โดฮา
โดฮา الدوحة | |
---|---|
ทวนเข็มนาฬิกาจากบน: ตึกระฟ้าโดฮายามค่ำคืน; อาคารสมัยใหม่ที่ย่านเวสต์เบย์; อะมีรีดีวานที่ทำหน้าที่เป็นสำนักงานของเอมีร์แห่งกาตาร์; ซูกวากิฟ; พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ; ย่านมุชัยริบ และหมู่บ้านวัฒนธรรมกะตารอ | |
ที่ตั้งของโดฮาในบริเวณอ่าวเปอร์เซีย | |
พิกัด: 25°17′12″N 51°32′0″E / 25.28667°N 51.53333°E | |
ประเทศ | กาตาร์ |
เทศบาล | โดฮา |
สถาปนา | ค.ศ. 1825 |
พื้นที่ | |
• พื้นที่นคร | 132 ตร.กม. (51 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2015)[1] | |
• พื้นที่นคร | 956,457 คน |
• ความหนาแน่น | 7,200 คน/ตร.กม. (19,000 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+3 (AST) |
เว็บไซต์ | visitqatar.com/about-qatar/doha |
โดฮา (อังกฤษ: Doha; อาหรับ: الدوحة) เป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางทางการเงินหลักของประเทศกาตาร์ ตั้งอยู่ริมชายฝั่งอ่าวเปอร์เซียทางตะวันออกของประเทศ ทางเหนือของอัลวักเราะฮ์และทางใต้ของอัลเคาร์ นครนี้เป็นที่ตั้งของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ[2] และยังเป้นนครที่เติบโตเร็วที่สุดของประเทศ โดยประชากรมากกว่าร้อยละ 80 ของประเทศอาศัยอยู่ในโดฮาหรือชานเมืองรอบนคร[1]
โดฮาได้รับการสถาปนาในคริสต์ทศวรรษ 1820 ในฐานะเมืองสาขาของอัลบิดดะอ์ เมื่อกาตาร์ประกาศเอกราชจากรัฐในอารักขาของบริติช โดฮาจึงได้รับการประกาศเป็นเมืองหลวงของประเทศใน ค.ศ. 1971[3]
นครนี้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการพัฒนารอบโดฮาระดับรัฐมนตรีครั้งแรกขององค์การการค้าโลก และยังได้รับเลือกเป็นเมืองเจ้าภาพกีฬาหลายครั้ง เช่น เอเชียนเกมส์ 2006, แพนอาหรับเกมส์ 2011, เวิลด์บีชเกมส์ 2019, กีฬาทางน้ำชิงแชมป์โลก, วอลเลย์บอลชายชิงแชมป์สโมสรโลก, ดับเบิลยูทีเอ รอบชิงชนะเลิศ และเกมส่วนใหญ่ในเอเชียนคัพ 2011 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 World Petroleum Council จัดการประชุมปิโตรเลียมโลกครั้งที่ 20 ที่โดฮา[4] นอกจากนี้ ตัวนครยังเป็นที่จัดงานการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ ค.ศ. 2012 และฟุตบอลโลก 2022[5]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]กระทรวงเทศบาลและสิ่งแวดล้อมโดฮารายงานว่า ชื่อ "โดฮา" มีต้นตอจากศัพท์ภาษาอาหรับว่า เดาฮะฮ์ หมายถึง "ความกลม" ซึ่งสื่อถึงอ่าวโค้งมนล้อมรอบแนวชายฝั่งของนคร[6]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิประเทศ
[แก้]โดฮาตั้งอยู่บริเวณส่วนกลาง-ตะวันออกของประเทศกาตาร์ โดยชายฝั่งติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีความสูง 10 เมตร (33 ฟุต)[7] โดฮามีความเป็นนครอย่างมาก การถมที่ดินนอกชายฝั่งเพิ่มพื้นผิวที่ไป 400 เฮกตาร์และชายฝั่ง 30 กิโลเมตร[8] มีการสร้างท่าอากาศยานนานาชาติฮะมัดขึ้นบนบริเวณที่ถมดินครึ่งหนึ่งของพื้นที่ผิว 22 ตารางกิโลเมตร[9]
ภูมิอากาศ
