ลำดับเหตุการณ์สำคัญในอาณาจักรอยุธยา
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก เหตุการณ์สำคัญในอาณาจักรอยุธยา)
ลำดับเหตุการณ์สำคัญในอาณาจักรอยุธยา
สมัยราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 1 : พ.ศ. 1893 – 1913)
[แก้]- พ.ศ. 1893
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในนาม กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา จากการรวมกันของอาณาจักรละโว้และแคว้นสุพรรณภูมิ โดยศูนย์กลางอยู่บริเวณหนองโสน
- สถาปนาราชวงศ์อู่ทองปกครองกรุงศรีอยุธยา
- พ.ศ. 1896
- สงครามกับอาณาจักรขอม: เริ่มต้นสงคราม
- พ.ศ. 1897
- สงครามกับอาณาจักรขอม: สงครามสิ้นสุดลงโดยอยุธยาเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ
- พ.ศ. 1900
- สงครามกับอาณาจักรขอม: ขอมสามารถขับไล่อยุธยาออกจากเมืองพระนครได้สำเร็จ
- พ.ศ. 1912
- สมเด็จพระเจ้าอู่ทองสวรรคต สมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรสผู้ครองเมืองลพบุรีสืบราชสมบัติ
สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 1 : พ.ศ. 1913 – 1931)
[แก้]- พ.ศ. 1913
- สมเด็จพระราเมศวรถวายราชสมบัติให้ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระมาตุลาผู้ครองเมืองสุพรรณบุรี สิ้นสุดการปกครองของราชวงศ์อู่ทอง
- สถาปนาราชวงศ์สุพรรณภูมิปกครองกรุงศรีอยุธยา
- พ.ศ. 1914
- สมเด็จพระอินทราชาขณะครองเมืองสุพรรณบุรี ในฐานะราชทูตเสด็จฯ เยือนจีนครั้งแรก ตรงกับรัชกาลจักรพรรดิหงอู่แห่งราชวงศ์หมิง[1][2]
- พ.ศ. 1920
- สมเด็จพระอินทราชาเสด็จฯ เยือนจีนครั้งที่ 2[3]
- พ.ศ. 1924
- สงครามที่เมืองชากังราว: กองทัพอยุธยายกทัพไปตีเมืองชากังราว พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงออกรบด้วยพระองค์เอง ต่อมาทรงยอมแพ้ และอาณาจักรสุโขทัยได้มาเป็นประเทศราชของอยุธยา
- พ.ศ. 1927
- สงครามกับอาณาจักรขอม: กองทัพกรุงศรีอยุธยาสามารถตีเมืองพระนครแตกได้เป็นครั้งที่ 2
- พ.ศ. 1931
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สวรรคต สมเด็จพระเจ้าทองลัน พระราชโอรสสืบราชสมบัติ
สมัยราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 2 : พ.ศ. 1931 – 1952)
[แก้]- พ.ศ. 1931
- รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระราเมศวรชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระเจ้าทองลัน แล้วเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่ 2 สิ้นสุดการปกครองของราชวงศ์สุพรรณภูมิ
- สถาปนาราชวงศ์อู่ทองปกครองกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง
- รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระเจ้าทองลันถูกสำเร็จโทษ
- พ.ศ. 1938
- สมเด็จพระราเมศวรสวรรคต สมเด็จพระเจ้ารามราชา พระราชโอรสสืบราชสมบัติ
- พ.ศ. 1952
- รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: เกิดการจราจลขึ้นในกรุงศรีอยุธยา
สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 2 : พ.ศ. 1952 – 2112)
[แก้]- พ.ศ. 1952
- รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระอินทราชา ผู้ครองเมืองสุพรรณบุรีครองราชสมบัติแทนสมเด็จพระเจ้ารามราชา สิ้นสุดการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ราชวงศ์อู่ทองเป็นการถาวร
- สมเด็จพระอินทราชา สถาปนาการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิ เป็นครั้งที่ 2
- พ.ศ. 1962
- การชิงราชสมบัติในกรุงสุโขทัย: เกิดการสมเด็จพระอินทราชาทรงเสด็จฯ ไปจัดการการปกครองหัวเมืองเหนือให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย
- พ.ศ. 1964 – 1965
- พ.ศ. 1967
- สมเด็จพระอินทราชาสวรรคต
- สงครามกลางเมืองในกรุงศรีอยุธยา: เจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยา ทำยุทธหัตถีเพื่อแย่งชิงราชสมบัติ แต่สิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์[5]
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ผู้ครองเมืองชัยนาท เสด็จขึ้นครองราชย์
- สถาปนาวัดราชบูรณะ
- พ.ศ. 1974
- สงครามกับอาณาจักรขอม: อาณาจักรขอมที่เมืองจตุมุข เกิดการแข็งเมือง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 จึงยกทัพไปตีจนได้รับชัยชนะ
