คำนำหน้าชื่อเรือ
คำนำหน้าชื่อเรือ (อังกฤษ: Ship prefix) คือการรวมกันของชุดตัวอักษร ซึ่งปกติจะมาจากคำย่อ ใช้สำหรับนำหน้าชื่อเรือของพลเรือนหรือเรือรบ โดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายในการใช้งาน เช่น ระบุรูปแบบของระบบขับเคลื่อนเรือ ระบุวัตถุประสงค์ของเรือ ระบุความเป็นเจ้าของ หรือระบุสัญชาติของเรือ ซึ่งในปัจจุบัน คำนำหน้าเรือมักไม่ค่อยถูกใช้งานในเรือของพลเรือนมากนัก ในขณะที่เรือของหน่วยงานราชการหรือเรือของรัฐยังคงมีการคงไว้และใช้งานต่อไป เนื่องจากมีระบุไว้ในระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายระบุไว้ให้มีการใช้งาน โดยคำนำหน้าชื่อเรือในปัจจุบันมักมีการใช้งานในรูปแบบเดียวกันเหมือนกันหมดในกองทัพเรือของแต่ละประเทศ และคำนำหน้าอื่น ๆ สำหรับเรือช่วยรบหรือเรือที่เป็นหน่วยเรือสนับสนุน เช่น ยามฝั่งสหรัฐที่สนับสนุนการทำงานของกองทัพเรือสหรัฐ ในขณะที่กองทัพเรือของอีกหลายชาติเช่นกันไม่มีการใช้งานคำนำหน้าชื่อเรือ
ตัวอย่างของกองทัพเรือที่ใช้คำนำหน้าเรือ เช่น กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น ใช้คำนำหน้าว่า "JS"[1] – มาจากคำว่า Japanese Ship กองทัพเรือสหรัฐ ใช้คำนำหน้าว่า "USS"[2] – มาจากคำว่า United States Ship[3]
การใช้งาน
[แก้]ในอดีตนั้น คำนำหน้าชื่อเรือสำหรับเรือพลเรือนมักจะใช้ระบุรูปแบบของการขับเคลื่อนเรือ เช่น "MV" มาจากคำว่า motor vesse (เรือยนต์), "SS" มาจากคำว่า เรือกลไฟแบบใช้ใบจักรท้าย (screw steamer)[4] มักจะเรียกกันว่าเรือกลไฟ (steam ship) หรือ "PS" มาจากคำว่า เรือกลไฟแบบใช้ล้อข้าง (paddle steamer)[5][4]
ปัจจุบัน คำนำหน้าชื่อเรือสำหรับพลเรือนนั้นไม่ได้มีการใช้กันอย่างทั่วไปแล้ว สำหรับเรือที่มีการใช้งานมักจะใช้คำนำหน้าชื่อเรือเป็นอักษรย่อที่มีความหมายคือจุดประสงค์ของเรือ หรือระบุถึงความสามารถของเรือ โดยการพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้เกิดคำนำหน้าชื่อเรือที่มีหลากหลายมากยิ่งขึ้นในท้องมหาสมุทรของโลก เช่น "LPGC" มาจากคำว่า Liquified Petroleum Gas Carrier (เรือขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว)[6] หรือ "TB" มาจากคำว่า Tug boat (เรือลากจูง)[6] หรือ "DB" มาจากคำว่า Derrick barge (เรือปั่นจั่น)[6] และในอีกหลายกรณี คำย่อเหล่านี้ใช้ในการระบุตัวตนอย่างเป็นทางการตามกฎหมายเท่านั้น ไม่ได้ถูกใช้ในการเรียกขานหรือในสิ่งแวดล้อมการทำงาน ตัวอย่างคำนำหน้าระบุจุดประสงค์ของเรือ เช่น "RMS" มาจากคำว่า Royal Mail Ship (โรยัล เมล ชิป) หรือ "RV" มาจากคำว่า Research Vessel (เรือวิจัย)[6]
คำนำหน้าที่ใช้งานในเรือเดินทะเลส่วนใหญ่บ่งบอกถึงเจ้าของของเรือ แต่ก็อาจจะระบุถึงประเภทหรือวัตถุประสงค์ของเรือด้วย ในอดีตมีการใช้งานอย่างแพร่หลายที่สุดในกองทัพเรืออังกฤษ ซึ่งใช้คำนำหน้าว่า "HMS" ซึ่งย่อมาจากคำว่า "His/Her Majesty's Ship" โดยกองทัพเรืออังกฤษก็ใช้ชื่อเรือเพื่อบ่งบอกถึงประเภทและวัตถุประสงค์ของเรือในประจำการเช่นกัน เช่น "HM" ในเรือสลุป ในขณะที่กองทัพเรือในเครือจักรภพนั้นมีการนำไปปรับใช้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น HMAS, HMCS และ HMNZS ที่ใช้งานในออสเตรเลีย แคนาดา และนิวซีแลนด์ตามลำดับ
ในยุคแรก กองทัพเรือสหรัฐใช้ตัวย่อที่ระบุถึงประเภทของเรือด้วย เช่น "USF" มาจากคำว่า "United States Frigate" แนวปฏิบัตินี้ถูกยกเลิกโดยคำสั่งของฝ่ายบริหาร ฉบับที่ 549/1907 โดยประธานาธิบดี ธีโอดอร์ โรสเวลต์ ซึ่งให้ใช้คำว่า "USS" มาจากคำว่า เรือรบสหรัฐ (United States Ship) เป็นเครื่องหมายมาตรฐานสำหรับเรือรบประจำกาของกองทัพเรือสหรัฐ[7][8] โดยบังคับใช้กับเรือที่มีสถานะประจำการในช่วงเวลานั้น เรือที่ยังไม่ประจำการหรือปลดประจำการไปแล้วจะใช้เพียงชื่อเรือเท่านั้น และใช้งานกับเรื่อที่กลับมาประจำการอีกครั้ง[8][9]
อย่างไรก็ตาม คำนำหน้าชื่อเรือนั้นไม่ได้ถูกใช้งานอย่างเป็นทางการกับทุกกองทัพเรือ เช่น กองทัพเรือของจีน[10] ฝรั่งเศส[11] และรัสเซีย[12]
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา กองทัพเรือส่วนใหญ่ใช้การระบุด้วยตัวอักษรหรือหมายเลขตัวเรือ (หมายเลขชายธง)[13] หรือใช้ผสมกันทั้งสองรูปแบบ โดยรหัสเหล่านี้ถูกระบุไว้และวาดไว้ที่ด้านข้างของเรือ ซึ่งแต่ละกองทัพเรือจะมีระบบที่ใช้งานเป็นมาตรฐานของตนเอง เช่น กองทัพเรือสหรัฐใช้สัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือ[14] และกองทัพเรืออังกฤษและกองทัพเรืออื่น ๆ ในยุโรปและเครื่อจักรภพใช้ระบบหมายเลขชายธง[15]
คำนำหน้าทั่วไป (พาณิชย์นาวี)
[แก้]คำนำหน้าเหล่านี้ถูกใช้งานในเรือพาณิชย์ของทุกสัญชาติ ประกอบไปด้วย[16]
คำนำหน้า | ความหมาย |
---|---|
AE | เรือบรรทุกเครื่องกระสุน (Ammunition ship) |
AFS | เรือบรรทุกเสบียงส่งกำลังบำรุง (Combat stores ship) |
AHT | เรือสนับสนุนการลาก-จูงสมอ (Anchor handling tug) |
AHTS | เรือสนับสนุนการลาก-จูง การจัดการสมอ (Anchor handling tug supply vessel)[17] |
AO | เรือบรรทุกน้ำมันของกองทัพเรือสหรัฐ (United States Navy oiler) |
AOG | เรือบรรทุกน้ำมันเบนซิน (Gasoline tanker) |
AOR | เรือบรรทุกน้ำมันสนับสนุนการรบ (Auxiliary replenishment oiler) |
AOT | เรือขนส่งน้ำมัน (Transport oiler) [ต้องการอ้างอิง] |
ASDS | ฐานลงจอดกลางมหาสมุทร (Autonomous Spaceport Drone Ship) |
ATB | เรือลากจูงแบบพ่วง (Articulated Tug Barge) [ต้องการอ้างอิง] |
CRV | เรือวิจัยชายฝั่ง (Coastal Research Vessel)[18] |
C/F | เรือเฟอร์รี่บรรทุกรถยนต์ (Car ferry) |
CS | เรือคอนเทนเนอร์ (Container ship)[17] หรือ เรือวางสายเคเบิล (Cable ship)[19] |
DB | เรือปั้นจั่น (Derrick barge) |
DEPV | เรือพายดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Paddle Vessel)[20] |
DLB | เรือปั้นจั่นและวางท่อ (Derrick Lay Barge)[21][22] |
DCV | เรือก่อสร้างน้ำลึก (Deepwater Construction Vessel)[23] |
DSV | เรือสนับสนุนการประดาน้ำใต้ทะเล[24] (Diving support vessel)[25] หรือ ยานดำน้ำลึก (deep-submergence vehicle)[26] |
DV | เรือที่หมดสภาพการเดินเรืออย่างถาวร (Dead vessel)[27][28] |
ERRV | เรือกู้ภัยตอบสนองเหตุฉุกเฉิน (Emergency Response Rescue Vessel)[28] |
EV | เรือสำรวจ (Exploration Vessel) |
FPSO | เรือผลิตและกักเก็บปิโตรเลียม[29] (Floating production storage and offloading vessel)[17] |
