เฟื่องฟ้า
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เฟื่องฟ้า | |
---|---|
Bougainvillea spectabilis พบที่ Damauli ประเทศเนปาล | |
Bougainvillea glabra พบที่จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง |
เคลด: | พืชดอก |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ |
อันดับ: | คาร์เนชัน |
วงศ์: | วงศ์บานเย็น |
เผ่า: | Bougainvilleeae |
สกุล: | เฟื่องฟ้า Comm. ex Juss.[1] |
ชนิด | |
ดูข้อความ | |
ชื่อพ้อง[1][2] | |
Tricycla Cav. |
เฟื่องฟ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bougainvillea) เป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ ใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3–6 ซม. กว้าง 2–3 ซม. ใบประดับลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3–5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่น ๆ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1–2 ซม.
ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิ ปานกลางหรือร้อนชื้น เมื่อโตขึ้น ต้องการน้ำปานกลาง ถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง, เสียบยอด
เฟื่องฟ้าถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราว ค.ศ. 1766–1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่าง ๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย สำหรับในประเทศไทย มีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราว ค.ศ. 1880 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พันธุ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าต่างประเทศ เนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย และกลายพันธุ์เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย
ความเป็นพิษ
[แก้]น้ำเลี้ยงของเฟื้องฟ้าสามารถก่อให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสขั้นรุนแรง คล้ายกับพืชชนิด Toxicodendron[3]
อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการชาติพันธุ์
[แก้]ณ ค.ศ. 2010 Bougainvillea โดยทั่วไปจัดอยู่ในเผ่าย่อย Bougainvilleeae (มี 3 สกุล) ในเผ่า Nyctaginaceae โดยมี Pisonieae เป็นเผ่าย่อยพี่น้อง (มี 4 สกุล):
| |||||||||||||||||||||||||
ชนิด
[แก้]Catalogue of Life รายงานว่ามีพืชที่อยู่ในสกุล Bougainvillea ถึง 16 ชนิด[4]
- Bougainvillea berberidifolia Heimerl
- Bougainvillea campanulata Heimerl
- Bougainvillea glabra Choisy[5]
- Bougainvillea herzogiana Heimerl
- Bougainvillea infesta Griseb.
- Bougainvillea lehmanniana Heimerl
- Bougainvillea malmeana Heimerl
- Bougainvillea modesta Heimerl
- Bougainvillea pachyphylla Heimerl ex Standl.
- Bougainvillea peruviana Humb. & Bonpl.
- Bougainvillea praecox Griseb.
- Bougainvillea spectabilis Willd.[5]
- Bougainvillea spinosa (Cav.) Heimerl
- Bougainvillea stipitata Griseb.
- Bougainvillea trollii Heimerl
- Bougainvillea × buttiana Holttum & Standl. (B. glabra × B. peruviana)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Genus: Bougainvillea Comm. ex Juss". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 2010-07-07. สืบค้นเมื่อ 2010-12-14.
- ↑ "Bougainvillea Comm. ex Juss". World Flora Online. The World Flora Online Consortium. 2022. สืบค้นเมื่อ 27 July 2022.
- ↑ Washington State Department of Labor and Industries. Reactions in the Skin Caused by Plants. Safety & Health Assessment & Research for Prevention Report: 63-8-2001 August 2001. เก็บถาวร 27 พฤศจิกายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Roskov Y., Ower G., Orrell T., Nicolson D., Bailly N., Kirk P.M., Bourgoin T., DeWalt R.E., Decock W., van Nieukerken E.J., Penev L. (eds.) (2020). Species 2000 & ITIS Catalogue of Life, 2020-12-01. Digital resource at www.catalogueoflife.org. Species 2000: Naturalis, Leiden, the Netherlands. ISSN 2405-8858.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "GRIN Species Records of Bougainvillea". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2010-12-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Schoelhorn, Richard; Erin Alavrez (2002-10-01). "Warm Climate Production Guidelines for Bougainvillea" (PDF). University of Florida/IFAS Extension.