ข้ามไปเนื้อหา

ฮิโรชิมะ

พิกัด: 34°23′29″N 132°27′07″E / 34.39139°N 132.45194°E / 34.39139; 132.45194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Hiroshima)
ฮิโรชิมะ

広島市
Hiroshima skyline within A-Bomb Dome
Hiroshima Castle
Hiroshima Peace Memorial Museum
Hiroshima Peace Memorial Park
Hiroshima trams in Kamiyacho–Hatchobori area
Shukkei-en Garden of Peace
ธงของฮิโรชิมะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของฮิโรชิมะ
ตรา
ที่ตั้งของฮิโรชิมะ (เน้นสีม่วง) ในจังหวัดฮิโรชิมะ
ที่ตั้งของฮิโรชิมะ (เน้นสีม่วง) ในจังหวัดฮิโรชิมะ
แผนที่
ฮิโรชิมะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ฮิโรชิมะ
ฮิโรชิมะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 34°23′29″N 132°27′07″E / 34.39139°N 132.45194°E / 34.39139; 132.45194
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคชูโงกุ, ซังโย
จังหวัด ฮิโรชิมะ
ก่อตั้งค.ศ. 1589
จัดตั้งเทศบาลนคร1 เมษายน ค.ศ. 1889
ผู้ก่อตั้งโมริ เทรูโมโตะ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีคาซูมิ มัตสึอิ (松井 一實)
พื้นที่
 • นครใหญ่ที่รัฐกำหนด906.69 ตร.กม. (350.07 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มิถุนายน ค.ศ. 2024)
 • นครใหญ่ที่รัฐกำหนด1,181,049 คน
 • ความหนาแน่น1,303 คน/ตร.กม. (3,370 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[1] (ค.ศ. 2015)1,431,634 คน
สัญลักษณ์
 • ต้นไม้การบูร
 • ดอกไม้ยี่โถ
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสท้องถิ่น34100-2
โทรศัพท์082-245-2111
ที่อยู่ศาลาว่าการ1-6-34 โคกูไตจิ เขตนากะ นครฮิโรชิมะ 730-8586
เว็บไซต์www.city.hiroshima.lg.jp
ฮิโรชิมะ
"ฮิโรชิมะ" เมื่อเขียนด้วยคันจิแบบชินจิไต
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
ชินจิไต広島
คีวจิไต廣島
การถอดเสียง
โรมาจิHiroshima

นครฮิโรชิมะ (ญี่ปุ่น: 広島市โรมาจิHiroshima-shi[çiɾoɕima] ) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น มีจำนวนประชากร ณ วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2024 ประมาณ 1,181,049 คน เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในชูโงกุ ซึ่งเป็นภูมิภาคทางตะวันตกของเกาะฮนชู ชื่อของเมือง "ฮิโรชิมะ" มีความหมายว่า "เกาะที่กว้างใหญ่ไพศาล"

ฮิโรชิมะก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1589 ในฐานะเมืองปราสาทบนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอตะ หลังจากการปฏิรูปเมจิใน ค.ศ. 1868 ฮิโรชิมะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นศูนย์กลางเมืองและศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ ฮิโรชิมะได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลนครอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1889 เมืองนี้เป็นศูนย์กลางทางการทหารของญี่ปุ่นในยุคจักรวรรดิ โดยมีบทบาทสำคัญในสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น และสงครามโลกทั้งสองครั้ง

ฮิโรชิมะเป็นเมืองแรกของโลกที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ในพื้นที่แปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง เวลา 8:15 น. เมื่อกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ (USAAF) ทิ้งระเบิดปรมาณู "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโรชิมะ[2] ส่วนใหญ่ของเมืองถูกทำลาย และเมื่อสิ้นปีมีผู้เสียชีวิตจากการระเบิดและผลกระทบหลังจากการระเบิดดังกล่าวราว 90,000 ถึง 166,000 คน จึงมีการตั้งอนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ (แหล่งมรดกโลกยูเนสโก) เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงการทิ้งระเบิดดังกล่าว และอนุสาวรีย์ของเด็กหญิงซาดาโกะผู้ทำให้เกิดประเพณีการพับนกกระเรียนกระดาษพันตัว เพื่อภาวนาให้หายป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บ