FPV | เรือเครื่องยนต์ลูกสูบอิสระ (Free Piston Vessel) [ต้องการอ้างอิง] |
FPV | เรือคุ้มครองเรือประมง (Fishery Protection Vessel)[17] |
FT | เรือประมงแบบลากอวน (Factory Stern Trawler) |
FV | เรือประมง (Fishing Vessel) |
GTS | เรือเครื่องยนต์กังหันแก๊ส (Gas Turbine Ship) |
HLV | เรือเครนยักษ์[30] (Heavy lift vessel) |
HMT | เรือรับจ้างขนส่งทางการทหาร (Hired military transport)[31] ปัจจุบันไม่มีใช้งานแล้ว |
HMHS | เรือพยาบาลหลวง (His (/Her) Majesty's Hospital Ship) |
HSC | เรือความเร็วสูง (High Speed Craft)[17] |
HSF | เรือเฟอร์รี่ความเร็วสูง (High Speed Ferry)[32] |
HTV | เรือขนส่งขนาดหนัก (Heavy transport vessel) |
ITB | เรือลากจูงประกอบได้ (Integrated Tug barge)[33] |
LB | เรือแท่นยกตัวได้ (Liftboat) |
LNG/C | เรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied natural gas carrier) |
LPG/C | เรือบรรทุกปิโตรเลียมเหลว (Liquefied petroleum gas carrier) |
MF | แพขนานยนต์ (Motor ferry) |
MFV | เรือประมงยนต์ (Motor fishing vessel) ใช้งานในกำลังสำรองทางเรือของอังกฤษเป็นหลัก |
MS (M/S) | เรือยนต์ (Motor ship)[17] ใช้เปลี่ยนได้กับ MV |
MSV | เรือสนับสนุนเสบียงอเนกประสงค์ (Multipurpose support/supply vessel) |
MSY | เรือใบยอร์ชแบบมีเครื่องยนต์ (Motor Sailing Yacht) |
MT | เรือยนต์บรรทุกน้ำมัน (Motor Tanker) |
MTS | เรือการลากจูงทางทะเลและการกู้ภัย/เรือลากจูง (Marine towage and salvage/tugboat) |
MV (M/V) | เรือยนต์ (Motor Vessel)[17] (สามารถใช้แทนกันได้กับ MS) |
MY (M/Y) | เรือยอร์ช (Motor Yacht) |
NB | เรือยาวและแคบ (Narrowboat) |
NRV | เรือวิจัยของเนโท (NATO Research Vessel) |
NS | เรือพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear ship) |
OSV | เรือสนับสนุนกิจการนอกชายฝั่ง (Offshore supply vessel) |
PS | เรือกลไฟพาย (Paddle steamer) |
PSV | เรือสนับสนุนสำหรับแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Platform supply vessel) |
QSMV | เรือยนต์เพลาสี่จังหว่ะ (Quadruple screw motor vessel)[17] |
QTEV | เรือไฟฟ้ากำลังเทอร์โบสี่จังหว่ะ (Quadruple turbo electric vessel) |
RMS | เรือรอยัลเมล์ (Royal Mail Ship)[17] หรือ เรือกลไฟรอยัลเมล์ (Royal Mail Steamer) |
RNLB | เรือของสถาบันเรือชูชีพแห่งชาติ (Royal National Lifeboat) |
RRS | เรือวิจัยหลวง (Royal Research Ship) |
RV / RSV | เรือวิจัย (Research vessel) เรือสำรวจวิจัย (Research Survey Vessel)[34] |
SS (S/S) | เรือกลไฟเพลาเดี่ยว (Single-screw steamship)[17] (ใช้เป็นคำทั่วไปสำหรับเรือที่ขับเคลื่อนด้วยไอน้ำด้วย) |
SSCV | เรือเครนกึ่งจมน้ำ (Semi-submersible crane vessel) |
SSS | เรือลูกเสือทะเล (Sea Scout Ship) |
SSV | เรือดำน้ำและเรือสนับสนุนสงครามพิเศษ (Submarine and Special Warfare Support Vessel)[35] |
ST | เรือกลไฟลากจูง (Steam tug) หรือ เรือกลไฟลากอวน (Steam trawler) |
STS | เรือใบฝึกเดินเรือ (Sail training ship) |
STV | เรือใบฝึกเดินเรือ (Sail Training Vessel) หรือ เรือกังหันไอน้ำ (Steam Turbine Vessel) |
SV (S/V) | เรือใบ (Sailing Vessel) |
SY (S/Y) | เรือใบยอร์ช (sailing yacht) หรือ เรือยอร์ชไอน้ำ (steam yacht) |
TB | เรือลากจูง (Tug boat) |
TIV | เรือติดตั้งกังหันลม (Turbine Installation Vessel) |
TEV | เรือกังหันไฟฟ้า (Turbine electric vessel) |
TrSS | เรือกลไฟเพลาสาม (Triple-screw steamship or steamer)[17] |
TS | เรือฝึก (Training Ship) หรือ เรือกลไฟกังหัน (turbine steamship) หรือ เรือจักรไอน้ำ (turbine steam ship) |
Tr.SMV | เรือยนต์เพลาสาม (Triple-Screw Motor Vessel) |
TSMV | เรือยนต์เพลาคู่ (Twin-Screw Motor Vessel)[36] |
TSS | เรือกลไฟเพลาคู่หรือเรือกลไฟ (Twin-screw steamship or steamer)[17] |
TST | เรือลากจูงเพลาคู่ (Twin-screw tug) |
TT (T/T) | เรือพี่เลี้ยง ("Tender to") ..., ตามด้วยชื่อของเรือแม่ |
TV | เรือฝึก (Training vessel) |
ULCC | เรือบรรทุกน้ำมันดิบขนาดใหญ่มาก (Ultra Large Crude Carrier) |
VLCC | เรือบรรทุกน้ำดับดิบขนาดใหญ่ (Very Large Crude Carrier) |
YD | เรืออู่ปั้นจั่นขนาดใหญ่ (Yard derrick) |
YT | เรือลากจูงในอู่ (Yard Tug) |
YMT | เรือยนต์ลากจูงในอู่ (Yard Motor Tug) |
YTB | เรือลากจูงในอู่เรือขนาดใหญ่ (Yard Tug Big) |
YTL | เรือลากจูงในอู่เรือขนาดเล็ก (Yard Tug Little) |
YTM | เรือลากจูงในอู่เรือขนาดกลาง (Yard Tug Medium) |
YW | เรือบรรทุกน้ำขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (Water barge, self-propelled) |
YWN | เรือบรรทุกน้ำไม่มีเครื่องยนต์ (Water barge, non-propelled) |
YOS | เรือคอนกรีต (Concrete vessel) |
คำนำหน้าตามสัญชาติหรือสังกัดทางการทหาร
[แก้]ประเทศ | ใช้งานใน | คำนำหน้า | ความหมาย |
---|---|---|---|
แอลเบเนีย | กองทัพเรือแอลเบเนีย | ALS | Albanian Ship (คำนำหน้าตามระบบเนโท) |
แอลจีเรีย | กองทัพเรือแอลจีเรีย | ANS | Algerian Navy Ship |
อาร์เจนตินา | กองทัพเรืออาร์เจนตินา | ARA | Navy of the Argentine Republic (สเปน: Armada de la República Argentina) |
หน่วยยามฝั่งอาร์เจนตินา | GC | Argentine Coast Guard Ship (สเปน: Guardacostas) | |
ออสเตรเลีย | ราชนาวีออสเตรเลีย | HMAS | His Majesty's Australian Ship/Submarine/Station |
NUSHIP | New Ship/Submarine (อยู่ระหว่านำเข้าประจำการ) | ||
ADV | Australian Defence Vessel (ไม่มีเรือรบประจำการและปฏิบัติการ) | ||
MSA | Minesweeper Auxiliary[37] | ||
หน่วยบริการศุลกากรและป้องกันชายแดนออสเตรเลีย | ACV | Australian Customs Vessel | |
กองกำลังชายแดนออสเตรเลีย | ABFC | Australian Border Force Cutter | |
ออสเตรเลีย (ช่วงก่อนสหพันธรัฐ) | กองทัพเรืออาณานิคมของออสเตรเลีย | HMCS | His Majesty's Colonial Ship |
HMQS | His Majesty's Queensland Ship (กองกำลังป้องกันทางทะเลควีนส์แลนด์) | ||
HMVS | His Majesty's Victorian Ship (กองทัพเรือวิคตอเรีย) | ||
ออสเตรีย-ฮังการี | กองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการี | SMS | Seiner Majestät Schiff (His Majesty's Ship) |
อาเซอร์ไบจาน | กองทัพเรืออาเซอร์ไบจาน | ARG | Azərbaycan Respublikasının hərbi Gəmisi (เรือรบแห่งสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน) |
