ข้ามไปเนื้อหา

เอสเอส เกรตเวสเทิร์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอสเอส เกรตเวสเทิร์น ในปี ค.ศ. 1838
ประวัติ
สหราชอาณาจักรสหราชอาณาจักร
ชื่อเกรตเวสเทิร์น (Great Western)
ตั้งชื่อตามทางรถไฟเกรตเวสเทิร์น
ผู้ให้บริการบริษัทเรือกลไฟเกรตเวสเทิร์น
เส้นทางเดินเรือบริสตอล – นิวยอร์ก
อู่เรือวิลเลียม แพตเตอร์สัน, บริสตอล, ประเทศอังกฤษ
ปล่อยเรือ26 มิถุนายน 1836
เดินเรือแรก19 กรกฎาคม 1837
สร้างเสร็จ31 มีนาคม 1838
Maiden voyage8 เมษายน 1838
หยุดให้บริการธันวาคม 1846 ในลิเวอร์พูล
หมายเหตุ
  • 1839–40: ได้รับการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้น
  • ดำเนินการเดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปกลับจำนวน 45 เที่ยวก่อนจะถูกปลดระวาง
ผู้ให้บริการรอยัลเมลสตีมแพ็กเกต
ส่งมอบเสร็จ24 เมษายน 1847
ความเป็นไปแยกชิ้นส่วนในปี 1856
หมายเหตุให้บริการขนส่งไปรษณีย์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างเซาแทมป์ตันเวสต์อินดีส์[1]
ผู้ให้บริการรัฐบาลอังกฤษ
ส่งมอบเสร็จ1855
ความเป็นไปปลดระวางในเดือนตุลาคม 1856
หมายเหตุปฏิบัติหน้าที่ขนส่งกำลังพลในสงครามไครเมีย
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือกลไฟล้อพายไม้โอก
ขนาด (ตัน): 1,700 ตันกรอส[2]
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 2,300 ตัน
ความยาว: 71.6 เมตร (234 ฟุต 11 นิ้ว), ต่อมา 76.8 เมตร (252 ฟุต 0 นิ้ว)
ความกว้าง: 17.59 เมตร (57 ฟุต 9 นิ้ว) รวมล้อพาย
ระบบพลังงาน:
  • เครื่องจักรไอน้ำก้านข้าง Maudslay 2 สูบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 73 1/2 นิ้ว
  • ช่วงชัก 7 ฟุต ทำงานที่ 12–15 รอบต่อนาที
  • กำลัง 750 hp (560 kW)
ระบบขับเคลื่อน: 2 × ล้อพาย
ความเร็ว: 8.5 นอต
ความจุ: ผู้โดยสารชั้นหนึ่ง 128 คน + ผู้รับใช้ 20 คน
ลูกเรือ: 60 คน

เอสเอส เกรตเวสเทิร์น ([SS Great Western] ข้อผิดพลาด: {{Langx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) เป็นเรือกลไฟลำแรกของโลกที่ออกแบบมาสำหรับการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยเฉพาะ[3] มีลักษณะเด่นคือตัวเรือทำจากไม้ มีล้อพาย และมีเสากระโดง 4 ต้น เรือลำนี้เป็นเรือลำแรกของบริษัทเรือกลไฟเกรตเวสเทิร์น (Great Western Steamship Company)[4] สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1838 และเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1837 ถึง 1839 ซึ่งเป็นปีที่เรือเอสเอส บริติชควีน (SS British Queen) เริ่มให้บริการ

เรือลำนี้ออกแบบโดยวิศวกรโยธาชาวอังกฤษ อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนล เรือเกรตเวสเทิร์นได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าให้บริการได้อย่างน่าพอใจ และเป็นต้นแบบสำหรับเรือกลไฟล้อพายไม้ที่ประสบความสำเร็จในการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกทุกลำ[5] เรือลำนี้สามารถทำลายสถิติการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเร็วที่สุด (Blue Riband) ได้จนถึงปี ค.ศ. 1843[5] เรือเกรตเวสเทิร์นให้บริการเดินเรือสู่นิวยอร์กเป็นระยะเวลา 8 ปีจนกระทั่งบริษัทเจ้าของประสบภาวะขาดทุนและต้องยุติกิจการ[6] ต่อมาเรือลำนี้ได้ถูกขายให้แก่บริษัทรอยัลเมลสตีมแพ็กเกต (Royal Mail Steam Packet Company) และถูกปลดระวางในปี ค.ศ. 1856 หลังจากทำหน้าที่เป็นเรือขนส่งกำลังพลในช่วงสงครามไครเมีย[4]

การออกแบบ

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1836 อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนล พร้อมด้วยทอมัส กัปปี มิตรสหายของเขา และกลุ่มนักลงทุนชาวบริสตอลได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทเรือกลไฟเกรตเวสเทิร์น (Great Western Steamship Company) เพื่อสร้างเส้นทางเดินเรือโดยใช้เรือกลไฟระหว่างเมืองบริสตอลและนิวยอร์ก[4] แนวคิดการให้บริการเดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกอย่างสม่ำเสมอตามตารางเวลานั้นได้รับการพิจารณาโดยกลุ่มบุคคลหลายกลุ่ม และในเวลาเดียวกัน บริษัทเรือกลไฟอังกฤษและอเมริกัน (British and American Steam Navigation Company) ซึ่งเป็นคู่แข่งก็ได้ก่อตั้งขึ้น[7] การออกแบบเรือเกรตเวสเทิร์นได้จุดประกายความขัดแย้งจากเหล่านักวิจารณ์ที่โต้แย้งว่าเรือลำนี้มีขนาดใหญ่เกินไป[4] หลักการที่บรูเนลเข้าใจคือ ความสามารถในการบรรทุกของเรือจะเพิ่มขึ้นตามปริมาตรลูกบาศก์ ในขณะที่แรงต้านทานน้ำจะเพิ่มขึ้นเพียงปริมาตรกำลังสองเท่านั้น นั่นหมายความว่าเรือขนาดใหญ่จะมีความประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเดินทางไกลข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก[8]

เรือเกรตเวสเทิร์นเป็นเรือกลไฟไม้แบบล้อพายข้างทำจากเหล็ก และติดตั้งเสากระโดงสี่ต้นเพื่อใช้กางใบเรือเสริม ใบเรือไม่ได้ใช้เพียงเพื่อเป็นกำลังขับเคลื่อนเสริมเท่านั้น หากยังใช้ในการรักษาสมดุลของเรือในทะเลที่ปั่นป่วน อีกทั้งเพื่อให้แน่ใจว่าล้อพายทั้งสองจะยังคงจมอยู่ในน้ำอยู่เสมอ ทำให้เรือสามารถเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงได้ ตัวเรือสร้างขึ้นจากไม้โอก (แหล่งข้อมูลบางแห่งระบุว่าเป็นไม้สนกดัญสก์ ซึ่งน่าจะหมายถึงไม้สนบอลติกที่ส่งออกจากเมืองกดัญสก์) โดยใช้วิธีการดั้งเดิม)[ต้องการอ้างอิง] เรือลำนี้เคยครองตำแหน่งเรือกลไฟขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นเวลาหนึ่งปี จนกระทั่งเรือเอสเอส บริติชควีน (SS British Queen) ของบริษัทเรือกลไฟอังกฤษและอเมริกันได้เริ่มให้บริการ

เรือเกรตเวสเทิร์นถูกสร้างขึ้น ณ อู่ต่อเรือแพตเตอร์สันแอนด์เมอร์เซอร์ (Patterson & Mercer) ในเมืองบริสตอล ประเทศอังกฤษ และได้ทำพิธีปล่อยเรือในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1837[4] ในระหว่างพิธีปล่อยเรือ มีช่างต่อเรือรายหนึ่งเสียชีวิตเนื่องจากถูกท่อนไม้ขนาดใหญ่หล่นใส่จนกะโหลกศีรษะแตก[9] หลังจากการปล่อยลงน้ำ เรือเกรตเวสเทิร์นได้แล่นไปยังกรุงลอนดอนและได้มีการติดตั้งเครื่องจักรไอน้ำชนิดก้านข้างสองเครื่อง ซึ่งผลิตขึ้นโดยบริษัทมอดส์เลย์ซันส์แอนด์ฟีลด์ (Maudslay, Sons and Field) โดยเครื่องจักรทั้งสองเครื่องนี้สามารถสร้างกำลังขับเคลื่อนได้ 750 แรงม้า[4] ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1837 เรือเอกเจมส์ ฮอสเคน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกัปเรือลำใหม่ และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1838 ก็ได้มีการประกาศโฆษณาการเดินเรือครั้งแรก[10]

ประวัติ

[แก้]
ภาพเรือกลไฟเกรตเวสเทิร์นในปี 1838 แกะสลักโดย เอช. พาพริล จากภาพเขียนต้นฉบับโดย เจ. เอส. โคตแมน

การทดลองเดินเรือครั้งแรกของเรือเกรตเวสเทิร์นเกิดขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1838 โดยดึงดูดผู้ชมจำนวนมาก และเมื่อเรือกลับมาถึงก็ได้มีเหล่าคณะบุคคลชั้นสูงขึ้นมาเยี่ยมชมเรือ[11] ในวันที่ 31 มีนาคม เรือเกรตเวสเทิร์นได้ออกเดินทางจากท่าเรือมุ่งหน้าสู่ท่าเรือเอเวินมัท ในเมืองบริสตอล เพื่อเริ่มต้นการเดินทางครั้งแรกไปยังนครนิวยอร์ก ก่อนจะถึงเอเวินนมัทก็ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นภายในห้องเครื่องยนต์ ในระหว่างความสับสนอลหม่าน บรูเนลได้พลัดตกจากที่สูงประมาณ 20 ฟุต (6 เมตร) และได้รับบาดเจ็บ เพลิงสามารถถูกควบคุมและสงบลง และความเสียหายต่อเรือมีเพียงเล็กน้อย แต่บรูเนลจำเป็นต้องถูกนำขึ้นฝั่งที่เกาะแคนวีย์[4] จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้โดยสารจำนวนกว่า 50 คนได้ยกเลิกการจองตั๋วสำหรับการเดินทางจากบริสตอลไปนิวยอร์ก ส่งผลให้เมื่อเรือเกรตเวสเทิร์นออกเดินทางจากเอเวินมัทในที่สุด พบว่ามีผู้โดยสารเหลืออยู่บนเรือเพียง 7 คนเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

การก่อสร้างเรือลำแรกของคู่แข่งบริษัทเดินเรือกลไฟอังกฤษและอเมริกันนั้นล่าช้าลง ทำให้บริษัทดังกล่าวต้องเช่าเรือเอสเอส ซีเรียส (SS Sirius) เพื่อแล่นไปยังนิวยอร์กก่อนเรือเกรตเวสเทิร์น เรือซีเรียสเป็นเรือกลไฟขนาด 700 ตันกรอสที่ให้บริการในทะเลไอริชบนเส้นทางลอนดอน – คอร์ก และได้มีการปรับปรุงโดยการลดพื้นที่ส่วนหนึ่งของที่พักผู้โดยสารเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับเก็บถ่านหิน[8] เรือลำดังกล่าวได้ออกเดินทางจากกรุงลอนดอนก่อนเรือเกรตเวสเทิร์นสามวัน เติมเชื้อเพลิงที่เมืองคอร์ก และมุ่งหน้าสู่นครนิวยอร์กในวันที่ 4 เมษายน[ต้องการอ้างอิง] เรือเกรตเวสเทิร์นนั้นต้องล่าช้าในการออกเดินทางจากท่าเรือบริสตอลเนื่องจากเหตุเพลิงไหม้ และได้ออกเดินทางจริงในวันที่ 8 เมษายน[8]

