Bickerman 1983, p. 6 .
- ↑ "Parni people". Britannica. November 7, 2019. สืบค้นเมื่อ November 23, 2019.
- ↑ Bivar 1983, p. 29 ; Brosius 2006, p. 86; Kennedy 1996, p. 74
- ↑ Curtis 2007, pp. 10–11 ; Bivar 1983, p. 33 ; Garthwaite 2005, p. 76
- ↑ "Arsaces XVII, Phraates III". Livius.org. May 7, 2019. สืบค้นเมื่อ November 23, 2019.
- ↑ "Battle of Carrhae". Britannica. สืบค้นเมื่อ November 23, 2019.
- ↑ Garthwaite 2005, p. 80 ; see also Strugnell 2006, pp. 251–252
- ↑ Cartwright, Mark (March 6, 2018). "The Roman-Parthian War 58-63 CE". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ November 23, 2019.
- ↑ Lacey, James (2016). Great Strategic Rivalries: From The Classical World to the Cold War. Oxford, United Kingdom: Oxford University Press. ISBN 9780190620486.
- ↑ Chaumont & Schippmann 1988, pp. 574–580.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จักรวรรดิพาร์เธีย
- "Parthian Empire". Ancient History Encyclopedia.