- สงครามกับอาณาจักรขอม: สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 โปรดฯ ให้พระอินทราชา พระราชโอรสไปครองเมืองเขมร
- พ.ศ. 1976
- การกอบกู้เอกราชของอาณาจักรขอม: อาณาจักรขอมแข็งเมือง และประกาศอิสรภาพจากกรุงศรีอยุธยา
- การกอบกู้เอกราชของอาณาจักรขอม: พระบรมราชาสำเร็จโทษเจ้าพญาแพรก ผู้ครองเมืองเขมร พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
- พ.ศ. 1981
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา
- พ.ศ. 1982
- การปราบเมืองพิมายและเมืองพนมรุ้ง: สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงเตรียมจะปราบเมืองพิมายและเมืองพนมรุ้ง แต่เจ้าเมืองทั้งสองออกมาถวายบังคม จึงทรงโปรดฯ ให้เป็นเจ้าเมืองต่อไป
- พ.ศ. 1985
- สงครามอยุธยา–ล้านนา: สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่แต่ไม่สำเร็จ ประกอบกับทรงประชวร จึงยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา
- พ.ศ. 1987
- สงครามอยุธยา–ล้านนา: สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง ได้เชลยมา 120,000 คน
- พ.ศ. 1991
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 สวรรคต สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชโอรสผู้ครองเมืองพิษณุโลกสืบราชสมบัติ
- พ.ศ. 1995
- สงครามอยุธยา–ล้านนา: กองทัพอยุธยาสามารถยึดเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ แต่ถูกขับไล่ด้วยการสนับสนุนของอาณาจักรล้านช้าง
- พ.ศ. 2001
- การปฏิรูปการปกครองในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตราพระราชกำหนดศักดินา
- การปฏิรูปการปกครองในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตรากฎมณเฑียรบาล เพื่อกฎหมายสำหรับการปกครอง
- พ.ศ. 2006
- การปฏิรูปการปกครองในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงจัดการปกครองแบบใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์
- การปฏิรูปการปกครองในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเปลี่ยนระบบการปกครองส่วนภูมิภาค คือยกเลิกระบบเมืองลูกหลวง และเมืองหลานหลวง แล้วเปลี่ยนมาใช้ระบบหัวเมืองชั้นใน และหัวเมืองชั้นนอก
- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จประทับที่เมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 2006 ถึง 2031[6]
- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมราชา พระราชโอรสสำเร็จราชการในกรุงศรีอยุธยา
- พ.ศ. 2017
- สงครามอยุธยา–ล้านนา: กองทัพอยุธยาสามารถยึดเมืองเชลียงคืนได้
- สงครามอยุธยา–ล้านนา: อาณาจักรล้านนาโดยพระเจ้าติโลกราช ขอทำสัญญาสงบศึกกับกรุงศรีอยุธยา อันเป็นการสิ้นสุดสบครามครั้งนี้
- พ.ศ. 2031
- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคต สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระบรมราชา) พระราชโอรสผู้สำเร็จราชการในกรุงศรีอยุธยาสืบราชสมบัติ
- พ.ศ. 2034
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 สวรรคต สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช) พระอนุชาผู้ครองเมืองพิษณุโลกสืบราชสมบัติ
- พ.ศ. 2042/2043
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระวิหารวัดพระศรีสรรเพชญ์และหล่อพระประธาน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2035/2036 ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระมหาสถูป 2 องค์เพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3[7]
- พ.ศ. 2043
- สงครามกับมะละกา: กรุงศรีอยุธยาโดยเมืองนครศรีธรรมราชอันเป็นศูนย์กลางของหัวเมืองใต้ ได้ยกทัพไปตีเมืองมะละกาถึง 2 ครั้ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็ทำให้บรรดาเมืองมลายูตระหนักถึงอำนาจของกรุงศรีอยุธยา จึงยอมสวามิภักดิ์
- พ.ศ. 2054
- โปรตุเกสเป็นชาติยุโรปแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ด้วยการส่งดูวาร์ตึ ฟือร์นังดึช (Duarte Fenandes) เป็นทูตมาเฝ้าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หลังจากที่โปรตุเกสเข้าพิชิตมะละกา [8]