บาฮามาส | กองกำลังป้องกันประเทศบาฮามาส | HMBS | His Majesty's Bahamian Ship |
บาห์เรน | กองกำลังราชนาวีบาห์เรน | RBNS | Royal Bahrain Naval Ship |
บังกลาเทศ | หน่วยยามฝั่งบังกลาเทศ | CGS | Coast Guard Ship |
กองทัพเรือบังกลาเทศ | BNS | Bangladesh Navy Ship | |
บาร์เบโดส | หน่วยยามฝั่งบาร์เบโดส | BCGS | Barbados Coast Guard Ship |
เบลเยียม | กองทัพเรือเบลเยียม | BNS | Belgian Naval Ship (คำนำหน้าตามระบบเนโท) |
บราซิล | กองทัพเรือบราซิล | (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ) | คำนำหน้าของกองทัพเรือบราซิลจะใช้ระบุประเภทเรือ |
อินเดีย | กองกำลังหลวงทางทะเลอินเดีย (1892–1934) | RIMS | Royal Indian Marine Ship |
ราชนาวีอินเดีย (1934–1950) | HMIS | His Majesty's Indian Ship | |
บรูไน | ราชนาวีบรูไน | KDB | Kapal Di-Raja Brunei (Royal Brunei Ship เรือหลวงบรูไน) |
บัลแกเรีย | กองทัพเรือบัลแกเรีย | BNG | การกำหนดของเนโท |
แคนาดา | ราชนาวีแคนาดา (formerly Canadian Forces Maritime Command) |
HMCS NCSM |
His Majesty's Canadian Ship (ฝรั่งเศส: Navire canadien de Sa Majesté) |
CFAV NAFC |
Canadian Forces Auxiliary Vessel (ฝรั่งเศส: Navire auxiliaire des Forces canadiennes) | ||
หน่วยยามฝั่งแคนาดา | CCGS NGCC |
Canadian Coast Guard Ship (ฝรั่งเศส: Navire de Garde côtière canadienne) | |
CCGC CGCC |
Canadian Coast Guard Cutter (ฝรั่งเศส: Cotre de Garde côtière canadienne) (ไม่มีใช้งานแล้ว) | ||
กรมประมงและมหาสมุทร, กรมขนส่ง, และหน่วยงานก่อนหน้า | CGS | Canadian Government Ship (ไม่มีใช้งานแล้ว) | |
CSS | Canadian Survey Ship (ไม่มีใช้งานแล้ว) | ||
DGS | Dominion Government Ship (ไม่มีใช้งานแล้ว) | ||
นักเรียนนายร้อยนาวีแคนาดา | SCTV NECM |
Sea Cadet Training Vessel (ฝรั่งเศส: Navire école des cadets de la Marine) | |
สาธารณรัฐประชาชนจีน | กองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน | (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ) | |
โคลอมเบีย | กองทัพเรือโคลอมเบีย | ARC | Armada de la República de Colombia (กองทัพเรือสาธารณรัฐโคลอมเบีย) |
สมาพันธรัฐ | กองทัพเรือสมาพันธรัฐ | CSS | Confederate States Ship |
หมู่เกาะคุก | ตำรวจหมู่เกาะคุก | CIPPB | Cook Islands Police Patrol Boat |
เช็กเกีย | กองทัพเรือเชค | CRS | Czech Republic Ship |
เดนมาร์ก | กองทัพเรือเดนมาร์ก | HDMS (เดนมาร์ก: KDM) | His/Her Danish Majesty's Ship (เดนมาร์ก: Kongelige Danske Marine) |
HDMY (เดนมาร์ก: KDM) | His/Her Danish Majesty's Yacht, crewed by Royal Danish Navy | ||
เอกวาดอร์ | กองทัพเรือเอกวาดอร์ | BAE | Buque de la Armada de Ecuador (Ecuadorian Navy Ship) |
เอสโตเนีย | กองทัพเรือเอสโตเนีย | ENS (เอสโตเนีย: EML) | Estonian Naval Ship (การกำหนดของเนโท) |
หน่วยยามฝั่งเอสโตเนีย | ECGS | Estonian Coast Guard Ship (การกำหนดของเนโท) | |
ฟีจี | กองทัพเรือสาธารณรัฐฟิจิ | RFNS | Republic of Fiji Naval Ship |
ฟินแลนด์ | กองทัพเรือฟินแลนด์ | FNS | Finnish Navy Ship; คำนำหน้ามีไว้เพื่อระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น และไม่เคยใช้เป็นการภายใน |
ฝรั่งเศส | กองทัพเรือฝรั่งเศส | FS | French Ship (การกำหนดของเนโท) ; คำนำหน้ามีไว้เพื่อระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น และไม่เคยใช้เป็นการภายใน |
เยอรมนี | กองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมัน | SMS | Seiner Majestät Schiff (His Majesty's Ship) |
SMU | Seiner Majestät Unterseeboot (His Majesty's Submarine) | ||
ไรช์เยอรมัน | ครีคส์มารีเนอ | (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ) | |
เยอรมนีตะวันตก | บันเดสมารีน | FGS | Federal German Ship (การกำหนดของเนโท) ; ใช้เพื่อระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น และไม่เคยใช้เป็นการภายใน[38] |
เยอรมนีตะวันออก | โวลคส์มารีน | ||
เยอรมนี | กองทัพเรือเยอรมัน | FGS | Federal German Ship (การกำหนดของเนโท) ; ใช้เพื่อระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น และไม่เคยใช้เป็นการภายใน[38] |
กรีซ | ราชนาวีกรีซ | VP (กรีก: ΒΠ) | "Royal Ship" (กรีก: Βασιλικόν Πλοίον, อักษรโรมัน: Vassilikón Ploíon) ; ผู้เขียนภาษาอังกฤษบางคนใช้ RHNS สำหรับ Royal Hellenic Navy Ship หรือ HHMS สำหรับ His Hellenic Majesty's Ship |
กรีซ | กองทัพเรือกรีซ | HS | Hellenic Ship (การกำหนดของเนโท) ; ใช้สำหรับการระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น เนื่องจากคำนำหน้าเรือใช้ในการระบุประเภทเรือภายในกองทัพเอง |
กายอานา | หน่วยยามฝั่งกายอานา[39] | GDFS | Guyanese Defence Forces Ship |
ฮาวาย | กองทัพเรือฮาวาย | HHMS | His Hawaiian Majesty's Ship; มีเพียงลำเดียวเท่านั้น คือเรือไคมิโลอา (Kaimiloa) |
ไอซ์แลนด์ | หน่วยยามฝั่งไอซ์แลนด์ | ICGV (Icelandic: VS) | Icelandic Coast Guard Vessel, (Icelandic:Varðskip) |
อินเดีย | หน่วยยามฝั่งอินเดีย | ICGS | Indian Coast Guard Ship |
กองทัพเรืออินเดีย | INS | Indian Naval Ship | |
อินโดนีเซีย | กองทัพเรืออินโดนีเซีย | RI | Republik Indonesia (Republic of Indonesia). (ล้าสมัย) คำนำหน้าใช้จนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1960[40] |
KRI | Kapal Republik Indonesia (เรือของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย) | ||
KAL | Kapal Angkatan Laut (เรือของกองทัพเรือ). สำหรับเรือขนาดเล็กที่มีความยาวน้อยกว่า 36 ม. และทำจากไฟเบอร์กลาส | ||
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย | KL | Kapal Layar (เรือใบ) | |
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย | KM | Kapal Motor (เรือยนต์) | |
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย | KN | Kapal Negara (เรือของรัฐ) | |
อิหร่านปาห์ลาวี | กองทัพเรือจักรวรรดิอิหร่าน | IIS[41] | Imperial Iranian Ship (เปอร์เซีย: ناو شاهنشاهی ایران) |
อิหร่าน | กองทัพเรือสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน | IRIS[42] | Islamic Republic of Iran ship (เปอร์เซีย: ناو جمهوری اسلامی ایران) |
