เศรษฐกิจญี่ปุ่น
เศรษฐกิจญี่ปุ่น | |
---|---|
กรุงโตเกียว, ศูนย์กลางการเงินของญี่ปุ่น | |
สกุลเงิน | เยนญี่ปุ่น (JPY, ¥) |
ปีงบประมาณ | 1 เมษายน – 31 มีนาคม |
ภาคีการค้า | APEC, WTO, CPTPP, RCEP, OECD, G-20, G7 และอื่น ๆ |
สถิติ | |
จีดีพี | |
จีดีพีเติบโต | |
จีดีพีต่อหัว | |
ภาคจีดีพี |
|
จีดีพีแบ่งตามส่วนประกอบ |
|
เงินเฟ้อ (CPI) | 3.1% |
ประชากรยากจน | |
จีนี | 33.9 medium (2015)[7] |
แรงงาน | |
ภาคแรงงาน |
|
ว่างงาน | |
อุตสาหกรรมหลัก | |
การค้า | |
มูลค่าส่งออก | $921.21 พันล้าน (2022)[11] |
สินค้าส่งออก |
|
ประเทศส่งออกหลัก |
|
มูลค่านำเข้า | $905.09 พันล้าน (2022)[11] |
สินค้านำเข้า |
|
ประเทศนำเข้าหลัก |
|
FDI | |
หนี้ต่างประเทศ | $4.54 ล้านล้านเหรียญ (มีนาคม 2023)[14] (ร้อยละ 103.2 ของจีดีพี) |
การคลังรัฐบาล | |
หนี้สาธารณะ |
|
รายรับ | ¥196,214 พันล้าน[15] 35.5% of GDP (2022)[15] |
รายจ่าย | ¥239,694 พันล้าน[15] 43.4% of GDP (2022)[15] |
ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ | ผู้บริจาค: ODA, $10.37 พันล้าน (2016)[16] |
อันดับความเชื่อมั่น | |
ทุนสำรอง | $1.2 ล้านล้าน (2023)[20] |
แหล่งข้อมูลหลัก: CIA World Fact Book หน่วยทั้งหมด หากไม่ระบุ ถือว่าเป็นดอลลาร์สหรัฐ |
เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก[21][22] รองจาก สหรัฐอเมริกา และ ประเทศจีน ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว[23] ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ในรัชสมัยโชวะ จักรวรรดิญี่ปุ่นมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก แม้ว่าจะพ่ายแพ้สงครามแต่ญี่ปุ่นก็สามารถไต่เต้าขึ้นมามีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต และครองตำแหน่งนี้ยาวนานกว่าสองทศวรรษจนกระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1990 ญี่ปุ่นก็กลายเป็นชาติเศรษฐกิจอันดับสองของโลกจนถึงปี 2009 จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อำนาจซื้อต่อหัวของญี่ปุ่นในเวทีโลก อยู่ที่ 35,855 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นอันดับ 22 ของโลก[24] การคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีการสำรวจเป็นรายไตรมาสที่เรียกว่า ทังกัง จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น[25]
ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ผลิตยานยนต์ได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก[26] นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของโลก ที่มักจะมีการจัดอันดับในบรรดาหมู่ประเทศนวัตกรรมชั้นนำ[27] ซึ่งในระยะหลังมานี้ญี่ปุ่นต้องเผชิญการแข่งขันกับ จีน และ เกาหลีใต้[28] ที่เริ่มช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตในประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน ได้ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิตเป็นหลัก ซึ่งใช้แรงงานคนน้อย และมีความแม่นยำมากกว่า จำพวก ยานยนต์ไฮบริด และหุ่นยนต์อัตโนมัติต่าง ๆ ซึ่งพบได้ทั่วไปในโรงงานในภูมิภาคคันโต[29][30][31][32] ทั้งนี้ภูมิภาคคันไซก็เป็นหนึ่งในพื้นที่อุตสาหกรรมชั้นนำและศูนย์การผลิตสำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น [33]
ทิศทางเศรษฐกิจมหภาค
[แก้]แผนภูมินี้แสดงให้เห็นถึงทิศทางของจีดีพีของญี่ปุ่นตามตัวเงิน ประมาณการโดย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในหน่วยล้านเยน[34] ดูเพิ่ม [35][36]
ค.ศ. | จีดีพี | เยน / 1 ดอลลาร์ | ดัชนีเงินเฟ้อ (ฐาน ณ ปี 2000) |
จีดีพี (ตัวเงิน) ต่อหัว ในหน่วย % ของชาวอเมริกัน |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ต่อหัว ในหน่วย % ของชาวอเมริกัน |
1955 | 8,369,500 | ¥360.00 | 10.31 | – | |
1960 | 16,009,700 | ¥360.00 | 16.22 | – | |
1965 | 32,866,000 | ¥360.00 | 24.95 | – | |
1970 | 73,344,900 | ¥360.00 | 38.56 | – | |
1975 | 148,327,100 | ¥297.26 | 59.00 | – | |
1980 | 240,707,315 | ¥225.82 | 100 | 105.85 | 71.87 |
2005 | 502,905,400 | ¥110.01 | 97 | 85.04 | 71.03 |
2010 | 477,327,134 | ¥88.54 | 98 | 89.8 | 71.49 |