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ยุคเซ็งโงกุ (ค.ศ. 1589–1871)

[แก้]

ค.ศ. 1589 ก่อนการจัดตั้งรัฐบาลเอโดะเพียงไม่นาน ฮิโรชิมะจัดตั้งขึ้นบนชายฝั่งสามเหลี่ยมปากแม่น้ำของ ทะเลในเซโตะ ด้วยบัญชาของขุนพล โมริ เทรูโมโตะ เขาสร้างนครฮิโรชิมะ เพื่อเป็นเมืองหลวงของดินแดนในอิทธิพลของเขา ภายหลังจากที่เขาย้ายออกมาจากปราสาทโคริยามะในเขตอากิ ในการขึ้นเมืองใหม่นี้ ปราสาทฮิโรชิมะถูกบัญชาให้สร้างขึ้นจนแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1592 และในอีก 8 ปีต่อมาในยุทธการที่เซกิงาฮาระ ขุนพลเทรูโมโตะได้พ่ายแพ้ต่อกองทัพของโทกูงาวะ อิเอยาซุ ทำให้เขา ต้องสูญเสียหัวเมืองต่าง ๆ จำนวนมาก[3]ตลอดจนนครฮิโรชิมะ

ยุคจักรวรรดิ (ค.ศ. 1871–1939)

[แก้]

ภายหลัง ระบอบเจ้าขุนมูลนายที่เรียกว่า ฮัง (藩) ได้ถูกล้มเลิกลงในยุคเมจิในปี ค.ศ. 1871 นครฮิโรชิมะได้กลายเป็นเมืองเอกของจังหวัดฮิโรชิมะ ตลอดจนกลายเป็นเมืองศูนย์กลางที่สำคัญในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเปลี่ยนจากวิถีชนบทเป็นวิถีอุตสาหกรรมในตัวเมือง ระหว่างทศวรรษที่ 1870 หนึ่งในเจ็ดของโรงเรียนรัฐบาลภาคภาษาอังกฤษได้ถูกจัดตั้งขึ้นในนครฮิโรชิมะ[4] ในทศวรรษที่ 1880 มีการก่อสร้างท่าเรืออูจินะขึ้นจากความพยายามของผู้ว่าราชการ ซากาอากิ เซ็นดะ ซึ่งได้ทำให้ฮิโรชิมะกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญ

ทางรถไฟได้ขยายมาถึงฮิโรชิมะ ในปี ค.ศ. 1894 นอกจากนี้ทางรถไฟจากสถานีฮิโรชิมะไปยังท่าเรืออูจินะ ก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อการทหารในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ในช่วงสงคราม รัฐบาลญี่ปุ่น ต้องย้ายที่ทำการเป็นการชั่วคราวมายังฮิโรชิมะ และจักรพรรดิเมจิ ก็ทรงย้ายมาประทับที่ปราสาทฮิโรชิมะ ตั้งแต่กันยายน ค.ศ. 1894 ถึง เมษายน ค.ศ. 1895[5] ความสำคัญของนครฮิโรชิมะที่มีต่อรัฐบาลญี่ปุ่นนั้น เราสามารถเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า การเจรจาสงบศึกระหว่างผู้แทนของจีนและญี่ปุ่นครั้งแรก ก็ถูกจัดขึ้นที่ฮิโรชิมะ ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895

โรงงานอุตสาหกรรมยุคใหม่ อาทิโรงงานฝ้ายถูกจัดตั้งขึ้นในฮิโรชิมะในปลายศตวรรษที่ 19[6] และยังมีการกำเนิดขึ้นของอุตสาหกรรมมากมายอีกในฮิโรชิมะ ในระหว่างสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1904 ซึ่งญี่ปุ่นจำเป็นต้องพัฒนาและเพิ่มการผลิตยุทธภัณฑ์ นอกจากนี้ ศูนย์แสดงสินค้าการพาณิชย์ประจำจังหวัดฮิโรชิมะ ก็ถูกก้อสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1915 เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าขายตลอดจนการจัดแสดงสินค้าใหม่ ๆ ซึ่งปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมประจำจังหวัดฮิโรชิมะ (Hiroshima Prefectural Industrial Promotion Hall) [7]

