พิธีสารอัลมา-อาตา
ซ้าย-ขวา: แลออนิด เกราชุก ประธานาธิบดียูเครน นูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ ประธานาธิบดีคาซัคสถาน โบริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีรัสเซีย และสตานิสลาฟ ชูชเควิช ผู้นำเบลารุส หลังจากลงนามในสนธิสัญญา | |
วันลงนาม | 21 ธันวาคม 2534 |
---|---|
ที่ลงนาม | อัลมา-อาตา สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค สหภาพโซเวียต |
วันมีผล | 21 ธันวาคม 2534 |
ผู้ลงนาม |
|
พิธีสารอัลมา-อาตา เป็นคำประกาศก่อตั้งและหลักการของเครือรัฐเอกราช ผู้นำของรัสเซีย ยูเครน และเบลารุสได้ตกลงในข้อตกลงเบโลเวจาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2534 โดยประกาศว่าสหภาพโซเวียตล่มสลายและก่อตั้งเครือรัฐเอกราช ในวันที่ 21 ธันวาคม 2534 อาร์มีเนีย อาเซอร์ไบจาน เบลารุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน มอลโดวา รัสเซีย ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน ยูเครน และอุซเบกิสถาน เห็นด้วยกับพิธีสารอัลมา-อาตา และก่อตั้งเครือรัฐเอกราชอย่างเป็นทางการ ข้อตกลงหลังนี้รวมถึงผู้ลงนามเดิมสามรายในข้อตกลงเบโลเวจา ตลอดจนอดีตสาธารณรัฐโซเวียตอีกแปดแห่ง จอร์เจียเป็นอดีตสาธารณรัฐเพียงแห่งเดียวที่ไม่ได้เข้าร่วม ในขณะที่ลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนียปฏิเสธที่จะเข้าร่วม เนื่องจากรัฐบาลของพวกเขาระบุว่ารัฐบอลติกถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตอย่างผิดกฎหมายในปี 2483[1]
พิธีสารประกอบด้วยคำประกาศ ข้อตกลงสามฉบับ และภาคผนวกแยกกัน นอกจากนี้ จอมพลเยฟเกนี ชาปอชนีคอฟ ได้รับการยืนยันให้ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเครือรัฐเอกราช มีการลงนามสนธิสัญญาแยกต่างหากระหว่างเบลารุส คาซัคสถาน รัสเซีย และยูเครน "เกี่ยวกับมาตรการร่วมกันในเรื่องอาวุธนิวเคลียร์"[2]
พิธีสารอัลมา-อาตาได้ขจัดข้อสงสัยใด ๆ ที่ว่าสหภาพโซเวียตไม่ดำรงอยู่อีกต่อไป "ในฐานะหัวเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศและความเป็นจริงทางภูมิรัฐศาสตร์" (ตามคำนำของข้อตกลงเบโลเวจา) เนื่องจากสาธารณรัฐที่เหลืออยู่ 11 แห่งจากทั้งหมด 12 แห่งได้ประกาศว่าสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายแล้ว ผู้ลงนามยอมรับการลาออกของมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ประธานาธิบดีโซเวียต โดยเขากล่าวกับซีบีเอสนิวส์ว่าเขาจะลาออกเมื่อเห็นว่าเครือรัฐเอกราชถูกจัดตั้งจริง กอร์บาชอฟลาออกในวันที่ 25 ธันวาคม และสภาโซเวียตแห่งสาธารณรัฐแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียตลงมติยุบสหภาพโซเวียตในวันที่ 26 ธันวาคม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "THE ALMA-ATA DECLARATION". Federal Research Division / Country Studies / Area Handbook Series / Belarus / Appendix C. Library of Congress. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2001.
- ↑ (Угода про спільні заходи щодо ядерної зброї). Verkhovna Rada. 21 December 1991