จากข้อมูลดัชนีเงินเฟ้อข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ญี่ปุ่นได้เผชิญกับสภาวะปราศจากเงินเฟ้อในช่วงทศวรรษ 1980-2000 ที่สินค้าและบริการต่าง ๆ ในประเทศไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคาตลอด 2 ทศวรรษ มิหนำซ้ำ ภายหลังปี 2000 ยังต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืด ที่ราคาสินค้าและบริการภายในประเทศมีทิศทางถูกลงแม้จะเพียงเล็กน้อย เหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ชาวญี่ปุ่นตลอดจนบริษัทต่าง ๆ ไม่นิยมนำเงินฝากธนาคารภายในประเทศเพื่อเป็นการลงทุน เนื่องจากไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย หรือจ่ายในอัตราที่ต่ำมากจนแทบจะเป็นร้อยละศูนย์
สำหรับการเปรียบเทียบอำนาจซื้อ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ อยู่ที่ 109 เยนในปี 2010[37]
อุตสาหกรรม
[แก้]มูลค่าจีดีพีในปี 2012 แบ่างตามภาคอุตสาหกรรม [38] มูลค่าถูกแปลงเป็นหน่วยสกุลเงินบาท ตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 12 เมษายน 2013.[39]
อุตสาหกรรม | มูลค่าจีดีพี (ล้านล้านบาท) |
% ของจีดีพีทั้งหมด |
---|---|---|
ภาคบริการอื่น ๆ | 36.139 | 23.5% |
การผลิต | 27.643 | 18.0% |
อสังหาริมทรัพย์ | 20.346 | 13.2% |
ค้าส่ง และ ค้าปลีก | 19.266 | 12.5% |
คมนาคม และ โทรคมนาคม | 10.450 | 6.8% |
รัฐประศาสน์ | 9.603 | 6.2% |
ก่อสร้าง | 9.545 | 6.2% |
การเงินและกรมธรรม์ประกัน | 8.932 | 5.8% |
ไฟฟ้า, แก๊ส และ ประปา | 5.225 | 3.4% |
บริการของรัฐบาล | 1.197 | 0.7% |
เหมือง | 0.087 | 0.05% |
ทั้งหมด | 153.778 | 100% |
การเงิน
[แก้]ตลาดหลักทรัพย์
[แก้]ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ปัจจุบันเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 สองโลก ตามราคาตลาด ทำให้ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 ตลาดประกอบด้วยบริษัทจดทะเบียนกว่า 3,425 บริษัท[40] ซึ่งตลาดหลักทรัพย์โตเกียว มีดัชนีตลาดที่สำคัญอยู่ 2 ดัชนี คือ Nikkei 225 และ TOPIX[41][42] นอกจากตลาดหลักทรัพย์โตเกียวแล้ว ประเทศญี่ปุ่นยังมีตลาดหลักทรัพย์ขนาดใหญ่อีกหนึ่งแห่ง คือ ตลาดหลักทรัพย์โอซากะ ซึ่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 มีการรวมกลุ่มของตลาดหลักทรัพย์ทั้งสอง เป็น กลุ่มตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น (Japan Exchange Group) นอกเหนือไปจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ของญี่ปุ่น ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์นาโงยะ, ฟูกูโอกะ และ ซัปโปโระ[43][44]
ตลาดแรงงาน
[แก้]ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราว่างงานอยู่ที่ระดับต่ำ อัตราว่างงานในญี่ปุ่น ณ สิ้นปี 2013 อยู่ที่ 3.7% ลดลงจากปี 2009 ที่เคยอยู่ที่ 5.2% อันเนื่องมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูอุตสาหกรรมในประเทศ [45][46][47] ในตัวเลขนี้ แม้แต่บุคคลที่ทำอาชีพเสริม(พาร์ทไทม์)ที่มีชั่วโมงการทำงานต่ำ ก็ไม่ถูกนับว่าเป็นบุคคลว่างงาน
ในปี 2008 แรงงานของญี่ปุ่นมีจำนวน 66 ล้านคน ในจำนวนนี้ 40% เป็นผู้หญิง ตลาดแรงงานของญี่ปุ่นกำลังอยู่ในภาวะหดตัวลงอย่างเรื่อย ๆ เป็นผลมาจากแรงงานส่วนใหญ่เริ่มมีอายุสูงขึ้นสู่วัยเกษียณ ในขณะที่แรงงานรุ่นใหม่ที่เข้ามาทดแทนก็ไม่เพียงพอ ปัญหาที่สำคัญนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากอัตราการเกิดที่อยู่ในระดับต่ำมาก แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายอุดหนุนสวัสดิการแก่เด็กเกิดใหม่มากมาย แต่ไม่ได้ช่วยทำให้อัตราเกิดเพิ่มขึ้นตามเป้าแต่อย่างใด ที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นได้มีนโยบายใหม่ คือลดเงื่อนไขในการขอสัญชาติญี่ปุ่นแก่พลเมืองต่างประเทศ แต่นโยบายนี้ก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
เศรษฐกิจ
[แก้]โครงสร้าง