- พ.ศ. 2056
- สงครามอยุธยา–ล้านนา: พญาแก้วยกทัพมาตีเมืองสุโขทัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงออกทัพไปป้องกันและตีทัพเชียงใหม่แตกพ่ายไป
- พ.ศ. 2058
- สงครามอยุธยา–ล้านนา: สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ยกทัพไปตีล้านนา โดยตีได้เมืองลำปาง
- พ.ศ. 2068
- สงครามกับเขมร: อาณาจักรเขมรจตุมุข ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
- พ.ศ. 2072
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สวรรคต สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระอาทิตยวงศ์) พระราชโอรสผู้ครองเมืองพิษณุโลกสืบราชสมบัติ
- พ.ศ. 2076
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 สวรรคต สมเด็จพระรัษฎาธิราช พระราชโอรสสืบราชสมบัติ
- พ.ศ. 2077
- รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระรัษฎาธิราชถูกสมเด็จพระไชยราชาธิราชชิงราชสมบัติ
- รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระรัษฎาธิราชถูกสำเร็จโทษ
- พ.ศ. 2081
- สงครามเชียงกราน: พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ยกทัพมาตีเมืองเชียงกราน สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยกทัพไปตีกลับคืนมา ในการทัพครั้งนี้ พระองค์นำทหารอาสาชาวโปรตุเกสไปด้วย อาสาชาวโปรตุเกสมีความชำนาญในการใช้ปืนไฟ และได้เริ่มใช้ปืนไฟในการรบเป็นครั้งแรก โดยกรุงศรีอยุธยาสามารถยึดเมืองเชียงกรานกลับคืนมาได้
- ราว พ.ศ. 2083
- จุดกำเนิดหมู่บ้านโปรตุเกสในกรุงศรีอยุธยา ตามพระบรมราชโองการฯ ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช ที่พระราชทานที่ดินให้ชาวโปรตุเกส 120 คน โดยเป็นบำเหน็จการทำความดีความชอบจากการเข้าร่วมรบในสงครามเชียงกรานจนได้รับชัยชนะ[9]
- โบราณสถานซานเปโตร หรือ โบสถ์เซนต์โดมินิค ในคณะโดมินิกัน เป็นโบสถ์คริสต์ศาสตร์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในอาณาจักรอยุธยา ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านโปรตุเกส[10]
- พ.ศ. 2085 (ในบางแหล่งระบุเป็น พ.ศ. 2065 แต่น่าจะคลาดเคลื่อน)
- สมเด็จพระไชยราชาธิราชโปรดฯ ให้ขุดคลองลัดแม่น้ำบริเวณเมืองบางกอก จากปากคลองบางกอกน้อยไปยังปากคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันคือแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนถึงปากคลองตลาด[11]
- พ.ศ. 2088
- สงครามอยุธยา–ล้านนา: สมเด็จพระไชยราชาธิราชยกทัพจะไปตีเมืองเชียงใหม่ พระนางจิรประภาเทวียอมสวามิภักดิ์
- พ.ศ. 2089
- สมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคต สมเด็จพระยอดฟ้า พระราชโอรสสืบราชสมบัติ
- พ.ศ. 2091
- รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: แม่หยัวศรีสุดาจันทร์ทรงอ้างว่าสมเด็จพระยอดฟ้ายังทรงพระเยาว์ หัวเมืองเหนือก็ไม่เป็นปกติจึงปรึกษากับขุนนางว่าจะให้ขุนวรวงศาธิราชว่าราชการแผ่นดินกระทั่งสมเด็จพระยอดฟ้าทรงเจริญพระชันษา เหล่าขุนนางก็เห็นชอบด้วย เมื่อขุนวรวงศาธิราชขึ้นครองราชย์แล้ว ก็สถาปนานายจันขึ้นเป็นพระมหาอุปราช
- รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: สำเร็จโทษสมเด็จพระยอดฟ้า
- รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: ขุนวรวงศาธิราชและแม่หยัวศรีสุดาจันทร์ถูกปลงพระชนม์ขณะเสด็จฯ ทางชลมารคไปทรงคล้องช้าง[12]
- รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: เหล่าขุนนางไปทูลเชิญพระเทียรราชาซึ่งอยู่ในสมณเพศให้ขึ้นครองราชย์ พระเทียรราชาจึงลาสิกขาบทแล้วราชาภิเษก เฉลิมพระนาม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า [12]
- พ.ศ. 2092
- สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้: พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ยกทัพเข้ามาล้อมตีกรุงศรีอยุธยา คราวนี้พระสุริโยทัยได้ปลอมพระองค์เข้ามาร่วมรบและกระทำยุทธหัตถีจนสวรรคตบนคอช้าง
- สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้: สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จไปเข้าเฝ้าพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้เพื่อขอหย่าศึก โดยแลกกับช้างเผือก 2 เชือก หงสาวดีจึงยกทัพกลับไป