[แก้]โดฮามีสภาพภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน BWh) ที่มีฤดูร้อนยาวนานและร้อนจัด และฤดูหนาวที่อบอุ่นเล็กน้อยถึงอบอุ่นและสั้น อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายนสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100 องศาฟาเรนไฮต์) และมักถึง 45 องศาเซลเซียส (113 องศาฟาเรนไฮต์) ความชื้นมักต่ำสุดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ในช่วงฤดูร้อน จุดน้ำค้างอาจสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส (86 องศาฟาเรนไฮต์) ตลอดช่วงฤดูร้อนโดยเฉลี่ย ตัวนครเกือบไม่มีหยาดน้ำฟ้า ส่วนในช่วงเดือนอื่นมีน้อยกว่า 20 มิลลิเมตร (0.79 นิ้ว)[10] อุณหภูมิสูงสุดเท่าที่บันทึกมาอยู่ที่ 50.4 องศาเซลเซียส (122.7 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2010[11]
ข้อมูลภูมิอากาศของโดฮา (ค.ศ. 1962–2013, สูงสุด ค.ศ. 1962–2013) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 32.4 (90.3) |
36.5 (97.7) |
41.5 (106.7) |
46.0 (114.8) |
47.7 (117.9) |
49.1 (120.4) |
50.4 (122.7) |
48.6 (119.5) |
46.2 (115.2) |
43.4 (110.1) |
38.0 (100.4) |
32.7 (90.9) |
50.4 (122.7) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 22.0 (71.6) |
23.4 (74.1) |
27.3 (81.1) |
32.5 (90.5) |
38.8 (101.8) |
41.6 (106.9) |
41.9 (107.4) |
40.9 (105.6) |
38.9 (102) |
35.4 (95.7) |
29.6 (85.3) |
24.4 (75.9) |
33.06 (91.51) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 17.8 (64) |
18.9 (66) |
22.3 (72.1) |
27.1 (80.8) |
32.5 (90.5) |
35.1 (95.2) |
36.1 (97) |
35.5 (95.9) |
33.3 (91.9) |
30.0 (86) |
25.0 (77) |
20.0 (68) |
27.8 (82.04) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 13.5 (56.3) |
14.4 (57.9) |
17.3 (63.1) |
21.4 (70.5) |
26.1 (79) |
28.5 (83.3) |
30.2 (86.4) |
30.0 (86) |
27.7 (81.9) |
24.6 (76.3) |
20.4 (68.7) |
15.6 (60.1) |
22.48 (72.46) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 3.8 (38.8) |
5.0 (41) |
8.2 (46.8) |
10.5 (50.9) |
15.2 (59.4) |
21.0 (69.8) |
23.5 (74.3) |
22.4 (72.3) |
20.3 (68.5) |
16.6 (61.9) |
11.8 (53.2) |
6.4 (43.5) |
3.8 (38.8) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 13.2 (0.52) |
17.1 (0.673) |
16.1 (0.634) |
8.7 (0.343) |
3.6 (0.142) |
0.0 (0) |
0.0 (0) |
0.0 (0) |
0.0 (0) |
1.1 (0.043) |
3.3 (0.13) |
12.1 (0.476) |
75.2 (2.961) |
ความชื้นร้อยละ | 74 | 70 | 63 | 53 | 44 | 41 | 50 | 58 | 62 | 63 | 66 | 74 | 59.8 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 1.7 | 2.1 | 1.8 | 1.4 | 0.2 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.1 | 0.2 | 1.3 | 8.8 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 244.9 | 224.0 | 241.8 | 273.0 | 325.5 | 342.0 | 325.5 | 328.6 | 306.0 | 303.8 | 276.0 | 241.8 | 3,432.9 |
แหล่งที่มา 1: NOAA[12] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Qatar Meteorological Department (ภูมิอากาศปกติ 1962–2013)[13][14] |
ประชากร
[แก้]ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1820[15] | 250 | — |
1893[16] | 6,000 | +2300.0% |
1970[17] | 80,000 | +1233.3% |
1986[3] | 217,294 | +171.6% |
1998[18] | 264,009 | +21.5% |
2001[19] | 299,300 | +13.4% |