[แก้]หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการทำงานที่ดีของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง[48] ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5 และ 4 ตามลำดับ[49] โดยได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวจนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิดฟองสบู่แตกต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543 [50] สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี พ.ศ. 2548 ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก[51][52] แม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น[53] แต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[54]
ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก[55] รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) [55] และอันดับที่ 4 รองจากจีน สหรัฐ และอินเดีย เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อ[56] ญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูง และเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี[57]
จากข้อมูลใน พ.ศ. 2548 แรงงานของประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 66.7 ล้านคน[58] ญี่ปุ่นมีอัตราว่างงานที่ต่ำคือประมาณร้อยละ 4[58] ค่าจีดีพีต่อชั่วโมงการทำงานอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลกใน พ.ศ. 2548 และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย[59] บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่นโตโยต้า โซนี่ เอ็นทีที โดโคโม แคนนอน ฮอนด้า ทาเคดา นินเทนโด นิปปอน สตีล และ เซเว่น อีเลฟเว่น ญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่ง[60] ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักเพราะดัชนีนิเคอิมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกเมื่อวัดด้วยมูลค่าตลาด[61]
ญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะในการทำธุรกิจหลายอย่าง เช่นเคเระสึหรือระบบเครือข่ายบริษัทจะมีอิทธิพลในเชิงธุรกิจ การจ้างงานตลอดชีวิตและการเลื่อนขั้นตามความอาวุโสจะพบเห็นได้ทั่วไป บริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะถือหุ้นของกันและกัน[62] ผู้ถือหุ้นมักจะไม่มีบทบาทกับการบริหารของบริษัท[63] แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงออกจากระบบเก่า ๆ เหล่านี้[64][63]
ใน พ.ศ. 2548 พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 12.6[65] และมีประชากรที่ประกอบการเกษตรเพียงร้อยละ 6.6[66]เท่านั้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ไหม กะหล่ำปลี ข้าว มัน และชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารถึงร้อยละ 60 จึงเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงตนเองค่อนข้างต่ำ[67][68] ในระยะหลังกระแสความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหารทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น
ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 29 จาก 190 ประเทศในดัชนีความง่ายในการทำธุรกิจปี 2562[69] ญี่ปุ่นมีภาคส่วนสหกรณ์ขนาดใหญ่ รวมถึงสหกรณ์ผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดและสหกรณ์การเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ปี 2561 ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่สูงในด้านความสามารถในการแข่งขันและเสรีภาพทางเศรษฐกิจ อยู่ในอันดับ 6 ในรายงานการแข่งขันระดับโลกสำหรับปี 2558–2559
ตารางต่อไปนี้แสดงตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจหลักในปี 1980–2021 (โดยเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศประมาณการในปี 2022–2027) อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่า 5% เป็นสีเขียว[70]
ปี | จีดีพี
(ล้าน US$ ความเท่าเทียมของกำลังซื้อ) |
จีดีพีต่อหัว
(US$ ความเท่าเทียมของกำลังซื้อ) |
จีดีพี
(ล้าน US$ ตัวเงิน) |
จีดีพีต่อหัว
(US$ ตัวเงิน) |
อัตราเติบโตของจีดีพี
(จริง) |
อัตราเงินเฟ้อ
(ร้อยละ) |
การว่างงาน
(ร้อยละ) |
หนี้สาธารณะ
(ร้อยละของจีดีพี) |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1980 | 1,068.1 | 9,147.0 | 1,127.9 | 9,659.0 | 3.2% | 7.8% | 2.0% | 47.8% |
1981 | 1,218.4 | 10,358.1 | 1,243.8 | 10,574.4 | 4.2% | 4.9% | 2.2% | 52.9% |
