ข้ามไปเนื้อหา

อินันนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ishtar)
อินันนา/อิชทาร์
เทพีอิชทาร์ (ขวา) บนตราประทับของจักรวรรดิแอกแคด 2350–2150 ปีก่อนคริสตกาล
ที่ประทับสวรรค์
ดาวพระเคราะห์ดาวศุกร์
สัญลักษณ์ปมของกกรูปตะขอ, ดาวแปดแฉก, สิงโต, ลายดอกกุหลาบ, นกพิราบ
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองดูมูซิดกับพระโอรสธิดาที่ไม่ทราบพระนาม, บาอัล
บุตร - ธิดาส่วนใหญ่ไม่มี แต่บางครั้งคือลูลัล และ/หรือ ชารา
บิดา-มารดา
  • ธรรมเนียมอูรุก: อันกับพระมารดาที่ไม่ทราบพระนาม
  • ธรรมเนียมอีซิน: นันนากับนินกัล
  • ธรรมเนียมอื่น: เอ็นลิลกับพระมารดาที่ไม่ทราบพระนาม
    หรือเอ็นกิกับพระมารดาที่ไม่ทราบพระนาม[1][2]
พี่น้อง
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น
เทียบเท่าในกรีกแอโฟรไดที, อะธีนา[3][4][5]
เทียบเท่าในโรมันวีนัส, มิเนอร์วา[3][4][5]
เทียบเท่าในคานาอันอัสตาร์ตี
เทียบเท่าในBabylonianIshtar

อินันนา (อังกฤษ: Inanna) เป็นเทพเจ้าสตรีในศาสนาเมโสโปเตเมียโบราณ มีความเกี่ยวข้องกับความรัก ความงาม เพศ สงคราม ความยุติธรรม และอำนาจทางการเมือง แรกเริ่มมีบูชาในซุเมอร์ และต่อมาชาวอักเคเดีย บาบิโลนและอัสซีเรียรับไปบูชาในพระนาม "อิชทาร์"

อินันนาเป็นเทพีอุปถัมภ์ของวิหารเออันนาในนครอูรุก ซึ่งเป็นศูนย์กลางลัทธิบูชาในยุคแรกของอินันนา ในอูรุกโบราณมีการบูชาอินันนาในสามรูป อินันนายามเช้า (Inana-UD/hud), อินันนายามเย็น (Inanna sig) และอินันนาผู้สูงศักดิ์ (Inanna NUN) สองรูปหลังนี้มีความเกี่ยวข้องกับดาวศุกร์[6][7] สัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดที่ใช้แทนอินันนารวมถึงสิงโตและดวงดาวแปดแฉก สามีของอินันนาคือเทพดูมูซิด (หรือต่อมารู้จักในชื่อ ตัมมุซ; Tammuz)

พบอินันนาปรากฏในปรัมปราต่าง ๆ มากกว่าเทพเจ้าองค์ใด ๆ ในคติซูเมอร์[8][9][10] รวมถึงยังมีนามไวพจน์ต่าง ๆ มากมายเป็นพิเศษ เทียบเคียงได้กับเทพเนร์กัล[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Black & Green 1992, p. 108.
  2. Leick 1998, p. 88.
  3. 3.0 3.1 Penglase 1994, p. 235.
  4. 4.0 4.1 Deacy 2008, pp. 20–21, 41.
  5. 5.0 5.1 Penglase 1994, pp. 233–325.
  6. Steinkeller, Piotr, "Archaic City Seals and the Question of Early Babylonian Unity" in Riches Hidden in Secret Places: Ancient Near Eastern Studies in Memory of Thorkild Jacobsen, edited by Tzvi Abusch, University Park, USA: Penn State University Press, pp. 249–258, 2002
  7. Szarzyńska, Krystyna, "Offerings for the Goddess Inana in Archaic Uruk", Revue d’Assyriologie et d’archéologie Orientale, vol. 87, no. 1, pp. 7–28, 1993
  8. Wolkstein & Kramer (1983), p. xv.
  9. Penglase (1994), pp. 42–43.
  10. Kramer (1961), p. 101.
  11. Wiggermann (1999), p. 216.

บรรณานุกรม

[แก้]