2004[3] | 339,847 | +13.5% |
2005[20][21] | 400,051 | +17.7% |
2010[22] | 796,947 | +99.2% |
2015[1] | 956,457 | +20.0% |
ประชากรทั้งหมดในเขตมหานครโดฮา[23] | |
---|---|
ปี | ประชากรในมหานคร |
1997 | 434,000[24] |
2004 | 644,000[25] |
2008 | 998,651[26] |
ประชากรในประเทศกาตาร์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในโดฮาและในเขตมหานคร[27] เขตที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุดคืออันนะญาดะฮ์ ซึ่งก็เป็นบริเวณที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศ ความหนาแน่นประชากรทั่วเขตมหานครโดฮาอยู่ในช่วง 20,000 คนต่อตารางกิโลเมตรถึง 25-50 คนต่อตารางกิโลเมตร[28] โดฮาเผชิญกับอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรในทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งดึงดูดประชากรส่วนใหญ่หลายพันคนที่อพยพไปยังกาตาร์ทุกเดือน[29]: 6
กลุ่มชาติพันธุ์และภาษา
[แก้]ประชากรในโดฮาเต็มไปด้วยชาวต่างชาติ ส่วนชาวกาตาร์เป็นชนกลุ่มน้อย ชาวต่างชาติที่มีจำนวนมากที่สุดมาจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ส่วนใหญ่มาจากอินเดีย, ปากีสถาน, ศรีลังกา, เนปาล, ฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ และมีชาวต่างชาติจำนวนมากประเทศอาหรับแถบลิแวนต์, จิบูตี, โซมาเลีย, แอฟริกาเหนือ และเอเชียตะวันออก โดฮายังเป้นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติหลายคนจากยุโรป, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย[30]
ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการในประเทศกาตาร์ ส่วนภาษาอังกฤษโดยทั่วไปใช้เป็นภาษาที่สอง[31] และเริ่มกลายเป็นภาษากลาง โดยเฉพาะในด้านการค้า[32] เนื่องจากมีประชากรต่างชาติจำนวนมาก มำให้ภาษาอย่างมลยาฬัม, ทมิฬ, เบงกอล, ตากาล็อก, สเปน, สิงหล, ฝรั่งเศส, อูรดู และฮินดีมีผู้พูดอย่างแพร่หลาย[30]
การแจ้งเกิดในโดฮาตามสัญชาติ[23][33][34] | |||
---|---|---|---|
ปี | ชาวกาตาร์ | ไม่ใช่ชาวกาตาร์ | รวม |
2001 | 2,080 | 3,619 | 5,699 |
2002 | 1,875 | 3,657 | 5,532 |
2003 | 2,172 | 4,027 | 6,199 |
2004 | 2,054 | 3,760 | 5,814 |
2005 | 1,767 | 3,899 | 5,666 |
2006 | 1,908 | 4,116 | 6,024 |
2007 | 1,913 | 4,708 | 6,621 |
2008 | 1,850 | 5,283 | 7,133 |
2009 | 2,141 | 5,979 | 8,120 |
2010[35] | 1,671 | 5,919 | 7,590 |
2011[36] | 1,859 | 6,580 | 8,439 |
2015 | 1,949 | 9,215 | 11,164 |
2020 | 4,005 | 15,381 | 19,386 |
ศาสนา
[แก้]พลเมืองในโดฮาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม[37] ส่วนประชากรชาวคริสต์ 150,000 คนในโดฮา แบ่งออกเป็นผู้ที่นับถือโรมันคาทอลิกมากกว่า 90%[38] หลังเอมีร์ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาในการจัดสรรที่ดินแก่โบสถ์ โบสถ์แม่พระแห่งลูกประคำเปิดให้สักการะในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 โครงสร้างโบสถ์เป็นแบบพินิจพิเคราะห์ และไม่มีการแสดงสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ที่ด้านนอกอาคาร[39]
เขตการปกครอง
[แก้]เขต