- พ.ศ. 2093
- สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้ก่อกำแพงพระนครศรีอยุธยาก่ออิฐถือปูนตามแบบฝรั่งเป็นครั้งแรก จากเดิมที่ถมดินเป็นเชิงเทินแล้วปักเสาไม้ระเนียดด้านบน [13]
- พ.ศ. 2099
- สงครามกับเขมร: สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงโปรดฯ ให้ยกกองทัพไปตีเมืองเขมร แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
- พ.ศ. 2103
- เริ่มก่อสร้างพระธาตุศรีสองรัก เพื่อเป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงศรีสัตนาคนหุต
- พ.ศ. 2104
- กบฏพระศรีศิลป์: พระศรีศิลป์ลาสิกขาบท แล้วนำกองทัพบุกเข้ากรุงศรีอยุธยา ฝ่ายพระศรีศิลป์สามารถบุกเข้าพระราชวังหลวงได้ แต่ต้องพระแสงปืนสิ้นพระชนม์
- พ.ศ. 2107
- สงครามช้างเผือก: พระเจ้าบุเรงนองยกทัพเข้าตีเมืองพิษณุโลกและได้เมืองในวันที่ 12 มกราคม[14]
- สงครามช้างเผือก: ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนองเพื่อขอเป็นไมตรี ซึ่งพระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระราเมศวร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ และช้างเผือก 4 ช้างกลับไปกรุงหงสาวดี[15]
- กบฏปัตตานี: พระยาตานีศรีสุลต่านพระยาตานีแห่งปัตตานี[16]ที่ได้เข้ามาช่วยอยุธยารบกับพม่า ก่อความวุ่นวายในกรุงและได้บุกเข้าไปในวังหลวง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรวงรวบรวมกำลังพลแล้วเข้าตีตอบโต้ ฝ่ายปัตตานีได้ถอยร่นถึงปากอ่าว และพระยาตานีศรีสุลต่านสิ้นพระชนม์ที่ปากอ่าวระหว่างหนี[17][18]
- พ.ศ. 2112
- การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง: ขณะที่ถูกทัพพม่าปิดล้อมพระนครอยู่นั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสวรรคต สมเด็จพระมหินทราธิราช พระราชโอรสสืบราชสมบัติ[19][20]
- การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง: ทัพพม่านำโดยพระเจ้าบุเรงนองเข้ายึดกรุงได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม[21]
สมัยราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 – 2172)
[แก้]- พ.ศ. 2112
- ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่อาณาจักรตองอู พระเจ้าบุเรงนองได้ถอดสมเด็จพระมหินทราธิราชจากราชสมบัติ แล้วราชาภิเษกสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชให้ครองกรุงศรีอยุธยาแทน อันเป็นการสิ้นสุดการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิ และสถาปนาราชวงศ์สุโขทัย[22]
- สมเด็จพระมหินทราธิราชสวรรคตที่เมืองแครง ใกล้กรุงหงสาวดี[23]
- พ.ศ. 2124
- เกิดเหตุการณ์กบฏไพร่ญาณพิเชียร[24]
- พ.ศ. 2126
- ราล์ฟ ฟิทช์เป็นชาวอังกฤษคนแรกที่บันทึกว่าได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศไทย โดยเดินทางมายังนครเชียงใหม่ [25]
- พ.ศ. 2127
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ที่เมืองแครง
- พ.ศ. 2133
- สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรฯ สืบราชสมบัติ
- พ.ศ. 2135
- สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาได้รับชัยชนะ
- พ.ศ. 2138
- พ.ศ. 2141
- พ.ศ. 2145
- เรือสำเภาบรรทุกสินค้าของ เฉกอะหมัด กุมมี และน้องชายคือ มะหะหมัด ซาอิด เข้ามาเทียบท่าที่ป้อมเพชร เพื่อเข้ามาตั้งห้างค้าขายอยู่ในกรุงศรีอยุธยา[28]
- พ.ศ. 2147
- พ.ศ. 2148
- สมเด็จพระนเรศวรฯ สวรรคต สมเด็จพระเอกาทศรถสืบราชสมบัติ
- พ.ศ. 2151
- คณะราชทูตจำนวน 20 คน ที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงส่งไปเจริญสัมพันธไมตรียังประเทศฮอลันดาได้เดินทางถึงกรุงเฮก เมื่อวันที่ 10 กันยายน และเข้าพบเจ้าชายมอร์ริส เจ้าชายแห่งออเรนจ์ในรุ่งขึ้น นับว่าเป็นการส่งคณะทูตไปเจริญทางสัมพันธไมตรีกับประเทศในทวีปยุโรปครั้งแรกในประวัติศาสตร์[30]
- พ.ศ. 2153
- สมเด็จพระเอกาทศรถทรงมีพระราชสาส์นตอบสาส์นจากโชกุนอิเอยาสุ[31]
- สมเด็จพระเอกาทศรถสวรรคต สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์สืบราชสมบัติ
- สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ถูกสำเร็จโทษ พระศรีสินเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระนาม สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
- พ.ศ. 2155
- ติดต่อกับอังกฤษเป็นครั้งแรก[32]
- เกิดเหตุการณ์กบฏญี่ปุ่น โดยที่กองกำลังทหารญี่ปุ่นบุกเข้าวังหลวงหมายจะจับพระเจ้าทรงธรรม[33]
- พ.ศ. 2164
- พ.ศ. 2166
- สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เป็นครั้งที่สองในรัชกาล นำโดยหลวงท่องสมุทรและขุนสิทธิ[37]
- พ.ศ. 2167
- โปรตุเกสซึ่งขณะนั้นรวมประเทศกับสเปน ยึดเรือฮอลันดาในแม่น้ำเจ้าพระยา สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงบังคับให้โปรตุเกสคืนเรือแก่ฮอลันดา ทำให้โปรตุเกสประกาศสงครามต่อกรุงศรีอยุธยา แต่สงครามมิได้เกิดขึ้น[38][39]
- พ.ศ. 2168
- สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เป็นครั้งที่สามในรัชกาล นำโดยขุนรักษาสิทธิผล[40]
- พ.ศ. 2171
- สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต สมเด็จพระเชษฐาธิราชสืบราชสมบัติ
- พ.ศ. 2172
- มีการส่งคณะทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับญี่ปุ่น นำโดยหลวงสกลเดชและขุนโยคมาตย์ เพื่อแจ้งการเปลี่ยนแผ่นดินใหม่[41]
- สมเด็จพระเชษฐาธิราชถูกสำเร็จโทษ สมเด็จพระอาทิตยวงศ์สืบราชสมบัติ
- สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ถูกถอดจากราชสมบัติ เป็นอันสิ้นสุดการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย โดยที่เจ้าพระยากลาโหมขึ้นครองราชย์แทน ฉลองพระนาม สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
สมัยราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 2172 – 2231)
[แก้]- พ.ศ. 2172
- สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จขึ้นครองราชย์ สถาปนาราชวงศ์ปราสาททอง
- พ.ศ. 2173
- สมเด็จพระเจ้าปราสาททองมีพระราชโองการให้ทำลายหมู่บ้านญี่ปุ่น แต่โปรดฯ ให้ฟื้นฟูขึ้นในภายหลัง[42]
- พ.ศ. 2180
- สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ถูกสำเร็จโทษ
- พ.ศ. 2199
- เป็นปีที่มีพระมหากษัตริย์ 4 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จเจ้าฟ้าไชย สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- สมเด็จพระเจ้าปราสาททองสวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้าไชยสืบราชสมบัติ
- สมเด็จเจ้าฟ้าไชยส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นไม่ตอบรับ อ้างว่าตนดำเนินนโยบายปิดประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2179[43]
- สมเด็จเจ้าฟ้าไชยถูกสำเร็จโทษ สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ แต่อยู่ในราชสมบัติได้เพียงสองเดือนเศษ ก็ถูกสมเด็จพระนารายณ์ฯ จับสำเร็จโทษ สมเด็จพระนารายณ์ฯ เสด็จขึ้นครองราชย์
- พ.ศ. 2204
- พ.ศ. 2209
- สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2
- พ.ศ. 2215
- คาดว่าเป็นปีที่พระโหราธิบดีประพันธ์หนังสือจินดามณี (ฉบับพระโหราธิบดี)
- พ.ศ. 2216
- สังฆราชแห่งเฮลิโอโปลิสได้นำพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และศุภอักษรของสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9 มาถวายสมเด็จพระนารายณ์ฯ เพื่อขอบคุณที่ทรงอนุญาตให้คณะบาทหลวงเผยแพร่ศาสนาได้[45]
- พ.ศ. 2217
- สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดฯ ให้ย้ายเมืองโคราฆะเดิมและเมืองเสมามาสร้างเมืองใหม่เป็น "เมืองนครราชสีมา" วางผังเมืองโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส[46][47]
- พ.ศ. 2223
- บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าขึ้นในกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรก
- คาดว่าเป็นปีที่มีเริ่มจัดทำพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ
- เริ่มก่อสร้างป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่เมืองบางกอก[48]
- พ.ศ. 2228
- คณะราชทูตไทยที่ไปฝรั่งเศสกลับถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พร้อมคณะราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยมีเชอวาลีเยเดอโชมงเป็นราชทูต
- สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงมอบให้ฟอลคอน เป็นผู้แทนพระองค์มีอำนาจเต็มแห่งพระเจ้าอยู่หัว ทำสัญญากับเอกอัครราชทูตวิสามัญ เชอวาลีเยเดอโชมง ตามสัญญาฉบับนี้ฝรั่งเศสได้สิทธิในการเผยแพร่คริสต์ศาสนา และทำการสั่งสอนศิลปวิทยาการแก่ราษฎรไทยได้ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม[49]
- สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดเกล้าฯ ให้คณะราชทูตไทยไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พร้อมกับคณะราชทูตฝรั่งเศสที่เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลา คณะราชทูตไทยประกอบด้วย ออกพระวิสูตรสุนทร ราชทูต ออกหลวงกัลยาไมตรี อุปทูต ออกขุนศรีวิศาลวาจา ตรีทูต เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม
- พ.ศ. 2229
- เกิดกบฏมักกะสันที่กรุงศรีอยุธยา ฟอลคอนเป็นหัวหน้าดำเนินการปราบปรามได้สำเร็จ
- คณะราชทูตสยามนำโดยพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) ถึงฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน และเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พระราชวังแวร์ซาย เมื่อวันที่ 1 กันยายน
- พ.ศ. 2230
- ออกญาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี พระยาพระคลัง และออกพระศรีพิพัทธ์รัตนราชโกษาได้ลงนามในสัญญาการค้ากับฝรั่งเศส แต่ไม่ได้ให้สัตยาบันต่อกัน จึงไม่มีผลบังคับ[49]
- สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงประกาศสงครามกับอังกฤษอันเนื่องมาจากข้อพิพาทกันทางการค้าเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม แต่รัฐบาลอังกฤษถือว่าเป็นการสงครามระหว่างอยุธยากับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
- ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ผู้ประพันธ์จดหมายเหตุลาลูแบร์ เดินทางถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 27 กันยายน[50]
- พ.ศ. 2231
- คณะราชทูตสยามออกเดินทางจากสันดอนแม่น้ำเจ้าพระยา สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดเกล้าฯ ให้บาทหลวง ตาชาร์ด เป็นราชทูตพิเศษอัญเชิญพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 เมื่อวันที่ 4 มกราคม[49]
- ออกพระเพทราชากระทำการรัฐประหารโดยจับกุมเจ้าพระยาวิชเยนทร์ และควบคุมสมเด็จพระนารายณ์ฯ ไว้ในพระราชวังลพบุรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม [51]
- สมเด็จพระนารายณ์ฯ เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม สิ้นสุดการปกครองของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ปราสาททอง
- ภายหลังเหตุการณ์ล้อมบางกอกในการปฏิวัติ พ.ศ. 2231 สยามตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรรดาชาติตะวันตก โดยเฉพาะฝรั่งเศสอย่างสิ้นเชิง[52]
สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231 – 2310)
[แก้]- พ.ศ. 2231
- สมเด็จพระเพทราชาปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวง
- คณะราชทูตสยาม อาทิ ออกขุนชำนาญใจจง ออกขุนวิเศษภูบาล และออกหมื่นพิพิธราชา เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ที่กรุงโรม เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม
- พ.ศ. 2232
- คณะราชทูตสยามเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ที่กรุงโรม เมื่อวันที่ 5 มกราคม อีกครั้ง และเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์
- พ.ศ. 2246
- สมเด็จพระเพทราชาสวรรคต สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ) สืบราชสมบัติ
- พ.ศ. 2249
- เกิดอัสนีบาตต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เครื่องบนมณฑปทรุดโทรมพังลงมาต้องพระศอพระมงคลบพิตรหัก สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีโปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร
- พ.ศ. 2251
- สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีสวรรคต สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระสืบราชสมบัติ
- ราว พ.ศ. 2260