ไอร์แลนด์ | กองทัพเรือไอริช | LÉ | Long Éireannach (เรือไอริช) |
กรรมาธิการแห่งแสงไอริช | ILV | Irish Lights Vessel (เรือพี่เลี้ยงประภาคาร) | |
อิสราเอล | กองทัพเรืออิสราเอล | INS | Israeli Naval Ship (อักษรย่อภาษาฮีบรูที่ใช้กันภายในคือ אח"י (A.Ch.Y.) ซึ่งย่อมาจาก אניית חיל הים (Oniyat Heyl HaYam – เรือของกองทัพเรือ) |
อิตาลี | เรจามารีนา | RN | Regia Nave – เรือหลวง |
R.Smg. | Regio Sommergibile – เรือดำน้ำหลวง | ||
อิตาลี | กองทัพเรืออิตาลี | ITS | Italian Ship (การกำหนดของเนโท) ; อิตาลีไม่มีการใช้คำนำหน้าเรือในการภายใน |
จาเมกา | กองกำลังป้องกันประเทศจาเมกา | HMJS | His Majesty's Jamaican Ship |
ญี่ปุ่น | กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น | (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ) | |
ญี่ปุ่น | กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น | JDS หรือ JS | Japanese Defense Ship หรือ Japanese Ship |
เคนยา | กองทัพเรือเคนยา | KNS | Kenyan Naval Ship |
คิริบาส | กองกำลังตำรวจคิริบาส | RKS | Republic of Kiribati Ship |
เกาหลีเหนือ | กองทัพเรือประชาชนเกาหลี | (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ) | Does not use any prefixes at all, either for international identification or for ship type indication. |
คูเวต | กองทัพเรือคูเวต | KNS | Kuwait Navy Ship |
จักรวรรดิเกาหลี | กองทัพเรือจักรวรรดิเกาหลี | KIS | Korean Imperial Ship |
เกาหลีใต้ | กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี | ROKS | Republic of Korea Ship |
ลัตเวีย | กองทัพเรือลัตเวีย | LVNS | Latvian Naval Ship (การกำหนดของเนโท) |
ลิทัวเนีย | กองทัพเรือลิทัวเนีย | LKL | Lietuvos Karinis Laivas (Lithuanian Military Ship) |
LNS | Lithuanian Ship (การกำหนดของเนโท) | ||
มาเลเซีย | ราชนาวีมาเลเซีย | KD | Kapal Di-Raja – His Majesty's Ship, literal: Royal Ship. |
KLD | Kapal Layar Di-Raja - เรือใบหลวง, literal: Royal Sailing Ship. (ใช้โดย KLD ทูนัส ซามูเดรา) | ||
สำนักงานบังคับทางทะเลมาเลเซีย | KM | Kapal Maritim – เรือเดินทะเล | |
หมู่เกาะมาร์แชลล์ | ตำรวจหมู่เกาะมาร์แชลล์ | RMIS | Republic of the Marshall Islands Ship |
ไมโครนีเชีย | ตำรวจแห่งชาติไมโครนีเซีย | FSM | Federated States of Micronesia |
เม็กซิโก | กองทัพเรือเม็กซิโก | ARM | Armada de la República Mexicana |
พม่า | กองทัพเรือพม่า | UMS | Union of Myanmar Ship (พม่า: Myanmar Sit Yay Yin) |
นามิเบีย | กองทัพเรือนามิเบีย | NS | Namibian Ship |
เนเธอร์แลนด์ | ราชนาวีเนเธอร์แลนด์ | HNLMS (ดัตช์: Zr.Ms./Hr.Ms.) | His/Her Netherlands Majesty's Ship (ดัตช์: Zijner/Harer Majesteits) |
นิวซีแลนด์ | ราชนาวีนิวซีแลนด์ | HMNZS | His Majesty's New Zealand Ship |
ไนจีเรีย | กองทัพเรือไนจีเรีย | NNS | Nigerian Naval Ship |
นอร์เวย์ | ราชนาวีนอร์เวย์ | HNoMS (นอร์เวย์: KNM) | His Norwegian Majesty's Ship (นอร์เวย์: Kongelige Norske Marine), ใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 |
HNoMY (นอร์เวย์: KS) | His Norwegian Majesty's Yacht (นอร์เวย์: Kongenskipet). เรือลำเดียวที่มีคำนำหน้านี้คือ HNoMY Norge เป็นของกษัตริย์ แต่มีลูกเรือเป็นทหารเรือฃตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 | ||
กษัตริย์แห่งนอร์เวย์ | KSJ | King's Sloop นอร์เวย์: Kongesjaluppen ใช้กับเรือสำราญติดเครื่องยนต์ขนาดเล็กสองลำชื่อ Stjernen และ Invalid Optional Parameter ทรงเป็นเจ้าของตั้งแต่ พ.ศ. 2442-2483 และ พ.ศ. 2488 ถึงปัจจุบัน | |
หน่วยยามฝั่งนอร์เวย์ | NoCGV (นอร์เวย์: KV) | Norwegian Coast Guard Vessel (นอร์เวย์: Kystvakten) | |
โอมาน | ราชนาวีโอมาน | SNV | Sultanate Naval Vessel |
ปากีสถาน | กองทัพเรือปากีสถาน | PNS | Pakistan Naval Ship |
สำนักงานความมั่นคงทางทะเลปากีสถาน | PMSS | Pakistan Maritime Security Ship | |
ปาเลา | ตำรวจปาเลา | PSS | Palau State Ship |
ปาปัวนิวกินี | กองกำลังป้องกันประเทศปาปัวนิวกินี | HMPNGS | His/Her Majesty's Papua New Guinea Ship |
ปารากวัย | กองทัพเรือปารากวัย | ARP | Armada de la República del Paraguay (Navy of the Republic of Paraguay) |
เปรู | กองทัพเรือเปรู | BAP | Peruvian Navy Ship (Spanish: Buque Armada Peruana), ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2464 |
BIC | Scientific Research Ship (Spanish: Buque de Investigación Científica) | ||
ฟิลิปปินส์ | กองทัพเรือฟิลิปปินส์ | BRP | Barko ng Republika ng Pilipinas; ใช้งานตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (เรือของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์) |
RPS | Republic of the Philippines Ship (ล้าสมัย) ; ใช้งานก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 | ||
โปแลนด์ | กองทัพเรือโปแลนด์ | ORP | Okręt Rzeczypospolitej Polskiej (เรือรบแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์) |
โปรตุเกส | กองทัพเรือโปรตุเกส | NRP | Navio da República Portuguesa (เรือของสาธารณรัฐโปรตุเกส) |
PNS | Portuguese Navy Ship (การกำหนดของเนโท) ; ไม่เคยใช้เป็นการภายในกองทัพเรือ | ||
UAM | Unidade Auxiliar da Marinha – หน่วยสนับสนุนการรบของกองทัพเรือ (ใช่โดยเรือที่ไม่ใช่เรือทางทหารของกองทัพเรือโปรตุเกส) | ||
ปรัสเซีย | กองทัพเรือปรัสเซีย | SMS | Seiner Majestät Schiff (เรือหลวง) |
โรมาเนีย | ราชนาวีโรมาเนีย | NMS | Nava Majestăţii Sale (เรือหลวง) |
โรมาเนีย | กองทัพเรือโรมาเนีย | ROS | Romanian Ship (การกำหนดของเนโท) ; คำนำหน้ามีไว้เพื่อระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น และไม่เคยใช้เป็นการภายใน |
SMR | Serviciul Maritim Român (Romanian Maritime Service) ; ใช้งานโดยเรือขนส่ง | ||
รัสเซีย | กองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย | (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ) | |
รัสเซีย | กองทัพเรือรัสเซีย | RFS | Russian Federation Ship (การกำหนดของเนโท) คำนำหน้ามีไว้เพื่อระบุตัวตนระหว่างประเทศเท่านั้น และไม่เคยใช้เป็นการภายใน |