1982 | 1,336.5 | 11,283.0 | 1,157.6 | 9,772.8 | 3.3% | 2.8% | 2.4% | 57.8% |
1983 | 1,437.8 | 12,054.5 | 1,268.6 | 10,636.5 | 3.5% | 1.9% | 2.7% | 63.6% |
1984 | 1,556.7 | 12,967.1 | 1,345.2 | 11,205.4 | 4.5% | 2.3% | 2.7% | 65.6% |
1985 | 1,690.0 | 13,989.8 | 1,427.4 | 11,815.8 | 5.2% | 2.0% | 2.6% | 68.3% |
1986 | 1,781.4 | 14,667.9 | 2,121.3 | 17,466.7 | 3.3% | 0.6% | 2.8% | 74.0% |
1987 | 1,911.8 | 15,666.3 | 2,584.3 | 21,177.8 | 4.7% | 0.1% | 2.9% | 75.7% |
1988 | 2,113.5 | 17,246.0 | 3,134.2 | 25,575.1 | 6.8% | 0.7% | 2.5% | 71.8% |
1989 | 2,303.0 | 18,719.6 | 3,117.1 | 25,336.2 | 4.9% | 2.3% | 2.3% | 65.5% |
1990 | 2,506.1 | 20,302.7 | 3,196.6 | 25,896.0 | 4.9% | 3.1% | 2.1% | 63.0% |
1991 | 2,679.4 | 21,620.8 | 3,657.3 | 29,511.8 | 3.4% | 3.3% | 2.1% | 62.2% |
1992 | 2,763.7 | 22,222.4 | 3,988.3 | 32,069.1 | 0.8% | 1.7% | 2.2% | 66.6% |
1993 | 2,814.6 | 22,558.2 | 4,544.8 | 36,425.2 | -0.5% | 1.3% | 2.5% | 72.7% |
1994 | 2,899.9 | 23,177.4 | 4,998.8 | 39,953.2 | 0.9% | 0.7% | 2.9% | 84.4% |
1995 | 3,038.6 | 24,224.0 | 5,545.6 | 44,210.2 | 2.6% | -0.1% | 3.2% | 92.5% |
1996 | 3,191.2 | 25,385.0 | 4,923.4 | 39,164.3 | 3.1% | 0.1% | 3.4% | 98.1% |
1997 | 3,278.1 | 26,014.1 | 4,492.4 | 35,651.3 | 1.0% | 1.7% | 3.4% | 105.0% |
1998 | 3,272.8 | 25,903.3 | 4,098.4 | 32,436.9 | -1.3% | 0.7% | 4.1% | 116.0% |
1999 | 3,307.9 | 26,131.3 | 4,636.0 | 36,622.9 | -0.3% | -0.3% | 4.7% | 129.5% |
2000 | 3,476.3 | 27,409.2 | 4,968.4 | 39,173.0 | 2.8% | -0.7% | 4.7% | 135.6% |
2001 | 3,568.4 | 28,068.3 | 4,374.7 | 34,410.7 | 0.4% | -0.7% | 5.0% | 145.1% |
2002 | 3,625.5 | 28,457.7 | 4,182.8 | 32,832.3 | 0.0% | -0.9% | 5.4% | 154.1% |
2003 | 3,753.8 | 29,410.9 | 4,519.6 | 35,410.2 | 1.5% | -0.3% | 5.2% | 160.0% |
2004 | 3,938.9 | 30,836.4 | 4,893.1 | 38,307.1 | 2.2% | 0.0% | 4.7% | 169.5% |
2005 | 4,135.7 | 32,372.7 | 4,831.5 | 37,819.1 | 1.8% | -0.3% | 4.4% | 174.3% |
2006 | 4,321.8 | 33,831.1 | 4,601.7 | 36,021.9 | 1.4% | 0.3% | 4.1% | 174.0% |
2007 | 4,504.5 | 35,257.9 | 4,579.7 | 35,847.2 | 1.5% | 0.0% | 3.8% | 172.8% |
2008 | 4,534.6 | 35,512.2 | 5,106.7 | 39,992.1 | -1.2% | 1.4% | 4.0% | 180.7% |
2009 | 4,303.9 | 33,742.5 | 5,289.5 | 41,469.8 | -5.7% | -1.3% | 5.1% | 198.7% |
2010 | 4,534.1 | 35,535.2 | 5,759.1 | 45,135.8 | 4.1% | -0.7% | 5.1% | 205.7% |
2011 | 4,629.4 | 36,215.1 | 6,233.1 | 48,760.9 | 0.0% | -0.3% | 4.6% | 219.1% |
2012 | 4,799.6 | 37,628.8 | 6,272.4 | 49,175.1 | 1.4% | 0.0% | 4.3% | 226.1% |
2013 | 5,021.6 | 39,436.8 | 5,212.3 | 40,934.8 | 2.0% | 0.3% | 4.0% | 229.6% |
2014 | 5,034.5 | 39,604.1 | 4,897.0 | 38,522.8 | 0.3% | 2.8% | 3.6% | 233.5% |
2015 | 5,200.9 | 40,959.3 | 4,444.9 | 35,005.7 | 1.6% | 0.8% | 3.4% | 228.4% |
2016 | 5,159.7 | 40,640.5 | 5,003.7 | 39,411.4 | 0.8% | -0.1% | 3.1% | 232.5% |
2017 | 5,248.4 | 41,409.0 | 4,930.8 | 38,903.3 | 1.7% | 0.5% | 2.8% | 231.4% |
2018 | 5,408.4 | 42,755.4 | 5,040.9 | 39,850.4 | 0.6% | 1.0% | 2.4% | 232.3% |
2019 | 5,485.4 | 43,459.1 | 5,120.3 | 40,566.3 | -0.4% | 0.5% | 2.4% | 236.3% |
2020 | 5,295.1 | 42,075.4 | 5,031.6 | 39,981.5 | -4.6% | 0.0% | 2.8% | 259.4% |
2021 | 5,606.6 | 44,671.3 | 4,932.6 | 39,301.1 | 1.7% | -0.2% | 2.8% | 262.5% |
2022 | 6,110.0 | 48,812.8 | 4,300.6 | 34,357.9 | 1.7% | 2.0% | 2.6% | 263.9% |
2023 | 6,456.7 | 51,809.1 | 4,410.0 | 35,385.9 | 1.6% | 1.4% | 2.4% | 261.1% |
2024 | 6,652.7 | 53,633.3 | 4,568.7 | 36,832.8 | 1.3% | 1.0% | 2.4% | 260.3% |
2025 | 6,839.5 | 55,411.7 | 4,811.6 | 38,982.7 | 0.9% | 1.0% | 2.4% | 260.7% |
2026 | 7,002.5 | 57,025.8 | 5,010.0 | 40,799.8 | 0.5% | 1.0% | 2.4% | 262.0% |