- ชาวสเปนได้รับพระราชทานหมู่บ้านญี่ปุ่นเป็นที่ตั้งหมู่บ้านของตน[53]
- พ.ศ. 2275
- สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระสวรรคต
- เกิดสงครามแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างเจ้าฟ้าอภัย (พระราชโอรสในสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ) กับเจ้าฟ้าพร
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์
- พ.ศ. 2277
- สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระราชสมภพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม
- พ.ศ. 2279
- พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม
- พ.ศ. 2296
- พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกาได้ส่งราชทูตมาขอพระมหาเถระและคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนาในลังกาซึ่งเสื่อมโทรมลงไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงทรงโปรดฯ ให้ส่งคณะสมณทูตประกอบด้วยพระราชาคณะสองรูปคือพระอุบาลีเถระและพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก 12 รูป ไปลังกาได้ไปตั้งสยามนิกายขึ้นในลังกา
- พ.ศ. 2298
- เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ต้องพระราชอาญาเฆี่ยนและสวรรคต
- พ.ศ. 2301
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรสืบราชสมบัติ
- สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา
- พ.ศ. 2303
- สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ได้ทรงขอให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรลาผนวชมาช่วยบัญชาการรบ ครั้งพระเจ้าอลองพญาได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา
- พ.ศ. 2309
- พม่าตีค่ายใหญ่ที่บางระจันแตกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน
- พ.ศ. 2310
- กองทัพพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก อาณาจักรอยุธยาล่มสลาย สิ้นสุดราชธานีกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 7 เมษายน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมเด็จพระอินทราชา ในหมิงสือลู่ วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
- ↑ พ่อขุนรามคำแหงไปเมืองจีน เอาเทคโนโลยีทำถ้วยชามกลับมาสุโขทัยจริงหรือ? ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2564
- ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ/สยามยึดอยุธยา ความเป็นไทย ในสำเภาจีน มติชนสุดสัปดาห์ สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2561
- ↑ “หม่าฮวน” ล่ามในคณะเดินทางของ “เจิ้งเหอ” บันทึกถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างไรบ้าง? ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2543
- ↑ กบฎกรุงศรีอยุธยา / จิตรสิงห์ ปิยะชาติ กรุงเทพฯ : ยิปซี , 2555
- ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ : “พี่ตู้รู้ทุกเรื่อง” ประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก รู้อะไร? แบบไหน? มติชนออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2560
- ↑ การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 80
- ↑ 500 ปี ความสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส ผู้เขียน:จรัญญา ศรีไพร จาก สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2554
- ↑ ทำไมโปรตุเกสเป็นยุโรปชาติแรกที่ตั้งถิ่นในสยาม สู่อิทธิพลการทหาร-การค้า-ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2564
- ↑ หมู่บ้านโปรตุเกส ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ กรมศิลปากร สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2562
- ↑ คลองขุดในประเทศไทย เก็บถาวร 2021-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๓
- ↑ 12.0 12.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 70
- ↑ การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 107
- ↑ การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 122
- ↑ การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 123
- ↑ อาจหมายถึง บุคคลสองคน ได้แก่ พระยาศรีสุลต่าน และพระยาตานี