ซาอุดีอาระเบีย | ราชนาวีซาอุดิอาระเบีย | HMS | His Majesty's Ship (เหมือนกันกับราชนาวีอังกฤษ) |
สิงคโปร์ | กองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์ | RSS | Republic of Singapore Ship |
สโลวีเนีย | กองทัพเรือสโลวีเนีย | SNS | Slovenian Naval Ship (คำนำหน้าตามระบบเนโท) |
หมู่เกาะโซโลมอน | ตำรวจหมู่เกาะโซโลมอน | RSIPV | Royal Solomon Islands Police Vessel |
แอฟริกาใต้ | กองทัพเรือแอฟริกาใต้ | SAS | South African Ship/Suid-Afrikaanse Skip (ก่อนหน้านี้ใช้ HMSAS – His/Her Majesty's South African Ship) |
SATS | South African Training Ship | ||
สหภาพโซเวียต | กองทัพเรือโซเวียต | (ไม่มีคำนำหน้าอย่างเป็นทางการ) | ผู้เขียนบางคนใช้ "USSRS" สำหรับ "Union of Soviet Socialist Republics Ship" (รัสเซีย: Корабль Союза Советских Социалистических Республик).[43] |
สเปน | กองทัพเรือสเปน | ESPS Buque de la A | Spanish Navy Ship (สเปนไม่ได้ใช้คำนำหน้าเป็นการภายในกองทำ ESPN หรือ SPS ไม่มีการใช้งานแล้ว) |
ศรีลังกา | กองทัพเรือศรีลังกา | SLNS | Sri Lanka Naval Ship |
หน่วยยามฝั่งศรีลังกา | SLCG | Sri Lanka Coast Guard | |
สวีเดน | กองทัพเรือสวีเดน | HMS (English: HSwMS) | Hans/Hennes Majestäts Skepp (His/Her Majesty's Ship) HSwMS (His/Her Swedish Majesty's Ship) ใช้ในภาษาอังกฤษเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับเรือของราชนาวีอังกฤษ |
หน่วยยามฝั่งสวีเดน | KBV | Swedish Coast Guard Vessel (Swedish: Kustbevakningen) | |
สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) | กองทัพเรือสาธารณรัฐจีน | ROCS | Republic of China Ship; CNS สำหรับ "Chinese Navy Ship" เคยถูกใช้มาก่อนปี พ.ศ. 2492 |
ไทย | ราชนาวีไทย | HTMS | His Thai Majesty's Ship |
ติมอร์-เลสเต | กองกำลังป้องกันติมอร์-เลสเต | NRTL | Navio da República de Timor Leste (เรือของสาธารณรัฐติมอร์เลสเต) |
ตองงา | หน่วยป้องกันตนเองตองงา | VOEA | Vaka O Ene Afio (เรือหลวง) |
ตุรกี | กองทัพเรือตุรกี | TCG | Ship of the Turkish Republic (Turkish: Türkiye Cumhuriyeti Gemisi.) |
ตูวาลู | กองกำลังตำรวจตูวาลู | HMTSS | His/Her Majesty's Tuvalu Surveillance Ship[44][45] |
ตรินิแดดและโตเบโก | กองทัพตรินิแดดและโตเบโก | TTS | Trinidad and Tobago Ship |
สหราชอาณาจักร | เรือบรรทุกไปรษณีย์ | RMS | Royal Mail Steamer/Ship |
เรือสายเคเบิล | HMTV | His Majesty's Telegraph Vessel | |
เรือยนต์ | MS | Motor Ship. เรือสำราญ เช่น เรือ MS Queen Elizabeth ซึ่งไม่ใช่เรือบรรทุกไปรษณีย์ | |
เรือคุ้มครองเรือประมง | FPV | Fisheries Protection Vessel | |
กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร | HMAFV | His Majesty's Air Force Vessel (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) | |
เรือของกองเรือสนับสนุนฝ่ายพลเรือน | RFA | Royal Fleet Auxiliary | |
เรือของกองกำลังบริการสนับสนุนการเดินเรือ | RMAS | Royal Maritime Auxiliary Ship (ปัจจุบันล้าสมัย) | |
กองกำลังสนับสนุนการรบราชนาวี | XSV | Auxiliary Service Vessel (ปัจจุบันล้าสมัย) | |
ราชนาวี | HM Sloop | His Majesty's Sloop (ปัจจุบันล้าสมัย) | |
HMS | His Majesty's Ship/Submarine | ||
HMSm | His Majesty's Submarine (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) | ||
HMT | Hired Military Transport[46][31] (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) His Majesty's Transport/Troopship/Trawler/Tug[47] | ||
HMAV | His Majesty's Armed Vessel[48] (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) | ||
HMY | His Majesty's Yacht (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) | ||
HMMGB | His Majesty's Motor Gun Boat (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) | ||
HMM | His Majesty's Monitor (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) | ||
HMSML | His Majesty's Small Motor Launch | ||
HBMS | His Britannic Majesty's Ship (archaic) | ||
HM | His Majesty's, then used with the type of ship in military use (e.g. "HM Trawler" or "HM Rescue Tug") | ||
เรือพยาบาล | HMHS | His Majesty's Hospital Ship | |
หน่วยบริการฝึกร่วมการเดินเรือยอทช์ (JSASTC) | HMSTC | His/Her Majesty's Sail Training Craft | |
ทรินิตี้เฮาส์ | THV | Trinity House Vessel (เรือพี่เลี้ยงประภาคารและทุ่น) | |
คณะกรรมการประภาคารภาคเหนือ | NLV | Northern Lighthouse Vessel (เรือพี่เลี้ยงประภาคาร) | |
กรรมาธิการแห่งแสงไอริช | ILV | Irish Lights Vessel (เรือพี่เลี้ยงประภาคาร) | |
กองทัพบกสหราชอาณาจักร | HMAV | Her Majesty's Army Vessel[49] | |
RCLV | Royal Corps of Logistics Vessel (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) | ||
เรือวิจัยของรัฐบาล | RRS | Royal Research Ship | |
กรมรายได้และศุลกากรหลวง / กองกำลังชายแดน | HMCC, HMC | His Majesty's Customs Cutter ย่อเป็น His Majesty's Cutter หลังจากบางส่วนถูกย้ายไปยังกองกำลังชายแดน | |
กรมศุลกากรและสรรพสามิตหลวง (แทนที่ด้วย HMRC ด้านบน) | HMRC | His Majesty's Revenue Cutter (ไม่ได้ใช้ตั้งแต่ 18 เมษายน พ.ศ. 2548) นอกจากนี้ เรือหลวงลาดตระเวนสรรพากร (ตาม HMRC Vigilant พ.ศ. 2490 ไม่ได้ใช้ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2503) | |
สหรัฐ | กองทัพอากาศสหรัฐ | USAF, USAFS | United States Air Force ship (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) |
กองทัพบกสหรัฐ (ปัจจุบัน) | USAS | United States Army Ship (ปัจจุบัน) | |
USAV | United States Army Vessel (ปัจจุบัน) | ||
กองทัพบกสหรัฐ (เชิงประวัติศาสตร์) | |||
USAT | United States Army Transport (กองทัพบกสหรัฐเช่าเหมาลำเรือเปล่าสำหรับขนส่งกำลังพลหรือสินค้า ไม่ได้ใช้หลังปี 1950) | ||
USACT | United States Army Chartered Transport (ใช้สงครามโลกครั้งที่ 1 บางเวลาหรือการเดินทางเรือเช่าเหมาลำเท่านั้น; เช่น Artemis พ.ศ. 2460—2462) | ||
USAMP | U.S. Army Mine Planter (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) | ||
USAJMP | U.S. Army Junior Mine Planter (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) | ||