แม้จะออกเดินทางก่อนถึงสี่วัน ซิเรียสก็สามารถเอาชนะเกรตเวสเทิร์นได้อย่างหวุดหวิด โดยมาถึงในวันที่ 22 เมษายน[7] เมื่อถ่านหินใกล้หมด ลูกเรือจึงเผาเรซินไปจำนวนห้าถัง ส่วนเรือเกรตเวสเทิร์นเดินทางมาถึงในวันรุ่งขึ้นโดยยังคงเหลือถ่านหินอยู่ 200 ตันบนเรือ[4] แม้ว่าคำว่า "บลูริบบันด์" จะยังไม่ได้ถูกบัญญัติขึ้นมาในเวลานั้น แต่เรือซีเรียสก็มักได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ชนะรายแรกด้วยความเร็ว 8.03 นอต (14.87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ทว่าเรือซีเรียสครองสถิติได้เพียงวันเดียวเท่านั้น เนื่องจากเรือเกรตเวสเทิร์นสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็ว 8.66 นอต (16.04 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

เรือเกรตเวสเทิร์นได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีความน่าพอใจอย่างยิ่งในการให้บริการ และมีอิทธิพลต่อการออกแบบเรือกลไฟล้อพายข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกลำอื่น ๆ แม้กระทั่งเรือบริแทนเนีย (Britannia) ของบริษัทคูนาร์ดก็ยังเป็นเพียงเรือขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับเรือเกรตเวสเทิร์น[5] ในช่วงปี ค.ศ. 1838 ถึง 1840 เรือเกรตเวสเทิร์นใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 16 วัน 0 ชั่วโมง (ด้วยความเร็ว 7.95 นอต) ในการมุ่งหน้าไปยังนิวยอร์ก และใช้เวลา 13 วัน 9 ชั่วโมง (ด้วยความเร็ว 9.55 นอต) ในการเดินทางกลับ ในปี ค.ศ. 1838 บริษัทได้จ่ายเงินปันผลร้อยละ 9 ซึ่งนับเป็นการจ่ายเงินปันผลเพียงครั้งเดียวของบริษัท เนื่องจากต้องใช้เงินจำนวนมากในการสร้างเรือลำต่อไปของบริษัท[5] ภายหลังจากที่บริษัทเดินเรือกลไฟฯ ล้มละลาย เรือเกรตเวสเทิร์นได้สลับการเดินทางระหว่างเอเวินมัทและลิเวอร์พูล ก่อนจะเลิกใช้ท่าเรือเอเวินมัทอย่างสิ้นเชิงในปี ค.ศ. 1843[5] แม้จะขาดเรือคู่วิ่งอันเนื่องมาจากการก่อสร้างเรือเกรตบริเตน (Great Britain) ล่าช้าอย่างมาก แต่เรือลำนี้ก็ยังคงทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง ในปี ค.ศ. 1843 รายรับของเรือเกรตเวสเทิร์นมีจำนวนทั้งสิ้น 33,400 ปอนด์สเตอร์ลิง เมื่อเทียบกับรายจ่ายที่อยู่ที่ 25,600 ปอนด์สเตอร์ลิง[4]

ภาพวาดเรือเกรตเวสเทิร์นกำลังข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

