อาวุธนิวเคลียร์
อาวุธนิวเคลียร์ เป็นวัตถุระเบิดซึ่งมีอำนาจทำลายล้างมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันอย่างเดียว หรือ นิวเคลียร์ฟิชชันและนิวเคลียร์ฟิวชันรวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน (อะตอม) ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ (ระเบิดไฮโดรเจน) ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน[1]
อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่หนักกว่า 1,100 กิโลกรัมเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่ากับการจุดระเบิดทีเอ็นทีมากกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น กระทั่งวัตถุนิวเคลียร์ลูกเล็ก ๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าระเบิดธรรมดา สามารถทำลายล้างนครทั้งนครได้ ด้วยแรงระเบิดไฟและกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าเป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการใช้และควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นจุดสนใจสำคัญของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับแต่ถือกำเนิดขึ้น
มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 วัตถุประเภทจุดระเบิดยูเรเนียม (uranium gun-type) ชื่อรหัสว่า "ลิตเติลบอย" ถูกจุดระเบิดเหนือนครฮิโรชิมะของญี่ปุ่น อีกสามวันให้หลัง วันที่ 9 สิงหาคม วัตถุประเภทจุดระเบิดภายในพลูโตเนียม (plutonium implosion-type) ชื่อรหัสว่า "แฟตแมน" ระเบิดเหนือนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตไปประมาณ 200,000 ศพ ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน จากการบาดเจ็บฉับพลันที่ได้รับจากการระเบิด[2]
นับแต่การทิ้งระเบิดฮิโรชิมะและนางาซากิ อาวุธนิวเคลียร์ถูกจุดระเบิดกว่าสองพันโอกาสเพื่อจุดประสงค์ด้านการทดสอบและสาธิต มีเพียงไม่กี่ชาติที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์หรือถูกสงสัยว่ากำลังแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์ ประเทศที่ทราบว่าเคยจุดระเบิดอาวุธนิวเคลียร์ และได้รับการรับรองว่าครอบครองอาวุธนิวเคีลยร์ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต (รัสเซียเป็นผู้สืบทอดอำนาจนิวเคลียร์) สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ปากีสถาน และเกาหลีเหนือ นอกเหนือจากนี้ อิสราเอลยังถูกเชื่ออย่างกว้างขวางว่าครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ แต่ไม่ได้รับการรับรองว่ามี[3][4] รัฐหนึ่ง แอฟริกาใต้ เคยยอมรับว่ามีอาวุธนิวเคลียร์ที่ทำขึ้นก่อนหน้านี้ในอดีต แต่นับแต่นั้นได้แยกประกอบคลังแสงของตนและส่งให้กับผู้คุ้มครองนานาชาติ[5]
สหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกาประเมินว่ามีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 15,700 หัวทั่วโลกใน พ.ศ. 2558 โดยมีราว 4,120 หัวถูกเก็บไว้ในสถานะ "ปฏิบัติการ" คือ พร้อมใช้งานได้ทันที[3]
ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์
[แก้]ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในปัจจุบัน
[แก้]ประเทศ | จำนวน | วันที่เริ่มทดลอง | สถานที่แรกที่ทดลอง |
---|---|---|---|
รัฐอาวุธนิวเคลียร์ทั้งห้าที่อยู่ภายใต้NPT | |||
สหรัฐอเมริกา | 6,450 | 16 กรกฎาคม 1945 ("ทรินิตี") | แอละโมกอร์โด, รัฐนิวเม็กซิโก |
รัสเซีย | 6,850 | 29 สิงหาคม 1949 ("อาร์ดีเอส-1") | เซมิพาลาทินส์ก, คาซัคสถาน |
สหราชอาณาจักร | 215 | 3 ตุลาคม 1952 ("เฮอริเคน") | หมู่เกาะมอนเตเบลโล, ออสเตรเลีย |
ฝรั่งเศส | 300 | 13 กุมภาพันธ์ 1960 ("เจอร์บัวบลู") | ทะเลทรายสะฮารา, เฟรนช์แอลจีเรีย |
จีน | 280 | 16 ตุลาคม 1964 ("596") | หลัวปู้พอ, ซินเจียง |
มหาอำนาจนิวเคลียร์ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้NPT | |||
อินเดีย | 130–140 | 18 พฤษภาคม 1974 ("สไมลิงบุดดา") | โพคะราน, รัฐราชสถาน |
ปากีสถาน | 140–150 | 28 พฤษภาคม 1998 ("ชาไก-1") | Ras Koh Hills, บาโลชิสถาน |
เกาหลีเหนือ | 10–20 | 9 ตุลาคม 2006 | Kilju, ฮัมกย็องเหนือ |
มหาอำนาจนิวเคลียร์ที่ไม่ได้ประกาศ | |||
อิสราเอล | 60–400 | 1960–1979 |
ประเทศที่ได้รับการแบ่งปันอาวุธนิวเคลียร์
[แก้]ประเทศที่เคยมีอาวุธนิวเคลียร์
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wragg, David W. (1973). A Dictionary of Aviation (first ed.). Osprey. p. 43. ISBN 9780850451634.
- ↑ "Frequently Asked Questions #1". Radiation Effects Reserch Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-19. สืบค้นเมื่อ Sept. 18, 2007.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "Federation of American Scientists: Status of World Nuclear Forces". Fas.org. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "Nuclear Weapons – Israel". Fas.org. Jan 8, 2007. สืบค้นเมื่อ 2010-12-15.
- ↑ "Nuclear Weapons – South Africa". Fas.org. May 29, 2000. สืบค้นเมื่อ 2011-04-07.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- กำลังรบนิวเคลียร์โลก Nuclear Forces & Global Nuclear Stockpiles[ลิงก์เสีย] จาก กรมข่าวทหารอากาศ
- The Nuclear Fuel Cycle จาก BBC News / Indepth
- วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ The Nuclear Fuel Cycle เก็บถาวร 2008-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย