คูนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์
อุตสาหกรรม | ขนส่ง |
---|---|
ก่อนหน้า | ไวต์สตาร์ไลน์ คูนาร์ดไลน์ |
ก่อตั้ง | 10 พฤษภาคม 1934 |
เลิกกิจการ | 31 ธันวาคม 1949 |
ถัดไป | คูนาร์ดไลน์ |
สำนักงานใหญ่ | ลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร |
พื้นที่ให้บริการ | มหาสมุทรแอตแลนติก |
บุคลากรหลัก | เพอร์ซี่ เบตส์ (ประธาน) |
เจ้าของ | คูนาร์ดไลน์ (62%) และไวต์สตาร์ไลน์ (38%) |
บริษัท คูนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์ จำกัด หรือ คูนาร์ด-ไวต์สตาร์ไลน์ (อังกฤษ: Cunard–White Star Line, Ltd) เป็นบริษัทเดินเรือสัญชาติสหราชอาณาจักรซึ่งดำเนินกิจการระหว่างปี ค.ศ. 1934–1949[1]
ประวัติ
[แก้]บริษัทนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อควบคุมสินทรัพย์การขนส่งร่วมกันของสายการเดินเรือคูนาร์ดและไวต์สตาร์ หลังจากที่ทั้งสองบริษัทประสบปัญหาทางการเงินในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ สายการเดินเรือคูนาร์ด–ไวต์สตาร์มีกองเรือเดินสมุทรทั้งหมด 25 ลำ (ของคิวนาร์ด 15 ลำ และไวต์สตาร์ 10 ลำ)
ทั้งคูนาร์ดและไวต์สตาร์กำลังจะต่อเรือเดินสมุทรขนาดมหึมาให้เสร็จ แต่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนักก่อน ซึ่งไวต์สตาร์มี Hull 844 – โอเชียนิก – และคูนาร์ดมี Hull 534 ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นอาร์เอ็มเอส ควีนแมรี
ในปี ค.ศ. 1933 รัฐบาลอังกฤษตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทคู่แข่งทั้งสองโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน[2] ข้อตกลงเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1933 การควบรวมกิจการเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 โดยก่อตั้งเป็นบริษัท คูนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์ จำกัด ไวต์สตาร์มอบเรือ 10 ลำให้กับบริษัทใหม่ ขณะที่คูนาร์ดมอบให้ 15 ลำ เนื่องจากข้อตกลงนี้ และเนื่องจาก Hull 534 เป็นเรือของคูนาร์ด คูนาร์ดจึงเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ 62% ส่วนไวต์สตาร์เป็นเจ้าของส่วนที่เหลืออีก 38% เรือของไวต์สตาร์จะติดธงของตนเหนือธงคูนาร์ด ส่วนเรือของคูนาร์ดจะติดธงของตนเหนือธงไวต์สตาร์
ด้วยสถานะทางการเงินที่ดีกว่า คูนาร์ด–ไวต์สตาร์เริ่มดูดซับสินทรัพย์ของไวต์สตาร์ และเป็นผลให้เรือของไวต์สตาร์ส่วนใหญ่ถูกกำจัดหรือส่งไปขายเป็นเศษเหล็กอย่างรวดเร็ว เรือที่บริการในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ของไวต์สตาร์ ถูกขายให้กับสายการเดินเรือชอว์, ซาวิล แอนด์ อัลเบียน (Shaw, Savill & Albion Line) ในปี 1934 และอาร์เอ็มเอส โอลิมปิก ถูกนำออกจากการให้บริการและถูกขายเป็นเศษเหล็กในปีถัดมาพร้อมกับเรืออาร์เอ็มเอส มอริทาเนีย ของคูนาร์ด ส่วนอาร์เอ็มเอส มาเจสติก เรือธงของไวต์สตาร์ ซึ่งเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปี 1935 ถูกขายในปี 1936
ในปี 1947 คูนาร์ดไลน์ได้ซื้อหุ้นในบริษัท 38% ของไวต์สตาร์ และในวันที่ 31 ธันวาคม 1949 บริษัทก็นำชื่อไวต์สตาร์ออกและเปลี่ยนชื่อเป็นคูนาร์ดไลน์[3] แต่ธงเดินเรือของทั้งคูนาร์ดและไวต์สตาร์ถูกติดไว้บนเรือเดินสมุทรของบริษัทในช่วงเวลาของการควบรวมกิจการและหลังจากนั้น อย่างไรก็ตาม ธงของคูนาร์ดก็ถูกติดเหนือธงไวต์สตาร์บนเรือของไวต์สตาร์สองลำสุดท้ายเอ็มวี จอร์จิก และเอ็มวี บริแทนนิก จอร์จิก ถูกปลดระวางในปี 1956 ขณะที่บริแทนิก ถูกปลดระวางในปี 1960
