ฉบับร่าง:กรมธุรกิจพลังงาน
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Jeabbabe (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 8 วันก่อน (ล้างแคช) |
Department of Energy Business | |
ตราโลกุตระ ตราสัญลักษณ์ของกรม | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 |
กรมก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ |
|
บุคลากร | 361 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 258,559,900 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงพลังงาน |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกรม |
กรมธุรกิจพลังงาน (อังกฤษ: Department of Energy Business) หรือชื่อย่อ ธพ. เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงพลังงาน มีภารกิจเกี่ยวกับการกำกับ การควบคุมกิจการธุรกิจพลังงานในด้านการค้า คุณภาพ ความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน[3]
ประวัติ
[แก้]กรมธุรกิจพลังงาน ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยนโยบายการปฏิรูประบบราชการของรัฐบาล ซึ่งจัดตั้งพร้อมกับกระทรวงพลังงาน ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545[4] และพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหาร และอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545[5] ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยได้รับการโอนกิจการ อำนาจหน้าที่ และบุคลากรจาก 4 กระทรวง คือ
- กองควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย
- กองอุตสาหกรรมน้ำมัน สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม
- กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
- สำนักน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
อำนาจหน้าที่
[แก้]กรมธุรกิจพลังงาน มีหน้าที่ควบคุม ดูแล การจัดหา จัดเก็บ ขนส่ง บรรจุจำหน่าย ใช้ และการประกอบธุรกิจด้านการพลังงานทุกประเภทให้มีปริมาณ คุณภาพ ความมั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานข้อกำหนด และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง[6] การประกอบกิจการสถานีบริการ การเก็บรักษาและการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง คลังน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และกำกับดูแลการค้า การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ[7]
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]กรมธุรกิจพลังงาน แบ่งหน่วยงานออกเป็น 12 หน่วยงาน[8] ได้แก่
- สำนักงานเลขานุการกรม
- กองคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง
- กองบริการธุรกิจและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง
- กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
- กองกฎหมาย
- กองความปลอดภัยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ
- กองความปลอดภัยธุรกิจก๊าซปิโตรเลียมเหลว
- กองความปลอดภัยธุรกิจน้ำมัน
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรมธุรกิจพลังงาน, รายงานประจำปี 2566 กรมธุรกิจพลังงาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๕๙, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๒๑๒), เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๓๗ ง หน้า ๔, ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๙๙ ก หน้า ๒๓, ๒ ตุลาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหาร และอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๐๒ ก หน้า ๓๙, ๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
- ↑ กรมธุรกิจพลังงาน, ประวัติความเป็นมา, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ กรมธุรกิจพลังงาน, หน้าที่และอำนาจ, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ กรมธุรกิจพลังงาน, โครงสร้างหน่วยงาน, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567