[แก้]ในช่วงที่เข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 โดฮามีเพียง 9 เขตหลัก[40] ในสำมะโน ค.ศ. 2010 มีบันทึกเขตในเทศบาลโดฮามากกว่า 60 เขต[41] จำนวนเขตด้านล่างคือตัวอย่างบางส่วน ดังนี้:
- อัลบิดดะอ์ (البدع)
- อัดดัฟนะฮ์ (الدفنة)
- อัลฆอนิม (الغانم)
- อัลมัรคียะฮ์ (المرخية)
- อัสซัดด์ (السد)
- อัลวะอับ (الوعب)
- ฟะรีจญ์ บิน มะห์มูด (فريج بن محمود)
- มะดีนะฮ์ เคาะลีฟะฮ์ (مدينة خليفة)
- มุชัยริบ (مشيرب)
- นัจญ์มะฮ์ (نجمه)
- ท่าอากาศยานเก่า (المطار القديم)
- อัลกุฏ็อยฟียะฮ์ (القطيفية)
- รอสอะบูอะบูด (راس أبو عبود)
- อัรรุมัยละฮ์ (الرميلة)
- อุมม์ฆุวัยลีนะฮ์ (ام غو يلينه)
- เวสต์เบย์ (الخليج الغربي)
หลังกาตาร์เป็นเอกราชไม่นาน มาหลายเขตในโดฮาเก่า ซึ่งรวมไปถึงอันนะญาดะฮ์, Al Asmakh และอัลฮิตมีเก่าเผชิญกับการเสื่อมถอยทีละน้อยและเป็นผลให้สถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ถูกทำลาย[42] ส่วนรัฐบาลหันไปมุ่งเน้นในพื้นที่อ่าวโดฮา ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตอัดดัฟนะฮ์และเวสต์เบย์[42]
เศรษฐกิจ
[แก้]น้ำมันและแก๊สธรรมชาติของกาตาร์ส่วนมาก เป็นตัวสำคัญทำให้เศรษฐกิจก้าวหน้า และโดฮายังเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอีกด้วย เศรษฐกิจโดฮาสร้างรายได้กับประเทศได้อย่างมหาศาล รัฐบาลกาตาร์พยายามที่จะกระจายการลงทุนในการสั่งซื้อน้ำมันอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการขยายตัวเมืองขึ้นมาก
สายการบิน กาตาร์แอร์เวย์ มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงโดฮา
การคมนาคม
[แก้]โดฮา มีการพัฒนาการคมนาคมอย่างมาก เช่น การสร้างทางหลวงสายใหม่ การสร้างท่าอากาศยานนานาชาติโดฮาใหม่ และวางแผนสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งการคมนาคมของโดฮาเติบโตในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น
การศึกษา
[แก้]สถานบันอุดมศึกษาในโดฮา
- มหาวิทยาลัยเครือจักรภพเวอร์จิเนีย
- Weill Cornell Medical College in Qatar
- Texas A&M University at Qatar
- Carnegie Mellon University in Qatar
- Georgetown University School of Foreign Service in Qatar
- มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น
- HEC Paris
- UCL Qatar
สถานบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ในโดฮา
กีฬา
[แก้]ฟุตบอล
[แก้]ฟุตบอลเป็นกีฬายอดนิยมที่สุดในโดฮา โดยมีสโมสรฟุตบอลจากโดฮาถึง 6 ทีมในกาตาร์สตาร์ลีก ลีกฟุตบอลระดับสูงสุดของประเทศ ได้แก่ อัลอะฮ์ลี, อัลอะเราะบี, อัสซัดด์, อัดดุฮัยล์ และกาตาร์[43] อัสซัดด์ อัลอะเราะบี และกาตาร์เป็น 3 สโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์ลีก[44]
มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลในโดฮาหลายครั้ง โดยครั้งที่สำคัญที่สุดคือเอเชียนคัพใน ค.ศ. 1988 และ2011[45] กับฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์โลก 1995[46]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 กาตาร์ชนะสิทธิ์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022[47]
เมืองพี่น้อง
[แก้]เมืองพี่น้องของนครโดฮา ได้แก่:
- ตูนิส ประเทศตุนิเซีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 1994)[48]
- แอลามีดา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ (ตั้งแต่ ค.ศ. 2004)[49]
