ข้ามไปเนื้อหา

การทัพซีเรีย–เลบานอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การทัพซีเรีย-เลบานอน)
การทัพซีเรีย-เลบานอน
ส่วนหนึ่งของ เขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง ใน สงครามโลกครั้งที่สอง

ทหารออสเตรเลียซึ่งอยู่ท่ามกลางเศษซากปรักหักพังของ ปราสาทครูเซเดอร์เก่าที่ไซดอน, เลบานอน, กรกฎาคม ค.ศ. 1941
วันที่8 มิถุนายน – 14 กรกฎาคม 1941
สถานที่
ซีเรีย และ เลบานอน
ผล บริดิช–ฝรั่งเศสเสรีชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ซีเรียและเลบานอนถูกยึดครองโดยฝรั่งเศสเสรี
คู่สงคราม

 ออสเตรเลีย
 สหราชอาณาจักร

 ฝรั่งเศสเสรี

เชโกสโลวาเกีย ‎รัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกีย

 ฝรั่งเศสเขตวีชี


 ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร Archibald Wavell
สหราชอาณาจักร Henry Maitland Wilson
ออสเตรเลีย John Lavarack
กองกำลังฝรั่งเศสเสรี Paul Legentilhomme
เชโกสโลวาเกีย Karel Klapálek
ฝรั่งเศสเขตวีชี Henri Dentz
กำลัง
~34,000 troops
50+ aircraft
1 landing ship
5 cruisers
8 destroyers
45,000 troops
90 tanks
289 aircraft
2 destroyers
3 submarines
ความสูญเสีย
ป. 4,652
Australian: 1,552
Free French: ป. 1,300
British and Indian: 1,800, 1,200 POW, 3,150 sick
27 aircraft
6,352 (Vichy figures)
8,912 (British figures)
179 aircraft
1 submarine sunk
5,668 defectors
แม่แบบ:Campaignbox Mediterranean and Middle East Theatre

แม่แบบ:Campaignbox Syria-Lebanon แม่แบบ:Campaignbox Free French

แม่แบบ:Campaignbox Vichy France Military in World War II

การทัพซีเรีย-เลบานอน หรือ ปฏิบัติการเอ็กซ์พอร์เตอร์ (Operation Exporter) เป็นการบุกยึดครองของบริติซในดินแดนซีเรีย-เลบานอนภายใต้การปกครองโดยวิชีฝรั่งเศสตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1941,ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสได้ให้เอกราชให้กับซีเรียในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1936 โดยมีสิทธิที่จะบำรุงรักษากองกำลังติดอาวุธและสนามบินสองแห่งในดินแดน

เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1941 รัฐประหารในประเทศอิรัก ค.ศ. 1941 ได้เกิดขึ้นและอิรักได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนักชาตินิยมชาวอิรักที่นำโดยราชีดอาลี ที่ได้ยื่นร้องขอการสนับสุนจากเยอรมัน สงครามอังกฤษ-อิรัก(2–31 พฤษภาคม ค.ศ. 1941) นำไปสู่การล้มล้างระบอบอาลีและการก่อตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดของบริติซ บริติซได้บุกครองซีเรียและเลบานอนในเดือนมิถุนายนเพื่อเป็นการขัดขวางไม่ให้นาซีเยอรมนีจากการใช้วิชีฝรั่งเศสที่คอยควบคุมสาธารณรัฐซีเรียและฝรั่งเศสเลบานอนเพื่อเป็นฐานทัพสำหรับการโจมตีที่อียิปต์ ในช่วงการบุกครองได้สร้างความน่ากลัวในผลพวงของชัยชนะของเยอรมันในยุทธการที่กรีซ (6 - 30 เมษายน ค.ศ. 1941) และยุทธการที่เกาะครีต (20 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน) ในการทัพทะเลทรายตะวันตก (ค.ศ. 1940–1943) ในแอฟริกาเหนือ บริติซกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับปฏิบัติการขวานรบเพื่อทำการคลายวงล้อมทูบลัก และเข้าต่อสู้รบในการทัพแอฟริกาตะวันออก (10 มิถุนายน ค.ศ. 1940 – 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941) ในเอธิโอเปียและเอริเทรีย

วิชีฝรั่งเศสได้ทำการป้องกันซีเรียอย่างเข้มแข็ง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม เมื่อกองพลน้อยออสเตรเลียที่ 21 กำลังจะเคลื่อนทัพเข้าสู่เบรุต ฝรั่งเศสได้เจราจาขอสงบศึก ในช่วงเวลาหนึ่งนาทีที่ผ่านมาจนถึงเที่ยงคืน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม การหยุดยิงได้มีผลบังคับใช้และยุติการทัพ การสงบศึกที่ Saint Jean d'Acre (อนุสัญญาเอเคอร์) ได้ถูกลงนาม เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ที่ค่ายทหารซิดนีย์สมิธในเขตชานเมือง นิตยสารไทม์ได้เรียกการสู้รบครั้งนี้ว่าเป็น"การโชว์ผสมรวม" ในขณะที่กำลังกำลังเกิดขึ้นและการทัพครั้งนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แม้แต่ในประเทศที่เข้าร่วม มีหลักฐานว่าบริติซได้ทำการปกปิด(censored)รายงานการสู้รบ เพราะนักการเมืองมีความเชื่อว่าการสู้รบกับกองกำลังฝรั่งเศสอาจจะส่งผลเสียต่อความคิดเห็นของประชาชนในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