เรือของคูนาร์ดทุกลำติดธงเดินเรือของตนและไวต์สตาร์บนเสากระโดงจนถึงปลายปี 1968 สาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ เอสเอส นอแมดิก ยังคงประจำการอยู่กับคูนาร์ดจนถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 1968 ก่อนจะถูกส่งไปที่อู่แยกชิ้นส่วนเรือ โดยต่อมาถูกซื้อเพื่อใช้เป็นภัตตาคารลอยน้ำ หลังจากนั้น ธงไวท์สตาร์ก็ไม่ถูกนำสู่ยอดเสาอีกต่อไป ชื่อไวท์สตาร์ถูกลบออกจากบนิการของคูนาร์ด และเรือที่เหลือของทั้งไวต์สตาร์ไลน์และคูนาร์ด–ไวต์สตาร์ไลน์ก็ถูกปลดระวาง[4][5] คูนาร์ดดำเนินการเป็นธุรกิจอิสระจนถึงปี 1999 เมื่อคาร์นิวัลคอร์ปอเรชันเข้าซื้อกิจการทั้งหมด
กองเรือ
[แก้]ชื่อเรือ | สร้าง | ประจำการสำหรับคิวนาร์ด-ไวต์สตาร์ | น้ำหนัก (ตันกรอส) |
ภาพ |
---|---|---|---|---|
มอริทาเนีย (Mauretania) |
1907 | 1934–35 | 31,950 GRT | |
เอเดรียติก (Adriatic) |
1907 | 1934–35 | 24,541 GRT | |
โอลิมปิก (Olympic) |
1911 | 1934–35 | 46,439 GRT | |
เซรามิก (Ceramic) |
1913 | 1934–42 | 18,400 GRT | |
เบเรนกาเรีย (Berengaria) |
1913 | 1934–38 | 51,950 GRT | |
โฮเมอริก (Homeric) |
1913 | 1934–35 | 35,000 GRT | |
แอควิทาเนีย (Aquitania) |
1914 | 1934–49 | 45,650 GRT | |
มาเจสติก (Majestic) |
1914 | 1934–36 | 56,551 GRT | |
ไซเธีย (Scythia) |
1921 | 1934–49 | 19,700 GRT | |
สะมาเรีย (Samaria) |
1922 | 1934–49 | 19,700 GRT | |
ลาโคเนีย (Laconia) |
1922 | 1934–42 | 19,700 GRT | |
อันโตเนีย (Antonia) |
1922 | 1934–42 | 13,900 GRT | |
ออโซเนีย (Ausonia) |
1922 | 1934–42 | 13,900 GRT | |
แลงคาสเตรีย (Lancastria) |
1922 | 1934–40 | 16,250 GRT | |
ฟรานโกเนีย (Franconia) |
1922 | 1934–49 | 20,200 GRT | |
ดอริก (Doric) |
1923 | 1934–35 | 16,484 GRT | |
ออราเนีย (Aurania) |
1924 | 1934–42 | 14,000 GRT | |
คารินเทีย (Carinthia) |
1925 | 1934–40 | 20,200 GRT | |
แอสคาเนีย (Ascania) |
1925 | 1934–49 | 14,000 GRT | |
อเลาเนีย (Alaunia) |
1925 | 1934–42 | 14,000 GRT | |
คัลการิก (Calgaric) |
1927 | ไม่ได้เข้าประจำการ (เป็นเจ้าของ 1934) | 16,063 GRT | |
ลอเรนติก (Laurentic) |
1927 | 1934–36 | 18,724 GRT | |
บริแทนนิก (Britannic) |
1929 | 1934–49 | 26,943 GRT | |
จอร์จิก (Georgic) |
1932 | 1934–49 | 27,759 GRT | |
ควีนแมรี (Queen Mary) |
1936 | 1936–49 | 80,750 GRT | |
มอริทาเนีย II (Mauretania II) |
1938 | 1938–49 | 35,738 GRT | |
ควีนเอลิซาเบธ (Queen Elizabeth) |
1940 | 1940–49 | 83,650 GRT | |
มีเดีย (Media) |
1947 | 1947–49 | 13,350 GRT | |
ปาร์เทีย (Parthia) |
1947 | 1947–49 | 13,350 GRT | |
คาโรเนีย (Caronia) |
1949 | 1949 | 34,200 GRT |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ McKenna, Robert (2001). The Dictionary of Nautical Literacy. Camden, Me.: International Marine/McGraw-Hill. ISBN 0-07-136211-8. OCLC 46449032. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2012.
- ↑ Chirnside 2004, p. 123
- ↑ Hyde, Francis Edwin (1975). Cunard and the North Atlantic, 1840-1973 : a history of shipping and financial management. London: Macmillan. ISBN 978-1-349-02390-5. OCLC 643663453.
- ↑ Anderson 1964, p. 183
- ↑ de Kerbrech 2009, p. 229
บรรณานุกรม
[แก้]- Anderson, Roy Claude (1964). White Star. Prescot: T. Stephenson & Sons Ltd. OCLC 3134809.
- Chirnside, Mark (2004). The Olympic-Class Ships. Stroud: Tempus. ISBN 978-0-7524-2868-0.
- de Kerbrech, Richard P. (2009). Ships of the White Star Line. Hersham: Ian Allan Publishing. ISBN 978-0-7110-3366-5. OCLC 298597975.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Cunard White Star History and Ephemera. GG Archives.