เสน่ห์ โกมารชุน
เสน่ห์ โกมารชุน | |
---|---|
ชื่อเกิด | เสน่ห์ โกมารชุน |
เกิด | 14 กันยายน พ.ศ. 2466 จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 4 กันยายน พ.ศ. 2514 (48 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ประไพ คำเรียบร้อย ปรียา รุ่งเรือง |
อาชีพ | จำอวด นักร้อง นักแสดง นักเขียน ผู้กำกับ นักพากย์ |
พระสุรัสวดี | พากย์เสียงยอดเยี่ยม 2500 - โบตั๋น 2501 - เห่าดง 2508 - สาวเครือฟ้า |
เสน่ห์ โกมารชุน (14 กันยายน พ.ศ. 2466 - 4 กันยายน พ.ศ. 2514) นักแสดง นักพากย์ และผู้กำกับภาพยนตร์ เคยเป็นนักร้อง นักแต่งเพลงและนักแสดงตลก
ประวัติ
[แก้]เสน่ห์ โกมารชุน เกิดที่ย่านตลาดพลู ฝั่งธนบุรี เป็นบุตรของนายสำเนียง โกมารชุนกับหม่อมหลวงเตาะ โกมารชุน (มนตรีกุล)[1] มีพี่น้อง 5 เรียงตามลำดับ คือ เสนาะ, สนอง, เสนอ, เสน่ห์ และลักษณะ (ผู้หญิงคนเดียว) พี่ชายของเสน่ห์ที่ชื่อเสนอ เคยแต่งงานกับจุรี โอศิริ และมีบุตรคือนพพล โกมารชุน
เข้าสู่วงการ
[แก้]เสน่ห์ โกมารชุน เริ่มเข้าสู่วงการหลังเรียนจบชั้นมัธยมปลายด้วยการสมัครเป็นนักร้องประจำวงของกองดุริยางค์ทหารเรือ รุ่นเดียวกับสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, สมยศ ทัศนพันธุ์, สมศักดิ์ เทพานนท์ และปิติ เปลี่ยนสายสืบ เริ่มมีชื่อเสียงจากการร้องเพลงล้อเลียนและแสดงตลกหน้าเวทีกับลิเกคณะหอมหวล จึงออกมาตั้งคณะลิเกของตัวเอง ชื่อ "เสน่ห์ศิลป์" แสดงออกอากาศทางสถานีวิทยุกรมโฆษณาการ และแสดงละครย่อยสลับฉากที่โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมบุรีโดยการชักนำของสนิท เกษธนังแห่งคณะเมฆดำ ร่วมแสดงกับดาวตลกชื่อดังหลายคน อาทิ ล้อต๊อก
ชีวิตครอบครัว เสน่ห์มีภริยาหลายคน ที่โด่งดังคือ ภริยาคนที่ 3 คือประไพ คำเรียบร้อย เป็นดารานักร้องเช่นกัน และคนที่ 4 คือปรียา รุ่งเรือง แม่นาคที่เขาสร้างมา ซึ่งเป็นคนที่เขารักมากที่สุด ทั้งสองมีลูกสาวด้วยกันคือ อ้อ ยอดสร้อย โกมารชุนอดีตนักแสดงชื่อดังเช่นเดียวกัน[2]
เสียชีวิต
[แก้]ช่วงบั้นปลายชีวิต เสน่ห์ โกมารชุน ป่วยเป็นโรคไตอักเสบอย่างแรง และทราบภายหลังว่าเป็นมะเร็งในไต นอกจากนั้นยังมีโรคเก่าที่เคยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลมาแล้วคือโรคเบาหวาน, โรคกระเพาะ, มาลาเรีย และฝีในหู ทำให้หูหนวกไม่ได้ยินอะไรเลย เสน่ห์ต้องได้รับการล้างไตมาถึง 6 ครั้ง อาการมาทรุดลงในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2514 จนเสียชีวิตที่บ้านหลังวัดเทพธิดาราม เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2514 ขณะอายุเพียง 48 ปี
ผลงานเพลง
[แก้]- งามชายหาด (แต่งให้เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ขับร้อง)
- โปลิศถือกระบอง (ร้องเอง)
- เพลงท้อง (ร้องเอง)
- จรกาแพ้รัก (ร้องเอง)
- อย่าลืมสัญชาติ (ร้องเอง)
- ไขลูผู้กว้างขวาง (ร้องเอง)
- รำพึงรัก (ร้องเอง)
- ทหารนอกกรม (ร้องเอง)
- ขนมกรุบมโนรารำวง (คู่ชูศรี มีสมมนต์)
- สุภาพบุรุษปากคลองสาน
- สามล้อแค้น (ร้องเอง)
- ผู้แทนควาย (ร้องเอง)
- นกยูง (คู่นภาพร หงสกุล)
- กล่อมนิทรา (แต่งให้บุญช่วย หิรัญสุนทรขับร้อง)
ฯลฯ