2027 | 7,167.5 | 58,684.7 | 5,172.1 | 42,347.0 | 0.4% | 1.0% | 2.4% | 263.4% |
เกษตรกรรม และประมง
[แก้]ภาคการเกษตรของญี่ปุ่นมีสัดส่วนประมาณ 1.2% ของจีดีพีทั้งหมด ณ ปี 2561 จากการสำรวจพบว่าที่ดินของญี่ปุ่นเพียง 11.5% เท่านั้นที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกเนื่องจากขาดที่ดินทำกิน จึงมีการใช้ระบบระเบียงเพื่อทำการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก[71] ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตพืชผลต่อหน่วยพื้นที่สูงที่สุดในโลกโดยมีอัตราการพึ่งตนเองทางการเกษตรประมาณ 50% ณ ปี 2561 ภาคเกษตรกรรมขนาดเล็กของญี่ปุ่นได้รับเงินอุดหนุนและได้รับการคุ้มครองอย่างสูง[72] มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการทำฟาร์มเนื่องจากเกษตรกรมักเป็นผู้สูงวัยและมีความยากลำบากในการหาผู้สืบทอด
ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับ 7 ของโลกในด้านปริมาณปลาที่จับได้คิดเป็น 3,167,610 ตันในปี 2559 ลดลงจากค่าเฉลี่ย 4,000,000 ตันต่อปีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเป็นแหล่งประมงที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและคิดเป็นเกือบ 15% ของจำนวนสัตว์น้ำที่จับได้ทั่วโลก[73] ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ว่าการทำประมงของญี่ปุ่นทำให้ปริมาณปลาของโลกลดลง เช่น ปลาทูน่า ญี่ปุ่นยังจุดชนวนความขัดแย้งดังกล่าวด้วยการสนับสนุนการล่าวาฬอย่างถูกกฎหมาย[74]
การท่องเที่ยว
[แก้]รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคการท่องเที่ยว โดยทางการญี่ปุ่นได้ดำเนินมาตรการยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยวให้กับประเทศเป้าหมาย รวมถึงประเทศไทย กระแสไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นน่าจะยังได้รับความนิยมในหมู่คนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนสำคัญ ๆ ทั้งจากมาตรการยกเว้นวีซ่าท่องเที่ยวที่ยังคงมีผลบังคับใช้ บวกกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและโปรโมชั่นอัดแน่นจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงอานิสงส์ส่วนหนึ่งก็มาจากเงินเยนที่อ่อนค่า รวมทั้งสายการบินต้นทุนต่ำ ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางทัวร์ญี่ปุ่นมากขึ้นทุกปี
ญี่ปุ่นดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 31.9 ล้านคนในปี 2562[75] อยู่ในอันดับที่ 11 ของโลกในปี 2562 ในแง่จำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้า[76] และตามรายงานความสามารถในการแข่งขันด้านการเดินทางและการท่องเที่ยวปี 2560 จัดอันดับญี่ปุ่นเป็นอันดับ 4 จาก 141 ประเทศซึ่งสูงที่สุดในเอเชีย
อุตสาหกรรมการผลิต
[แก้]ญี่ปุ่นมีศักยภาพทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และเป็นที่ตั้งของ "ผู้ผลิตยานยนต์ เครื่องมือกล เหล็กกล้าและโลหะรายใหญ่ที่สุดและก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากที่สุด"[77] ภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นคิดเป็นประมาณ 27.5% ของจีดีพี[78] การส่งออกของประเทศสูงเป็นอันดับสามของโลก ณ ปี 2562 ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับสามของโลก ณ ปี 2562 และเป็นที่ตั้งของโตโยต้า บริษัทรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก[79][80] อีกทั้งยังเป็นประเทศต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 6 บริษัทจากผู้ผลิต 15 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลก อุตสาหกรรมต่อเรือของญี่ปุ่นเผชิญกับการแข่งขันจากเกาหลีใต้และจีน รัฐบาลออกนโยบายในปี 2563 ตั้งเป้าหมายให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางการส่งออกที่เพิ่มกำไร
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
[แก้]ญี่ปุ่นเป็นประเทศแนวหน้าในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนหลัก[81] ญี่ปุ่นมีจำนวนการขอสิทธิบัตรเป็นอันดับ 3 ของโลก[82] ตัวอย่างของผลงานทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องจักร วิศวกรรมด้านแผ่นดินไหวที่สร้างขึ้นมาเพื่ออยู่รอด สารเคมี สารกึ่งตัวนำ และเหล็ก เป็นต้น และเป็นผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำ 7 บริษัทจาก 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด
ญี่ปุ่นยังเป็นหนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฮบริด ซึ่งได้เทคโนโลยีมาจากเยอรมนี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา[83] ของฮอนด้าและโตโยต้าเป็นที่ยอมรับว่าประหยัดพลังงานมากที่สุดและปล่อยควันเสียได้น้อย[84][85] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของเทคโนโลยีระบบไฮบริด เชื้อเพลิง ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรในด้านเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอันดับหนึ่งของโลก[86]
องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนางานด้านอวกาศ สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการความร่วมมือการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติและโมดูลคิโบ มีกำหนดที่จะส่งขึ้นไปเพื่อต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติในการขนด้วยกระสวยอวกาศใน พ.ศ. 2552[87] นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังมีโครงการสำคัญมากมายรวมถึงการสำรวจอวกาศ และการสร้างฐานบนดวงจันทร์เพื่อส่งมนุษย์ไปสำรวจและทำภารกิจในปี 2573[88] ยานอวกาซเซลีนี เปิดตัวใน พ.ศ. 2550 ถือเป็นยานอวกาศลำที่สองของญี่ปุ่นที่ส่งขึ้นสู่ดวงจันทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการกำเนิดและวิวัฒนาการของดวงจันทร์[89]
ญี่ปุ่นยังเป็นหนึ่งในชาติผู้นำของโลกในด้านการผลิตหุ่นยนต์ โดยคิดเป็นสัดส่วนกว่า 55% ของจำนวนการผลิตทั่วโลก[90] ญี่ปุ่นมีจำนวนนักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก คิดเป็นสัดส่วน 14 คนต่อพนักงาน 1,000 คน[91] ญี่ปุ่นยังมีตลาดวิดีโอเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลัก สร้างรายได้ให้แก่ประเทศสูงถึง 9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และในจำนวนนี้เป็นรายได้จากเกมมือถือสูงถึง 5.8 พันล้านดอลลาร์[92]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Report for Selected Countries and Subjects: April 2023". imf.org. International Monetary Fund.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "The outlook is uncertain again amid financial sector turmoil, high inflation, ongoing effects of Russia's invasion of Ukraine, and three years of COVID". International Monetary Fund. 11 April 2023.
- ↑ 3.0 3.1 "EAST ASIA/SOUTHEAST ASIA :: JAPAN". CIA.gov. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
- ↑ "Poverty headcount ratio at $1.90 a day (2011 PPP) (% of population) - Japan". data.worldbank.org. World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2021. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021.
- ↑ "Poverty headcount ratio at $3.20 a day (2011 PPP) (% of population) - Japan". data.worldbank.org. World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2021. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021.
- ↑ "Poverty headcount ratio at $5.50 a day (2011 PPP) (% of population) - Japan". data.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021.
- ↑ "Income inequality". data.oecd.org. OECD. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 "Seasonally adjusted series of major items (Labour force, Employed person, Unemployed person, Not in labour force, Unemployment rate)". stat.go.jp. Ministry of Internal Affairs and Communications. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Employed person by age group". stat.go.jp. Ministry of Internal Affairs and Communications. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Labor Force by Services". data.worldbank.org. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2019. – Labor Force by Industry and agriculture.