U.S. Army | เรือที่ไม่ได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น: เรือลากจูง, FS, Q, P เป็นต้น (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) | ||
USAHS | United States Army Hospital Ship (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) | ||
กองทัพเรือสหรัฐ | USF | United States Frigate (ล้าสมัย) | |
USFS | United States Flagship (ล้าสมัย) | ||
USS | United States Ship – เรือรบประจำการเท่านั้น[8] | ||
USNV | United States Naval Vessel (เรือสาธารณูปโภคขนาดเล็ก ไม่ใช่ MSC ดำเนินการโดยคำสั่งท้องถิ่น)[50] | ||
กองบัญชาการการลำเลียงทางทหารของกองทัพเรือสหรัฐ (MSC) | USNS | United States Naval Ship (กองทัพเรือสหรัฐเป็นเจ้าของ มีลูกเรือเป็นพลเรือน) | |
ยามฝั่งสหรัฐ | USCGC | United States Coast Guard Cutter | |
USCGD | United States Coast Guard Destroyer (ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน) | ||
องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ | NOAAS | National Oceanic and Atmospheric Administration Ship | |
หน่วยสำรวจชายฝั่งและภูมิศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา | USC&GS | United States Coast and Geodetic Survey (ล้าสมัย) ; บางครั้งมีการใช้ "S" ตัวที่สองสำหรับ "เรือสำรวจ" | |
สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ | US EPA | United States Environmental Protection Agency; ไม่มีการใช้ "S" สำหรับ "เรือ" | |
คณะกรรมการปลาและการประมงสหรัฐ | USFC | United States Fish Commission (ล้าสมัย) ; ชื่อทางการที่ใช้กันทั่วไปสำหรับคณะกรรมการ ไม่มีการใช้ "S" สำหรับ "เรือ" | |
สำนักการประมงสหรัฐ | USFS | United States Fisheries Service (ล้าสมัย) ; ชื่ออื่นที่ไม่เป็นทางการของสำนัก ไม่มีการใช้ "S" สำหรับ "เรือ" | |
องค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ | US FWS | United States Fish and Wildlife Service; ไม่มีการใช้ "S" สำหรับ "เรือ" | |
หน่วยบริการประภาคารสหรัฐ | USLHT | United States Lighthouse Tender (ล้าสมัย) | |
หน่วยสรรพากรทางทะเลสหรัฐ (พ.ศ. 2333–2437) กองเรือรัษฎากรสหรัฐ (พ.ศ. 2437–2458) | USRC | United States Revenue Cutter (ล้าสมัย) | |
อุรุกวัย | กองทัพเรืออุรุกวัย | ROU | República Oriental del Uruguay |
วานูวาตู | กองกำลังตำรวจวานูอาตู | RVS | Republic of Vanuatu Ship |
เวเนซุเอลา | กองทัพเรือเวเนซุเอลา | FNV | Fuerzas Navales de Venezuela ไม่ได้ใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 |
ARV | Armada República de Venezuela ไม่ใช้งาน พ.ศ. 2542 | ||
ARBV | Armada República Bolivariana de Venezuela | ||
เวียดนาม | กองทัพเรือประชาชนเวียดนาม | VPNS | เรือกองทัพเรือประชาชนเวียดนาม (ไม่เคยใช้; บางครั้งใช้โดยสื่อต่างประเทศหรือกองทัพเรือเพื่อตั้งชื่อเรือ แต่ไม่เคยใช้เป็นทางการและยอมรับภายในจากเจ้าหน้าที่เวียดนามและสื่อของรัฐ) |
เวียดนามใต้ | กองทัพเรือสาธารณรัฐเวียดนาม | RVNS | เรือกองทัพเรือสาธารณรัฐเวียดนาม หรือ เรือสาธารณรัฐเวียดนาม (ล้าสมัย) |
ยูโกสลาเวีย | ราชนาวียูโกสลาเวีย | KB | เซอร์เบีย: Краљевски брод, อักษรโรมัน: Kraljevski brod (English: Royal Ship, เรือหลวง) |
สังคมนิยมยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย เซอร์เบียและมอนเตเนโกร |
Jugoslovenska Ratna Mornarica JRM (English: Yugoslavia war navy, กองทัพเรือสงครามยูโกสลาเวีย) กองทัพเรือยูโกสลาเวีย พ.ศ. 2512–2535
Ratna Mornarica Vojske Jugoslavije RМVЈ (English: War navy of Yugoslavia Armed Forces, กองทัพเรือสงครามของกองทัพยูโกสลาเวีย) พ.ศ. 2535–2003 |
RTOP | Raketna Topovnjača or Ракетна Топовњача (English: Rocket gunship, เรือขีปนาวุธติดปืนกล), ตั้งชื่อโดยวีรบุรุษของประชาชนยูโกสลาเวีย |
RČ | Raketni Čamac or Ракетни Чамац (English: Rocket boat, เรือขีปนาวุธ), พ.ศ. 2512–2535, ตั้งชื่อโดยวีรบุรุษของประชาชนยูโกสลาเวีย | ||
VPBR | Veliki Patrolni Brod or Велики Патролни Брод (English: Big patrol ship,เรือลาดตรวจการณ์ขนาดใหญ่), พ.ศ. 2512–2535, ตั้งชื่อตามเมืองชายฝั่งยูโกสลาเวีย | ||
TČ | Torpedni Čamac or Торпедни Чамац (English: Torpedo boat, เรือตอร์ปิโด), พ.ศ. 2512–2535 | ||
PČ | Patrolni Čamac or Патролни Чамац (English: Patrol boat, เรือตรวจการณ์), พ.ศ. 2512–2535, ตั้งชื่อตามภูเขา | ||
PO | Pomoćni Oružar or Помоћни Оружар (English: Auxiliary аrmourer, เรือช่วยรบยานเกราะ), พ.ศ. 2512–2535 | ||
RML | Rečni minolovac or Речни миноловац (English: River minesweepers, เรือกวาดทุ่นระเบิดลำน้ำ), พ.ศ. 2512–2535, ตั้งชื่อตามสถานที่ที่มีการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่สอง | ||
RPB | Rečni patrolni brod or Речни патролни брод (English: River patrol boat เรือตรวจการณ์ลำน้ำ), พ.ศ. 2512–2535 | ||
P | Podmornica or Подморница (English: Submarine, เรือดำน้ำ), พ.ศ. 2512–2535, ตั้งชื่อตามแม่น้ำหรือคุณสมบัติของมนุษย์ | ||
RЕ | Razarač Eskortni or Разарач Ескортни (English: Escort destroyer), พ.ศ. 2512–2535 | ||
PT | Pomoćni transportni or Помоћни транспортни (English: Auxiliary transport, เรือขนส่งช่วยรบ), พ.ศ. 2512–2535 | ||
DČ | Desantni čamci or Десантни чамци (English: Landing craft, เรือระบายพล), พ.ศ. 2512–2535 |
แบบแผนการใช้คำนำหน้า
[แก้]การกำหนดสำหรับเรือของสหราชอาณาจักรนั้น มีการใช้งานในช่วงเวลาของจักรวรรดิอังกฤษ ก่อนที่จะมีการจัดตั้งกองทัพเรือแยกออกมาโดยเฉพาะสำหรับแต่ละประเทศในเครือจักรภพ
ในกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์ HNLMS เป็นคำนำหน้าในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลมาจากต้นฉบับในภาษาดัตช์คือ Hr.Ms. หรือ Zr.Ms. ซึ่งไม่ควรใช้ Hr.Ms. ในเอกสารภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามมันมักจะถูกพบเห็นในการใช้งานบนเวิลด์ไวด์เว็บ จนกระทั่งเรือถูกนำเข้าประจำการในกองเรืออย่างเป็นทางการ ชื่อของเรือจึงจะถูกใช้งานโดยไม่มีคำนำหน้า[51] โดยนับตั้งแต่สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556 คำนำหน้า Hr.Ms. ก็ถูกแทนที่ด้วย Zr.Ms.
