ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:เทศบาลเมืองพันท้ายนรสิงห์

พิกัด: 13°31′54.3″N 100°22′51.4″E / 13.531750°N 100.380944°E / 13.531750; 100.380944
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองพันท้ายนรสิงห์
วัดพันท้ายนรสิงห์บริเวณถนนพระราม 2
ทม.พันท้ายนรสิงห์ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร
ทม.พันท้ายนรสิงห์
ทม.พันท้ายนรสิงห์
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองพันท้ายนรสิงห์
พิกัด: 13°31′54.3″N 100°22′51.4″E / 13.531750°N 100.380944°E / 13.531750; 100.380944
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรสาคร
อำเภอเมืองสมุทรสาคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด68.91 ตร.กม. (26.61 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2567)[1]
 • ทั้งหมด42,851 คน
 • ความหนาแน่น621.84 คน/ตร.กม. (1,610.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06740113
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 999/99 หมู่ที่ 3 ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
เว็บไซต์pantainorasingh.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองพันท้ายนรสิงห์ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นชุมชนเมืองที่มีที่ตั้งไม่ห่างจากกรุงเทพมหานครและชุมชนเมืองแห่งอื่น ๆ ในจังหวัดมากนัก ประกอบกับมีระบบสาธารณูปโภคสะดวกสบาย ทำให้ความเจริญหลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่อย่างรวดเร็ว

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เทศบาลเมืองพันท้ายนรสิงห์ มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

ประวัติ

[แก้]

ชุมชนพันท้ายนรสิงห์ บริเวณสถานที่ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์หัวเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือหัก สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งเป็นชาวบ้านนรสิงห์ รับราชการเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัยของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) แห่งกรุงศรีอยุธยา ในคราวที่คัดท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัย เมื่อเรือพระที่นั่งถึงบริเวณคลองโคกขาม คลองคดเคี้ยวมากเป็นเหตุให้หัวเรือชนกิ่งไม้ใหญ่ริมคลองโคกขาม ทำให้โขนเรือหักตกลงในน้ำ พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมทูลพระเจ้าเสือให้ประหารชีวิตตามกฎมณเฑียรบาล พระเจ้าเสือทรงจำฝืนพระทัยตามพระราชกำหนดที่วางไว้จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ และให้ทำศาลขึ้นสูงเพียงตา แล้วนำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกชัยที่หักขึ้นพลีกรรมไว้บนศาล เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงความซื่อสัตย์จงรักภักดี[3]

เดิมมีฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ ตั้งปี พ.ศ. 2539[4] พ.ศ. 2566 ทางจังหวัดสมุทรสาครได้พิจารณาว่าองค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์เข้าเกณฑ์ที่จะยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองได้ โดยมีพื้นที่ 8 หมู่บ้าน พื้นที่ 68.91 ตารางกิโลเมตร ประชากร 41,827 คน และ 25,260 ครัวเรือน รายได้จริงไม่รวมเงินอุดหนุนปีงบประมาณ 2566 จำนวน 261.33 ล้านบาท รายจ่ายจำนวน 62.81 ล้านบาท เงินอุดหนุนจำนวน 55.78 ล้านบาท และเงินสะสม 1,379.42 ล้านบาท[5] และได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลเมืองพันท้ายนรสิงห์ ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2568[6]

การคมนาคม

[แก้]

ทางบก

[แก้]
  • มีรถโดยสารสาย ปอ.105 ปอ.68 วิ่งผ่านจากตัวเมืองสมุทรสาครถึงกรุงเทพมหานคร บนถนนพระราม 2
  • มีรถสองแถว จากศาลพันท้ายนรสิงห์ ไปยังตัวเมืองสมุทรสาคร
  • มีรถสองแถว วิ่งผ่านถนน สหกรณ์-นาเกลือ ไปยังตัวเมืองสมุทรสาคร
  • มีรถสองแถว จากโลตัสพระราม 2 ไปยังหมุ่บ้านวิเศษสุขนคร

ทางน้ำ

[แก้]
  • มีการสัญจรทางเรือมากพอสมควร เนื่องจากในตำบลพันท้ายนรสิงห์มีคู คลอง จำนวนมาก

สถานที่สำคัญ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลเมืองพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 126 (ตอนพิเศษ 20 ง): 37–70. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
  3. ประวัติอุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร - สีสันสมุทรสาคร (Color of Samut Sakhon) สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  5. "รายงานการประชุม ร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ ๒ ครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๗ วันพุธที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมสำนักกฎหมาย สป. ชั้นที่ ๖ อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย" (PDF). กระทรวงมหาดไทย. วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเทศบาลเมืองพันท้ายนรสิงห์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 142 (ตอนพิเศษ 43 ง): 22. วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]