- ↑ 11.0 11.1 Nakao, Yuka (20 January 2022). "Japan's exports, imports hit record highs in December". Kyodo News. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 "Japanese Trade and Investment Statistics". jetro.go.jp. Japan External Trade Organization. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2021. สืบค้นเมื่อ 3 March 2021.
- ↑ 13.0 13.1 "UNCTAD 2022" (PDF). UNCTAD. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2022.
- ↑ "External Debt | Economic Indicators | CEIC". www.ceicdata.com.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 "Report for Selected Countries and Subjects: October 2022". imf.org. International Monetary Fund.
- ↑ "Development aid rises again in 2016 but flows to poorest countries dip". OECD. 11 April 2017. สืบค้นเมื่อ 25 September 2017.
- ↑ "Sovereigns rating list". Standard & Poor's. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 Rogers, Simon; Sedghi, Ami (15 April 2011). "How Fitch, Moody's and S&P rate each country's credit rating". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.
- ↑ Scope Ratings (6 May 2022). "Scope affirms Japan's A ratings; Outlook revised to Negative". Scope Ratings. สืบค้นเมื่อ 7 May 2022.
- ↑ "International Reserves / Foreign Currency Liquidity". Ministry of Finance (Japan). สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2023.
- ↑ "GDP (current US$)". World Bank. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2013.
- ↑ "GDP (OFFICIAL EXCHANGE RATE)". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2013.
- ↑ "Country statistical profile: Japan". OECD iLibrary. 28 กุมภาพันธ์ 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2013.
- ↑ "World Economic Outlook Database-ตุลาคม 2013". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2013.
- ↑ "TANKAN :日本銀行 Bank of Japan". Bank of Japan. Boj.or.jp. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013.
- ↑ "2013 PRODUCTION STATISTICS – FIRST 6 MONTHS". OICA. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2013.
- ↑ "Statistics on Patents". World Intellectual Property Organization. 19 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ Morris, Ben (12 เมษายน 2012). "What does the future hold for Japan's electronics firms?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2013.
- ↑ Iwadare, Yoshihiko (1 เมษายน 2004). "Strengthening the Competitiveness of Local Industries: The Case of an Industrial Cluster Formed by Three Tokai Prefecters" (PDF). Nomura Research Institute. p. 16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ Kodama, Toshihiro (1 กรกฎาคม 2002). "Case study of regional university-industry partnership in practice". Institute for International Studies and Training. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ Mori, Junichiro; Kajikawa, Yuya; Sakata, Ichiro (2010). "Evaluating the Impacts of Regional Cluster Policies using Network Analysis" (PDF). International Association for Management of Technology. p. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ Schlunze, Rolf D. "Location and Role of Foreign Firms in Regional Innovation Systems in Japan" (PDF). Ritsumeikan University. p. 25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ "Profile of Osaka/Kansai" (PDF). Japan External Trade Organization Osaka. p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 สิงหาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ "Report for Selected Countries and Subjects". สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2013.
- ↑ Statistics Bureau Home Page
- ↑ What Were Japanese GDP, CPI, Wage, or Population Then?
- ↑ "Yearly Average Currency Exchange Rates Translating foreign currency into U.S. dollars". IRS. 2010. สืบค้นเมื่อ 16 November 2013.
- ↑ "Statistics Division of Gifu Prefecture" (ภาษาญี่ปุ่น). Gifu Prefecture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2007.
- ↑ "THB/JPY / Japanese Yen Conversion". ธนาคารแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2014.
- ↑ "Number of companies in the stock exchange" (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo Stock Exchange. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2014.
- ↑ "The Nikkei 225 Index Performance". Finfacts. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
- ↑ "Tokyo Stock Exchange Tokyo Price Index TOPIX". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
- ↑ Smith, Simon (22 January 2014). "Horizons introduces leveraged and inverse MSCI Japan ETFs". eftstrategy.com. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
- ↑ "About JSCC History". Japan Securities Clearing Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ "雇用情勢は一段と悪化、5月失業率は5年8カ月ぶり高水準(Update3)". Bloomberg. 30 มิถุนายน 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013.
- ↑ Fujioka, Toru (2009-06-29). "Japan's Jobless Rate Rises to Five-Year High of 5.2% (Update2)". Bloomberg News. Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2013-02-01.
- ↑ Rochan, M (31 มกราคม 2014). "Japan's Unemployment Rate Drops to Six-Year Low Amid Rising Inflation". International Business Times. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2014.
- ↑ M1 The Japanese Economy Takahashi Ito, pp 3-4.
- ↑ "Japan: Patterns of Development". country-data.com. มกราคม 1994. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2006.
- ↑ "World Factbook; Japan—Economy". CIA. 19 ธันวาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2006.