ในออสเตรเลีย คำนำหน้า NUSHIP จะถูกใช้งานเพื่อแสดงถึงเรือที่ยังไม่ได้เข้าประจำการในกองเรือ[52]
ในสหรัฐ คำนำหน้าทั้งหมดนอกเหนือจาก USS, USNS, USNV และ USRC ถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2444 เมื่อประธานาธิบดี ทีโอดอร์ โรเซอเวลต์ ออกคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อแก้ไขระบบการตั้งชื่อในกองทัพเรือสหรัฐ[8] โดย USRC ถูกแทนที่ด้วย USCGC เมื่อกองเรือรัษฎากรสหรัฐ ได้รวมเข้ากับ หน่วยช่วยชีวิตของสหรัฐ เพื่อกลายเป็นหน่วยยามฝั่งสหรัฐในปี พ.ศ. 2458[53] ซึ่ง USLHT ก็ถูกแทนที่ด้วย USCGC เมื่อหน่วยบริการประภาคารสหรัฐถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของยามฝั่งในปี พ.ศ. 2482 ในขณะที่ USC&GS ถูกแทนที่ด้วย NOAAS เมื่อหน่วยสำรวจชายฝั่งและภูมิศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาถูกรวมเข้ากับหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลสหรัฐอีกหลายหน่วย เพื่อจัดตั้งองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ในปี พ.ศ. 2513 จากนั้น USFC ได้ถูกแทนที่ด้วย USFS หลังจากมีการจัดระเบียบคณะกรรมาธิการปลาและการประมงของสหรัฐใหม่ในปี พ.ศ. 2446 และขณะเดียวกัน USFS ก็ถูกแทนที่ใหม่โดย US FWS หลังจากสำนักงานประมงถูกรวมเข้ากับแผนกสำรวจทางชีวภาพของกระทรวงมหาดไทยสหรัฐ เพื่อจัดตั้งกรมบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งกระทรวงมหาดไทย (ซึ่งต่อมา พ.ศ. 2499 ได้รับการจัดระเบียบใหม่เป็นองค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ) ซึ่งเรือเดินทะเลขององค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐใช้คำนำหน้าว่า US FWS ซึ่งเคยเป็นคำที่ถูกโอนไปยังองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติเพื่อใช้ NOAAS เมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นปีที่ก่อตั้งหน่วยงาน
สำหรับเรือของกองทัพเรือสหรัฐที่ไม่ได้อยู่ในประจำการ จะไม่ได้ถูกเรียกชื่อว่าเรือของสหรัฐ (United States Ship) ซึ่งจะเรียกเพียงชื่อเปล่า ๆ ไม่มีคำนำหน้า ทั้งช่วงก่อนเข้าประจำการในกองเรือและหลังปลดประจำการ[8] เช่น เรือในอู่เรือและท่าเรือที่ไม่ได้ใช้งานและยังอยู่ในสถานะประจำการ จะถูกเรียกอย่างเป็นทางการตามชื่อเรือหรือหมายเลขตัวเรือโดยไม่มีคำนำหน้า[8] โดยก่อนเข้าประจำการ เรือจะถูกอธิบายว่าเป็นหน่วยเรือก่อนประจำการ หรือ PCU ตัวอย่าง เช่น เรือ ยูเอสเอส เจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด ได้ถูกกำหนดให้เป็น หน่วยเตรียมการประจำการ (PCU) เจอรัลด์ อาร์. ฟอร์ด ก่อนที่จะเข้าประจำการในปี พ.ศ. 2560[54][8] ส่วนกองบัญชาการการลำเลียงทางทหารของกองทัพเรือสหรัฐ (MSC) ซึ่งเป็นเรือที่มีลูกเรือเป็นพลเรือนและอยู่ในสถานะประจำการ จะได้รับคำนำหน้าว่า USNS มาจากคำว่า เรือกองทัพเรือสหรัฐ (United States Naval Ship) [8]
เมื่อเรือถูกแยกออกมาจากรายชื่อของกองเรือ โดยทั่วไปแล้วเรือจะใช้คำนำหน้าว่า ex- เพิ่มเข้าไปในชื่อ เพื่อแยกให้เห็นความต่างระหว่างเรือที่ยังใช้งานอยู่ซึ่งมีชื่อเดียวกัน เช่น หลังจากเรือ ยูเอสเอส คอนสเตลเลชั่น (CV-64) ปลดประจำการในปี พ.ศ. 2546 เรือจะถูกเรียกว่า เอกซ์ คอนสเตลเลชั่น (ex-Constellation)
ในนิยายวิทยาศาสตร์
[แก้]คำนำหน้าแบบอักษรสามตัวที่ถูกใช้งานในนิยายมักถูกใช้ในนิยายวิทยาศาสตร์ภาษอังกฤษ โดยใช้งานกับเรือเดินทะเลและยานอวกาศ เช่น
- สตาร์ เทรค – สหพันธ์แห่งดวงดาว (United Federation of Planets) ใช้คำนำหน้าว่า USS สำหรับยาวอวกาศ โดยจากบทสนทนาในช่วงต้นของซีรีส์ระบุว่ามันย่อมาจาก "United Space Ship"[55] ในขณะที่ในจักรวาลกระจก (Mirror Universe) จักรวรรดิเทอร์แรน (Terran Empire) ใช้คำนำหน้าว่า ISS แทน โดยที่เผ่าพันธ์อื่น ๆ ในคำนำหน้าที่แตกต่างกันสำหรับยานของตน
- คลิงงอน (Klingon) ใช้ IKS (Imperial Klingon Ship) หรือ IKC (Imperial Klingon Cruiser)
- โรมูลัน (Romulan) โดยทั่วไปจะใช้คำนำหน้าว่า IRW (Imperial Romulan Warbird) หรือ RIS ซึ่งมีการคาดเดาว่ามาจาก "Romulan Imperial Ship" และ ChR (ChR มาจากจินตนาการของผู้เขียนนวนิยาย ไดแอน ดูแอน ในจักรวาลของ สตาร์ เทรค ซึ่งชาวโรมูลันเรียกดาวเคราะห์บ้านเกิดของตนเองว่า "Ch'Rihan" ซึ่งแม้ว่าในเวอร์ชันของดูแอนจะมีแฟน ๆ จำนวนมากติดตาม แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องหลักอย่างเป็นทางการของ สตาร์ เทรค ทำนองเดียวกับการกำหนดคำนำหน้าของ ฟาเรนกี (Ferengi) ที่ใช้คำนำหน้าว่า FMS และ คาร์แดสเซีย (Cardassian) ที่ใช้คำนำหน้าว่า CDS ก็ไม่ใช่เนื้อหาทางการเช่นกัน)
- สตาร์ วอร์ส – จักรวรรดิกาแลกติก (Galactic Empire) บางครั้งใช้คำนำหน้าว่า ISD มาจากคำว่า Imperial Star Destroyer หรือชื่อเรียกของยานพิฆาตดารา
- เดดสเปช – USG ย่อมาจาก "United Spacefaring Guild" ซึ่งเป็นผู้ดูแลการปฏิบัติงานของยานอวกาศของพลเรือน รวมไปถึงยานขุดเจาะทรัพยากรชั้นนำอย่าง USG Ishimura ของ Concordance Extraction Corporation USM สำหรับกองกำลังป้องกันโลกของ EarthGov และ CMS สำหรับศัตรูเก่าคือ Sovereign Colonies Armed Forces
- เกมไททันฟอลล์ – บริษัท Interstellar Manufacturing Corporation ซึ่งเป็นศัตรูหลักในซีรีส์เกมนี้ ใช้คำนำหน้าว่า IMS โดยไม่ทราบที่มาของคำนำหน้านี้
- เกมฟรีสเปซ (Descent: FreeSpace – The Great War) – คำนำหน้าเรือต่าง ๆ ถูกเลือกใช้งานตามสายพันธุ์ ความจงรักภักดีต่อฝ่าย และระดับของยานพาหนะ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ GT และ GV สำหรับ "Galactic Terran" และ "Galactic Vasudan" ตามลำดับ NT สำหรับ "Neo-Terran" "PV" สำหรับ "Parliamentary Vasudan" และเพียง S สำหรับ "Shivan” จากนั้นคำนำหน้าจะถูกเติมด้วยประเภทและหน้าที่ของเรือตามหลังอักษรชุดแรกที่ระบุสายพันธุ์หรือฝ่าย เช่น B สำหรับ "Bomber" C สำหรับ "Cruiser" Cv สำหรับ "Corvette" D สำหรับ "Destroyer ," และ F สำหรับ "Fighter" จากที่กล่าวมาทั้งหมด เมื่อนำมาประกอบรวมกัน จะสามารถยกตัวอย่างคำนำหน้าเต็ม ๆ ได้ เช่น
- PVD จะหมายถึง "Parliamentary Vasudan Destroyer"
- NTF จะหมายถึง "Neo-Terran Fighter"
- GTC จะหมายถึง "Galactic Terran Cruiser"
- GVCv จะหมายถึง "Galactic Vasudan Corvette"
- SB จะหมายถึง "Shivan Bomber"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เรือรบญี่ปุ่นประสบความสำเร็จ ทดสอบต่อต้านขีปนาวุธนอกชายฝั่งฮาวาย". mgronline.com. 2022-12-16.
