การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ตราสัญลักษณ์ | |
ชื่อท้องถิ่น | Electricity Generating Authority of Thailand |
---|---|
ประเภท | รัฐวิสาหกิจ |
อุตสาหกรรม |
|
ก่อนหน้า |
|
ก่อตั้ง | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2512[1] |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 53 หมู่ที่ 2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 |
จำนวนที่ตั้ง | โรงไฟฟ้า 8 แห่ง |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วราชอาณาจักร |
บุคลากรหลัก |
|
ผลิตภัณฑ์ |
|
บริการ |
|
รายได้ | 27,066 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[2] |
รายได้จากการดำเนินงาน | 742,661 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[2] |
รายได้สุทธิ | 48,923 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[2] |
สินทรัพย์ | 1,331,144 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[2] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 568,684 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)[2] |
เจ้าของ | กระทรวงการคลัง (100.00 %) |
พนักงาน | 15,317 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
บริษัทแม่ | กระทรวงพลังงาน |
แผนก |
|
บริษัทในเครือ | |
เว็บไซต์ | www |
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. (อังกฤษ: Electricity Generating Authority of Thailand, EGAT) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงพลังงาน มีหน้าที่ผลิตไฟฟ้าใช้ภายในประเทศไทย
ในปี 2564 กฟผ. มีรายได้ 556,331 ล้านบาท มีกำไรจากการดำเนินงานประมาณ 59,000 ล้านบาท มีกำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรร 374,525 ล้านบาท[3]
ในสิ้นปี 2565 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด ลำดับที่ 9[4]
ประวัติ
[แก้]จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 โดยการรวมหน่วยงาน ด้านการผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้า 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้ายันฮี การลิกไนท์ และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าเป็นหน่วยงานเดียวกัน[5] มีฐานะเป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2512
พระราชบัญญัติฉบับนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2535 มีสาระสำคัญโดยสรุปคือ
- ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สามารถดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า หรือร่วมทุนกับบุคคลอื่นเพื่อดำเนินธุรกิจดังกล่าว และให้มีอำนาจใช้สอยและครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสำรวจหาแหล่งพลังงาน ตลอดจนสถานที่สำหรับใช้ในการผลิตหรือพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยชดใช้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
- ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขที่เกี่ยวกับคุณภาพไฟฟ้า เทคนิคทางวิศวกรรม และความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า ในกรณีที่เอกชน ประสงค์จะเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- กฟผ. มีสิทธิเพิ่มวงเงินในการกู้ยืมและในการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ คณะกรรมการมีอำนาจจำหน่ายทรัพย์สินออกจากบัญชีได้ทุกกรณี โดยไม่จำกัดวงเงินโดยสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
ส่วนสาระสำคัญที่ยังคงเดิม คือ คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานคณะกรรมการกับกรรมการ (ซึ่งต้องไม่มีตำแหน่งทางการเมือง) และคณะกรรมการเหล่านี้เป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าการ กฟผ. จึงเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรีคอยกำกับดูแลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นให้ กฟผ. เข้าโครงการรัฐวิสาหกิจที่ดี ซึ่งทำให้ กฟผ. มีความคล่องตัวในการบริหารงานได้มากขึ้น
ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 มีมติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งให้นาย เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ เป็นผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยให้มีผลในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่อนุมัติ
หน้าที่
[แก้]กฟผ. มีหน้าที่ในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชน โดยผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้ใช้พลังงานไฟฟ้ารายอื่นตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งประเทศใกล้เคียง และดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านพลังงานไฟฟ้า ตลอดจนงานอื่น ๆ ที่ส่งเสริมกิจการของ กฟผ. โดยมีนโยบายหลักคือการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน มีระบบไฟฟ้าที่มั่นคงเชื่อถือได้ และราคาเหมาะสม
กฟผ. ยังทำหน้าที่บริหารกิจการและวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ที่กำหนดให้ปรับปรุงโครงสร้างองค์การและการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานให้เป็นเชิงพาณิชย์มากขึ้น ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2535 เรื่องแนวทางการดำเนินงานในอนาคตของ กฟผ. เริ่มจากปี พ.ศ. 2535 สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2539 มีเป้าหมายการดำเนินงาน คือ เปลี่ยนแปลง กฟผ. เป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) และกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยรัฐยังคงถือหุ้นใหญ่
กฟผ. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีมาเป็นลำดับ ได้แก่ การจัดตั้งบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) การออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็กและโรงไฟฟ้าเอกชน การเจรจาซื้อขายไฟฟ้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ฯลฯ สำหรับการเปลี่ยน กฟผ. เป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) เป็นให้ กฟผ. จัดตั้งบริษัทย่อยทยอยจดทะเบียนและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เมื่อมีความพร้อมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้น ไป
กิจการในสังกัด
[แก้]- บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (RATCH)
- บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (EGCO Group)
- บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด (DCAP)[6]
- บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (EGAT International Co.,Ltd.(EGATi))
- บริษัท อีแกทไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด (EGAT Diamond Service Co.,Ltd. (EDS))
ข้อวิจารณ์
[แก้]ในปี 2565 หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ตีพิมพ์บทความวิจารณ์ว่า กฟผ. เป็นผู้ผูกขาดธุรกิจไฟฟ้าในประเทศไทย โดยเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่สุดของประเทศและยังเป็นนายหน้าค้าไฟฟ้า ทำให้มีกำไรสูงกว่าผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนอันดับรองลงมา 12 รายรวมกัน โดย กฟผ. เป็นผู้ผูกขาดสายส่งไฟฟ้า จึงมีอำนาจรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนมาขายต่อให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง นอกจากนี้ กฟผ. ยังมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 1 ใน 3 ของกำลังผลิต 42,000 เมกะวัตต์ อีกทั้งมีการถือหุ้นในโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่อีก 2 รายจากทั้งหมด 7 ราย[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2011-02-26.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, รายงานประจำปี 2566 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ 3.0 3.1 "กังขา กฟผ. นายหน้าค้าไฟฟ้า ฟันกำไรอื้อ". ฐานเศรษฐกิจ. 14 December 2022. สืบค้นเมื่อ 19 December 2022.
- ↑ ปตท.แชมป์ ส่งรายได้เข้ารัฐมากสุด 1.89 หมื่นล้านบาท
- ↑ พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-16. สืบค้นเมื่อ 2011-11-19.