บริษัทประสบความสำเร็จมากขึ้นในปี ค.ศ. 1845 เมื่อเรือเกรตบริเตนเริ่มให้บริการ[5] อย่างไรก็ดี ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1946 เรือเกรตบริเตนประสบเหตุเกยตื้นเนื่องจากความผิดพลาดในการนำทาง และคาดการณ์ว่าจะไม่สามารถผ่านพ้นฤดูหนาวไปได้ คณะกรรมการได้สั่งระงับการเดินเรือของเรือเกรตเวสเทิร์นทั้งหมดและได้ยุติกิจการลง[4] เรือเกรตเวสเทิร์นได้ทำการข้ามมหาสมุทรสำเร็จ 45 เที่ยวสำหรับเจ้าของเรือภายในระยะเวลา 8 ปี[6] ในปี ค.ศ. 1847 เรือลำนี้ได้ถูกจำหน่ายให้แก่บริษัทรอยัลเมลสตีมแพ็กเกต (Royal Mail Steam Packet Company) และนำไปใช้ในการเดินเรือบนเส้นทางเวสต์อินดีส[5] เซาแทมป์ตันได้กลายเป็นท่าเรือประจำใหม่ของเรือลำนี้ โดยมีการเดินทางไปยังหมู่เกาะเวสต์อินดีส 14 เที่ยวระหว่างปี ค.ศ. 1847 ถึง 1853 ก่อนจะถูกเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือไปยังอเมริกาใต้ และได้ทำการเดินทางไปยังรีโอเดจาเนโรอีก 9 เที่ยวระหว่างปี ค.ศ. 1853 ถึง 1855[12] ในเส้นทางเดินเรือสู่ทวีปอเมริกาใต้ เรือได้แวะจอดที่ลิสบอน มาเดรา เทเนริฟ เซนต์วินเซนต์ เปอร์นัมบูโก และบาเฮีย ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังริโอเดจาเนโร และในเส้นทางกลับ เรือได้แวะจอดตามท่าเรือเหล่านั้นในลำดับย้อนกลับ

เรือเกรตเวสเทิร์นได้ถูกนำไปจอดพักไว้ในเซาแทมป์ตันก่อนจะถูกบรรจุเข้าประจำการในหน่วยงานของรัฐบาลภายใต้ชื่อ "เรือขนส่งหมายเลข 6" เรือลำนี้ทำหน้าที่เป็นเรือขนส่งกำลังพลในสงครามไครเมียในปี ค.ศ. 1856 โดยทำการขนส่งทหารระหว่างสหราชอาณาจักร ยิบรอลตาร์ มอลตา และคาบสมุทรไครเมีย ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1856 เรือลำนี้ได้ถูกขายเพื่อนำไปแยกชิ้นส่วน และได้ถูกทำลายที่โรงงานของคาสเซิลส์ยาร์ด ในกรุงลอนดอน บริเวณริมแม่น้ำเทมส์[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. About Great Western from Merseyside Maritime Museum, Liverpool
  2. Freeman Hunt (1844). Merchants' Magazine and Commercial Review, Volume 10. New York City. p. 383.
  3. Doe, Helen (2017). The First Atlantic Liner. ISBN 978-1-4456-6720-1
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 Corlett, Ewan (1975). The Iron Ship: the Story of Brunel's SS Great Britain. Conway.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 Gibbs, Charles Robert Vernon (1957). Passenger Liners of the Western Ocean: A Record of Atlantic Steam and Motor Passenger Vessels from 1838 to the Present Day. John De Graff. pp. 41–45.
  6. 6.0 6.1 Kludas, Arnold (1999). Das blaue Band des Nordatlantiks (ภาษาเยอรมัน). Hamburg: Koehler. p. 36. ISBN 3-7822-0742-4.
  7. 7.0 7.1 American Heritage (1991). The Annihilation of Time and Space.
  8. 8.0 8.1 8.2 Rolt, L. T. C. (1970). Victorian Engineering. Allen Lane. The Penguin Press, ISBN 0-7139-0104-7
  9. "Accidental death". Bristol Mercury. No. 2478. Bristol. 19 August 1837.
  10. Grahame Farr, The S.S. Great Western: The First Atlantic Liner (Bristol Historical Association pamphlets, no. 8, 1963), p.4.
  11. Grahame Farr, The S.S. Great Western: The First Atlantic Liner (Bristol Historical Association pamphlets, no. 8, 1963), p.5.
  12. Griffiths, Denis (1985). Brunel's Great Western. ISBN 0-85059-743-9