- พอร์ตลูอิส ประเทศมอริเชียส (ตั้งแต่ ค.ศ. 2007)[50]
- ปักกิ่ง ประเทศจีน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2008)[51]
- บัยต์ซาฮูร รัฐปาเลสไตน์ (ตั้งแต่ ค.ศ. 2009)[52]
- บันจูล ประเทศแกมเบีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 2011)[53]
- แอลเจียร์ ประเทศแอลจีเรีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 2013)[54]
- ซาราเยโว ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (ตั้งแต่ ค.ศ. 2018)[55]
- บราซิเลีย ประเทศบราซิล (ตั้งแต่ ค.ศ. 2014)[56]
- โซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 2012)[57]
- ซานซัลวาดอร์ ประเทศเอลซัลวาดอร์ (ตั้งแต่ ค.ศ. 2018)[58]
- ทบิลีซี ประเทศจอร์เจีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 2012)[59]
- อัสตานา ประเทศคาซัคสถาน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2011)[60]
- บิชเคก ประเทศคีร์กีซสถาน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2018)[61]
- โมกาดิชู ประเทศโซมาเลีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 2014)[62]
- อังการา ประเทศตุรกี (ตั้งแต่ ค.ศ. 2016)[63]
- ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ (ตั้งแต่ ค.ศ. 2016)[64] (แม้จะมีการระบุไว้ตามข้อตกลง ในเว็บไซต์ทางการของลอสแอนเจลิสกลับไม่ระบุเป็นเมืองพี่น้อง)
- ไมแอมี รัฐฟลอริดา สหรัฐ (ตั้งแต่ ค.ศ. 2016)[65]
- ลีเบร์ตาดอร์ ประเทศเวเนซุเอลา (ตั้งแต่ ค.ศ. 2015)[66]
- ชาลส์ตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา สหรัฐ (2019)[67]
- เยเรวาน ประเทศอาร์มีเนีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 2022)[68]
ห้องแสดงภาพ
[แก้]-
ตึกระฟ้าย่านเวสต์เบย์ของโดฮาจากสวนเชอราตัน
-
เทศกาลฤดูใบไม้ผลิที่ซูกวากีฟ โดฮา
-
ตึกแฝดนี้เป็นหนึ่งในตึกแรก ๆ ของโดฮา และเป็นตัวอย่างสำคัญของสถาปัตยกรรมหลังสมัยใหม่
-
Msheireb Enrichment Centre
-
ตึกระฟ้าโดฮามองจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลาม
-
ตึกระฟ้าโดฮายามค่ำคืน
-
ภาพถ่ายทางอากาศส่วนหนึ่งของนคร
-
โรงแรม Marsa Malaz Kempinski ที่โดฮา
-
โดฮาจากเบื้องบน ค.ศ. 2009
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 The Report: Qatar 2016. Oxford Business Group. 2016. p. 17. ISBN 978-1-910068-63-2.
- ↑ "Doha municipality accounts for 40% of Qatar population". Gulf Times. 20 October 2015. สืบค้นเมื่อ 23 October 2015.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Encyclopædia Britannica. "Doha – Britannica Online Encyclopedia". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
- ↑ "Welcome to the 20th World Petroleum Congress". 20wpc.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-10. สืบค้นเมื่อ 2013-07-29.
- ↑ Saraiva, Alexia (2 August 2018). "Get To Know The 8 2022 Qatar World Cup Stadiums". ArchDaily.
- ↑ "District map". The Centre for Geographic Information Systems of Qatar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-24. สืบค้นเมื่อ 29 May 2018.
- ↑ "Map of Doha, Qatar". Climatemps.com. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
- ↑ "New land by the sea: Economically and socially, land reclamation pays" (PDF). International Association of Dredging Companies. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
- ↑ "DEME: Doha Airport Built on Reclaimed Land Becomes Fully Operational". Dredging Today. 3 June 2014. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
- ↑ "Doha weather information". Wunderground.com. 2010-06-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
- ↑ Masters, Jeff. "Bolivia ties its all-time heat record". Weather Underground. Dr. Jeff Masters' WunderBlog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2010. สืบค้นเมื่อ 23 November 2010.
- ↑ "Doha International Airport Climate Normals 1962-1992". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ September 29, 2016.
- ↑ "Climate Information For Doha" (ภาษาอังกฤษ). Qatar Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2016. สืบค้นเมื่อ November 27, 2016.
- ↑ "41170: Doha International Airport (Qatar)". ogimet.com. OGIMET. 19 March 2021. สืบค้นเมื่อ 19 March 2021.
- ↑ "Historical references to Doha and Bidda before 1850" (PDF). The Origins of Doha Project. p. 2. สืบค้นเมื่อ 19 May 2015.
- ↑ Kurşun, Zekeriya (2002). The Ottomans in Qatar: a history of Anglo-Ottoman conflicts in the Persian Gulf. Istanbul : Isis Press. pp. 16–17. ISBN 978-975-428-213-9.
- ↑ Abdulla Juma Kobaisi. "The Development of Education in Qatar, 1950–1970" (PDF). Durham University. p. 11. สืบค้นเมื่อ 17 June 2015.
- ↑ Hassan Khayat; Ismail Amer; Saleh Arifi; Ahmed Babaker; Bassam Nasr; Nizam Shafei; Fatimah Al Kuwari; Ali Ibrahim Sheib; Mohammed Khazemi; Nasser Fakhro; Mohammed Al Kuwari (1998). موسوعة المعلومات القطرية (Qatar Information Encyclopedia) (ภาษาอาหรับ). Qatar University. p. 235.
- ↑ "Doha". Tiscali.co.uk. 1984-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
- ↑ "Sheraton Doha Hotel & Resort | Hotel discount bookings in Qatar". Hotelrentalgroup.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-19. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
- ↑ "hotelsdoha.eu". hotelsdoha.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-09. สืบค้นเมื่อ 2013-03-26.
- ↑ "Qatar population statistics". geohive.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2015. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
- ↑ 23.0 23.1 "Population statistics". Qatar Information Exchange. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2015. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
- ↑ Florian Wiedmann; Ashraf M. Salama; Alain Thierstein. "Urban evolution of the city of Doha: an investigation into the impact of economic transformations on urban structures" (PDF). pp. 44–45. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-14. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
- ↑ World and Its Peoples. Marshall Cavendish. 2006. p. 61. ISBN 978-0-7614-7571-2.
- ↑ "Doha 2016 Summer Olympic Games Bid". GamesBids.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
- ↑ Marco Dilenge. "Dubai and Doha: Unparalleled Expansion" (PDF). Crown Records Management UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
- ↑ "Facts and figures". lusail.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2015. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
- ↑ De Bel-Air, Françoise (2017). Demography, Migration, and the Labour Market in Qatar (PDF) (Report). European University Institute and the Gulf Research Center. GLMM - EN - No. 3/2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-28. สืบค้นเมื่อ 2020-03-21.
- ↑ 30.0 30.1 Humaira Tasnim; Abhay Valiyaveettil; Ingmar Weber; Venkata Kiran Garimella. "Socio-geographic map of Doha". Qatar Computing Research Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
- ↑ Baker, Colin; Jones, Sylvia Prys (1998). Encyclopedia of Bilingualism and Bilingual Education. Multilingual Matters. p. 429. ISBN 978-1-85359-362-8.
- ↑ Guttenplan, D. D. (11 June 2012). "Battling to Preserve Arabic From English's Onslaught". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 November 2013.
- ↑ "WELCOME TO Qatar Statistics Authority WEBSITE". Qsa.gov.qa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-21. สืบค้นเมื่อ 2013-03-26.
- ↑ "Statistics: Births & Deaths". Qatar Planning & Statistics Authority. สืบค้นเมื่อ 23 March 2022.
- ↑ "Births and deaths in 2010" (PDF). Qatar Information Exchange. Qatar Statistics Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 May 2015. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015.
- ↑ "Births and deaths in 2011" (PDF). Qatar Information Exchange. Qatar Statistics Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 September 2016. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015.
- ↑ "Religious demography of Qatar" (PDF). US Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-24. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
- ↑ Shabina Khatri (20 June 2008). "Qatar opens first church, quietly". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
- ↑ Sonia Verma (14 March 2008). "Qatar hosts its first Christian church". The Times. สืบค้นเมื่อ 15 June 2015.
- ↑ Jaidah, Ibrahim; Bourennane, Malika (2010). The History of Qatari Architecture 1800-1950. Skira. p. 25. ISBN 978-88-6130-793-3.
- ↑ "Census 2010". Qatar Statistics Authority. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2010. สืบค้นเมื่อ 2013-07-25.
- ↑ 42.0 42.1 Djamel Bouassa. "Al Asmakh historic district in Doha, Qatar: from an urban slum to living heritage". Journal of Architectural Conservation. 20 (1): 1–14. สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.
- ↑ "Qatar Stars League 2014/2015 » Teams". worldfootball.net. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ "Qatar Stars League » Champions". worldfootball.net. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ "AFC Asian Cup history". AFC Asian Cup. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ1995fifa
- ↑ "2018 and 2022 FIFA World Cup Hosts Announced". BBC News. 2 December 2010. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
- ↑ "International Cooperation". Municipality of Tunis. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "Alameda California cuts ties with the emir". Gulf Times. 11 July 2019. สืบค้นเมื่อ 22 September 2019.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "International Links". City Council of Port Louis. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "Sister cities". eBeijing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2010. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
- ↑ "Twinning". Beit Sahour Municipality Palestine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2018. สืบค้นเมื่อ 30 May 2018.
- ↑ Momodou Faal (28 October 2011). "Gambia: Banjul Signs Twinnng Pact With Doha". The Daily Observer (Banjul). สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "Amir's visit to Algeria significant: envoy". Gulf Times. 26 February 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ "Qatar and Bosnia vow to boost ties". The Peninsula. 20 February 2018. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "اتفاقية توأمة بين مدينتي الدوحة وبرازيليا" (ภาษาอาหรับ). Al Sharq. 23 February 2014. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "HE Prime Minister Presides Over Cabinet Regular Meeting". Press Arabia. 28 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2020. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "توقيع اتفاقية توأمة بين بلديتي الدوحة وسان سلفادور" (ภาษาอาหรับ). Ministry of Municipality and Environment. 29 March 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-12. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "Legal Framework". Embassy of Georgia to the State of Qatar. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "زيارة الأمير الأخيرة لكازاخستان أعطت زخماً للعلاقات الثنائية" (ภาษาอาหรับ). Al Raya. 11 December 2015. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "HH The Amir Issues Two Decrees". Government of the State of Qatar. 19 February 2018. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "Mungaab seeks Doha's help in reviving Mogadishu". Somali Agenda. 13 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2021. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "Doha, Ankara sign twinning agreement". Gulf Times. 24 August 2016. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "Joint Statement by the United States and Qatar on the Conclusion of the Second Annual Economic and Investment Dialogue". U.S. Department of State. 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "Twinning Agreement between Miami and Doha". Istithmar USA. 5 June 2016. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "HH the Emir, Venezuelan President Witness Signing of Agreements". Ministry of Foreign Affairs (Qatar). 25 November 2015. สืบค้นเมื่อ 31 May 2018.
- ↑ "Doha and US city of Charleston sign twinning agreement". 22 October 2019.
- ↑ "The meeting of the Prime Ministers of Armenia and Qatar took place, based on the results of which a number of documents were signed". primeminister.am. 13 June 2022. สืบค้นเมื่อ 14 June 2022.