คาโงชิมะ (เมือง)
คาโงชิมะ 鹿児島 | |
---|---|
鹿児島市 · นครคาโงชิมะ | |
เมืองคาโงชิมะโดยมีภูเขาไฟซากูราจิมะอยู่เบื้องหลัง | |
ตำแหน่งของเมืองคาโงชิมะในจังหวัดคาโงชิมะ | |
พิกัด: 31°36′N 130°33′E / 31.600°N 130.550°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คีวชู |
จังหวัด | คาโงชิมะ |
บันทึกทางการแรก | ค.ศ. 1053 |
ก่อตั้งเมือง | 1 เมษายน พ.ศ. 2432 |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ชิโมสึรุ ทากาโอะ (下鶴 隆央) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 547.58 ตร.กม. (211.42 ตร.ไมล์) |
ประชากร (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) | |
• ทั้งหมด | 593,808 คน |
• ความหนาแน่น | 1,084 คน/ตร.กม. (2,810 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
รหัสพื้นที่ | 99 |
- ต้นไม้ | การบูร (クスノキ, Kusunoki) |
- ดอกไม้ | ยี่โถ (夾竹桃, Kyōchikutō) |
โทรศัพท์ | 099-224-1111 |
ที่ตั้ง (ศาลาว่าการ) | 11-1 เมืองยามาชิตะ, นครคาโงชิมะ, จังหวัดคาโงชิมะ 〒892-8677 |
เว็บไซต์ | ศาลาว่าการเมืองคาโงชิมะ |
คาโงชิมะ | |||||
"คาโงชิมะ" ในอักษรคันจิ | |||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||
---|---|---|---|---|---|
คันจิ | 鹿児島 | ||||
ฮิรางานะ | かごしま | ||||
คาตากานะ | カゴシマ | ||||
|
คาโงชิมะ (ญี่ปุ่น: 鹿児島市; โรมาจิ: Kagoshima-shi ออกเสียง: [kaŋoɕima], ภาษาถิ่น ซัตสึงู: かごっま, Kagomma ) เป็นนครศูนย์กลางและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดคาโงชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะคีวชู คาโงชิมะได้รับการขนานนามว่าเป็น "เนเปิลส์แห่งตะวันออก" ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ของอ่าวที่มีส่วนคล้ายกัน อากาศที่ร้อน และมีภูเขาไฟซากูราจิมะตั้งอยู่ใกล้เมือง เมืองนี้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432
ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 คาโงชิมะมีประชากรประมาณ 605,855 คน มีความหนาแน่น 1,107.49 คน ต่อตารางกิโลเมตร จากจำนวนพื้นที่ 546.71 ตารางกิโลเมตร
เมืองคาโงชิมะใช้เวลาเดินทางจากท่าอากาศยานคาโงชิมะ ประมาณ 40 นาที จุดเด่นของเมืองคือย่านการค้าขนาดใหญ่ การเดินทางโดยรถราง และภัตตาคารจำนวนมาก อาหารพื้นเมืองที่สำคัญเช่น คิบิ (ปลาขนาดเล็กชนิดหนึ่ง) ทงกัตสึ และปลาไหลรมควัน นอกจากนี้ยังมีสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่ทันสมัย
ประวัติ
[แก้]จังหวัดคาโงชิมะ (หรือเคยรู้จักกันว่าแคว้นศักดินาซัตสึมะ) เป็นศูนย์กลางของดินแดนของตระกูลชิมาซุ มาหลายศตวรรษ เป็นเมืองท่าศูนย์กลางทางการเมืองและการค้าที่พลุกพล่านตลอดช่วงยุคกลางและในสมัยเอโดะ (1603–1868) เมื่อเมืองนี้กลายเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของระบบศักดินาของตระกูลชิมาซุซึ่งก็คือซัตสึมะ ตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการคือการดัดแปลงตราประจำตระกูล (คามง, 家紋) ของชิมาซุที่ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายกับตัวอักษร (ชิ, 市) ซึ่งแปลว่าเมือง ซัตสึมะยังคงเป็นหนึ่งในแคว้นศักดินาที่ทรงพลังและมั่งคั่งที่สุดในประเทศตลอดช่วงยุค และแม้ว่าการค้าระหว่างประเทศจะถูกห้ามในช่วงเวลาดังกล่าว แต่เมืองก็ยังคงคึกคักและเจริญรุ่งเรือง ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการเมืองของซัตสึมะเท่านั้นแต่ยังรวมถึงรัฐบรรณาการกึ่งอิสระรีวกีวด้วย พ่อค้าและทูตชาวรีวกีวเดินทางเข้ามาในเมืองเป็นประจำและมีการจัดตั้งอาคารสถานทูตพิเศษของรีวกีว เพื่อจัดการความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลทั้งสองและดูแลผู้มาเยือนและทูต คาโงชิมะยังเป็นศูนย์กลางสำคัญของกิจกรรมของชาวคริสต์ในญี่ปุ่นก่อนที่จะมีการห้ามและประกาศโทษในการนับถือศาสนาคริสต์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นศตวรรษที่ 17