- ↑ จังหวัดชายแดนภาคใต้สมัยอยุธยา บ้านจอมยุทธ
- ↑ การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 124
- ↑ ถ้าพิจารณาตามปฏิทินจันทรคติไทย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสวรรคตใน พ.ศ. 2111
- ↑ การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 129
- ↑ การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 131
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 129
- ↑ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1, หน้า 172
- ↑ กบฎญาณพิเชียร บ้านจอมยุทธ
- ↑ CPAmedia.com: The Asia Experts, Ralph Fitch: An Elizabethan Merchant in 16th Century Chiang Mai เก็บถาวร 2007-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 131
- ↑ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศสมัยกรุงศรีอยุธยา เก็บถาวร 2020-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน AroundTheWorld
- ↑ ย้อนความหลัง'อยุธยา+เปอร์เซีย' ข่าวสดออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2555
- ↑ บ้านฮอลันดา หลักฐานแห่งความรุ่งเรืองทางการค้าขายในอดต
- ↑ ประวัติสัมพันธไมตรีสยาม-เนเธอร์แลนด์ รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ (1) เก็บถาวร 2021-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สยามรัฐออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2560
- ↑ พระราชสาส์นตอบสาส์นจาก โทกูงาวะ อิเอยาซุ
- ↑ อยุธยากรุงเก่า เก็บถาวร 2020-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เจ.แอนเดอร์สัน เขียนเล่าถึงสภาพของกรุงศรีอยุธยา
- ↑ กบฏต่างชาติในกรุงศรีอยุธยา เปิดชนวนทั้งแขก-ญี่ปุ่น บุกยึด-ปล้นถึงในพระราชวังได้ เก็บถาวร 2021-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564
- ↑ เจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น
- ↑ The Last Samurai in Nakhon Si Thammarat การเข้ามาในเมืองไทยของ ซามูไร ยามาดะ
- ↑ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน ทูตฯเรือสินค้าเดนมาร์ก
- ↑ ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เป็นครั้งที่สอง
- ↑ อยุธยากรุงเก่า เก็บถาวร 2020-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เจ.แอนเดอร์สัน เขียนเล่าถึงสภาพของกรุงศรีอยุธยา
- ↑ จดหมายฝรั่งระบุเหตุ “กรุงศรีอยุธยา” รบ “กรุงมะนิลา” แห่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์!? ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2564
- ↑ ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เป็นครั้งที่สาม
- ↑ ส่งคณะทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับญี่ปุ่น แจ้งการเปลี่ยนแผ่นดินใหม่
- ↑ หมู่บ้านญี่ปุ่น Talontiew
- ↑ ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น
- ↑ ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น
- ↑ ไทยกับฝรั่งเศส เก็บถาวร 2020-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน AroundTheWorld
- ↑ เตรียมงบ ๕๐ ล้าน พัฒนา ๑๗ คูเมืองโคราช ให้ประชาชนมีส่วนร่วม โคราชคนอีสาน สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2561
- ↑ ชาวโคราช สร้างพระชัยเมืองนครราชสีมา รุ่น ฉลองจังหวัดครบรอบ 345 ปี สยามรัฐออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2562
- ↑ อมวิชัยประสิทธิ์ หรือป้อมวิไชเยนทร์ เป็นป้อมรักษาเมืองทางน้ำ[ลิงก์เสีย]
- ↑ 49.0 49.1 49.2 ลำดับเหตุการณ์การรัฐประหารพระนารายณ์ ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563
- ↑ บทวิจารณ์หนังสือ: จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร สำนักพิมพ์ศรีปัญญา. 2552, 685 หน้า
- ↑ ออกพระเพทราชา ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ ออกคำสั่งประหารฟอลคอน ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2564
- ↑ Siam: An Account of the Country and the People, Peter Anthony Thompson, 1910 p.28
- ↑ ชาวสเปนได้รับพระราชทานหมู่บ้านญี่ปุ่น