สงครามโลกครั้งที่สองและการทิ้งระเบิดปรมาณู (ค.ศ. 1939–1945)

[แก้]

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองพลทหารราบที่ 2 และ กองทัพภาคชูโงกุ ได้ตั้งฐานทัพในฮิโรชิมะ ในขณะที่กองทัพเรือก็ตั้งฐานทัพที่ท่าเรืออูจินะเช่นเดียวกัน ในตัวเมืองยังมีแหล่งยุทธปัจจัยมากมาย ถือได้ว่า เป็นศูนย์กลางทางการลำเลียงที่สำคัญ

การทิ้งระเบิดโตเกียวและเมืองอื่น ๆ ของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ทำลายล้างพื้นที่ไปอย่างกว้างขวางและมีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน เช่นที่ เมืองโทยามะ บ้านเรือนกว่า 128,000 หลังคาเรือนได้ถูกทำลายจนสิ้น และการทิ้งระเบิดที่โตเกียวได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่าหนึ่งแสนคน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการทิ้งระเบิดเพลิงในฮิโรชิมะ ถึงกระนั้น ฮิโรชิมะก็มีการป้องกันภัยจากระเบิดเพลิงเป็นอย่างดี มีการระดมนักเรียนอายุระหว่าง 11–14 ปีมาช่วยรื้อถอนบ้านและสร้างแนวกันไฟขึ้น

ในเช้าวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ระเบิดนิวเคลียร์ "ลิตเติลบอย" ได้ถูกทิ้งสู่ฮิโรชิมะ โดยเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-29 ซึ่งขับโดย พันเอกพอล ทิบเบ็ตส์ การระเบิดได้คร่าชีวิตชาวเมืองไปในทันทีกว่า 80,000 คน และสถิติในสิ้นปีเดียวกันได้บันทึกไว้ว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้ได้รับผลข้างเคียงจากกัมมันตรังสีกว่า 90,000–140,000 คน จากประชากรของเมืองก่อนการระเบิด อยู่ที่ราว 340,000 คน อาคารบ้านเรือนราว 69% ของเมือง ถูกทำลายลงอย่างราบคาบ ในขณะที่ 7% ได้รับความเสียหายอย่างหนัก

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ฮนโดริ ย่านช็อปปิงในฮิโรชิมะ
ชุกเกเอ็ง สวนที่มีชื่อเสียง

ฮิโรชิมะตั้งอยู่ระหว่างสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอตะ โดยมีอ่าวฮิโรชิมะ หันหน้าออกสู่ทะเลในเซโตะทางด้านทิศใต้

เขตการปกครอง

[แก้]

นครฮิโรชิมะ แบ่งออกเป็น 8 เขต (ญี่ปุ่น: โรมาจิkuทับศัพท์: กุ) ด้วยกัน คือ

เขต ประชากร พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
แผนที่
เขตซาเอกิ 137,838 225.22 612
เขตนากะ
(เขตศูนย์กลาง)
130,879 15.32 8,543
เขตนิชิ 189,794 35.61 5,329
เขตมินามิ 141,219 26.30 5,369
เขตอากิ 80,702 94.08 857
เขตอาซากิตะ 148,426 353.33 420
เขตอาซามินามิ 241,007 117.24 2,055
เขตฮิงาชิ 121,012 39.42 3,069
ข้อมูลประชากรเมื่อ 31 มีนาคม ค.ศ. 2016