คาโงชิมะถูกกองทัพราชนาวีอังกฤษโจมตี ในปี พ.ศ. 2406 เพื่อลงโทษไดเมียวแห่งซัตสึมะจากเหตุการณ์ฆาตกรรมชาลส์ เลนน็อกซ์ ริชาร์ดสัน (Charles Lennox Richardson) บนเส้นทางถนนโตไกโด (東海道, Tōkaidō ) เมื่อปีก่อนหน้านั้นและปฏิเสธที่จะจ่ายค่าชดเชย
คาโงชิมะยังเป็นสถานที่เกิดและที่มั่นแหล่งสุดท้ายของไซโง ทากาโมริ (西郷 隆盛, Saigō Takamori ) หนึ่งในแกนนำสำคัญที่ทำการโค่นล้มระบอบการปกครองของรัฐบาลโชกุนตระกูลโทกูงาวะ ซึ่งถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2420 ในช่วงท้ายของเหตุการณ์กบฏซัตสึมะ
มีการกล่าวกันว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นเริ่มต้นที่เมืองนี้ โดยได้รับการกระตุ้นจากเหตุการณ์ที่เรียกว่า สถานีรถไฟของนักเรียนวัยรุ่น ชายหนุ่มสิบเจ็ดคนจากซัตสึมะทำลายคำสั่งห้ามของโชกุนโทกูงาวะในการเดินทางไปต่างประเทศ โดยเริ่มเดินทางไปยังอังกฤษและไปยังสหรัฐ ก่อนที่จะกลับมาแบ่งปันความรู้ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดีกว่าของตะวันตก[1] รูปปั้นได้ถูกสร้างขึ้นนอกสถานีรถไฟเพื่อเป็นการระลึกถึงพวกเขา
คาโงชิมะยังเป็นสถานที่เกิดของ โทโง เฮฮาจิโร (東郷 平八郎, Tōgō Heihachirō ) หลังจากเข้าศึกษาในราชนาวีอังกฤษระหว่างปี พ.ศ. 2414 ถึง พ.ศ. 2421 บทบาทของโทโงในฐานะพลเรือเอกผู้บัญชาการของกองเรือใหญ่แห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ทำให้เขากลายเป็นตำนานในประวัติศาสตร์การทหารของญี่ปุ่นและเขาได้รับสมญานามในสหราชอาณาจักรว่า 'เนลสันแห่งตะวันออก' เขานำกองเรือใหญ่ไปสู่ชัยชนะที่น่าประหลาดใจสองครั้งในปี พ.ศ. 2447 และ 2448 ทำลายกองเรือรัสเซียซึ่งมีสถานะเป็นมหาอำนาจทางเรือทางตะวันออกลงอย่างสิ้นเชิง และด้วยเหตุนี้จึงมีส่วนทำให้การปฏิวัติในรัสเซียในปี พ.ศ. 2448 ล้มเหลว
นักการทูต ซาโดมิตซุ ซาโงกุจิ (迫口 貞光, Sadomitsu Sakoguchi ) ได้ปฏิวัติแผนทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมของคาโงชิมะ ด้วยงานค้นคว้าของเขาเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำและการเก็บผลผลิตส้ม
การปะทุของภูเขาไฟซากูราจิมะในปี พ.ศ. 2457 ทำให้เถ้าถ่านกระจายข้ามอ่าวตกลงไปทั่วเขตเมือง[2]
ชื่อ "คาโงชิมะ" (鹿児島) แปลว่า "เกาะกวางเด็ก" ชื่อในภาษาถิ่นคาโงชิมะของเมือง ได้แก่ “ かごっま (Kagomma),“ かごんま (Kagonma)”,“ かごいま (Kagoima)” และ“ かごひま (Kagohima)”[3]
สงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]ในคืนวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2488 กองบินโจมตีที่ 314 ของกองทัพอากาศสหรัฐ (เครื่องรุ่น บี-29 120 ลำ) ได้ทิ้งระเบิดเพลิง และระเบิดลูกปราย 809.6 ตัน ทำลายพื้นที่ 2.11 ตารางไมล์ (5.46 ตร.กม.) (44.1% ของพื้นที่เมือง) คาโงชิมะตกเป็นเป้าหมายเนื่องจากการขยายท่าเรือขนาดใหญ่ของกองทัพและตำแหน่งของเมืองที่เป็นสถานีปลายทางของทางรถไฟ มีเครื่องบิน B-29 เพียงลำเดียวที่สูญหายโดยไม่ทราบสาเหตุ การทิ้งระเบิดปูพรมถูกเลือกมากกว่าการทิ้งระเบิดที่กำหนดเป้าหมายแม่นยำเนื่องจากสภาพอากาศที่มีเมฆมากในญี่ปุ่นในช่วงกลางเดือนมิถุนายน เครื่องบินถูกบังคับให้ทำการบินและทิ้งระเบิดโดยเรดาร์[4]
หน่วยข่าวกรองของญี่ปุ่นคาดการณ์ว่ากองกำลังพันธมิตรจะโจมตีคาโงชิมะและบริเวณอ่าวอาริอาเกะทางตอนใต้ของเกาะคีวชูเพื่อทำลายฐานทัพเรือและสนามบินเพื่อเป้าหมายในการเข้าโจมตีมหานครโตเกียว
ภูมิอากาศ
[แก้]คาโงชิมะมีสภาพอากาศชื้นกึ่งเขตร้อน (ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น, Cfa ตามระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน) มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีและอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวสูงที่สุดในเกาะหลักของญี่ปุ่น ได้รับการบันทึกถึงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวที่ไม่รุนแรงและค่อนข้างแห้ง ฤดูใบไม้ผลิที่อบอุ่นชื้น ฤดูร้อนที่ร้อนชื้น มีฝนตกชุกในช่วงเดือน มกราคม–กรกฎาคม