- ↑ "ไทย-สหรัฐฯ ร่วมการฝึกการัตประจำปี 2565 เพื่อยกระดับความร่วมมือทางทะเล - สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุลในประเทศไทย". th.usembassy.gov.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "u-s-s คืออะไร แปลว่าอะไร ตัวอย่างประโยค จากพจนานุกรมแปล อังกฤษ-ไทย อ.สอ เสถบุตร". www.sanook.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 "What Does SS Stand for on a Ship?". Reference.com. 28 March 2020. สืบค้นเมื่อ 18 November 2022.
screw steamer. It was originally used to distinguish a screw steamer from a paddle steamer, which was called a PS
- ↑ Megoran, John (2017). PS Kingswear Castle. Amberley Publishing. ISBN 978-1-4456-6558-0.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 vessels, Dmitry ShafranI worked as an officer in the deck department on various types of; Oil, Including; Tankers, Chemical; carriers, L. P. G.; Reefer, Even; cargo, TSHD in the early years Currently employed as Marine Surveyor carrying; draft; bunker; LinkedIn, warranty survey You can find me on (2022-08-20). "What Is MV, MT, SS, FV Ship Prefix Meaning? - Maritime Page". maritimepage.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Roosevelt, Theodore (8 January 1907). Executive Order 549. Washington, DC: President of the United States.
- ↑ "Ship Naming". Naval History and Heritage Command (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-11-04.
- ↑ "China People's Liberation Army Navy PLAN - seaforces online". www.seaforces.org.
- ↑ "Navies of Europe". www.globalsecurity.org.
- ↑ "Russian Federation Navy - seaforces online". www.seaforces.org.
- ↑ "Pennant number". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-20. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
- ↑ "Hull Classification Symbols". www.nvr.navy.mil.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Adams, Harry (2022-12-23). "What are the numbers on the side of Royal Navy ships and why are they there?". Forces Network (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Dasgupta, Soumyajit (4 March 2013). "What are Ship Prefixes for Navy and Merchant Vessels?". Marine Insight (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-10-30.
- ↑ 17.00 17.01 17.02 17.03 17.04 17.05 17.06 17.07 17.08 17.09 17.10 17.11 "Maritime Acronyms and Abbreviations". Royal Institution of Naval Architects. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2016.
- ↑ "Coastal Research Vessel | Titagarh". titagarh.in (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "ความรู้เรื่องท่าเรือและเรือ". kasemonline (ภาษาอังกฤษ). 2015-05-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-25. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
- ↑ Tait+, Roy (2010-08-05). "DEPV Talisman - The One and Only". Paddle Steamer Preservation Society (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-24. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
- ↑ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ชื่อโครงการ โครงการผลิตปิ โตรเลียมของบริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด แหล่งสุรินทร์แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย หมายเลข G4/43[ลิงก์เสีย]
- ↑ "DLB (Derrick Lay Barge) Kuroshio-2 (K2) | NIPPON STEEL ENGINEERING". www.eng.nipponsteel.com.
- ↑ "Offshore Fleet - Deepwater construction vessel (DCV)". offshore-fleet.com.
- ↑ "PANTIP.COM : X12509135 รีวิวเรือ! Mermaid Endurer @Diving Vessel เรือลำนี้มันสุดยอดจริงๆ [วิศวกรรมและเทคโนโลยี]". topicstock.pantip.com.
- ↑ "Diving Support Vessel (DSV) Archives - Seamoor Marine & Engineering" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-25. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
- ↑ "Deep Submergence Vehicles - Navy Ships". man.fas.org.
- ↑ ""Dead Vessel" doctrine". USLegal.com. US Legal, Inc. สืบค้นเมื่อ 7 February 2015.
- ↑ 28.0 28.1 "Ship Prefix Glossary – continued". richatlanticinterserv.com. Rich Atlantic International Services. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2012. สืบค้นเมื่อ 7 February 2015.
- ↑ "FPSO to Platform – Offshore Oil & Gas". DEXON Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-25. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
- ↑ "ฟังจากผู้เชี่ยวชาญ สาเหตุไม่ใช้ "เรือเครน" ย้ายเรือสินค้ายักษ์ขวางคลองสุเอซ". m.mgronline.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 31.0 31.1 "Troopship". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-07. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
The designation HMT (Hired Military Transport) ...
- ↑ "HSF Festos Palace - Alchetron, The Free Social Encyclopedia". Alchetron.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-08-18.
- ↑ "Integrated Tug Barge (ITB) / Tug/Barge Unit (TBU)". www.globalsecurity.org.
- ↑ RSV Aurora Australis 1989–2020 Australian Antarctic Division, 25 January 2017. Retrieved 26 February 2021.
- ↑ "Submarine and Special Warfare Support Vessel". Military Sealift Command. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2011. สืบค้นเมื่อ 3 December 2010.
- ↑ "Ships of CalMac". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-28. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
- ↑ Royal Australian Navy. "MSA Brolga". navy.gov.au. สืบค้นเมื่อ 23 September 2015.
- ↑ 38.0 38.1 "FGS Hessen factsheet" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-26. สืบค้นเมื่อ 2023-10-22.
- ↑ "About the Coast Guard". 4 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2010. สืบค้นเมื่อ 21 March 2010.
- ↑ Jalesveva Jayamahe (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). Jakarta: Djawatan Penerangan Angkatan Laut (Indonesian Navy Information Service). 1960.
- ↑ Moore, John, บ.ก. (1979). Jane's Fighting Ships 1979–80. London: Jane's Yearbooks. p. 253. ISBN 0-354-00587-1.
- ↑ Mazumdar, Mrityunjoy (8 January 2020). "Iranian navy upgrades Alborz frigate with new combat systems". Janes.com. สืบค้นเมื่อ 1 August 2020.
- ↑ "Russian and Soviet Navy Battleships". frontier.com. สืบค้นเมื่อ 23 September 2015.
- ↑ The Naval Institute Guide to Combat Fleets of the World, Naval Institute Press, 2002, p. 848
- ↑ Defense & Foreign Affairs Handbook, Perth Corporation, 2002, p. 1754
- ↑ "1941 Dunera Boys Hay Internment Camp Collection". NSW Migration Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
- ↑ Clark, D; Others (31 July 2017). "Glossary". 211squadron.org. สืบค้นเมื่อ 10 January 2021.
- ↑ "List of Acronyms Preceding the Name of a Ship". 22 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 22 March 2010.
- ↑ Habesch, The Army's Navy, p. 154
- ↑ Naval Undersea Warfare Center (NUWC) (25 July 2012). "Dry Dock and overhaul of USNV Battle Point YTT-10". Navy Electronic Business Opportunities. สืบค้นเมื่อ 7 April 2015.
- ↑ Circulaire Zeemacht 1569cc (1988).
- ↑ Dasgupta, Soumyajit. "What are Ship Prefixes for Naval and Merchant Vessels?". สืบค้นเมื่อ 25 August 2014.
- ↑ United States Coast Guard Historian's Office.
- ↑ "PCU Gerald R. Ford (CVN 78) Welcomes 60 New Crew Members" (Press release). Navy News Service. 6 June 2013. NNS130606-12. สืบค้นเมื่อ 24 July 2016.
- ↑ Star Trek episode "Space Seed", Season 1 Ep 22, scene with McCoy and Khan in sickbay (1967-02-16).
แหล่งที่มา
[แก้]- "Ship naming in the United States Navy". Naval History and Heritage Command. United States Navy. 6 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2015. สืบค้นเมื่อ 7 April 2015.
- "Frequently Asked Questions". USCG Historian's Office. Coast Guard History. United States Coast Guard. 5 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2017. สืบค้นเมื่อ 7 April 2015.