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของนครฮิโรชิมะ (ค.ศ. 1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 18.8
(65.8)
21.5
(70.7)
23.7
(74.7)
29.0
(84.2)
31.5
(88.7)
34.4
(93.9)
38.7
(101.7)
37.9
(100.2)
36.9
(98.4)
31.2
(88.2)
26.3
(79.3)
22.3
(72.1)
38.7
(101.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.7
(49.5)
10.6
(51.1)
14.0
(57.2)
19.7
(67.5)
24.1
(75.4)
27.2
(81)
30.8
(87.4)
32.5
(90.5)
29.0
(84.2)
23.4
(74.1)
17.4
(63.3)
12.3
(54.1)
20.9
(69.6)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 5.2
(41.4)
6.0
(42.8)
9.1
(48.4)
14.7
(58.5)
19.3
(66.7)
23.0
(73.4)
27.1
(80.8)
28.2
(82.8)
24.4
(75.9)
18.3
(64.9)
12.5
(54.5)
7.5
(45.5)
16.3
(61.3)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.7
(35.1)
2.1
(35.8)
4.8
(40.6)
9.9
(49.8)
14.7
(58.5)
19.4
(66.9)
23.8
(74.8)
24.8
(76.6)
20.8
(69.4)
14.2
(57.6)
8.5
(47.3)
3.7
(38.7)
12.4
(54.3)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -8.5
(16.7)
-8.3
(17.1)
-7.2
(19)
-1.4
(29.5)
1.8
(35.2)
6.6
(43.9)
14.1
(57.4)
13.7
(56.7)
8.6
(47.5)
1.5
(34.7)
-2.6
(27.3)
-8.6
(16.5)
−8.6
(16.5)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 44.6
(1.756)
66.6
(2.622)
123.9
(4.878)
141.7
(5.579)
177.6
(6.992)
247.0
(9.724)
258.6
(10.181)
110.8
(4.362)
169.5
(6.673)
87.9
(3.461)
68.2
(2.685)
41.2
(1.622)
1,537.6
(60.535)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 5
(2)
4
(1.6)
1
(0.4)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
3
(1.2)
12
(4.7)
ความชื้นร้อยละ 68 67 64 63 66 72 74 71 70 68 69 69 68
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 8.7 7.1 2.6 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 4.5 23.1
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 137.2 139.7 169.0 190.1 206.2 161.4 179.5 211.2 165.3 181.8 151.6 149.4 2,042.3
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [8]

การคมนาคม

[แก้]
ฮิโรชิมะ
ฮิโรชิมาในคันจิ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
ชินจิไต広島
คีวจิไต廣島
การถอดเสียง
โรมาจิHiroshima
รถไฟระหว่างเมือง โดย ตะวันตก
ซันโยชิงกันเซ็ง ที่สถานีรถไฟฮิโรชิมะ
สายหลักซันโย - 12 สถานีตั้งอยู่ในเขตเมืองฮิโรชิมะ
รถไฟภายในจังหวัด โดย ตะวันตก
สายคาเบะ (Kabe Line) - เป็นเส้นทางรถไฟในเขตนครฮิโรชิมะ สถานีทั้งหมดจำนวน 12 สถานีอยู่ในเขตนครฮิโรชิมะ
สายคูเระ (Kure Line) - เป็นรถไฟชานเมืองของจังหวัดฮิโรชิมะ ตั้งอยู่ในเขตนครฮิโรชิมะ จำนวน 4 จาก 28 สถานี
สายเกบิ (Geibi Line) - เป็นรถไฟภายในจังหวัดและเชื่อมกับจังหวัดโอกายามะ ตั้งอยู่ในเขตนครฮิโรชิมะ จำนวน 14 จาก 44 สถานี
อากาศยาน
ท่าอากาศยานฮิโรชิมะ

เมืองพี่น้อง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "UEA Code Tables". Center for Spatial Information Science, University of Tokyo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 9, 2019. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
  2. Hakim, Joy (January 5, 1995). A History of US: Book 9: War, Peace, and All that Jazz. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0195095142.
  3. Kosaikai, Yoshiteru (2007). "History of Hiroshima". Hiroshima Peace Reader. Hiroshima Peace Culture Foundation.
  4. Bingham (US Legation in Tokyo) to Fish (US Department of State), September 20, 1876, in Papers relating to the foreign relations of the United States, transmitted to congress, with the annual message of the president, December 4, 1876, p. 384
  5. Kosakai, Hiroshima Peace Reader
  6. Jacobs, Norman (1958). The Origin of Modern Capitalism and Eastern Asia. Hong Kong University. p. 51.
  7. Sanko (1998). Hiroshima Peace Memorial (Genbaku Dome). The City of Hiroshima and the Hiroshima Peace Culture Foundation.
  8. "気象庁 / 平年値(年・月ごとの値)". กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]