- ↑ "Japan heads towards recession as GDP shrinks". The Times. 13 สิงหาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2008.
- ↑ "That sinking feeling". The Economist. 30 ตุลาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ "In Japan, Financial Crisis Is Just a Ripple". The New York Times. 19 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ "Japan's economy 'worst since end of WWII'". CNN. 16 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2009.
- ↑ 55.0 55.1 "World Economic Outlook Database; country comparisons". ไอเอ็มเอฟ. 1 กันยายน 2006. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2007.
- ↑ "NationMaster; Economy Statistics". NationMaster. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2007.
- ↑ "Chapter 6 Manufacturing and Construction". Statistical Handbook of Japan, Ministry of Internal Affairs and Communications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 สิงหาคม 2013.
- ↑ 58.0 58.1 労働力調査(速報)平成19年平均結果の概要 (PDF). Statistic Bureau. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ Summary Statistics Groningen Growth and Development Centre, Sep 2008
- ↑ "Forbes Global 2000". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2010. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ "Market data". New York Stock Exchange. 31 มกราคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2007.
- ↑ "Criss-crossed capitalism". The Economist. 6 พฤศจิกายน 2008. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ "Going hybrid". The Economist. 29 พฤศจิกายน 2007. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ "Total area and cultivated land area". Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ "Total population and agricultural population". Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ 農林水産省国際部国際政策課 (23 พฤษภาคม 2006). "農林水産物輸出入概況(2005)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2007.
- ↑ "Self-sufficiency ratio of food by commodities (Preliminary)". Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ "Rankings". World Bank (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Report for Selected Countries and Subjects". International Monetary Fund.
- ↑ "Urbanites Help Sustain Japan's Historic Rice Paddy Terraces - Our World". ourworld.unu.edu.
- ↑ Chen, Hungyen (2018-07-03). "The spatial patterns in long-term temporal trends of three major crops' yields in Japan". Plant Production Science. 21 (3): 177–185. doi:10.1080/1343943X.2018.1459752. ISSN 1343-943X.
- ↑ 2018 The State of World Fisheries and Aquaculture (PDF) (Report). Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations. 2018. ISBN 978-92-5-130562-1.
- ↑ "Japan resumes commercial whaling after 30 years". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 1 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2022.
- ↑ "Data list | Japan Tourism Statistics". Japan Tourism Statistics | 日本の観光統計データ (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "UNWTO World Tourism Barometer and Statistical Annex, August/September 2020". www.e-unwto.org (ภาษาอังกฤษ). doi:10.18111/wtobarometereng.2020.18.1.5.
- ↑ "Explore All Countries – Japan". The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ↑ "Japan", The World Factbook (ภาษาอังกฤษ), Central Intelligence Agency, 2021-12-14, สืบค้นเมื่อ 2022-01-05
- ↑ "Is time running out for Japan's car industry?". Autocar (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Production Statistics | www.oica.net". www.oica.net.
- ↑ Science and Innovation: Country Notes, Japan OECD Science, Technology and Industry Outlook 2008, OECD
- ↑ "Japanese led world in filing of patent applications in 2005". The Japan Times. 11 สิงหาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ "History of Hybrid Vehicles". HybridCars.com. 13 มิถุนายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ตุลาคม 2012.
- ↑ "Automaker Rankings 2007: The Environmental Performance of Car Companies" (PDF). Union of Concerned Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ [www.greenercars.org/highlights_greenest.htm Greenest Vehicles of 2008] American Council for an Energy Efficient Economy
- ↑ Akira Maeda (28 พฤศจิกายน 2003). Innovation in Fuel Cell Technologies in Japan: Development and Commercialization of Polymer Electrolyte Fuel Cells (PDF) (Report). OECD/CSTP/TIP Energy Focus Group.
- ↑ "Press Release". JAXA. 8 กรกฎาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ published, Elizabeth Howell (7 เมษายน 2019). "Can Robots Build a Moon Base for Astronauts? Japan Hopes to Find Out". Space.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Japanese probe crashes into Moon" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 11 มิถุนายน 2009. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2022.
- ↑ IFR. "Why Japan leads industrial robot production". IFR International Federation of Robotics (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Science,technology and innovation : Researchers by sex, per million inhabitants, per thousand labour force, per thousand total employment (FTE and HC)". data.uis.unesco.org.
- ↑ Nutt, Christian (19 มิถุนายน 2015). "Japan's game market hits record high as consoles decline and mobile gr". Game Developer (ภาษาอังกฤษ).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รายงานทางเศรษฐกิจรายเดือน โดย สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น (ในภาษาอังกฤษ)
- Why Are Japanese Wages So Sluggish? IMF Working paper โดย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ในภาษาอังกฤษ)
- World Bank Trade Summary Statistics Japan 2012 โดย ธนาคารโลก (ในภาษาอังกฤษ)