ข้อมูลภูมิอากาศของคาโงชิมะ (ค.ศ. 1981–2010) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 23.9 (75) |
24.1 (75.4) |
27.6 (81.7) |
30.2 (86.4) |
31.6 (88.9) |
34.5 (94.1) |
36.6 (97.9) |
37.0 (98.6) |
35.7 (96.3) |
32.4 (90.3) |
29.5 (85.1) |
24.7 (76.5) |
37.0 (98.6) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 12.8 (55) |
14.3 (57.7) |
17.0 (62.6) |
21.6 (70.9) |
25.2 (77.4) |
27.6 (81.7) |
31.9 (89.4) |
32.5 (90.5) |
30.1 (86.2) |
25.4 (77.7) |
20.3 (68.5) |
15.3 (59.5) |
22.8 (73) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 8.5 (47.3) |
9.8 (49.6) |
12.5 (54.5) |
16.9 (62.4) |
20.8 (69.4) |
24.0 (75.2) |
28.1 (82.6) |
28.5 (83.3) |
26.1 (79) |
21.2 (70.2) |
15.9 (60.6) |
10.6 (51.1) |
18.6 (65.5) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 4.6 (40.3) |
5.7 (42.3) |
8.4 (47.1) |
12.7 (54.9) |
17.1 (62.8) |
21.0 (69.8) |
25.3 (77.5) |
25.6 (78.1) |
22.8 (73) |
17.5 (63.5) |
11.9 (53.4) |
6.7 (44.1) |
14.9 (58.8) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -5.7 (21.7) |
-6.7 (19.9) |
-3.9 (25) |
-1.0 (30.2) |
3.9 (39) |
9.0 (48.2) |
15.9 (60.6) |
16.5 (61.7) |
9.3 (48.7) |
2.6 (36.7) |
-1.5 (29.3) |
-5.5 (22.1) |
−6.7 (19.9) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 77.5 (3.051) |
112.1 (4.413) |
179.7 (7.075) |
204.6 (8.055) |
221.2 (8.709) |
452.3 (17.807) |
318.9 (12.555) |
223.0 (8.78) |
210.8 (8.299) |
101.9 (4.012) |
92.4 (3.638) |
71.3 (2.807) |
2,265.7 (89.201) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 3 (1.2) |
1 (0.4) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
1 (0.4) |
4 (1.6) |
ความชื้นร้อยละ | 65 | 66 | 69 | 71 | 71 | 78 | 76 | 76 | 73 | 70 | 69 | 69 | 71 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 8.9 | 8.8 | 12.9 | 10.4 | 10.0 | 14.6 | 11.2 | 10.5 | 10.2 | 7.2 | 7.3 | 7.7 | 119.8 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย | 2.3 | 1.8 | 0.5 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.8 | 5.4 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 136.9 | 129.1 | 145.7 | 160.5 | 171.0 | 122.4 | 191.1 | 206.7 | 168.8 | 183.4 | 152.0 | 151.3 | 1,918.9 |
แหล่งที่มา: [5] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Blacker, Carmen; Cortazzi, Hugh (1 September 1999). Collected Writings of Modern Western Scholars on Japan: Carmen Blacker, Hugh Cortazzi and Ben-Ami Shillony. Psychology Press. ISBN 9781873410967 – โดยทาง Google Books.
- ↑ "Kagoshima", Illustrated London News. 24 January 1914.
- ↑ "JLect - かごっま・かごんま・かごいま・かごひま【鹿児島】 : kagomma · kagonma · kagoima · kagohima | define meaning". www.jlect.com. สืบค้นเมื่อ 2020-10-14.
- ↑ Headquarters, XXI Bomber Command APO 234, "Tactical Mission Report Mission No. 206-209." June 18, 1945.
- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). Japan Meteorological Agency.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เมืองคาโงชิมะ
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ เมืองคาโงชิมะ ที่โอเพินสตรีตแมป
- คู่มือการท่องเที่ยว Kagoshima จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- เว็บไซต์ของสำนักงานผู้มาเยือนจังหวัดคาโงชิมะ
- เว็บไซต์ของ Amu Plaza เมืองคาโงชิมะ
- Kagoshima Visitor's Guide โดย the Kagoshima Internationalization Council เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน