ข้ามไปเนื้อหา

บลูริบบันด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Blue Riband)
เอสเอส ยูไนเต็ดสเตตส์ เรือลำสุดท้ายที่ได้รับบลูริบบันด์
อาร์เอ็มเอส มอริเทเนีย ของบริษัทคูนาร์ด ครองบลูริบบันด์นานเป็นอันดับสองของเรือลำใดลำหนึ่ง นั่นคือ 20 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1909 ถึง 1929

บลูริบบันด์ (อังกฤษ: Blue Riband) คือเกียรติยศอย่างไม่เป็นทางการที่มอบให้แก่เรือโดยสารที่เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นประจำและทำสถิติความเร็วเฉลี่ยสูงสุด ศัพท์นี้ถูกยืมมาจากการแข่งม้าและไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายจนกระทั่งหลังปี ค.ศ. 1910[1][2] สถิติที่ใช้เป็นเกณฑ์คือความเร็วเฉลี่ย ไม่ใช่ระยะเวลาในการเดินทางทั้งหมด เนื่องจากเรือแต่ละลำมีเส้นทางเดินเรือที่แตกต่างกัน[3] นอกจากนี้ สถิติความเร็วของการเดินทางไปทิศตะวันออก (eastbound) และไปทิศตะวันตก (westbound) จะถูกบันทึกแยกกัน เนื่องจากการเดินทางไปทิศตะวันตกมีความยากลำบากกว่าเพราะต้องเผชิญกับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมและสภาพอากาศในขณะนั้น ทำให้โดยทั่วไปแล้วมีความเร็วเฉลี่ยต่ำกว่า[4][Note 1]

ในบรรดาเรือโดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก 35 ลำที่เคยครองบลูริบบันด์นั้น มีเรือสัญชาติบริติชมากที่สุดถึง 25 ลำ ตามมาด้วยเยอรมัน 5 ลำ อเมริกัน 3 ลำ และอิตาลีและฝรั่งเศสชาติละ 1 ลำ ในจำนวนนี้ 13 ลำเป็นของบริษัทคูนาร์ด (รวมถึงควีนแมรี ซึ่งเป็นของคูนาร์ด-ไวต์สตาร์), 5 ลำเป็นของไวต์สตาร์, 4 ลำเป็นของนอร์ทด็อยท์เชอร์ล็อยท์, 2 ลำเป็นของคอลลินส์, 2 ลำเป็นของอินแมน, 2 ลำเป็นของกีออน และอีกบริษัทละ 1 ลำ ได้แก่ บริติชอเมริกัน, เกรตเวสเทิร์น, ฮัมบวร์ค-อเมริกา, อิตาเลียนไลน์, กงเปญีเฌเนราลทร็องซัตล็องติก และสุดท้ายคือยูไนเต็ดสเตตส์ไลน์[1] สถิติที่เรือเอสเอส ยูไนเต็ดสเตตส์ทำไว้ในปี ค.ศ. 1952 นั้นยังคงไม่มีเรือโดยสารลำใดทำลายได้ ระยะเวลาที่เรือลำใดลำหนึ่งครอบครองบลูริบบันด์ได้นานที่สุดเป็นอันดับสองคือ 19 ปี โดยเรืออาร์เอ็มเอส มอริเทเนีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1909 ถึง 1929 ระยะเวลาที่สั้นที่สุดคือ 6 สัปดาห์ โดยเรือเอสเอส เบรเมิน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ค.ศ. 1933

เรือเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นด้วยเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นจำนวนมาก และถูกออกแบบมาโดยคำนึงถึงปัจจัยทางทหาร[3] วินสตัน เชอร์ชิล ได้ประมาณการว่า เรือควีนทั้งสองลำของบริษัทคูนาร์ดมีส่วนช่วยลดระยะเวลาของสงครามโลกครั้งที่สองลงหนึ่งปี[5] เรือโดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกลำสุดท้ายที่ครอบครองบลูริบบันด์คือเอสเอส ยูไนเต็ดสเตตส์ ซึ่งถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้ทั้งในฐานะเรือลำเลียงพลและเรือโดยสารเชิงพาณิชย์[3] จนกระทั่งปี ค.ศ. 1935 จึงมีการมอบรางวัลอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อแฮโรลด์ เค. เฮลส์ บริจาคถ้วยรางวัลเฮลส์โทรฟี (Hales Trophy) แม้กติกาของเฮลส์โทรฟีจะต่างจากกติกาเดิมของบลูริบบันด์ (ตัวอย่างเช่น เดิมทีเฮลส์โทรฟีมอบให้เฉพาะสถิติการเดินทางไปทิศตะวันตกเท่านั้น) และมีการเปลี่ยนแปลงกติกาหลายครั้งหลังจากนั้น ถ้วยรางวัลนี้มอบให้แก่เรือที่ครอบครองบลูริบบันด์เพียงสามลำในช่วงยุคเรือโดยสารด่วน แม้ว่าจะมีการถ้วยมอบรางวัลนี้ต่อไป แต่หลายคนเชื่อว่ายูไนเต็ดสเตตส์ยังคงครอบครองบลูริบบันด์อยู่[6] เพราะไม่มีเรือลำใดที่ทำลายสถิติได้

สันนิษฐานว่าคำว่า Blue Riband นั้นมีรากศัพท์มาจากคำว่า "Cordon Bleu" ซึ่งเป็นแพรแถบที่ใช้กับเครื่องราชอิสริยาภรณ์พระวิญญาณบริสุทธิ์ (Order of the Holy Spirit) ของฝรั่งเศส

ภูมิหลัง

[แก้]

การข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือครั้งแรกที่เป็นที่ยอมรับและมีหลักฐานบันทึก ถึงแม้จะไม่ใช่ครั้งแรกสุดนั้นคือการเดินทางของเรือแมตทิว (Matthew) ของจอห์น แคบอตในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1497 แมตทิวเดินทางข้ามจากบริสตอลไปยังนิวฟันด์แลนด์ใช้เวลา 35 วัน และเดินกลับในเดือนถัดมาโดยใช้เวลาเพียง 17 วัน[7] ตลอดสามคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา มีเรือมากมายหลากหลายประเภท (ทั้งเรือพาณิชย์และเรือรบ เรือเร็วและเรือช้า ในยามสงบและสงคราม) แล่นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือไปมา โดยต้องเผชิญความแปรปรวนของลมและสภาพอากาศ พวกมันมาถึงท่าเรือเมื่อใดก็ตามที่ลมเอื้ออำนวย และออกเดินทางเมื่อบรรทุกสินค้าเต็มลำ โดยมักแวะจอดที่ท่าเรืออื่น ๆ เพื่อเดินทางต่อ ในช่วงเวลานี้ การเดินทางไปทิศตะวันออกที่ใช้เวลา 30 ถึง 45 วันนั้นถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา ขณะที่การเดินทางไปทิศตะวันตกที่ใช้เวลา 65 ถึง 90 วันกลับไม่ได้เป็นที่สนใจแต่อย่างใด การปรากฏตัวของเรือจักรไอน้ำซึ่งเป็นอิสระจากพลังงานลม ทำให้เกิดโอกาสในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นประจำตามตารางเวลาที่กำหนดได้ภายในระยะเวลาสองถึงสามสัปดาห์ ซึ่งเป็นการเปิดสมัยใหม่ของการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและการแข่งขัน[8]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

คำว่า "บลูริบบันด์แห่งแอตแลนติก" เริ่มถูกใช้อย่างแพร่หลายในคริสต์ทศวรรษ 1890 และประวัติศาสตร์การแข่งขันข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งถูกบันทึกย้อนหลังนั้น ถือว่าเริ่มต้นจากการเดินทางข้ามมหาสมุทรของเรือจักรไอน้ำซีเรียสและเกรตเวสเทิร์นในปี ค.ศ. 1838 แม้ว่าซีเรียสและเกรตเวสเทิร์นจะไม่ใช่เรือจักรไอน้ำลำแรกที่ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก (เรือสะวันนาข้ามมหาสมุทรในปี ค.ศ. 1819 และโรยัลวิลเลียมข้ามในปี 1831) และไม่ใช่เรือที่เร็วที่สุดในการข้ามมหาสมุทร (เรือใบโคลอมเบียข้ามจากตะวันตกไปตะวันออกใน 15 วัน 23 ชั่วโมงในปี 1830[9] และการข้ามมหาสมุทรด้วยเรือใบภายใน 16–17 วันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก) แต่ซีเรียสและเกรตเวสเทิร์นเป็นเรือจักรไอน้ำลำแรกที่ให้บริการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกประจำและตามตารางเวลา และที่สำคัญที่สุดคือทั้งสองลำได้เข้าร่วมการแข่งขันข้ามมหาสมุทร[10] บริษัทคูนาร์ดปฏิเสธอย่างเป็นทางการที่จะรับรองตำแหน่งแชมป์ เนื่องจากการแข่งขันเรือไม่สอดคล้องกับนโยบายความปลอดภัยของบริษัท[11]

เรือล้อพาย (ค.ศ. 1838–1872)

[แก้]
เรือซีเรียสถูกยกย่องว่าเป็นเรือลำแรกที่ทำลายสถิติการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจากการเดินทางไปยังนิวยอร์กในปี ค.ศ 1838 ด้วยความเร็ว 8.03 นอต (14.87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ในปี ค.ศ. 1843 เรือเกรตเวสเทิร์นทำลายสถิติด้วยความเร็ว 10.03 นอต (18.58 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

ในปี ค.ศ. 1832 จูเนียส สมิธ ทนายความชาวอเมริกันผู้ผันตัวมาเป็นพ่อค้าในลอนดอน ได้เสนอแนวคิดในการก่อตั้งบริษัทเดินเรือเพื่อสร้างเรือจักรไอน้ำสำหรับการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก แนวคิดนี้ผุดขึ้นมาในระหว่างการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่ใช้เวลานานถึง 57 วัน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในสมัยนั้น[12] และได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร American Rail Road Journal[13] หลังจากไม่ได้รับการสนับสนุนใด ๆ เป็นเวลาหลายปี แผนการของเขาก็ได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้นเมื่อแมกเกรเกอร์ เลิร์ด ช่างต่อเรือชาวสกอต เข้ามาลงทุน[2] สมิธ ผู้มักได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งเรือโดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ได้ก่อตั้งบริษัทบริติชแอนด์อเมริกันสตีมนาวิเกชัน (British and American Steam Navigation Company) ขึ้นเพื่อให้บริการเดินเรือระหว่างลอนดอนและนิวยอร์ก ประมาณช่วงเวลาเดียวกัน ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทของบริษัทเกรตเวสเทิร์นเรลเวย์ (Great Western Railway) ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1835 ได้มีการพูดคุยกันถึงเรื่องเรือจักรไอน้ำข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และมีเรื่องเล่ากันว่าอิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนล วิศวกรใหญ่ของบริษัท ได้ล้อเล่นว่าสามารถทำให้เส้นทางรถไฟยาวขึ้นได้ด้วยการสร้างเรือจักรไอน้ำให้แล่นระหว่างบริสตอลและนิวยอร์ก นักลงทุนที่จำเป็นเหล่านั้นได้รับการชักชวนโดยเพื่อนของบรูเนลคือ ทอมัส กัปปี วิศวกรและนักธุรกิจชาวบริสตอล[14] ปีต่อมา บริษัทเกรตเวสเทิร์นสตีมชิป (Great Western Steamship Company) ได้ก่อตั้งขึ้น แม้ว่าการสร้างทางรถไฟจะยังไม่เสร็จสิ้นอีกหลายปีก็ตาม[15]

ภายในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1838 เรือเกรตเวสเทิร์นที่ออกแบบโดยบรูเนลก็พร้อมออกสู่ทะเล แต่เรือลำแรกของสมิธยังไม่มีเครื่องยนต์ เมื่อบริษัทเกรตเวสเทิร์นกำหนดตารางเดินเรือครั้งแรกของตน เลิร์ดได้เสนอให้บริษัทบริติชแอนด์อเมริกันเช่าเรือจักรไอน้ำซีเรียส ซึ่งเป็นเรือที่แล่นบนทะเลไอริชจากบริษัทเซนต์จอร์จสตีมแพ็กเก็ต (St. George Steam Packet Company) มาสองเที่ยวเพื่อเอาชนะบริษัทเกรตเวสเทิร์น[14] แม้ว่าซีเรียสจะออกเดินทางจากคอร์ก ประเทศไอร์แลนด์ ก่อนเกรตเวสเทิร์นจะออกเดินทางจากเอเวินมัท ประเทศอังกฤษถึง 4 วัน แต่เกรตเวสเทิร์นก็เกือบจะแซงหน้าซีเรียสไปถึงนิวยอร์กได้ภายในเวลาเพียงหนึ่งวัน[3] เพื่อให้การเดินทางสำเร็จไปได้ ซีเรียสจำต้องเผาเสากระโดงเมื่อถ่านหินเหลือน้อย[14] ด้วยความเร็วในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปทิศตะวันตกที่ 8.03 นอต (14.87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ซีเรียสจึงมักถูกยกย่องให้เป็นเรือลำแรกที่ทำลายสถิติ แม้จะครองสถิตินั้นได้เพียงวันเดียวเท่านั้น ก่อนที่เกรตเวสเทิร์นจะมาถึงและทำลายสถิติด้วยความเร็วที่สูงกว่า ทว่าแนวคิดเรื่อง "บลูริบบันด์" นั้นยังไม่เป็นที่รู้จักและนำมาใช้อย่างแพร่หลายจนกระทั่งผ่านไปอีกหลายสิบปี[1] เกรตเวสเทิร์นกลายเป็นต้นแบบของเรือล้อพายไม้ที่ประสบความสำเร็จทุกลำ และยังทำลายสถิติการเดินทางด้วยความเร็ว 10.03 นอต (18.58 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1843 ซึ่งเป็นช่วงเวลาค่อนข้างหลังจากที่เรือลำนี้สร้างขึ้นมา[3]

เรือยูโรปาสร้างสถิติด้วยความเร็ว 11.79 นอต (21.84 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ภาพนี้เป็นหนึ่งในภาพถ่ายที่เก่าแก่ที่สุดของเรือเดินสมุทรแอตแลนติก

บริษัทคูนาร์ดไลน์ (Cunard Line) เริ่มให้บริการเดินเรือระหว่างลิเวอร์พูล—แฮลิแฟกซ์–บอสตัน ในปี ค.ศ. 1840 โดยใช้เรือสี่ลำ ซึ่งเป็นเรือที่ลดขนาดลงเล็กน้อยจากเกรตเวสเทิร์น แต่มีความเร็วใกล้เคียงกัน ในที่สุด คูนาร์ดก็ได้สร้างเรือล้อพายไม้เพิ่มอีกเก้าลำ ภายในปี ค.ศ. 1846 คูนาร์ดเป็นบริษัทเดินเรือจักรไอน้ำเพียงรายเดียวที่ยังคงอยู่รอดได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงทหารเรืออังกฤษเพื่อขนส่งไปรษณีย์[3] เน้นเรื่องความปลอดภัย[5] จนถึงปี ค.ศ. 1850 สถิติความเร็วสูงสุดในการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกนั้นสลับสับเปลี่ยนกันระหว่างเรือต่าง ๆ ของคูนาร์ดไลน์ และในที่สุดก็ทำลายสถิติสูงสุดที่ 12.25 นอต (22.69 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โดยเรือเอเชีย ซึ่งใช้เวลาเดินทางจากลิเวอร์พูลไปยังแฮลิแฟกซ์ 8 วัน[16] การเดินทางที่ทำลายสถิติในช่วงเวลานั้นมักเกิดจากการใช้ใบเรือเพื่อเพิ่มความเร็วจากแรงลมท้าย[3]

การแข่งขันครั้งแรกที่รุนแรงของคูนาร์ดเพื่อสถิติความเร็วของเรือมาจากบริษัทคอลลินส์ไลน์ (Collins Line) ซึ่งเป็นเจ้าของโดยชาวอเมริกัน[3] รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้เงินอุดหนุนจำนวนมากแก่คอลลินส์เพื่อให้บริการเดินเรือล้อพายไม้จำนวนสี่ลำที่มีสมรรถนะเหนือกว่าเรือที่ดีที่สุดของคูนาร์ด[17] ในปีแรกของการให้บริการคือ ค.ศ. 1850 เรือแปซิฟิกได้สร้างสถิติความเร็วในการเดินทางจากลิเวอร์พูลไปนิวยอร์กด้วยระยะเวลา 10 วัน ด้วยความเร็ว 12.46 นอต (23.08 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) น่าเสียดายที่คอลลินส์ประสบความล้มเหลวครั้งใหญ่เมื่อเรืออาร์กติกของบริษัทอับปางลงพร้อมกับการสูญเสียชีวิตจำนวนมาก[3] ปีถัดมา คูนาร์ดได้เพิ่มแรงกดดันต่อคอลลินส์ด้วยการสร้างเรือล้อพายที่สร้างจากเหล็กลำแรกชื่อเปอร์เซีย ซึ่งทำลายสถิติการเดินทางจากลิเวอร์พูลไปนิวยอร์กด้วยเวลาเพียง 9 วัน 16 ชั่วโมง ด้วยความเร็ว 13.11 นอต (24.28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)[16] ในช่วงสงครามไครเมีย คูนาร์ดได้ส่งเรือ 11 ลำเข้าร่วมในภารกิจทางทหารและระงับเส้นทางเดินเรือทั้งหมด ยกเว้นเส้นทางลิเวอร์พูล–แฮลิแฟกซ์–บอสตัน[17] แม้ว่าโชคลาภของคอลลินส์จะดีขึ้นเพราะไม่มีคู่แข่งในช่วงสงคราม แต่บริษัทก็ล้มละลายในปี ค.ศ. 1858 หลังจากสูญเสียเรือไปอีกสองลำ[3] คูนาร์ดกลายเป็นบริษัทเดินเรือชั้นนำสำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง และในปี ค.ศ. 1862 ก็ได้ต่อเรือสโกเชีย ซึ่งเป็นเรือล้อพายลำสุดท้ายที่ทำลายสถิติการเดินทางจากควีนส์ทาวน์ไปนิวยอร์กด้วยความเร็ว 14.46 นอต (26.78 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สโกเชียเป็นเรือล้อพายที่สำคัญลำสุดท้ายที่ถูกสั่งต่อขึ้นเพื่อให้บริการบนมหาสมุทรแอตแลนติก เนื่องจากภายใต้เงื่อนไขของสัญญาขนส่งไปรษณีย์ระหว่างคูนาร์ดกับกระทรวงทหารเรือ คูนาร์ดยังคงต้องจัดหาเรือล้อพายเมื่อกองทัพต้องการใช้ในทางทหาร[1]

เรือใบจักรแบบเกลียวเดี่ยว (ค.ศ. 1872–1889)

[แก้]
เรือเอเดรียติกของบริษัทไวต์สตาร์ เป็นเรือลำแรกที่ใช้ใบจักรแบบเกลียวขับเคลื่อนได้สำเร็จ โดยทำสถิติความเร็วได้ 14.65 นอต (27.13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1872
เรือเอทรูเรียของบริษัทคูนาร์ด ทำลายสถิติด้วยความเร็ว 19.56 นอต (36.23 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1888

ในปี ค.ศ. 1845 เรือเกรตบริเตนที่ออกแบบโดยบรูเนล กลายเป็นเรือเหล็กลำแรกที่ขับเคลื่อนด้วยใบจักรแบบเกลียวบนมมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850 บริษัทอินแมนไลน์ (Inman Line) ได้สร้างเรือขนาดเล็กลงจำนวนมากเพื่อใช้ในการขนส่งผู้โดยสารชั้นประหยัด ในปี ค.ศ. 1866 อินแมนเริ่มต่อเรือขนาดใหญ่ที่ใช้ใบจักรแบบเกลียวเดี่ยวซึ่งมีสมรรถนะเทียบเท่ากับเรือสโกเชีย[3] กระทรวงทหารเรืออนุญาตให้คูนาร์ดสั่งต่อเรือที่ขับเคลื่อนด้วยใบจักรแบบเกลียวลำแรกชื่อ รัสเซีย[17] ในปี ค.ศ. 1871 ทั้งสองบริษัทต้องเผชิญกับคู่แข่งรายใหม่เมื่อบริษัทไวต์สตาร์ไลน์ (White Star Line) ได้สั่งต่อเรือโอเชียนิกและเรือพี่น้องอีกห้าลำ ปีต่อมา เรือเอเดรียติกของไวต์สตาร์สามารถทำลายสถิติของสโกเชียได้สำเร็จด้วยการเดินทางด้วยความเร็ว 14.65 นอต (27.13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)[16] เรือลำใหม่ของไวต์สตาร์ที่ทำลายสถิตินั้นประหยัดเชื้อเพลิงเป็นพิเศษเนื่องจากใช้เครื่องยนต์แบบผสม แต่ด้วยอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างของตัวเรือที่สูง (10:1 เมื่อเทียบกับมาตรฐานเดิมที่ 8:1) จึงทำให้เกิดการสั่นสะเทือนมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหานี้ ไวต์สตาร์จึงย้ายห้องอาหารไปไว้ที่กลางลำเรือและทำให้เรือของตนหรูหราขึ้น อินแมนได้ปรับปรุงกองเรือด่วนให้ได้มาตรฐานใหม่ แต่คูนาร์ดกลับยังคงตามหลังคู่แข่งทั้งสองราย[3] ในปี ค.ศ. 1875 เรือซิตีออฟเบอร์ลิน ของอินแมนได้ทำลายสถิติความเร็วในการเดินทางเฉลี่ยที่ 15.21 นอต (28.17 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)[16]

ในช่วงภาวะอุตสาหกรรมการเดินเรือตกต่ำที่เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1873 และกินเวลา 5 ปี วิลเลียม เพียร์ซ หุ้นส่วนใหญ่ของอู่ต่อเรือจอห์น เอลเดอร์ เชื่อว่าเรือที่บรรทุกผู้โดยสารและสินค้าเบาเท่านั้นจะสามารถสร้างกำไรได้ เพราะจะดึงดูดผู้โดยสารได้มากขึ้นและใช้เวลาอยู่ในท่าเรือน้อยลง[2] เขาเสนอให้ต่อเรือลำหนึ่งที่บรรจุเครื่องจักรที่มีกำลังมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ลงไปในตัวเรือ โดยยอมแลกทุกอย่างเพื่อให้ได้ความเร็ว[3] เมื่อคูนาร์ดปฏิเสธข้อเสนอของเขา เพียร์ซจึงเสนอแนวคิดนี้แก่บริษัทกวีออนไลน์ (Guion Line) ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการโดยสารชั้นประหยัดเป็นหลัก เรือลำแรกที่เพียร์ซสร้างให้กับกวีออนคือแอริโซนา ถูกอธิบายโดยนักประวัติศาสตร์ทางทะเลคนหนึ่งว่าเป็น "รถฮอตรอดข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่ปรับแต่งมาเป็นพิเศษ[2] แม้ว่าจะชนะสถิติการเดินทางไปทิศตะวันออกเท่านั้น[17] แต่เพียงสองปีถัดมา กวีออนก็ได้รับมอบเรืออะแลสกาที่มีความเร็วสูงกว่าเดิมและทำลายสถิติด้วยความเร็ว 16.07 นอต (29.76 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)[16] เพื่อดำเนินโครงการต่อ เพียร์ซได้เสนอเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้แก่กวีออนสำหรับเรือลำที่สามคือ ออริกอน ซึ่งทำลายสถิติด้วยความเร็ว 18.56 นอต (34.37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1884[16] เรือเหล่านี้ไม่สะดวกสบายนัก และการใช้ถ่านหินจำนวนมากทำให้ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ[3] ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ในช่วงเวลาหนึ่ง เรือเหล่านี้ก็ได้รับความนิยมอย่างมากจากลูกค้าชาวอเมริกันเพราะมีเจ้าของเป็นชาวอเมริกันด้วยกัน[17]

หลังจากไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันมานานถึงสิบปี คูนาร์ดก็เริ่มฟื้นฟูกิจการขึ้นมาใหม่ ในปี ค.ศ. 1884 คูนาร์ดได้ซื้อเรือออริกอนมาจากกวีออนเมื่อบริษัทดังกล่าวผิดนัดชำระเงินกับอู่ต่อเรือ ในปีเดียวกันนั้น คูนาร์ดได้สั่งต่อเรือที่สร้างจากเหล็กกล้าลำแรกที่ทำลายสถิติคือ อัมเบรียและเอทรูเรีย[17] เอทรูเรียซึ่งเร็วกว่า ได้ทำลายสถิติด้วยการเดินทางจากควีนส์ทาวน์ถึงแซนดีฮุกในเวลา 6 วัน 2 ชั่วโมง ด้วยความเร็ว 19.56 นอต (36.23 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1888 อย่างไรก็ตาม เอทรูเรียและเรือพี่น้องของมันได้แสดงให้เห็นถึงขีดจำกัดของเทคโนโลยีใบจักรแบบเกลียวเดี่ยว[1]

เรือใบจักรแบบเกลียวคู่ (ค.ศ. 1889–1907)

[แก้]
เรือซิตีออฟแพริสของบริษัทอินแมน สร้างสถิติความเร็ว 20.01 นอต (37.06 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1889
เรือไคเซอร์วิลเฮ็ล์มแดร์โกรเซอของบริษัท NDL ทำลายสถิติด้วยความเร็ว 22.29 นอต (41.28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1898

อินแมนไลน์ประสบปัญหาทางการเงินหลังจากเรือซิตีออฟโรม ซึ่งตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อทำลายสถิติความเร็วไม่สามารถทำได้ตามที่คาดหวัง และถูกส่งคืนแก่ผู้สร้างในปี ค.ศ. 1882 คณะกรรมการบริษัทอินแมนตกลงที่จะยุบบริษัทโดยสมัครใจเพื่อให้เจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด คือ บริษัทอินเตอร์เนชันแนลนาวิเกชัน (International Navigation Company) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฟิลาเดลเฟียสามารถซื้อทรัพย์สินของอินแมนไปได้[3] เจ้าของรายใหม่ได้จัดหาเงินทุนในการต่อเรือสองลำที่ทำลายสถิติอย่างโดดเด่นคือซิตีออฟนิวยอร์กและซิตีออฟแพริส ซึ่งต่างใช้ใบจักรแบบเกลียวคู่ขับเคลื่อน โดยลำหลังได้สร้างสถิติใหม่ถึงสี่ครั้งนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1889 รวมถึงการเดินทางด้วยความเร็ว 20.7 นอต (38.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1892 ไวต์สตาร์ซึ่งไม่ได้สร้างเรือโดยสารด่วนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1875 (เรือเจอร์แมนิก) ได้สั่งต่อเรือทูโทนิกในปี ค.ศ. 1889 และมาเจสติกในปี ค.ศ. 1890 ซึ่งสามารถทำลายสถิติความเร็ว หลังจากได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงทหารเรือเพื่อให้ทั้งสองลำสามารถดัดแปลงเป็นเรือพาณิชย์ติดอาวุธได้ในกรณีเกิดสงคราม คูนาร์ดตอบโต้ด้วยเรือที่เร็วกว่าถึงสองลำคือคัมพาเนียและลูเคเนียในปี ค.ศ. 1893[17] ปีถัดมา ลูเคเนียทำสถิติการเดินทางด้วยความเร็ว 21.81 นอต (40.39 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)[16] อินแมนเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทอเมริกันไลน์ และสั่งต่อเรือโดยสารด่วนเพิ่มอีกสองลำจากอู่ต่อเรือในอเมริกา แต่ไม่มีความพยายามจะเอาชนะเรือของคูนาร์ดที่เพิ่งต่อขึ้นใหม่ ในปี ค.ศ. 1894 กวีออนได้หยุดให้บริการเดินเรือเนื่องจากเรือของบริษัทนั้นล้าสมัยอย่างมาก[3]

ทันทีที่คูนาร์ดกลับมาครองความเป็นที่หนึ่ง ก็มีคู่แข่งรายใหม่เกิดขึ้นมา ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1860 บริษัทต่าง ๆ ในเยอรมนีหลายแห่งได้สั่งต่อเรือโดยสารที่มีความเร็วเกือบเทียบเท่ากับเรือไปรษณีย์ของอังกฤษที่ให้บริการจากลิเวอร์พูล[3] ในปี ค.ศ. 1889 บริษัทฮัมบวร์ค-อเมริกาไลน์ (Hamburg-America Line) ได้สั่งต่อเรือจักรไอน้ำใบจักรเกลียวคู่ 4 ลำ ซึ่งสามารถทำความเร็วได้ 18.00 นอต (33.34 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขณะที่คู่แข่งอย่างบริษัทนอร์ทด็อยท์เชอร์ล็อยท์ (Norddeutscher Lloyd; NDL) ต้องตามหลังไปอีก 6 ปีจึงจะตัดสินใจสั่งต่อเรือขนาดใหญ่ 2 ลำเพื่อหวังจะแซงหน้าและทำลายสถิติความเร็วของคู่แข่ง ในปี ค.ศ. 1898 เรือไคเซอร์วิลเฮ็ล์มแดร์โกรเซอได้ทำลายสถิติด้วยความเร็ว 22.29 นอต (41.28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขณะที่เรือลำอื่นคือไคเซอร์ฟรีดริช ไม่สามารถทำความเร็วได้ตามที่สัญญาไว้และถูกส่งคืนแก่ผู้สร้าง ฮัมบวร์คอเมริกาได้สั่งต่อเรือด็อยทช์ลันท์ที่ทรงพลังยิ่งกว่าเดิม โดยเรือลำนี้ทำลายสถิติด้วยความเร็ว 23.06 นอต (42.71 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในการเดินทางเที่ยวหนึ่งในปี ค.ศ. 1900 ทว่าฮัมบวร์คอเมริกากลับได้เรียนรู้ในเวลาอันสั้นว่าเรือโดยสารขนาดใหญ่ที่ใช้ใบจักรแบบเกลียวคู่กำลังสูงเหล่านี้มีปัญหาด้านการสั่นสะเทือน ด็อยทช์ลันท์มีฉายาที่ไม่น่าฟังว่า "เครื่องเขย่าค็อกเทล" (cocktail shaker) และในปี ค.ศ. 1902 ส่วนท้ายของเรือก็ได้หลุดออกไปจากการสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่อง[1]

แทนที่จะพยายามแข่งขันกับเรือด่วนรุ่นใหม่ของเยอรมัน ไวต์สตาร์กลับตัดสินใจถอนตัวจากการแข่งขัน และสั่งต่อเรือขนาดใหญ่หรูหราชั้นเซลติกจำนวน 4 ลำที่มีความเร็วปานกลาง ไวต์สตาร์ตระหนักว่าผู้โดยสารให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายมากกว่า แม้จะต้องใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งวันก็ตาม ในปี 1902 ไวต์สตาร์ไลน์ได้เข้าร่วมกับกลุ่มบริษัททุนหนาสัญชาติอเมริกันอย่างอินเตอร์เนชันแนลเมอร์เคนไทล์มารีน (International Mercantile Marine Co.; IMM) ซึ่งเป็นเจ้าของอเมริกันไลน์และบริษัทเดินเรืออื่นๆ อีก IMM ยังมีข้อตกลงทางการค้ากับฮัมบวร์คอเมริกาและ NDL ด้วย หลังประสบปัญหาจากเรือด็อยทช์ลันท์ ฮัมบวร์ค อเมริกาก็ถอนตัวจากการแข่งขันและได้สั่งต่อเรือขนาดใหญ่หรูหราที่มีเซลติกเป็นต้นแบบ อย่างไรก็ตาม NDL ได้ต่อเรือด่วนเพิ่มอีก 4 ลำที่มีไคเซอร์วิลเฮ็ล์มแดร์โกรเซอเป็นต้นแบบ[3]

เรือแห่งชาติ (ค.ศ. 1907–1969)

[แก้]
เรือมอริเทเนียของบริษัทคูนาร์ด ครองบลูริบบันด์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1909 ถึง 1929 ด้วยความเร็ว 26.06 นอต (48.26 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 29.99 ไมล์ต่อชั่วโมง)
เรือเบรเมินของบริษัท NDL ทำลายสถิติของมอริเทเนียด้วยความเร็ว 27.83 นอต (51.54 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 32.03 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1929
เรือเร็กซ์ของบริษัทอิตาเลียน เข้าร่วมบลูริบบันด์ด้วยความเร็ว 28.92 นอต (53.56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 33.28 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1933
เรือนอร์ม็องดีของบริษัท CGT ได้รับบลูริบบันด์ด้วยความเร็ว 30.58 นอต (56.63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 35.19 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1937
เรือควีนแมรีของบริษัทคูนาร์ด-ไวต์สตาร์ คว้าบลูริบบันด์กลับคืนมาด้วยความเร็ว 31.69 นอต (58.69 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 36.47 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1938
เรือยูไนเต็ดสเตตส์ คว้าบลูริบบันด์ด้วยความเร็ว 35.59 นอต (65.91 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 40.96 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1952

หลังปี ค.ศ. 1902 มีเพียงคูนาร์ดไลน์และเฌเนราลทร็องซัตล็องติก (Compagnie Générale Transatlantique; CGT) ของฝรั่งเศสเท่านั้นที่ยังคงเป็นอิสระจาก IMM เกียรติภูมิของประเทศอังกฤษกำลังถูกคุกคาม และรัฐบาลจึงได้ให้เงินอุดหนุนคูนาร์ดเป็นจำนวน 150,000 ปอนด์ต่อปี พร้อมทั้งให้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำอีก 2.5 ล้านปอนด์เพื่อนำไปใช้ในการต่อเรือขนาดใหญ่สองลำคือลูซิเทเนียและมอริเทเนีย โดยมีเงื่อนไขว่าทั้งสองลำจะต้องสามารถดัดแปลงเป็นเรือลาดตระเวนติดอาวุธได้เมื่อราชนาวีต้องการ[3] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 ทั้งสองลำสามารถคว้าบลูริบบันด์ และสถิติความเร็ว 26.06 นอต (48.26 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ของมอริเทเนียในปี ค.ศ. 1909 นั้นคงอยู่ถึง 20 ปี[16] อย่างไรก็ดี เรือเหล่านี้ต้องแลกความเร็วด้วยการขาดสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่พบในเรือรุ่นใหม่ของไวต์สตาร์และฮัมบวร์คอเมริกา คู่แข่งทั้งสองของคูนาร์ดได้สั่งต่อเรือขนาดใหญ่ขึ้นอีกสามลำ โดยไวต์สตาร์สั่งต่อเรือชั้นโอลิมปิกที่มีความเร็วสูงสุด 21.5 นอต (39.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) และฮาพัคสั่งต่อเรือชั้นอิมเพอราทอร์ที่มีความเร็วสูงสุด 22.5 นอต (41.7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) คูนาร์ดเองก็หันมาใช้วิธีการเดียวกันด้วยการสั่งต่อเรือลำที่สามคืออาควิเทเนีย[5]

มีข่าวลืออย่างต่อเนื่องว่าเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก กำลังพยายามจะคว้าบลูริบบันด์ และความพยายามดังกล่าวทำให้เรือแล่นด้วยความเร็วสูงเกินไปจนเป็นเหตุให้ชนกับภูเขาน้ำแข็ง[18] ความเป็นไปได้นี้ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากไททานิกถูกสร้างขึ้นเพื่อความหรูหรา ไม่ใช่ความเร็ว[19]

ผลพวงจากสงครามทำให้ฮัมบวร์คอเมริกาและนอรทด็อยท์เชอร์ล็อยท์ต้องสูญเสียเรือลำสำคัญที่สุดของตน ในปี ค.ศ. 1926 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้จ่ายค่าชดเชยแก่นอร์ทด็อยท์เชอร์ล็อยท์เป็นเงิน 27 ล้านดอลลาร์สำหรับเรือที่ถูกยึดไป ในช่วงเวลานี้ การพัฒนาเครื่องยนต์กังหัน รูปทรงตัวเรือ รวมถึงการใช้น้ำมันเตาแทนถ่านหิน ทำให้สามารถสร้างเรือที่ทำลายสถิติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเงินเหล่านี้ NDL ได้สั่งต่อเรือสองลำคือเบรเมินและอ็อยโรปา ซึ่งออกแบบมาเพื่อข้ามแอตแลนติกภายใน 5 วัน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐได้นำเงินนี้ไปหักล้างหนี้ที่รัฐบาลเยอรมันค้างชำระ ทำให้เบอร์ลินจำเป็นต้องให้เงินอุดหนุน NDL โดยตรงเพื่อให้โครงการดำเนินต่อไป เบรเมินทำสถิติความเร็วได้ 27.83 นอต (51.54 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในการคว้าบลูริบบันด์ในปี ค.ศ. 1929 ต่อมาอ็อยโรปาได้เพิ่มสถิติบลูริบบันด์เป็น 27.92 นอต (51.71 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในปี ค.ศ. 1933[16]

ในปี ค.ศ. 1928 ไวต์สตาร์ได้สั่งต่อเรือขนาดใหญ่ลำใหม่ที่ใช้พลังงานดีเซลไฟฟ้ายาว 1,000 ฟุต โดยให้ชื่อว่าโอเชียนิก ซึ่งมีกำลังเครื่องยนต์ 200,000 แรงม้า เพื่อตอบโต้เบรเมินและอ็อยโรปาของเยอรมัน การสร้างเริ่มขึ้นในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1928 แต่ไวต์สตาร์ไม่มีเงินทุนเพียงพอจะสร้างเรือลำนี้ให้เสร็จสิ้น ทำให้การต่อเรือโอเชียนิกต้องหยุดชะงักไปจนถึงปี ค.ศ. 1931 และมีการตัดสินใจทำลายโดยเงียบ ๆ ในท้ายที่สุด เครื่องยนต์ของเรือซึ่งล้ำกว่ายุคสมัยอาจทรงพลังพอจะทำให้เรือลำนี้คว้าบลูริบบันด์ได้

ในปี ค.ศ. 1929 บริษัทเดินเรือสองแห่งของอิตาลีได้สั่งต่อเรือลำใหม่ตามแบบเรือคู่แฝดของเยอรมัน ขณะที่เรือเหล่านี้กำลังจะเสร็จสมบูรณ์ รัฐบาลอิตาลีได้เข้ามาควบคุมอุตสาหกรรมการเดินเรือทั้งหมด ทำให้เกิดบริษัทอิตาเลียนไลน์ (Italian Line) ขึ้นมา แม้ทั้งสองลำจะประสบความสำเร็จ แต่มีเพียงเร็กซ์เท่านั้นที่คว้าบลูริบบันด์มาครองได้จากการเดินทางในปี ค.ศ. 1933 ด้วยความเร็ว 28.92 นอต (53.56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)[3]

CGT ได้สั่งต่อเรือขนาดใหญ่ลำใหม่ในปี ค.ศ. 1929 ปีถัดมา คูนาร์ดได้เริ่มต่อเรือขนาด 80,000 ตัน ซึ่งเป็นลำแรกในสองลำที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำลายสถิติความเร็ว และสามารถให้บริการบนเส้นทางเซาแทมป์ตัน–นิวยอร์กได้สัปดาห์ละสองเที่ยว[5] ด้วยเหตุนี้ CGT จึงปรับเปลี่ยนแผนการเพื่อสร้างเรือลำใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม[1] อย่างไรก็ตาม เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทวีความรุนแรงขึ้น การสร้าง Hull 534 ของคูนาร์ดจึงต้องหยุดชะงักลง ขณะที่การสร้างเรือของฝรั่งเศสซึ่งได้รับเงินอุดหนุนจำนวนมากยังคงดำเนินต่อไป ภายในปี ค.ศ. 1934 ทั้งคูนาร์ดและไวต์สตาร์ไลน์ต่างประสบปัญหา และรัฐบาลอังกฤษมีความกังวลเกี่ยวกับการตกงานที่อาจเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงตกลงให้เงินกู้แก่คูนาร์ดจำนวน 3 ล้านปอนด์เพื่อสร้าง Hull 534 ให้แล้วเสร็จและตั้งชื่อว่าควีนแมรี และให้เงินกู้เพิ่มอีก 5 ล้านปอนด์เพื่อสร้างเรือลำที่สองชื่อควีนเอลิซาเบธ โดยมีเงื่อนไขว่าคูนาร์ดต้องรวมกิจการกับไวต์สตาร์[5]

เรือนอร์ม็องดีของ CGT เริ่มให้บริการในปี ค.ศ. 1935 และคว้าบลูริบบันด์ด้วยความเร็ว 29.98 นอต (55.52 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ควีนแมรีเริ่มให้บริการในปีถัดมา และหลังจากการเดินทางทดสอบไม่กี่ครั้งก็สามารถคว้าบลูริบบันด์ด้วยความเร็ว 30.14 นอต (55.82 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ทั้งสองลำถูกเดินเรือคู่กัน และผลัดกันครองบลูริบบันด์ โดยในที่สุดเรือของคูนาร์ด-ไวต์สตาร์ก็ทำสถิติความเร็วได้ 30.99 นอต (57.39 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในปี 1938[16] ควีนเอลิซาเบธซึ่งเป็นเรือคู่ของควีนแมรีได้รับการต่อขึ้นหลังจากสงครามเริ่มต้น และไม่เคยได้รับอนุญาตให้ทำลายสถิติ[3]

ในปี ค.ศ. 1935 แฮโรลด์ เค. เฮลส์ (ค.ศ. 1868–1942) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหราชอาณาจักรและเจ้าของบริษัทเดินเรือ ได้ว่าจ้างให้สร้างถ้วยรางวัลขนาดใหญ่เพื่อมอบแก่เรือที่แล่นข้ามแอตแลนติกเร็วที่สุด โดยมีจุดประสงค์เพื่อกำหนดเกณฑ์ในการแข่งขันข้ามแอตแลนติกให้เป็นทางการ เกณฑ์สำหรับการมอบรางวัลนี้ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ดั้งเดิมของบลูริบบันด์ตรงที่รางวัลนี้จะมอบให้เฉพาะเรือที่ทำความเร็วได้มากที่สุดในการเดินทางไปทิศตะวันตกเท่านั้น[20] เกณฑ์อื่น ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สถานการณ์ซับซ้อนขึ้น และในที่สุดรางวัลก็ถูกมอบให้แก่เรือที่ครอบครองบลูริบบันด์เพียงสามลำ คือ เร็กซ์ในปี ค.ศ.1935, นอร์ม็องดีในปี ค.ศ. 1936 และยูไนเต็ดสเตตส์ในปี ค.ศ. 1952

ในบรรดาเรือแห่งชาติ มีเพียงควีนแมรี, ควีนเอลิซาเบธ และอ็อยโรปาเท่านั้นที่รอดพ้นจากสงคราม อ็อยโรปาถูกเปลี่ยนชื่อเป็นลีแบร์เตของ CGT และไม่มีการพยายามรักษาความเร็วเดิมไว้เมื่อมีการปรับปรุงเรือ[3] อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐประทับใจในจำนวนทหารที่เรือควีนสามารถบรรทุกได้ในช่วงสงคราม จึงได้สั่งต่อเรือขนาดใหญ่ลำใหม่ซึ่งมีหน้าที่ทั้งเป็นเรือลำเลียงพลและเรือด่วน ในการเดินทางเที่ยวแรกในปี 1952 เรือยูไนเต็ดสเตตส์สามารถทำลายสถิติบลูริบบันด์ด้วยความเร็ว 35.59 นอต (65.91 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ไปทิศตะวันออก และ 34.51 นอต (63.91 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ไปทิศตะวันตก ในปี ค.ศ. 1958 สายการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้นำเครื่องบินไอพ่นเข้ามาให้บริการ ทำให้สมัยของการแข่งขันทำลายสถิติความเร็วสิ้นสุดลง ลิแบรืเตปลดระวางในปี ค.ศ. 1961 ร่วมกับควีนแมรีในปี ค.ศ. 1967 และยูไนเต็ดสเตตส์ในปี ค.ศ. 1969[1]

ปัจจุบัน (ค.ศ. 1969–ปัจจุบัน)

[แก้]

หลังจากยูไนเต็ดสเตตส์ประสบความสำเร็จในการทำลายสถิติในปี ค.ศ. 1952 และคูนาร์ดตัดสินใจไม่ท้าทายสถิติใหม่ การแข่งขันเพื่อคว้าบลูริบบันด์จึงซบเซาลง เริ่มมีการยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าสมัยของการเดินทางข้ามแอตแลนติกอย่างรวดเร็วด้วยเรือด่วนกำลังจะสิ้นสุดลง และเปลี่ยนไปสู่ทางอากาศแทน[21]

ในคริสต์ทศวรรษ 1930 การเดินทางทางอากาศได้เริ่มแข่งขันกับเรือด่วนในการเดินทางข้ามแอตแลนติกอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1936 บริษัทดีอีเอ็ลอาเก (DELAG) ของเยอรมันได้เริ่มให้บริการเรือเหาะไปยังนิวยอร์ก โดยเรือเหาะฮินเดินบวร์คใช้เวลาเดินทางข้ามจากยุโรปไปอเมริกาประมาณ 53–78 ชั่วโมง และในปีถัดมา สายการบินเอ็มไพร์แอร์เวส์ (Empire Airways) ก็ได้ทดลองให้บริการเครื่องบินทะเลคาเลโดเนีย ซึ่งลดเวลาการเดินทางลงเหลือเพียง 15 ชั่วโมง ในยุคหลังสงครามโลก เวลาในการเดินทางก็ลดลงอีกครั้งจากการมาถึงของเครื่องบินโดยสารข้ามทวีป เช่น ล็อกฮีด คอนสเตลเลชัน ในปี ค.ศ. 1952 มีความหวังอย่างมากต่อเดอ ฮาวิลแลนด์ คอเม็ท[21] แต่ความหวังดังกล่าวต้องสลายไปเมื่อเกิดอุบัติเหตุตกหลายครั้งซ้อนจนโครงการคอเม็ทต้องยุติลง บริการเที่ยวบินโดยสารประจำด้วยเครื่องบินไอพ่นเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1958 โดยใช้โบอิง 707 และดีซี-8 ทำให้ระยะเวลาในการข้ามมหาสมุทรลดลงเหลือเพียง 7 ชั่วโมง ก้าวสุดท้ายสู่การแสวงหาความเร็วข้ามแอตแลนติกคือคองคอร์ด ซึ่งทำลายสถิติในปี ค.ศ. 1996 ด้วยเวลาต่ำกว่า 2 ชั่วโมง 53 นาที ด้วยความเร็วเฉลี่ย 1,250 ไมล์ต่อชั่วโมง (มัค 1.9)[22] แต่ในเวลานี้ สายการบินต่าง ๆ ตระหนักแล้วว่าต้นทุนและความสะดวกสบายต่อผู้โดยสารสำคัญมากกว่าความเร็ว จึงได้เปลี่ยนจุดเน้นไปที่เครื่องบินอย่างโบอิง 747 ที่มีที่นอนสำหรับผู้โดยสารชั้นธุรกิจ การข้ามแอตแลนติกของคองคอร์ดนั้นยังไม่ใช่เที่ยวบินที่เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา หากแต่สถิตินั้นเป็นของล็อกฮีด SR-71A ซึ่งข้ามแอตแลนติกได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมง 54 นาที ในปี ค.ศ. 1974 แม้จะไม่ได้บรรทุกผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ก็ตาม[23]

เรือเจนทรีอีเกิลของทอม เจนทรี ที่มาเมรอเน็ก รัฐนิวยอร์ก ก่อนการพยายามทำลายสถิติ

สถิติความเร็วของยูไนเต็ดสเตตส์ครองแชมป์อยู่บนทะเลจนถึงปี ค.ศ. 1986 จึงถูกท้าทายโดยริชาร์ด แบรนสัน นักธุรกิจชาวอังกฤษ ด้วยเรือยนต์ความเร็วสูงของเขาคือเวอร์จิน แอตแลนติก ชาลเลนเจอร์ แม้จะต้องหยุดเติมเชื้อเพลิงหลายครั้ง แบรนสันก็สามารถทำลายสถิติเดิมได้โดยลดเวลาลง 2 ชั่วโมงด้วยความเร็วเฉลี่ย 36.4 นอต อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเวอร์จิน แอตแลนติก ชาลเลนเจอร์ ไม่ใช่เรือโดยสาร พิพิธภัณฑ์ทางทะเลนิวยอร์กจึงปฏิเสธการมอบเฮลส์โทรฟี ดังนั้นแบรนสันจึงได้จัดเวอร์จินแอตแลนติกชาลเลนจ์โทรฟี (Virgin Atlantic Challenge Trophy) ขึ้นมาใหม่เพื่อมอบให้แก่เรือที่ทำสถิติการข้ามแอตแลนติกเร็วที่สุดโดยไม่จำกัดประเภทของเรือ และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าร่วมการแข่งขัน สามปีต่อมา ทอม เจนทรี เป็นผู้คว้ารางวัลนี้ไปด้วยเรือเจนทรีอีเกิลได้ทำลายสถิติเดิมโดยใช้เวลาเพียง 62 ชั่วโมงด้วยความเร็วเฉลี่ย 47.4 นอต ในปี ค.ศ. 1992 การแข่งขันเวอร์จินแอตแลนติกชาลเลนจ์มีผู้ชนะคือเรือเดสเตรียโรของอากา ข่าน โดยใช้เวลา 58 ชั่วโมง 34 นาที และทำความเร็วเฉลี่ยได้ 53.09 นอต นอกจากนี้ เรือลำดังกล่าวยังทำลายสถิติการเดินทางกลับและคว้าโคลัมบัสแอตแลนติกโทรฟี (Columbus Atlantic Trophy) ซึ่งเป็นรางวัลที่สโมสรเรือยอช์ตมอบให้แก่เรือที่เดินทางข้ามแอตแลนติกไป-กลับได้เร็วที่สุดภายในเวลาที่กำหนด ในขณะเดียวกัน บริษัทอินแคต (Incat) ผู้ผลิตเรือข้ามฟากแบบสองลำตัวความเร็วสูง ซึ่งเป็นเรือพาณิชย์อย่างไม่ต้องสงสัย ได้ตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันเพื่อคว้าเฮลส์โทรฟี ซึ่งเป็นสถิติที่ยูไนเต็ดสเตตส์ถือครองอยู่ สถิตินี้ถูกทำลายลงในปี ค.ศ. 1990 ด้วยเรือโฮเวอร์สปีดเกรตบริเตน ด้วยการเดินทางแบบไม่หยุดพักเป็นเวลา 79 ชั่วโมง 54 นาที ด้วยความเร็วเฉลี่ย 36.6 นอต และอินแคตได้รับถ้วยรางวัลจากคณะกรรมการเฮลส์โทรฟี แปดปีต่อมา สถิติเดิมถูกทำลายโดยเรืออีกลำของอินแคตคือคาตาโลเนีย และในเดือนต่อมาก็ถูกทำลายอีกครั้งโดยแคต-ลิงก์ วี ด้วยเวลา 68 ชั่วโมง 9 นาที (41.28 นอต)

หลังจากสมัยของเรือด่วนสิ้นสุดลง บลูริบบันด์ก็ค่อย ๆ สูญเสียความสำคัญและกลายเป็นเพียงสิ่งที่น่าสนใจศึกษาในแง่ประวัติศาสตร์ทางทะเล โดยนักเขียนบางคนเชื่อว่าเรือยูไนเต็ดสเตตส์คือเรือลำสุดท้ายที่ได้รับเกียรติและรางวัลนี้[6] ขณะเดียวกัน เป้าหมายในการข้ามแอตแลนติกให้เร็วที่สุดยังคงเป็นความท้าทายทั้งทางกายภาพและเทคโนโลยี และยังมีอย่างน้อยสามรางวัลสำหรับผู้ที่ทำสำเร็จ

รายชื่อเรือที่ทำลายสถิติ

[แก้]

ต่อไปนี้คือรายการสรุปผลการวิจัยล่าสุดที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีองค์กรใดรับผิดชอบในการมอบบลูริบบันด์อย่างเป็นทางการ นักวิจัยจึงจำเป็นต้องอาศัยเพียงเอกสารที่ยังคงเหลืออยู่ของบริษัทเดินเรือและรายงานข่าวเพื่อรวบรวมรายชื่อเรือที่ได้รับบลูริบบันด์ รายการเหล่านี้เป็นการย้อนหลังและจำกัดเฉพาะเรือจักรไอน้ำเท่านั้น ดังนั้น ในรายการส่วนใหญ่จึงระบุว่าเรือซีเรียส ซึ่งแข่งกับเรือเกรตเวสเทิร์นในปี ค.ศ. 1838 เป็นเรือลำแรกที่ทำลายสถิติ แม้ว่าการข้ามมหาสมุทรของซีเรียสจะไม่เร็วเท่าเรือใบบรรทุกสินค้าบางลำในสมัยนั้นก็ตาม นักเขียนยุคแรก ๆ เช่น อาร์เทอร์ แมกอินนัส (ค.ศ. 1892), เฮนรี เฟรย์ (ค.ศ. 1896), ชาลส์ ลี (ค.ศ. 1931) และซี.อาร์. เบนสเต็ด (ค.ศ. 1936) ถือเป็นแหล่งข้อมูลมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1950 นับตั้งแต่นั้นมา ซี. อาร์. เวอร์นอน กิบส์ (ค.ศ. 1952)[3] และโนเอล บอนเซอร์ (ค.ศ. 1975)[4] ได้ร่วมกันขยายฐานความรู้ โดยมีอาร์โนลด์ คลูดาส เป็นผู้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรือของเยอรมัน[1]

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา รายชื่อต่าง ๆ ยังไม่สอดคล้องกัน ตัวอย่างเช่น กิบส์ให้เครดิตเรือซิตีออฟแพริสของบริษัทอินแมนว่าครองบลูริบบันด์ในปี ค.ศ. 1866 และให้เครดิตเรือรัสเซียของบริษัทคูนาร์ดว่าทำสถิติการเดินทางไปทิศตะวันออกได้เร็วที่สุดในปีถัดมา เพราะเขาไม่เชื่อถือคำอ้างของเรือสโกเชียที่ว่าได้รับบลูริบบันด์ด้วยความเร็ว 14.46 นอต (26.78 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ซึ่งน่าจะมาจากการคำนวณระยะทางที่ยาวเกินจริง[3] นักเขียนในยุคหลังจึงได้รวมคำอ้างของสโกเชียเข้าไปในรายชื่อ[1] กิบส์ได้รวมการอ้างสิทธิ์บลูริบบันด์ด้วยความเร็ว 17.6 นอต (32.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ของเรืออเมริกาของบริษัทเนชันแนลในปี ค.ศ. 1884 ซึ่งนักวิจัยในภายหลังไม่สามารถยืนยันได้[3][1]

ไปทิศตะวันตก (westbound)

[แก้]
ชื่อเรือ ธง ปีที่ครอง (ค.ศ.) วันที่ บริษัท จาก ไปยัง ระยะทาง เวลาในการข้าม (วัน, ชั่วโมง, นาที) ความเร็ว (นอต)
ซีเรียส[24] 1838 4–22 เมษายน บริติชแอนด์อเมริกัน ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 3,583 ไมล์ทะเล (6,636 กิโลเมตร) 18 d, 14 h, 22 m 8.03 นอต (14.87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เกรตเวสเทิร์น 1838 8–23 เมษายน เกรตเวสเทิร์น เอเวินมัท นิวยอร์ก 3,220 ไมล์ทะเล (5,960 กิโลเมตร) 15 d, 12 h, 0 m 8.66 นอต (16.04 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เกรตเวสเทิร์น 1838 2–17 มิถุนายน เกรตเวสเทิร์น เอเวินมัท นิวยอร์ก 3,140 ไมล์ทะเล (5,820 กิโลเมตร) 14 d, 16 h, 0 m 8.92 นอต (16.52 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เกรตเวสเทิร์น 1839 18–31 พฤษภาคม เกรตเวสเทิร์น เอเวินมัท นิวยอร์ก 3,086 ไมล์ทะเล (5,715 กิโลเมตร) 13 d, 12 h, 0 m 9.52 นอต (17.63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
โคลอมเบีย 1841 4–15 มิถุนายน คูนาร์ด ลิเวอร์พูล แฮลิแฟกซ์ 2,534 ไมล์ทะเล (4,693 กิโลเมตร) 10 d, 19 h, 0 m 9.78 นอต (18.11 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เกรตเวสเทิร์น 1843 29 เมษายน – 11 พฤษภาคม เกรตเวสเทิร์น ลิเวอร์พูล นิวยอร์ก 3,068 ไมล์ทะเล (5,682 กิโลเมตร) 12 d, 18 h, 0 m 10.03 นอต (18.58 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
แคมเบรีย 1845 19–29 กรกฎาคม คูนาร์ด ลิเวอร์พูล แฮลิแฟกซ์ 2,534 ไมล์ทะเล (4,693 กิโลเมตร) 9 d, 20 h, 30 m 10.71 นอต (19.83 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อเมริกา 1848 3–12 มิถุนายน คูนาร์ด ลิเวอร์พูล แฮลิแฟกซ์ 2,534 ไมล์ทะเล (4,693 กิโลเมตร) 9 d, 0 h, 16 m 11.71 นอต (21.69 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ยูโรปา 1848 14–23 ตุลาคม คูนาร์ด ลิเวอร์พูล แฮลิแฟกซ์ 2,534 ไมล์ทะเล (4,693 กิโลเมตร) 8 d, 23 h, 0 m 11.79 นอต (21.84 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เอเชีย 1850 18–27 พฤษภาคม คูนาร์ด ลิเวอร์พูล แฮลิแฟกซ์ 2,534 ไมล์ทะเล (4,693 กิโลเมตร) 8 d, 14 h, 50 m 12.25 นอต (22.69 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
แปซิฟิก 1850 11–21 กันยายน คอลลินส์ ลิเวอร์พูล นิวยอร์ก 3,050 ไมล์ทะเล (5,650 กิโลเมตร) 10 d, 4 h, 45 m 12.46 นอต (23.08 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
บอลติก 1851 6–16 สิงหาคม คอลลินส์ ลิเวอร์พูล นิวยอร์ก 3,039 ไมล์ทะเล (5,628 กิโลเมตร) 9 d, 19 h, 26 m 12.91 นอต (23.91 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
บอลติก 1854 28 มิถุนายน – 7 กรกฎาคม คอลลินส์ ลิเวอร์พูล นิวยอร์ก 3,037 ไมล์ทะเล (5,625 กิโลเมตร) 9 d, 16 h, 52 m 13.04 นอต (24.15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เพอร์เชีย 1856 19–29 เมษายน คูนาร์ด ลิเวอร์พูล แซนดีฮุก 3,045 ไมล์ทะเล (5,639 กิโลเมตร) 9 d, 16 h, 16 m 13.11 นอต (24.28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
สโกเชีย 1863 19–27 กรกฎาคม คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์ นิวยอร์ก 2,820 ไมล์ทะเล (5,220 กิโลเมตร) 8 d, 3 h, 0 m 14.46 นอต (26.78 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เอเดรียติก 1872 17–25 พฤษภาคม ไวต์สตาร์ ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,778 ไมล์ทะเล (5,145 กิโลเมตร) 7 d, 23 h, 17 m 14.53 นอต (26.91 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เจอร์แมนิก 1875 30 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม ไวต์สตาร์ ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,800 ไมล์ทะเล (5,200 กิโลเมตร) 7 d, 23 h, 7 m 14.65 นอต (27.13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ซิตีออฟเบอร์ลิน 1875 17–25 กันยายน อินแมน ควีนส์ทาวน์ แซนดีแบงก์ 2,829 ไมล์ทะเล (5,239 กิโลเมตร) 7 d, 18 h, 2 m 15.21 นอต (28.17 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
บริแทนนิก 1876 27 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน ไวต์สตาร์ ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,795 ไมล์ทะเล (5,176 กิโลเมตร) 7 d, 13 h, 11 m 15.43 นอต (28.58 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เจอร์แมนิก 1877 6–13 เมษายน ไวต์สตาร์ ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,830 ไมล์ทะเล (5,240 กิโลเมตร) 7 d, 11 h, 37 m 15.76 นอต (29.19 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อะแลสกา 1882 9–16 เมษายน กวีออน ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,802 ไมล์ทะเล (5,189 กิโลเมตร) 7 d, 6 h, 20 m 16.07 นอต (29.76 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อะแลสกา 1882 14–21 พฤษภาคม กวีออน ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,871 ไมล์ทะเล (5,317 กิโลเมตร) 7 d, 4 h, 12 m 16.67 นอต (30.87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อะแลสกา 1882 18–25 มิถุนายน กวีออน ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,886 ไมล์ทะเล (5,345 กิโลเมตร) 7 d, 1 h, 58 m 16.98 นอต (31.45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อะแลสกา 1883 29 เมษายน – 6 พฤษภาคม กวีออน ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,844 ไมล์ทะเล (5,267 กิโลเมตร) 6 d, 23 h, 48 m 17.05 นอต (31.58 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ออริกอน 1884 13–19 เมษายน กวีออน ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,861 ไมล์ทะเล (5,299 กิโลเมตร) 6 d, 10 h, 10 m 18.56 นอต (34.37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เอทรูเรีย 1885 16–22 สิงหาคม คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,801 ไมล์ทะเล (5,187 กิโลเมตร) 6 d, 5 h, 31 m 18.73 นอต (34.69 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อัมเบรีย 1887 29 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,848 ไมล์ทะเล (5,274 กิโลเมตร) 6 d, 4 h, 12 m 19.22 นอต (35.60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เอทรูเรีย 1888 27 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,854 ไมล์ทะเล (5,286 กิโลเมตร) 6 d, 1 h, 55 m 19.56 นอต (36.23 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ซิตีออมแพริส 1889 2–8 พฤษภาคม อินแมน ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,855 ไมล์ทะเล (5,287 กิโลเมตร) 5 d, 23 h, 7 m 19.95 นอต (36.95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ซิตีออมแพริส 1889 22–28 สิงหาคม อินแมน ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,788 ไมล์ทะเล (5,163 กิโลเมตร) 5 d, 19 h, 18 m 20.01 นอต (37.06 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
มาเจสติก 1891 30 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม ไวต์สตาร์ ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,777 ไมล์ทะเล (5,143 กิโลเมตร) 5 d, 18 h, 8 m 20.10 นอต (37.23 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ทูโทนิก 1891 13–19 สิงหาคม ไวต์สตาร์ ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,778 ไมล์ทะเล (5,145 กิโลเมตร) 5 d, 16 h, 31 m 20.35 นอต (37.69 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ซิตีออมแพริส 1892 20–27 กรกฎาคม อินแมน ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,785 ไมล์ทะเล (5,158 กิโลเมตร) 5 d, 15 h, 58 m 20.48 นอต (37.93 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ซิตีออมแพริส 1892 13–18 ตุลาคม อินแมน ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,782 ไมล์ทะเล (5,152 กิโลเมตร) 5 d, 14 h, 24 m 20.70 นอต (38.34 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
คัมพาเนีย 1893 18–23 มิถุนายน คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,864 ไมล์ทะเล (5,304 กิโลเมตร) 5 d, 15 h, 37 m 21.12 นอต (39.11 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
คัมพาเนีย 1894 12–17 สิงหาคม คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,776 ไมล์ทะเล (5,141 กิโลเมตร) 5 d, 9 h, 29 m 21.44 นอต (39.71 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ลูเคเนีย 1894 26–31 สิงหาคม คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,787 ไมล์ทะเล (5,162 กิโลเมตร) 5 d, 8 h, 38 m 21.65 นอต (40.10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ลูเคเนีย 1894 23–28 กันยายน คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,782 ไมล์ทะเล (5,152 กิโลเมตร) 5 d, 7 h, 48 m 21.75 นอต (40.28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ลูเคเนีย 1894 21–26 ตุลาคม คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,779 ไมล์ทะเล (5,147 กิโลเมตร) 5 d, 7 h, 23 m 21.81 นอต (40.39 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ไคเซอร์วิลเฮ็ล์มแดร์โกรเซอ 1898 30 มีนาคม – 3 เมษายน นอร์ทด็อยท์เชอร์ล็อยท์ เดอะนีเดิลส์ แซนดีฮุก 3,120 ไมล์ทะเล (5,780 กิโลเมตร) 5 d, 20 h, 0 m 22.29 นอต (41.28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ด็อยทช์ลันท์ 1900 6–12 กรกฎาคม ฮาพัค เอ็ดดีสโตน แซนดีฮุก 3,044 ไมล์ทะเล (5,637 กิโลเมตร) 5 d, 15 h, 46 m 22.42 นอต (41.52 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ด็อยทช์ลันท์ 1900 26 สิงหาคม – 1 กันยายน ฮาพัค แชร์บูร์ แซนดีฮุก 3,050 ไมล์ทะเล (5,650 กิโลเมตร) 5 d, 12 h, 29 m 23.02 นอต (42.63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ด็อยทช์ลันท์ 1901 26 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม ฮาพัค แชร์บูร์ แซนดีฮุก 3,141 ไมล์ทะเล (5,817 กิโลเมตร) 5 d, 16 h, 12 m 23.06 นอต (42.71 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
โครนพรินซ์วิลเฮ็ล์ม 1902 10–16 กันยายน นอร์ทด็อยท์เชอร์ล็อยท์ แชร์บูร์ แซนดีฮุก 3,047 ไมล์ทะเล (5,643 กิโลเมตร) 5 d, 11 h, 57 m 23.09 นอต (42.76 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ด็อยทช์ลันท์ 1903 2–8 กันยายน ฮาพัค แชร์บูร์ แซนดีฮุก 3,054 ไมล์ทะเล (5,656 กิโลเมตร) 5 d, 11 h, 54 m 23.15 นอต (42.87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ลูซิเทเนีย 1907 6–10 ตุลาคม คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,780 ไมล์ทะเล (5,150 กิโลเมตร) 4 d, 19 h, 52 m 23.99 นอต (44.43 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ลูซิเทเนีย 1908 17–21 พฤษภาคม คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,889 ไมล์ทะเล (5,350 กิโลเมตร) 4 d, 20 h, 22 m 24.83 นอต (45.99 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ลูซิเทเนีย 1908 5–10 กรกฎาคม คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์ แซนดีฮุก 2,891 ไมล์ทะเล (5,354 กิโลเมตร) 4 d, 19 h, 36 m 25.01 นอต (46.32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ลูซิเทเนีย 1909 8–12 สิงหาคม คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์  ประภาคารแอมโบรส 2,890 ไมล์ทะเล (5,350 กิโลเมตร) 4 d, 16 h, 40 m 25.65 นอต (47.50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
มอริเทเนีย[25] 1909 26–30 กันยายน คูนาร์ด ควีนส์ทาวน์ ประภาคารแอมโบรส 2,784 ไมล์ทะเล (5,156 กิโลเมตร) 4 d, 10 h, 51 m 26.06 นอต (48.26 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เบรเมิน[26] 1929 17–22 กรกฎาคม นอร์ทด็อยท์เชอร์ล็อยท์ แชร์บูร์ ประภาคารแอมโบรส 3,164 ไมล์ทะเล (5,860 กิโลเมตร) 4 d, 17 h, 42 m 27.83 นอต (51.54 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อ็อยโรปา[26] 1930 20–25 มีนาคม นอร์ทด็อยท์เชอร์ล็อยท์ แชร์บูร์ ประภาคารแอมโบรส 3,157 ไมล์ทะเล (5,847 กิโลเมตร) 4 d, 17 h, 6 m 27.91 นอต (51.69 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เบรเมิน 1933 27 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม นอร์ทด็อยท์เชอร์ล็อยท์ แชร์บูร์ ประภาคารแอมโบรส 3,149 ไมล์ทะเล (5,832 กิโลเมตร) 4 d, 16 h, 48 m 27.92 นอต (51.71 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เร็กซ์[27] 1933 11–16 สิงหาคม อิตาเลียน ยิบรอลตาร์ ประภาคารแอมโบรส 3,181 ไมล์ทะเล (5,891 กิโลเมตร) 4 d, 13 h, 58 m 28.92 นอต (53.56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
นอร์ม็องดี[27] 1935 30 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน เฌเนราลทร็องซัดล็องติก บิชอปร็อก ประภาคารแอมโบรส 2,971 ไมล์ทะเล (5,502 กิโลเมตร) 4 d, 3 h, 2 m 29.98 นอต (55.52 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ควีนแมรี[28] 1936 20–24 สิงหาคม คูนาร์ด-ไวต์สตาร์ บิชอปร็อก ประภาคารแอมโบรส 2,907 ไมล์ทะเล (5,384 กิโลเมตร) 4 d, 0 h, 27 m 30.14 นอต (55.82 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
นอร์ม็องดี 1937 29 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม เฌเนราลทร็องซัตล็องติก บิชอปร็อก ประภาคารแอมโบรส 2,906 ไมล์ทะเล (5,382 กิโลเมตร) 3 d, 23 h, 2 m 30.58 นอต (56.63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ควีนแมรี 1938 4–8 สิงหาคม คูนาร์ด-ไวต์สตาร์ บิชอปร็อก ประภาคารแอมโบรส 2,907 ไมล์ทะเล (5,384 กิโลเมตร) 3 d, 21 h, 48 m 30.99 นอต (57.39 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ยูไนเต็ดสเตตส์ 1952 11–15 กรกฎาคม ยูไนเต็ดสเตตส์ บิชอปร็อก ประภาคารแอมโบรส 2,906 ไมล์ทะเล (5,382 กิโลเมตร) 3 d, 12 h, 12 m 34.51 นอต (63.91 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

ไปทิศตะวันออก (eastbound)

[แก้]
ชื่อเรือ ธง ปีที่ครอง (ค.ศ.) วันที่ บริษัท จาก ไปยัง ระยะทาง เวลาในการข้าม (วัน, ชั่วโมง, นาที) ความเร็ว (นอต)
ซีเรียส[29] 1838 1–19 พฤษภาคม บริติชแอนด์อเมริกัน นิวยอร์ก ฟัลมัท 3,159 ไมล์ทะเล (5,850 กิโลเมตร) 15 d 0 h 7.31 นอต (13.54 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เกรตเวสเทิร์น 1838 7–22 พฤษภาคม เกรตเวสเทิร์น นิวยอร์ก เอเวินมัท 3,218 ไมล์ทะเล (5,960 กิโลเมตร) 14 d, 15 h, 59 m 9.14 นอต (16.93 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เกรตเวสเทิร์น 1838 25 มิถุนายน – 8 กรกฎาคม เกรตเวสเทิร์น นิวยอร์ก เอเวินมัท 3,099 ไมล์ทะเล (5,739 กิโลเมตร) 12 d, 16 h, 34 m 10.17 นอต (18.83 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
บริแทนเนีย 1841 4–14 สิงหาคม คูนาร์ด แฮลิแฟกซ์ ลิเวอร์พูล 2,610 ไมล์ทะเล (4,830 กิโลเมตร) 9 d, 21 h, 44 m 10.98 นอต (20.33 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เกรตเวสเทิร์น 1842 28 เมษายน – 11 พฤษภาคม เกรตเวสเทิร์น นิวยอร์ก ลิเวอร์พูล 3,248 ไมล์ทะเล (6,015 กิโลเมตร) 12 d, 7 h, 30 m 10.99 นอต (20.35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
โคลอมเบีย 1843 4–14 เมษายน คูนาร์ด แฮลิแฟกซ์ ลิเวอร์พูล 2,534 ไมล์ทะเล (4,693 กิโลเมตร) 9 d, 12 h, 0 m 11.11 นอต (20.58 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ไฮเบอร์เนีย 1843 18–27 พฤษภาคม คูนาร์ด แฮลิแฟกซ์ ลิเวอร์พูล 2,534 ไมล์ทะเล (4,693 กิโลเมตร) 9 d, 10 h, 44 m 11.18 นอต (20.71 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ไฮเบอร์เนีย 1843 18–27 กรกฎาคม คูนาร์ด แฮลิแฟกซ์ ลิเวอร์พูล 2,534 ไมล์ทะเล (4,693 กิโลเมตร) 8 d, 22 h, 44 m 11.80 นอต (21.85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
แคนาดา 1849 19–28 กรกฎาคม คูนาร์ด แฮลิแฟกซ์ ลิเวอร์พูล 2,534 ไมล์ทะเล (4,693 กิโลเมตร) 8 d, 12 h, 44 m 12.38 นอต (22.93 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
แปซิฟิก 1851 10–20 พฤษภาคม คอลลินส์ นิวยอร์ก ลิเวอร์พูล 3,078 ไมล์ทะเล (5,700 กิโลเมตร) 9 d, 20 h, 14 m 13.03 นอต (24.13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อาร์กติก 1852 7–17 กุมภาพันธ์ คอลลินส์ นิวยอร์ก ลิเวอร์พูล 3,051 ไมล์ทะเล (5,650 กิโลเมตร) 9 d, 17 h, 15 m 13.06 นอต (24.19 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เพอร์เชีย 1856 2–12 เมษายน คูนาร์ด แซนดีฮุก ลิเวอร์พูล 3,048 ไมล์ทะเล (5,645 กิโลเมตร) 9 d, 10 h, 22 m 13.46 นอต (24.93 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เพอร์เชีย 1856 14–23 พฤษภาคม คูนาร์ด แซนดีฮุก ลิเวอร์พูล 3,048 ไมล์ทะเล (5,645 กิโลเมตร) 9 d, 3 h, 24 m 13.89 นอต (25.72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เพอร์เชีย 1856 6–15 สิงหาคม คูนาร์ด แซนดีฮุก ลิเวอร์พูล 3,046 ไมล์ทะเล (5,641 กิโลเมตร) 8 d, 23 h, 19 m 14.15 นอต (26.21 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
สโกเชีย 1863 16–24 ธันวาคม คูนาร์ด นิวยอร์ก ควีนส์ทาวน์ 2,800 ไมล์ทะเล (5,200 กิโลเมตร) 8 d, 5 h, 42 m 14.16 นอต (26.22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ซีตีออฟบรัสเซลส์ 1869 4–12 ธันวาคม อินแมน แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,780 ไมล์ทะเล (5,150 กิโลเมตร) 7 d, 20 h, 33 m 14.74 นอต (27.30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
บอลติก 1873 11–19 มกราคม ไวต์สตาร์ แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,840 ไมล์ทะเล (5,260 กิโลเมตร) 7 d, 20 h, 9 m 15.09 นอต (27.95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ซิตีออฟเบอร์ลิน 1875 2–10 ตุลาคม อินแมน แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,820 ไมล์ทะเล (5,220 กิโลเมตร) 7 d, 15 h, 28 m 15.37 นอต (28.47 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เจอร์แมนิก 1876 5–13 กุมภาพันธ์ ไวต์สตาร์ แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,894 ไมล์ทะเล (5,360 กิโลเมตร) 7 d, 15 h, 17 m 15.79 นอต (29.24 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
บริแทนนิก 1876 16–24 ธันวาคม ไวต์สตาร์ แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,892 ไมล์ทะเล (5,356 กิโลเมตร) 7 d, 12 h, 41 m 15.94 นอต (29.52 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
แอริโซนา 1879 22–29 กรกฎาคม กวีออน แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,810 ไมล์ทะเล (5,200 กิโลเมตร) 7 d, 8 h, 11 m 15.96 นอต (29.56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อะแลสกา 1882 30 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน กวีออน แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,791 ไมล์ทะเล (5,169 กิโลเมตร) 6 d, 22 h, 0 m 16.81 นอต (31.13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อะแลสกา 1882 12–19 กันยายน กวีออน แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,781 ไมล์ทะเล (5,150 กิโลเมตร) 6 d, 18 h, 37 m 17.10 นอต (31.67 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ออริกอน 1884 29 มีนาคม – 5 เมษายน กวีออน แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,916 ไมล์ทะเล (5,400 กิโลเมตร) 7 d, 2 h, 18 m 17.12 นอต (31.71 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ออริกอน 1884 26 เมษายน – 3 พฤษภาคม กวีออน แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,916 ไมล์ทะเล (5,400 กิโลเมตร) 6 d, 16 h, 57 m 18.09 นอต (33.50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ออริกอน 1884 30 กรกฎาคม – 6 สิงหาคม คูนาร์ด แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,853 ไมล์ทะเล (5,284 กิโลเมตร) 6 d, 12 h, 54 m 18.18 นอต (33.67 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ออริกอน 1884 3–10 กันยายน คูนาร์ด แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,853 ไมล์ทะเล (5,284 กิโลเมตร) 6 d, 11 h, 9 m 18.39 นอต (34.06 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เอทรูเรีย 1885 1–7 สิงหาคม คูนาร์ด แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,822 ไมล์ทะเล (5,226 กิโลเมตร) 6 d, 9 h, 0 m 18.44 นอต (34.15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เอทรูเรีย 1888 7–14 กรกฎาคม คูนาร์ด แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,981 ไมล์ทะเล (5,521 กิโลเมตร) 6 d, 4 h, 50 m 19.36 นอต (35.85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ซิตีออฟแพริส 1889 15–22 พฤษภาคม อินแมน แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,894 ไมล์ทะเล (5,360 กิโลเมตร) 6 d, 0 h, 29 m 20.03 นอต (37.10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ซิตีออฟนิวยอร์ก 1892 17–23 สิงหาคม อินแมน แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,814 ไมล์ทะเล (5,212 กิโลเมตร) 5 d, 19 h, 57 m 20.11 นอต (37.24 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
คัมพาเนีย 1893 6–12 พฤษภาคม คูนาร์ด แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,928 ไมล์ทะเล (5,423 กิโลเมตร) 5 d, 17 h, 27 m 21.30 นอต (39.45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ลูเคเนีย 1894 6–12 พฤษภาคม คูนาร์ด แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,911 ไมล์ทะเล (5,391 กิโลเมตร) 5 d, 13 h, 28 m 21.81 นอต (40.39 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ลูเคเนีย 1894 2–8 มิถุนายน คูนาร์ด แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,911 ไมล์ทะเล (5,391 กิโลเมตร) 5 d, 12 h, 59 m 21.90 นอต (40.56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ลูเคเนีย 1895 18–24 พฤษภาคม คูนาร์ด แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,897 ไมล์ทะเล (5,365 กิโลเมตร) 5 d, 11 h, 40 m 22.00 นอต (40.74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ไคเซอร์วิลเฮ็ล์มแดร์โกรเซอ 1897 23–29 พฤศจิกายน ฮาพัค-ล็อยท์ แซนดีฮุก เดอะนีเดิลส์ 3,065 ไมล์ทะเล (5,676 กิโลเมตร) 5 d, 17 h, 23 m 22.33 นอต (41.36 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ด็อยทช์ลันท์ 1900 18–24 กรกฎาคม ฮาพัค แซนดีฮุก เอ็ดดีสโตน 3,085 ไมล์ทะเล (5,713 กิโลเมตร) 5 d, 15 h, 5 m 22.84 นอต (42.30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ด็อยทช์ลันท์ 1900 4–10 กันยายน ฮาพัค แซนดีฮุก เอ็ดดีสโตน 2,981 ไมล์ทะเล (5,521 กิโลเมตร) 5 d, 7 h, 38 m 23.36 นอต (43.26 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ด็อยทช์ลันท์ 1901 13–19 กรกฎาคม ฮาพัค แซนดีฮุก เอ็ดดีสโตน 3,083 ไมล์ทะเล (5,710 กิโลเมตร) 5 d, 11 h, 51 m 23.38 นอต (43.30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ด็อยทช์ลันท์ 1901 10–17 กรกฎาคม ฮาพัค แซนดีฮุก เอ็ดดีสโตน 3,082 ไมล์ทะเล (5,708 กิโลเมตร) 5 d, 11 h, 5 m 23.51 นอต (43.54 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ไคเซอร์วิลเฮ็ล์มที่ 2 1904 14–20 มิถุนายน ฮาพัค-ล็อยท์ แซนดีฮุก เอ็ดดีสโตน 3,112 ไมล์ทะเล (5,763 กิโลเมตร) 5 d, 11 h, 58 m 23.58 นอต (43.67 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ลูซิเทเนีย 1907 19–24 ตุลาคม คูนาร์ด แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,807 ไมล์ทะเล (5,199 กิโลเมตร) 4 d, 22 h, 53 m 23.61 นอต (43.73 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
มอริเทเนีย 1907 30 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม คูนาร์ด บีดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,807 ไมล์ทะเล (5,199 กิโลเมตร) 4 d, 22 h, 33 m 23.69 นอต (43.87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
มอริเทเนีย 1908 25–30 มกราคม คูนาร์ด แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,932 ไมล์ทะเล (5,430 กิโลเมตร) 5 d, 2 h, 41 m 23.90 นอต (44.26 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
มอริเทเนีย 1908 7–12 มีนาคม คูนาร์ด แซนดีฮุก ควีนส์ทาวน์ 2,932 ไมล์ทะเล (5,430 กิโลเมตร) 5 d, 0 h, 5 m 24.42 นอต (45.23 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
มอริเทเนีย 1909 3–8 กุมภาพันธ์ คูนาร์ด ประภาคารแอมโบรส ควีนส์ทาวน์ 2,930 ไมล์ทะเล (5,430 กิโลเมตร) 4 d, 20 h, 27 m 25.16 นอต (46.60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
มอริเทเนีย 1909 17–22 มีนาคม คูนาร์ด ประภาคารแอมโบรส ควีนส์ทาวน์ 2,934 ไมล์ทะเล (5,434 กิโลเมตร) 4 d, 18 h, 35 m 25.61 นอต (47.43 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
มอริเทเนีย 1909 5–10 พฤษภาคม คูนาร์ด ประภาคารแอมโบรส ควีนส์ทาวน์ 2,934 ไมล์ทะเล (5,434 กิโลเมตร) 4 d, 18 h, 11 m 25.70 นอต (47.60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
มอริเทเนีย 1909 16–21 มิถุนายน คูนาร์ด ประภาคารแอมโบรส ควีนส์ทาวน์ 2,933 ไมล์ทะเล (5,432 กิโลเมตร) 4 d, 17 h, 21 m 25.88 นอต (47.93 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
มอริเทเนีย 1924 20–25 สิงหาคม คูนาร์ด ประภาคารแอมโบรส แชร์บูร์ 3,198 ไมล์ทะเล (5,923 กิโลเมตร) 5 d, 1 h, 49 m 26.25 นอต (48.62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เบรเมิน 1929 27 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม ฮาพัค-ล็อยท์ ฮาพัค-ล็อยท์ เอ็ดดีสโตน 3,084 ไมล์ทะเล (5,712 กิโลเมตร) 4 d, 14 h, 30 m 27.91 นอต (51.69 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
เบรเมิน 1933 10–15 มิถุนายน ฮาพัค-ล็อยท์ ประภาคารแอมโบรส แชร์บูร์ 3,199 ไมล์ทะเล (5,925 กิโลเมตร) 4 d, 16 h, 15 m 28.51 นอต (52.80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
นอร์ม็องดี 1935 7–11 มิถุนายน เฌเนราลทร็องซัตล็องติก ประภาคารแอมโบรส บิชอปร็อก 3,015 ไมล์ทะเล (5,584 กิโลเมตร) 4 d, 3 h, 25 m 30.31 นอต (56.13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ควีนแมรี 1936 26–30 สิงหาคม คูนาร์ด-ไวต์สตาร์ ประภาคารแอมโบรส บิชอปร็อก 2,939 ไมล์ทะเล (5,443 กิโลเมตร) 3 d, 23 h, 57 m 30.63 นอต (56.73 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
นอร์ม็องดี 1937 18–22 มีนาคม เฌเนราลทร็องซัตล็องติก ประภาคารแอมโบรส บิชอปร็อก 2,967 ไมล์ทะเล (5,495 กิโลเมตร) 4 d, 0 h, 6 m 30.99 นอต (57.39 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
นอร์ม็องดี 1937 4–8 สิงหาคม เฌเนราลทร็องซัตล็องติก ประภาคารแอมโบรส บิชอปร็อก 2,936 ไมล์ทะเล (5,437 กิโลเมตร) 3 d, 22 h, 7 m 31.20 นอต (57.78 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ควีนแมรี[30] 1938 10–14 สิงหาคม คูนาร์ด-ไวต์สตาร์ ประภาคารแอมโบรส บิชอปร็อก 2,938 ไมล์ทะเล (5,441 กิโลเมตร) 3 d, 20 h, 42 m 31.69 นอต (58.69 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ยูไนเต็ดสเตตส์[31] 1952 3–7 กรกฎาคม ยูไนเต็ดสเตตส์ ประภาคารแอมโบรส บิชอปร็อก 2,942 ไมล์ทะเล (5,449 กิโลเมตร) 3 d, 10 h, 40 m 35.59 นอต (65.91 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Kludas, Arnold (2000). Record Breakers of the North Atlantic, Blue Riband Liners 1838–1952. London: Chatham. ISBN 1-86176-141-4.[ต้องการเลขหน้า]
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Fox, Stephen (2003). Transatlantic: Samuel Cunard, Isambard Brunel and the Great Atlantic Steamships. New York: HarperCollins. ISBN 0-06-019595-9.[ต้องการเลขหน้า]
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 3.19 3.20 3.21 3.22 3.23 3.24 Gibbs, Charles Robert Vernon (1957). Passenger Liners of the Western Ocean: A Record of Atlantic Steam and Motor Passenger Vessels from 1838 to the Present Day. London: Staples Press. OCLC 225962096.[ต้องการเลขหน้า]
  4. 4.0 4.1 Bonsor, Noel (1980). North Atlantic Seaway: An Illustrated History of the Passenger Services Linking the Old World with the New. Vol. 5. Cambridge: Brookside Publications. pp. 1866–71. ISBN 0-905824-04-0.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Maxtone-Graham, John (1972). The Only Way To Cross. Collier.[ต้องการเลขหน้า]
  6. 6.0 6.1 Kludas (2000), p. 136
  7. Firstbrook, Peter (1997). The Voyage of the Matthew. BBC Books. p. 118. ISBN 0-563-38764-5.
  8. Kludas (2000), p. 33.
  9. Cutler, Carl (1984). Greyhounds of the Sea. US Naval Institute. ISBN 978-0850597288.[ต้องการเลขหน้า]
  10. Kludas (2000), pp. 36–37.
  11. "The Great Transatlantic Liners". Maritime Archives. Merseyside Maritime Museum. สืบค้นเมื่อ 14 November 2017.
  12. Kludas (2000), p. 36.
  13. Pond, Edgar LeRoy (1927). Janius Smith.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  14. 14.0 14.1 14.2 American Heritage (1991). The Annihilation of Time and Space.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  15. Corlett, Ewan (1975). The Iron Ship: The Story of Brunel's SS Great Britain. Conway.
  16. 16.00 16.01 16.02 16.03 16.04 16.05 16.06 16.07 16.08 16.09 Bonsor, Noel (1980). North Atlantic Seaway: An Illustrated History of the Passenger Services Linking the Old World with the New. Vol. 5. Cambridge: Brookside Publications. pp. 1872–1876. ISBN 0-905824-04-0.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 17.6 Fry, Henry (1896). The History of North Atlantic Steam Navigation with Some Account of Early Ships and Shipowners. London: Sampson, Low & Marston. OCLC 271397492.[ต้องการเลขหน้า]
  18. Maltin, Tim; Aston, Eloise (2011). 101 Things You Thought You Knew About the Titanic—But Didn't!. New York: Penguin Books. pp. 43–47. ISBN 978-0143119098.
  19. "Titanic Myths". Titanic-Titanic.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2008. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Kludas p17
  21. 21.0 21.1 "The Blue Riband". The Times (Editorial). London. 8 July 1952. ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 31 July 2017 – โดยทาง The Times Digital Archive.
  22. "1996: Fastest flight Across the Atlantic in a Commercial Aircraft". Guinness World Records. 18 August 2015. สืบค้นเมื่อ 30 July 2017.
  23. "1974: Fastest Flight Across the Atlantic". 19 August 2015.
  24. Kludas (2000), p. 146.
  25. "Last Voyage of the Mauretania". The Times. London. 2 July 1935. p. 8. ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 27 April 2017 – โดยทาง The Times Digital Archive.
  26. 26.0 26.1 "New Atlantic Liners: The Europa Leaves for Her Trials". The Times. London. 20 February 1930. p. 18. ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 27 April 2017 – โดยทาง The Times Digital Archive.
  27. 27.0 27.1 "Blue Riband of the Atlantic". The Times. London. 1 August 1935. p. 11. ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 27 April 2017 – โดยทาง The Times Digital Archive.
  28. "An Atlantic Triumph". The Times. London. 25 August 1936. p. 10. ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 27 April 2017 – โดยทาง The Times Digital Archive.
  29. Kludas (2000), p. 148.
  30. In January 1946, Queen Mary recorded her fastest ever crossing to Southampton in 3 days, 22 hours, 42 minutes, at an average speed of 31.9 knots. However, as she left from Halifax and was in war service at the time, this was not counted as a new record for the Blue Riband.[1]
  31. "Atlantic Riband for America". The Times. London. 8 July 1952. p. 6. ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 27 April 2017 – โดยทาง The Times Digital Archive.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "Note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="Note"/> ที่สอดคล้องกัน