หมายเหตุ: เพลงสามล้อแค้นและผู้แทนควาย ที่เขาแต่งเองเป็นเพลงเสียดสีสังคมได้ดี(ภายหลังถูกห้ามออกอากาศ) ถูกใจพล.ต.อ.เผ่า จนท่านมอบ “แหวนอัศวิน” ให้นับว่าเป็นศิลปินคนแรกที่ได้รับเกียรติเช่นนี้
ผลงานการสร้างภาพยนตร์
[แก้]- สุดหล้าฟ้าเขียว (2499) กำกับการแสดง
- กิโมโน (2502) กำกับการแสดง
- ศึก 5 เสือ (2506) กำกับการแสดง
- นางเสือดาว (2508) กำกับการแสดง
- พระรถเมรี (2508) กำกับการแสดง
- นกยูง (2509) กำกับการแสดง
- กินรี (2512) กำกับการแสดง
- ลูกกบ (2512) กำกับการแสดง
- ดวงใจสวรรค์ (2514) กำกับการแสดง
- รอยบุญ (2515)
- ชายผ้าเหลือง (2517)
- โบตั๋น (2518) บทประพันธ์
- แม่นาคพระโขนง (2521) บทประพันธ์
- เจ้าสาวเดิมพัน (2521) บทประพันธ์
- แก้วกาหลง (2524) บทประพันธ์
- ค่าน้ำนม (2524) บทประพันธ์
- แม่นาคพระโขนง (2537) บทประพันธ์
ผลงานแสดงภาพยนตร์
[แก้]- สามเกลอตามนาง (2494)
- เพียงดวงใจ (2494)
- ทุ่งน้ำตา (2494)
- สามล้อประจัญบาน (2495)
- ผาคำรณ (2496)
- วิวาห์น้ำตา (2497)
- สามเกลอแผลงฤทธิ์ (2497)
- โบตั๋น (2498)
- ปู่โสมอาละวาด (2498)
- น้ำใจสาวจีน (2498)
- ราตรีในโตเกียว (2498)
- หงส์หยก (2499)
- สุดหล้าฟ้าเขียว (2499)
- สามเกลอหักด่าน (2499)
- สามรักในปารีส (2499)
- นางนาคพระโขนงคืนชีพ (2499)
- มังกรทอง (2500)
- ยอดเยาวมาลย์ (2500)
- อกสามศอก (2501)
- หลินฟ้า (2501)
- อินทรีย์ขาว (2501)
- ยอดอนงค์ (2501)
- โม่งแดง (2501)
- เทวรูปหยก (2501)
- สิงห์สมุทร (2502)
- แม่ (2502)
- ไอ้แก่น (2502)
- เงาเพชฌฆาต (2502)
- แม่นาคพระโขนง (2502)
- ฝ่ามรสุม (2502)
- กิโมโน (2502)
- ซาเซียน (2502)
- ลูกจ๋า (2503)
- ค่าน้ำนม (2503)
- ชายต้องสู้ (2503)
- บางปะกง (2504)
- ท่าฉลอม (2504)
- หงส์ฟ้า (2504)
- ดอกแก้ว (2505)
- ปืนเดี่ยว (2505)
- ยอดธง (2505)
- สิงห์โตหยก (2505)
- เหมยฟ้า (2505)
- ดอกหญ้า (2505)
- งามงอน (2506)
- อวสานอินทรีแดง (2506)
- เอื้องฟ้า (2506)
- 7 สมิง (2506)
- พรายดำ (2507)
- สิงห์ล่าสิงห์ (2507)
- น้ำตาลไม่หวาน (2507)
- กฎหมายป่า (2507)
- เก้ามหากาฬ (2507)
- จ้าวพยัคฆ์ (2507)
- เลือดแค้น (2507)
- ตำหนักเพชร (2507)
- นางเสือดาว (2508)
- เงิน เงิน เงิน (2508)
- ผู้ใหญ่ลี (2508)
- ทาสผยอง (2508)
- ชุมทางเขาชุมทอง (2508)
- กำไลหยก (2508)
- วังไพร (2509)
- อรุณเบิกฟ้า (2509)
- หงส์เหิร (2509)
- นกยูง (2509)
- แก้มทอง (2509)
- เพชรสีเลือด (2509)
- เจ้าแม่ตะเคียนทอง (2509)
- ลมหนาว (2509)
- ใจนาง (2510)
- ตะวันสีทอง (2510)
- 5 พยัคฆ์สาว (2510)
- แก้วกาหลง (2510)
- เงินจ๋าเงิน (2511)
- จ้าวอินทรี (อินทรีแดง) (2511)
- อีแตน (2511)
- ระฆังผี (2511)
- กินรี (2512)
- ลูกกบ (2512)
- สอยดาวสาวเดือน (2512)
- ภูตเสน่หา (2513)
- เรือมนุษย์ (2513)
- เงินจางนางจร (2513)
- ปี่แก้วนางหงษ์ (2513)
- ฝนใต้ (2513)
- แก้วสารพัดนึก (2514)
- จงอางผยอง (2514)
- หนึ่งนุช (2514)
- ดวงใจสวรรค์ (2514)
- มนต์รักป่าซาง (2514)
อ้างอิง
[แก้]- ภราดร ศักดา. เปิดม่านคนดังหลังวัง ตำนานเก่าเล่าเรื่องดารายุคภาพยนตร์ไทยเฟื่อง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สยามบันทึก, พ.ศ. 2551. 264 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-13-8887-5